✓ | 1 | กำหนดนโยบายและทิศทางการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยเพื่อการพัฒนาต่อยอดและสร้างคุณค่า ตามจุดเน้นของสถาบัน | มหาวิทยาลัยมีการกำหนดนโยบายและทิศทางการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยเพื่อการพัฒนาต่อยอดและสร้างคุณค่า ตามจุดเน้นของสถาบัน ดังนี้
1. มีการแต่งตั้งคณะกรรมการผู้รับผิดชอบงานด้านประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ตามพันธกิจด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ระดับสถาบัน ปีการศึกษา 2563 (4.1-1(1)) โดยมีอธิการบดี และคณะผู้บริหาร เป็นคณะกรรมการอำนวยการ และมีอาจารย์และบุคลากรที่มาจากทุกคณะ สำนัก และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นคณะกรรมการดำเนินงาน มีหน้าที่ กำกับ ติดตาม พันธกิจด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และจัดเก็บข้อมูลการปฏิบัติงานให้สอดคล้องและเป็นไปตามตัวบ่งชี้และเกณฑ์มาตรฐานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2563 และจัดทำรายงานการประเมินตนเองในระดับสถาบัน สำหรับองค์ประกอบที่ 4 ตัวบ่งชี้ที่ 4.1 และตัวบ่งชี้ที่ 4.2
2. มีการจัดทำประกาศ เรื่อง นโยบายและทิศทางการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย (4.1-1(2)) เพื่อมุ่งให้อาจารย์ บุคลากร และนักศึกษาเห็นคุณค่าและมีทัศนคติที่ดีในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู สืบสาน สร้างสรรค์และพัฒนาศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย นำศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยมาสร้างสรรค์และเพิ่มมูลค่าให้เกิดนวัตกรรมที่เหมาะสมและเป็นประโยชน์
3.สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ มีการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน ตามพันธกิจด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ ประจำปีการศึกษา 2563 เพื่อดำเนินงานงานด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ในระดับสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ โดยมีผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมเป็นผู้รับผิดชอบในสำนัก/กลุ่มงาน และระดับแผนการดำเนินงาน นอกจากนี้ในการจัดโครงการ/กิจกรรมในแต่ละครั้ง
4.กลุ่มงานศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ได้มีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ว่าด้วยการส่งเสริม อนุรักษ์ เผยแพร่ ด้านศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยสภาศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งประเทศไทย ระหว่าง สำนักศิลปะและวัฒนธรรม /สถาบัน/ศูนย์/กลุ่มงานด้านศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏทั้ง 38 แห่ง ซึ่งถือเป็นการร่วมงานที่มีการขับเคลื่อนงานด้านศิลปะและวัฒนธรรมทั้งมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศ 8.1 - 1(4)
| |
✓ | 2 | จัดทำแผนด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย และกำหนดตัวบ่งชี้วัดความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผน รวมทั้งจัดสรรงบประมาณเพื่อให้สามารถดำเนินการได้ตามแผน | มีการจัดทำแผนด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย ร่วมกับกลุ่มงานศิลปวัฒนธรรม สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ โดยมีผู้ช่วยอธิการบดี ฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม มีการประชุมเพื่อพิจารณาร่างแผน และกำหนดตัวบ่งชี้วัดความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผน รวมทั้งจัดสรรงบประมาณเพื่อให้สามารถดำเนินการได้ตามแผน ดังนี้
