ตัวบ่งชี้ที่ 8.2 ผลลัพธ์ด้านศิลปะและวัฒนธรรมไทย (KPI 4.2 ระดับสถาบัน)

ปีที่ประเมิน 2563
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : สรวีย์ คำนวล , วันวิสา นัยเนตร , พรรทิภา พรมมา
ชนิดตัวบ่งชี้ : ผลลัพธ์
คำอธิบายตัวบ่งชี้

ผลลัพธ์ของการจัดการด้านศิลปวัฒนธรรมทำให้เกิดความภาคภูมิใจในความเป็นไทยหรือสร้างโอกาสและมูลค่าเพิ่มให้กับชุมชน สังคม และประเทศชาติ

 

เกณฑ์มาตรฐาน

จำนวนองค์ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมที่ทำให้เกิดความภาคภูมิใจในความเป็นไทย หรือสร้างโอกาสและมูลค่าเพิ่ม หรือนำไปใช้ประโยชน์ให้กับผู้เรียน ครอบครัว ท้องถิ่น ชุมชน สังคม และประเทศชาติ มีการจัดทำฐานข้อมูลทางด้านศิลปวัฒนธรรมที่กำหนดให้เป็นคะแนนเต็ม 5 เท่ากับ 6 เรื่อง

เกณฑ์การประเมิน

มีการจัดการด้านศิลปวัฒนธรรมทำให้เกิดความภาคภูมิใจในความเป็นไทยหรือสร้างโอกาสและมูลค่าเพิ่มให้กับผู้เรียน ครอบครัว ท้องถิ่น ชุมชน สังคม และประเทศชาติ

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
จำนวนองค์ความรู้ 2 เรื่อง จำนวนองค์ความรู้ 3 เรื่อง จำนวนองค์ความรู้ 4 เรื่อง จำนวนองค์ความรู้ 5 เรื่อง จำนวนองค์ความรู้ 6 เรื่อง
หมายเหตุ

ต้องมีเอกสารทางวิชาการที่แสดงถึงการได้มา การค้นคว้าประวัติของภูมิปัญญาท้องถิ่นนั้นอย่างเป็นระบบ
- เอกสารด้านศิลปะและวัฒนธรรม
- งานสร้างสรรค์ด้านศิลปะและวัฒนธรรม

ผลการดำเนินงาน

มหาวิทยาลัยมีจำนวนองค์ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมที่ทำให้เกิดความภาคภูมิใจในความเป็นไทย หรือสร้างโอกาสและมูลค่าเพิ่ม หรือนำไปใช้ประโยชน์ให้กับผู้เรียน ครอบครัว ท้องถิ่น ชุมชน สังคม และประเทศชาติ จำนวน 6 เรื่อง ดังนี้

          1.ชุดความรู้เรื่องรูปแบบศิลปกรรมของหลวงพ่อโตวัดมหาพุทธารามพระอารามหลวง อำเภอเมืองฯจังหวัดศรีสะเกษ และหลวงพ่อตวัดเขียนบูรพาราม อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ  โดย อ.ธันยพงศ์ สารรัตน์

 

