ตัวบ่งชี้ที่ 2.1 ระบบและกลไกงานวิจัย งานสร้างสรรค์ หรือนวัตกรรม

ปีที่ประเมิน 2565
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : อริศาพัชร จักรบุตร , อนุวัฒน์ ศรีสุวรรณ์ , สุรพงศ์ เบ้าทอง , จันจิรา ชาติมนตรี , ทินวชร์ เดชวัน , ปฏิกิติพัฒน์ ศรีมะณี , ดารารัตน์ กันทวงค์
ชนิดตัวบ่งชี้ : กระบวนการ
คำอธิบายตัวบ่งชี้

สถาบันวิจัยและพัฒนาต้องมีการบริหารจัดการงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ที่มีคุณภาพ
โดยมีแนวทางการดำเนินงานที่เป็นระบบและมีกลไกส่งเสริมสนับสนุนครบถ้วน เพื่อให้สามารถดำเนินการได้ตามแผนที่กำหนดไว้ทั้งการสนับสนุนด้านการจัดหาแหล่งทุนวิจัยและการจัดสรรทุนวิจัยจากงบประมาณของสถาบันให้กับบุคลากรส่งเสริมพัฒนาสมรรถนะแก่อาจารย์และนักวิจัย การสนับสนุนทรัพยากรที่จำเป็นซึ่งรวมถึงทรัพยากรบุคคล ทรัพยากรการเงิน เครื่องมืออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องต่างๆ ส่งเสริมให้เกิดเครือข่ายความร่วมมือด้านการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์หรือนวัตกรรม นำผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์หรือนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาผู้เรียนหรือชุมชน ตลอดจนจัดระบบสร้างขวัญและกำลังใจแก่นักวิจัยอย่างเหมาะสม ตลอดจนมีระบบและกลไกเพื่อช่วยในการคุ้มครองสิทธิ์ของงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ที่นำไปใช้ประโยชน์

เกณฑ์การประเมิน
คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 - 6 ข้อ มีการดำเนินการ 7 ข้อ
เกณฑ์มาตรฐาน
ระดับ เกณฑ์มาตรฐาน ดำเนินการ
1 มีระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานวิจัยที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการบริหารงานวิจัยและงานสร้างสรรค์
2 สนับสนุนพันธกิจด้านการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์อย่างน้อยในประเด็นต่อไปนี้ - ห้องปฏิบัติการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์หรือหน่วยวิจัยหรืองานสร้างสรรค์หรือศูนย์เครื่องมือหรือศูนย์ให้คำปรึกษาและสนับสนุนการวิจัย - ห้องสมุดหรือแหล่งค้นคว้าข้อมูลสนับสนุนการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ - สิ่งอำนวยความสะดวกหรือการรักษาความปลอดภัยในการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ เช่นระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบรักษาความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการวิจัย - กิจกรรมวิชาการที่ส่งเสริมงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ เช่น การจัดประชุมวิชาการ การจัดแสดงงานสร้างสรรค์ การจัดให้มีศาสตราจารย์รับเชิญ (Visiting Professor)
3 จัดสรรงบประมาณเพื่อเป็นทุนวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ และสนับสนุนการเผยแพร่ผลงานวิจัย หรืองานสร้างสรรค์ในการประชุมวิชาการ หรือการตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติ
4 มีการพัฒนาสมรรถนะอาจารย์และนักวิจัย มีการสร้างขวัญและกำลังใจตลอดจนยกย่องอาจารย์และนักวิจัยที่มีผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ดีเด่น
5 มีการดำเนินงานกับเครือข่ายความร่วมมือด้านวิจัยหรืองานสร้างสรรค์หรือนวัตกรรมระหว่างสถาบันอุดมศึกษา องค์กรภาครัฐหรือเอกชน ทั้งในประเทศหรือต่างประเทศ
6 มีระบบและกลไกการนำผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์หรือนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาผู้เรียนหรือชุมชนและดำเนินการตามระบบที่กำหนด
7 มีระบบและกลไกการคุ้มครองสิทธิ์ของงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ที่นำไปใช้ประโยชน์และดำเนินการตามระบบที่กำหนด
ผลการดำเนินงาน
ตนข้อเกณฑ์ผลการดำเนินงานหลักฐาน
1มีระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานวิจัยที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการบริหารงานวิจัยและงานสร้างสรรค์

มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ดำเนินงานด้านการวิจัยโดยมีสถาบันวิจัยและพัฒนาในการทำหน้าที่เป็นหน่วยงานกลางในการบริหารจัดการงานวิจัย ซึ่งสถาบันวิจัยและพัฒนาได้มีการใช้ระบบสารสนเทศสำหรับการบริหารจัดการงานวิจัย จำนวน 3 ระบบ ประกอบด้วย

1. ระบบการบริหารจัดการงานวิจัยจากแหล่งทุนภายใน (2.1-1(1)) สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ใช้ระบบสารสนเทศสำหรับการบริหารจัดการงานวิจัยของหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัย (Department Research Management System : DRMS) โดยระบบ DRMS เป็นโปรแกรมประยุกต์ให้สามารถใช้งานผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สถาบันวิจัยและพัฒนาได้มีการเปิดใช้ระบบ DRMS สำหรับการลงระบบข้อมูลโครงการวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนจากงบบำรุงการศึกาษา (บกศ.) ของมหาวิทยาลัย โดยระบบ DRMS ถูกพัฒนามาจากระบบบริหารจัดการงานวิจัยแห่งชาติ (National Research Management System : NRMS) เพื่อช่วยในการจัดเก็บข้อมูลสารสนเทศโครงการวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยอย่างเป็นระบบ และเป็นระบบสารสนเทศที่ไม่ซับซ้อนสำหรับเตรียมความพร้อมให้กับนักวิจัยรุ่นใหม่ในพัฒนาทักษะการลงระบบข้อมูลโครงการวิจัยอย่างถูกต้องสำหรับเป็นพื้นฐานในการต่อยอดเพื่อใช้ในการยื่นขอทุนวิจัยจากภายนอกในระดับ PMU ต่อไป โดยคุณสมบัติหรือฟังก์ชั่นการใช้งานหลักของระบบ DRMS ดังนี้
          1.1 มีเมนูแสดงการประกาศกรอบระยะเวลาการยื่นข้อเสนอเพื่อขอทุนวิจัยของหน่วยงาน
          1.2 มีระบบการนำเข้าข้อมูลรายละเอียดข้อเสนอโครงการวิจัย ซึ่งมีการอ้างอิงตามรูปแบบ NRIIS
          1.3 มีระบบแสดงข้อมูลนักวิจัยและเจ้าหน้าที่ของหน่วยงาน
          1.4 มีเมนูแสดงข่าวสาร และหัวข้อประกาศเกี่ยวกับโครงการวิจัย
          1.5 มีระบบการตรวจสอบและแสดงผลข้อเสนอโครงการวิจัยสำหรับใช้ประกอบการพิจารณาการคัดเลือกสนับสนุนโครงการวิจัย ประกอบด้วย
                    1) การตรวจสอบข้อเสนอการวิจัย
                    2) ตรวจสอบความซ้ำซ้อน
                    3) ตรวจสอบการติดค้างโครงการของนักวิจัย
                    4) การประกาศผลการพิจารณาข้อเสนอการวิจัย
          1.6 ระบบสามารถนำเข้าข้อมูลผลผลิต ผลลัพธ์ และผลกระทบ จากการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์หลังการดำเนินโครงงการวิจัยเสร็จสิ้นแล้ว
          1.7 มีระบบตรวจสอบและติดตามการบริหารจัดการโครงการวิจัย ดังนี้
                    1) การตรวจสอบข้อมูลการดำเนินโครงการวิจัยตามแผน
                    2) การติดตามความก้าวหน้าของการดำเนินการโครงการ
                    3) การรายงานผลความก้าวหน้า และรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
                    4) การติดตามการเบิกจ่ายงบประมาณ และการปิดโครงการ
          1.8 สามารถเชื่อมโยงข้อมูลงานวิจัยและข้อมูลผู้ใช้งานของหน่วยงานกับระบบ NRIIS ได้ ทั้งในส่วนของทุนงบประมาณแผ่นดินและทุนของหน่วยงานของมหาวิทยาลัย

