ตัวบ่งชี้ที่ 1.5 การบริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาล

ปีที่ประเมิน 2565
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : สุรพงศ์ เบ้าทอง , อริศาพัชร จักรบุตร , อนุวัฒน์ ศรีสุวรรณ์
ชนิดตัวบ่งชี้ : กระบวนการ
คำอธิบายตัวบ่งชี้

การบริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาล ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยผู้บริหารของหน่วยงานแสดงความมุ่งมั่นต่อการประพฤติปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาล ให้นโยบาย สร้างบรรยากาศ กําหนดแนวทางกํากับติดตาม แสดงตนเป็นตัวอย่างที่ดี ทําให้มั่นใจว่าพันธกิจและวิสัยทัศน์สอดคล้องไปในแนวทางเดียวกันกับหลักจริยธรรม พฤติกรรมที่มีจริยธรรมควรมีการปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด สามารถตรวจสอบได้ บุคลากรประพฤติปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาล และผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียรับรู้และเชื่อมั่นด้านธรรมาภิบาล ของหน่วยงาน สามารถอธิบายการดําเนินงานได้อย่างชัดเจนครบถ้วนทั้ง 10 ประการ ได้แก่ 1) หลักประสิทธิผล 2) หลักประสิทธิภาพ 3) หลักการตอบสนอง 4) หลักภาระรับผิดชอบ 5) หลักความโปร่งใส 6) หลักการมีส่วนร่วม 7) หลักการกระจายอํานาจ 8) หลักนิติธรรม 9) หลักความเสมอภาค และ 10) หลักมุ่งเน้นฉันทามติ

