✓ | 1 | มีส่วนร่วมกับสถาบันและชุมชนในการกำหนดพื้นที่เป้าหมายในการพัฒนาท้องถิ่นที่สอดคล้องกับบริบท ปัญหา และความต้องการของท้องถิ่น ชุมชน หรือสังคมตามจุดเน้น จุดเด่นของสถาบัน ตามศาสตร์พระราชา หรือตามแนวพระราชดำริ | การกำหนดพื้นที่เป้าหมายในการบริการวิชาการของงานบริการวิชาการแก่ชุมชน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้มีการกำหนดเป้าหมายการบริการวิชาการแก่ชุมชนในปีงบประมาณ 2566 โดยดำเนินการสำรวจปัญหาและความต้องการของชุมชนที่สะท้อนและสอดคล้องกับพันธกิจของคณะ ฯ โดยเฉพาะพันธกิจด้านการบริการวิชาการแก่ชุมน โดยงานบริการวิชาการลงพื้นที่สำรวจและจัดประชุมตัวแทนชุมชนเพื่อสะท้อนปัญหาและความต้องการในการรับบริการวิชาการ โดยมีจุดเน้นที่พื้นที่ที่เคยได้รับการบริการวิชาการของงานบริการวิชาการแก่ชุมชนตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563, 2564 และปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 และดำเนินงานต่อในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เพื่อให้เกิดความยั่งยืนต่อชุมชนที่ได้รับการบริการวิชาการ และในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 งานบริการวิชาการแก่ชุมชน ได้กำหนดพื้นที่ในการบริการวิชาการเพิ่มขึ้นเพื่อขยายโอกาสให้กับพื้นที่อื่น ๆ ภายใต้โครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นให้ได้รับการบริการทางวิชาการอย่างทั่วถึง
ดังนั้นในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 งานบริการวิชาการแก่ชุมชน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานบริการวิชาการแก่ชุมชนของคณะฯ ปีงบประมาณ 2566 เพื่อทำหน้าที่ในการจัดทำแผนบริการวิชาการที่สอดคล้องกับปัญหาและความต้องการของชุมชน เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชนอย่างแท้จริง โดยมองถึงพื้นที่เป้าหมายในการพัฒนาท้องถิ่นที่สอดคล้องกับบริบท ปัญหา และความต้องการของท้องถิ่น ชุมชน หรือชุมชนตามจุดเน้น จุดเด่นของสถาบัน ตามศาสตร์พระราชา หรือตามแนวพระราชดำริ
| |
✓ | 2 | จัดทำแผนบริการวิชาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ชุมชน หรือสังคมตามจุดเน้น จุดเด่นของสถาบัน ตามศาสตร์พระราชา หรือตามแนวพระราชดำริและแผนการนำไปใช้ประโยชน์ ที่มีการกำหนดตัวบ่งชี้ความสำเร็จในระดับแผนและโครงการบริการวิชาการ และเสนอคณะกรรมการประจำคณะเพื่อพิจารณา | ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 งานบริการวิชาการแก่ชุมชน คณะ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้กำหนดระบบและกลไกการให้บริการ วิชาการแก่ชุมชน โดยมีการแต่งตั้งผู้รับผิดชอบงานบริการวิชาการแก่ชุมชนในตำแหน่ง “ผู้ช่วยคณบดีงานบริการวิชาการแก่ชุมชน” คือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์เสถียร สีชื่น ทำหน้าที่ในการกำกับและติดตามงานด้าน การบริการวิชาการแก่ชุมชนและแต่งตั้งหัวหน้างานบริการวิชาการแก่ชุมชน คือ อาจารย์ ดร.ประทักษ์ คูณทอง ตลอดจนคณะกรรมการบริการวิชาการ แก่ชุมชนของคณะ ฯ เพื่อทำหน้าที่จัดทำแผนการบริการวิชาการแก่ชุมชนที่มีความสอดคล้องกับปัญหาและความต้องการของชุมชน และจัดทำแผนการ นำไปใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการเพื่อให้เกิดผลต่อการพัฒนานักศึกษา ชุมชนหรือชุมชน และนำแผนฯ เสนอคณะกรรมการบริหารคณะ เพื่อพิจารณาเห็นชอบแผน “ในการประชุมคณะกรรมการบริหารคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ครั้งที่ 3/2565 วันที่ 16 พฤศจิกายน 2565 วาระที่ 5.1 พิจารณาแผนปฏิบัติการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 หน้า 5” และได้นำแผนฯ เข้าที่ประชุมเพื่อพิจารณา ต่อคณะกรรมการประจำคณะเพื่อพิจารณา “ในรายงานการประชุมคณะกรรมการประจำคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เรื่อง คณะกรรมการประจำคณะ ครั้งที่ 3/2566 วันที่ 6 ธันวาคม 2565 ระเบียบวาระที่ 5 เรื่องเสนอให้ที่ประชุมพิจารณา หน้า 7” โดยในรายละเอียดของแผนฯ ได้มีการกำหนดตัวบ่งชี้ความสำเร็จของแผน และโครงการไว้ดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว ซึ่งในแผนปฏิบัติการปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 มีจำนวน 2 โครงการ และโครงการภายใต้แผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น จำนวน 17 โครงการ รวมทั้งสิ้น 19 โครงการ โดยทั้ง 19 โครงการถูกนำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการประจำคณะฯ พิจารณาให้เห็นชอบและอนุมัติให้ดำเนินการจัดโครงการบริการวิชาการแก่ชุมชนตามแผนที่กำหนดไว้