          บทความนี้ศึกษาประวัติและลักษณะรูปแบบพุทธปฏิมาของหลวงพ่อโตวัดมหาพุทธาราม พระอารามหลวง อำเภอเมืองฯ จังหวัด ศรีสะเกษ ในฐานะพระพุทธรูปศิลปะพื้นบ้านในภาคอีสานระหว่างพุทธศตวรรษที่ 24-25 ด้วยวิธีการจำแนกรูปแบบและศึกษา เปรียบเทียบอิทธิพลด้านรูปแบบศิลปะและข้อสันนิษฐานในการกำหนดอายุสมัยของพระพุทธรูป ซึ่งมีความสัมพันธ์กับหลักฐานด้าน ประวัติศาสตร์ของเมืองศรีสะเกษ ผลการศึกษาพบว่า หลวงพ่อโตวัดมหาพุทธาราม พระอารามหลวง อำเภอเมืองฯ จังหวัดศรีสะเกษ มีรูปแบบศิลปะที่สอดคล้องกับประวัติศาสตร์ของเมืองศรีสะเกษ โดยแสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างเมืองศรีสะเกษกับเมืองนครจำปาศักดิ์ในช่วงปลายสมัยอยุธยาถึงสมัยต้นรัตนโกสินทร์ราวพุทธศตวรรษที่ 24 ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 25 และมีลักษณะเด่นคือ เป็นพระพุทธรูปประธานขนาดใหญ่ของวัดประจาชุมชนชาวลาว สร้างด้วยวิธีก่ออิฐถือปูนและลงรักปิดทอง มีศิลปะแบบลาวผสมผสาน กับงานช่างพื้นบ้าน และพัฒนารูปแบบมาจากศิลปะในหลายยุคหลายสมัยจนมีลักษณะเฉพาะ และแสดงปางมารวิชัยอันเป็นปางที่นิยม สร้างเป็นพระประธานตามวัดต่างๆ ทั่วไป ซึ่งการศึกษาครั้งนี้จะช่วยสะท้อนให้เห็นถึงมุมมองด้านประวัติศาสตร์ ศาสนา ของจังหวัด ศรีสะเกษได้ดียิ่งขึ้น

 

ประวัติ รูปแบบศิลปกรรม และความสัมพันธ์กับหลักฐานด้านประวัติศาสตร์ขอปฏิมา “หลวงพ่อโต” วัดเขียนบูรพาราม อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ โดย อ.ธันยพงศ์ สารรัตน์

  บทความนี้ศึกษาประวัติ รูปแบบศิลปกรรม และความสัมพันธ์กับหลักฐานด้านประวัติศาสตร์ของพุทธปฏิมา “หลวงพ่อโต” วัดเขียนบูรพาราม อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ ผลการศึกษาพบว่า พุทธปฏิมา “หลวงพ่อโต” วัดเขียนบูรพาราม อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ มีรูปแบบทางศิลปกรรมที่สัมพันธ์กับพระพุทธรูปในศิลปะล้านช้าง ศิลปะอยุธยาตอนปลาย และศิลปะของท้องถิ่น กระทั่งได้พัฒนาจนเกิดเป็นรูปแบบเฉพาะของตนเองที่เด่นชัด เช่น เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย พระพักตร์เหลี่ยม เห็นชัดถึงการทำชายสังฆาฏิเป็นริ้วทับกัน 2 ชั้นปลายตัดตรงตามแบบศิลปะอยุธยา พระโอษฐ์ยิ้มแบบล้านช้าง ขมวดพระเกศาเป็นตุ่มแหลมเล็กแบบหนามขนุนในศิลปะล้านช้าง มีการประดับรัศมีรูปใบโพธิ์ที่ด้านหน้าพระอุษณีษะ พระเศียรและพระกรรณมีขนาดใหญ่มาก ปลายพระกรรณโค้งงอนขนานไปกับพระอังสะ พระขนงห่าง พระนาสิกใหญ่ เห็นรูพระนาสิกชัดเจน พระเนตรเหลือบมองต่ำ พระหัตถ์และพระบาทใหญ่ตามคติแบบพื้นถิ่น เป็นต้น ทั้งนี้จากการศึกษารูปแบบศิลปกรรมสามารถสะท้อนเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของอำเภอขุขันธ์และจังหวัดศรีสะเกษให้ชัดเจนมากขึ้น

 

          2.ชุดความรู้เรื่องนาคสถานในภาคอีสานของไทย :: กรณีศึกษาวัดป่าศรีมงคลรัตนาราม อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัด     ศรีสะเกษ   โดย อ.ธันยพงศ์ สารรัตน์ (หน้า 128-146)

         

