ตัวบ่งชี้ที่ 5.2 การบริหารของคณะเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจ 
กลุ่มสถาบันและเอกลักษณ์ของคณะ

ปีที่ประเมิน 2565
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : อนันศักดิ์ พวงอก , วิภาวดี ทวี , โพธิ์พงศ์ ฉัตรนันทภรณ์ , เสถียร สีชื่น , นิลวรรณ จันทา , ธัญทิพ บุญเยี่ยม , จุฑาสินี ชนะศึก , ปัญญณัฐ ศักดิ์สิทธานุภาพ , นิลวรรณ จันทา , นงนุช แสงพฤกษ์ , รุ่งทิวา เนื้อนา , ทินกร กมล , ปวริศา แดงงาม
ชนิดตัวบ่งชี้ : กระบวนการ
คำอธิบายตัวบ่งชี้

คณะมีพันธกิจหลัก คือ การเรียนการสอน การวิจัย การบริการทางวิชาการแก่สังคม และการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ในการดำเนินพันธงานตามกิจหลัก แต่ละคณะจำเป็นต้องมีการจัดทำแผนเพื่อกำหนดทิศทางการพัฒนาและการดำเนินงานของคณะให้สอดคล้องกับเป้าหมาย ตลอดจนมีการบริหารทั้งด้านบุคลากร การเงิน ความเสี่ยงและการประกันคุณภาพการศึกษา เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานตามพันธกิจหลักให้บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล คำนึงถึงความหลากหลายและความเป็นอิสระทางวิชาการ มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ยืดหยุ่น คล่องตัว โปร่งใสและตรวจสอบได้

เกณฑ์การประเมิน
คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 หรือ 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 หรือ 6 ข้อ มีการดำเนินการ 7 ข้อ
เกณฑ์มาตรฐาน
ระดับ เกณฑ์มาตรฐาน ดำเนินการ
1 พัฒนาแผนกลยุทธ์จากผลการวิเคราะห์ SWOT โดยเชื่อมโยงกับวิสัยทัศน์ของคณะและสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของคณะ และมหาวิทยาลัย รวมทั้งสอดคล้องกับกลุ่มสถาบันและเอกลักษณ์ของคณะและและพัฒนาไปสู่แผนกลยุทธ์ทางการเงิน และแผนปฏิบัติการประจำปีตามกรอบเวลาเพื่อให้บรรลุผลตามตัวบ่งชี้และเป้าหมายของแผนกลยุทธ์และเสนอผู้บริหารระดับสถาบันเพื่อพิจารณาอนุมัติ (เสนอคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย)
2 ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินที่ประกอบไปด้วยต้นทุนต่อหน่วยในแต่ละหลักสูตร สัดส่วนค่าใช้จ่ายเพื่อพัฒนานักศึกษา อาจารย์ บุคลากร การจัดการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง เพื่อวิเคราะห์ความคุ้มค่าของการบริหารหลักสูตร ประสิทธิภาพ ประสิทธิผลในการผลิตบัณฑิต และโอกาสในการแข่งขัน
3 ดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยง ที่เป็นผลจากการวิเคราะห์และระบุปัจจัยเสี่ยงที่เกิดจากปัจจัยภายนอก หรือปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ที่ส่งผลต่อการดำเนินงานตามพันธกิจของคณะและให้ระดับความเสี่ยงลดลงจากเดิมอย่างน้อย 1 เรื่อง
4 บริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาลอย่างครบถ้วนทั้ง 10 ประการที่อธิบายการดำเนินงานอย่างชัด (ให้แสดงผลการดำเนินงานในปีที่ประเมิน)
5 ค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีจากความรู้ทั้งที่มีอยู่ในตัวบุคคล ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง และแหล่งเรียนรู้อื่นๆ ตามประเด็นความรู้ อย่างน้อยครอบคลุมพันธกิจด้านการผลิตบัณฑิตและด้านการวิจัย จัดเก็บอย่างเป็นระบบโดยเผยแพร่ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษรและนำมาปรับใช้ในการปฏิบัติงานจริง
6 การกำกับติดตามผลการดำเนินงานตามแผนการบริหารและแผนพัฒนาบุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุน
7 ดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในตามระบบและกลไกที่เหมาะสมและสอดคล้องกับพันธกิจและพัฒนาการของคณะที่ได้ปรับให้การดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารงานคณะตามปกติที่ประกอบด้วย การควบคุมคุณภาพ การตรวจสอบคุณภาพ และการประเมินคุณภาพ
ผลการดำเนินงาน
ตนข้อเกณฑ์ผลการดำเนินงานหลักฐาน
1 พัฒนาแผนกลยุทธ์จากผลการวิเคราะห์ SWOT โดยเชื่อมโยงกับวิสัยทัศน์ของคณะและสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของคณะ และมหาวิทยาลัย รวมทั้งสอดคล้องกับกลุ่มสถาบันและเอกลักษณ์ของคณะและและพัฒนาไปสู่แผนกลยุทธ์ทางการเงิน และแผนปฏิบัติการประจำปีตามกรอบเวลาเพื่อให้บรรลุผลตามตัวบ่งชี้และเป้าหมายของแผนกลยุทธ์และเสนอผู้บริหารระดับสถาบันเพื่อพิจารณาอนุมัติ (เสนอคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย)

     ในปีการศึกษา  2565 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้มีการจัดทำแผนกลยุทธ์ ระยะ 5 ปี (พ.ศ.2566 – 2570)   โดยจัดทำแผนกลยุทธ์จากผลการวิเคราะห์ SWOT โดยเชื่อมโยงกับวิสัยทัศน์ของคณะและสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของ คณะ สถาบัน รวมทั้งสอดคล้องกับกลุ่มสถาบันและเอกลักษณ์ของคณะและพัฒนาไปสู่แผนกลยุทธ์ทางการเงินและแผนปฏิบัติการประจำปีตามกรอบเวลา เพื่อให้บรรลุผลตามตัวบ่งชี้และเป้าหมายของแผนกลยุทธ์และเสนอผู้บริหารระดับสถาบันเพื่อพิจารณาอนุมัติ ดังนี้

