ตัวบ่งชี้ที่ 1.6 แนวปฏิบัติที่ดีจากความรู้ที่มีอยู่ในตัวบุคคลขององค์กร

ปีที่ประเมิน 2564
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : อังคณา ลิ้มพงศธร , พรรทิภา พรมมา , ชยานันท์ แก้วเกิด , ณัชชารีย์ กุลพิชัยจิราวุฒิ
ชนิดตัวบ่งชี้ : กระบวนการ
คำอธิบายตัวบ่งชี้

แนวปฏิบัติที่ดี คือ วิธีปฏิบัติ หรือขั้นตอนการปฏิบัติที่ทําให้หน่วยงานประสบความสําเร็จ หรือสู่ ความเป็นเลิศตามเป้าหมาย เป็นที่ยอมรับในวงวิชาการหรือวิชาชีพนั้นๆ มีหลักฐานของความสําเร็จปรากฏชัดเจน โดยมีการสรุปวิธีปฏิบัติ หรือขั้นตอนการปฏิบัติ ตลอดจนความรู้และประสบการณ์ บันทึกเป็นเอกสาร เผยแพร่ ให้หน่วยงานภายในหรือภายนอกสามารถนําไปใช้ประโยชน์ได้ และมีการวิเคราะห์ และทบทวนผลการดําเนินการ เพื่อประเมินผลสําเร็จ ความก้าวหน้าในการบรรลุวัตถุประสงค์เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวปฏิบัติที่ดี และนําไปสู่ การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

เกณฑ์การประเมิน
คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 ข้อ มีการดำเนินการ 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ
เกณฑ์มาตรฐาน
ระดับ เกณฑ์มาตรฐาน ดำเนินการ
1 มีการกําหนดประเด็นความรู้และเป้าหมายของการจัดการความรู้ที่สอดคล้องกับพันธกิจของหน่วยงาน อย่างน้อย 1 พันธกิจ
2 มีกําหนดบุคลากรกลุ่มเป้าหมายที่จะพัฒนาความรู้และทักษะให้สอดคล้องกับประเด็นความรู้ที่กําหนด ในข้อ 1
3 มีการแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้จาก ความรู้ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง (Tacit Knowledge) เพื่อค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีตามประเด็นความรู้ที่กําหนดในข้อ 1 และเผยแพร่ไปสู่บุคลากรกลุ่มเป้าหมายที่กําหนด
4 มีการรวบรวมความรู้ตามประเด็นความรู้ที่กําหนดในข้อ 1 ทั้งที่มีอยู่ใตัวบุคคล และแหล่งเรียนรู้อื่นๆ ที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดีมาพัฒนาและจัดเก็บอย่างเป็นระบบโดยเผยแพร่ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร (Explicit Knowledge)
5 มีการนําความรู้ที่ได้จากการจัดการความรู้ในปีงบประมาณปัจจุบันหรือปีที่ผ่านมาที่เป็นลายลักษณ์อักษร (Explicit Knowledge) และจากความรู้ ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง (Tacit Knowledge) ที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดี มาปรับใช้ในการปฏิบัติงานจริง
ผลการดำเนินงาน
ตนข้อเกณฑ์ผลการดำเนินงานหลักฐาน
1มีการกําหนดประเด็นความรู้และเป้าหมายของการจัดการความรู้ที่สอดคล้องกับพันธกิจของหน่วยงาน อย่างน้อย 1 พันธกิจ

1. สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ มีการกําหนดประเด็นความรู้และเป้าหมายของการจัดการความรู้ที่สอดคล้องกับพันธกิจของหน่วยงาน ดังนี้

 