          นำเสนอความเชื่อความศรัทธาที่มีต่อพญานาคในอาณาบริเวณวัดป่าศรีมงคลรัตนาราม อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ภาพสะท้อนความเชื่อเรื่องพญานาคใน อาณาบริเวณวัด ผ่านจิตรกรรม ประติมากรรม และสถาปัตยกรรม ตลอดจนความเชื่อความศรัทธาที่แสดงออกผ่านพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวชมวัด โดยใช้วิธีศึกษาโดยการลงภาคสนาม น าข้อมูลมาศึกษาและวิเคราะห์เรียบเรียง และนำเสนอตามวัตถุประสงค์ ซึ่งมีขอบเขตการศึกษาในพื้นที่วัดป่าศรีมงคลรัตนารามอำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษเท่านั้น ผลการศึกษาพบว่า พญานาค คือ สัตว์ในอุดมคติของผู้คนในลุ่มน้ำโขงรวมถึงภาคอีสานของประเทศไทย ซึ่งความเชื่อความศรัทธาอย่างแรงกล้าในอิทธิฤทธิ์ที่จะอำนวยความอุดมสมบูรณ์ อีกทั้งพญานาคเป็นสัตว์ที่มีความสัมพันธ์กับผู้คนมาอย่างยาวนานดังปรากฏในนิทาน ตำนาน ถูกถ่ายทอดผ่านนาฏกรรม จิตรกรรม พิธีกรรม ประติมากรรม และสถาปัตยกรรม โดยเฉพาะจิตรกรรมประติมากรรมและสถาปัตยกรรมภายในถ้ำพญานาคของวัดฯ ที่เกิดจากความศรัทธาในเรื่องของพญานาคสมัยก่อนและร่วมสมัยพุทธกาล การจินตนาการลักษณะการเคลื่อนไหวของพญานาคที่แหวกว่ายแม่น้ำโขงและคอยพิทักษ์ศาสนา โดยเกี่ยวเนื่องกับพื้นที่อารยธรรมขอมในจังหวัดศรีสะเกษที่สัมพันธ์กับตำนานพญานาคสู่พระพุทธรูปปางนาคปรก เรื่องเล่าพญานาคประจำวัด และประวัติเจ้าอาวาสที่เกี่ยวข้องกับพญานาค ดังกล่าวได้รับแนวคิดและแรงบันดาลใจมาจากตำนานและพุทธประวัติที่เกี่ยวข้องกับพญานาค ภาพสะท้อนความเชื่อในเรื่องของพญานาคที่ใช้จิตรกรรม สถาปัตยกรรมและประติมากรรมเป็นเครื่องมือสำคัญ จึงเป็นงานศิลปะพื้นถิ่นที่ใช้เป็นจุดขายทางการท่องเที่ยวโดยพญานาคได้กลายเป็นสินค้าทางวัฒนธรรมที่แสดงถึงอัตลักษณ์ในงานศิลปวัฒนธรรมของคนท้องถิ่นศรีสะเกษที่ยังคงอยู่ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของสังคมในปัจจุบัน

 

          3.โครงการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม:: วัฒนธรรมการแห่พระอุปคุตของชุมชนบ้านปะโค๊ะ อ.ห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ โดย อ.ธันยพงศ์ สารรัตน์

 

บทความนี้ศึกษาการให้ความหมายทางวัฒนธรรมและระบบความเชื่อของคนไทยเชื้อสายกูย (ส่วย) และลาว ในชุมชนบ้านปะโด๊ะ ตำบลปราสาท อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ ที่มีกระบวนการถ่ายทอดทางวัฒนธรรมจากรุ่นสู่รุ่นผ่านวัฒนธรรมการแห่พระอุปคุตในโอกาสการหล่อพระประธานวัดบ้านปะโด๊ะ และงานบุญผะเหวดอันเป็นวัฒนธรรมสำคัญในงานบุญของท้องถิ่น ผลการศึกษาพบว่า วัฒนธรรมการแห่พระอุปคุตมีความหมายทางวัฒนธรรม ที่เกิดจากระบบความเชื่อดั้งเดิมในท้องถิ่น เช่น ความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา และการนับถือผี เป็นการให้ความหมายของประเพณีจากตำนานผสมผสานกับความเชื่อ ส่วนความเชื่อที่เกิดขึ้นนั้นเป็นส่วนหนึ่งที่มาจากกระบวนการขัดเกลาทางสังคม ในครอบครัวและชุมชน รวมถึงกลุ่มคนภายนอก โดยมีบ้านและวัดเป็นศูนย์กลางที่จะเชื่อมโยงวัฒนธรรมและเพื่อรวมกลุ่มคนเข้าร่วมกิจกรรมในนาม “วัฒนธรรมท้องถิ่น”วัฒนธรรมนี้จึงเป็นเครื่องมือหนึ่งในการบ่งบอกอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมให้ผู้อื่นรับรู้ว่าเป็นประเพณีหนึ่งของกลุ่มชาติพันธุ์กูย (ส่วย) ในท้องถิ่นศรีสะเกษ

