ตัวบ่งชี้ที่ 7.1 ระบบและกลไกการพัฒนาเสริมสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน (KPI 3.1 ระดับสถาบัน)

ปีที่ประเมิน 2563
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : ชยานันท์ แก้วเกิด , พรรทิภา พรมมา
ชนิดตัวบ่งชี้ : กระบวนการ
คำอธิบายตัวบ่งชี้

การพัฒนาเสริมสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนเป็นการบริการวิชาการเพื่อสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน ในการยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชนท้องถิ่นตามยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านการศึกษา รวมถึงด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

เกณฑ์การประเมิน
คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 ข้อ มีการดำเนินการ 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 หรือ 6 ข้อ
หมายเหตุ

1. ต่อเนื่อง หมายถึง การดำเนินงานตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป
2. ยั่งยืน หมายถึง การดำเนินงานตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป
3. เข้มแข็ง หมายถึง สามารถพึ่งตนเองได้

เกณฑ์มาตรฐาน
ระดับ เกณฑ์มาตรฐาน ดำเนินการ
1 ทุกคณะมีส่วนร่วมกับมหาวิทยาลัยและชุมชนในการกำหนดพื้นที่เป้าหมายในการพัฒนาท้องถิ่นที่สอดคล้องกับบริบท ปัญหา และความต้องการของท้องถิ่น ชุมชน หรือสังคม ตามจุดเน้น จุดเด่นของมหาวิทยาลัยตามศาสตร์พระราชา หรือตามแนวพระราชดำริ
2 มีการดำเนินงานตามวงจรคุณภาพ PDCA โดยร่วมมือกับหน่วยงานภายในหรือภายนอกมหาวิทยาลัย
3 ชุมชนหรือองค์กรมีผู้นำหรือสมาชิกที่มีการเรียนรู้และดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง
4 ชุมชนหรือองค์กรสร้างกลไกที่มีการพัฒนาตนเอง โดยคงอัตลักษณ์ของคนในชุมชนและเอกลักษณ์ของท้องถิ่นอย่างต่อเนื่องหรือยั่งยืน
5 มีผลกระทบที่เกิดประโยชน์สร้างคุณค่าต่อสังคม หรือชุมชน/องค์กรอย่างเข้มแข็ง
6 เกิดชุมชนต้นแบบด้านการพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน ที่มีคณะและมหาวิทยาลัย เป็นผู้รับผิดชอบร่วมในการพัฒนาอย่างน้อย 1 ชุมชน
ผลการดำเนินงาน
ตนข้อเกณฑ์ผลการดำเนินงานหลักฐาน
1ทุกคณะมีส่วนร่วมกับมหาวิทยาลัยและชุมชนในการกำหนดพื้นที่เป้าหมายในการพัฒนาท้องถิ่นที่สอดคล้องกับบริบท ปัญหา และความต้องการของท้องถิ่น ชุมชน หรือสังคม ตามจุดเน้น จุดเด่นของมหาวิทยาลัยตามศาสตร์พระราชา หรือตามแนวพระราชดำริ

ทุกคณะมีส่วนร่วมกับมหาวิทยาลัยและชุมชนในการกำหนดพื้นที่เป้าหมายในการพัฒนาท้องถิ่นที่สอดคล้องกับบริบท ปัญหา และความต้องการของท้องถิ่น ชุมชน หรือสังคม ตามจุดเน้น จุดเด่นของมหาวิทยาลัยตามศาสตร์พระราชา หรือตามแนวพระราชดำริ ตามกระบวนการ ดังนี้

              1.มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษให้ทุกคณะมีส่วนร่วมในการ จัดทำโครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏ (7.1-1(1))  เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน เพื่อให้การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น อยู่บนฐานความรู้ ความเข้าใจร่วมกัน และเป็นไปตามพระบรมราโชบาย มุ่งผลิตครูคุณภาพและพัฒนาท้องถิ่นทั้งทางด้านสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมและการศึกษา ตามสภาพปัญหา และความต้องการที่แท้จริงของชุมชน โดยน้อมนำแนวพระราชดำริสู่การปฏิบัติเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ตามที่ปรากฏในรายงานการประชุมครั้ง  10  เมื่อวันพุธที่ 25 เดือนพฤศจิกายน 2563   วาระที่ 4.1  โครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน คณะมีส่วนร่วมในการกำหนดพื้นที่เป้าหมายในการพัฒนาชุมชน ในการเป็นผู้รับผิดชอบตามโครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏ เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน ประจำปีงบประมาณ 2564 โดยมหาวิทยาลัยได้นำพื้นที่ยุทธศาสตร์การดำเนินงานของจังหวัด จากการรวบรวมข้อมูล , ศึกษา , ตรวจสอบความต้องการของประชาชนจากข้อมูล กชช.2 ค. , จปฐ., ความต้องการประชาคมหมู่บ้าน / ตำบล / อำเภอ / จังหวัด ตลอดจนการสำรวจตอบแบบสอบถามทางสถิติประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 โดยโครงการมีความสอดคล้องเชื่อมโยงกับวาระจังหวัด 10 วาระ ตามแผนบริการวิชาการ 1 ปี ปีการศึกษา 2563 (7.1-1(2))  

