ตัวบ่งชี้ที่ 4.1 ระบบและกลไกการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

ปีที่ประเมิน 2561
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : สรวีย์ คำนวล , วันวิสา นัยเนตร , ชนาภัค มุลกะกุล , สุชาติ ศรีชื่น
ชนิดตัวบ่งชี้ : กระบวนการ
คำอธิบายตัวบ่งชี้

สถาบันอุดมศึกษาต้องมีนโยบาย แผนงาน โครงสร้าง และการบริหารจัดการงานทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมทั้งการอนุรักษ์ ฟื้นฟู สืบสาน เผยแพร่วัฒนธรรมไทย ภูมิปัญญาท้องถิ่นตามจุดเน้นของสถาบันอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

 

เกณฑ์การประเมิน
คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6-7 ข้อ
เกณฑ์มาตรฐาน
ระดับ เกณฑ์มาตรฐาน ดำเนินการ
1 กำหนดผู้รับผิดชอบในการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
2 จัดทำ แผนด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม และกำหนดตัวบ่งชี้วัดความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผน รวมทั้งจัดสรรงบประมาณเพื่อให้สามารถดำเนินการได้ตามแผน
3 กำกับติดตามให้มีการดำเนินงานตามแผนด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
4 ประเมินความสำเร็จของตามตัวบ่งชี้ที่วัดความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
5 นำผลการประเมินไปปรับปรุงแผนหรือกิจกรรมด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
6 เผยแพร่กิจกรรมหรือการบริการด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมต่อสาธารณชน
7 กำหนดหรือสร้างมาตรฐานด้านศิลปะและวัฒนธรรมซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับชาติ
ผลการดำเนินงาน
ตนข้อเกณฑ์ผลการดำเนินงานหลักฐาน
1กำหนดผู้รับผิดชอบในการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการผู้รับผิดชอบงานด้านประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ตามพันธกิจด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ระดับสถาบัน
ปีการศึกษา 2561 (4.1-1(1)) , (4.1-1(2)) แบบมีส่วนร่วมตั้งแต่ระดับผู้บริหาร ทำหน้าที่กำกับติดตามและเป็นประธานการประชุม มีคณาอาจารย์ บุคลากร จาก 5 คณะ 2 สำนัก
ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการรับผิดชอบงานด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมเป็นคณะกรรมการ เพื่อให้การดำเนินงานตามพันธกิจฯ ของคณะ สำนัก และมหาวิทยาลัยเกิดการประสานการทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2จัดทำ แผนด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม และกำหนดตัวบ่งชี้วัดความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผน รวมทั้งจัดสรรงบประมาณเพื่อให้สามารถดำเนินการได้ตามแผน

มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ มีการจัดทำแผนกลยุทธ์
ด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ระยะ 4 ปี (4.1-2(1)) เพื่อกำหนดเป้าหมายทิศทางการทำงานให้เป็นรูปธรรม หลังจากได้แปลงแผนกลยุทธ์สู่การปฏิบัติโดยจัดทำเป็นแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ 2562 ด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ระยะ 1 ปี (4.1-2(2)) มีการกำหนดกิจกรรม โครงการ ระยะเวลา สถานที่ และผู้รับผิดชอบอย่างชัดเจน และมีการกำหนดวัตถุประสงค์แผน กำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จ
ค่าเป้าหมายที่ชัดเจนวัดผลได้ เพื่อให้การดำเนินงานตามแผนบรรลุเป้าหมาย ดังนี้

ตัวชี้วัดความสำเร็จตามวัตถุประสงค์
ของแผนฯ

ค่าเป้าหมาย

1. เพื่อให้การดำเนินงานด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมเป็นไปอย่างสอดคล้องกับเกณฑ์การประกันคุณภาพการศึกษาภายในและภายนอก

1.1 มีการแต่งตั้งผู้รับผิดชอบงานในด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วม

7 หน่วยงาน

1.2 มีการแปลงแผนกลยุทธ์สู่การปฏิบัติโดยจัดทำเป็นแผนปฏิบัติการประจำปี

1 แผน

1.3 มีการประชุมติดตามการดำเนินงานตามแผนทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมอย่างต่อเนื่อง อย่างน้อยไตรมาสละ 1 ครั้ง

