ตัวบ่งชี้ที่ 7.2 ชุมชนเป้าหมายที่ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องตามแผนเสริมสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน (KPI 3.2 ระดับสถาบัน)

ปีที่ประเมิน 2562
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : ชยานันท์ แก้วเกิด , พรรทิภา พรมมา
ชนิดตัวบ่งชี้ : ผลลัพธ์
คำอธิบายตัวบ่งชี้

สถาบันได้มีการกำหนดพื้นที่รับผิดชอบในการพัฒนา และมีการกำหนดชุมชนเป้าหมายการพัฒนาไว้ในแผน การจัดทำแผนเสริมสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนจึงต้องศึกษาความต้องการของชุมชนเป้าหมายและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องให้บรรลุตามแผน

เกณฑ์การประเมิน

โดยการแปลงค่าร้อยละจำนวนชุมชนเป้าหมายที่ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องตามแผนเสริมสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนที่กำหนดให้เป็นคะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 20

สูตรการคํานวณ

1. คำนวณค่าร้อยละของชุมชนเป้าหมายที่ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องตามแผนเสริมสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน

จำนวนชุมชนเป้าหมายที่ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องตามแผนเสริมสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------       x     100
จำนวนชุมชนเป้าหมายทั้งหมด

2. แปลงค่าร้อยละที่คำนวณได้ในข้อ 1 เทียบกับคะแนนเต็ม 5

คะแนนที่ได้ = ร้อยละของชุมชนเป้าหมายที่ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องตามแผนเสริมสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------       x     5
ร้อยละจำนวนชุมชนเป้าหมายที่ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องตามแผนเสริมสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนที่กำหนดให้เป็นคะแนนเต็ม 5
ผลการดำเนินงาน

มหาวิทยาลัย ได้มีการกำหนดพื้นที่รับผิดชอบในการพัฒนาและมีการกำหนดชุมชนเป้าหมายการพัฒนาไว้ในแผนการจัดทำแผนเสริมสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ  ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 (3.2-(1)) จำนวน 3 ชุมชน และมีการจัดกิจกรรมโครงการพัฒนาชุมชนอย่างต่อเนื่อง จำนวน 3 ชุมชน  ได้รับการพัฒนาบรรลุตามแผน ดังนี้

1. ชุมชนบ้านหัวนา ตำบลหนองแก้ว อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ 
    ทุกคณะมีส่วนร่วมในการบริการวิชาการกับสถาบัน ตั้งแต่กระบวนการ เป็นคณะกรรมการดำเนินงาน (3.2-(1)) เป็นผู้รับผิดชอบโครงการตามแผน (3.2-(2))  ส่งผลให้ ชุมชนบ้านหัวนา ตำบลหนองแก้ว อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ พึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน (3.2-(3))  ดังนี้

ที่

โครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน/และสถานที่

ลักษณะกิจกรรม

ผลการกำกับติดตามความยั่งยืนที่เป็นผลมาจากการโครงการบริการวิชาการของมหาวิทยาลัย

หน่วยงานที่รับผิดชอบ

1

โครงการที่ปรึกษาทางอุตสาหกรรมวิสาหกิจชุมชน "ปลาร้า" บ้านหัวนา

1.1 กระบวนการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนปลาร้าบ้านหัวนา
รอบที่ 1 ระหว่างวันที่ 7-8 สิงหาคม 2563
รอบที่ 2 ระหว่างวันที่ 14-15 สิงหาคม 2563    รอบที่ 3 ระหว่างวันที่ 18-19 สิงหาคม 2563      รอบที่ 4 ระหว่างวันที่ 22-23 สิงหาคม 2563     

1.2 กระบวนการถ่ายทอดเทคโนโลยี วิสาหกิจปลาร้าบ้านหัวนา     
วันที่ 29 สิงหาคม 2563 
ณ บ้านหัวนา ตำบลหนองแก้ว อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ

กิจกรรมที่ 1 การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง KAIZEN   
กิจกรรมที่ 2 การลดความสูญเปล่า LEAN     กิจกรรมที่ 3 การทำให้เห็นด้วยกัน Visualization   
กิจกรรมที่ 4 การทำให้เป็นมาตรฐาน Standardize   
กิจกรรมที่ 5 เวทีขยายผล ต้นแบบการจัดการวิสาหกิจเชิงอุตสาหกรรม