2. ระบบการบริหารจัดการงานวิจัยจากทุนภายนอก (2.1-1(2)) สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ใช้ระบบข้อมูลสารสนเทศวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (National Research and Innovation Information System : NRIIS) ซึ่งเป็นระบบสารสนเทศด้านการวิจัยที่เกิดจากร่วมมือของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการงบประมาณการวิจัยของประเทศ ได้แก่ สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) และหน่วยงานบริหารจัดการ (Program Management Unit: PMU) โดยดำเนินการออกแบบและพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศด้านการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อรองรับการทำงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้สามารถบริหารจัดการงบประมาณการวิจัยและสร้างฐานข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมของประเทศในระบบเดียวกัน โดยระบบ NRIIS จะมีคุณสมบัติหรือฟังก์ชั่นการใช้งานหลักของระบบ NRIIS ดังนี้
          2.1 ระบบการจัดสรรงบประมาณ (Budget Allocation) 
                    1) การสร้างแผนงานสำหรับยื่นของบประมาณด้านการวิจัย
                    2) การปรับแก้งบประมาณตามแผนงาน/ข้อเสนอโครงการวิจัยขั้นกลั่นกรอง
                    3) การปรับงบประมาณตามแผนงาน/ข้อเสนอโครงการเบื้องต้น (Pre-ceiling) จาก สกสว.
                    4) การปรับงบประมาณตามแผนงาน/ข้อเสนอโครงการหลังการประกาศแจ้งงบประมาณที่ได้รับ
การจัดสรรจากทาง สกสว.
          2.2 การเปิดรับข้อเสนอ การประเมิน และการปรับสถานะโครงการวิจัยที่ได้รับการจัดสรร (Proposal Submission & Assessment)
                    1) การเปิดระบบเพื่อให้นักวิจัยสามารถส่งข้อเสนอโครงการวิจัย
                    2) ระบบแสดงข้อมูลการรายงานผลการประเมินข้อเสนอโครงการ
                    3) ระบบแสดงข้อมูลการปรับสถานะโครงการได้รับจัดสรร
          2.3 การดำเนินการ และการตรวจสอบโครงการวิจัย Ongoing & Monitoring
                    1) นำเข้าโครงการวิจัยที่ต้องการศึกษา 
                    2) กำหนดงวดเงิน/งวดงาน
                    3) จัดทำสัญญาโครงการวิจัยที่ได้รับการจัดสรร
                    4) รายงานผลการดำเนินโครงการวิจัยตามแผน
                    5) รายงานการใช้จ่ายงบประมาณตามแผนงบประมาณ
                    6) การตรวจสอบการจัดซื้อครุภัณฑ์ของโครงการวิจัย
                    7) การตรวจสอบสถานะการปิดโครงการ/ขยายโครงการ
          2.4 การประเมินคุณค่างานวิจัย (Research Evaluation)
                   1) ระบบแสดงผลการรายงานผลผลิต/ผลลัพธ์/ผลกระทบ
                   2) ระบบแสดงผลการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์

3. ระบบสารสนเทศด้านการวิจัยสำหรับผู้บริหาร เป็นระบบสารสนเทศเกี่ยวกับการจัดการระบบฐานข้อมูลนักวิจัย และโครงการวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากหน่วยงานทั้งภายในและภายนอก ซึ่งจะถูกนำไปใช้ในการบริหารจัดการด้านวิจัยร่วมกันในระดับคณะ และมหาวิทยาลัย โดยมีผู้รับผิดชอบในระดับผู้บริหาร คณาจารย์ นักวิจัย และเจ้าหน้าที่ และมีการจัดการความปลอดภัยของระบบโดยใช้ USER และ PASSWORD เฉพาะตามหน่วยงาน (2.1 - 1(3)) นอกจากนี้ระบบสารสนเทศที่ถูกพัฒนาขึ้นนี้ยังสามารถแสดงข้อมูลคุณภาพโครงการวิจัย และมาตรฐานของนักวิจัยสำหรับผู้บริหารพิจารณาภาพรวมด้านการวิจัยของหน่วยงาน โดยระบบสารสนเทศที่พัฒนามีคุณสมบัติหรือฟังก์ชั่นการใช้งานหลัก ดังนี้
          3.1 ระบบฐานข้อมูลโครงการวิจัย
                    1) ชื่อโครงการ 2) แหล่งทุนสนับสนุน 3) ปีงบประมาณที่ได้รับการจัดสรร 4) หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการวิจัย 5) ทีมนักวิจัยที่ร่วมดำเนินโครงการวิจัย
          3.2 ระบบฐานข้อมูลนักวิจัย
                    1) ชื่อ-สกุล 2) อีเมล์ 3) เบอร์ติดต่อ 4) หน่วยงานต้นสังกัด 5) สถานะโครงการวิจัย
          3.3 การเผยแพร่ผลงานวิจัย
                    1) ประเภทการเผยแพร่งานวิจัย 2) ชื่อผลงานวิจัย 3) วันที่เผยแพร่ผลงานวิจัย 4) หน่วยงานที่ดำเนินการจัดการเผยแพร่ 5) นักวิจัย
          3.4 นำไปใช้ประโยชน์
                    1) โครงการวิจัย/งานสร้างสรรค์/นวัตกรรม 2) นักวิจัย 3) หน่วยงานที่นำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์

4) ลักษณะของการใช้ประโยชน์ของผู้บริหาร

          มีรหัสผู้ใช้ของผู้บริหารทุกระดับที่สามารถเข้าติดตามสถานะข้อมูลโดยภาพรวม และข้อมูลเชิงลึกได้โดยตลอด โดยกำหนดสิทธ์ในการเข้าถึงตามระดับที่แตกต่างกัน เป็นคลังข้อมูล สามารถดูสถิติแยกประเภทงบประมาณและแหล่งทุนที่ได้รับจัดสรรหา มีสถานะข้อมูลเป็นปัจจุบัน ผู้บริหารระดับกลางสามารถใช้เป็นข้อมูลในการติดตามให้นักวิจัยและหน่วยงานวิจัย ดำเนินงานตามกรอบระยะเวลาได้อย่างรวดเร็วและเป็นปัจจุบัน และผู้บริหารระดับสูงสามารถเข้าระบบติดตามการดำเนินงานได้ตลอดเวลา มีข้อมูลสรุปสถิติจำนวนโครงการวิจัย ประเภทงานวิจัย แหล่งทุน งบประมาณ ฯลฯ สามารถใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจ วางแผน รวมถึงการพยากรณ์แนวโน้มความสำเร็จของการดำเนินงานและทิศทางการดำเนินงานในอนาคตได้ และงานวิจัยและพัฒนาได้นำเสนอข้อมูลรายงานความก้าวหน้าต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยด้วย