               2. ทุกคณะมีส่วนร่วมในการเป็นคณะกรรมการผู้รับผิดชอบงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ตามพันธกิจด้านการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีการศึกษา 2562 (3.1-1(3)) ซึ่งประกอบด้วย อธิการบดีและคณะผู้บริหารเป็นคณะกรรมการอำนวยการ ทำหน้าที่อำนวยการ พิจารณาสั่งการ กำกับติดตาม กำหนดพื้นที่ ออกแบบวิธีการทำงาน การประเมินแผน การกำกับติดตาม ให้ความเห็นชอบ และให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการดำเนินงานด้านบริการวิชาการแก่สังคม และมีรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการเป็นประธาน มีอาจารย์ บุคลากร จาก 5 คณะ 2 สำนัก และ 2 งาน เป็นคณะกรรมการดำเนินงาน ประกอบด้วย 1) คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ 2) คณะครุศาสตร์ 3) คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี 4) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 5) วิลัยกฎหมายและการปกครอง 6) สำนักงานอธิการบดี 7) สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ 8) กองนโยบายและแผน และ 9) หน่วยมาตรฐานและประกันคุณภาพการศึกษา เพื่อทำหน้าที่ขับเคลื่อนพันธกิจด้านบริการวิชาการให้บรรลุวัตถุประสงค์

3.มหาวิทยาลัยมีการส่งเสริมให้อาจารย์ทุกคณะที่รับผิดชอบบริการวิชาการแก่สังคม ลงพื้นที่สำรวจปัญหา และความต้องการของชุมชน หรือสังคม โดยให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการกำหนดพื้นที่ และแนวทางการพัฒนาให้สอดคล้องกับปัญหาและความต้องการของชุมชน โดยการสัมภาษณ์ สอบถาม ข้อมูลเชิงลึก จากผู้นำท้องที่ ผู้นำท้องถิ่น และชาวบ้าน เพื่อร่วมออกแบบแนวทางในการพัฒนาชุมชน หลังจากนั้นได้นำข้อมูลดังกล่าวมากำหนดกิจกรรมตามแผนบริการวิชาการแก่สังคม (3.7-1(4))  

ด้าน

หน่วยงานที่จัดเก็บ

ปัญหา

ความต้องการ

กลุ่มเป้าหมาย

1.ด้านเศรษฐกิจ

คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี

1. ผลิตสินค้าตามที่ลูกค้าสั่งเท่านั้น ยังไม่มีตลาดรองรับ ทำให้มีรายได้ไม่ต่อเนื่อง
2. ขาดมาตรฐาน หรือหน่วยงานรับรอง เช่น OTOP และอื่นๆ
3. ขาดบรรจุภัณฑ์ที่น่าสนใจ

1. การประชาสัมพันธ์และเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่าย (การตลาดด้านต่างๆ เช่น ออนไลน์)
2. การเสริมสร้างองค์ความรู้ด้านหน่วยงานมาตรฐานรองรับ (เช่น OTOP . อื่นๆ
3. การพัฒนาบรรจุภัณฑ์
4. การจัดทำบัญชีต้นทุนและบัญชีครัวเรือน

ชุมชนในเขต อ.วังหิน /อ.โพธิ์ศรีสุวรรณ/อ.เมืองจันทร์ จ.ศรีสะเกษ

คณะมนุศาสตร์และสังคมศาสตร์

1.ชาวบ้านว่างงานหลังฤดูเก็บเกี่ยว

2.ผลิตภัณฑ์ในชุมชนขาดการพัฒนาให้ได้มาตรฐาน

1.ส่งเสริมอาชีพ ให้กับชาวบ้านในชุมชน เช่นการเลี้ยงกบ การทำปลาส้ม 2.นำวัตถุดิบในชุมชนมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ได้รับมาตรฐาน

 

ชุมชนในเขต อ.กันทรลักษ์ อ.ขุนหาญ และ อ.ศรีรัตนะ จ.ศรีสะเกษ

สำนักส่งเสริมบริการและวิชาการ

1.ปัญหาการว่างงาน

2.รายจ่ายไม่เพียงพอกับรายรับ

สร้างอาชีพ เช่น การทอผ้าเช็ดเท้า สร้างรายได้จากการทำเกษตรแบบพอเพียง

1.ตำบลหนองแก้ว อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ

2.ตำบลกู่ อ.ปรางกู่ จ.ศรีสะเกษ

2.ด้านสิ่งแวดล้อม

คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์

ชุมชน: ยังไม่มีคณะทำงานการจัดการขยะตั้งแต่ต้นทาง การจัดการขยะแบบเดิม มีเพียงเทศบาลเมืองศรีสะเกษมาเก็บขยะให้เท่านั้น ระดับมหาวิทยาลัย : ยังไม่มีคณะทำงานในการบริหารจัดการขยะที่มีส่วนร่วมทุกหน่วยงานในองค์กร

