ตัวบ่งชี้ที่ 5.1 การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน

ปีที่ประเมิน 2565
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : โพธิ์พงศ์ ฉัตรนันทภรณ์ , ปิยชนก จันทร์ชัยภักดิ์ , นลินี อำพินธ์ , รุ่งทิวา เนื้อนา , ธัญทิพ บุญเยี่ยม , จุฑาสินี ชนะศึก , ปัญญณัฐ ศักดิ์สิทธานุภาพ
ชนิดตัวบ่งชี้ : กระบวนการ
คำอธิบายตัวบ่งชี้

มหาวิทยาลัยมีหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการพัฒนาผู้เรียนแบบบูรณาการกับการทำงาน เพื่อให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตอบสนองยุทธศาสตร์ชาติและความต้องการที่หลากหลายของประเทศ ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม  และสิ่งแวดล้อม โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน สังคม สถานประกอบการ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน

เกณฑ์การประเมิน
คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 ข้อ มีการดำเนินการ 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ
หมายเหตุ

เกณฑ์มาตรฐานข้อที่ 1 หมายถึง แผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน หลักสูตรจะต้องอธิบายถึงผลการดำเนินงานที่ดำเนินการในสถานประกอบการ
เกณฑ์มาตรฐานข้อที่ 4 หมายถึง การปรับปรุงแผนตามเกณฑ์มาตรฐานข้อที่ 1

เกณฑ์มาตรฐาน
ระดับ เกณฑ์มาตรฐาน ดำเนินการ
1 มีระบบและกลไกให้หลักสูตรจัดทำแผนจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน
2 มีการกำกับ ติดตามให้หลักสูตรดำเนินการตามแผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงานตามที่กำหนด
3 มีการกำกับ ติดตามให้หลักสูตรประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนที่กำหนด
4 มีการนำผลไปปรับปรุงแผนจัดการหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
5 มีแนวปฏิบัติที่ดีเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน
ผลการดำเนินงาน
ตนข้อเกณฑ์ผลการดำเนินงานหลักฐาน
1 มีระบบและกลไกให้หลักสูตรจัดทำแผนจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน

       คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มีระบบและกลไกให้หลักสูตรจัดทำแผนการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน ดังต่อไปนี้

       1. คณะกรรมการได้รับเอาประกาศมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ เรื่อง การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน สำหรับนักศึกษาในมหาวิทยาลัย
มากำหนดแนวทางการพัฒนานักศึกษาด้านการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ( 5.1 -1(1) ประกาศมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ เรื่อง การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน สำหรับนักศึกษาในมหาวิทยาลัย)

       2. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ได้ดำเนินการ แต่งตั้งคณะกรรมการศูนย์ฝึกประสบการณ์วิชาชีพและสหกิจศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ประจำปีการศึกษา 2565 ( 5.1-1(2) คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการศูนย์ฝึกประสบการณ์วิชาชีพและสหกิจศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ประจำปีการศึกษา 2565)

      3. คณะกรรมการฯ จัดทำระบบระบบและกลไกในการพัฒนาส่งเสริมและเตรียมความพร้อม ให้นักศึกษามีความสามารถด้านการทำงาน ( 5.1-1(3) ระบบและกลไกในการพัฒนาส่งเสริมและเตรียมความพร้อม ให้นักศึกษามีความสามารถด้านการทำงาน)

2 มีการกำกับ ติดตามให้หลักสูตรดำเนินการตามแผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงานตามที่กำหนด

       คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มีการประชุมคณะกรรมการบริหารคณะ ครั้งที่ 3/2565 วาระที่ 5.1  เพื่อกำหนดแผนในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน ระดับรายวิชา ของแต่ละหลักสูตร ( 5.1-2(1) รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารคณะ ครั้งที่ 3/2565 วาระที่ 5.1) และมีการประชุมคณะกรรมการประจำคณะ ครั้งที่ 3/2565 วาระที่ 5.1เพื่อกำกับติดตามให้หลักสูตรดำเนินการตามแผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงานตามที่กำหนด ( 5.1-2(2) รายงานการประชุมคณะกรรมการประจำคณะ ครั้งที่ 3/2565 วาระที่ 5.1)

         หลักสูตรทุกหลักสูตร ดำเนินการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาที่บูรณาการกับการทำงาน โดยกำหนดรายวิชาให้สอดคล้องกับการทำงานและสามารถนำไปปฏิบัติงานได้จริง ( 5.1-2(3) แผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน ปีการศึกษา 2565)

ลำดับที่

หลักสูตร

รายละเอียดการบูรณาการหลักสูตร

การดำเนินงาน

1.