4 ครั้ง/ปี

1.4 จำนวนโครงการที่ดำเนินงานแล้วเสร็จตามแผน

ร้อยละ 80

1.5 จำนวนช่องทางการเผยแพร่/ประชาสัมพันธ์/ด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมให้แก่สังคม

2 ช่องทาง

1.6 จำนวนกิจกรรมการแสดงด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมเป็นที่ยอมรับในระดับชาติ

1 กิจกรรม

2. เพื่อให้มีการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ และบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้

2.1 มีการประเมินความสำเร็จตามตัวชี้วัดรายกลยุทธ์ตามแผนยุทธศาสตร์ด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

1 แผน

3. เพื่ออนุรักษ์ สืบสาน บูรณาการและส่งเสริมการดำเนินงานด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม บนพื้นฐานความหลากหลายทางวัฒนธรรม

3.1 มีโครงการด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมที่พัฒนาจากศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น

1 โครงการ

3.2 มีโครงการด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมที่มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง

1 โครงการ

3.3 มีการเผยแพร่องค์ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมสู่สาธารณชนหรือหน่วยงานภายนอก

1 โครงการ

4. เพื่อพัฒนาให้มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษเป็นองค์กรศูนย์กลางในด้านการอนุรักษ์ ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นในจังหวัดศรีสะเกษ

4.1 มีการสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

10 หน่วยงาน

4.2 หน่วยงานภายนอกมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมที่มีชุมชน

10 หน่วยงาน

 

มีการจัดสรรงบประมาณที่พอเพียงและเหมาะสมเพื่อให้สามารถดำเนินงานตามแผนฯ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในปีงบประมาณ 2562 มีการจัดสรรงบประมาณตามแผนฯ จำนวนทั้งสิ้น 750,000 บาท

3กำกับติดตามให้มีการดำเนินงานตามแผนด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ มีการกำกับ ติดตาม ให้มีการดำเนินงานตามแผนการดำเนินงานด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม โดยมีการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน
2 ชุด ประกอบด้วย 1) คณะกรรมการปฏิบัติหน้าที่กลุ่มงานศิลปะและวัฒนธรรม 2) คณะกรรมการผู้รับผิดชอบงานด้านประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ตามพันธกิจด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และใช้ระบบและกลไกในการประชุมเพื่อกำกับ ติดตาม การดำเนินงานให้เป็นไปตามแผนฯ ดังนี้

 

1. มีการจัดการประชุมคณะกรรมการปฏิบัติหน้าที่กลุ่มงานศิลปะและวัฒนธรรม เพื่อกำกับ ติดตาม การดำเนินงานตามแผนฯ ทั้งสิ้น 4 ครั้ง

    - ครั้งที่ 5/2561 ประชุมติดตาม เรื่อง แผนการใช้จ่ายงบประมาณไตรมาสที่ 1 (ตุลาคม-ธันวาคม) งบประมาณ 2562 (4.1-3(1))

    - ครั้งที่ 1/2562 ประชุมกำกับ ติดตาม และรายงานผลการดำเนินโครงการ ประจำปีงบประมาณ 2562 (4.1-3(2))

    - ครั้งที่ 2/2562 พิจารณาการดำเนินโครงการ ประจำปีงบประมาณ 2562 (4.1-3(3))

    - ครั้งที่ 3/2562 กำกับติดตามการดำเนินงานโครงการประจำปีงบประมาณ 2562 และพิจารณาแนวทางในการปรับปรุง แผนปฏิบัติการด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมประจำปีงบประมาณ 2563 (4.1-3(4))

 

2. มีการจัดการประชุมคณะกรรมการผู้รับผิดชอบงานด้านประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ตามพันธกิจด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม เพื่อกำกับ ติดตาม การดำเนินงานให้เป็นไปตามแผนฯ 2 ครั้ง

    - ครั้งที่ 1/2561 กำกับติดตามการดำเนินงาน เรื่อง รายงานงบประมาณ การดำเนินโครงการของกลุ่มงานศิลปะและวัฒนธรรม ประจำปีงบประมาณ 2562 พิจารณาผลการประเมินด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ระดับสถาบัน พิจารณากรอบระยะเวลาในการปฏิบัติงานของคณะกรรมการ พิจารณาวัตถุประสงค์ของแผนด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม โดยยึดแนวทางการดำเนินงานจากแผนกลยุทธ์ด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ระยะ 4 ปี (4.1-3(5))