อยากให้เกิดการบริหารจัดการขยะตั้งแต่ต้นทาง

ชุมชนพันทาน้อย ตำบลโพธิ์ อำเภอเมือง จ.ศรีสะเกษ และพื้นที่มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ บุคลากร และนักศึกษา

3.ด้านการศึกษา

คณะครุศาสตร์

1.นักเรียนขาดทักษะในการรักการอ่าน วิเคราะห์และการใช้เทคโนโลยี

2.ครู ขาดการพัฒนาในการใช้เครื่องมือและจัดกิจกรรมพัฒนาทักษะการอ่าน เขียน วิเคราะห์  

พัฒนาทักษะ โรงเรียน /ครู/นักเรียน ในการอ่าน วิเคราะห์ และต้องการพัฒนาด้านเทคโนโลยีสื่อสารเครื่องมือและจัดกิจกรรมพัฒนาทักษะการอ่าน เขียน วิเคราะห์

โรงเรียน /ครู/นักเรียน จำนวน 100 โรงเรียนในเขตพื้นที่ จ.ศรีสะเกษ

4.ด้านสังคม

วิทยาลัยกฎหมาย

1.ประชาชนมีพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการทำลายสุขภาพ

2.โรงเรียนขาดการพัฒนาทักษะด้านกฏหมายเบื้องต้นในชีวิตประจำวัน

1.การยกระดับคุณภาพชีวิต จัดอบรมให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพและลด ละ เลิกพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการทำลายสุขภาพ

2.บูรณาการความร่วมมือกับชุมชน สถานศึกษา องค์กรภาคประชาสังคมในพื้นที่ ทำความร่วมมือร่วมกับโรงเรียนด้านห้องเรียนด้านกฏหมาย

1.อบต.หนองค้า ต.พยุห์ จ.ศรีสะเกษ

2.โรงเรียนสตรีสิริเกศ อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ

 

2มีการดำเนินงานตามวงจรคุณภาพ PDCA โดยร่วมมือกับหน่วยงานภายในหรือภายนอกมหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยได้ดำเนินงานตามวงจรคุณภาพ PDCA โดยร่วมมือกับหน่วยงานภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ดังนี้

1. ขั้นตอนการวางแผน (PIan)

      1.1)  มหาวิทยาลัยมีการประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย ทุกเดือน โดยมีคณะผู้บริหารเป็นคณะกรรมการ ทำหน้าที่อำนวยการ พิจารณาสั่งการ กำกับติดตาม กำหนดพื้นที่ ออกแบบวิธีการทำงาน สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การดำเนินงานจังหวัด และให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการดำเนินงานด้านบริการวิชาการแก่สังคม โดยมีรองอธิการบดีเป็นประธาน

      1.2ทุกคณะมีส่วนร่วมในการเป็นคณะกรรมการผู้รับผิดชอบงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ตามพันธกิจด้านการบริการวิชาการแก่สังคม   ในการขับเคลื่อนกิจกรรมตามแผนบริการวิชาการแก่สังคม

      1.3)  มหาวิทยาลัยมีการจัดทำแผนบริการวิชาการ 1 ปี  ประจำปีการศึกษา 2563 (3.1-2(1)) (3.1-2(2))  แบบมีส่วนร่วมกับทุกคณะ หน่วยงาน โดยเชื่อมโยงกับเป้าหมายในการพัฒนา แผนกลยุทธ์การบริการวิชาการระยะ 5 ปี (พ.ศ.2561 - 2565) ฉบับทบทวนปี พ.ศ.2563(3.1-2 (3)) และเชื่อมโยงกับพื้นที่ของแผนเสริมสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ปี 2563 – 2565 (3.1-2(4)) และนำข้อมูลจากการสำรวจปัญหาและความต้องการของพื้นที่มาประกอบการพิจารณากำหนดพื้นที่ออกแบบกิจกรรม งบประมาณ และผู้รับผิดชอบ ให้สอดคล้องกับความต้องการขงชุมชน

    1.4) มีการกำหนดปฏิทินกรอบระยะเวลาเพื่อกำกับติดตาม การดำเนินงานด้านบริการวิชาการแก่สังคม ปีการศึกษา 2563 (3.1-2(5))

 

2. ขั้นตอนการดำเนินงานตามแผน (DO)