ศศ.บ.
การพัฒนาชุมชน

2533803
เตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพ

1. การฝึกทักษะการศึกษาชุมชนและเก็บข้อมูลชุมชน

2. การเสริมสร้างแรงจูงใจของนักศักษาพัฒนาชุมชนสู่นักพัฒนาชุมชนอย่างมืออาชีพ

3. การเก็บชั่วโมงเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพหรือสหกิจศึกษา

4. การจัดการเรียนการสอนบูรณาการกับการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน

2.

นศ.บ.
นิเทศศาสตร์

1563804
การเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพนิเทศศาสตร์

1. โครงการการแสดงผลงานการออกแบบเครื่องแต่งกาย การแต่งหน้า และการแสดงร่วมสมัย “นาฏยพัสตราภรณ์”

2. โครงการเปิดม่านละครเวที

3. การเก็บชั่วโมงเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพหรือสหกิจศึกษา

4. โครงการนิเทศฯ ลั่นทุ่ง: มุ่งสร้างสื่อดี ให้ศรีสะเกษ ตอน สอนน้องทำหนัง

5. การจัดการเรียนการสอนบูรณาการกับการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน                

3.

ศศ.บ.

ภาษาอังกฤษธุรกิจ

1553606
การเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพภาษาอังกฤษธุรกิจ

1.การเตรียมฝึกปฏิบัติงานด้านการให้บริการในสถานบริการ (โรงแรม)

2.การเตรียมฝึกปฏิบัติงานด้านธุรการ (สำนักงาน)

3.การเตรียมฝึกปฏิบัติงานด้านการติดต่อสื่อสาร (สนทนากับชาวต่างชาติ)

4.การเตรียมฝึกปฏิบัติงานด้านการท่องเที่ยว (นำเสนอแหล่งท่องเที่ยวหรือรีวิวแหล่งท่องเที่ยวภาคภาษาอังกฤษ)

5.การพัฒนาบุคลิกภาพเพื่อการสมัครงานและเตรียมตัวทำงาน

6.การเตรียมตัวสมัครงานออนไลน์ (สมัครงานออนไลน์: แนะนำตัวเองทางด้านการศึกษา ความสามารถพิเศษ ประสบการณ์ในแต่ละตำแหน่งที่สมัคร)

4.

ศศ.บ. ภาษาจีน

1573803
การเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพ

ภาษาจีน

1.โปรแกรมที่ใช้ในงานสำนักงานที่เกี่ยวข้อง

2.การอบรมให้ความรู้เกี่ยวมารยาททางสังคม

ฝึกการแต่งตัวให้เหมาะสม/การมีบุคลิกภาพที่ดี

3.ฝึกปฏิบัติงานล่าม

4.การจัดทำแฟ้มประวัติ

5.การแนะนำตัวในการสมัครงาน และการสัมภาษณ์งาน

6.การจัดการเรียนการสอนบูรณาการกับการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน

5.

ศศ.บ. ภาษาญี่ปุ่น

1563802
การเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพภาษาญี่ปุ่น

1.การฝึกเขียนResume ทักษะการพิมพ์ภาษาญี่ปุ่น

2.สอบสัมภาษณ์เป็นภาษาญี่ปุ่น

3.การเก็บชั่วโมงเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพหรือสหกิจศึกษา

4.การจัดการเรียนการสอนบูรณาการกับการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน

5.การแชร์ประสบการณ์ฝึกประสบการณ์วิชาชีพ

6.