   1. คณะดำเนินการวิเคราะห์ SWOT เพื่อชี้ให้เห็นจุดอ่อน จุดแข็ง ปัญหา อุปสรรค ในการดำเนินงานของคณะฯ

   2. นำผลการ SWOT มาใช้ในการทบทวนแผนกลยุทธ์ของคณะฯ และจัดทำแผนกลยุทธ์ ระยะ 5 ปี (พ.ศ.2566- 2570)  โดยดำเนินการทบทวนแผนกลยุทธ์ให้สอดคลองกับเชื่อมโยงกับวิสัยทัศน์ของคณะและสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของคณะ สถาบัน รวมทั้งสอดคล้องกับกลุ่มสถาบันและเอกลักษณ์ของคณะและพัฒนาไปสู่แผนกลยุทธ์ทางการเงินและแผนปฏิบัติการประจำปีตามกรอบเวลา เพื่อให้บรรลุผลตามตัวบ่งชี้และเป้าหมายของแผนกลยุทธ์

   3. ถ่ายทอดแผนกลยุทธ์ของคณะฯ สู่แผนปฏิบัติราชการตามพันธกิจของคณะฯ และกลยุทธ์ทางการเงิน

   4. เสนอแผนกลยุทธ์ แผนปฏิบัติการ และแผนกลยุทย์ทางการเงินต่อคณะกรรมการบริหารคณะฯ และคณะกรรมการประจำคณะฯ  เพื่อขออนุมัติเห็นชอบ

   5. นำแผนที่ผ่านการอนุมัติเห็นชอบจากคณะกรรมการประจำคณะฯ ไปปฏิบัติการ

    ด้านงบประมาณประจำปี พ.ศ. 2566  คณะฯ มีการติดตามผลการดำเนินงานและรายงานผลสถานะทางการเงินของแผน และโครงการ/กิจกรรมต่าง ๆ ประจำปีการศึกษา 2565   มีรายละเอียด ดังนี้ 

           ประชุมคณะกรรมการบริหารคณะ ครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2566 วาระที่ 4.11

           ประชุมสามัญประจำคณะ ครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2566 วาระที่ 4.10

            ประชุมคณะกรรมการบริหารคณะ ครั้งที่ 3/2566 เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม  2566 วาระที่ 5.2

           เมื่อสิ้นสุดปีการศึกษา คณะได้มีการประเมินความสำเร็จของแผนและ กิจกรรม/โครงการที่ได้ดำเนินการไป โดยนำเข้าพิจารณาในการประชุมคณะกรรมการบริหารคณะฯ ในการประชุมครั้งที่ 3/2566 วันที่ 5 กรกฎาคม  2566 (5.2-1(9) รายงานการประชุมคณะกรรมการบริการคณะ ครั้งที่ 3/2566วาระที่ 5.5)  เพื่อให้ทราบถึงร้อยละความสำเร็จของตัวชี้วัดตามแผนกลยุทธ์ แผนปฏิบัติการ และแผนงานต่าง ๆ  สรุปปัญหาและอุปสรรค ในการดำเนินงานเพื่อรายงานในที่ประชุมคณะกรรมการประจำคณะฯ เพื่อประเมินผลการดำเนิน งานตามตัวบ่งชี้วัดความสำเร็จตามแผนและโครงการ และรับฟังข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการประจำคณะ ในการประชุมครั้งที่ 4/2566 วันที่ 12 กรกฎาคม 2566   (5.2-1(10) รายงานการประชุมคณะกรรมการประจำคณะ ครั้งที่ 4/2566 วาระที่ 5.1) และเสนอต่อมหาวิทยาลัยต่อไป

2 ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินที่ประกอบไปด้วยต้นทุนต่อหน่วยในแต่ละหลักสูตร สัดส่วนค่าใช้จ่ายเพื่อพัฒนานักศึกษา อาจารย์ บุคลากร การจัดการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง เพื่อวิเคราะห์ความคุ้มค่าของการบริหารหลักสูตร ประสิทธิภาพ ประสิทธิผลในการผลิตบัณฑิต และโอกาสในการแข่งขัน

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ได้ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินที่ประกอบไปด้วยต้นทุนต่อหน่วยในแต่ละหลักสูตร สัดส่วนค่าใช้จ่ายเพื่อพัฒนานักศึกษา อาจารย์ บุคลากร การจัดการเรียนการสอน เพื่อวิเคราะห์ความคุ้มค่าของการบริหารหลักสูตร ประสิทธิภาพ ประสิทธิผลในการผลิตบัณฑิต และโอกาสในการแข่งขัน โดยในปีการศึกษา 2565 ผลการวิเคราะห์ความคุ้มค่าของการบริหารหลักสูตรที่พิจารณาจากจำนวนนักศึกษา ณ จุดคุ้มทุน พบว่า

        มีหลักสูตรสาขาวิชาต่าง ๆ ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ จํานวน 9 หลักสูตร มีความคุ้มค่าในการผลิตบัณฑิต แต่คณะยังต้องมีกระบวนการผลิตบัณฑิตอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากมีจํานวนนักศึกษาน้อย ทําให้หลักสูตรต้องออกแนะแนวการศึกษาต่อให้กับนักเรียน นักศึกษาเพื่อกระตุ้นการเลือกเรียนในหลักสูตร และเพิ่มยอดนักศึกษาให้กับหลักสูตร มีการจัดทำวีดีทัศน์แนะนำสาขาวิชา และให้สาขาวิชาเน้นการประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ให้มากขึ้นให้ทันกับนักเรียน ยุค 4.0 โดยไม่รอการแนะแนวจากมหาวิทยาลัยเท่านั้น 5.2 - 2(1) รายงานสรุปผลการวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยและความคุ้มค่าของหลักสูตร -ปีการศึกษา 2565