           2.1 มหาวิทยาลัยมีการสร้างเครือข่ายในการร่วมพัฒนากับชุมชน จำนวน 14 เครือข่าย (3.1-2(6))  เป็นเครือข่ายร่วมมือทางวิชาการและพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้และน้อมนำหลักปรัชญาขอเศรษฐกิจพอเพียง โดยเน้นเรื่องการสร้างแหล่งเรียนรู้ความมั่นคงทางอาหารให้แก่ชุมชน ภายใต้โครงการยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ประกอบด้วย

          2.2 มหาวิทยาลัยได้ดำเนินโครงการตามแผนบริการบริการวิชาการแก่สังคม ระดับสถาบัน ปีการศึกษา 2563 (3.1-2(7))   มีการกำหนดตัวชี้วัด ผลผลิตที่เกิดจากการดำเนินโครงการ สู่ผลลัพธ์ และผลกระทบ ประโยชน์ที่เกิดขึ้นกับชุมชน จำนวนทั้งสิ้น 74  โครงการ ดำเนินการแล้วเสร็จสมบูรณ์ จำนวน 61  โครงการ คิดเป็นร้อยละ 82.43 และกำลังดำเนินการ 13 โครงการ คิดเป็นร้อยละ 17.56  เนื่องจากสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ส่งผลให้การดำเนินโครงการล่าช้ากว่ากำหนด

 

3.ขั้นตอนการประเมิน (Check)  

         3.1) มหาวิทยาลัยมีการกำกับติดตามการดำเนินการ ตามแผนบริการวิชาการ (อย่างต่อเนื่อง) ในคณะกรรมการบริหาร มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ทุกเดือน ในวาระพิจารณา ที่ 4.1 โครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืนมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 เพื่อกระตุ้นการกำกับติดตามสถานะดำเนินโครงการ ดังนี้

 

 

ที่

โครงการ

สถานะโครงการ

รวม

A

B+

B

C

  1.  

คณะครุศาสตร์

3

12

-

15

 

  1.  

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

8

2

-

1

11

  1.  

คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี

1

10

-

1

12

  1.  

คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์

-

9

-

1

10

  1.  

วิลัยกฎหมายและการปกครอง

-

3

-

-

3

  1.  

สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ

-

4

8

-

12

  1.  

สำนักงานอธิการบดี

2

6

-

2

10

 

A ดำเนินการแล้วเสร็จสมบูรณ์ จำนวน 14 โครงการ

B+ ดำเนินการแล้ว อยู่ระหว่างส่งหลักฐาน (ยืมเงิน,ล้างหนี้เงินยืม) จำนวน 47 โครงการ

B กำลังดำเนินการ (ลงพื้นที่,ประสานผู้เกี่ยวข้อง-ในพื้นที่เป้าหมาย) จำนวน 8 โครงการ

C ขออนุมัติโครงการแล้ว แต่ยังไม่ได้ดำเนินการ จำนวน 5 โครงการ

รวมทั้งสิ้น 74 โครงการ

           3.2 มหาวิทยาลัยได้จัดทำรายงานผลการประเมินความสำเร็จตามตัวชี้วัดของแผนบริการวิชาการฯและโครงการ (3.1 - 2(10)) เสนอต่อคณะกรรมการผู้รับผิดชอบตามพันธกิจด้านบริการวิชาการแก่สังคม และเสนอต่อคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย ตามที่ปรากฏในรายงานการประชุมครั้ง ครั้งที่ 7 เมื่อวันที่ 21 เดือนกรกฎาคม พ.ศ 2564  เพื่อพิจารณาให้ข้อเสนอแนะ เรื่องเสนอที่ประชุมพิจารณา วาระที่ 5.4 รายงานผลการประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ประจำปีงบประมาณประมาณ พ.ศ. 2563 โดยมีข้อเสนอแนะดังนี้
        1. การเลือกพื้นที่บริการวิชาการแก่สังคม ทุกคณะมีการดำเนินโครงการ ในพื้นที่เดิมต่อเนื่องและยังยื่นตามยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น และสอดคล้องกับมาตรฐานและการประกันคุณภาพาศึกษา
        2. การดำเนินโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ต้องประสานความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ในการพัฒนาท้องถิ่นในพื้นที่บริการ

       

4.ขั้นตอนการปรับปรุง (Act)
    มหาวิทยาลัย ได้จัดการประชุมคณะกรรมการผู้รับผิดชอบงานด้านประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ตามพันธกิจด้านการบริการวิชาการแก่สังคม ระดับสถาบัน และนำเสนอต่อคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย ตามที่ปรากฏในรายงานการประชุมครั้ง ครั้งที่ 7 เมื่อวันที่ 21 เดือนกรกฎาคม พ.ศ 2564 (3.1-2(9)) เพื่อถอดบทเรียนและพิจารณาแนวทางการปรับปรุงตามข้อเสนอแนะ และกำหนดแนวทางแก้ไขหรือพัฒนาโครงการบริการวิชาการในปีต่อไป โดยมีรายละเอียด ดังนี้

 