ศศ.บ. ศิลปะและการออกแบบ

2003803
การเตรียมการฝึกประสบการณ์วิชาชีพศิลปะและการออกแบบ

1.ทักษะการนำเสนอผลงานทางศิลปะและการออกแบบ

2.การเก็บชั่วโมงเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพหรือสหกิจศึกษา

3.การจัดการเรียนการสอนบูรณาการกับการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน

7.

ศศ.บ. ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร

1543802
การเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร

1.จัดกิจกรรมเตรียมความพร้อมก่อนออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ในด้านการ รับรู้ลักษณะและโอกาสของการประกอบอาชีพ

2. ปฏิบัติการค้นคว้าสรุปรายงาน องค์ความรู้ ทักษะ เจตคติ แรงจูงใจ และคุณลักษณะที่เหมาะสมกับการประกอบอาชีพโดยจัด กระทำในสถานการณ์ หรือรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับงานในวิชาชีพ

3. แนะนำแนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้ ฝึกปฏิบัติการทักษะการจัดการเรียนการสอน การจัดการชั้นเรียน การเขียนการจัดการเรียนรู้ การวัดผลและประเมินผลการเรียน  และกิจกรรมในชั้นเรียน รวมทั้งวิเคราะห์กฎหมายการศึกษาแห่งชาติ

4. ฝึกปฏิบัติการ ระเบียบ การจัดการสำนักงานรัฐและเอกชนสมัยใหม่

5. ฝึกการใช้เทคโนโสลีสำนักงาน ระบบดิจิทัล การใช้แพลทฟอร์มเพื่อการสื่อสารในองค์กร

6. ฝึกเรียนรู้การใช้สมาธิ ความสุภาพอ่อนน้อมและจิตสาธารณะ 

8.

ศศ.บ.ประวัติศาสตร์

1643806
การเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพประวัติศาสตร์

1.โปรแกรมเสริมสร้างทักษะทางเทคโนโลยีและโปรแกรมพื้นฐานที่ใช้ในงานสำนักงานที่เกี่ยวข้อง

2.การเก็บชั่วโมงเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพหรือสหกิจศึกษา

3.โครงการสัมมนาทางประวัติศาสตร์

4.การจัดการเรียนการสอนบูรณาการกับการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน

5.ทักษะการทำหนังสือราชการ

6.การฝึกเขียน Resume

7.การอบรมให้ความรู้เกี่ยวมารยาททางสังคมและการเอาตัวรอดในสังคมโรคระบาด

9.

ศศ.บ.บรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์

1633805

การเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์

1.การเตรียมฝึกปฏิบัติงานด้านการบริการสารสนเทศ (งานยืม-คืน)

2.การเตรียมฝึกปฏิบัติงานวิเคราะห์หมวดหมู่ทรัพยากรสารสนเทศ

3.การเตรียมฝึกปฏิบัติงานด้านจัดการวารสารและสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง

4.การพิมพ์หนังสือราชการ

5.การพัฒนาบุคลิกภาพเพื่อทำงานภายในองค์กร

6.ทักษะการพูดสำหรับงานบริการสารสนเทศ

 

3 มีการกำกับ ติดตามให้หลักสูตรประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนที่กำหนด

       คณะกรรมการฯ มีการติดตามผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้วัดความสำเร็จของแผน ประจำปีการศึกษา 2565 และสรุปผลการดำเนินงานด้านโครงการ/กิจกรรมต่าง ๆ เมื่อสิ้นสุดปีงบประมาณ ( 5.1-3(1) รายงานผลการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ของกิจกรรมและแผนงานพัฒนานักศึกษาด้านการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน) โดยนำเข้าพิจารณาในการประชุมคณะกรรมการบริหารคณะ ในการประชุมครั้งที่ 3/2566 ( 5.1-3(2)  รายงานการประชุมคณะกรรมการบริการคณะ ครั้งที่ 3/2566 วาระที่ 5.5) และรายงานต่อที่ประชุมคณะกรรมการประจำคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ในการประชุมครั้งที่ 4/2566 ( 5.1-3(3) รายงานการประชุมคณะกรรมการประจำคณะฯ ครั้งที่ 4/2566 วาระที่ 5.1)

4 มีการนำผลไปปรับปรุงแผนจัดการหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