3 ดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยง ที่เป็นผลจากการวิเคราะห์และระบุปัจจัยเสี่ยงที่เกิดจากปัจจัยภายนอก หรือปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ที่ส่งผลต่อการดำเนินงานตามพันธกิจของคณะและให้ระดับความเสี่ยงลดลงจากเดิมอย่างน้อย 1 เรื่อง

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยง ที่เป็นผลจากการวิเคราะห์และระบุปัจจัยเสี่ยงที่เกิดจากปัจจัยภายนอก หรือปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ที่ส่งผลต่อการดำเนินงานตามพันธกิจของคณะ มีรายละเอียดดังนี้

            1. แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงประจำปีงบประมาณ .. 2566  (5.2-3(1)) คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง ประจำปีงบประมาณ .. 2566)

            2. คณะกรรมการ ได้เสนอแผนบริหารความเสี่ยง  (5.2-3(2)) แผนบริหารความเสี่ยง ประจำปีงบประมาณ .. 2566) และได้แสดงลำดับความเสี่ยงที่อยู่ในระดับสูง และสูงมาก ในที่ประชุมคณะกรรมการบริหารคณะ ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2565 วันที่ 15 มิถุนายน 2565 (5.2-3(3)) รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารคณะ ครั้งที่ 2/2565  ผลการวิเคราะห์และจัดลำดับความเสี่ยงโดยพิจารณาจากการประเมินโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยง (Likelihood) และความรุนแรงของผลกระทบจากเหตุการณ์ความเสี่ยง (Impact) โดยอาศัยเกณฑ์มาตรฐานที่ได้กำหนดไว้ ทำให้การตัดสินใจจัดการกับความเสี่ยงเป็นไปอย่างเหมาะสม  โดยพบความเสี่ยง 2 ประเด็นได้แก่ 1) จำนวนนักศึกษาลดลง 2) ทักษะด้านภาษาอังกฤษของนักศึกษาไม่เป็นไปตามมาตรฐานที่กระทรวงกำหนด

            3. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้นำแผนบริหารความเสี่ยงเข้าที่ประชุมคณะกรรมการประจำคณะเพื่อรับทราบ ในการประชุมครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2565 (อ้างอิง 5.2-3(4) รายงานการประชุมคณะกรรมการประจำคณะ ครั้งที่ 2/2565 เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2565

            4. คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงมีการดำเนินกิจกรรมต่าง เพื่อลดความเสี่ยง โดยเฉพาะปัจจัยภายนอกหรือปัจจัยเสี่ยงที่ควบคุมไม่ได้ 2 ประเด็นดังนี้

                        4.1 คณะดำเนินการแนะแนวการศึกษาร่วมกับมหาวิทยาลัย และส่งเสริมให้แต่ละสาขาวิชาสร้างเพจ และยิงโฆษณาประชาสัมพันธ์สาขาวิชาผ่านทาง Facebook ของสาขาวิชา

                        4.2 งานส่งเสริมสมรรถนะทักษะด้านภาษาอังกฤษ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้จัดโครงการส่งเสริมพัฒนาความรู้ด้านภาษาอังกฤษให้กับนักศึกษาชั้นปีที่ 4 โดยใช้เกณฑ์การทดสอบ CEFR

            5. เมื่อสิ้นสุดปีการศึกษา .. 2565 คณะมีการประเมินความสำเร็จของแผน และรายงานผลต่อคณะกรรมการประจำคณะ พบการดำเนินงานพบว่า

                        5.1 หลักสูตรทั้ง 9 หลักสูตรได้นำนักศึกษาพร้อมอาจารย์ให้ข้อมูลแนะแนวร่วมกับมหาวิทยาลัย และแต่ละหลักสูตรได้สร้างเพจของสาขาเพื่อใช้เป็นแหล่งข้อมูลประชาสัมพันธ์การดำเนินงานของหลักสูตร รวมถึงการประชาสัมพันธ์การรับสมัครต่างๆ 

                     ผลจากการดำเนินการตามแผนในปีการศึกษา 2565  จำนวนนักศึกษาที่เข้ามาเรียนในคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ยังไม่เป็นไปตามแผน คณะควรพิจารณาดำเนินการในลักษณะเช่นเดิม และเพิ่มเติมการ Open House เพื่อแนะนำหลักสูตรต่างๆ ของคณะฯ ในงานวันมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ด้วย

                        5.2 จากการจัดโครงการส่งเสริมพัฒนาความรู้ด้านภาษาอังกฤษให้กับนักศึกษาชั้นปีที่ 3 เพื่อเตรียมความพร้อมในการทดสอบภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ทดสอบ CEFR ผ่านระบบออนไลน์ ทำให้นักศึกษาชั้นปีที่ 4 (รหัส 62) สามารถสอบวัดระดับความรู้ความสามารถในระดับ B1 ร้อยละ 68.63, ระดับ B2 ร้อยละ 27.45  และระดับ A2 ร้อยละ 3.92  ซึ่งบรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ อย่างไรก็ตามความเสี่ยงยังคงมีระดับสูง  ในการดำเนินการครั้งต่อไป คณะฯควรดำเนินการในสถานที่เพื่อให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้ และเกิดประสิทธิภาพสูงสุด (5.2-3(5)) รายงานผลการดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยงมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566)