2สนับสนุนพันธกิจด้านการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์อย่างน้อยในประเด็นต่อไปนี้ - ห้องปฏิบัติการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์หรือหน่วยวิจัยหรืองานสร้างสรรค์หรือศูนย์เครื่องมือหรือศูนย์ให้คำปรึกษาและสนับสนุนการวิจัย - ห้องสมุดหรือแหล่งค้นคว้าข้อมูลสนับสนุนการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ - สิ่งอำนวยความสะดวกหรือการรักษาความปลอดภัยในการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ เช่นระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบรักษาความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการวิจัย - กิจกรรมวิชาการที่ส่งเสริมงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ เช่น การจัดประชุมวิชาการ การจัดแสดงงานสร้างสรรค์ การจัดให้มีศาสตราจารย์รับเชิญ (Visiting Professor)

มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ มีการสนับสนุนพันธกิจด้านการวิจัย ในประเด็นต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

1. ห้องปฏิบัติการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ 
    มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษได้มีการจัดสรรพิ้นที่ในอาคารเรียนเพื่อใช้เป็นห้องปฏิบัติการ โดยมีการนำเครื่องมือ และอุปกรณ์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในการสนับสนุนการดำเนินงานด้านวิจัยของนักวิจัย และนักศึกษา โดยสามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มหลัก ประกอบด้วย
     1.1 ห้องปฏิบัติการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประกอบด้วยห้องปฏิบัติการวิทยาศาตร์พื้นฐาน ได้แก่ ห้องปฏิบัติการทางเคมี  ฟิสิกส์ และชีววิทยา (2.1-2(1)) ห้องปฏิบัติการทางคอมพิวเตอร์สำหรับการเรียนรู้ระบบสารสนเทศ (2.1-2(2)) และห้องปฏิบัติการงานด้านเทคโนโลยีอุตสาหกรรม (2.1-2(3))
     1.2 ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ ประกอบด้วย ห้องปฏิบัติการสาธารณสุขชุมชน (2.1-2(4)) และห้องปฏิบัติการเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์การกีฬา (2.1-2(5))

2. ห้องสมุดหรือแหล่งค้นคว้าข้อมูลสนับสนุนการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์
   มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษมีห้องสมุดสถาบันวิจัยและพัฒนาที่เน้นเกี่ยวกับงานด้านการศึกษาวิจัยเฉพาะสำหรับให้บริการให้นักวิจัยเข้าไปค้นคว้าหาความรู้เพื่อเพิ่มมีศักยภาพนักวิจัยให้ความสามารถเรียนรู้ด้านการวิจัย และพัฒนาโครงงานวิจัยที่มีคุณภาพทันตามยุคสมัย (2.1-2(6)) มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษมีการจัดสรรพื้นที่ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ของสถาบันวิจัยและพัฒนาเพื่อใช้ในการสนับสนุนนักวิจัยสำหรับการลงระบบข้อมูลข้อเสนอโครงการวิจัย (2.1-2(7)) มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษได้จัดตั้งศูนย์วิจัยชุมชนเพื่อประสานแหล่งทุนในการสนับสนุนการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในชุมท้องถิ่น (2.1-2(8)) 

3. การจัดเตรียมสิ่งอำนวยความสะดวกหรือการรักษาความปลอดภัยในการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ 
    มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ มีระบบฐานข้อมูลงานวิจัยอิเล็กทรอนิกส์ (2.1-2(9)) อำนวยความสะดวกสำหรับผู้บริหารและนักวิจัย ซึ่งสถาบันวิจัยและพัฒนามีระบบควบคุมการเข้าถึงข้อมูล ให้ระบุตัวตนการใช้งาน โดย Login ผ่านหน้าเว็บไซต์ด้วยระบบบัญชีผู้ใช้งาน SSKRU.AC.TH  ซึ่งต้องระบุตัวตน Login เข้าใช้งาน (Username) และรหัสผ่าน (Password) ที่ทางสถาบันวิจัยและพัฒนาได้กำหนดให้ และมีการกำหนดชั้นความลับของข้อมูล แต่ละประเภทผู้ใช้งาน แบ่งชั้นความลับแต่ละรหัสให้มีสิทธิ์เข้าถึงข้อมูลได้ในระดับที่แตกต่างกัน โดยแบ่งประเภทชั้นความลับ 4 ระดับ ดังนี้ 1) ระดับชั้นสำหรับผู้บริหาร 2) ระดับชั้นสำหรับผู้ใช้งานทั่วไป 3) ระดับชั้นสำหรับนักวิจัย และ 4)ระดับชั้นสำหรับผู้ดูแลระบบหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย 

    ทั้งนี้มหาวิทยาลัยให้ความสำคัญกับระบบการรักษาความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ ได้แบ่งพื้นที่ห้องปฏิบัติการอย่างชัดเจนและมีความเหมาะสม รวมถึงมีการสนับสนุนส่งเสริมให้คณะ มีระบบการรักษาความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ โดยกำหนดแนวปฏิบัติการใช้ห้องปฏิบัติการและจัดทำคู่มือ (2.1-2(10)) และระเบียบและแนวปฏิบัติการขอใช้บริการห้องปฏิบัติการทางเทคโนโลยีสารสนเทศ (2.1-2(11)) เผยแพร่ให้นักวิจัยและหน่วยงานทราบและถือปฏิบัติ

    มหาวิทยาลัยให้ความสำคัญกับการให้ความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่เกิดจากการจัดกิจกรรมวิจัยและพัฒนา มีสถาบันวิจัยและพัฒนากำหนดขั้นตอนและระบบกลไกสำหรับพิจารณาผลงาน ที่จะร่วมกับเจ้าของผลงานจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อรับการคุ้มครองสิทธิ์ตามที่กฎหมาย ตามขั้นตอน ดังนี้

    1. เจ้าของผลงานรับแบบฟอร์ม กรอกข้อมูล แนบผลงานและส่งที่สถาบันวิจัยและพัฒนา

    2. สถาบันวิจัยและพัฒนา รับและตรวจเอกสาร 

        2.1 เอกสารถูกต้องครบถ้วน สถาบันวิจัยและพัฒนานำเสนอคณะกรรมการบริหารงานวิจัยและพัฒนาพิจารณา 