    - ครั้งที่ 2/2562 กำกับติดตามผลการดำเนินงานด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมตามแผน ของคณะ /สำนัก (รอบ 6 เดือน) รายงานการดำเนินโครงการของกลุ่มงานศิลปะและวัฒนธรรม ประจำปีงบประมาณ 2562 (รอบ 6 เดือน) พิจารณาแนวทางในการจัดทำรายงานผลการดำเนินงานประจำปี และการเผยแพร่กิจกรรมหรือการบริการด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมต่อสาธารณชน เกณฑ์การประเมินด้านประกันคุณภาพการศึกษาภายในตามพันธกิจด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ระดับสถาบัน ปีการศึกษา 2562 (4.1-3(6))

4ประเมินความสำเร็จของตามตัวบ่งชี้ที่วัดความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ มีการประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม (4.1-4(1)) และเสนอต่อที่ประชุมของคณะกรรมการผู้รับผิดชอบงานด้านประกันคุณภาพการศึกษาภายในตามพันธกิจด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ระดับสถาบัน ปีการศึกษา 2561 (4.1-4(2)) เพื่อพิจารณาให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุง โดยมีผลการดำนินงานดังนี้

 

มหาวิทยาลัย มีการกำหนดโครงการไว้ในแผน จำนวน 5โครงการ สามารถดำเนินการแล้วเสร็จ จำนวน 5 โครงการ
คิดเป็นร้อยละ 100

ตัวชี้วัดความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนปฏิบัติการฯ

ค่าเป้าหมาย

ผลการดำเนินงาน

บรรลุ/ไม่บรรลุ

1. เพื่อให้การดำเนินงานด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมเป็นไปอย่างสอดคล้องกับเกณฑ์การประกันคุณภาพการศึกษาภายในและภายนอก

1.1 มีการแต่งตั้งผู้รับผิดชอบงานในด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วม

7 หน่วยงาน

9 หน่วยงาน

1.2 มีการแปลงแผนกลยุทธ์สู่การปฏิบัติโดยจัดทำเป็นแผนปฏิบัติการประจำปี

1 แผน

1 แผน

1.3 มีการประชุมติดตามการดำเนินงานตามแผนทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมอย่างต่อเนื่อง อย่างน้อยไตรมาสละ 1 ครั้ง

4 ครั้ง/ปี

6 ครั้ง/ปี

1.4 จำนวนโครงการที่ดำเนินงานแล้วเสร็จตามแผน

ร้อยละ 80

ร้อยละ 100

1.5 จำนวนช่องทางการเผยแพร่/ประชาสัมพันธ์/ด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมให้แก่สังคม

2 ช่องทาง

2
ช่องทาง

1.6 จำนวนกิจกรรมการแสดงด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมเป็นที่ยอมรับในระดับชาติ

1 กิจกรรม

1
กิจกรรม

2. เพื่อให้มีการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ และบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้

2.1 มีการประเมินความสำเร็จตามตัวชี้วัดรายกลยุทธ์ตามแผนยุทธศาสตร์ด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

1 แผน

1 แผน

3. เพื่ออนุรักษ์ สืบสาน บูรณาการและส่งเสริมการดำเนินงานด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม บนพื้นฐานความหลากหลายทางวัฒนธรรม

3.1 มีโครงการด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมที่พัฒนาจากศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น

1 โครงการ

1
โครงการ

3.2 มีโครงการด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมที่มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง

1 โครงการ

1
โครงการ

3.3 มีการเผยแพร่องค์ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมสู่สาธารณชนหรือหน่วยงานภายนอก

1 โครงการ

1
โครงการ

4. เพื่อพัฒนาให้มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษเป็นองค์กรศูนย์กลางในด้านการอนุรักษ์ ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นในจังหวัดศรีสะเกษ

4.1 มีการสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

10 หน่วยงาน

25 หน่วยงาน

4.2 หน่วยงานภายนอกมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมที่มีชุมชน