เกณฑ์การประเมิน
คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 หรือ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 หรือ 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 หรือ 6 ข้อ มีการดำเนินการ 7 หรือ 8 ข้อ มีการดำเนินการ 9 หรือ 10 ข้อ
เกณฑ์มาตรฐาน
ระดับ เกณฑ์มาตรฐาน ดำเนินการ
1 หลักประสิทธิผล (Effectiveness) คือ ผลการปฏิบัติราชการที่บรรลุวัตถุประสงค์ และเป้าหมายของ แผนการปฏิบัติราชการตามที่ได้รับงบประมาณมาดําเนินการ รวมถึงสามารถเทียบเคียงกับส่วนราชการหรือ หน่วยงานที่มีภารกิจคล้ายคลึงกันและมีผลการปฏิบัติงานในระดับชั้นนําของประเทศ เพื่อให้เกิดประโยชน์สุขต่อ ประชาชน โดยการปฏิบัติราชการจะต้องมีทิศทางยุทธศาสตร์และเป้าประสงค์ที่ชัดเจน มีกระบวนการปฏิบัติงาน และระบบงานที่เป็นมาตรฐาน รวมถึงมีการติดตามประเมินผลและพัฒนา ปรับปรุงอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ
2 หลักประสิทธิภาพ (Efficiency) คือ การบริหารราชการตามแนวทางการกํากับดูแลที่ดีที่มีการออกแบบ กระบวนการปฏิบัติงานโดยใช้เทคนิคและเครื่องมือการบริหารจัดการที่เหมาะสมให้องค์การสามารถใช้ทรัพยากร ทั้งด้านต้นทุน แรงงานและระยะเวลาให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาขีดความสามารถในการปฏิบัติราชการ ตามภารกิจเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม
3 หลักการตอบสนอง (Responsiveness) คือ การให้บริการที่สามารถดําเนินการได้ภายในระยะเวลาที่กําหนด และสร้าง ความเชื่อมั่น ความไว้วางใจ รวมถึงตอบสนองความคาดหวังหรือความต้องการของประชาชน ผู้รับบริการ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีความหลากหลายและมีความแตกต่าง
4 หลักภาระรับผิดชอบ (Accountability) คือ การแสดงความรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่และผลงานต่อเป้าหมายที่กําหนดไว้ โดยความรับผิดชอบนั้นควรอยู่ในระดับที่สนองต่อความคาดหวังของสาธารณะ รวมทั้งการแสดงถึงความสํานึกในการรับผิดชอบต่อปัญหาสาธารณะ
5 หลักความโปร่งใส (Transparency) คือ กระบวนการเปิดเผยอย่างตรงไปตรงมา ชี้แจงได้ เมื่อมีข้อสงสัย และสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารอันไม่ต้องห้ามตามกฎหมายได้อย่างเสรี โดยประชาชนสามารถรู้ทุกขั้นตอนในการดําเนินกิจกรรมหรือกระบวนการต่างๆ และสามารถตรวจสอบได้
6 หลักการมีส่วนร่วม (Participation) คือ กระบวนการที่ข้าราชการ ประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทุกกลุ่มมีโอกาสได้เข้าร่วมในการรับรู้ เรียนรู้ ทําความเข้าใจ ร่วมแสดงทัศนะร่วมเสนอปัญหาหรือประเด็นที่สําคัญ ที่เกี่ยวข้อง ร่วมคิด แนวทาง ร่วมการแก้ไขปัญหา ร่วมในกระบวนการตัดสินใจ และร่วมกระบวนการพัฒนาในฐานะ หุ้นส่วนการพัฒนา
7 หลักการกระจายอํานาจ (Decentralization) คือ การถ่ายโอนอํานาจการตัดสินใจ ทรัพยากรและภารกิจ จากส่วนราชการส่วนกลางให้แก่หน่วยการปกครองอื่นๆ (ราชการบริหาร ส่วนท้องถิ่น) และภาคประชาชนดําเนินการ แทนโดยมีอิสระตามสมควร รวมถึงการมอบอํานาจและความรับผิดชอบในการตัดสินใจ และการดําเนินการให้แก่ บุคลากร โดยมุ่งเน้นการสร้างความพึงพอใจในการให้บริการต่อผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียการปรับปรุง กระบวนการ และเพิ่มผลิตภาพ เพื่อผลการดําเนินงานที่ดีของส่วนราชการ
8 หลักนิติธรรม (Rule of Law) คือ การใช้อํานาจของกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับในการบริหารราชการ ด้วยความเป็นธรรม ไม่เลือกปฏิบัติ และคํานึงถึงสิทธิเสรีภาพของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
9 หลักความเสมอภาค (Equity) คือ การได้รับการปฏิบัติและได้รับบริการอย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่มี การแบ่งแยกด้านชายหรือหญิง ถิ่นกําเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษา การฝึกอบรม และอื่นๆ
10 หลักมุ่งเน้นฉันทามติ (Consensus Oriented) คือ การหาข้อตกลงทั่วไปภายในกลุ่ม ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นข้อตกลงที่เกิดจากการใช้กระบวนการเพื่อหาข้อคิดเห็นจากกลุ่มบุคคลที่ได้รับประโยชน์และ เสียประโยชน์ โดยเฉพาะกลุ่มที่ได้รับผลกระทบโดยตรงซึ่งต้องไม่มีข้อคัดค้านที่ยุติไม่ได้ในประเด็นที่สําคัญ โดย ฉันทามติไม่จําเป็นต้องหมายความว่าเป็นความเห็นพ้อง โดยเอกฉันท์
ผลการดำเนินงาน
ตนข้อเกณฑ์ผลการดำเนินงานหลักฐาน
1หลักประสิทธิผล (Effectiveness) คือ ผลการปฏิบัติราชการที่บรรลุวัตถุประสงค์ และเป้าหมายของ แผนการปฏิบัติราชการตามที่ได้รับงบประมาณมาดําเนินการ รวมถึงสามารถเทียบเคียงกับส่วนราชการหรือ หน่วยงานที่มีภารกิจคล้ายคลึงกันและมีผลการปฏิบัติงานในระดับชั้นนําของประเทศ เพื่อให้เกิดประโยชน์สุขต่อ ประชาชน โดยการปฏิบัติราชการจะต้องมีทิศทางยุทธศาสตร์และเป้าประสงค์ที่ชัดเจน มีกระบวนการปฏิบัติงาน และระบบงานที่เป็นมาตรฐาน รวมถึงมีการติดตามประเมินผลและพัฒนา ปรับปรุงอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ

เพื่อสนองต่อพันธกิจมหาวิทยาลัยในประเด็นยุทธศาสตร์ ด้านการบริหารจัดการตามหลักธรรมภิบาล เพื่อพัฒนาองค์การอย่างยั่งยืน ให้เกิดการบริหารจัดการที่ดีสถาบันวิจัยและพัฒนา จึงนำหลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองมาปรับใช้ในการบริหารงานของสถาบัน โดยได้จัดทำประกาศเรื่อง เจตจำนงสุจริต เสริมสร้างคุณธรรม และความโปร่งใส 6 ประการ  มาเป็นเครื่องมือในการบริหารงานภายใน (1.5-1(1)) และได้จัดทำคำสั่งแต่งตั้งมอบหมายงานเพื่อส่งเสริมการบริหารงานด้วยหลักธรรมาภิ เพื่อเป็นการแสดงให้เห็นว่าผู้บริหาร ได้ปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาลเป็นอย่างดี

และกำหนดวิสัยทัศน์ เป้าประสงค์ และกลยุทธ์ ในแผนกลยุทธ์สถาบันวิจัยและพัฒนา พ.ศ. 2565-2567 เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ บริหารหน่วยงานแบบมียุทธศาสตร์และใช้เทคนิคบริหารดุลยภาพ (Balance score card) และการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม เพื่อกำหนดกลยุทธ์ (1.5-1(3)) นอกจากนี้ยังมีการติดตามผลดำเนินงานและประเมินความสำเร็จของโครงการ ความสำเร็จของแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ 2565 และ1.5-1(1) ประกาศเรื่อง เจตจำนงสุจริต เสริมสร้างคุณธรรม และความโปร่งใส 6 ประการ  1.5-1(2) มีคำสั่งแต่งตั้งมอบหมายงานเพื่อส่งเสริมการบริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาล1.5-1(3)แผนกลยุทธ์สถาบันวิจัยและพัฒนา พ.ศ. 2564 1.5-1(4) รายงานผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการตามไตรมาสประจำปีงบประมาณ 2564 1.5-1 (5) ผลการ ประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ 2564 1.5-1(6) แผนบริหารและพัฒนาบุคลากรของสถาบันวิจัยและพัฒนา1.5-1(7)แผนกลยุทธ์ทางการเงินประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 1.5-1(8)แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 1.5-1(9) เว็ปไซต์ของสถาบันวิจัยและพัฒนา http://research.sskru..ac.th1.5-3(10) คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการ เกณฑ์การประเมิน ผลดำเนินงาน รายการเอกสารอ้างอิงแผนกลยุทธ์สถาบันสถาบันวิจัยและพัฒนา คำนึงถึงการปฏิบัติงานตามหลักประสิทธิภาพ โดยกำหนดให้มีการติดตามการดำเนินงานของหน่วยงาน โดยให้แต่ละงานได้แก่ งานบริหารงานทั่วไป งานวิจัย งานบริการวิชาการ และงาน คลังข้อมูล และสารสนเทศ รายงานผลการ ดำเนิน งานทีรับผิดชอบ มีการติดตามประเมินผลการดำเนิน ตามตัวชี้วัด ของแผน       กลยุทธ์และแผนปฏิบัติการประจำปี 2565 อีกทั้งมีการประเมินของคณะกรรมการติด ตาม แล ะประเมินผลตรวจสอบและประเมินผลโครงการในมติ ต่างๆ ที่ครอบคลุมในเรื่องประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการดำเนินงาน และการประเมินประสิทธิภาพการใช้จ่ายงบประมาณประจำปีงบประมาณ 2566

2หลักประสิทธิภาพ (Efficiency) คือ การบริหารราชการตามแนวทางการกํากับดูแลที่ดีที่มีการออกแบบ กระบวนการปฏิบัติงานโดยใช้เทคนิคและเครื่องมือการบริหารจัดการที่เหมาะสมให้องค์การสามารถใช้ทรัพยากร ทั้งด้านต้นทุน แรงงานและระยะเวลาให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาขีดความสามารถในการปฏิบัติราชการ ตามภารกิจเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม

มีการดำเนินการจัดระบบกลไกบริหารจัดการ เพื่อให้แนวทางการดำเนินงาน การติดตามผลการ

ดำเนินงาน เกิดประสิทธิภาพเป็นไปตามภารกิจที่ได้กำหนดไว้การจัดทำแผน บริหารและพัฒนา

บุคลากร สถาบันวิจัยและพัฒนา (1.5-2(1))แผนกลยุทธ์ทางการเงิน ประจำปีงบประมาณ

พ.ศ.2561 (1.5-2(2)) แผนปฏิบัติการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 (1.5-2(3)) ทั้งนี้ยังได้มีการนำระบบสารสนเทศมาใช้ในการอำนวยความสะดวกต่อการดำเนินงาน การให้บริการแก่อาจารย์บุคลากร นักศึกษา และบุคลากรทั่วไป(1.5-2(4))

3หลักการตอบสนอง (Responsiveness) คือ การให้บริการที่สามารถดําเนินการได้ภายในระยะเวลาที่กําหนด และสร้าง ความเชื่อมั่น ความไว้วางใจ รวมถึงตอบสนองความคาดหวังหรือความต้องการของประชาชน ผู้รับบริการ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีความหลากหลายและมีความแตกต่าง

สถาบันวิจัยและพัฒนาได้คำนึงต่อผลประโยชน์ ต่อความคาดหวังของผู้รับบริการ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอาจารย์ นักวิจัย บุคลากร และชุมชนโดยรอบมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ เพื่อเป็นการตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการในด้านต่างๆ ตามพันธกิจของสถาบันวิจัยและพัฒนา การบริการวิชาการ สถาบันวิจัยและพัฒนาคำนึงถึงการมีส่วนร่วมกับชุมชน มีพันธกิจหลักในการบริหารจัดการงานบริการวิชาการและถ่ายทอดองค์ความรู้เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นดังนั้นเพื่อให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง ยั่งยืน จึงได้มีการสำรวจความต้องการของงานวิจัยในแต่ละคณะและสำนักต่าง (1.5-3(1)) ทั้งนี้ สถาบันวิจัยและพัฒนาได้สำรวจความต้องการรับบริการวิชาการของท้องถิ่น โดยใน งบประมาณ พ.ศ. 2565 มีโครงการงานวิจัยที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้รับบริการ และการให้บริการวิชาการที่ถ่ายทอดองค์ความรู้เพื่อสร้างเข้มแข็งและยั่งยืนแก่ชุมชน 

4หลักภาระรับผิดชอบ (Accountability) คือ การแสดงความรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่และผลงานต่อเป้าหมายที่กําหนดไว้ โดยความรับผิดชอบนั้นควรอยู่ในระดับที่สนองต่อความคาดหวังของสาธารณะ รวมทั้งการแสดงถึงความสํานึกในการรับผิดชอบต่อปัญหาสาธารณะ

สถาบันวิจัยและพัฒนาได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์ พ.ศ. 2566 เพื่อแสดงให้เห็นถึงความรับผิดชอบต่อการปฏิบัติหน้าที่ตามภารกิจของสถาบันวิจัยและพัฒนา ได้มีการจัด สรรงบ ประมาณตามแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 โดยมีโครงการทั้งสิ้น จำนวน 10 โครงการ ตามประเด็นยุทธศาสตร์ที่กำหนดไว้ (1.5-4(1)) ทั้งนี้สถาบันวิจัยและพัฒนายังได้คำนึงถึงความรับผิดชอบต่ออาจารย์ นักวิจัย สังคม และชุมชนต่อการบริหารงานของสถาบันวิจัยและพัฒนาเช่น สถาบันวิจัยและพัฒนาได้ดำเนินการประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการทีมีต่อสถาบันวิจัยและพัฒนา ตามที่ สถาบันวิจัยและพัฒนา เป็นหน่วยให้บริการ สนับสนุน งานวิจัยและบริการวิชาการ ทั้งนี้เพื่อนำข้อมูลที่ได้รับมาปรับปรุงพัฒนาการดำเนินงานต่อไป (1.5-4(2)) ความรับผิดชอบต่อสังคม ที่ก่อให้เกิดผลการต่อยอดการแก้ปัญหาและตอบสนองต่อความต้องการในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ ทั้งนี้ได้มีการสำรวจความต้องการในการรับบริการวิชาการเพื่อให้ตรงตามความต้องการ และสามารถนำไปใช้ประโยชน์เพื่อให้สถาบันวิจัยและพัฒนาดำเนินงานตามภารกิจที่ตอบสนองและตรงตามความต้องการของท้องถิ่นในการพัฒนาตนเองและสังคม(1.5-4(3)) ความรับผิดชอบต่อการบริหารงานสามารถอ้างอิงข้อมูลได้จากผลการประเมินการรายงานผลการประเมินคุณภาพภายในระดับสำนักงานประจำปีการศึกษา 2566 (1.5-4(4))