1.1 มีการประชุมเพื่อหารือประเด็นความรู้และเป้าหมายของการจัดการความรู้ ในคราวประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ครั้งที่ 6/2564 วันที่ 29 กันยายน 2564 (1.6-1(1)) ผลการดำเนินงานการจัดการความรู้ ปีการศึกษา 2563 คือเรื่อง แนวปฏิบัติที่ดีสหกิจศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ สามารถดำเนินงานได้บรรลุผล ได้แนวปฏิบัติที่ดีสหกิจศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ให้ทุกคณะใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงาน และในปีการศึกษา 2564 ได้มีการกำหนดประเด็ดความรูและเป้าหมายของการจัดการความรู้ที่สอดคล้องกับพันธกิจ จากกรรมการในแต่ละส่วนงาน สามารถสรุปได้ดังนี้

 

ยุทธศาสตร์ที่ 3 เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาองค์การอย่างยั่งยืน

เป้าประสงค์ : ระบบบริหารจัดการที่ดี มีประสิทธิภาพ โปร่งใส และตรวจสอบได้

กลยุทธ์ที่ 3. พัฒนาประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรอย่างต่อเนื่องและส่งเสริมวัฒนธรรมองค์กรให้บุคลากรมีส่วนร่วม 

ตัวชี้วัด : ร้อยละของบุคลากรที่ได้รับการพัฒนา   

เป้าหมายตัวชี้วัด : ร้อยละ 80

หน่วยงาน

องค์ความรู้ที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานตามประเด็นยุทธศาสตร์

งานบริหารทั่วไป

1. การลงหนังสือรับ

2. การบริหารเวลาและงบประมาณ

3. การจัดประชุมออนไลน์

4. การให้บริการระบบงานสารบรรณ

5. การเคลียเงินทดรองจ่าย

6. การเขียนประเมินตนเอง

งานส่งเสริมวิชาการ

1. การจัดเก็บเอกสาร

2. การเสนอหลักสูตร

3. การลงแผนการเรียน

4. การลงชื่อผู้สอน

5. การจัดตารางเรียน ตารางสอน ตารางสอบ

6. การเปิดหลักสูตรระยะสั้น

7. การใช้โปรแกรม zoom

งานทะเบียนและประมวลผล

1. เทคนิคการของานวิจัย

2. การแนะแนวออนไลน์

3. การทำเว็บไซต์

4. การกรอกเกรด

5. การเขียนคู่มือปฏิบัติงาน

6. การรับสมัครนักศึกษา

7. การแนะแนวการศึกษา

งานบริการวิชาการ

1. เทคนิคการให้บริการที่ประทับใจ

2. การสร้างแบบสอบถามด้วย google form

3. เทคนิคการออกพื้นที่

4. การจัดโครงการและเคลียเงิน          

5. การจัดประชุมออนไลน์

บัณฑิตศึกษา

1. เทคนิคการประสานงานที่ดี

2. การทำวารสารงานวิจัย

3. การขอเอกสารออนไลน์

4. การใช้โปรแกรม zoom

 

1.2 มีการแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับตัวบ่งชี้และจัดเก็บข้อมูลด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ตามตัวบ่งชี้ด้านการจัดการความรู้ สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ปีการศึกษา 2564 (1.6-1(2)) โดยมีส่วนร่วมของบุคลกร ตั้งแต่ รองอธิการบดี เป็นคณะกรรมการที่ปรึกษา ผู้อำนวยการสำนักฯ รองผู้อำนวยการสำนัก และหัวหน้าสำนักงานสำนักฯ เป็นคณะกรรมการอำนวยการ และตัวแทนจากทุกกลุ่มงานเป็นคณะกรรมการดำเนินงาน เพื่อทำหน้าที่ให้คำปรึกษา อำนวยการ พิจารณา สั่งการ กำกับ ติดตาม ให้ความเป็น ข้อเสนอแนะ และจัดเก็บข้อมูล ปฏิบัติงานให้สอดคล้อง เป็นไปตามตัวบ่งชี้และเกณฑ์มาตรฐานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2564

 