        2.2 เอกสารไม่ครบ สถาบันวิจัยและพัฒนานำส่งเจ้าของผลงานแก้ไข เพิ่มเติม

4. การจัดกิจกรรมด้านวิชาการที่ส่งเสริมงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์
    มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ได้ดำเนินการส่งเสริมงานวิจัยโดยมีสถาบันวิจัยและพัฒนาทำหน้าที่เป็นหน่วยงานกลางในการจัดกิจกรรมพัฒนาศักยภาพนักวิจัยให้สามารถพัฒนาโจทย์วิจัยอย่างมีคุณภาพ
    4.1  การจัดโครงการอบรม การพัฒนาโจทย์วิจัยและเทคนิคการขอทุนวิจัยของ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ   โดย  รศ.ดร.คมกฤต เล็กสกุล (มหาวิทยาลัยเชียงใหม่) วันที่ 22 มิถุนายน 2566 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ  (2.1-2(12))
    4.2 การจัดโครงการอบรม เทคนิคการเขียนบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับชาติระดับนานาชาติ โดย รศ.ดร.ศลิษา ไชยพุทธ (สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง) และ รศ.ดร. จิรัชญา อายะวรรณา (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี) ในวันที่ 21 – 22 เมษายน 2566 ณ อารยา รีสอร์ท โขงเจียม ริเวอร์ไซด์ อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี  (2.1-2(13))
    4.4 การจัดโครงการอบรม จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์สำหรับคณะกรรมการและนักวิจัย โดย รศ.ดร. สุภาภรณ์ สุดหนองบัว ในวันที่ 11-12 มกราคม 2566 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ (2.1-2(14))

 

3จัดสรรงบประมาณเพื่อเป็นทุนวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ และสนับสนุนการเผยแพร่ผลงานวิจัย หรืองานสร้างสรรค์ในการประชุมวิชาการ หรือการตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติ

มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ มีการจัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนโครงการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ สนับสนุนผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ที่ได้การเผยแพร่ในการประชุมทางวิชาการ และสนุบสนุนผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติ ตามรายละเอียดดังนี้

1.  จัดสรรงบประมาณเพื่อเป็นทุนวิจัยหรืองานสร้างสรรค์
     มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษได้จัดสรรงบประมาณของสถาบันเพื่อเป็นทุนสนับสนุนโครงการวิจัย ในปีงบประมาณ 2566 ดังนี้
         1.1 งบบำรุงการศึกษา (บกศ.) โดยสถาบันวิจัยและพัฒนา ได้จัดสรรงบประมาณในการสนับสนุนการวิจัย จำนวน 700,000 บาท โดยมีการอนุมัติจัดสรรให้นักวิจัยของมหาวิทยาลัย รวมทั้งหมด 18 โครงการ (2.1 - 3(1)) 
         1.2 งบประมาณจากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กองทุน ววน.) ประเภท Fundamental Fund (Basic Research) ประจำปีงบประมาณ 2566 โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ได้จัดสรรงบประมาณในการสนับสนุนการวิจัย จำนวน 9,124,000 บาท โดยมีการอนุมัติจัดสรรให้กับนักวิจัยของมหาวิทยาลัย รวมทั้งหมด 24 โครงการ (2.1-3(2))                                                                                            1.3 งบประมาณผ่านนอกที่ได้รับการสนับสนุน PMU ประจำปีงบประมาณ 2566 โดยมหาวิทยาลัยได้รับการจัดสรรงบประมาณในการสนับสนุนการวิจัย จำนวน 16,245,400 บาท ดังนี้    1. บพท. จำนวน 14,000,000  บาท 2. สกว. จำนวน   1,728,000 บาท  3. วช.  จำนวน   517,400 บาท

2. การจัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนการเผยแพร่ผลงานวิจัยในการประชุมทางวิชาการ หรือการตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติ หรือนานาชาติ
     
มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษมีแนวทางในการจัดสรรงบประมาณเพื่อการสนับสนุนการนำผลงานวิจัยไปเผยแพร่ในการประชุมทางวิชาการ หรือการตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติ ตามรายละเอียดดังนี้
     2.1 การก่อตั้งคณะกองทุนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ มีการออกระเบียบมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ว่าด้วย กองทุนวิจัย พ.ศ. 2561 ในรูปแบบของคณะกรรมการบริหารกองทุนวิจัย (2.1-3(3)) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการจ่ายค่าตอบแทนนักวิจัยที่มีการเผยแพร่ผลงานวิจัยให้แพร่หลายทั้งในระดับชาติ และนานาชาติ รวมทั้งส่งเสริมสนับสนุนให้ความช่วยเหลือในการขอรับสิทธิบัตรและทรัพย์สินทางปัญญาที่เกิดจากงานวิจัยของบุคลากรในมหาวิทยาลัย (2.1-3(4)) และการยกย่องเชิดชู สร้างขวัญกำลังใจให้กับนักวิจัยที่มีความโดดเด่นด้านการเผยแพร่ผลงานวิจัยทั้งการนำเสนอผลงานในเวทีประชุมวิชาการ หรือตีพิมพ์ผลงานวิจัยในระดับชาติหรือนานาชาติ (2.1-3(5)) โดยมีการประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนวิจัย เพื่อจัดทำการประชาสัมพันธ์ เรื่อง ขอรับค่าตอบแทนการนำเสนอผลงานวิจัย และตีพิมพ์ในวารสาร ครั้งที่ 1/2566 วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2566 (2.1-3(6)) มีการประชาสัมพันธ์ เรื่อง ขอรับค่าตอบแทนการนำเสนอผลงานวิจัย และตีพิมพ์ในวารสาร และส่งผลงานวิจัยเข้าประกวดนักวิจัยดีเด่น โดยจัดทำบันทึกข้อความประชาสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัย บนเว็บไซต์สถาบันวิจัยและพัฒนา (2.1-3(7)), (2.1-3(8)) มีการประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนวิจัย ครั้งที่ 2/2566 วันที่ 19 มิถุนายน 2566 เพื่อพิจารณาผลนักวิจัยที่ได้รับค่าตอบแทนการนำเสนอผลงานวิจัย และตีพิมพ์ในวารสาร และส่งผลงานวิจัยเข้าประกวดนักวิจัยดีเด่น (2.1-3(9)) หลังจากคณะกรรมการบริหารกองทุนวิจัยได้มีการประชุมเพื่อพิจารณาผลนักวิจัยที่ได้รับค่าตอบแทนการนำเสนอผลงานวิจัย และตีพิมพ์ในวารสาร ซึ่งสถาบันวิจัยและพัฒนาได้ประกาศผลการพิจารณาลงสื่อประชาสัมพันธ์ของสถาบันวิจัยและพัฒนา รายละเอียด ดังนี้
        1) นำเสนอผลงานวิจัยในเวทีการประชุมระดับชาติ จำนวน 2 ผลงาน ได้รับการสนับสนุนผลงานละ 1,300 บาท รวมทั้งสิ้น 2,600 บาท
        2) นำเสนอผลงานวิจัยในเวทีการประชุมระดับนานาชาติ จำนวน 2 ผลงาน ได้รับการสนับสนุนผลงานละ 1,700 บาท รวมทั้งสิ้น 3,400 บาท
        3) การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในวารสารระดับชาติ ระบบฐานข้อมูล TCI ฐาน 1 และฐาน 2
              - การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในวารสารระดับชาติ ระบบฐานข้อมูล TCI ฐาน 1 จำนวน 9 ผลงาน ได้รับการสนับสนุนผลงานละ 3,900 บาท รวมทั้งสิ้น 35,100 บาท
              - การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในวารสารระดับชาติ ระบบฐานข้อมูล TCI ฐาน 2 จำนวน 16 ผลงาน ได้รับการสนับสนุนผลงานละ 2,100 บาท รวมทั้งสิ้น 33,600 บาท
        4) การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในวารสารระดับนานาชาติ ในฐาน ISI หรือ Scopus รวมทั้งสิ้น 10,300 บาท แยกรายละเอียดเบิกจ่าย ดังนี้
              - การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในวารสารระดับนานาชาติ ในฐาน Scopus (Q1) จำนวน 1 ผลงาน ได้รับการสนับสนุนผลงาน 6,000 บาท รวมทั้งสิ้น 6,000 บาท
              - การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในวารสารระดับนานาชาติ ในฐาน Scopus (Q4) จำนวน 1 ผลงาน ได้รับการสนับสนุนผลงานละ 4,300 บาท รวมทั้งสิ้น 4,300 บาท  (2.1-3(10))