 

          4.การพัฒนาแหล่งเรียนรู้วัฒนธรรมชาติพันธ์ 4 เผ่า โดย ผศ.ดร.เชิดศักดิ์ ฉายถวิล

          หากเราตระหนักรู้ถึงคุณค่าของการดำเนินงานด้านวัฒนธรรมอย่างถ่องแท้ “เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา” ศาสตร์แห่งการพัฒนาชาติอันลึกซึ้งที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ได้มองเห็นถึงความแตกต่างของประชาชนชาวไทยทั้งระดับสังคม (พหุลักษณ์ทางสังคม) และความหลากหลายทางวัฒนธรรม การพัฒนาชาติโดยใช้หลักการทางวัฒนธรรมเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาจึงเป็นเรื่องสำคัญที่นักพัฒนาและผู้บริหารของชาติควรทำความเข้าใจ เพราะสิ่งที่บ่งบอกตัวตนของคนได้ก็คือ “วัฒนธรรม”  ดังพระราชดำรัชของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ได้กล่าวว่า “การรักษาวัฒนธรรม คือ การรักษาชาติ”  เพราะศาสตร์ความรู้ทางวัฒนธรรมเป็นศาสตร์ความรู้ที่ไม่หยุดนิ่งมีความเป็นพลวัตร (Dynamic) และมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อความสมดุลทางสังคม (Social balance) อยู่ตลอด  การทำความเข้าความหมายศาสตร์ความรู้ทางวัฒนธรรมจึงเป็นการทำความเข้าใจทุกมิติของความเป็นมนุษย์ในแต่ละสังคม เช่น ด้านประวัติศาสตร์ (รู้ที่มาแห่งรากเหง้าเผ่าพันธุ์และจุดยืนในปัจจุบันของสังคม)  ด้านสังคม (เข้าใจระบบความสัมพันธ์ การปกครอง และสายสัมพันธ์ทางเครือญาติ) ด้านค่านิยม ขนบธรรมเนียม จารีต ประเพณี (เข้าใจระบบกฎเกณฑ์ทางสังคมที่มีความเอกลักษณ์เฉพาะกลุ่ม) ด้านภูมิศาสตร์สิ่งแวดล้อม กฎเกณฑ์ทางธรรมชาติและฤดูกาล (เข้าใจในมิติด้านภูมิลักษณะของพื้นที่อาศัยอยู่ที่มีความเชื่อมโยงกับมิติด้านอื่น ๆ เช่น ความแห้งแล้งเชื่อมโยงกับบุญบั้งไฟ แหล่งน้ำเชื่อมโยงกับประเพณีลอยกระทง  ฤดูฝนเชื่อมโยงกับประเพณีเข้าพรรษา กฎเกณฑ์ทางธรรมสร้างความเชื่อท้องถิ่นเกี่ยวผี สิ่งศักดิ์ และพลังเหนือธรรมชาติ เป็นต้น)  

          วัฒนธรรม จึงถือว่าเป็น ศาสตร์ความรู้ที่มีการเชื่อมโยงกันทั้งโครงสร้างของสังคม  ไม่มีการแยกขาดซึ่งถือว่าเป็น “สายสัมพันธ์ที่เชื่อมโยงระหว่าง คนกับคน คนกับธรรมชาติ คนกับสิ่งเหนือธรรมชาติ