1.3 มีการประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ ครั้งที่ 7/2564 วันที่ 11 ตุลาคม 2564 (1.6-1(3)) เพื่อหารือและกำหนดประเด็นความรู้และเป้าหมายของการจัดการความรู้ ระดับสำนัก ที่สอดคล้องกับพันธกิจของหน่วยงาน จำนวน 1 เรื่อง คือ การจัดประชุมออนไลน์ อันสืบเนื่องมาจาก สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสสายพันธ์ใหม่ COVID – 19 ทำให้เทคโนโลยี e-meeting ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว การประชุมผ่านเครือข่ายออนไลน์นอกจากลดอัตราการแพร่ระบาดแล้ว ยังไม่เสียค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ซึ่งจะไม่เสียเวลาในเดินทาง สามารถดำเนินกิจกรรมได้ทุกที่ทุกเวลา ทำให้โอกาสในการพลาดการประชุมนั้น ๆ เกิดขึ้นได้น้อย

            การประชุมออนไลน์ที่ดีและราบรื่นตามวัตถุประสงค์ จะต้องมีการเตรียมความพร้อมทั้งระบบและเอกสารประกอบการประชุม รวมถึงการประสานงานเพื่อรวบรวมเอกสารประกอบการประชุด นัดหมาย และการที่ผู้จัดการประชุมมีความเชี่ยวชาญ จะทำให้การจัดประชุมออนไลน์มีประสิทธิภาพ

2มีกําหนดบุคลากรกลุ่มเป้าหมายที่จะพัฒนาความรู้และทักษะให้สอดคล้องกับประเด็นความรู้ที่กําหนด ในข้อ 1

2. สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ มีการกําหนดบุคลากรกลุ่มเป้าหมายที่จะพัฒนาความรู้และทักษะให้สอดคล้องกับประเด็นความรู้ฯ ดังนี้

 

2.1 มีการประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ ครั้งที่ 7/2564 วันที่ 11 ตุลาคม 2564 (1.6-2(1)) เพื่อกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่จะพัฒนาความรู้และทักษะ  คือ เจ้าหน้าที่ผู้ทำหน้าที่จัดการประชุมของสำนักส่งเสริม จำนวน 4 คน ที่รับผิดชอบในการดำเนินการจัดประชุมคณะกรรมการบริหารสำนัก คณะกรรมการประจำสำนัก คณะกรรมการวิชาการ คณะกรรมการหมวดวิชาการศึกษาทั่วไป และหรือเข้าร่วมการประชุมอื่น ๆ ซึ่งมีความจำเป็นต้องใช้ทักษะความรู้โปรแกรม zoom เพื่อจัดประชุมออนไลน์ ในสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสสายพันธ์ใหม่ COVID – 19

เจ้าหน้าที่

การประชุม

กำหนดการประชุม

1. นางพรรทิภา พรมมา รับผิดชอบ

คณะกรรมการบริหารสำนัก

คณะกรรมการประจำสำนัก

ทุกเดือน

2 – 3 ครั้ง/ปี

2. นางสาวอังคณา ลิ้มพงศ์ธร

คณะกรรมการวิชาการ

ทุกเดือน

3. นางสาวรัชฏาภรณ์ พรมทอน เบ้าทอง

คณะกรรมการบริการวิชาการ

3 – 5 ครั้ง/ปี

4. นางสาวธรรญกฤต คำพิมูล

คณะกรรมการหมวดวิชาการศึกษาทั่วไป

ทุกเดือน

 

2.2 มีการประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ครั้งที่ 8/2564 วันที่ 24 พฤศจิกายน 2564 (1.6-2(2)) เพื่อพิจารณา ยกร่าง แผนการจัดการความรู้ สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ประจำปีการศึกษา 2564 (1.6-2(3) ดังนี้

RT-KM2 แผนการจัดการความรู้ (KM Action Plan) การจัดการความรู้ด้านการส่งเสริมให้บุคลากรเป็นบุคคลที่มีความรู้และแชร์ประสบการณ์ จาก tacit Knowledge ที่ได้จากการปฏิบัติงาน (On the Job Training) จากการจัดประชุมออนไลน์