| |
✓ | 3 | ดำเนินการตามแผนการบริการทางวิชาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ชุมชน หรือสังคมที่กำหนดไว้ตามข้อ 2 โดยร่วมมือกับหน่วยงานภายในหรือภายนอกสถาบัน อย่างน้อย 1 โครงการ | ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 งานบริการวิชาการแก่ชุมชน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ได้จัดทำโครงการบริการวิชาการแก่ชุมชนตามแผนที่กำหนดไว้ โดยร่วมกับหน่วยงานภายนอกอาทิ ชุมชน พัฒนาชุมชนอำเภอ ที่ทำการปกครอง ตลอดจน กองอำนวยการรักษาความั่นคงภายในส่วนหน้าจังหวัดศรีสะเกษ เป็นต้น การดำเนินงานงานบริการวิชาการแก่ชุมชน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ดำเนินการทั้งสิ้น 2 โครงการ ดังนี้ 1) โครงการอันเนื่องมากจากพระราชดำริและหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง: ศาสตร์พระราชาและปรัชญาเศรษกิจพอเพียงกับการนำไปใช้การจัดการชุมชนอย่างยั่งยืน บ้านรงระ ตำบลตูม อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ 2) โครงการบริการวิชาการ : พัฒนาบรรจุภัณฑ์และออกแบบตราสินค้าผลิตภัณฑ์ปลานิลร้า บ้านด่าน ตำบลด่าน อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ
| |
✓ | 4 | ประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ของแผนและโครงการบริการวิชาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ชุมชน หรือสังคมตามข้อ 2 และนำเสนอคณะกรรมการประจำคณะเพื่อพิจารณา | คณะกรรมการการบริการวิชาการแก่ชุมชน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้ดำเนินงานตามแผนบริการวิชาการแก่ชุมชน ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เมื่อการดำเนินโครงการสิ้นสุดลง คณะกรรมการบริการวิชาการแก่ชุมชนได้ประชุม เพื่อประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ของแผนและโครงการ ผลการดำเนินงานของโครงการในแผนบริการวิชาการแก่ชุมชน พบว่า มีโครงการที่ดำเนินงานทั้งหมด 2 โครงการ คณะกรรมการบริการวิชาการแก่ชุมชนนำผลการประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ของแผนและโครงการเข้าที่ประชุมคณะกรรมการประจำคณะฯ เพื่อพิจารณาผลการประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ของแผนฯ และโครงการบริการวิชาการแก่ชุมชน และได้นำผลประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ของแผนฯ “ในการประชุมคณะกรรมการประจำคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ครั้งที่ 4/2566 วันที่ 12 กรกฎาคม 2566 วาระที่ 5.1 การประเมินผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้วัดความสำเร็จของแผน หน้า 15”
| |
✓ | 5 | นำผลการประเมินตามข้อ 4 ไปปรับปรุงแผนบริการวิชาการในปีต่อไป | คณะกรรมการการบริการวิชาการแก่ชุมชน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้นำรายงานผลการประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ของ แผนฯ และโครงการบริการวิชาการแก่ชุมชน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ที่นำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการประจำคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เพื่อพิจารณาและที่ประชุมคณะกรรมการประจำคณะฯ ได้ให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมว่า “คณะฯ ควรส่งเสริมให้แต่ละสาขาวิชานำศาสตร์ของสาขาวิชาไปใช้ในการบริการวิชาการอันจะเกิดประโยชน์แก่สาขาวิชาและคณะต่อไป” ซึ่งทางคณะกรรมการบริการวิชาการแก่ชุมชนจะได้นำข้อเสนอแนะมาแก้ไข ปรับปรุง และพัฒนาแผนการให้บริการวิชาการแก่ชุมชน ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ต่อไป
| |