- ได้ปลาร้าที่สะอาด ถูกหลักอนามัย

- วิสาหกิจชุมชนทราบต้นทุน กำไร ของการทำปลาร้า

คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์

2

ค่ายพัฒนาทักษะการเรียนรู้ดนตรีและกีฬา

 ระหว่างวันที่ 29 - 31 กรกฎาคม 2563              ณ โรงเรียนบ้านกอกหัวนา ตำบลหนองแก้ว อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ

- กิจกรรมฐานพัฒนาทักษะดนตรีพื้นเมือง (กลองหาง)
- กลุ่มฐานกิจกรรมพัฒนาทักษะดนตรีพื้นเมือง (พิณ) 
- กลุ่มฐานกิจกรรมพัฒนาทักษะดนตรีพื้นเมือง (ซออีสาน)   
- กลุ่มฐานกิจกรรมพัฒนาทักษะดนตรีพื้นเมือง (เครื่องประกอบจังหวะ)           
 กลุ่มฐานกิจกรรมพัฒนาทักษะดนตรีพื้นเมือง (นาฏศิลป์พื้นเมือง)
- กลุ่มฐานกิจกรรมพัฒนาทักษะกีฬาฟุตบอล- กลุ่มฐานกิจกรรมพัฒนาทักษะกีฬาแฮนด์บอล
- กิจกรรมสรุปองค์ความรู้และแสดงผลงาน

- ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับการพัฒนาทักษะดนตรีและนาฏศิลป์พื้นเมืองฝกีฬา อย่างน้อย 1 ชนิด

- ผู้เข้าร่วมโครงการได้แสดงออกถึงความรู้ ความสามารถ และทักษะด้านดนตรีและนาฏศิลป์พื้นเมือง/กีฬา

คณะครุศาสตร์

3

โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ปลาส้ม และการรวมกลุ่มอาชีพผู้ผลิตปลาส้มชุมชนบ้านหัวนา

ระหว่างวันที่ 30 - 31 กรกฎาคม 2563
ณ วัดจำปา บ้านหัวนา ตำบลหนองแก้ว อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ

- กิจกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์ปลาส้ม

- กิจกรรมพัฒนาและออกแบบจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์ปลาส้มบ้านหัวนา และรวมกลุ่มอาชีพผู้ผลิตปลาส้ม

- เกิดปลาส้มถูกสุขลักษณะ เป็นที่ต้องการของตลาด และกลุ่มผู้บริโภค
- เกิดสูตรกลางที่เป็นมาตรฐานในการผลิตปลาส้มที่ใช้ร่วมกัน
- มีโลโก้ของกลุ่มและบรรจุภัณฑ์ที่น่าสนใจ
- เกิดการรวมผู้ปลาส้มในชุมชน และจะมีการดำเนินการจดทะเบียนเป็น “กลุ่มวิสาหกิจชุมชน” กลุ่มปลาส้ม

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

4

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการตลาดออนไลน์และบัญชีต้นทุนเพื่อชุมชนเข้มแข็ง

ระหว่างวันที่ 25 - 26 กรกฎาคม 2563
ณ วัดจำปา บ้านหัวนา ตำบลหนองแก้ว อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ

- อบรมเชิงปฏิบัติการการตลาดออนไลน์และบัญชีต้นทุนเพื่อชุมชน”

- อบรมเชิงปฏิบัติการภายใต้หัวข้อ “การตลาดออนไลน์เพื่อชุมชน”

- อบรมเชิงปฏิบัติการภายใต้หัวข้อ “การจัดทำบัญชีครัวเรือน เพื่อชุมชน”

 

- ผู้เข้าร่วมอบรมได้รับคู่มือและสมุดจัดทำบัญชีควรเรือนคนละ 1 เล่ม

- ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ในการการจัดทำบัญชีต้นทุนเบื้องต้นการตลาดออนไลน์แก่ผู้อื่นได้

- ผู้เข้าร่วมอลนใจัดทำบัญชีต้นทุนและการตลาดออนไลน์ได้อย่างต่อเนื่อง

คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี

5

โครงการถอดบทเรียนองค์ความรู้และเขียนแผนพัฒนาชุมชน

สิงหาคม 2563
ณ บ้านหัวนา ตำบลหนองแก้ว อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ

- ถอดบทเรียนองค์ความรู้ร่วมกับชุมชน
- กิจกรรมกลุ่มคิดวิเคราะห์ปัญหา แนวทางแก้ไข และร่วมระดมความคิดในการแก้ไขหาในชุมชนร่วมกัน
- ร่วมกับชุมชนในการเขียนแผนพัฒนาชุมชน

- สรุปเล่มองค์รู้เป็นข้อมูลในการพัฒนาชุมชน

- ชุมชนมีแผนพัฒนาชุมชน

วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง

6

โครงการส่งเสริมการอ่าน

ระหว่างวันที่ 24-25 กรกฏาคม 2563
ณ โรงเรียนบ้านหนองสาดโนนเจริญ อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ

- กิจกรรมหนังสือทะลุมิติ
- กิจกรรมเล่าเรื่องจากหนังสือ
- กิจกรรมเปิดพจนานุกรมฉบับ (ไทย-อังกฤษ)
- กิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้ห้องสมุด   อย่างถูกต้อง
- จัดบอร์ดนิทรรศการส่งเสริมการอ่าน

นักเรียนได้รับการฝึกทักษะในด้านการอ่าน ฟัง ดู และการสื่อสารโดยการพูดหรือเขียนตามความคิดของตนเอง และมีนิสัยใฝ่รู้ใฝ่เรียน รักการอ่านมากขึ้น ตลอดจนสามารถใช้แหล่งเรียนรู้ จากสื่อต่างๆ รอบตัวได้

สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการแก่สังคม

2. บ้านหนองสาดโนนเจริญ ตำบลหนองครก อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ 
    ทุกคณะมีส่วนร่วมในการบริการวิชาการกับสถาบัน ตั้งแต่กระบวนการ เป็นคณะกรรมการดำเนินงาน (3.2-(4))  เป็นผู้รับผิดชอบโครงการตามแผน (3.2-(5))  ส่งผลให้ บ้านหนองสาดโนนเจริญ ตำบลหนองครก อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ  พึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน (3.2-(6))  ดังนี้

ที่

โครงการ/กิจกรรม

ผลการดำเนินกิจกรรม

หน่วยงานที่รับผิดชอบ

1

กิจกรรมการจัดการความรู้ เรื่อง การสร้างทีมงานการจัดการขยะมูลฝอยตั้งแต่ต้นทาง

- มีการบรรยายให้ความรู้จากวิทยากร
- มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการบริหารจัดการขยะมูลฝอยตั้งแต่ต้นทาง
- มีการจัดตั้งคณะกรรมการดำเนินงานในการบริหารจัดการขยะมูลฝอยในชุมชน
- มีการจัดทำแผนการดำเนินงานและกำหนดแนวทางการดำเนินงานร่วมกัน

คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์

3. โรงเรียนตำรวจตะเวนชายแดนบ้านหนองใหญ่ ตำบลรุง อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ
    ทุกคณะมีส่วนร่วมในการบริการวิชาการกับสถาบัน ตั้งแต่กระบวนการ เป็นคณะกรรมการดำเนินงาน (3.2-(7)) เป็นผู้รับผิดชอบโครงการตามแผน (3.2-(8)) ส่งผลให้ โรงเรียนตำรวจตะเวนชายแดนบ้านหนองใหญ่ ตำบลรุง อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ พึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน (3.2-(9)) ดังนี้