ชื่อหน่วยงาน : สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

ยุทธศาสตร์ที่ 3 : เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาองค์กรสู่ความเป็นเลิศ

กลยุทธ์ : พัฒนาระบบการทำงานในรูปแบบบูรณาการโดยวิธีการจัดการความรู้ เพื่อส่งเสริมให้บุคลากรเป็นบุคคลที่มีความรู้

องค์ความรู้ที่จำเป็น (K) : การจัดประชุมออนไลน์

ตัวชี้วัด (KPI) : บุคลากรที่รับผิดชอบการจัดประชุมของสำนักฯ สามารถจัดประชุมออนไลน์ได้ 100%

เป้าหมายของตัวชี้วัด : มีระบบสารสนเทศจัดประชุมออนไลน์

ลำดับที่

กิจกรรมการจัดการความรู้

ระยะ

เวลา

ตัว

ชี้วัด

เป้า

หมาย

กลุ่ม

เป้าหมาย

1.

- แต่งตั้งคณะกรรมการการจัดการความรู้เพื่อดำเนินกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง “การจัดการความรู้ด้านการส่งเสริมให้บุคลากรเป็นบุคคลที่มีความรู้”

- ประชุมคณะกรรมการการจัดการความรู้เพื่อดำเนินกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้

- ระดมความคิดและคัดเลือกองค์ความรู้เรื่อง การจัดการความรู้ด้านการส่งเสริมให้บุคลากรเป็นบุคคลที่มีความรู้และแชร์ประสบการณ์ จาก tacit Knowledge ที่ได้จากการปฏิบัติงาน (On the Job Training)

ต.ค. 64

มีประเด็นในการจัดการความรู้

5 ประเด็น

คณะกรรมการจัดการความรู้

2.

การสร้างและการแสวงหาความรู้

- ศึกษา รวบรวมข้อมูลและเอกสารที่เกี่ยวข้อง

- จัดกิจกรรม KM เพื่อวิเคราะห์ความรู้ที่จำเป็น โดยการถอดองค์ความรู้ของบุคคลที่มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ โดยกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกลุ่มเป้าหมาย กำหนดแนวทาง ขั้นตอนการพัฒนา จุดบกพร่องที่ควรแก้ไข ตั้งเป้าหมายรวมกัน การวางแผนปรับปรุงการปฏิบัติงาน การติดตามและประเมินผล โดยประสิทธิภาพของบุคลากรให้มีความรู้ในประเด็นดังนี้

1. การแนะแนวออนไลน์

2. การประชุมออนไลน์

 

พ.ย. - ธ.ค. 64

จำนวนครั้งในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

4 ครั้ง

คณะกรรมการจัดการความรู้

3.

รวบรวมความรู้ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนความรู้/กิจกรรมถอดองค์ความรู้มาจัดให้เป็นระบบ พร้อมแยกเป็นประเด็น รวบรวมข้อมูลและจัดทำสารบัญสรุปประเด็นที่จำเป็นและที่เกี่ยวข้องวางโครงสร้างความรู้ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเก็บความรู้อย่างเป็นระบบเพื่อการเรียกใช้งานได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง มี 2 ประเด็นดังนี้

1. การแนะแนวออนไลน์

2. การประชุมออนไลน์

พ.ย. - ธ.ค. 64

จำนวนประเด็นที่จำเป็นและที่เกี่ยวข้อง

2 ประเด็น

คณะกรรมการจัดการความรู้

4.

การประมวลและกลั่นกรองความรู้

- สรุปประเด็นและกลั่นกรองความรู้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ นำมาจัดทำเอกสารให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน เพื่อให้บุคลากรเข้าใจตรงกัน จัดระบบข้อมูลให้เข้าถึงข้อมูลง่าย

ม.ค. - ก.พ. 65

เอกสารความรู้

1 ชิ้น

คณะกรรมการจัดการความรู้

5.