 

 

          5.การสร้างชุมชนต้นแบบบนพื้นฐานวิถีปอป โดย ผศ.ดร.เชิดศักดิ์ ฉายถวิล

                        ในพื้นที่ชนบทภาคอีสานโดยเฉพาะพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี  จังหวัดศรีสะเกษ และจังหวัดยโสธร ยังคงมีปรากฏการณ์ความเชื่อเกี่ยวผี ที่ถือว่าเป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมและเป็นภาพสะท้อนทางสังคม ที่มีผลกระทบต่อวิถีการดำเนินชีวิตของคนในชนบทภาคอีสาน ทั้งที่เป็นผลกระทบด้านเศรษฐกิจชุมชน ผลกระทบต่อโครงสร้างทางสังคมและรากฐานทางวัฒนธรรม อันเกี่ยวข้องกับระบบเครือญาติในชุมชนนั่นก็คือความเชื่อเกี่ยวกับผีปอบ ซึ่งปัจจุบันถือว่าเป็นปรากฏการณ์ทางความเชื่อที่ส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม ตั้งแต่ระดับบุคคล ระดับครอบครัว ระดับเครือญาติ และระดับชุมชน ความเชื่อเกี่ยวกับ “ผีปอบ” ถือว่าเป็นความเชื่อดั้งเดิมในชนบทภาคอีสานที่ได้รับการปลูกฝังและขัดเกลาทางสังคม (Socialization) มาจากบรรพบุรุษ และมีการสืบสานเป็นวัฒนธรรมความเชื่อสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน ปรากฏการณ์ความเชื่อเกี่ยวกับผีปอบที่เกิดขึ้นในปัจจุบันมีผลกระทบอย่างยิ่งต่อเสถียรภาพของชุมชน (Stability of Community) เนื่องจากเป็นความเชื่อที่ส่งผลกระทบต่อสังคม ในชนบทอีสานอย่างรุนแรงตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน  ทั้งส่วนที่เกี่ยวข้องกับสุขภาวะทางจิตใจ สภาวะความมั่นคงทางเศรษฐกิจชุมชนและสังคมชุมชน ตลอดจนความมั่นคงทางวัฒนธรรมอันเป็นรากเหง้าที่สำคัญของสังคมชนบทอีสาน ตลอดจนความปลอดภัยต่อชีวิต ซึ่งถ้าเป็นการมองทางด้านจิตวิทยาตามหลักการแพทย์สมัยใหม่ถือว่าเป็นปรากฏการณ์ความเชื่อที่ส่งผลต่อภาวะสุขภาพจิตภายในชุมชนอย่างมาก โดยหลักการแพทย์สมัยใหม่จะมองปรากฏการณ์เกี่ยวกับความเชื่อเรื่องผีปอบเป็นปรากฏการณ์อุปทานหมู่ (Mass Hysteria) ที่เป็นผลกระทบจากปัจจัยทางด้านสังคมและเศรษฐกิจที่มีวิกฤตตามความผันผวนของกระแสเศรษฐกิจโลก  ความเชื่อเกี่ยวกับผีปอบในมิติของวัฒนธรรมชุมชนในท้องถิ่นอีสานถือว่าเป็นเรื่องร้ายแรง เพราะถือว่าเป็นภัยอันตรายที่เกี่ยวข้องกับความเป็นความตายและความมั่นคงของคนในชุมชน เนื่องจากในสังคมชนบทอีสาน มีความเชื่อที่สืบทอดกันมาแต่โบราณว่า ผีปอบ คือผีร้ายที่สามารถถอดวิญญาณไปเข้าสิงร่างผู้อื่นเพื่อกินอวัยวะภายในของผู้ที่ถูกเข้าสิงร่างกาย จนถึงแก่ความตายโดยที่ไม่สามารถตรวจสอบได้ด้วยวิทยาการทางการแพทย์สมัยใหม่ และในบางพื้นที่จะมีปรากฏการณ์คนตายโดยไม่ทราบสาเหตุติดต่อกันหลายคนในช่วงระยะเวลาที่มีความต่อเนื่องกัน ซึ่งปรากฏการณ์ดังกล่าวชาวบ้านในชนบทอีสานเชื่อว่าเป็นผลที่เกิดจากการกระทำของผีปอบ 

