แม้ทุกหลักสูตรที่สถาบันการศึกษาเปิดให้บริการต้องผ่านการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และมีการปรับปรุงทุก 5 ปี แต่ผู้บริหารต้องรับผิดชอบในการควบคุมกำกับการจัดทำรายวิชาต่างๆ ให้มีเนื้อหาที่ทันสมัย ก้าวทันความก้าวหน้าทางวิทยาการที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา มีการบริหารจัดการการเปิดรายวิชาต่างๆ ทั้งวิชาบังคับและวิชาเลือก ที่เน้นนักศึกษาเป็นสำคัญ โดยสนองความต้องการของนักศึกษา และตลาดแรงงาน สำหรับหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา ต้องเน้นการพัฒนาทักษะด้านการวิจัยและการเรียนรู้ด้วยตนเอง
ในการรายงานการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้นี้ ให้อธิบายกระบวนการหรือแสดงผลการดำเนินงานอย่างน้อยให้ครอบคลุมประเด็นต่อไปนี้
- การออกแบบหลักสูตรและสาระรายวิชาในหลักสูตร
- การปรับปรุงหลักสูตรให้ทันสมัยตามความก้าวหน้าในศาสตร์สาขานั้นๆ
ในการประเมินเพื่อให้ทราบว่าอยู่ในระดับคะแนนใด ให้พิจารณาในภาพรวมของผลการดำเนินงานทั้งหมดที่ทำให้หลักสูตรมีความทันสมัย สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานและความต้องการของประเทศ
0 | 1 | 2 | 3 | 4 | 5 |
• ไม่มีระบบ • ไม่มีกลไก • ไม่มีแนวคิดในการกำกับติดตามและปรับปรุง • ไม่มีข้อมูลหลักฐาน |
• มีระบบมีกลไก • ไม่มีการนำระบบกลไกไปสู่การปฏิบัติ/ดำเนินงาน |
• มีระบบมีกลไก • มีการนำระบบกลไกไปสู่การปฏิบัติ/ดำเนินงาน • มีการประเมินกระบวนการ • ไม่มีการปรับปรุง/พัฒนากระบวนการ |
• มีระบบมีกลไก • มีการนำระบบกลไกไปสู่การปฏิบัติ/ดำเนินงาน • มีการประเมินกระบวนการ • มีการปรับปรุง/พัฒนากระบวนการจากผลการประเมิน |
• มีระบบมีกลไก • มีการนำระบบกลไกไปสู่การปฏิบัติ/ดำเนินงาน • มีการประเมินกระบวนการ • มีการปรับปรุง/พัฒนากระบวนการจากผลการประเมิน • มีผลจากการปรับปรุงเห็นชัดเจนเป็นรูปธรรม |
• มีระบบ มีกลไก • มีการนำระบบกลไกไปสู่การปฏิบัติ/ดำเนินงาน • มีการประเมินกระบวนการ • มีการปรับปรุง/พัฒนา กระบวนการจากผลการประเมิน • มีผลจากการปรับปรุงเห็นชัดเจนเป็นรูปธรรม • มีแนวทางปฏิบัติที่ดี โดย มีหลักฐานเชิงประจักษ์ ยืนยัน และกรรมการ ผู้ตรวจประเมิน สามารถ ให้เหตุผลอธิบายการ เป็นแนวปฏิบัติที่ดีได้ ชัดเจน |
5.1.1 การออกแบบหลักสูตรและสาระรายวิชาในหลักสูตร
ในปีการศึกษา 2563 หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต ได้มีการพัฒนาระบบและกลไกการปรับปรุงหลักสูตรดังนี้
1.หลักสูตรได้ดำเนินการประชุมอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรและอาจารย์ผู้สอนได้มีการติดตามกระแสการพัฒนาด้านสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง รวมทั้งกระบวนการบริหารงานภาครัฐ โดยเฉพาะยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี พ.ศ. 2561-2580) และการออกแบบเพื่อพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564) ที่ได้กำหนดยุทธศาสตร์การสร้างความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำในสังคมโดยมีเป้าหมายที่จะลดปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ของกลุ่มคนที่มีฐานะทางเศรษฐกิจสังคมแตกต่างกัน และแก้ไขปัญหา ความยากจน เสริมสร้างศักยภาพชุมชน การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน และการสร้างความเข้มแข็งฐานราก โดยสร้างและพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลงในชุมชน เพื่อให้เป็นไปตามความต้องการของผู้เรียน ผู้ประกอบการ ผู้ใช้บัณฑิตและกระแสการพัฒนาหลักสูตรเกี่ยวกับทางด้านรัฐประศาสนศาสตร์ เช่น รายวิชาสารสนเทศสำหรับการบริหาร ผู้สอนคือ ผศ.ดร.อลงกต แผนสนิท ได้มีการปรับเพิ่มคำอธิบายรายวิชา และเนื้อหาในการจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับกระแสการพัฒนาโดยได้มีการเพิ่มประเด็นการบรรยายเกี่ยวกับ “Big DATA และ “Block Chain” เป็นต้น