การเข้าถึงความรู้

- ความรู้ที่ได้จากกิจกรรมถอดองค์ความรู้นำมาปรับปรุงรูปการปฏิบัติงานให้เป็นมาตรฐาน ปรับแก้ไขภาษาและปรับปรุงเนื้อหา ครั้งที่ 1 หลังจากนั้นส่งให้คณะกรรมการดำเนินงาน KM เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง ครบถ้วนของประเด็นความรู้สำคัญแต่ละด้าน

ก.พ. - มี.ค. 65

จำนวนช่องทางการเผยแพร่

2 ช่องทาง

คณะกรรมการจัดการความรู้

6.

การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้

- นำเข้าที่ประชุมระดับบริหาร เพื่อให้ผู้บริหารรับทราบถึงกระบวนการและเผยแพร่ให้บุคลากรทุกหน่วยงานรับทราบและนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการปฏิบัติงาน

ก.พ. - มี.ค. 65

จำนวนหน่วยงานที่ได้รับความรู้

5 คณะ / 3 สำนัก / 2 สถาบัน

คณะกรรมการจัดการความรู้

7.

การเรียนรู้

- ผู้บริหารให้ความสำคัญกับการกระตุ้นให้บุคลากรภายในหน่วยงานนำองค์ความรู้ตามคู่มือไปใช้ประโยชน์กับการปฏิบัติงานอย่างเป็นรูปธรรม

เม.ย. - พ.ค. 65

แนวปฏิบัติที่ดีการใช้งาน ระบบ ZOOM meeting

1 เล่ม

คณะกรรมการจัดการความรู้

 

2.3 มีการประชุมคณะกรรมการประจำสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ครั้งที่ 2/2564 วันที่ 27 ธันวาคม 2564 (1.6-2(4)) เพื่อพิจารณาแผนการจัดการความรู้สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ประจำปีการศึกษา 2564 ดังนี้

แผนการจัดการความรู้

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3

การพัฒนาระบบการบริหารจัดการมหาวิทยาลัยโดยยึดหลักธรรมาภิบาล

ที่

ประเด็นความรู้

ตัวชี้วัดความสำเร็จ

กลุ่ม

เป้าหมาย

ระยะ

เวลา

งบ

ประมาณ

ผู้

รับผิดชอบ

ตัวชี้วัด

ค่าเป้าหมาย

1

การจัดประชุมออนไลน์

บุคลากรที่รับผิดชอบการจัดประชุมของสำนักฯ สามารถจัดประชุมออนไลน์ได้ 100%

มีระบบสารสนเทศจัดประชุมออนไลน์

เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป 2 คน และเจ้าหน้าที่บริการวิชาการ 2 คน

ปีการศึกษา 2564

ไม่มี

สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ

 

3มีการแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้จาก ความรู้ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง (Tacit Knowledge) เพื่อค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีตามประเด็นความรู้ที่กําหนดในข้อ 1 และเผยแพร่ไปสู่บุคลากรกลุ่มเป้าหมายที่กําหนด

3. สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ มีการแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้จาก ความรู้ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง (Tacit Knowledge) ดังนี้

 

3.1 มีการแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดประชุมออนไลน์ เพื่อให้บุคลากรเป้าหมายได้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จนสามารถสกัดความรู้ที่ได้จากตัวบุคคลที่มีทักษะและความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติงานการจัดประชุม จนได้องค์ความรู้การจัดประชุมออนไลน์เพื่อให้บุคคลากรสามารถปฏิบัติงานได้เป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยในการประชุมมีประสิทธิภาพสามารถดำเนินงานได้ตามระยะเวลาที่กำหนด และเพื่อประโยชน์ในการดำเนินการ จึงเชิญบุคลากรภายนอกผู้มีความเชี่ยวชาญด้านการจัดประชุมออนไลน์เข้าร่วมแบ่งบันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในครั้งนี้ด้วย