1. มีการจัดทำแผนด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย ระยะ 1 ปี (4.1-2(1)) และกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผน (4.1-2(2))
2. มีการกำหนดกิจกรรม โครงการ ระยะเวลา สถานที่ ผู้รับผิดชอบอย่างชัดเจน และมีการจัดสรรงบประมาณตามแผนฯ ที่พอเพียงและเหมาะสมเพื่อให้สามารถดำเนินงานตามแผนฯ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยบรรจุอยู่ในแผนปฏิบัติราชการประจำปี 2563
ซึ่งในปีงบประมาณ 2564 มหาวิทยาลัยได้จัดสรรงบประมาณตามแผนฯ จำนวนทั้งสิ้น 650,000 บาท (4.1-2(3))
โดยมีการดำเนินงาน 5 โครงการ ดังนี้
1.โครงการบริหารจัดการงานศิลปะและวัฒนธรรม
2.โครงการอนุรักษ์ สืบสาน วัฒนธรรมประเพณีฯ
3.โครงการบูรณาการกิจกรรมการเรียนรู้ในมิติวัฒนธรรม
4.โครงการบริการวิชาการในมิติศิลปวัฒนธรรมและส่งเสริมการจัดการแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน
5.โครงการสร้างเครือข่าย ความสัมพันธ์ทั้งในและต่างประเทศ
ซึ่งโครงการทั้ง 5 โครงการ มีการดำเนินงานเพื่อที่จะตอบสนองนโยบายของของมหาวิทยาลัย ในยุทธศาสตร์ที่ 5 การอนุรักษ์ ส่งเสริม และฟื้นฟูศิลปะและวัฒนธรรมของท้องถิ่นและของชาติ เป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้เผยแพร่และการอนุรักษ์ด้านศิลปะและวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น 4.1 - 2(4)
ทั้งนี้โครงการ ทั้ง 5 โครงการ ได้มีการเผยแพร่ผ่านสื่อประชาสัมพันธ์ต่างๆ และมีการรายงานผลการดำเนินโครงการในที่ประชุมต่อคณะกรรมการผู้บริหาร
| |
✓ | 3 | มีการบูรณาการงานด้านศิลปวัฒนธรรม กับการเรียนการสอน หรือการวิจัย หรือการบริการวิชาการ ซึ่งนำไปสู่การสืบสานการสร้างความรู้ ความเข้าใจในศิลปวัฒนธรรม การปรับและประยุกต์ใช้ศิลปวัฒนธรรม | กลุ่มงานศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยมีการบูรณาการงานด้านศิลปวัฒนธรรม กับการเรียนการสอน หรือการวิจัย หรือการบริการวิชาการ ซึ่งนำไปสู่การสืบสานการสร้างความรู้ ความเข้าใจในศิลปวัฒนธรรม การปรับและประยุกต์ใช้ศิลปวัฒนธรรม จำนวน 4 เรื่อง ดังนี้
เรื่อง
|
การบูรณาการ
|
หน่วยงาน
|
“ค่ายศิลป์รักษ์ป่า (Nature Hug Art Camp)”
|
บูรณาการกับการเรียนการสอนรายวิชาสุนทรียภาพ โดยมีการนำมิติทางด้านศิลปะและวัฒนธรรม มาใช้ในการดำเนินงานร่วมกับนักศึกษาที่เรียนในรายวิชา
|
กลุ่มงานศิลปะและวัฒนธรรม ร่วมกับสโมสรนักศึกษา 5 คณะ
|
โครงการการส่งเสริมทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการย้อมผ้าบาติกสำหรับชุมชนท้องถิ่น
|
บูรณาการกับการเรียนการสอนรายวิชา ออกแบบผลิตภัณฑ์สิ่งทอ โดยมีการนำการประยุกต์การเรียนการสอนให้นักศึกษาสามารถนำมาใช้ในชุมชนได้ ซึ่งการบูรณาการดังกล่าวนำไปสู่การสืบสาน การสร้างความรู้ความเข้าใจในศิลปวัฒนธรรม การปรับและประยุกต์ใช้ศิลปวัฒนธรรมให้เกิดคุณค่าและก่อมูลค่าให้แก่ชุมชนท้องถิ่นด้วย
|
คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์
|
โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการศาสนพิธี ครั้งที่ ๓ เรื่องศิลปะการพูด การเป็นพิธีกรและการจัดการพิธีการ
|
บูรณาการกับหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัย โดยเป็นการนำผู้เชี่ยวชาญ ชำนาญมาให้ความรู้ กับบุคลากรนักศึกษา
|
กลุ่มงานศิลปะและวัฒนธรรม ร่วมกับหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัย
|