    2.2 มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษได้จัดทำประกาศ เรื่องรางวัลสนับสนุนตีพิมพ์บทความวิจัยในวารสารระดับนานาชาติ ปีการศึกษา 2565 เพื่อเป็นการส่งเสริมและพัฒนางานวิจัยให้เป็นเลิศในการเผยแพร่ผลงานวิจัยระดับนานาชาติ โดยมีการประชาสัมพันธ์บนเว็บไซต์ของสถาบันวิจัยและพัฒนา (2.1-3(11)) และมีการประชุมคณะกรรมการบริหารงานวิจัยและพัฒนา ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2566 โดยได้พิจารณารางวัลสนับสนุนตีพิมพ์บทความวิจัยในวารสารวิจัยระดับนานาชาติ ปีการศึกษา 2565 ดังนี้
         1) ตีพิมพ์บทความวิจัยในวารสารวิจัยระดับนานาชาติ จำนวนทั้งสิ้น 70,000 บาท
               - การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในวารสารระดับนานาชาติ ในฐาน Scopus (Q1) จำนวน 2 ผลงาน ได้รับการสนับสนุนผลงานละ 25,000 บาท รวมทั้งสิ้น 50,000 บาท
               - การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในวารสารระดับนานาชาติ ในฐาน Scopus (Q2) จำนวน 1 ผลงาน ได้รับการสนับสนุนผลงานละ 20,000 บาท รวมทั้งสิ้น 20,000 บาท (2.1-3(12))

    2.3 มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษได้มีการคัดเลือกนักวิจัยที่มีความโดดเด่นการการเผยแพร่ผลงานวิจัย ซึ่งถือเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้กับนักวิจัยที่มีความตั้งใจ และมุ่งมั่นพัฒนาผลงานวิจัยให้สามารถตีพิมพ์ในระดับนานาชาติได้ โดยมีการประกาศผลการพิจารณานักวิจัยดีเด่น รางวัลละ 5,000 บาท (2.1-3(13)) ดังนี้
          1) นักวิจัยดีเด่นด้านการสนับสนุนจากแหล่งทุนภายนอก : ดร.จิรนันต์  รัตสีวอ 
          2) นักวิจัยดีเด่นด้านการตีพิมพ์เผยแพร่ระดับชาติหรือนานาชาติ : ผศ.ดร.ปิยฉัตร  ทองแพง

4มีการพัฒนาสมรรถนะอาจารย์และนักวิจัย มีการสร้างขวัญและกำลังใจตลอดจนยกย่องอาจารย์และนักวิจัยที่มีผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ดีเด่น

มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ มีการพัฒนาสมรรถนะอาจารย์และนักวิจัย สร้างขวัญและกำลังใจตลอดจนยกย่องเชิดชูเกียรติอาจารย์ และนักวิจัยที่มีผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ดีเด่น ประกอบด้วย 2 ส่วนดังนี้

ส่วนที่ 1

มีการจัดกิจกรรมโครงการเพื่อพัฒนาสมรรถนะอาจารย์และนักวิจัย จำนวน 4 โครงการ ดังนี้

    1.1 มีการจัดโครงการอบรมการบริหารจัดการด้านการเงิน พัสดุและครุภัณฑ์ สำหรับโครงการวิจัย ภายใต้หลักธรรมาภิบาล ในวันที่ 4 พฤศจิกายน 2565 (2.1 - 4(1))

     1.2 มีการจัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ "จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์" และ "ส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสในการทำวิจัย" ในวันที่ 11 -12 มกราคม 2566 (2.1-4(2))

     1.3 มีการจัดโครงการพัฒนาโจทย์วิจัยและเทคนิคการขอทุนวิจัย ในวันที่ 22 มิถุนายน 2566 (2.1-4(3))

     1.4 มีการจัดโครงการส่งเสริมการเผยแพร่ผลงานวิจัยและจดสิทธิบัตร ในวันที่ 9 มิถุนายน 2566 (2.1-4(4))

ส่วนที่ 2

มีการสร้างขวัญและกำลังใจตลอดจนยกย่องเชิดชูเกียรติอาจารย์ และนักวิจัยที่มีผลงานวิจัย และงานสร้างสรรค์ดีเด่น ดังรายละเอียดต่อไปนี้

     2.1 มีการจัดทำประกาศมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ เรื่อง หลักเกณฑ์การยกย่องเชิดชูเกียรติ นักวิจัยดีเด่น เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจให้นักวิจัยที่มีผลงานดีเด่น โดยมีรางวัล ทั้งหมด 4 ประเภท ประเภทละ 5,000 บาท (2.1-4(5))

     2.2 มีการจัดทำประชาสัมพันธ์  เรื่อง การส่งผลงานเข้าประกวดนักวิจัยดีเด่น ไปยังหน่วยงานต่างๆ ภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ โดยมีรางวัลประเภท ทั้งหมด 4 ประเภท ประเภทละ 1 รางวัล รางวัลละ 5,000 บาท ประกอบด้วย

          2.2.1 รางวัลนักวิจัยดีเด่นด้านการสนับสนุนจากแหล่งทุนภายนอก 

          2.2.2 รางวัลนักวิจัยดีเด่นด้านการตีพิมพ์เผยแพร่ระดับชาติ หรือนานาชาติ 

          2.2.3 รางวัลนักวิจัยดีเด่นด้านการอ้างอิงผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในระดับนานาชาติ 

          2.2.4 รางวัลนักวิจัยดีเด่นด้านการจดสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร 

โดยที่นักวิจัยสามารถสะสมผลงานได้ 3 ปีการศึกษาย้อนหลัง (2563, 2564 และ 2565) (2.1-4(6))

     2.3 มติที่ประชุมคณะกรรมการบริหารงานวิจัย ครั้งที่ 2/2566 ลงวันที่ 19 มิถุนายน 2566 (2.1-4(7)) พิจารณาเห็นชอบ นักวิจัยดีเด่นจำนวน 2 ประเภท มีนักวิจัยที่มีผลงานดีเด่น จำนวน 2 คน คนละประเภท และมหาวิทยาลัยมีการสร้างขวัญกำลังใจตลอดจนยกย่องเชิดชูเกียรติตามระบบกลไกที่กำหนด และได้จัดทำประกาศมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ เรื่อง ผลการพิจารณานักวิจัยดีเด่น ประจำปีการศึกษา 2565 ดังรายละเอียดต่อไปนี้