 

เจ้าหน้าที่

ทำหน้าที่

1. นางพรรทิภา พรมมา รับผิดชอบ

คุณเอื้อ/คุณกิจ

2. นางสาวรัชฏาภรณ์ พรมทอน เบ้าทอง

คุณอำนวย/คุณประสาน

3. นางสาวอังคณา ลิ้มพงศ์ธร

คุณกิจ

4. นางสาวธรรญกฤต คำพิมูล

คุณกิจ

5. นางรัศมี ทองเกิด (หัวหน้าสำนักงานคณบดีคณะครุศาสตร์)

คุณกิจ

 

3.2 มีการแบ่งบันประสบการณ์ตรงของแต่ละคน เพื่อค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีตามประเด็นการจัดประชุมออนไลน์และเผยแพร่ไปสู่กลุ่มบุคคลเป้าหมายดังนี้

            นางสาวรัชฎาภรณ์ พรมทอน เบ้าทอง เป็นผู้รับผิดชอบการประชุมคณะกรรมการวิชาการ ก่อนการปรับเปลี่ยนตำแหน่งจากงานบริหารทั่วไป ไปงานบริการวิชาการ โดยการแบ่งบันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในครั้งนี้ จากประสบการณ์เป็นผู้ช่วยเลขานุการการประชุมสภามหาวิทยาลัย การประชุมสภาวิชาการ การประชุมคณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัย การประชุมคณะกรรมการวิชาการ  การประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ การประชุมคณะกรรมการประจำสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ เป็นผู้ทำหน้าที่อำนวย/คุณประสานในการจัดสรรทรัพยากรสำหรับใชการจัดการความรู้ พร้อมคอยจุดประกายความคิดและการเป็นนักเชื่อมโยงระหว่างผู้ปฏิบัติ (คุณกิจ) กับผู้บริหาร (คุณเอื้อ) เชื่อมโยงระหว่าง (คุณกิจ) ต่างกลุ่มภายในองค์กร และเชื่อมโยงการจัดการความรู้ภายในองค์กร กับภายนอกองค์กร โดยกำหนดกิจกรรมดังนี้

1) กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ บอกเล่าประสบการณ์และความสำเร็จจากการดำเนินงาน มอบหมาย นางสาวอังคณา ลิ้มพงศ์ธร เป็นผู้บันทึกการประชุม (คุณลิขิต)

2) กิจกรรมเวทีนำเสนอผลการถอดบทเรียน (แบ่งปันองค์ความรู้)

3) กิจกรรมจัดทำแบบนำเสนอองค์ความรู้ (แลกเปลี่ยนการนำผลการถอดบทเรียนไปสู่การปฏิบัติ)

4) กิจกรรมเผยแพร่องค์ความรู้

 

3.3 กิจกรรมที่ 1 การแบ่งบันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ บอกเล่าประสบการณ์และความสำเร็จจากการปฏิบัติงาน

            ครั้งที่ 1 ( วันที่ 13 ธันวาคม 2564 ) ประโยชน์ที่ได้จากการแบ่งบันและแลกเปลี่ยนความรู้ในครั้งนี้ คือ 1) สามารถจัดประชุมทางไกลออนไลน์แบบโต้ตอบได้ทันที 2) สามารถรองรับผู้ร่วมประชุมได้หลากหลาย ขยายขอบเขตการประชุมไปจุดต่าง ๆ ได้ทั้งภายในและภายนอกคณะด้วยการเชื่อมสัญญาอินเทอร์เน็ต 3) สามารถนำข้อมูลที่ประชุมด้วยระบบออนไลน์ในแต่ละครั้ง มาเปิดชมย้อนหลังเพื่อทบทวนได้ตลอดเวลา 4) สามารถบริหารจัดการเวลาในการจัดทำรายงานการประชุมได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น 5) สามารถจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบออนไลน์ได้ 6) สามารถสร้างแบบฟอร์มต่าง ๆ แบบออนไลน์ได้ 7) สามารถใช้งานร่วมกันได้ 8) สามารถนำข้อมูลมาวิเคราะห์ผลในรูปแบบต่าง ๆ ได้ 9) สามารถบริหารจัดการเวลาในการจัดเตรียมการประชุมออนไลน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