โครงการยุวพัฒน์รักษ์ถิ่นกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์จากผ้าย้อมดินสีลาวา
|
บูรณาการเรียนการสอนและบริการวิชาการร่วมกับสาขาวิชาการตลาด ประกอบด้วยรายวิชากลยุทธ์การตลาด การวางแผนการตลาด การตลาดชุมชน
|
คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มีการบูรณาการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมกับการเรียนการสอนและกิจกรรมของนักศึกษา
|
| |
✓ | 4 | กำกับติดตามให้มีการดำเนินงาน และประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ของแผน ด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย และรายงานต่อผู้บริหารสถาบัน | กลุ่มงานศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยมีการกำกับติดตามให้มีการดำเนินงาน และประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ของแผน ด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย และรายงานต่อผู้บริหาร และนำผลการดำเนินงานเสนอต่อคณะกรรมการของกลุ่มงาน/สำนัก เพื่อพิจารณาผลการดำเนินงานและข้อเสนอแนะต่างๆ ในการพัฒนาโครงการ/กิจกรรมต่อไป ดังนี้
1. มีการจัดประชุมคณะกรรมการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษา ตามพันธกิจด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย ระดับสถาบัน ครั้งที่ 3/2563 เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2563 (4.1-4(1)) เพื่อกำกับติดตามการดำเนินงานตามแผนโดยทางมหาวิทยาลัยมอบผู้รับผิดชอบกำกับติดตาม คือ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และฝ่ายกลุ่มงานศิลปะและวัฒนธรรม มีการกำกับติดตามติดตามผลโดยสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ และ หน่วยมาตรฐานและประกันคุณภาพการศึกษา ดังนี้
1.1 รายงานผลการดำเนินงานโครงการงานศิลปะและวัฒนธรรมและคณะ
1.2 พิจารณาวัตถุประสงค์ของแผนด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม โดยยึดแนวทางการดำเนินงานจากแผนกลยุทธ์ด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
2. มีการจัดประชุมคณะกรรมการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษา ตามพันธกิจด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย ครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2564 (4.1-4(2)) เพื่อกำกับติดตามการดำเนินงานตามแผน ดังนี้
2.1 รายงานการดำเนินโครงการ ประจำปีงบประมาณ 2564 (ตุลาคม-ปัจจุบัน) และรายงานผลการดำเนินโครงการของแต่ละคณะ
รายงานผลการดำเนินการเข้าร่วมโครงการรณรงค์แต่งกายด้วยผ้าไทยและผ้าพื้นเมือง จังหวัดศรีสะเกษ โดยสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ ได้เข้าร่วมกิจกรรม เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2564 ณ บริเวณลานโคปุระ สวนเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา (เกาะห้วยน้ำคำ)
2.2 พิจารณาประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ ที่วัดความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ดังนี้
วัตถุประสงค์
|
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
|
ค่าเป้าหมาย
|
ผลการดำเนินงาน
|
การบรรลุเป้าหมาย
|
บรรลุ
|
ไม่บรรลุ
|
1. เพื่ออนุรักษ์ สืบสาน พัฒนา ถ่ายทอดศิลปวัฒนธรรม ความเป็นไทย และภูมิปัญญาท้องถิ่น
|
- ร้อยละของนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการด้านศิลปวัฒนธรรม ความเป็นไทย และภูมิปัญญาท้องถิ่น
|
ร้อยละ 80
|
