ตัวบ่งชี้ที่ 5.4 ผลการดำเนินงานหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ

ปีที่ประเมิน 2563
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : ปรารถนา มะลิไทย , อลงกต แผนสนิท
ชนิดตัวบ่งชี้ : ผลลัพธ์
คำอธิบายตัวบ่งชี้

ผลการดำเนินงานของหลักสูตร หมายถึง ร้อยละของผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้ การดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาที่ปรากฏในหลักสูตร (มคอ.2) หมวดที่ 7 ข้อ 7 ที่หลักสูตรแต่ละหลักสูตรดำเนินการได้ในแต่ละปีการศึกษา อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรจะเป็นผู้รายงานผลการดำเนินงานประจำปี ในแบบรายงานผลการดำเนินการของหลักสูตร (มคอ.7)

เกณฑ์การประเมิน

มีการดำเนินงานน้อยกว่าร้อยละ 80 ของตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานที่ระบุไว้ในแต่ละปี มีค่าคะแนนเท่ากับ 0

มีการดำเนินงานร้อยละ 80 ของตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานที่ระบุไว้ในแต่ละปี มีค่าคะแนนเท่ากับ 3.50

มีการดำเนินงานร้อยละ 80.01 - 89.99 ของตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานที่ระบุไว้ในแต่ละปี มีค่าคะแนนเท่ากับ 4.00

มีการดำเนินงานร้อยละ 90.00-94.99 ของตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานที่ระบุไว้ในแต่ละปี มีค่าคะแนนเท่ากับ 4.50

มีการดำเนินงานร้อยละ 95.00-99.99 ของตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานที่ระบุไว้ในแต่ละปี มีค่าคะแนนเท่ากับ 4.75

มีการดำเนินงานร้อยละ 100 ของตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานที่ระบุไว้ในแต่ละปี มีค่าคะแนนเท่ากับ 5

หมายเหตุ

คณะกรรมการการอุดมศึกษาได้มีประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง แนวทางการปฏิบัติตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2558 ลงวันที่ 26 พฤศจิกายน 2558 ได้กำหนดแนวทางการปฏิบัติตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติเพิ่มเติมไว้ ดังนี้

            ข้อ 2 ระบุว่า “กรณีที่สถาบันอุดมศึกษาจะจัดทำรายละเอียดของรายวิชา รายละเอียดของประสบการณ์ภาคสนาม (ถ้ามี) รายงานผลการดำเนินงานของรายวิชา รายงานผลการดำเนินการของประสบการณ์ภาคสนาม
(ถ้ามี) และรายงานผลการดำเนินงานของหลักสูตรในลักษณะอื่น สถาบันอุดมศึกษาสามารถดำเนินการจัดทำระบบจัดเก็บข้อมูลรายละเอียดตามแนวทางของ มคอ.3 มคอ.4 มคอ.5 มคอ.6 และ มคอ.7 โดยสามารถปรับเปลี่ยนหัวข้อรายละเอียดให้เหมาะสมกับบริบทของสถาบันอุดมศึกษานั้นๆ ได้ ทั้งนี้ให้คำนึงถึงเจตนารมณ์ของการจัดทำ มคอ.3 มคอ.4 มคอ.5 มคอ.6 และ มคอ.7”

            ข้อ 3 ระบุว่า “ให้ถือว่า ตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ จำนวน 12 ตัวบ่งชี้ เป็นเพียงแนวทางเท่านั้น โดยสถาบันอุดมศึกษาสามารถกำหนดตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิได้เอง ซึ่งแต่ละหลักสูตรมีอิสระในการกำหนดตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานที่ใช้ในการติดตาม ประเมิน และรายงานคุณภาพของหลักสูตรประจำปีที่ระบุไว้ในหมวด 1-6 ของแต่ละหลักสูตร ตามบริบทและวัตถุประสงค์ในการผลิตบัณฑิต ทั้งนี้ ต้องได้รับความเห็นชอบหรืออนุมัติจากสภาสถาบันอุดมศึกษา ในระหว่างที่สถาบันอุดมศึกษายังไม่สามารถเสนอขอปรับตัวบ่งชี้ใหม่ได้แล้วเสร็จ ให้ใช้ตัวบ่งชี้เดิมก่อนได้ หรือหากหลักสูตรใดมีความประสงค์กำหนดตัวบ่งชี้แบบเดิมก็สามารถกระทำได้ กรณีหลักสูตรมีการปรับปรุงตัวบ่งชี้ใหม่ ให้นำเสนอสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับทราบในการปรับปรุงหลักสูตรครั้งต่อไป”