- หลักสูตรได้มีการจัดทำรายละเอียดของรายวิชา (มคอ. 3 และ มคอ. 4) และรายงานผลการดำเนินงานของรายวิชา ตามแบบ มคอ. 5-6 ให้สอดคล้องกับ มคอ. 2 เพื่อพิจารณาวัตถุประสงค์และจุดเน้นของหลักสูตร การเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบาย ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ศาสตร์ที่จำเป็นสำหรับหลักสูตร
- หลักสูตรได้มีการจัดทำรายงานการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่กำหนดใน มคอ. 3 เสนอที่ประชุมอาจารยู้รับผิดชอบหลักสูตร
- หลักสูตรได้มีการดำเนินการจัดทำผลการดำเนินงานของหลักสูตร ตามแบบ มคอ. 7 เมื่อสิ้นภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2563
- ที่ประชุมอาจารย์ประจำหลักสูตร ได้มีการประเมิน วิเคราะห์ปัญหา อุปสรรค ในการดำเนินการจัดการเรียนการสอน และได้มีการให้ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนารายวิชา หลักสูตร และการบริหารจัดการหลักสูตร ให้ทันสมัย สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้บัณฑิต และมอบหมายให้ ผศ. ดร.ธัญวรัตน์ แจ่มใส ซึ่งเป็นประธานหลักสูตร ดำเนินการแก้ไข ปรับปรุง หรือรวบรวมไว้เป็นข้อมูลในการปรับปรุงหลักสูตร (พ.ศ. 2564)
5.1.2 การปรับปรุงหลักสูตรให้ทันสมัยตามความก้าวหน้าในศาสตร์สาขานั้นๆ
หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต ได้มีการเปิดสอนหลักสูตรครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2548 และได้ทำการปรับปรุงหลักสูตรครั้งแรกปี พ.ศ.2555 ปัจจุบันหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559) ซึ่งสภามหาวิทยาลัยมีมติเห็นชอบในการประชุม ครั้งที่ 1/2559 ลงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2559 และคณะกรรมการการอุดมศึกษารับทราบ เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2559
หลักสูตรได้มีการประชุมทบทวนความสมัยของหลักสูตรโดยพิจารณาจากการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบาย ความก้าวหน้าทางวิทยาการ เทคโนโลยี นวัตกรรมที่จำเป็นสำหรับหลักสูตร ซึ่งในการปรับปรุงหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิตครั้งนี้ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559) ได้ปรับปรุงหลักสูตรตามกรอบระยะเวลาของการปรับปรุงหลักสูตร อาทิ การเปลี่ยนรายชื่ออาจารย์ประจำหลักสูตร การปรับปรุงรายวิชาเพื่อให้มีความทันสมัย สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานและผู้ใช้บัณฑิต เช่น รายวิชาสารสนเทศสำหรับการบริหารภาครัฐ รายวิชาการบริหารองค์กรอิสระ เป็นต้น อีกทั้งมีการปรับแผนการสอนในรายวิชาให้มีความทันสมัยในศาสตร์ด้านรัฐประศาสนศาสตร์ โดยได้มีการจัดแผนการเรียนซึ่งมีความยืดหยุ่นในการจัดการเรียนการสอน
รหัสหลักฐาน | เอกสารหลักฐาน | |
---|---|---|
5.1 - (1) | รายละเอียดรายวิชา (มคอ.3) | |
5.1 - (2) | รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารหลักสูตร ครั้งที่ 1/2563 วาระที่ 3.1 | |
5.1 - (3) | รายงานผลการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ ปีการศึกษา 2563 | |
5.1 - (4) | รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารหลักสูตร ครั้งที่ 2/2563 วาระที่ 4.4 |
ทำได้ (ข้อ) | ได้คะแนน | |
---|---|---|
3 | 3 |