โครงการ

ข้อเสนอแนะ

การปรับปรุง

ผู้รับผิดชอบ

โครงการบริการบริการวิชาการแก่สังคม ระดับสถาบัน ปีการศึกษา 2563

  1) การเขียนตัวชี้วัด ผลผลิต (outputs) ผลลัพธ์ (outcomes) และผลกระทบ (effects) ของโครงการไม่ชัดเจนและไม่สอดคล้องกัน

1) นำข้อเสนอแนะ เข้าวาระที่ประชุม เพื่อทบทวนการเขียนตัวชี้วัด ผลผลิต (outputs) ผลลัพธ์ (outcomes) และผลกระทบ (effects) ของโครงการ

2) มหาวิทยาลัยควรจัดอบรมให้ความรู้การเขียน ผลผลิต (outputs) ผลลัพธ์ (outcomes) และผลกระทบ (effects) ของโครงการ

สำนักส่งเสริมบริการและวิชาการ /งานนโยบายและแผน/งานประกันคุณภาพ

2) ควรดำเนินกิจกรรมหรือโครงการในพื้นที่เดิมอย่างต่อเนื่องหรือยังยื่น สอดคล้องกับมาตราฐานและการประกันคุณภาพ

3) กำหนดแผนบริการวิชาการ และเป้าหมาย แนวทางการในการกำหนดแผนในปีการศึกษา 2564 ในการลงพื้นที่เดิมเพื่อพัฒนาต่อยอดกิจกรรมโครงการให้เกิดประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่องยังยื่น

สำนักส่งเสริมบริการและวิชาการ /งานนโยบายและแผน/งานประกันคุณภาพ

 

3ชุมชนหรือองค์กรมีผู้นำหรือสมาชิกที่มีการเรียนรู้และดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง

ชุมชนมีการเรียนรู้และดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง โดยมีมหาลัยเป็นพี่เลี้ยงในการขับเคลื่อนกิจกรรมตามแผนบริการวิชาการจำนวน 3 โครงการ โดยมีผลดำเนินงานต่อเนื่องจำนวน 3 ชุมชน(3.1-3(1)) 

ขับเคลื่อนโครงการในพื้นทีเป้าหมายดำเนินการต่อเนื่องและยังยื่น เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานประกันคูณภาพได้กำหนดไว้

 

พื้นที่

ปีที่ /พ.ศ

คณะ

โครงการ

ตัวชี้วัด

ผลผลิต

ผลลัพธ์

ผลกระทบ

บ้านหัวนา และโรงเรียนบ้านกอกหัวนา ต.หนองแก้ว อ.กันทรารมย์  จ.ศรีสะเกษ 

ปีที่ 1 /2562

1) ศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์

โครงการที่ปรึกษาทางอุตสาหกรรม วิสาหกิจชุมชน

เชิงปริมาณ
1)  เกิดกลุ่มวิสาหกิจชุมชนปลาร้าบ้านหัวนา 1 กลุ่ม
2)  กระบวนการผลิตปลาร้าที่เป็นมาตรฐาน 1 กระบวนการ                                               

1) เกิดกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ชื่อ “กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ปลาร้าลำน้ำมูลบ้านหัวนา” โดยมีการไปจดทะเบียนที่เกษตรอำเภอ                                    

1) กลุ่มวิสาหกิจชุมชนปลาร้าบ้านหัวนา สามารถวิเคราะห์และจัดทำมาตรฐานการผลิตน้ำปลาร้าปรุงสุกได้เอง วัดจากกระบวนการนำเสนอหลังจากได้ร่วมวิเคราะห์กับทีมอาจารย์จากคณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์แล้วได้สรุปร่วมกันเป็นมาตรฐานการผลิตน้ำปลาร้าแบบปรุงสุก                                 

ชุมชนมีการจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชน และสามารถวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยในกระบวนการการผลิตน้ำปลาร้าและการผลิตสินค้าอื่นๆในชุมชนได้

 

เชิงคุณภาพ   1)  กลุ่มวิสาหกิจชุมชนปลาร้าบ้านหัวนาเกิดองค์ความรู้ในการวิเคราะห์ และจัดทำมาตรฐานการผลิตเองได้

 2) มีกระบวนการผลิตปลาร้าแบบต้มสุก 1 กระบวนการ ซึ่งจะใช้เป็นมาตรฐานการผลิตน้ำปลาร้าของกลุ่มวิสาหกิจ

2) กลุ่มวิสาหกิจชุมชนปลาร้าลำน้ำมูลบ้านหัวนาสามารถวิเคราะห์ต้นทุนในการผลิตน้ำปลาร้าได้ โดยได้เริ่มวิเคราะห์จากต้นทุนส่วนต้นน้ำ คือ การหาปลาในลำน้ำมูล นำมาขายต่อให้ผู้ทำปลาร้าต่อน จากนั้นคิดต้นทุนการผลิตน้ำปลาร้าสุก รวมไปถึงคิดราคาบรรจุภัณฑ์ เพื่อตั้งเป็นราคาขายของกลุ่มฯ