มีมีการกำหนดเป้าหมายนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการตามแผน แต่เนื่องจากเกิดการระบาดโควิค 19 จึงทำให้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการการดำเนินงาน
|
บรรลุ
|
|
- ร้อยละของกิจกรรมโครงการที่ดำเนินการแล้วเสร็จตามแผน
|
ร้อยละ 85
|
มีการกำหนดโครงการไว้ในแผน จำนวน 5 โครงการ และดำเนินการแล้วเสร็จ จำนวน 5 โครงการ คิดเป็นร้อยละ 100
|
บรรลุ
|
|
- จำนวนการกำกับติดตามการดำเนินงานให้เป็นไปตามแผน
|
4 ครั้ง/ปี
|
มีการกำกับติดตาม 4 ครั้ง
|
บรรลุ
|
|
2. เพื่อส่งเสริม สนับสนุนให้มีการบูรณาการงานด้านศิลปวัฒนธรรม กับการเรียนการสอน หรือการวิจัย หรือการบริการวิชาการ
|
- จำนวนกิจกรรมโครงการที่บูรณาการงานด้านศิลปวัฒนธรรมเข้ากับการเรียนการสอน หรือการวิจัย หรือการบริการวิชาการ
|
1 กิจกรรม
|
มีการบูรณาการ 3 กิจกรรม ดังนี้
1. “ค่ายศิลป์รักษ์ป่า (Nature Hug Art Camp)” : บูรณาการกับการเรียนการสอนรายวิชาสุนทรียภาพ
2. โครงการการส่งเสริมทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการย้อมผ้าบาติกสำหรับชุมชนท้องถิ่น
3.โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการศาสนพิธี ครั้งที่ ๓ เรื่องศิลปะการพูด การเป็นพิธีกรและการจัดการพิธีการ
|
บรรลุ
|
|
3. เพื่อเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้เผยแพร่และการอนุรักษ์ด้านศิลปะและวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น
|
- จำนวนช่องทางการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์กิจกรรม องค์ความรู้ด้านศิลปะและวัฒนธรรม
|
4 ช่องทาง
|
มีช่องทางการประชาสัมพันธ์ 4ช่องทาง ดังนี้
1. Fanpage กลุ่มงานศิลปะและวัฒนธรรม(สถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม)
2. Facebook กลุ่มงานศิลปะและวัฒนธรรม(สถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม)
3. เว็บไซต์มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
4. วารสารสัมพันธ์ ขาวทอง
|
บรรลุ
|
|
- จำนวนองค์ความรู้ ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
|
2 เรื่อง
|
มีองค์ความรู้จำนวน 6 เรื่อง ดังนี้
1.ชุดความรู้เรื่องรูปแบบศิลปกรรมของหลวงพ่อโตวัดมหาพุทธารามพระอารามหลวง อำเภอเมืองฯจังหวัดศรีสะเกษ และหลวงพ่อดตวัดเขียนบูรพาราม อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ โดย อ.ธันยพงศ์ สารรัตน์
2.ชุดความรู้เรื่องนาคสถานในภาคอีสานของไทย :: กรณีศึกษาวัดป่าศรีมงคลรัตนาราม อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ โดย อ.ธันยพงศ์ สารรัตน์
3.โครงการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม :: วัฒนธรรมการแห่พระอุปคุตของชุมชนบ้านปะโค๊ะ อ.ห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ โดย อ.ธันยพงศ์ สารรัตน์
4.การพัฒนาแหล่งเรียนรู้วัฒนธรรม ชาติพันธ์ 4 เผ่า โดย ผศ.ดร.เชิดศักดิ์ ฉายถวิล
5.การสร้างชุมชนต้นแบบบนพื้นฐานวิถีปอป โดย ผศ.ดร.เชิดศักดิ์ ฉายถวิล
6.การธำรงรักษาวิถีสุขภาวะสังคมในพิธีกรรมบำบัดโรค โดย ผศ.ดร.เชิดศักดิ์ ฉายถวิล
|
บรรลุ
|
|
- จำนวนแหล่งเรียนรู้ด้านศิลปะและวัฒนธรรมท้องถิ่นที่มหาวิทยาลัยร่วมพัฒนากับภาคีเครือข่ายให้มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับจังหวัดระดับชาติ
|
1 แหล่ง
|
มีแหล่งเรียนรู้ จำนวน 4 แหล่ง ดังนี้
1. หมู่บ้านชาติพันธุ์เยอ บ้านปราสาทเยอ อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ
2. หมู่บ้านชาติพันธุ์ลาว บ้านละทาย อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ
3. หมู่บ้านชาติพันธุ์เขมร บ้านสำโรงเกียรติ อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ
4. หมู่บ้านชาติพันธุ์ส่วย บ้านปราสาท อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ
|
บรรลุ
|
|
3.รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ครั้งที่ 9/2563 วันที่ 28 ตุลาคม 2563
ระเบียบวาระที่ ๔ เรื่องที่เสนอให้ที่ประชุมพิจารณา
วาระที่ ๔.๘ (ร่าง) ตารางกำหนดการโครงการรณรงค์แต่งกาย จังหวัดศรีสะเกษ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔
4.รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ (ก.บ.) ครั้งที่ ๓ / ๒๕๖๔ เมื่อวันพุธที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๖๔
วาระที่ ๕.๑๕ รายผลการดำเนินงาน สถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม
| |
✓ | 5 | นำผลการประเมินไปปรับปรุงแผนหรือกิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย | กลุ่มงานศิลปะและวัฒนธรรม สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยได้นำผลการประเมินตามตัวบ่งชี้ของแผนและข้อเสนอแนะจากการจัดกิจกรรมเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินงาน ด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ระดับสถาบัน 2563 ในการประชุมครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2564 (4.1-5(1)) เพื่อพิจารณาและกำหนดแนวทางการปรับปรุง ในปีงบประมาณ 2564 ดังนี้
โครงการ
|
แนวทางการปรับปรุง
|
ระยะเวลา
|
ผู้รับผิดชอบ
|
1. โครงการอนุรักษ์ สืบสาน วัฒนธรรมประเพณีฯ
|
ปรับรูปแบบการนำเสนอโครงการให้เข้ากับสถานการณ์โควิค 19 และเพิ่มการประชาสัมพันธ์โครงการให้มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น
|
ปีงบประมาณ 2565
|
กลุ่มงานศิลปะและวัฒนธรรม
|
2.โครงการบูรณาการกิจกรรมการเรียนรู้ในมิติศิลปวัฒนธรรม
|
ปรับรูปแบบกิจกรรมให้นักศึกษามีส่วนร่วมมากยิ่งขึ้น และประชาสัมพันธ์โครงการในช่องทางต่างๆให้เป็รนที่น่าสนใจ
|
ปีงบประมาณ 2565
|
กลุ่มงานศิลปะและวัฒนธรรม
|
3. สร้างความสัมพันธ์ในมิติวัฒนธรรมกับประเทศเพื่อนบ้าน
|
เนื่องจากสถานการณ์โรคระบาด โควิค 19 ให้ปรับโครงการที่มีการในรูปแบบที่เป็นออนไลน์ และมีการประชาสัมพันธ์ให้นักศึกษาเข้าร่วมมากยิ่งขึ้น
|
ปีงบประมาณ 2565
|
กลุ่มงานศิลปะและวัฒนธรรม
|
|
|
|
|
และเนื่องจากสถานการณ์ แพร่ระบาดโรคโควิด -19 คณะกรรมการดำเนินงาน ได้มีการประชุมหารือในการจัดกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2565 ให้มีการปรับรูปแบบกิจกรรมให้เข้ากับสถานการณ์โควิค 19 และในการแต่งตั้งคณะกรรมการในการดำเนินงาน ด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ระดับสถาบัน ในแต่ละคณะควรมีการกำหนดตัวแทนแต่ละคณะ ที่มีประสบการณ์ ความรู้ ความเข้าใจในการดำเนินงานทางด้านศิลปะและวัฒนธรรม ให้มีการจัดทำฟอร์มการดำเนินงานโครงการดังกล่าว เพื่อให้เป็นไปในรูปแบบเดียวกัน ซึ่งจะมีการดำเนินการปรับปรุงเพื่อนำไปใช้ในปีงบประมาณ 2565
| |
✓ | 6 | เผยแพร่กิจกรรมหรือการบริการด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยต่อสาธารณชน | กลุ่มงานศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ มีการเผยแพร่กิจกรรม และการบริการด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยต่อสาธารณชนหลากหลายช่องทาง ดังนี้