                   คณะกรรมการบริหารคณะและคณะกรรมการประจำคณะ ได้ให้ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงการดำเนินงาน ในคราวประชุมคณะกรรมการบริหารและคณะกรรมการประจำคณะฯ  (5.2-3(6) รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารคณะ ครั้งที่ 3/2566 วันที่ 5 กรกฎาคม 2566 และ 5.2-3(7) รายงานการประชุมคณะกรรมการประจำคณะ ครั้งที่ 4/2566  วันที่ 12 กรกฎาคม 2566  นอกจากนี้ อาจารย์ธัญทิพ บุญเยี่ยม ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยเพื่อทำการวิจัย ในหัวข้อ “การศึกษาข้อผิดพลาดการใช้ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษในการสอบ CEFR ของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 ทั้ง 5 คณะ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ” ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนานักศึกษาเพื่อให้ผ่านเกณฑ์ภาษาอังกฤษ ดังกล่าวด้วย

4 บริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาลอย่างครบถ้วนทั้ง 10 ประการที่อธิบายการดำเนินงานอย่างชัด (ให้แสดงผลการดำเนินงานในปีที่ประเมิน)

ผู้บริหารคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาล โดยยึดหลักประโยชน์ของคณะฯ มหาวิทยาลัย และมีส่วนได้ส่วนเสียในการปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาล ดังนี้

หลักประสิทธิผล  (Effectiveness)

          ในปีการศึกษา 2565 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สามารถดำเนินโครงการตามแผนได้ครบถ้วนทุกโครงการ  มีการบริหารจัดการงบประมาณและบริหารทรัพยากรที่มีได้อย่างคุ้มค่าตามแผนที่ได้กำหนดไว้ บุคลากรในคณะสามารถปฏิบัติงานของตนได้อย่างสำเร็จลุล่วง ทั้งด้านการจัดการเรียนการสอน การวิจัย การทำนุบำรุงศิลปะวัฒนธรรม  คณะฯ มีคณะกรรมการบริหารด้านการเงินของคณะฯ  คณะกรรมการวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วย  คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง เพื่อทำหน้าที่ในการกำกับติดตามประเมินผลการใช้ทรัพยากรขององค์กรให้เกิดความคุ้มค่ามากที่สุด

 

หลักประสิทธิภาพ (Efficiency)

          ในปีการศึกษา 2565 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้รับจัดสรรงบประมาณ ประจำคณะฯ จำนวน 1,686,000  บาท และได้จัดสรรงบประมาณไปยังสาขาวิชาและหน่วยงานต่าง ๆ ในสังกัด ตามที่สาขาวิชาและหน่วยงานเสนอต่อคณะฯ  สาขาวิชาและหน่วยงาน ได้ดำเนินงานตามแผนปฏิบัติราชการ โดยมีคณะกรรมการบริหารคณะฯ กำกับติดตามการการใช้จ่ายงบประมาณให้เป็นไปอย่างเหมาะสมและคุ้มค่า 

 

หลักการตอบสนอง  (Responsiveness)

          ในปีการศึกษา 2565 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มีการบริหารตามพันธกิจที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการ  และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างครอบคลุม  ได้แก่ มีการสำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต  มีการดำเนินงานทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาตามมาตรฐานการเรียนรู้ทั้ง  9 สาขาวิชา และมีการบริการวิชาการแก่ชุมชน ตามความต้องการของชุมชน จำนวน 13 ชุมชน ได้แก่ 1) ชุมชนบ้านรงระ ตำบลตูม  อำเภอปรางค์กู่  จังหวัดศรีสะเกษ  2) ชุมชนบ้านจอมพระ  ตำบลบึงบูรพ์ อำเภอบึงบูรพ์  จังหวัดศรีสะเกษ  3) ชุมชนบ้านด่าน ตำบลด่าน อำเภอราษีไศล  จังหวัดศรีสะเกษ  4) ชุมชนบ้านคูสี่แจ ตำบลดงรัก อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ  5)  ชุมชนหมู่บ้านทับทิมสยาม 07 ตำบลบักดอง อำเภอขุนหาญ   จังหวัดศรีสะเกษ                          6) ชุมชนบ้านหัวเสือใต้  ตำบลหัวเสือ  อำเภอขุขันธ์  จังหวัดศรีสะเกษ 7) ชุมชนบ้านระหาร ตำบลกระหวัน  อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ  8) ชุมชนบ้านกันทรอมใต้  ตำบลกันทรอม อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ  9) ชุมชนบ้านนาโพธิ์  ตำบลกุดกุง อำเภอคำเขื่อนแก้ว  จังหวัดยโสธร  10)  ชุมชนบ้านตาเส็ด  ตำบลบักดอง  อำเภอขุนหาญ  จังหวัดศรีสะเกษ  11) ชุมชนบ้านหนองทุ่ม  ตำบลศรีสำราญ อำเภอวังหิน  จังหวัดศรีสะเกษ  12) ชุมชนบ้านกอก  ตำบลกระแชง  อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ  13) ชุมชนบ้านตาโกน  ตำบล     ตาโกน  อำเภอเมืองจันทร์ จังหวัดศรีสะเกษ 

 

หลักภาระรับผิดชอบ  (Accountability)

            ผู้บริหารคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  ได้มีการตระหนักถึงภาระความรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่ตามพันธกิจที่ได้กำหนดไว้เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของชุมชนสังคมและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียซึ่งได้มีการส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการดำเนินงานด้านต่างๆให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามพันธกิจด้านต่างๆ ที่ได้กำหนดไว้  จำนวน 14  ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการผลิตบัณฑิต 2) ด้านการวิจัย3) ด้านการบริการวิชาการ 4) ด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย  5) ด้านการประชาสัมพันธ์  6) ด้านจุลสารประชาสัมพันธ์  7) ด้านงานศูนย์ฝึกประสบการณ์วิชาชีพและสหกิจศึกษา  8) ด้านการจัดการความรู้  9) ด้านงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 10) ด้านงานส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา  11) ด้านงานวารสารวิชาการมนุษย์และสังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ 12) ด้านงานประกันคุณภาพการศึกษาภายใน 13) ด้านงานศูนย์ภาษา  และ 14) ด้านความเกี่ยวข้องกับความเป็นอัตลักษณ์ของคณะฯ  ได้แก่ โครงการวันมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์สืบสานวันมรดกไทย ครั้งที่ 9 ประจำปีการศึกษา 2565 