คณะกรรมการฯ ได้นำข้อเสนอแนะจากประชุมคณะกรรมการประจำคณะฯ และผลการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ของกิจกรรมและแผนงานการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน ( 5.1-4(1) รายงานผลการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ของกิจกรรมและแผนงานพัฒนานักศึกษาด้านการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน) มาปรับปรุงแผนงานการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน ปีการศึกษา 2565 ( 5.1-4(2) แผนงานพัฒนานักศึกษาการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน ปีการศึกษา 2565 และ 5.1-4(3) แผนงานพัฒนานักศึกษาการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน ปีการศึกษา 2566)

5 มีแนวปฏิบัติที่ดีเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โดยศูนย์ฝึกประสบการณ์วิชาชีพ  ได้ดำเนินการตามประกาศของมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ เรื่อง นโยบายการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน  โดยร่วมกับหลักสูตร 9 หลักสูตรได้จัดประชุม ทบทวน การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน (WIL) ได้มีการประสานงานความร่วมมือ (MOU) กับสถานประกอบการโดยคัดเลือกสถานประกอบการที่มีความมั่งคง มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก ที่สามารถรองรับนักศึกษาในการฝึกสหกิจได้ 

            ซึ่งในปีการศึกษา 2565  คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โดยศูนย์ฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ได้ดำเนินการลงนามความร่วมมือกับสถานประกอบการ ทำความร่วมมือในด้านการส่งนักศึกษาเข้ารับการฝึกประสบการณ์วิชาชีพในรูปแบบสหกิจศึกษา และทำความร่วมมือด้านวิชาการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ทักษะด้านการปฏิบัติงาน กับบริษัทจตุรโชค กรุ๊ป จำกัด คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้ส่งนักศึกษาสาขาศิลปะและการออกแบบ ซึ่งมีความพร้อมและศักยภาพเข้ารับการฝึกสหกิจศึกษา ในภาคเรียนที่ 2/2565  (5.1-5(1) สัญญาลงนามความร่วมมือ)นักศึกษาเข้ารับการฝึกสหกิจศึกษา จำนวน 2 คน ณ บริษัทจตุรโชคกรุ๊ป จำกัด เป็นระยะเวลา 1 ภาคเรียน ซึ่งระหว่างฝึกสบการณ์ นักศึกษาจะได้รับเบี้ยเลี้ยงและสวัสดิการที่ทางบริษัทจัดให้ ส่งผลให้นักศึกษามีรายได้ระหว่างการฝึกปฏิบัติงานและได้รับคำชื่นชมจากสถานประกอบการ สู่ความไว้วางใจในการรับนักศึกษารุ่นต่อไปให้เข้ารับการฝึกสหกิจศึกษา (5.1-5(2) แนวปฏิบัติที่ดีเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน)

            จากการที่ศูนย์ฝึกประสบการณ์วิชาชีพ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ผลักดันและสนับสนุนให้หลักสูตรมีการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน จนสามารถนำนักศึกษาออกฝึกสหกิจศึกษาได้จำนวน 1 หลักสูตร โดยการนำร่องของ หลักสูตรสาขาวิชาศิลปะและการออกแบบ เพื่อเป็นแนวทางให้กับหลักสูตรอื่น ๆ ได้มีแนวทางในการดำเนินงานที่เป็นระบบ  ทางคณะฯ จึงได้มีการจัดการความรู้ จัดการประชุมวางแผน เพื่อกำหนดแนวทางในการจัดการความรู้ ในการฝึกสหกิจศึกษาให้กับหลักสูตรอื่น ๆ โดยกำหนดประเด็นที่จะดำเนินการจัดการความรู้จำนวน 2 ประเด็น คือ

         1. การเตรียมความพร้อมสำหรับการฝึกสหกิจศึกษา

       2. การเลือกสถานประกอบการที่เหมาะสมกับการฝึกสหกิจ  ( (5.1-5(3) แนวปฏิบัติที่ดีการเตรียมความพร้อมสำหรับการฝึกสหกิจศึกษา)

ผลคะแนนการประเมินตนเอง
ทำได้ (ข้อ) ได้คะแนน
5 5