ตัวบ่งชี้ที่ 8.1 ระบบและกลไกด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย (KPI 4.1 ระดับสถาบัน)

ปีที่ประเมิน 2562
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : สรวีย์ คำนวล , วันวิสา นัยเนตร , พรรทิภา พรมมา
ชนิดตัวบ่งชี้ : กระบวนการ
คำอธิบายตัวบ่งชี้

สถาบันอุดมศึกษามีนโยบาย แผนงาน โครงสร้าง และการบริหารจัดการด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย ทั้งการอนุรักษ์ สืบสาน พัฒนา เผยแพร่ ถ่ายทอดวัฒนธรรมไทย ภูมิปัญญาท้องถิ่นตามจุดเน้นของสถาบัน เพื่อให้เกิดความภาคภูมิใจในความเป็นไทย หรือการสร้างโอกาสและมูลค่าเพิ่มให้กับผู้เรียน ชุมชน สังคม และประเทศชาติอย่างยั่งยืน

เกณฑ์การประเมิน
คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 - 6 ข้อ มีการดำเนินการ 7 - 8 ข้อ
เกณฑ์มาตรฐาน
ระดับ เกณฑ์มาตรฐาน ดำเนินการ
1 กำหนดนโยบายและทิศทางการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยเพื่อการพัฒนาต่อยอดและสร้างคุณค่า ตามจุดเน้นของสถาบัน
2 จัดทำแผนด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย และกำหนดตัวบ่งชี้วัดความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผน รวมทั้งจัดสรรงบประมาณเพื่อให้สามารถดำเนินการได้ตามแผน
3 มีการบูรณาการงานด้านศิลปวัฒนธรรม กับการเรียนการสอน หรือการวิจัย หรือการบริการวิชาการ ซึ่งนำไปสู่การสืบสานการสร้างความรู้ ความเข้าใจในศิลปวัฒนธรรม การปรับและประยุกต์ใช้ศิลปวัฒนธรรม
4 กำกับติดตามให้มีการดำเนินงาน และประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ของแผน ด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย และรายงานต่อผู้บริหารสถาบัน
5 นำผลการประเมินไปปรับปรุงแผนหรือกิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย
6 เผยแพร่กิจกรรมหรือการบริการด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยต่อสาธารณชน
7 มีผลงานการสร้างแหล่งเรียนรู้หรือชุมชนต้นแบบ หรือองค์ความรู้หรือนวัตกรรม ด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยให้สอดรับกับสังคมสมัยใหม่
8 กำหนดหรือสร้างมาตรฐานด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับชาติ
ผลการดำเนินงาน
ตนข้อเกณฑ์ผลการดำเนินงานหลักฐาน
1 กำหนดนโยบายและทิศทางการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยเพื่อการพัฒนาต่อยอดและสร้างคุณค่า ตามจุดเน้นของสถาบัน

มหาวิทยาลัยมีการกำหนดนโยบายและทิศทางการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยเพื่อการพัฒนาต่อยอดและสร้างคุณค่า ตามจุดเน้นของสถาบัน ดังนี้

1. มีการแต่งตั้งคณะกรรมการผู้รับผิดชอบงานด้านประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ตามพันธกิจด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ระดับสถาบัน ปีการศึกษา 2562 (4.1-1(1)) โดยมีอธิการบดี และคณะผู้บริหาร เป็นคณะกรรมการอำนวยการ และมีอาจารย์และบุคลากรที่มาจากทุกคณะ สำนัก และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นคณะกรรมการดำเนินงาน มีหน้าที่ กำกับ ติดตาม พันธกิจด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และจัดเก็บข้อมูลการปฏิบัติงานให้สอดคล้องและเป็นไปตามตัวบ่งชี้และเกณฑ์มาตรฐานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2562 และจัดทำรายงานการประเมินตนเองในระดับสถาบัน สำหรับองค์ประกอบที่ 4 ตัวบ่งชี้ที่ 4.1 และตัวบ่งชี้ที่ 4.2

2. มีการจัดทำประกาศ เรื่อง นโยบายและทิศทางการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย (4.1-1(2)) เพื่อมุ่งให้อาจารย์ บุคลากร และนักศึกษาเห็นคุณค่าและมีทัศนคติที่ดีในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู สืบสาน สร้างสรรค์และพัฒนาศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย นำศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยมาสร้างสรรค์และเพิ่มมูลค่าให้เกิดนวัตกรรมที่เหมาะสมและเป็นประโยชน์

2 จัดทำแผนด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย และกำหนดตัวบ่งชี้วัดความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผน รวมทั้งจัดสรรงบประมาณเพื่อให้สามารถดำเนินการได้ตามแผน

มหาวิทยาลัยมีการจัดทำแผนด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย และกำหนดตัวบ่งชี้วัดความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผน รวมทั้งจัดสรรงบประมาณเพื่อให้สามารถดำเนินการได้ตามแผน ดังนี้

1. มีการจัดทำแผนด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย ระยะ 1 ปี (4.1-2(1)) และกำหนดตัวบ่งชี้วัดความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผน (4.1-2(2))