 

หลักความโปร่งใส (Transparency)

          ในปีการศึกษา 2565 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มีการดำเนินการชี้แจงและจัดสรรงบประมาณให้แก่สาขาวิชาและหน่วยงานในกำกับ ตามแผนที่เสนอของบประมาณ มีการรายงานผลการใช้งบประมาณตามไตรมาส  โดยมีการคณะกรรมการบริหารคณะฯ  และคณะกรรมการประจำคณะ  กำกับติดตามตรวจสอบดูแลการบริหารจัดการภายในคณะฯ  รวมทั้งหาแนวทางการแก้ปัญหาร่วมกัน เปิดโอกาสให้ทุกคนได้เสนอความคิดเห็นในการช่วยพัฒนาการบริหารงานให้เกิดการขับเคลื่อนคณะฯ ร่วมกัน

 

 

หลักการมีส่วนร่วม (Participation)  

ในปีการศึกษา 2565 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ดำเนินงานภายใต้หลักการมีส่วนร่วม  โดยจัดให้มีการประชุมสามัญภายในคณะฯ  มีการประชุม 3  ช่วง ได้แก่  ช่วงก่อนเปิดภาคเรียน ช่วงระหว่างระหว่างภาคเรียน  และช่วงหลังปิดภาคเรียน  นอกจากนี้จัดให้มีการประชุมประจำเดือน  เพื่อเป็นการมอบนโยบาย  การปรึกษาหารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็น  ติดตามการทำงาน รวมทั้งหาแนวทางการแก้ปัญหาร่วมกัน เปิดโอกาสให้ทุกคนได้เสนอความคิดเห็นในการช่วยพัฒนาการบริหารงานให้เกิดการขับเคลื่อนคณะฯ ร่วมกัน

 

หลักการกระจายอำนาจ  (Decentralization) 

ในปีการศึกษา 2565 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้กระจายอำนาจในการบริหารจัดการตามลำดับการบริหาร ดังนี้  คณบดี  รองคณบดี ผู้ช่วยคณบดี  ประธานสาขาวิชา  คณะกรรมการบริหารหลักสูตร หัวหน้างานตามพันธกิจ รวมทั้งมีการกระจายอำนาจไปยังบุคลากรภายในคณะฯ  ให้ได้มีส่วนร่วมในการตัดสิน  การวางแผน  การดำเนินงาน  การประเมินผล  การแก้ไขปัญหาและอุปสรรค โดยผ่านคณะกรรมการดำเนินงานฝ่ายต่าง ๆ  ให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมขับเคลื่อนงานภายในสโมสรนักศึกษา โดยมีการแต่งตั้งนายกสโมสรนักศึกษา  และ คณะกรรมการสโมสรนักศึกษาคณะฯ

 

หลักนิติธรรม (Rule of Law)

            ในปีการศึกษา 2565 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ยึดแนวปฏิบัติ กฎ ระเบียบ ประกาศ ข้อบังคับ ต่าง ๆ ของทางมหาวิทยาลัย เพื่อยึดถือเป็นแนวปฏิบัติร่วมกัน และบริหารงานด้วยความเป็นธรรม โดยคำนึงถึงสิทธิและเสรีภาพของคณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษาภายในคณะฯ เป็นหลัก  

 

หลักความเสมอภาค  (Equity)

            ในปีการศึกษา 2565 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บริหารงานบนพื้นฐานของความเสมอภาค เคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ นอกจากนี้ ในการพัฒนาศักยภาพบุคลากร คณะฯ จัดสรรงบประมาณในการพัฒนาศักยภาพบุคลากรทั้งสายวิชาการและสายสนับสนุนโดยยึดหลักความเสมอภาคและเท่าเทียมกัน โดยจัดสรรงบประมาณการพัฒนาตนเองคนละ 5,000 บาท/คน/ปี ตามแผนบริหารและพัฒนาบุคลากร ปีงบประมาณ 2565 -2566 นอกจากนี้ คณะฯ ใช้ระเบียบและข้อบังคับบุคลากร ตามที่ฝ่ายบริหารงานบุคคล มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ได้จัดทำเป็นรูปเล่มและมอบให้แก่บุคลากร เพื่อยึดถือเป็นแนวปฏิบัติเหมือนกันทั้งคณะและมหาวิทยาลัย

 

หลักมุ่งเน้นฉันทามติ (Consensus Oriented) 

           ในปีการศึกษา 2565 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ดำเนินงานบนพื้นฐานฉันทามติ โดยยึดหลักเสียงข้างมากในที่ประชุม ทั้งนี้ต้องไม่ละเมิดสิทธิของเสียงข้างน้อย บนพื้นฐานร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมตัดสินใจ  ผ่านการประชุมสามัญและการประชุมประจำเดือน

5 ค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีจากความรู้ทั้งที่มีอยู่ในตัวบุคคล ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง และแหล่งเรียนรู้อื่นๆ ตามประเด็นความรู้ อย่างน้อยครอบคลุมพันธกิจด้านการผลิตบัณฑิตและด้านการวิจัย จัดเก็บอย่างเป็นระบบโดยเผยแพร่ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษรและนำมาปรับใช้ในการปฏิบัติงานจริง

1. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการจัดการความรู้ ประจำปีการศึกษา 2565 เพื่อบริหารจัดการความรู้และที่มีอยู่ภายในตัวบุคคล รวบรวม จัดระบบความรู้เพื่อจัดทำเป็นแนวปฏิบัติที่ดีสำหรับประชาสัมพันธ์ให้แก่บุคลากรภายในคณะ

        2. คณะกรรมการจัดการความรู้จัดการประชุมเพื่อวางแผน และกำหนดแนวทางในการจัดการความรู้ ในปีการศึกษา 2565 โดยกำหนดประเด็นที่จะดำเนินการจัดการความรู้จำนวน 2 ประเด็นคือ

            1) การขอจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์

            2) การจัดทำ มคอ. ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ

        3. ตลอดปีการศึกษา 2565 คณะกรรมการจัดการความรู้ได้ดำเนินกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านละ 3 ครั้ง จำแนกเป็น

            1) ประเด็น “การขอจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์” จำนวน 3 ครั้ง ในแต่ละครั้งมีรายละเอียดการจัดกิจกรรมดังนี้

               ครั้งที่ 1 วันที่ 30 พฤศจิกายน 2565 คณาจารย์ร่วมกันเสนอและคัดเลือกหัวข้อหลักในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ คือประเด็น “การขอจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์”

               ครั้งที่ 2 วันที่ 18 มกราคม 2566 ดำเนินกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งที่ 1

               ครั้งที่ 3 วันที่ 1 พฤษภาคม 2566  สรุปองค์ความรู้ในประเด็น “การขอจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์”

            2) ประเด็น “การจัดทำ มคอ. ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ” จำนวน 3 ครั้ง ในแต่ละครั้งมีรายละเอียดการจัดกิจกรรมดังนี้

                ครั้งที่ 1 วันที่  8  กุมภาพันธ์ 2566  คณาจารย์ร่วมกันเสนอและคัดเลือกหัวข้อหลักในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ คือประเด็น  “การจัดทำ มคอ. ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ”

               ครั้งที่ 2  วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2566 การร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ในประเด็น “การจัดทำ มคอ. ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ”

               ครั้งที่ 3  วันที่  1 พฤษภาคม 2566 สรุปองค์ความรู้ “การจัดทำ มคอ. ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ”                                              

      4. คณะกรรมการจัดการความรู้ได้รวบรวม จัดเก็บความรู้ที่ได้รับจากกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในแต่ละครั้ง

      5. คณะกรรมการจัดการความรู้ได้จัดกิจกรรมสรุปผลการจัดการความรู้และนำเสนอแนวปฏิบัติที่ดีใน โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  วันที่ 1 พฤษภาคม 2566 ณ ผาแต้ม & พิศสมัย ริเวอร์ไซด์ อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี

      6. คณะกรรมการจัดการความรู้ดำเนินการเผยแพร่องค์ความรู้

          6.1) การเผยแพร่ภายในองค์กรแก่คณาจารย์และบุคลากรในคณะฯ ผ่านช่องทางดังนี้

             1) เผยแพร่ทางออนไลน์ คือ Facebook คณาจารย์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

             2) เผยแพร่ในรูปแบบเอกสารโดยตีพิมพ์ในรูปแบบโปสเตอร์ขนาด A4 และแผ่นพับขนาด A4 ณ สำนักงานคณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

               3) เผยแพร่ในรูปแบบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์

            6.2) การเผยแพร่ภายนอกองค์กรแก่คณาจารย์และบุคลากรในมหาวิทยาลัย ผ่านช่องทางการนำเสนอใน โครงการประกวดสุดยอดผลงานการจัดการความรู้ (KM Awards) ประจำปีการศึกษา 2565 โดยหน่วยมาตรฐานและประกันคุณภาพการศึกษา จัดโครงการประกวดสุดยอดผลงานการจัดการความรู้ (KM Awards) วันที่ 30 พฤษภาคม 2566  ณ ประชุมศรีวรรณ เกียรติสุรนนท์ ชั้น 2 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาแนวปฏิบัติที่ดี จากหน่วยงานต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัยที่เป็นผลมาจากการจัดการความรู้ และมอบรางวัลสำหรับผู้ที่มีผลการดำเนินงานดีเด่น เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน ตลอดจนเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างหน่วยงานและเผยแพร่องค์ความรู้สู่การปฏิบัติต่อไป กลุ่มเป้าหมายในการเข้าร่วมโครงการประกอบด้วยผู้ส่งผลงานเข้าประกวดจาก 5 คณะ 1 วิทยาลัย 3 สำนัก 2 สถาบัน

       7. การบริหารจัดการความรู้เป็นกิจกรรมที่ไม่ได้แสดงให้เห็นผลลัพธ์ทั้งหมดของการดำเนินการเมื่อสิ้นปีการศึกษา แต่ผลของการจัดการความรู้จะแสดงให้เห็นชัดเจนในปีการศึกษาถัดไป เนื่องจากการจัดการความรู้เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อแลกเปลี่ยนปัญหาที่เกิดขึ้นในปีการศึกษาที่จัดกิจกรรม และแสวงหาแนวทางการแก้ไข แนวทางการพัฒนาเพื่อนำไปใช้ในปีการศึกษาต่อไป ดังนั้นเป้าหมายของการดำเนินงานในปีการศึกษา 2565 ด้านจำนวนอาจารย์ที่นำแนวปฏิบัติไปใช้จะสามารถตรวจสอบการบรรลุเป้าหมายได้ในปีการศึกษา 2566

       8. จากการดำเนินงานการจัดการความรู้ในปีการศึกษา 2565 มีอาจารย์และบุคลากรภายในคณะได้ดำเนินการขอจริยธรรมการวิจัยในมนุย์ จำนวนทั้งสิ้น 2 ท่าน และ ในภาคการศึกษาที่ 1/2566 คณาจารย์ในสังกัดคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ใช้รูปแบบ มคอ. 3 และ มคอ. 5 ตามรูปแบบใหม่ในการดำเนินกิจกรรมการรียนการสอน