 

 

2)  กลุ่มวิสาหกิจชุมชนปลาร้าบ้านหัวนาเกิดองค์ความรู้ในการวิเคราะห์ต้นทุนที่เกิดขึ้นจากกระบวนการทำปลาร้า

 

 

 

2) คณะครุศาสตร์

โครงการค่ายพัฒนาทักษะการเรียนรู้ดนตรีและกีฬา

เชิงปริมาณ 1)จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการไม่น้อยกว่าร้อยละ  90  (ไม่น้อยกว่า  149  คน)

1)  นักเรียนมีทักษะด้านดนตรีพื้นเมือง ได้แก่ โปงลาง พิณ แคน กลองหาง โหวด และนาฏศิลป์พื้นเมืองจำนวน2เพลง

1)  นักเรียนเป็นผู้มีความรู้ทางด้านดนตรีพื้นเมืองได้แก่ โปงลาง พิณ แคน กลองหาง โหวด และนาฏศิลป์ และนาฏศิลป์พื้นเมือง จำนวน2เพลง

1)  นักเรียนมีความรู้และมีทักษะด้านดนตรีและนาฏศิลป์พื้นเมืองที่สูงขึ้น

 

เชิงคุณภาพ 1)  ความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการไม่น้อยกว่าระดับ  3.51

2)  นักเรียนมีพัฒนาทักษะด้านกีฬา ฟุตบอล และแฮนด์บอล

2)  นักเรียนเป็นผู้มีความรู้ด้านกีฬาฟุตบอล และแฮนด์บอล

2)  นักเรียนมีความรู้ด้านกีฬาที่สูงขึ้น

 

2)  ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้/ความเข้าใจเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ  90

3)  นักเรียนได้แสดงออกถึงความรู้ ความสามารถ และทักษะด้านดนตรีและนาฏศิลป์พื้นเมือง

3)  นักเรียนใฝ่เรียนรู้  กล้าแสดงออก

3)  นักเรียนได้เรียนรู้วิธีการแสดงออกอย่างถูกต้องเหมาะสมในด้านทักษะด้านดนตรี  นาฏศิลป์พื้นเมือง  และกีฬา

 

3)  การดำเนินโครงการบรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการไม่น้อยกว่าร้อยละ  90

4)  นักเรียนมีสมรรถภาพทางกายและจิตใจของเยาวชน โดยใช้กิจกรรมกีฬาเป็นสื่อ

 

 

 

 

5)  นักเรียนรู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

 

 

3) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ปลาส้ม และการรวมกลุ่มอาชีพผู้ผลิตปลาส้ม

เชิงปริมาณ -1) ผู้ผลิตปลาส้มบ้านหัวนา ต.หนองแก้ว อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ 60 คน

-กลุ่มผู้ผลิตปลาส้มบ้านหัวนาได้มีผลิตปลาส้มที่หลากหลายและมีสูตรผลิตใช้ร่วมกันและถูกสุขลัษณะ

ผู้ผลิตปลาส้มบ้านหัวนา ต.หนองแก้ว อ.กันทรารมย์ อำเภอเมือง จ.ศรีสะเกษ 60 คน

เกิดผลิตภัณฑ์ปลาส้มบ้านหัวนา ตำบลหนองแก้ว อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ

 

 

)ผู้ผลิตปลาส้มบ้านหัวนา ตำบลหนองแก้ว อำเภอกันทรารมย์ อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ มีความรู้และทักษะในการผลิตปลาส้มให้ถูกสุขลักษณะ ร้อยละ 80

ได้บรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์ปลาส้มกลุ่มผู้ผลิตปลาส้มบ้านหัวนา

ผู้ผลิตปลาส้มบ้านหัวนา ต.หนองแก้ว อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ มีความรู้และทักษะในการผลิตปลาส้มให้ถูกสุขลักษณะ ร้อยละ 80

บรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์ปลาส้มบ้านหัวนา ตำบลหนองแก้ว อำเภอกันทรารมย์

 

 

การรวมกลุ่มผู้ผลิตปลาส้ม บ้านหัวนา ต.หนองแก้ว อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ 1 กลุ่ม

เกิดการรวมกลุ่มผู้ผลิตปลาส้มที่ยั่งยืน

การรวมกลุ่มผู้ผลิตปลาส้ม บ้านหัวนา ต.หนองแก้ว อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ 1 กลุ่ม

กลุ่มอาชีพผู้ผลิตปลาส้มบ้านหัวนา ตำบลหนองแก้ว อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ

 

 

บรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์ปลาส้ม 1 บรรจุภัณฑ์

 

บรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์ปลาส้ม 1 บรรจุภัณฑ์

 

 

 