 2. มีการกำหนดกิจกรรม โครงการ ระยะเวลา สถานที่ ผู้รับผิดชอบอย่างชัดเจน และมีการจัดสรรงบประมาณตามแผนฯ ที่พอเพียงและเหมาะสมเพื่อให้สามารถดำเนินงานตามแผนฯ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งในปีงบประมาณ 2563 มหาวิทยาลัยได้จัดสรรงบประมาณตามแผนฯ จำนวนทั้งสิ้น 727,000 บาท (4.1-2(3))

3 มีการบูรณาการงานด้านศิลปวัฒนธรรม กับการเรียนการสอน หรือการวิจัย หรือการบริการวิชาการ ซึ่งนำไปสู่การสืบสานการสร้างความรู้ ความเข้าใจในศิลปวัฒนธรรม การปรับและประยุกต์ใช้ศิลปวัฒนธรรม

มหาวิทยาลัยมีการบูรณาการงานด้านศิลปวัฒนธรรม กับการเรียนการสอน หรือการวิจัย หรือการบริการวิชาการ ซึ่งนำไปสู่การสืบสานการสร้างความรู้ ความเข้าใจในศิลปวัฒนธรรม การปรับและประยุกต์ใช้ศิลปวัฒนธรรม จำนวน 2 เรื่อง ดังนี้

เรื่อง

การบูรณาการ

หน่วยงาน

“ค่ายศิลป์รักษ์ป่า (Nature Hug Art Camp)” (4.1-3(1))

บูรณาการกับการเรียนการสอน

งานศิลปะและวัฒนธรรม

การปั้นเครื่องปั้นดินเผา (4.1-3(2))

บูรณาการกับการเรียนการสอน

คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์

4 กำกับติดตามให้มีการดำเนินงาน และประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ของแผน ด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย และรายงานต่อผู้บริหารสถาบัน

มหาวิทยาลัยมีการกำกับติดตามให้มีการดำเนินงาน และประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ของแผน ด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย และรายงานต่อผู้บริหารสถาบัน ดังนี้

1. มีการจัดประชุมคณะกรรมการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษา ตามพันธกิจด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย ครั้งที่ 1/2563 เมื่อวันที่ 24 กุมพาพันธ์ 2563 (4.1-4(1)) เพื่อกำกับติดตามการดำเนินงานตามแผนดังนี้
    1.1 รายงานผลการดำเนินงานโครงการงานศิลปะและวัฒนธรรมและคณะ
    1.2 พิจารณาวัตถุประสงค์ของแผนด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม โดยยึดแนวทางการดำเนินงานจากแผนกลยุทธ์ด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

2. มีการจัดประชุมคณะกรรมการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษา ตามพันธกิจด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย ครั้งที่ 2/2563 เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2563 (4.1-4(2)) เพื่อกำกับติดตามการดำเนินงานตามแผน ดังนี้
    2.1 รายงานการดำเนินโครงการ ประจำปีงบประมาณ 2563 (มีนาคม-ปัจจุบัน) และรายงานผลการดำเนินโครงการของแต่ละคณะ
    2.2 พิจารณาประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ ที่วัดความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ดังนี้

โครงการ ตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย ผลการดำเนินงาน หน่วยนับ การบรรลุเป้าหมาย

1. บริหารจัดการงานด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

ร้อยละการเบิกจ่าย

4

 

ครั้ง

บรรลุ

2. อนุรักษ์สืบสานวัฒนธรรมประเพณีและวันสำคัญของชาติ ศาสน์ กษัตริย์

ความพึงพอใจ

3.51  

คะแนน

บรรลุ

3. การบูรณาการกิจกรรมการเรียนการสอนในมิติศิลปะและวัฒนธรรม

ความพึงพอใจ

3.51  

คะแนน

บรรลุ

4. ส่งเสริมการจัดการแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาและสร้างสำนึกรักและภาคภูมิใจในท้องถิ่น

เครือข่าย

2  

เครือข่าย

บรรลุ

5. สร้างความสัมพันธ์ในมิติวัฒนธรรมกับประเทศเพื่อนบ้าน

ความพึงพอใจ/เครือข่าย

3.51 / 1  

คะแนน/เครือข่าย

บรรลุ
5 นำผลการประเมินไปปรับปรุงแผนหรือกิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย

มหาวิทยาลัยได้นำผลการประเมินตามตัวบ่งชี้ของแผนและข้อเสนอแนะจากการจัดกิจกรรมเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินงาน ด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ระดับสถาบัน 2562 ในการประชุมครั้งที่ 2/2563 เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2563 (4.1-5(1)) เพื่อพิจารณาและกำหนดแนวทางการปรับปรุง ในปีงบประมาณ 2564 ดังนี้