            ครั้งที่ 2 ( วันที่ 4 มกราคม 2565 ) ประโยชน์ที่ได้จากการแบ่งบันและแลกเปลี่ยนความรู้ในครั้งนี้ คือ 1) สามารถกำหนดผู้ควบคุม ทำหน้าที่ดูแลและบริหารจัดการระบบควบคุมการประชุม 2) กำหนดขั้นตอนการใช้งานระบบบริหารการประชุม 3) ระบุอุปกรณ์สนับสนุนการประชุมที่มีประสิทธิ์ภาพ 4) กำหนดแนวทางการดำเนินงานก่อนการประชุม ระหว่างการประชุม และหลังเสร็จสิ้นการประชุม

            ครั้งที่ 3 ( วันที่ 7 มกราคม 2565 ) ประโยชน์ที่ได้จากการแบ่งบันและแลกเปลี่ยนความรู้ในครั้งนี้ คือ การใช้งานระบบจัดประชุมออนไลน์ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ 1) หน้าหลัก ประกอบด้วย ระบบโปรแกรมการประชุม ระเบียบวาระการประชุม และคำอธิบายการใช้งานระบบ 2) หน้าระเบียบการประชุม โดยเชื่อมโยงเอกสารประกอบการประชุม และลิงค์เอกสารที่นำขึ้น Google Drive

            ครั้งที่ 4 ( วันที่ 11 มกราคม 2565 ) ประโยชน์ที่ได้จากการแบ่งบันและแลกเปลี่ยนความรู้ในครั้งนี้ คือ กลุ่มเป้าหมาย ได้จัดทำระบบประชุมออนไลน์ คณะกรรมการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ โดยการสร้าง Google Site ประกอบด้วย หน้าหลัก และหน้าระเบียบวาระการประชุม

            ครั้งที่ 5 ( วันที่ 12 มกราคม 2565 ) ประโยชน์ที่ได้จากการแบ่งบันและแลกเปลี่ยนความรู้ในครั้งนี้ คือ กลุ่มเป้าหมายร่วมประชุมออนไลน์ คณะกรรมการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ครั้งที่ 1/2565 วันที่ 12 มกราคม 2565 เพื่อได้เรียนรู้การใช้งานจริง

            ครั้งที่ 6 ( วันที่ 25 มกราคม 2565 ) ประโยชน์ที่ได้จากการแบ่งบันและแลกเปลี่ยนความรู้ในครั้งนี้ คือ 1. ก่อนการประชุม 1) จัดทำระเบียบการประชุม รวบรวมเอกสาร สร้างระบบการประชุม Google Site เชื่อมโยงลิงค์ในหน้าระเบียบวาระการประชุม 1) แจ้งนัดหมายการประชุมและแจ้งลิงค์ระบบการประชุมล่วงหน้าแก่กรรมการผู้เข้าร่วมประชุม 2. ระหว่างการประชุม 1) อำนวยความสะดวกในการจัดประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์และตรวจสอบความพร้อม  3. หลังประชุม ซ่อนระเบียบวาระการประชุมและแสดงสรุปมติการประชุม เพื่อป้องกันการนำข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์ออกไปใช้อ้างอิง

4มีการรวบรวมความรู้ตามประเด็นความรู้ที่กําหนดในข้อ 1 ทั้งที่มีอยู่ใตัวบุคคล และแหล่งเรียนรู้อื่นๆ ที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดีมาพัฒนาและจัดเก็บอย่างเป็นระบบโดยเผยแพร่ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร (Explicit Knowledge)

4. สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ การรวบรวมความรู้ตามประเด็นความรู้ที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดีมาพัฒนาและจัดเก็บอย่างเป็นระบบโดยเผยแพร่ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร (Explicit Knowledge) ในการประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ ครั้งที่ 3/2565 วันที่ 7 เมษายน 2565 (1.6-3(1)) ดังนี้

 

4.1 มีการเผยแพร่องค์ความรู้ที่ได้จากการแบ่งบันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ดังนี้ 1) เผยแพร่ในเพจงานบริหารทั่วไป สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ 2) เผยแพร่ในระบบการประชุมคณะกรรมการวิชาการ / คณะกรรมการบริการวิชาการ / คณะกรรมการประจำสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ / คณะกรรมการบริหารสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ 3) เผยแพร่ไปยังหน่วยงานภายในสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ ได้แก่ งานบริหารทั่วไป งานทะเบียนและประมวลผล งานส่งเสริมวิชาการ งานบริการวิชาการ 4) เผยแพร่ไปยังหน่วยงานภายนอก ได้แก่ ผู้รับจ้างโครงการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย ตำบลไพรพัฒนา อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ

 

4.2 มีการจัดกิจกรรมเวทีนำเสนอผลการถอดบทเรียน (แบ่งปันองค์ความรู้) นำเสนอผลการถอดบทเรียนในการประชุมคณะกรรมการประจำสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ ในการประชุมครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2565 และ คณะกรรมการบริหารสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ ครั้งที่ 5/2565 เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2565 ข้อเสนอแนะจากที่ประชุม 1) ควรมีแบบนำเสนอองค์ความรู้ที่เข้าใจได้ง่าย 2) ควรเผยแพร่องค์ความรู้อย่างกว้างขวาง

 

4.3 กิจกรรมจัดทำแบบนำเสนอองค์ความรู้ ทำ one page ถ่ายถอดองค์ความรู้

 

4.4 มีสารสนเทศการจัดประชุมออนไลน์ ได้แก่ 1) สารสนเทศบริหารการประชุมออนไลน์ คณะกรรมการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ 2) สารสนเทศบริหารการประชุมออนไลน์ คณะกรรมการบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ 3) สารสนเทศบริหารการประชุมออนไลน์ คณะกรรมการประจำสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ 4) สารสนเทศบริหารการประชุมออนไลน์ คณะกรรมการบริหารสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

5มีการนําความรู้ที่ได้จากการจัดการความรู้ในปีงบประมาณปัจจุบันหรือปีที่ผ่านมาที่เป็นลายลักษณ์อักษร (Explicit Knowledge) และจากความรู้ ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง (Tacit Knowledge) ที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดี มาปรับใช้ในการปฏิบัติงานจริง

5. สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ มีมีการนําความรู้ที่ได้จากการจัดการความรู้ในปีงบประมาณปัจจุบันหรือปีที่ผ่านมาที่เป็นลายลักษณ์อักษร (Explicit Knowledge) และจากความรู้ ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง (Tacit Knowledge) ที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดี มาปรับใช้ในการปฏิบัติงานจริง ดังนี้

5.1 กลุ่มเป้าหมาย สามารถจัดประชุมออนไลน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เข้าใจการบริหารการประชุมที่ดี ทั้งเวลา วัสดุ องค์ประชุม ไม่ว่าจะเป็น การประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักฯ คณะกรรมการประจำสำนักฯ คณะกรรมการวิชาการ คณะกรรมการหมวดวิชาการศึกษาทั่วไป หรือแม้แต่การประชุมอื่น ๆ อาทิ การประชุมผู้รับจ้างโครงการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย เป็นต้น

ผลคะแนนการประเมินตนเอง
ทำได้ (ข้อ) ได้คะแนน
5 5