          2.3.1 รางวัลนักวิจัยดีเด่นด้านการสนับสนุนจากแหล่งทุนภายนอก 

                  : อาจารย์ ดร.จิรนันต์ รัตสีวอ

          2.3.2 รางวัลนักวิจัยดีเด่นด้านการตีพิมพ์เผยแพร่ระดับชาติ หรือนานาชาติ 

                  : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปิยฉัตร ทองแพง

          2.3.3 รางวัลนักวิจัยดีเด่นด้านการอ้างอิงผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในระดับนานาชาติ 

                  : ไม่มีผู้ส่งผลงาน

          2.3.4 รางวัลนักวิจัยดีเด่นด้านการจดสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร

                  : ไม่มีผู้ผ่านการพิจารณา (2.1-4(8))

5มีการดำเนินงานกับเครือข่ายความร่วมมือด้านวิจัยหรืองานสร้างสรรค์หรือนวัตกรรมระหว่างสถาบันอุดมศึกษา องค์กรภาครัฐหรือเอกชน ทั้งในประเทศหรือต่างประเทศ

สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ มีการดำเนินงานกับเครือข่ายความร่วมมือด้านวิจัยหรืองานสร้างสรรค์หรือนวัตกรรมระหว่างสถาบันอุดมศึกษา องค์กรภาครัฐหรือเอกชน ทั้งในประเทศหรือต่างประเทศ ดังนี้

1.  เครือข่ายสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏ 38 แห่ง

1.1 ความร่วมมือ

     มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม  เพื่อส่งเสริมการวิจัยตามภารกิจการจัดกลุ่มมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นและชุมชนอื่น ระหว่างสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏทั้ง 38 แห่งทั่วประเทศ โดยกำหนดเป้าหมาย นโยบายการพัฒนาระบบการวิจัย สนับสนุน ส่งเสริมการวิจัยสู่ความเป็นเลิศเพื่อพัฒนาชุมชนท้องถิ่น 2.1- 5 (1)

1.2 การดำเนินการร่วมกันระหว่างสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏทั้ง 38 แห่ง

เครือข่ายสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏ ได้ดำเนินการร่วมกันขับเคลื่อนการดำเนินการ ดังนี้

1) พัฒนาระบบบริหารจัดการวิจัยระดับสถาบันและระดับเครือข่ายที่จะมีนักจัดการงานวิจัยและชุมชน ท้องถิ่น

2) พัฒนานักวิจัยรุ่นใหม่ เพื่อยกระดับคุณภาพนักวิจัยและเครือข่ายให้มีมาตรฐานที่สูงขึ้น

3) เกิดการพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อพัฒนาชุมชน ท้องถิ่นร่วมกัน ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาของชุมชน

4) ส่งเสริมการนำผลงานวิจัย เพื่อการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นสู่การตีพิมพ์เผยแพร่ในระดับชาติและนานาชาติ และมีส่วนร่วมในการดำเนินการระหว่างสถาบันวิจัยและพัฒนา

1.3 ผลการดำเนินการ

จากความร่วมมือเครือข่ายสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏ มีผลการดำเนินการ ดังนี้

1) นักวิจัยแต่ละมหาวิทยาลัย ที่เข้าร่วมพัฒนาศักยภาพ สามารถพัฒนางานวิจัยเชิงพื้นที่/เชิงประเด็นในระดับสถาบันและระดับเครือข่าย ร่วมถึงการเป็นนักจัดการงานวิจัยชุมชน ท้องถิ่น

2) เกิดการพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการแก้ไขปัญหาและพัฒนาชุมชน ท้องถิ่น

  2. บันทึกข้อตกลงความร่วมมือสร้างระบบฐานข้อมูลชุมชน บูรณาการความร่วมมือในการช่วยเหลือกลุ่มคนเปราะบางในพื้นที่ให้ครอบคลุมทุกมิติแบบบูรณาการ ระหว่าง สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ องค์การบริหารส่วนตำบลผักไหม อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ

         2.1 ความร่วมมือ

       เพื่อบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (Memorandum of Understanding : MOU) ระหว่าง มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ที่ได้ดำเนินการวิจัยเพื่อสนองพันธกิจที่สำคัญของมหาวิทยาลัยในฐานะที่เป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและสร้างเครือข่ายความร่วมมือการบริการวิชาการและวิชาชีพให้เข้มแข็ง และสอดคล้องกับยุทธศาสตร์จังหวัดในประเด็นยุทธศาสตร์การเสริมสร้างสังคมที่เข้มแข็งและการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดี กับ องค์การบริหารส่วนตำบลผักไหม ตำบลผักไหม อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ โดยมีสาระความสำคัญของความร่วมมือ ดังนี้ (2.1 – 5 (2)

                     ข้อที่ 1 เพื่อสร้างระบบฐานข้อมูลกลุ่มครัวเรือนคนจนในพื้นที่ตำบลผักไหม
อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ เกิดการบูรณาการข้อมูลร่วมกัน

                     ข้อที่ 2 เพื่อบูรณาการความร่วมมือในการช่วยเหลือกลุ่มคนจน กลุ่มคนเปราะบางในพื้นที่ให้ครอบคลุมทุกมิติแบบบูรณาการ

                     ข้อที่ 3 เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตยกระดับรายได้กลุ่มเปราะบางให้มีศักยภาพด้านทักษะความสามารถในการประกอบอาชีพให้ครัวเรือนคนจนมั่นคงและมีความสุขสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน

 2.2 การดำเนินการร่วมกัน

   มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ และองค์การบริหารส่วนตำบลผักไหม อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ ได้ดำเนินบันทึกความร่วมมือ ในการสร้างระบบฐานข้อมูลชุมชน BIGDATA) (โครงการยุทธศาสตร์ฯ) โดยบันทึกความร่วมมือนี้ จัดทำขึ้นเมื่อ วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2566 สิ้นสุด 31 มีนาคม 2566 โดยมีการร่วมกันขับเคลื่อนการดำเนินการ ดังนี้

        1) สร้างความร่วมมือกับกลไกผู้นำชุมชน เก็บข้อมูลครัวเรือนคนจนในพื้นที่ตำบลผักไหม อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ

        2) สร้างระบบฐานข้อมูลเพื่อเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการม่ส่วนร่วมของชุมชน

        3) วิเคราะห์ สังเคราะห์ สร้างทางเลือกการพัฒนาครัวเรือนคนจนด้วยระบบข้อมูล

        4) พัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยการศักยภาพยกระดับรายได้ด้วยการสร้างอาชีพเสริมการเลี้ยงไก่พื้นบ้าน

        5) บูรณาการความร่วมมือระหว่างสถาบันวิชาการและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

       2.3 ผลการดำเนินการ

      จากความร่วมมือระหว่าง สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ และองค์การบริหารส่วนตำบลผักไหม อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ ผลการดำเนินการ ดังนี้

