สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ มีการดำเนินงานกับเครือข่ายความร่วมมือด้านวิจัยหรืองานสร้างสรรค์หรือนวัตกรรมระหว่างสถาบันอุดมศึกษา องค์กรภาครัฐหรือเอกชน ทั้งในประเทศหรือต่างประเทศ ดังนี้
1. เครือข่ายสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏ 38 แห่ง
1.1 ความร่วมมือ
มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม เพื่อส่งเสริมการวิจัยตามภารกิจการจัดกลุ่มมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นและชุมชนอื่น ระหว่างสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏทั้ง 38 แห่งทั่วประเทศ โดยกำหนดเป้าหมาย นโยบายการพัฒนาระบบการวิจัย สนับสนุน ส่งเสริมการวิจัยสู่ความเป็นเลิศเพื่อพัฒนาชุมชนท้องถิ่น 2.1- 5 (1)
1.2 การดำเนินการร่วมกันระหว่างสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏทั้ง 38 แห่ง
เครือข่ายสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏ ได้ดำเนินการร่วมกันขับเคลื่อนการดำเนินการ ดังนี้
1) พัฒนาระบบบริหารจัดการวิจัยระดับสถาบันและระดับเครือข่ายที่จะมีนักจัดการงานวิจัยและชุมชน ท้องถิ่น
2) พัฒนานักวิจัยรุ่นใหม่ เพื่อยกระดับคุณภาพนักวิจัยและเครือข่ายให้มีมาตรฐานที่สูงขึ้น
3) เกิดการพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อพัฒนาชุมชน ท้องถิ่นร่วมกัน ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาของชุมชน
4) ส่งเสริมการนำผลงานวิจัย เพื่อการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นสู่การตีพิมพ์เผยแพร่ในระดับชาติและนานาชาติ และมีส่วนร่วมในการดำเนินการระหว่างสถาบันวิจัยและพัฒนา
1.3 ผลการดำเนินการ
จากความร่วมมือเครือข่ายสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏ มีผลการดำเนินการ ดังนี้
1) นักวิจัยแต่ละมหาวิทยาลัย ที่เข้าร่วมพัฒนาศักยภาพ สามารถพัฒนางานวิจัยเชิงพื้นที่/เชิงประเด็นในระดับสถาบันและระดับเครือข่าย ร่วมถึงการเป็นนักจัดการงานวิจัยชุมชน ท้องถิ่น
2) เกิดการพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการแก้ไขปัญหาและพัฒนาชุมชน ท้องถิ่น
2. บันทึกข้อตกลงความร่วมมือสร้างระบบฐานข้อมูลชุมชน บูรณาการความร่วมมือในการช่วยเหลือกลุ่มคนเปราะบางในพื้นที่ให้ครอบคลุมทุกมิติแบบบูรณาการ ระหว่าง สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ องค์การบริหารส่วนตำบลผักไหม อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ
2.1 ความร่วมมือ
เพื่อบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (Memorandum of Understanding : MOU) ระหว่าง มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ที่ได้ดำเนินการวิจัยเพื่อสนองพันธกิจที่สำคัญของมหาวิทยาลัยในฐานะที่เป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและสร้างเครือข่ายความร่วมมือการบริการวิชาการและวิชาชีพให้เข้มแข็ง และสอดคล้องกับยุทธศาสตร์จังหวัดในประเด็นยุทธศาสตร์การเสริมสร้างสังคมที่เข้มแข็งและการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดี กับ องค์การบริหารส่วนตำบลผักไหม ตำบลผักไหม อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ โดยมีสาระความสำคัญของความร่วมมือ ดังนี้ (2.1 – 5 (2)
ข้อที่ 1 เพื่อสร้างระบบฐานข้อมูลกลุ่มครัวเรือนคนจนในพื้นที่ตำบลผักไหม
อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ เกิดการบูรณาการข้อมูลร่วมกัน
ข้อที่ 2 เพื่อบูรณาการความร่วมมือในการช่วยเหลือกลุ่มคนจน กลุ่มคนเปราะบางในพื้นที่ให้ครอบคลุมทุกมิติแบบบูรณาการ
ข้อที่ 3 เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตยกระดับรายได้กลุ่มเปราะบางให้มีศักยภาพด้านทักษะความสามารถในการประกอบอาชีพให้ครัวเรือนคนจนมั่นคงและมีความสุขสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน
2.2 การดำเนินการร่วมกัน
มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ และองค์การบริหารส่วนตำบลผักไหม อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ ได้ดำเนินบันทึกความร่วมมือ ในการสร้างระบบฐานข้อมูลชุมชน BIGDATA) (โครงการยุทธศาสตร์ฯ) โดยบันทึกความร่วมมือนี้ จัดทำขึ้นเมื่อ วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2566 สิ้นสุด 31 มีนาคม 2566 โดยมีการร่วมกันขับเคลื่อนการดำเนินการ ดังนี้
1) สร้างความร่วมมือกับกลไกผู้นำชุมชน เก็บข้อมูลครัวเรือนคนจนในพื้นที่ตำบลผักไหม อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ
2) สร้างระบบฐานข้อมูลเพื่อเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการม่ส่วนร่วมของชุมชน
3) วิเคราะห์ สังเคราะห์ สร้างทางเลือกการพัฒนาครัวเรือนคนจนด้วยระบบข้อมูล
4) พัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยการศักยภาพยกระดับรายได้ด้วยการสร้างอาชีพเสริมการเลี้ยงไก่พื้นบ้าน
5) บูรณาการความร่วมมือระหว่างสถาบันวิชาการและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
2.3 ผลการดำเนินการ
จากความร่วมมือระหว่าง สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ และองค์การบริหารส่วนตำบลผักไหม อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ ผลการดำเนินการ ดังนี้
1) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้นำใช้ประโยชน์จากการเก็บข้อมูลด้วยระบบสารสนเทศ(Big data) เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของกลุ่มเปราะบาง
2) เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตครัวเรือนเปราะบาง สร้างอาชีพเสริมที่สอดคล้องกับครัวเรือนเป้าหมายเกิดรายได้ลดรายจ่ายในครัวเรือน
3. เครือข่ายการวิจัยและการดำเนินโครงการพัฒนาต้นแบบการท่องเที่ยวจังหวัดศรีสะเกษตามกรอบ BCG ภายใต้แผนงานการขับเคลื่อนเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจสีเขียว การบริหารจัดการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และการจัดการมรดกทางวัฒนธรรม
3.1 ความร่วมมือ
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษได้มีการบึนทึกความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย 12 หน่วยงาน ซึ่งประกอบด้วย1)องค์การบริหารส่วนจังหวัด 2)สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย 3)สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดศรีสะเกษ 4)สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ 5)ศูนย์การเรียนรู้หัตถวิถีมณีวิภา 6)หอการค้าจังหวัดศรีสะเกษ 7)สำนักงานเกษตรจังหวัด 8)สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดศรีสะเกษ 9)เรือนจำจังหวัดศรีสะเกษ 10)โรงแรมแกลเลอรี่ ดีไซน์ 11)สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดยโสธร 1)สภาอุตสาหกรรมจังหวัดอุบลราชธานี 2.1-5 (3)
3.2 การดำเนินการร่วมกัน
สถาบันวิจัยและพัฒนา ได้มีการประชุมระหว่างสถาบันวิจัยและพัฒนาของมหาวิทยาลัยราชภัฏและเครือข่าย 12 หน่วยงาน เพื่อดำเนินการขับเคลื่อนงานร่วมกัน โดยบันทึกความร่วมมือนี้จัดขึ้นเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2566 ณห้องเธียร์เตอร์ ชั้น 4 อาคารอุทยานการเรียนรู้ศรีสะเกษ (SSK PARK) องค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ โดย มีวัตถุประสงค์ร่วมกัน 3 ข้อ ดังนี้
1. พัฒนาและยกระดับการท่องเที่ยวโดยชุมชนตามกรอบ BCG ให้สามารถเป็นชุมชนการท่องเที่ยวที่มีศักยภาพและส่งเสริมให้ได้รับมาตรฐานต่างๆด้านการท่องเที่ยว รวมถึงการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว
2. พัฒนาและยกระดับสินค้าทางการท่องเที่ยวที่สอดคล้องกับอัตลักษณ์ของจังหวัดศรีสะเกษโดยการนำผลหรือเปลือกทุเรียนมาสร้างเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับประชาชนจังหวัดศรีสะเกษ
3. ประสานงานการทำงานแบบเครือข่ายเพื่อสนับสนุนภารกิจของภาคีเครือข่ายให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมและชุมชน สามารถตอบสนองนโยบายและตัวชี้วัดของหน่วยงานความร่วมมือได้
3.3 ผลการดำเนินการ
จากความร่วมมือระหว่างเครือข่ายเครือข่ายด้านงานวิจัยการท่องเที่ยวโดยชุมชนตามกรอบ BCG ผลการดำเนินการ พบว่า
ผลผลิตจากงานวิจัย คือ เกิดการยกระดับผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยว ที่มาจากองค์ความรู้ทางภูมิปัญญา อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมท้องถิ่น และองค์ความรู้ทางวิชาการ ซึ่งเป็นงานวิจัยและนวัตกรรมที่จะยกระดับมูลค่าเพิ่มทางสินค้า ผลิตภัณฑ์ เพื่อสร้างรายได้และเศรษฐกิจฐานรากของชุมชนบนฐานอัตลักษณ์ท้องถิ่น การพัฒนาโปรแกรมและกิจกรรมการท่องเที่ยวเพื่อยกระดับศักยภาพการท่องเที่ยวการพัฒนาระบบการตลาดและโฮมสเตย์ชุมชน สำหรับการท่องเที่ยว
ขณะที่งานวิจัยของมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษเรื่อง การยกระดับการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนตามกรอบ BCG และการพัฒนาผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวจากผลและเปลือกทุเรียนภูเขาไฟ จังหวัดศรีสะเกษ พบว่า ผลผลิตจากงานวิจัย คือ ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากผลและเปลือกทุเรียน ได้แก่ ตุ๊กตาจากผลทุเรียน ต่างหู ของที่ระลึก เส้นใยไหมจากเปลือกทุเรียน และผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผ้าอื่นๆ ภายใต้แผนงานการยกระดับศักยภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาพื้นที่บนฐานอัตลักษณ์ท้องถิ่นศรีสะเกษ
|