ผลการดำเนินงาน

ดัชนีบ่งชี้การดำเนินงาน

ผลการดำเนินงาน

1.อาจารย์ประจำหลักสูตรอย่างน้อยร้อยละ 80 มีส่วนร่วมในการประชุมเพื่อวางแผน ติดตาม และทบทวนการดำเนินงานหลักสูตร

     อาจารย์ประจำหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต ได้มีการเข้าร่วมประชุมเพื่อวางแผน ติดตาม และทบทวนการดำเนินงานหลักสูตร โดยในปีการศึกษา 2563 หลักสูตรฯ มีการประชุมวางแผนงานของ อาจารย์ประจำหลักสูตรครบทั้ง 5 คน คิดเป็นร้อยละ 100 จึงทำให้หลักสูตรฯมีอาจารย์ประจำหลักสูตรในการมีส่วนร่วมในการประชุมวางแผน

2.มีรายละเอียดของหลักสูตร ตามแบบ มคอ.2 ที่สอดคล้องกับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิแห่งชาติ หรือ มาตรฐานคุณวุฒิสาชา/สาขาวิชา (ถ้ามี)

     หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต ได้มีการจัดทำมคอ.2 ที่สอดคล้องกับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิแห่งชาติ หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต (มคอ 2) หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559 ได้รับความเห็นชอบจากสภามหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ในคราวประชุมครั้งที่ 8/2558 วันที่  19  ธันวาคม  2558 และหลักสูตรได้ผ่านการพิจารณารับทราบและให้ความเห็นชอบหลักสูตร จากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาเมื่อวันที่  21  มิถุนายน  2559

3.มีรายละเอียดของรายวิชา และรายละเอียดของประสบการณ์ภาคสนาม (ถ้ามี) ตามแบบ มคอ.3 และ มคอ.4 อย่างน้อยก่อนการเปิดสอนในแต่ละภาคการศึกษาให้ครบทุกวิชา

     หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต ได้มีการจัดทำ มคอ.3 และ มคอ.4 ทุกรายวิชา โดยจัดทำและส่งประธานหลักสูตร ก่อนเปิดภาคการศึกษา ในภาคเรียนที่ 1/2563 จำนวน 17 รายวิชา และ ภาคเรียนที่ 2/2563 จำนวน 13 รายวิชา รวมทั้งสิ้น จำนวน 25 รายวิชา ทั้งนี้ได้มีการชี้แจงรายละเอียดการจัดการเรียนรู้ใน มคอ. 3 ให้กับนักศึกษาในสัปดาห์แรกของการจัดการเรียนการสอนด้วย

4.จัดทำรายงานผลการดำเนินการของรายวิชา และรายงานผลการดำเนินการของประสบการณ์ภาคสนาม (ถ้ามี)ตามแบบ มคอ.5 และ มคอ.6 ภายใน 60 วัน หลังสิ้นสุดภาคการศึกษาที่เปิดสอนให้ครบทุกรายวิชา

หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต ได้มีการดำเนินการจัดทำ มคอ.5 และ มคอ.6 ทุกรายวิชา โดยมีการจัดทำรายงาน มคอ.5 และมคอ.6 ส่งให้กับคณะภายใน 30 วัน หลังสิ้นสุดภาคการศึกษาทุกรายวิชา

5.จัดทำรายงานผลการดำเนินการของหลักสูตร ตามแบบ มคอ.7 ภายใน 60 วัน หลังสิ้นสุดปีการศึกษา

     หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต  ได้มีการดำเนินการจัดทำรายงานผลการดำเนินการของหลักสูตร ตามแบบ มคอ.7 ภายใน 60 วัน หลังสิ้นสุดปีการศึกษา โดยได้รายงานผลการดำเนินการของหลักสูตร( มคอ.7) ประจำปีการศึกษา 2563 หลังจากสิ้นสุดปีการศึกษา

6.มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ ที่กำหนดใน มคอ.3 และ มคอ.4 (ถ้ามี) อย่างน้อยร้อยละ 25 ของรายวิชาที่เปิดสอนในแต่ละปีการศึกษา

ในปีการศึกษา 2563 หลักสูตร ได้ดำเนินการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ จำนวน 7 รายวิชา จากรายวิชาทั้งหมดจำนวน 30 รายวิชา คิดเป็นร้อยละ 26 ของรายวิชาที่เปิดสอนในปีการศึกษา 2563

7.มีการพัฒนา/ปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน กลยุทธ์การสอนหรือ การประเมินผลการเรียนรู้ จากผลการประเมินการดำเนินงานที่รายงานใน มคอ.7 ปีที่แล้ว

     หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต ได้มีการรายงานผลการดำเนินงานของหลักสูตร ในปีการศึกษา 2562 เพื่อให้ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารหลักสูตรฯ รับทราบ ทั้งนี้หลักสูตรฯ ได้นำเอาข้อเสนอแนะรวมทั้งแนวทางการปรับปรุงจากคณะกรรมการ เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร ในปีการศึกษา 2563

9.อาจารย์ประจำหลักสูตรทุกคนได้รับการพัฒนาทางวิชาการและ/วิชาชีพ อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง

    ในปีการศึกษา 2563 อาจารย์ประจำหลักสูตร จำนวน 5 คน ได้มีการเข้าร่วมอบรมให้ความรู้ด้านต่างๆ อาทิ การอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับงานประกันคุณภาพ  การอบรมด้านงานวิจัย ด้านการจัดการเรียนการสอน การจัดการความรู้  การเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ การประชุมสัมมนาเพื่อนำเสนอผลงานวิชาการระดับชาติ และนานาชาติ อีกทั้งยังได้มีการศึกษาดูงานอย่างสม่ำเสมอ

11.ระดับความพึงพอใจของนักศึกษาปีสุดท้าย/บัณฑิตใหม่ที่มีต่อคุณภาพหลักสูตร เฉลี่ยไม่น้อยกว่า 3.5 จากคะแนนเต็ม 5.0

   หลักสูตรได้มีการดำเนินการสำรวจความพึงพอใจของนักศึกษาต่อหลักสูตรเพื่อนำมาพัฒนาหลักสูตร ในทุกๆปีระดับความพึงพอใจของนักศึกษาปีสุดท้าย/บัณฑิตใหม่ ที่มีต่อคุณภาพหลักสูตร  ผลคะแนนความพึงพอใจอยู่ที่ 4.13 ระดับความพึงพอใจมา

12.ระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตที่มีผลต่อบัณฑิตใหม่ เฉลี่ยไม่น้อยกว่า 3.5 จากคะแนนเต็ม 5.0

     หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต ได้มีการดำเนินการสำรวจความพึงพอใจของของผู้ใช้บัณฑิตที่มีต่อบัณฑิตใหม่ เพื่อนำมาพัฒนาหลักสูตร ผลคะแนนความพึงพอใจอยู่ที่ 3.14 ระดับความพึงพอใจมากที่สุด

 

หลักฐาน
รหัสหลักฐาน เอกสารหลักฐาน
5.4 - (1)
5.4 - (2)
5.4 - (3)
5.4 - (4)
5.4 - (5)
5.4 - (6)
5.4 - (7)
5.4 - (8)
5.4 - (9)
5.4 - (10)
5.4 - (11)
5.4 - (12)
5.4 - (13)
5.4 - (14)
5.4 - (15)
5.4 - (16)
5.4 - (17)
5.4 - (18)
5.4 - (19)
5.4 - (20)
ผลคะแนนการประเมินตนเอง
ทำได้ (ข้อ) ได้คะแนน
10 5