      1) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้นำใช้ประโยชน์จากการเก็บข้อมูลด้วยระบบสารสนเทศ(Big data) เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของกลุ่มเปราะบาง 

    2) เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตครัวเรือนเปราะบาง สร้างอาชีพเสริมที่สอดคล้องกับครัวเรือนเป้าหมายเกิดรายได้ลดรายจ่ายในครัวเรือน

3. เครือข่ายการวิจัยและการดำเนินโครงการพัฒนาต้นแบบการท่องเที่ยวจังหวัดศรีสะเกษตามกรอบ BCG ภายใต้แผนงานการขับเคลื่อนเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจสีเขียว การบริหารจัดการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และการจัดการมรดกทางวัฒนธรรม

3.1 ความร่วมมือ

    สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษได้มีการบึนทึกความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย 12 หน่วยงาน ซึ่งประกอบด้วย1)องค์การบริหารส่วนจังหวัด 2)สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย 3)สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดศรีสะเกษ 4)สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ 5)ศูนย์การเรียนรู้หัตถวิถีมณีวิภา 6)หอการค้าจังหวัดศรีสะเกษ 7)สำนักงานเกษตรจังหวัด 8)สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดศรีสะเกษ 9)เรือนจำจังหวัดศรีสะเกษ 10)โรงแรมแกลเลอรี่ ดีไซน์ 11)สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดยโสธร 1)สภาอุตสาหกรรมจังหวัดอุบลราชธานี    2.1-5 (3)

        3.2 การดำเนินการร่วมกัน

           สถาบันวิจัยและพัฒนา ได้มีการประชุมระหว่างสถาบันวิจัยและพัฒนาของมหาวิทยาลัยราชภัฏและเครือข่าย 12 หน่วยงาน เพื่อดำเนินการขับเคลื่อนงานร่วมกัน โดยบันทึกความร่วมมือนี้จัดขึ้นเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2566 ณห้องเธียร์เตอร์ ชั้น 4 อาคารอุทยานการเรียนรู้ศรีสะเกษ (SSK PARK) องค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ โดย มีวัตถุประสงค์ร่วมกัน 3 ข้อ ดังนี้

1. พัฒนาและยกระดับการท่องเที่ยวโดยชุมชนตามกรอบ BCG ให้สามารถเป็นชุมชนการท่องเที่ยวที่มีศักยภาพและส่งเสริมให้ได้รับมาตรฐานต่างๆด้านการท่องเที่ยว รวมถึงการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว

2. พัฒนาและยกระดับสินค้าทางการท่องเที่ยวที่สอดคล้องกับอัตลักษณ์ของจังหวัดศรีสะเกษโดยการนำผลหรือเปลือกทุเรียนมาสร้างเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับประชาชนจังหวัดศรีสะเกษ

3. ประสานงานการทำงานแบบเครือข่ายเพื่อสนับสนุนภารกิจของภาคีเครือข่ายให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมและชุมชน สามารถตอบสนองนโยบายและตัวชี้วัดของหน่วยงานความร่วมมือได้

          3.3 ผลการดำเนินการ

          จากความร่วมมือระหว่างเครือข่ายเครือข่ายด้านงานวิจัยการท่องเที่ยวโดยชุมชนตามกรอบ BCG ผลการดำเนินการ พบว่า

          ผลผลิตจากงานวิจัย คือ เกิดการยกระดับผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยว ที่มาจากองค์ความรู้ทางภูมิปัญญา อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมท้องถิ่น และองค์ความรู้ทางวิชาการ ซึ่งเป็นงานวิจัยและนวัตกรรมที่จะยกระดับมูลค่าเพิ่มทางสินค้า ผลิตภัณฑ์ เพื่อสร้างรายได้และเศรษฐกิจฐานรากของชุมชนบนฐานอัตลักษณ์ท้องถิ่น การพัฒนาโปรแกรมและกิจกรรมการท่องเที่ยวเพื่อยกระดับศักยภาพการท่องเที่ยวการพัฒนาระบบการตลาดและโฮมสเตย์ชุมชน สำหรับการท่องเที่ยว

    ขณะที่งานวิจัยของมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษเรื่อง การยกระดับการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนตามกรอบ BCG และการพัฒนาผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวจากผลและเปลือกทุเรียนภูเขาไฟ จังหวัดศรีสะเกษ พบว่า ผลผลิตจากงานวิจัย คือ ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากผลและเปลือกทุเรียน ได้แก่ ตุ๊กตาจากผลทุเรียน ต่างหู  ของที่ระลึก เส้นใยไหมจากเปลือกทุเรียน และผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผ้าอื่นๆ ภายใต้แผนงานการยกระดับศักยภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาพื้นที่บนฐานอัตลักษณ์ท้องถิ่นศรีสะเกษ

 

6มีระบบและกลไกการนำผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์หรือนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาผู้เรียนหรือชุมชนและดำเนินการตามระบบที่กำหนด

มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ  มีการกำหนดระบบและกลไกการนำผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์หรือนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาผู้เรียนหรือชุมชนและดำเนินการตามระบบ ดังนี้

1.  ระบบและกลไกการนำผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์หรือนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาผู้เรียนและชุมชน

          1.1 ประชุมวางแผนดำเนินการกับนักวิจัย กลุ่มผู้ใช้ประโยชน์

          1.2 วิเคราะห์รูปแบบการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ตามประเภทงานวิจัย

          1.3 พิจารณารูปแบบการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์

          1.4 การติดตามการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์

          1.5 การจัดการความรู้ (KM) การนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ (2.1-6 (1))

2. ผลการดำเนินการ

          1. จากการประชุมเชิงปฏิบัติการ วิเคราะห์ศักยภาพงานวิจัย ความต้องการงานวิจัยของเครือข่ายนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ พบว่า ศักยภาพงานวิจัย ประกอบด้วย 1 ) งานวิจัยด้านการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน 2) งานวิจัยด้านการท่องเที่ยว 3) งานวิจัยด้านการพัฒนาชุมชน สังคม 4) งานวิจัยด้านระบบสารสนเทศ และ 5) งานวิจัยด้านการศึกษา ซึ่งมีความสอดคล้องกับแผนงานเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านการวิจัยของมหาวิทยาลัย 5 แผนงาน ประกอบด้วย 1) แผนงานสังคมแห่งความสุข 2) แผนงานการผลิตและพัฒนาครูมืออาชีพ 3) แผนงานการพัฒนาเศรษฐกิจและผลิตภัณฑ์ชุมชน 4) แผนงานการท่องเที่ยวและพัฒนาชุมชน 5) แผนงานสังคมดิจิทัล 

 ขณะที่ความต้องการงานวิจัยของเครือข่ายผู้นำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ พบว่า มีความต้องการงานวิจัย 6 กลุ่มงานวิจัย ประกอบด้วย 1) กลุ่มงานวิจัยการท่องเที่ยว 2) กลุ่มงานวิจัยด้านการเกษตรมูลค่าสูง 3) กลุ่มงานวิจัยด้านผู้สูงอายุ 4) กลุ่มงานวิจัยด้านความหลากหลายทางชีวภาพ 5) กลุ่มงานวิจัยด้านวิสาหกิจชุมชนชุมชน 6) กลุ่มงานวิจัยด้านนวัตกรรมการศึกษา (2.1-6 (2))

