ตัวบ่งชี้ที่ 1.5 การบริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาล

ปีที่ประเมิน 2564
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : พรรทิภา พรมมา , ชยานันท์ แก้วเกิด
ชนิดตัวบ่งชี้ : กระบวนการ
คำอธิบายตัวบ่งชี้

การบริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาล ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยผู้บริหารของหน่วยงานแสดงความมุ่งมั่นต่อการประพฤติปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาล ให้นโยบาย สร้างบรรยากาศ กําหนดแนวทางกํากับติดตาม แสดงตนเป็นตัวอย่างที่ดี ทําให้มั่นใจว่าพันธกิจและวิสัยทัศน์สอดคล้องไปในแนวทางเดียวกันกับหลักจริยธรรม พฤติกรรมที่มีจริยธรรมควรมีการปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด สามารถตรวจสอบได้ บุคลากรประพฤติปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาล และผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียรับรู้และเชื่อมั่นด้านธรรมาภิบาล ของหน่วยงาน สามารถอธิบายการดําเนินงานได้อย่างชัดเจนครบถ้วนทั้ง 10 ประการ ได้แก่ 1) หลักประสิทธิผล 2) หลักประสิทธิภาพ 3) หลักการตอบสนอง 4) หลักภาระรับผิดชอบ 5) หลักความโปร่งใส 6) หลักการมีส่วนร่วม 7) หลักการกระจายอํานาจ 8) หลักนิติธรรม 9) หลักความเสมอภาค และ 10) หลักมุ่งเน้นฉันทามติ