5หลักความโปร่งใส (Transparency) คือ กระบวนการเปิดเผยอย่างตรงไปตรงมา ชี้แจงได้ เมื่อมีข้อสงสัย และสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารอันไม่ต้องห้ามตามกฎหมายได้อย่างเสรี โดยประชาชนสามารถรู้ทุกขั้นตอนในการดําเนินกิจกรรมหรือกระบวนการต่างๆ และสามารถตรวจสอบได้

สถาบันวิจัยและพัฒนามีการรายงานการติดตามผลการใช้จ่ายงบประมาณ สถานะการเงิน รายงานผลการดำเนินงาน เรื่อง ต่าง ๆ ต่อ ที่ ประชุมคณะกรรมการบริหารสถาบันวิจัยและพัฒนา(1.5-5(1)) และต่อที่ประชุมคณะกรรมการประจำสถาบันวิจัยและพัฒนา อย่างต่อเนื่อง(1.5-5(2)) นอก จากนี้ ยังได้รายงานการดำเนินงานในด้านต่างๆ ของสถาบันวิจัยและพัฒนาให้บุคลากรภายในและภายนอกได้รับทราบโดยทั่วกันผ่าน เว็บไซต์ของสถาบันวิจัยและพัฒนาและ เป็นต้น(1.5-5(3))

6หลักการมีส่วนร่วม (Participation) คือ กระบวนการที่ข้าราชการ ประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทุกกลุ่มมีโอกาสได้เข้าร่วมในการรับรู้ เรียนรู้ ทําความเข้าใจ ร่วมแสดงทัศนะร่วมเสนอปัญหาหรือประเด็นที่สําคัญ ที่เกี่ยวข้อง ร่วมคิด แนวทาง ร่วมการแก้ไขปัญหา ร่วมในกระบวนการตัดสินใจ และร่วมกระบวนการพัฒนาในฐานะ หุ้นส่วนการพัฒนา

สถาบันวิจัยและพัฒนาได้มอบหมายความรับผิดชอบผลการดำเนินตามกลยุทธ์และตัวชี้วัด ของแผนกลยุทธ์สถาบันวิจัยและพัฒนา ให้บุคลากรในสถาบันดำเนินการและรับผิดชอบผลงาน (1.5-6(1))และเปิดโอกาสให้บุคลากร ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียผู้ทรงคุณวุฒิ เข้ามาเป็นคณะกรรมการ /คณะทำงานด้านต่างๆ มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ การตัดสินใจในเรื่องต่างๆในรูปแบบคณะกรรมการ ได้แก่คณะกรรมการประจำสถาบันวิจัยและพัฒนา (1 .5-6 (2))

7หลักการกระจายอํานาจ (Decentralization) คือ การถ่ายโอนอํานาจการตัดสินใจ ทรัพยากรและภารกิจ จากส่วนราชการส่วนกลางให้แก่หน่วยการปกครองอื่นๆ (ราชการบริหาร ส่วนท้องถิ่น) และภาคประชาชนดําเนินการ แทนโดยมีอิสระตามสมควร รวมถึงการมอบอํานาจและความรับผิดชอบในการตัดสินใจ และการดําเนินการให้แก่ บุคลากร โดยมุ่งเน้นการสร้างความพึงพอใจในการให้บริการต่อผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียการปรับปรุง กระบวนการ และเพิ่มผลิตภาพ เพื่อผลการดําเนินงานที่ดีของส่วนราชการ

ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มีการมอบหมายภาระงานให้กับรองผู้อำนวยการ ในการกำกับดูแลการบริหารงาน ให้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ มอบอำนาจให้ผู้บริหารในการบริหารจัดการในด้านต่างๆ เช่น งานบริหารทั่วไปงานวิจัย งานบริการวิชาการงานคลังข้อมูลและสารสนเทศ ดังคำสั่งสถาบันวิจัยและพัฒนา เรื่อง มอบหมายงานบุคลากรประจำสถาบันวิจัย และพัฒนา(1.5-7(1)) ตามโครงสร้างการแบ่งส่วนงานภายในสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ (1.5-7(2))

8หลักนิติธรรม (Rule of Law) คือ การใช้อํานาจของกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับในการบริหารราชการ ด้วยความเป็นธรรม ไม่เลือกปฏิบัติ และคํานึงถึงสิทธิเสรีภาพของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

ผู้บริหารมีการใช้กฎระเบียบ ข้อบังคับในการบริหารงานด้วยความเป็นธรรม ไม่เลือกปฏิบัติ มีการแจ้งประกาศ กฎระเบียบต่าง ๆ โดยเผยแพร่ประกาศกฎระเบียบต่าง ๆ ไว้ในเว็บไซต์ของสถาบันวิจัยและพัฒนา (1.5-8(1)) เพื่อให้บุคลากรได้รับทราบทั่วกัน ทั้งนี้มหาวิทยาลัยได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการกลั่นกรองฯ แสะเสนอต่อคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยเป็นลำดับ (1.5-8(2))

9หลักความเสมอภาค (Equity) คือ การได้รับการปฏิบัติและได้รับบริการอย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่มี การแบ่งแยกด้านชายหรือหญิง ถิ่นกําเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษา การฝึกอบรม และอื่นๆ

สถาบันวิจัยและพัฒนาได้ปฏิบัติและให้บริการอย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่แบ่งแยกด้านเพศ ถิ่นกำเนิด เชื้อชาติภาษา เนื่องจากสถาบันวิจัยและพัฒนาเป็นหน่วยงานที่ให้การสนับสนุนอาจารย์ นักวิจัยนักศึกษาเจ้าหน้าที่และภาคเอกชนและชุมชนท้องถิ่น ทั้งนี้ในด้านการวิจัยและบริการวิชาการยังมีประกาศรับข้อเสนอโครงการ กรอบทิศทางพร้อมกับประชาสัมพันธ์ให้คณะ ศูนย์/สำนักและมีคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกเป็นผู้พิจารณาคัดสรร(1.5-9(1)) การจัดทำแผนบริหารและพัฒนาบุคลากร เพื่อให้บุคลากรทุกคนได้มีการพัฒนาตนเองได้อย่างทั่วถึงและมีความต่อเนื่อง (1.5-9(2))

10หลักมุ่งเน้นฉันทามติ (Consensus Oriented) คือ การหาข้อตกลงทั่วไปภายในกลุ่ม ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นข้อตกลงที่เกิดจากการใช้กระบวนการเพื่อหาข้อคิดเห็นจากกลุ่มบุคคลที่ได้รับประโยชน์และ เสียประโยชน์ โดยเฉพาะกลุ่มที่ได้รับผลกระทบโดยตรงซึ่งต้องไม่มีข้อคัดค้านที่ยุติไม่ได้ในประเด็นที่สําคัญ โดย ฉันทามติไม่จําเป็นต้องหมายความว่าเป็นความเห็นพ้อง โดยเอกฉันท์

สถาบันวิจัยและพัฒนามุ่งเน้นการดำเนินงานฉันทามติ ใช้หลักการคิดการมีส่วนร่วมทางความคิดเห็นซึ่งกันและกัน เมื่อมีประเด็น ที่ต้องพิจารณาผู้บริหารและบุคลากร ได้ร่วมหาข้อตกลง ข้อสรุป โดยตระหนักถึงข้อเท็จจริงและความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในประเด็นนั้นๆ โดยมีการประชุมหารือกันในรูปแบบของการประชุมคณะกรรมการต่างๆ (1.5-10(1)) และ (1.5-10(2)),

ผลคะแนนการประเมินตนเอง
ทำได้ (ข้อ) ได้คะแนน
5 5