2. จากการประชุมเชิงปฏิบัติการ “นักวิจัยพบผู้ใช้ประโยชน์” พบว่า นักวิจัยได้ข้อเสนอแนะประเด็นงานวิจัยที่จะนำไปพัฒนาหรือยกระดับต่อไป ขณะเดียวกันผู้ใช้ประโยชน์ นำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ที่ตอบโจทย์ความต้องการในมิติเชิงพาณิชย์ เชิงนโยบาย เชิงชุมชน สังคม เชิงวิชาการ นอกจากนี้รูปแบบการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ พบว่า ควรเป็นรูปแบบของนิทรรศการในลักษณะตลาดนัดงานวิจัย เพื่อให้กลุ่มผู้ใช้ประโยชน์ ได้เลือกผลงานวิจัยที่สอดคล้องตอบโจทย์ความต้อการที่จะนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในมิติต่างๆดังที่กล่าวข้างต้น (2.1-6 (3)

3. การติดตามการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ โดยมหาวิทยาลัยมีการลงพื้นที่ติดตาม แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับนักวิจัย กลุ่มเป้าหมายศึกษาในพื้นที่ และกลุ่มผู้ใช้ประโยชน์ ผลการดำเนินการ พบว่า งานวิจัยที่นักวิจัยมีความสอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้ประโยชน์ โดยเป็นการยกระดับเรื่องรายได้ มูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับชุมชน และสามารถใช้นวัตกรรมจากงานวิจัยไปใช้ในการพัฒนาทักษะความสามารถในการประกอบอาชีพ  การพัฒนาทักษะของผู้เรียน รวมถึงการใช้ประโยชน์ในเชิงนโยบาย ที่สามารถนำงานวิจัยไปกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ แผนงาน โครงการของหน่วยงานภาครัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในระดับจังหวัดศรีสะเกษ (2.1-6 (4))
4. การจัดการความรู้เพื่อนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ โดยมีการจัดการความรู้ร่วมกับนักวิจัย เพื่อเป็นการประเมินคุณค่าความรู้และนำผลการสังเคราะห์ความรู้ไปใช้ในการปรับปรุงกระบวนการดำเนินงานต่อไป ซึ่งการดำเนินการ พบว่า มหาวิทยาลัยมีการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ใน 5 มิติ ประกอบด้วย 1) เชิงนโยบาย 2) เชิงพาณิชย์ 3) เชิงวิชาการ 4) เชิงสาธารณะ 5) เชิงพื้นที่ โดยพบว่า ปัจจัยความสำเร็จการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์มี 4 ปัจจัยสำคัญ ดังนี้

          1) มีระบบและกลไกการบริหารจัดการในแผนปฏิบัติการที่ชัดเจน

          2) มีการพัฒนาข้อเสนอโครงการวิจัยแบบมีส่วนร่วมกับผู้ใช้ประโยชน์

          3) มีความร่วมมือกับองค์กร ชุมชน ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน

          4) มีการติดตามการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ที่จะช่วยส่งเสริมและสนับสนุนชุมชน ท้องถิ่น ให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง (2.1-6 (5))

7มีระบบและกลไกการคุ้มครองสิทธิ์ของงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ที่นำไปใช้ประโยชน์และดำเนินการตามระบบที่กำหนด

. ระบบและกลไกเพื่อคุ้มครองสิทธิ์
          1.1 มีการออกระเบียบมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ว่าด้วยการจัดการทรัพย์สินทางปัญญา พ.ศ.2565 (2.1-7 (1)) เพื่อใช้เป็นหลักเกณฑ์ และแนวปฏิบัติในการคุ้มครองสิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญา ตลอดจนงานวิจัยต่างๆที่ถูกพัฒนาขึ้นในมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
          1.2 มีการออกประกาศมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ เรื่อง แนวปฏิบัติในการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย (2.1-7 (2)) เพื่อผลักดันให้มีการนำผลงานที่ได้จากการวิจัยในเชิงวิชาการออกใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์มากขึ้นสร้างสรรค์ผลงานการประดิษฐ์หรือออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ อันอาจนำไปเป็นประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ได้
          1.3 มีการแต่งตั้งคณะกรรมการจัดการทรัพย์สินทางปัญญา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ พ.ศ.2565เพื่อทำหน้าที่ (2.1-7 (3)) พิจารณา ให้ความเห็นกำกับติดตาม และดำเนินงานให้เป็นไปตามระเบียบที่กำหนดไว้ โดยมีการจัดทำแผนผังขั้นตอนการดำเนินงานตามระบบและกลไกคุ้มครองสิทธิ์และรักษาสิทธิประโยชน์ที่เกี่ยวกับการวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ (2.1-7 (4))
          1.5 มีการจัดอบรมการอบรมการจดลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร สำหรับผลงานวิจัยหรือสิ่งประดิษฐ์ เพื่อสร้างความตระหนัก ความสำคัญและความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา และการรักษาสิทธิประโยชน์ของผู้วิจัย (2.1-7 (5))
          1.6 มีการประชาสัมพันธ์ เชิญชวนให้นักวิจัยมาจดสิทธิบัตรในหลากหลายรูปแบบ เช่น แจ้งเป็นหนังสือบันทึกข้อความ ประชาสัมพันธ์ในเว็บไซต์ โซเชียลมีเดีย และอื่นๆ  (2.1-7 (6)) ทั้งนี้ สถาบันวิจัยและพัฒนา ได้มีกระบวนการดำเนินงานตั้งแต่การประชาสัมพันธ์เชิญชวนนักวิจัย โดยมีการแสดงข้อมูลกระบวนการ/ขั้นตอนการยื่นและเอกสารเกี่ยวกับการยื่นจดสิทธิบัตรต่างๆขึ้นทางเว็บไซต์

2. ผลการดำเนินการ

          1. จากการอบรมเชิงปฏิบัติการ การจดลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร อนุสิทธิบัตร สำหรับผลงานวิจัยหรือสิ่งประดิษฐ์ พบว่า นักวิจัยตระหนักถึงการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ด้านการวิจัย มีความรู้ความเข้าใจเบื้องต้นด้านทรัพย์สินทางปัญญา กระบวนการ ขั้นตอนการยื่นคำขอจดลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร อนุสิทธิบัตร (2.1-7 (7))

          2. จากการอบรมเชิงปฏิบัติการ การยื่นจดลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร อนุสิทธิบัตร ร่วมกับนักวิจัยที่มีผลงานวิจัยที่จะยื่นจด โดยมีการฝึกปฏิบัติการตั้งแต่การเตรียมเอกสาร หลักฐานประกอบ ผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ที่จะยื่นจด โดยผลการดำเนินการ พบว่า นักวิจัยสามารถที่จะยื่นจดทรัพย์สินทางปัญญาได้           ซึ่งขณะนี้นักวิจัยอยู่ในระหว่างกระบวนการยื่นจดแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา (2.1-7 (8))

ผลคะแนนการประเมินตนเอง
ทำได้ (ข้อ) ได้คะแนน
7 5