เกณฑ์การประเมิน
คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 - 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 - 6 ข้อ มีการดำเนินการ 7 - 8 ข้อ มีการดำเนินการ 9 - 10 ข้อ
เกณฑ์มาตรฐาน
ระดับ เกณฑ์มาตรฐาน ดำเนินการ
1 หลักประสิทธิผล (Effectiveness) คือ ผลการปฏิบัติราชการที่บรรลุวัตถุประสงค์ และเป้าหมายของ แผนการปฏิบัติราชการตามที่ได้รับงบประมาณมาดําเนินการ รวมถึงสามารถเทียบเคียงกับส่วนราชการหรือ หน่วยงานที่มีภารกิจคล้ายคลึงกันและมีผลการปฏิบัติงานในระดับชั้นนําของประเทศ เพื่อให้เกิดประโยชน์สุขต่อ ประชาชน โดยการปฏิบัติราชการจะต้องมีทิศทางยุทธศาสตร์และเป้าประสงค์ที่ชัดเจน มีกระบวนการปฏิบัติงาน และระบบงานที่เป็นมาตรฐาน รวมถึงมีการติดตามประเมินผลและพัฒนา ปรับปรุงอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ
2 หลักประสิทธิภาพ (Efficiency) คือ การบริหารราชการตามแนวทางการกํากับดูแลที่ดีที่มีการออกแบบ กระบวนการปฏิบัติงานโดยใช้เทคนิคและเครื่องมือการบริหารจัดการที่เหมาะสมให้องค์การสามารถใช้ทรัพยากร ทั้งด้านต้นทุน แรงงานและระยะเวลาให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาขีดความสามารถในการปฏิบัติราชการ ตามภารกิจเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม
3 หลักการตอบสนอง (Responsiveness) คือ การให้บริการที่สามารถดําเนินการได้ภายในระยะเวลาที่กําหนด และสร้าง ความเชื่อมั่น ความไว้วางใจ รวมถึงตอบสนองความคาดหวังหรือความต้องการของประชาชน ผู้รับบริการ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีความหลากหลายและมีความแตกต่าง
4 หลักภาระรับผิดชอบ (Accountability) คือ การแสดงความรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่และผลงานต่อเป้าหมายที่กําหนดไว้ โดยความรับผิดชอบนั้นควรอยู่ในระดับที่สนองต่อความคาดหวังของสาธารณะ รวมทั้งการแสดงถึงความสํานึกในการรับผิดชอบต่อปัญหาสาธารณะ
5 หลักความโปร่งใส (Transparency) คือ กระบวนการเปิดเผยอย่างตรงไปตรงมา ชี้แจงได้ เมื่อมีข้อสงสัย และสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารอันไม่ต้องห้ามตามกฎหมายได้อย่างเสรี โดยประชาชนสามารถรู้ทุกขั้นตอนในการดําเนินกิจกรรมหรือกระบวนการต่างๆ และสามารถตรวจสอบได้
6 หลักการมีส่วนร่วม (Participation) คือ กระบวนการที่ข้าราชการ ประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทุกกลุ่มมีโอกาสได้เข้าร่วมในการรับรู้ เรียนรู้ ทําความเข้าใจ ร่วมแสดงทัศนะร่วมเสนอปัญหาหรือประเด็นที่สําคัญ ที่เกี่ยวข้อง ร่วมคิด แนวทาง ร่วมการแก้ไขปัญหา ร่วมในกระบวนการตัดสินใจ และร่วมกระบวนการพัฒนาในฐานะ หุ้นส่วนการพัฒนา
7 หลักการกระจายอํานาจ (Decentralization) คือ การถ่ายโอนอํานาจการตัดสินใจ ทรัพยากรและภารกิจ จากส่วนราชการส่วนกลางให้แก่หน่วยการปกครองอื่นๆ (ราชการบริหาร ส่วนท้องถิ่น) และภาคประชาชนดําเนินการ แทนโดยมีอิสระตามสมควร รวมถึงการมอบอํานาจและความรับผิดชอบในการตัดสินใจ และการดําเนินการให้แก่ บุคลากร โดยมุ่งเน้นการสร้างความพึงพอใจในการให้บริการต่อผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียการปรับปรุง กระบวนการ และเพิ่มผลิตภาพ เพื่อผลการดําเนินงานที่ดีของส่วนราชการ
8 หลักนิติธรรม (Rule of Law) คือ การใช้อํานาจของกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับในการบริหารราชการ ด้วยความเป็นธรรม ไม่เลือกปฏิบัติ และคํานึงถึงสิทธิเสรีภาพของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
9 หลักความเสมอภาค (Equity) คือ การได้รับการปฏิบัติและได้รับบริการอย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่มี การแบ่งแยกด้านชายหรือหญิง ถิ่นกําเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษา การฝึกอบรม และอื่นๆ
10 หลักมุ่งเน้นฉันทามติ (Consensus Oriented) คือ การหาข้อตกลงทั่วไปภายในกลุ่ม ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นข้อตกลงที่เกิดจากการใช้กระบวนการเพื่อหาข้อคิดเห็นจากกลุ่มบุคคลที่ได้รับประโยชน์และ เสียประโยชน์ โดยเฉพาะกลุ่มที่ได้รับผลกระทบโดยตรงซึ่งต้องไม่มีข้อคัดค้านที่ยุติไม่ได้ในประเด็นที่สําคัญ โดย ฉันทามติไม่จําเป็นต้องหมายความว่าเป็นความเห็นพ้อง โดยเอกฉันท์
ผลการดำเนินงาน
ตนข้อเกณฑ์ผลการดำเนินงานหลักฐาน
1หลักประสิทธิผล (Effectiveness) คือ ผลการปฏิบัติราชการที่บรรลุวัตถุประสงค์ และเป้าหมายของ แผนการปฏิบัติราชการตามที่ได้รับงบประมาณมาดําเนินการ รวมถึงสามารถเทียบเคียงกับส่วนราชการหรือ หน่วยงานที่มีภารกิจคล้ายคลึงกันและมีผลการปฏิบัติงานในระดับชั้นนําของประเทศ เพื่อให้เกิดประโยชน์สุขต่อ ประชาชน โดยการปฏิบัติราชการจะต้องมีทิศทางยุทธศาสตร์และเป้าประสงค์ที่ชัดเจน มีกระบวนการปฏิบัติงาน และระบบงานที่เป็นมาตรฐาน รวมถึงมีการติดตามประเมินผลและพัฒนา ปรับปรุงอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ

                สำนักส่งเสริมและบริการวิชการ ได้มีการทบทวนแผนกลยุทธ์ เพื่อเป็นกรอบการดำเนินงานของสำนัก และจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 โดยมีการทบทวนแผนยุทธศาสตร์และมีการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการจำนวน 9 โครงการ ดังรายงานผลการดำเนินงานไตรมาส 1 (1.8-1(1)) ไตรมาส 2 (1.8-1(2)) และไตรมาส 3 (1.8-1(3))