ที่

กิจกรรม

ผลการกำกับติดตามความยั่งยืนที่เป็นผลมาจากการโครงการบริการวิชาการของมหาวิทยาลัย

ชุมชนหรือองค์กรที่ได้รับผลกระทบที่เกิดประโยชน์และสร้างคุณค่า

หมายเหตุ

1

กลุ่มวิสาหกิจชุมชนการเพราะเห็ด

- มีการคณะกรรมการบริหารกลุ่มวิสาหกิจชุมชน
- มีการทำบัญชีรายรับรายจ่ายของสมาชิกกลุ่ม ซึ่งพบว่า ในปีการศึกษา 2562 ชุมชนมีรายได้จากการขายเห็ด จำนวน 5,000 - 7,500 บาท/ต่อครัวเรือน/เดือน
- ชุมชนมีการขยายโรงเรือนเพาะเห็นนางฟ้าเพิ่มขึ้น จากเดิม 4 โรงเรือน เป็น 7 โรงเรือน  มีเห็นนางฟ้า 3,500 – 4,000 ก้อน  และเห็ดฟาง จำนวน 200 ก้อน
- ชุมชนสามารถเป็นวิทยากรในการบรรยาย เรื่อง การเพาะเห็ดนางฟ้า อาทิ  ชุมชนได้รับเชิญจากโรงเรียนตำรวจตะเวนชายแดนบ้านหนองใหญ่ ให้เป็นวิทยากรในการเพาะเห็ดนางฟ้า การสร้างโรงเรือน การดูแล  และการบริหารจัดการ  ส่งผลให้โรงเรียนสามารถเพาะเห็ดนางฟ้า เพื่อเป็นอาหารกลางวันให้กับนักเรียน  สามารถลดรายจ่ายค่าอาหารกลางวันได้เฉลี่ย 100-200 บาทต่อมื้อ ซึ่งเห็ดนางฟ้าที่เหลือในแต่ละวัน นักเรียนก็ยังสามารถนำกลับไปประกอบอาหารที่บ้านของตนได้

ชุมชนบ้านหนองใหญ่

เป็นผลมาจากการบริการวิชาการตามแผนบริการวิชาการ ปีการศึกษา 2560

ตามโครงการเสริมสร้างทักษะอาชีพและพัฒนาศักยภาพการแข่งขันทางการตลาดกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านหนองใหญ่

ผู้รับผิดชอบ : คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี

2

การบริหารจัดการขยะ

- โรงเรียนได้แต่งตั้งคณะทำงานในการคัดแยกขยะตามประเภท
- มีการต่อยอดโดยการจัดตั้งธนาคารขยะ
- ได้จัดทำบัญชีรายรับรายจ่ายอย่างเป็นระบบ และนำฝากธนาคารออมสินชื่อบัญชี
- ลดปัญหาขยะในโรงเรียนและชุมชน

 

โรงเรียนตำรวจตะเวนชายแดนบ้านหนองใหญ่

เป็นผลมาจากการบริการวิชาการตามแผนบริการวิชาการ ปีการศึกษา 2560

ตามโครงการพัฒนาศักยภาพชุมชนในการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมบริเวณโรงเรียนให้มีความยั่งยืน

ผู้รับผิดชอบ : คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์

3

นวัตกรรมการศึกษา

บุคลากรและเจ้าหน้าที่ทางการศึกษาโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ได้นำนวัตกรรมการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ๆ และผลิตชุดการเรียนการสอน และชุดฝึกทักษะการเรียนรู้ รูปแบบการฝึกความคิดสร้างสรรค์ กระตุ้นความคิดของนักเรียน และสามารถดึงดูดความสนใจของนักเรียนได้ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ดังนี้

- เด็กมีพัฒนาการเขียนการอ่าน ภาษาไทยได้ดีขึ้น ได้รับรางวัลการประกวดกิจกรรมการอ่านเอาเรื่อง ระดับ ป.1 - ป.3

- เด็กสามารถสร้างสรรค์และนำเสนอผลงานได้ดีขึ้น เป็นตัวแทนจังหวัดศรีสะเกษในการแข่งขันค้นหาสุดยอดเด็กไทยหัวใจเกษตร

- เด็กกล้าแสดงความคิดเห็น และอธิบายเหตุผลได้มากขึ้น ได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดเล่าเรื่องความภูมิใจในท้องถิ่น : ภาษาอีสาน

โรงเรียนตำรวจตะเวนชายแดนบ้านหนองใหญ่

เป็นผลมาจากการบริการวิชาการตามแผนบริการวิชาการ ปีการศึกษา 2560

ตามโครงการบริการวิชาการคณะครุศาสตร์สู่โรงเรียน

ผู้รับผิดชอบ : คณะครุศาสตร์

1. คำนวณค่าร้อยละของชุมชนเป้าหมายที่ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องตามแผนเสริมสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน

                        3   
---------------------------------------       x     100
                        3

2. แปลงค่าร้อยละที่คำนวณได้ในข้อ 1 เทียบกับคะแนนเต็ม 5

  5   =               100
-----------------------------------    x     5
                20
หลักฐาน
รหัสหลักฐาน เอกสารหลักฐาน
7.2 - (1)
7.2 - (2)
7.2 - (3)
7.2 - (4)
7.2 - (5)
7.2 - (6)
7.2 - (7)
7.2 - (8)
7.2 - (9)
ผลคะแนนการประเมินตนเอง
ทำได้ (ข้อ) ได้คะแนน
3 ชุมชน 5