10 หน่วยงาน

25 หน่วยงาน

5นำผลการประเมินไปปรับปรุงแผนหรือกิจกรรมด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ได้นำผลการประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนและกิจกรรม (4.1-5(1))  และข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการปฏิบัติหน้าที่กลุ่มงานศิลปะและวัฒนธรรม ปีการศึกษา 2561 ในคราวประชุมครั้งที่ 2/2562 (4.1-5(2)) มาปรับปรุงแผนปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 (4.1-5(3)) ตามประเด็นดังนี้

ประเด็นที่ 1 บริการจัดการงานด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ให้มีการจัดเตรียมงบประมาณในการจัดทำรายละเอียดของแหล่งเรียนรู้ งบประมาณไปราชการของบุคลากร และให้มีการจัดเตรียมงบประมาณในการจัดซื้อ จัดจ้าง ซ่อมบำรุง วัสดุ อุปกรณ์เพื่อเตรียมความพร้อมในการดำเนินงาน
ต่าง ๆ ภายในสำนักงาน

ประเด็นที่ 2 อนุรักษ์ สืบสาน วัฒนธรรมประเพณี และวันสำคัญของชาติ ศาสนา กษัตริย์ มีการประชุมเตรียมงาน วางแผน และประชาสัมพันธ์โครงการหรือกิจกรรม เพื่อให้บุคลากรและนักศึกษามีส่วนร่วมมากยิ่งขึ้น

ประเด็นที่ 3 การบูรณาการกิจกรรมการเรียนการสอนในมิติศิลปะและวัฒนธรรม

- โครงการค่ายศิลป์รักษ์ป่า ให้มีการมีการเก็บข้อมูลแหล่งเรียนรู้หรือลงชุมชน งบประมาณ  การจัดการวางแผนในการดำเนินโครงการ เนื่องจากเป็นโครงการที่มีการดำเนินโครงการมาอย่างต่อเนื่อง ได้มีการนำนักศึกษา ลงพื้นที่ ทำกิจกรรมค่าย ร่วมกับชุมชน โดยเป็นการเชื่อมโยงกับกิจกรรมการเรียนการสอน เสมือนเป็นการเรียนรู้นอกห้องเรียนให้นักศึกษาได้รู้จัก อุปสรรค การแก้ไขปัญหา และการทำงานร่วมกับผู้คนในสังคม ซึ่งถือเป็นการเรียนรู้นอกห้องเรียน ให้นักศึกษาได้ประสบการณ์

- โครงการนิทรรศการศิลปะและวัฒนธรรม ให้มีการจัดเตรียมข้อมูลเพื่อใช้ในการจัดทำนิทรรศการให้พร้อมต่อการดำเนินโครงการ

- โครงการสืบค้นองค์ความรู้ด้านวัฒนธรรมฯ ให้มีเก็บรวบรวมขอมูลให้เป็นปัจจุบันและมีการออกแบบรูปเล่มให้มีความน่าสนใจ น่าดึงดูดใจและเผยแพร่ข้อมูลไปยังหน่วยงานต่าง ๆ

- โครงการการบูรณาการองค์ความรู้ด้านวัฒนธรรมฯ
มีการจัดอบรมนักศึกษาและพัฒนาการเรียนการสอนนำองค์ความรู้ในด้านวัฒนธรรมฯมาพัฒนาต่อยอด

- โครงการเครือข่ายแกนนำนักศึกษากลุ่มศิลป์อาสา
ให้มีการนำนักศึกษาลงชุมชนเพื่อสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนมากขึ้น

ประเด็นที่ 4 ส่งเสริมการจัดการแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาและสร้างสำนึกรักและความภาคภูมิใจในท้องถิ่น

- โครงการวัฒนธรรมสัมพันธ์ ราชภัฏศรีสะเกษสร้างสรรค์ชุมชน มีการเก็บข้อมูลของชุมชน เพื่อนำมาจัดทำเอกสารเผยแพร่ไปยังหน่วยงานต่าง ๆ

- โครงการ ยกย่องเชิดชูปราชญ์ชาวบ้าน มีการรวบข้อมูลของปราชญ์ชาวบ้านแต่ละแขนงในจังหวัดศรีสะเกษเพื่อใช้ในการสืบค้นข้อมูลท้องถิ่นศรีสะเกษ