โครงการ

แนวทางการปรับปรุง

ระยะเวลา

ผู้รับผิดชอบ

1. บริหารจัดการงานด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

ให้จัดสรรงบประมาณให้เพียงพอกับการดำเนินงานตลอดทั้งปี

ปีงบประมาณ 2564

งานศิลปะและวัฒนธรรม

2. อนุรักษ์สืบสานวัฒนธรรมประเพณีและวันสำคัญของชาติ ศาสน์ กษัตริย์

ให้มีการกำหนดกิจกรรมให้ชัดเจน

ปีงบประมาณ 2564

งานศิลปะและวัฒนธรรมและคณะ

3. การบูรณาการกิจกรรมการเรียนการสอนในมิติศิลปะและวัฒนธรรม

มีการบูรณาการการเรียนการสอนให้หลากหลายกับรายวิชามากยิ่งขึ้น

ปีงบประมาณ 2564

งานศิลปะและวัฒนธรรมร่วมกับรายวิชาเรียน

4. ส่งเสริมการจัดการแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาและสร้างสำนึกรักและภาคภูมิใจในท้องถิ่น

ให้มีการสร้าวเครือข่ายเพื่อเพิ่มแหล่งเรียนรู้ให้มีหลากหลายมากยิ่งขึ้น

ปีงบประมาณ 2564

งานศิลปะและวัฒนธรรม

5. สร้างความสัมพันธ์ในมิติวัฒนธรรมกับประเทศเพื่อนบ้าน

ควรมีการสร้างความร่วมมือให้หลากหลายทั้งภายในจังหวัดและภายนอกจังหวัด

ปีงบประมาณ 2564

งานศิลปะและวัฒนธรรม

6 เผยแพร่กิจกรรมหรือการบริการด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยต่อสาธารณชน

มหาวิทยาลัยมีการเผยแพร่กิจกรรม และการบริการด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยต่อสาธารณชนหลากหลายช่องทาง ดังนี้

 1. มีการเผยแพร่กิจกรรม ข่าวสารด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยผ่านสื่อสังคมออนไลน์ อาทิ Fanpage กลุ่มงานศิลปะและวัฒนธรรม , Facebook กลุ่มงานศิลปะและวัฒนธรรม , และเว็บไซต์มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ (4.1-6(1) , 4.1-6(2) , 4.1-6(3))

 2. มีการเผยแพร่กิจกรรม ข่าวสารด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยในวารสารสัมพันธ์ขาวทองของมหาวิทยาลัย (4.1-6(4)) และมีการแจกจ่ายไปยังหน่วยงานต่างๆ จำนวน 278 หน่วยงาน

3. มีการเผยแพร่กิจกรรม ข่าวสารด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย ในรายงานประจำปี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ (4.1-6(5)) ตามยุทธศาสตร์ที่ 5 การอนุรักษ์ ส่งเสริม และฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่นและของชาติ

7 มีผลงานการสร้างแหล่งเรียนรู้หรือชุมชนต้นแบบ หรือองค์ความรู้หรือนวัตกรรม ด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยให้สอดรับกับสังคมสมัยใหม่

มหาวิทยาลัย มีการดำเนินพัฒนาแหล่งเรียนรู้วัฒนธรรมชาติพันธุ์ 4 เผ่า (ลาว เขมร ส่วย เยอ) เป็นการพัฒนาชุมชนให้มีศักยภาพในการสืบทอดมรดกภูมิปัญญา โดยการมีส่วนร่วมและมีความพร้อมในการยกระดับการทำงานให้เป็นแหล่งการเรียนรู้ชุมชนต้นแบบ ในการเป็นแบบอย่างการปฏิบัติที่ดีแก่ชุมชนอื่น และสร้างจิตสำนึกในการดำเนินชีวิตตามศาสตร์พระราชา ซึ่งแบ่งชุมชน ออกเป็น 4 ชุมชุน ได้แก่
    1.1 หมู่บ้านชาติพันธุ์เยอ บ้านปราสาทเยอ อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ
    1.2 หมู่บ้านชาติพันธุ์ลาว บ้านละทาย อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ
    1.3 หมู่บ้านชาติพันธุ์เขมร บ้านสำโรงเกียรติ อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ  
    1.4 หมู่บ้านชาติพันธุ์ส่วย บ้านปราสาท อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ

8 กำหนดหรือสร้างมาตรฐานด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับชาติ

มหาวิทยาลัยได้จัดงานเทศกาลดอกลำดวนบาน สืบสานประเพณีสี่เผ่าไทศรีสะเกษ ประจำปี 2563 โดยนำเสนอเรื่องราววัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต ผ่านการแสดง ซึ่งมหาวิทยาลัยฯ มีส่วนร่วมในการศึกษา ค้นคว้า วิจัย รวบรวม ร้อยเรียงประวัติความเป็นมาของจังหวัดศรีสะเกษ และถ่ายทอดออกมาในรูปแบบของการแสดงศิลปวัฒนธรรม เพื่อส่งเสริมและอนุรักษ์ศิลปะ ประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมของจังหวัดศรีสะเกษ ชนสี่เผ่า (ลาว เขมร ส่วย เยอ) และส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งถือเป็นการแสดงเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม ความเป็นมาของชาวศรีสะเกษ ให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายในระดับชาติ

ผลคะแนนการประเมินตนเอง
ทำได้ (ข้อ) ได้คะแนน
8 5