เชิงคุณภาพ กลุ่มผู้ผลิตปลาส้มบ้านหัวหน้าสามารถผลิตปลาส้มได้อย่างถูกสุขลักษณะ มีบรรจุภัณฑ์ที่น่าสนใจและดึงดูดผู้บริโภค และเกิดการรวมกลุ่มผู้ผลิตปลาส้มให้เกิดความยั่งยืน

 

 

 

4 ) บริหารธุรกิจและการบัญชี

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการตลาดออนไลน์และบัญชีต้นทุนเพื่อชุมชนเข้มแข็ง 

เชิงปริมาณ : 1. จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน     92      คน

ผู้เข้าร่วมอบรมที่ผ่านการอบรมเชิงปฏิบัติการการตลาดออนไลน์และการบัญชีเพื่อชุมชนจำนวน 92 คน คิดเป็นร้อยละ 100

1) ผู้เข้าร่วมอบรมเข้าใจ สามารถสร้างเพจส่วนตัวและของชุมชนได้ สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ที่ผ่านการอบรมแก่บุคคลอื่นได้

ชุมชนสามารถจำหน่ายสินค้าผ่านช่องทางที่หลากหลายเพิ่มมากขึ้น รวมถึงสามารถคำนวณต้นทุนสินค้า และกำหนดราคาขายโดยไม่ขายทุนได้

 

 

2. ความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ ไม่น้อยกว่าระดับ 3.51

 

2) ชุมชนมีเพจสำหรับจำหน่ายสินค้าชุมชน

 

 

 

เชิงคุณภาพ : 1. ชุมชนมีเพจเฟชบุ๊คของชุมชน อย่างน้อย 1 เพจ

 

3) ชุมชนสามารถจัดทำบัญชีครัวเรือน บัญชีต้นทุน และสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ที่ผ่านการอบรมแก่บุคคลอื่นได้

 

 

 

2. ชุมชนสามารถจัดทำบัญชีครัวเรือนและบัญชีต้นทุนได้อย่างต่อเนื่องหลังสิ้นสุดการอบรม

 

 

 

5) วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง

โครงการถอดบทเรียนองค์ความรู้และเขียนแผนพัฒนาชุมชน

เชิงปริมาณ จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

มีผู้เข้าร่วมโครงการ 50 คน คิดเป็นร้อยละ 100

ได้แนวทางการวางแผนพัฒนาชุมชน 3 แนวทาง

1. เกิดความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน วิทยาลัยกฎหมายและการปกครองร่วมกับพัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดศรีสะเกษ และพัฒนาชุมชนอำเภอกันทรารมย์

 

 

เชิงคุณภาพ : 1. สรุปเล่มองค์ความรู้เป็นข้อมูลในการพัฒนาชุมชน 

ได้รับองค์ความรู้เป็นข้อมูลในการจัดทำแผนพัฒนาชุมช

1. พัฒนาสินค้าให้ได้มาตรฐาน ตรงตามความต้องการของลูกค้า คำนวณต้นทุน/กำไร

2. เกิดแนวทางการสร้างมาตรฐานสินค้าไปสู่ตลาด ได้รับการรับรองนำไปสู่การจดทะเบียนสินค้าชุมชน

 

 

2.เล่มแผนพัฒนาชุมชน

 

2. จัดหาตลาด/แผนการตลาด

 

 

 

 

 

3. จดทะเบียนวิสาหกิจชุมชน

 

ปีที่ 2 /2563

1) ศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์

โครงการเพิ่มประสิทธิภาพวิสาหกิจชุมชน ปลาร้าบ้านหัวนา

เชิงปริมาณ
1. ประสิทธิภาพในการผลิตเพิ่มขึ้นหรือต้นทุนลดลง 5%

1 เกิดกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตปลาร้าบ้านหัวนา ที่พัฒนาการผลิต และสามารถลดต้นทุนการผลิตลงได้ร้อยละ 9.26 จากวิธีการเดิมใช้ต้นทุน 410 บาทต่อปลาร้าปรุงรส 5 กิโลกรัม วิธีการใหม่ ใต้นทุน 372 บาทต่อปลาร้าปรุงรส 5 กิโลกรัม                                                                                                    

 แกนนำชุมชนในการจัดการผลิตน้ำปลาร้าบ้านหัวนาเข้าใจบทบาทหน้าที่ในการดำเนินการผลิตน้ำปลาร้าปรุงรส และเข้าใจถึงกระบวนการวิเคราะห์เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการผลิตน้ำปลาร้าปรุงรส                   

เกิดการปรับสูตรการผลิตน้ำปลาร้าปรุงรสจากแบบครัวเรือนใคร ครัวเรือนมัน มาเป็นสูตรมาตรฐานของกลุ่ม และเกิดโซ่อุปทานของปลาร้าบ้านหัวนา ตั้งแต่การหาวัตถุดิบโดยคนในชุมชนจากแหล่งน้ำในพื้นที่ ส่งต่อให้กับกลุ่มวสาหกิจผู้ผลิตปลาร้า