2หลักประสิทธิภาพ (Efficiency) คือ การบริหารราชการตามแนวทางการกํากับดูแลที่ดีที่มีการออกแบบ กระบวนการปฏิบัติงานโดยใช้เทคนิคและเครื่องมือการบริหารจัดการที่เหมาะสมให้องค์การสามารถใช้ทรัพยากร ทั้งด้านต้นทุน แรงงานและระยะเวลาให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาขีดความสามารถในการปฏิบัติราชการ ตามภารกิจเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม

       สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการได้รับจัดสรรงบประมาณเพื่อดำเนินงานตามพันธกิจและกำกับติดตามเร่งรัด โดยได้รับจัดสรรงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 จำนวน 1,335,100 บาท มีผลการเบิกจ่ายงประมาณ จำนวน 894,850 ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2565 คิดเป็นร้อยละ 67 มีการนำระบบสารสนเทศมาช่วยในการการบริหารให้เกิดประสิทธิภาพ (1.8.2-(1))

3หลักการตอบสนอง (Responsiveness) คือ การให้บริการที่สามารถดําเนินการได้ภายในระยะเวลาที่กําหนด และสร้าง ความเชื่อมั่น ความไว้วางใจ รวมถึงตอบสนองความคาดหวังหรือความต้องการของประชาชน ผู้รับบริการ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีความหลากหลายและมีความแตกต่าง

              สำนักส่งเสริมและบริการวิชากรรได้มีช่องทางการติดต่อกับนักศึกษาและบุคคลทั่วไป ผ่านเพจสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ โดยมีการตอบข้อมูลด้านการรับสมัครนักศึกษา การให้บริการด้านการออกเอกสารทางการศึกษา ให้คำปรึกษาการจองรายวิชา  การยกเว้นรายวิชาเรียน การขอใช้อาคารสถานที่และการขอใช้พื้นที่ร่วมกัน (1.8-3(1))

4หลักภาระรับผิดชอบ (Accountability) คือ การแสดงความรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่และผลงานต่อเป้าหมายที่กําหนดไว้ โดยความรับผิดชอบนั้นควรอยู่ในระดับที่สนองต่อความคาดหวังของสาธารณะ รวมทั้งการแสดงถึงความสํานึกในการรับผิดชอบต่อปัญหาสาธารณะ

           สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการได้ตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อหน้าที่โดยคำถึงการดำเนินงานตามพันธ์กิจเพื่อให้การบริหารงานบรรลุเป้าหมายและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ให้ครอบคลุมพันธกิจของมหาวิทยาลัย ผู้บริหารได้รับการคำสั่งมอบหมายงาน แต่งตั้งเป็นคณะกรรมการวิชาการ  มีการแต่งตั้งคณะกรรมการหมวดวิชาการศึกษาทั่วไป มีการแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย

5หลักความโปร่งใส (Transparency) คือ กระบวนการเปิดเผยอย่างตรงไปตรงมา ชี้แจงได้ เมื่อมีข้อสงสัย และสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารอันไม่ต้องห้ามตามกฎหมายได้อย่างเสรี โดยประชาชนสามารถรู้ทุกขั้นตอนในการดําเนินกิจกรรมหรือกระบวนการต่างๆ และสามารถตรวจสอบได้

         ผู้บริหารได้รับการแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการประเมินผลการดำเนินงานบุคลากร โดยใช้หลักการโปร่งใสหลักการร่วมกัน โดยเปิดเผยผลการประเมินให้ทราบมีการดำเนินงานที่สามารถตรวจสอบได้ทุกขั้นตอน (1.8-5(1))

6หลักการมีส่วนร่วม (Participation) คือ กระบวนการที่ข้าราชการ ประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทุกกลุ่มมีโอกาสได้เข้าร่วมในการรับรู้ เรียนรู้ ทําความเข้าใจ ร่วมแสดงทัศนะร่วมเสนอปัญหาหรือประเด็นที่สําคัญ ที่เกี่ยวข้อง ร่วมคิด แนวทาง ร่วมการแก้ไขปัญหา ร่วมในกระบวนการตัดสินใจ และร่วมกระบวนการพัฒนาในฐานะ หุ้นส่วนการพัฒนา

           สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการเปิดโอกาสให้บุคลากรทุกระดับในหน่วยงานมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ มีการบริหารงานและกำกับการดำเนินงานในรูปแบบของคณะกรรมการ มีการแบ่งงานตามโครงสร้างการบริหารของหน่วยงาน และมีการแต่งตั้งบุคลากรเป็นคณะกรรมการต่าง ๆ เช่น คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง (1.8-6(1)) คณะกรรมการติดตามจัดเก็บตัวชี้วัดประกันคุณภาพสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ (1.8-6(2))  และคณะกรรมการการจัดการความรู้ (1.8-6(3))

7หลักการกระจายอํานาจ (Decentralization) คือ การถ่ายโอนอํานาจการตัดสินใจ ทรัพยากรและภารกิจ จากส่วนราชการส่วนกลางให้แก่หน่วยการปกครองอื่นๆ (ราชการบริหาร ส่วนท้องถิ่น) และภาคประชาชนดําเนินการ แทนโดยมีอิสระตามสมควร รวมถึงการมอบอํานาจและความรับผิดชอบในการตัดสินใจ และการดําเนินการให้แก่ บุคลากร โดยมุ่งเน้นการสร้างความพึงพอใจในการให้บริการต่อผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียการปรับปรุง กระบวนการ และเพิ่มผลิตภาพ เพื่อผลการดําเนินงานที่ดีของส่วนราชการ

           ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการได้กำหนดและมอบอำนาจในการบริหารและการตัดตินใจแต่ละเรื่องแก่รองผู้อำนวยการสำนัก ในการตัดสินใจโดยมุ่งผลประโยชน์ของผู้รับริการ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และมอบหมายงานความรับผิดชอบของผู้อำนวยการให้รองผู้อำนวยการ และผู้ช่วยผู้อำนวยการ

8หลักนิติธรรม (Rule of Law) คือ การใช้อํานาจของกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับในการบริหารราชการ ด้วยความเป็นธรรม ไม่เลือกปฏิบัติ และคํานึงถึงสิทธิเสรีภาพของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

           สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการมีการบริหารงานตามเจตนารมของระเบียบ กฎหมาย ข้อบังคับ และประกาศที่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยและจัดทำเอกสารรวบรวมกฎหมาย ระเบียบ ประกาศต่าง ๆ (1.8-8(1)) เผยแพร่ให้บุคลากรภายในใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน

9หลักความเสมอภาค (Equity) คือ การได้รับการปฏิบัติและได้รับบริการอย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่มี การแบ่งแยกด้านชายหรือหญิง ถิ่นกําเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษา การฝึกอบรม และอื่นๆ

         สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ มีการมอบหมายให้บุคลากรรับผิดชอบงานตามภารกิจสำนัก โดยยึดหลักความเสมอภาคและเท่าเทียมกันในด้านการบริหารจัดการ การบริหารงาน อาทิเช่น ให้บุคลากรทุกคนแสดงความคิดเห็นต่อการดำเนินงานต่างๆ ของสำนัก

10หลักมุ่งเน้นฉันทามติ (Consensus Oriented) คือ การหาข้อตกลงทั่วไปภายในกลุ่ม ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นข้อตกลงที่เกิดจากการใช้กระบวนการเพื่อหาข้อคิดเห็นจากกลุ่มบุคคลที่ได้รับประโยชน์และ เสียประโยชน์ โดยเฉพาะกลุ่มที่ได้รับผลกระทบโดยตรงซึ่งต้องไม่มีข้อคัดค้านที่ยุติไม่ได้ในประเด็นที่สําคัญ โดย ฉันทามติไม่จําเป็นต้องหมายความว่าเป็นความเห็นพ้อง โดยเอกฉันท์

        ในการพิจารณาอนุมัติเรื่องต่าง ๆ ในแต่ละครั้งจะผ่านพิจารณาที่จะต้องมีการเห็นชอบโดยมีการประชุมบุคลากรเพื่อรับฟัง ความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ และมีมติร่วมกันเพื่อดำเนินงาน กิจกรรมของสำนักส่งเสริม โดยมีมติมอบหมายบุคลากรรับผิดชอบ (1.8-10(1))

ผลคะแนนการประเมินตนเอง
ทำได้ (ข้อ) ได้คะแนน
10 5