- มีการเผยแพร่กิจกรรม ข่าวสารด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยผ่านสื่อสังคมออนไลน์ อาทิ Fanpage กลุ่มงานศิลปะและวัฒนธรรม (สถาบันภาษาศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ) , Facebook กลุ่มงานศิลปะและวัฒนธรรม (สถาบันภาษาศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ), และเว็บไซต์มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ (4.1-6(1) , 4.1-6(2) , 4.1-6(3) , 4.1-6(4))
2. มีการเผยแพร่กิจกรรม ข่าวสารด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยในวารสารสัมพันธ์ขาวทองของมหาวิทยาลัยในหน้าข่าวกลุ่มงานศิลปะและวัฒนธรรม (สถาบันภาษาศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ) (4.1-6(5)) และมีการแจกจ่ายไปยังหน่วยงานต่างๆ จำนวน 278 หน่วยงาน
3. มีการเผยแพร่กิจกรรม ข่าวสารด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย ในรายงานประจำปี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ (4.1-6(6) , 4.1-6(7) , 4.1-6(8)) ตามยุทธศาสตร์ที่ 5 การอนุรักษ์ ส่งเสริม และฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่นและของชาติ
4.กลุ่มงานศิลปะและวัฒนธรรม สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ ได้มีการรายงานผลการดำเนินโครงการไปยังการประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ (ก.บ.) เพื่อทราบการดำเนินในแต่ละไตรมาส
| |
✓ | 7 | มีผลงานการสร้างแหล่งเรียนรู้หรือชุมชนต้นแบบ หรือองค์ความรู้หรือนวัตกรรม ด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยให้สอดรับกับสังคมสมัยใหม่ | มหาวิทยาลัย มีการดำเนินพัฒนาแหล่งเรียนรู้วัฒนธรรมชาติพันธุ์ 4 เผ่า (ลาว เขมร ส่วย เยอ) เป็นการพัฒนาชุมชนให้มีศักยภาพในการสืบทอดมรดกภูมิปัญญา โดยการมีส่วนร่วมและมีความพร้อมในการยกระดับการทำงานให้เป็นแหล่งการเรียนรู้ชุมชนต้นแบบ ในการเป็นแบบอย่างการปฏิบัติที่ดีแก่ชุมชนอื่น และสร้างจิตสำนึกในการดำเนินชีวิตตามศาสตร์พระราชา ซึ่งแบ่งชุมชน ออกเป็น 4 ชุมชุน ได้แก่
1.1 หมู่บ้านชาติพันธุ์เยอ บ้านปราสาทเยอ อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ
1.2 หมู่บ้านชาติพันธุ์ลาว บ้านละทาย อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ
1.3 หมู่บ้านชาติพันธุ์เขมร บ้านสำโรงเกียรติ อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ
1.4 หมู่บ้านชาติพันธุ์ส่วย บ้านปราสาท อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ
| |
✓ | 8 | กำหนดหรือสร้างมาตรฐานด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับชาติ | กลุ่มงานศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ มีการดำเนินงานการศึกษา ค้นคว้า วิจัย รวบรวม ร้อยเรียงประวัติความเป็นมาของจังหวัดศรีสะเกษ และถ่ายทอดออกมาในรูปแบบของการแสดงศิลปวัฒนธรรม เพื่อส่งเสริมและอนุรักษ์ศิลปะ ประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมของจังหวัดศรีสะเกษ ชนสี่เผ่า (ลาว เขมร ส่วย เยอ) และส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งถือเป็นการแสดงเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม ความเป็นมาของชาวศรีสะเกษ ให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายในระดับชาติโดยมีการนำเสนอเรื่องราววัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต ประวัติศาสตร์ของจังหวัดศรีสะเกษในรูปแบบการแสดง แสง สี เสียง ที่เป็นที่ยอมรับในระดับจังหวัด ในการจัดงานเทศกาลดอกลำดวนบาน สืบสานประเพณีสี่เผ่าไทศรีสะเกษ ประจำปี 2564 โดยมีการร่วมมือกับองค์อารบริหารส่วนจังหวัด ศรีสะเกษ วัฒนธรรมจังหวัดศรีสะเกษ โรงเรียน ชุมชน ซึ่งได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี
| |