 

         

          6.การธำรงรักษาวิถีสุขภาวะสังคมในพิธีกรรมบำบัดโรค  โดย ผศ.ดร.เชิดศักดิ์ ฉายถวิล

พิธีกรรมการรักษาโรคโดยการนับถือผีในภาคอีสานโดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษที่มีความแตกต่างกันทางวัฒนธรรมและชาติพันธุ์ถึง  4 ชาติพันธุ์หลักๆ  คือ  เขมร (เขมรถิ่นไทย) ส่วย (กวย กูย  โกย)  ลาว (ลาวอีสาน)  และเยอ   วัฒนธรรมการนับถือผียังมีความเข้มแข็งและมีการสืบทอดติดต่อกันมาอย่างต่อเนื่องและยังมีผลต่อระบบความสัมพันธ์ทางเครือญาติ     และชุมชนตลอดจนระบบการรักษาดูแลสุขภาพตามความเชื่อของแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์ความเชื่อในเรื่องของการรักษาโรคโดยพิธีกรรมการนับถือผีในแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์ในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษมีความเหมือนกันในเรื่องของวัตถุประสงค์ความต้องการของผู้รับการรักษาหรือกลุ่มคนในชาติพันธุ์เดียวกันนั่นก็คือ  การหายจากการเจ็บป่วยและมีชีวิตที่สงบสุข  แต่มีความแตกต่างกันเรื่องของพิธีกรรมและตระกูลผีที่ตัวเองนับถือ กลุ่มชาติพันธุ์เขมร นับถือผีมะม๊วตหรือแม่มด กลุ่มชาติพันธุ์ส่วยหรือกูย นับถือผีนางออหรือแม่สะเอ็ง กลุ่มชาติลาวนับถือผีฟ้าหรือผีแถน      กลุ่มชาติพันธุ์เยอนับผีแม่สะเอ็ง (วีระ   สุดสังข์ ,2545  :  39 – 40)  กิจกรรมการรักษาโรคโดยพิธีกรรมการนับถือผีของทั้งสี่กลุ่มชาติพันธุ์จะมีโครงสร้างความสัมพันธ์กันแบบกลุ่มเครือข่ายหรือเรียกว่า “สาย” ในกลุ่มชาติพันธุ์เดียวกันอาจจะมีหลายกลุ่มเครือข่าย หรือหลายสายก็ได้  วิธีการรักษาโรคโดยพิธีกรรมความเชื่อเกี่ยวกับผี เป็นวิธีการรักษาโรค ที่ไม่ได้ใช้ ยา หรือสมุนไพร หรือวัตถุใดเป็นเครื่องมือในการรักษาแต่เป็นวิธีการรักษาโดยใช้รูปแบบการรวมกลุ่มเครือญาติซึ่งถือได้ว่าเป็นระบบการดูแลสุขภาพแบบเอื้อเฟื้อเกื้อกูลกันของชุมชน  ระบบนี้เรียกว่าการแพทย์แบบวัฒนธรรม  คือการใช้กระบวนการทางสังคมวัฒนธรรมมาเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการทางสุขภาพ  (โกมาตร  จึงเสถียรทรัพย์ และคณะ ,2545 :   91 )   ส่วนเครื่องมือหรือกิจกรรมที่ใช้เป็นสื่อในการทำการรักษาก็คือ ดนตรีและฟ้อนรำ   หรือเรียกว่า  สังคีตบำบัด (ดนตรีบำบัด)  

 

หลักฐาน
รหัสหลักฐาน เอกสารหลักฐาน
8.2 - (1)
8.2 - (2)
8.2 - (3)
8.2 - (4)
8.2 - (5)
8.2 - (6)
8.2 - (7)