6 การกำกับติดตามผลการดำเนินงานตามแผนการบริหารและแผนพัฒนาบุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุน

            คณะฯ มีการจัดทำแผนบริหารและพัฒนาบุคลากร เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานตามแผนบริหารและแผนพัฒนาบุคลากรทั้งสายวิชาการ และสายสนับ สนุน โดยการสำรวจของหลักสูตร และสำนักงานคณบดี และจัดทำแผนบริหารและพัฒนาบุคลากรได้ประชุมร่วมกันเพื่อจัดทำแผนบริหารและแผนพัฒนาบุคลากร ประจำปีการศึกษา 2565 (เอกสาร 5.2-6(1) แผนบริหารและพัฒนาบุคลากร ปีการศึกษา 2565 เพื่อใช้เป็นแนวทางการพัฒนาบุคลากรทั้งสายวิชาการและสายสนับสนุนวิชาการ ซึ่งครอบคลุมภารกิจ 4 ด้านของมหาวิทยาลัย และของคณะฯ รวมถึงการเพิ่มศักยภาพของสายวิชาการและสายสนับสนุนตามภาระงาน ด้านประสิทธิภาพของกระบวนการบริหารทรัพยากรบุคคล และประสิทธิผลของการบริหารทรัพยากรบุคคลในการจัดทำแผนบริหารและแผนพัฒนาบุคลากร คณะฯ มีการสำรวจข้อมูลซึ่งประกอบไปด้วย ความต้องการในการพัฒนาสมรรถนะ ตามกลุ่มงาน และสมรรถนะการบริหาร ของบุคลากรทั้งสายวิชาการและสายสนับสนุนวิชาการ  ซึ่งคณะฯ ก็เช่นกันได้ใช้ข้อมูลจากฐานข้อมูล โดยนำผลจากการวิเคราะห์สมรรถนะและความต้องการในการพัฒนาตนเอง ของแต่ละบุคคลมาเป็นแนวทางในการกำหนดโครงการและกิจกรรม
ในการแผนบริหารและพัฒนาบุคลากร

          คณะฯ มีการบริหาร ส่งเสริม การพัฒนาและติดตามผลตามแผนบริหารและแผนพัฒนาบุคลากร ให้เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้ในแผนความต้องการในการพัฒนาตนเองทั้งการเพิ่มพูนความรู้ การศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น และมีการกำกับติดตามการศึกษาต่อ โดยรายงานสถานะทางการศึกษาทุกปี ในปีการศึกษา 2565 อาจารย์ที่กำลังศึกษาต่อในระดับปริญญาเอก จำนวน  11ท่าน และส่งเสริมบุคลากรทั้งสายสนับสนุน และสายวิชาการเข้าสู่การกำหนดตำแหน่งที่สูงขึ้น ในปีการศึกษา 2565 มีผู้ที่ได้รับตำแหน่งทางวิชาการ จำนวน 1 ท่าน ได้แก่ อาจารย์เสถียร  สีชื่น  ได้รับตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์  และฝ่ายสนับสนุน มีกระบวนการเข้าสู่ลู่การยื่นขอตำแหน่งที่สูงขึ้น จำนวน 2 คน  ได้แก่ นางนิลวรรณ จันทา และนางสาวปวริศา แดงงาม ทั้งนี้คณะฯ มีการจัดสรรงบประมาณในการพัฒนาตนเองตามตำแหน่งหน้าที่ ความต้องการ และความชำนาญ ในอัตรา 3,000 บาท ต่อคน ( 5.2-6(2) แผนปฏิบัติการประจำปี งบประมาณพ.ศ. 2566 หน้าที่ 40) ตามนโยบายการบริหารงบประมาณในแผนกลยุทธ์ทางการเงินของคณะฯ และยังสนับสนุนให้บุคลากรเข้าร่วมโครงการและกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาศักยภาพและประสิทธิภาพของบุคลากรแต่ละสายงาน ทั้งภายในและภายนอกคณะฯ และมีการจัดโครงการเพื่อส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพ ได้แก่

     1. โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการออกแบบหลักสูตรบนฐานผลลัพธ์การเรียนรู้ (Outcome-Based Edcuaction (OBE) & เกณฑ์ AUN-QA  ในระหว่างวันที่ 1-1-2 มีนาคม 2566  ( 5.2-6(3)

       2.โครงการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาศักยภาพบุคลากร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ในระหว่างวันที่ 1 – 3 พฤษภาคม  2566 ( 5.2-6(4)

     3.โครงการอบรมพัฒนาศักยภาพด้านภาษาอังกฤษสำหรับบุคลากรภายในคณะ ในวันที่ 10 มิถุนายน  2566  ( 5.2-6(5)

     4. โครงการอบรม จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์   ในวันที่ 20  มิถุนายน 2566 ( 5.2-6(6) 

       คณะฯ ยังส่งเสริมให้บุคลากรทั้งสายวิชาการ และสายสนับสนุนให้มีการพัฒนา และเพิ่มพูนความรู้ทั้งภายในและภายนอกคณะ และมีการติดตามให้มีการนำความรู้และทักษะที่ได้จากการพัฒนาตนเองมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน การวัดผลการเรียนรู้ของนักศึกษา ตลอดจนการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยแต่ละสาขาวิชาจัดทำเป็นรายงานผลการพัฒนาศักยภาพตนเอง รายบุคคล รายงานผลส่งมายังคณะฯ ซึ่งในรอบปีที่ผ่านมามีบุคลากรเข้าร่วมกิจกรรมศึกษาดูงาน โครงการอบรมและสัมมนาเชิงปฏิบัติการต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกคณะฯ ( 5.2-6(7) สรุปรายการการไปราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566)         

        คณะฯ มีประเมินผลความสำเร็จของแผนบริหารและแผนพัฒนาบุคลากร ประจำปี 2565 โดยได้จัดทำรายงานผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดในแผนบริหารและพัฒนาบุคลากร ประจำปี  2565 ผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดในแผนพัฒนาคณะฯ คิดเป็นร้อยละความสำเร็จ 100.00 ( 5.2-6(8) รายงานผลการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ของกิจกรรมและแผนบริหารและพัฒนาบุคลากรปีการศึกษา 2565) เสนอในการประชุมคณะกรรมการบริหารคณะ ครั้งที่ 3/2566 ในวันที่ 5 กรกฎาคม 2566  (5.2-6(9) รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารคณะ ครั้งที่ 3/2566 วาระที่ 5.5)  และนำผลการประเมินตัวชี้วัดตามวัตถุประสงค์ของแผนรายงานต่อที่ประชุมคณะกรรมการประจำคณะฯ ในการประชุมครั้งที่ 4/2566 ในวันที่ 12 กรกฎาคม  2566  และข้อเสนอแนะจากท่านผู้ทรงประจำคณะฯ เพื่อนำมาปรับปรุงการดำเนินงานในปีถัดไป (5.2-6(10) รายงานการประชุมคณะกรรมการประจำคณะ ครั้งที่ 4/2566 วาระที่ 5.1)

7 ดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในตามระบบและกลไกที่เหมาะสมและสอดคล้องกับพันธกิจและพัฒนาการของคณะที่ได้ปรับให้การดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารงานคณะตามปกติที่ประกอบด้วย การควบคุมคุณภาพ การตรวจสอบคุณภาพ และการประเมินคุณภาพ

          คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในตามระบบและกลไกที่เหมาะสมและสอดคล้องกับพันธกิจและพัฒนาการของคณะที่ได้ปรับให้การดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารงานคณะตามปกติที่ประกอบด้วย การควบคุมคุณภาพ         การตรวจสอบคุณภาพ  และการประเมินคุณภาพ โดยดำเนินการ ดังนี้

        การควบคุมคุณภาพและตรวจสอบคุณภาพ คณะฯดำเนินการภายใต้การควบคุมคุณภาพและตรวจสอบคุณภาพ ตามพันธกิจจากมหาวิทยาลัย และแต่งตั้งคณะกรรมการควบคุมคุณภาพ และการตรวจสอบคุณภาพระดับคณะ 5.2-7(1) นโยบายด้านประกันคุณภาพการศึกษา ปีการศึกษา 2565 5.2-7(2) ประกาศ แนวทางปฎิบัติที่ดีการประกันคุณภาพการศึกษา ปีการศึกษา 2565 5.2-7(3) ประกาศ แนวทางปฎิบัติด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร ปีการศึกษา 2565 และ 5.2-7(4) ระบบและกลไกการประกันคุณภาพหลักสูตร คณะมนุษย์)  และจัดทำแผนเพื่อวางเป็นกรอบทิศทางการดำเนินงานตามพันธกิจของคณะ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของพันธกิจ 5.2-7(5) แผนงานประกันคุณภาพการศึกษา ปีการศึกษา 2565 และ5.2-7(6) ปฏิทินดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา ปีการศึกษา 2565 และมีผู้รับผิดชอบงานอย่างชัดเจน รวมทั้งมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานตามพันธกิจภายใต้สังกัดคณะฯ 5.2-7(7) คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร จัดเก็บตัวบ่งชี้ ระดับหลักสูตร ปีการศึกษา 2565 ในส่วนการจัดการศึกษาทุกภาคเรียนได้มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของทุกสาขาวิชา โดยได้ทำคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมทวนสอบผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา พร้อมทั้งสรุปผลการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ 5.2-7(8) สรุปผลการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ และนำรายงานผลการควบคุมคุณภาพ รวมถึงการตรวจสอบต่อคณะกรรมการบริหารคณะฯ และคณะกรรมการประจำคณะฯ ตามลำดับ 5.2-7(9) รายงานการประชุมคณะกรรมการประจำคณะฯ ครั้งที่ 3/2565 วาระที่ 4.7

        การประเมินคุณภาพคณะฯ ได้ออกคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการตามพันธกิจคณะฯ โดยมีหน้าที่ในการประเมินคุณภาพงานที่ดำเนินการ 5.2-7(10) และคณะฯ ได้ดำเนินการตรวจประเมินประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร และระดับคณะฯ 5.2-7(11) ตามกำหนดการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร ปีการศึกษา 2565 5.2-7(12) และมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร ปีการศึกษา 2565 เพื่อประเมินทุกหลักสูตร และได้สรุปผลการประเมินการประกันคุณภาพภายในระดับหลักสูตร ปีการศึกษา 2565 ทั้ง 9 หลักสูตร 5.2-7(13)

       ทั้งนี้ คณะฯ ได้นำหลักในการประกันคุณภาพมาเป็นทิศทางในการทำงาน ส่งเสริมพัฒนางานตามพันธกิจของคณะฯ รวมทั้งได้มอบนโยบายให้กับบุคลากรทั้งสายวิชาการและสายสนับสนุนภายในคณะฯ โดยปรับให้การดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารงานตามปกติ เพื่อให้เกิดประโยชน์กับคุณภาพของนักศึกษา คุณภาพงานตามพันธกิจ คุณภาพของบุคลากร  คุณภาพขององค์กร เพื่อเป็นคณะและมหาวิทยาลัยที่พัฒนาเพื่อท้องถิ่น

ผลคะแนนการประเมินตนเอง
ทำได้ (ข้อ) ได้คะแนน
7 5