เชิงคุณภาพ
1. กระบวนการผลิตน้ำปลาร้าที่เป็นมาตรฐานของกลุ่ม 1 กระบวนการ

2 กระบวนการผลิตน้ำปลาร้าที่เป็นมาตรฐานของกลุ่ม 2 สูตร

 

 

2) สำนักส่งเสริมบริการและวิชาการ

โครงการส่งเสริมสัมมาชีพชุมชนสู่การพัฒนาที่ยั่งยื่น

 

 

 

 

4ชุมชนหรือองค์กรสร้างกลไกที่มีการพัฒนาตนเอง โดยคงอัตลักษณ์ของคนในชุมชนและเอกลักษณ์ของท้องถิ่นอย่างต่อเนื่องหรือยั่งยืน

ชุมชนมีการสร้างกลไกลในการพัฒนาตนเองตามอัตลักษณ์อย่างต่อเนื่อง ยังยื่น โดยมีมหาลัยเป็นพี่เลี้ยงและร่วมขับเคลื่อนดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่องจนส่งผลให้ชุมชนเกิดความยั่งยื่น

5มีผลกระทบที่เกิดประโยชน์สร้างคุณค่าต่อสังคม หรือชุมชน/องค์กรอย่างเข้มแข็ง

ปีการศึกษา 2563 มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ได้จัดทำแผนใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ ประจำปีการศึกษา 2563 โดยในแผนนั้นได้จัดทำข้อกำหนดในแผนเสริมสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน เพื่อการดำเนินกิจกรรมและโครงการในการยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชนท้องถิ่นทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านการศึกษา (7.1-5(1)) เพื่อกำหนดกลไกการดำเนินงานที่ส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือในการพัฒนาที่ยั่งยื่น โดยแผนการใช้ประโยชน์นั้นได้ระบุไว้ในแต่ละโครงการ มหาวิทยาลัย ร่วมกับทุกคณะ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้กำหนดพื้นที่บริการวิชาการ ประจำปีการศึกษา 2563  จำนวน  59 ชุมชน มีการสำรวจปัญหาและความต้องการของชุมชน เพื่อนำมากำหนดกิจกรรมในแผนบริการวิชาการแก่สังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ประจำปีการศึกษา 2563  และมีการดำเนินงานตามแผนแล้วเสร็จ จำนวน  59 โครงการ คิดเป็นร้อยละ 100 ส่งผลให้ชุมชนมีการเรียนรู้และดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง ดังนี้

ผลกระทบที่เกิดประโยชน์และสร้างคุณค่าต่อสังคม หรือชุมชน/องค์กรอย่างเข้มแข็ง

ลำดับ

คณะ

ด้าน

จำนวน

โครงการ

ผลกระทบที่เกิดประโยชน์สร้างคุณค่าต่อสังคมหรือชุมชน/องค์กรอย่างเข้มแข็ง

 

1

คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี

เศรษฐกิจ

13 

 

 

2

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

 17

 

 

3

สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ

1

 

 

4

วิทยาลัยกฎหมายและปกครอง

สังคม

12 

ตัวอย่าง (ยกตัวอย่าง 2-3 โครงการ)  ชุมชนมีการสะท้อนให้เห็นึงคุณค่าของแหล่งเรียนรู้วัฒนธรรมชนชาติลาว จากโครงการพัฒนาชุมชนต้นแบบแหล่งเรียนรู้วัฒนธรรมชาติพันธุ์ลาว เพื่อสร้างจิตสำนึกในการดำเนินชีวิตตามศาสตร์พระราชา เกิดชุมชนมีความตื่นตัวและพร้อมที่จะน าเสนอประเพณีวัฒนธรรมของตน เกิดเป็นวัฒนธรรมที่สืบทอดในชุมชนและยังถ่ายทอดไปยังสาธารณะชนได้

 

5

คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์

สิ่งแวดล้อม

 

 

6

คณะครุศาสตร์

การศึกษา

15 

 

 

6เกิดชุมชนต้นแบบด้านการพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน ที่มีคณะและมหาวิทยาลัย เป็นผู้รับผิดชอบร่วมในการพัฒนาอย่างน้อย 1 ชุมชน

มหาวิทยาลัยร่วมกับทุกคณะ ในการออกแบบและส่งเสริมพัฒนาขับเคลื่อนให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ ดังนี้

 

ชุมชน

ด้าน

ผลการดำเนินงาน

บ้านหนองสาดโนนเจริญ อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ

ด้านสิ่งแวดล้อม

 

โรงเรียนตระเวนชายแดน อ.กันทราลักษณ์ จังหวัดศรีสะเกษ

ด้านการศึกษา

 

 

ผลคะแนนการประเมินตนเอง
ทำได้ (ข้อ) ได้คะแนน
6 5