- โครงการ พัฒนาศักยภาพวงดนตรีลูกทุ่ง วงโปงลาง ให้มีการอบรมอย่างต่อเนื่องและมีการเผยแพร่ศิลปะและวัฒนธรรมไปยัง นักเรียนหรือนักศึกษาที่สนใจ

- โครงการส่งเสริมเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธ์ มีการวางแผน การดำเนินกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย สถานที่ให้ชัดเจนเพื่อให้สะดวกในการดำเนินโครงการ

ประเด็นที่ 5 สร้างความสัมพันธ์ในมิติวัฒนธรรมกับประเทศเพื่อนบ้านและกลุ่มประเทศอาเซียน มีการวางแผน การดำเนินกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย สถานที่ให้ชัดเจนเพื่อให้สะดวกในการดำเนินโครงการ


โดยโครงการที่ควรมีการปรับปรุงมากที่สุด คือ  โครงการ การบูรณาการกิจกรรมการเรียนการสอนในมิติศิลปะและวัฒนธรรม กิจกรรม ค่ายศิลป์รักป่า ให้มีการมีการเก็บข้อมูลแหล่งเรียนรู้หรือลงชุมชน งบประมาณ  การจัดการวางแผนในการดำเนินโครงการ เนื่องจากเป็นโครงการที่มีการดำเนินโครงการมาอย่างต่อเนื่อง ได้มีการนำนักศึกษา ลงพื้นที่
ทำกิจกรรมค่าย ร่วมกับชุมชน โดยเป็นการเชื่อมโยงกับกิจกรรมการเรียนการสอน เสมือนเป็นการเรียนรู้นอกห้องเรียนให้นักศึกษาได้รู้จัก อุปสรรค การแก้ไขปัญหา และการทำงานร่วมกับผู้คนในสังคม ซึ่งถือเป็นการเรียนรู้นอกห้องเรียน ให้นักศึกษาได้ประสบการณ์

6 เผยแพร่กิจกรรมหรือการบริการด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมต่อสาธารณชน

มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ มีการเผยแพร่กิจกรรมด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมต่อสาธารณชนหลากหลายช่องทาง ดังต่อไปนี้

1. สื่อสังคมออนไลน์ ผ่านทาง Fanpage กลุ่มงานศิลปะและวัฒนธรรม (4.1 - 6(1)) Facebook กลุ่มงานศิลปะและวัฒนธรรม (4.1 - 6(2)) และเว็บไซต์มหาวิทยาลัยราชภัฏ
ศรีสะเกษ (4.1 - 6(3))

2. เผยแพร่ทางเอกสารสื่อสิ่งพิมพ์ ผ่านทางวารสารสัมพันธ์ขาวทอง (4.1 - 6(4))

3. มีการรายงานผลการดำเนินงานเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยอย่างต่อเนื่อง (4.1-6(5))

 

7กำหนดหรือสร้างมาตรฐานด้านศิลปะและวัฒนธรรมซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับชาติ

มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ และจังหวัดศรีสะเกษ ได้ร่วมกันจัดงานเทศกาลดอกลำดวนบาน สืบสานประเพณีสี่เผ่าไทศรีสะเกษ ประจำปี 2562 (4.1-7(1)) เมื่อวันที่ 6-10 มีนาคม 2562 ณ สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ โดยนำเสนอเรื่องราววัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต ผ่านการแสดง ซึ่งมหาวิทยาลัยฯ มีส่วนร่วมในการศึกษา ค้นคว้า วิจัย รวบรวม ร้อยเรียงประวัติความเป็นมาของจังหวัดศรีสะเกษ และถ่ายทอดออกมาในรูปแบบของการแสดงศิลปวัฒนธรรม ในชื่อชุดการแสดง “อารยธรรมแห่งศรัทธา มนตรา ศรีพฤทเธศวร” เพื่อส่งเสริมและอนุรักษ์ศิลปะ ประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมของจังหวัดศรีสะเกษ ชนสี่เผ่า (ลาว เขมร ส่วย เยอ) และส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งถือเป็นการแสดงเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม ความเป็นมาของชาวศรีสะเกษ ให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายในระดับชาติ