ตัวบ่งชี้ที่ 5.3 ระบบกำกับการประกันคุณภาพหลักสูตร

ปีที่ประเมิน 2565
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : อนันศักดิ์ พวงอก , โพธิ์พงศ์ ฉัตรนันทภรณ์ , วิภาวดี ทวี , เสถียร สีชื่น , นิลวรรณ จันทา , ธัญทิพ บุญเยี่ยม , พัณณิตา นันทะกาล , ภิรัญญา จันทร์เปล่ง , ปิยชนก จันทร์ชัยภักดิ์ , ประทักษ์ คูณทอง , บริพัตร อินปาต๊ะ , รัตตัญญู ศิลาบุตร , จันทกานต์ พันเลียว , วรางคณา วิริยะพันธ์ , อุมาพร ประชาชิต , จุฑาสินี ชนะศึก , ปัญญณัฐ ศักดิ์สิทธานุภาพ , ทินกร กมล , นงนุช แสงพฤกษ์ , รุ่งทิวา เนื้อนา , ปวริศา แดงงาม
ชนิดตัวบ่งชี้ : กระบวนการ
คำอธิบายตัวบ่งชี้

บทบาทหน้าที่ของคณะในการกำกับการประกันคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตร มีการดำเนินการตั้งแต่การควบคุมคุณภาพ การติดตามตรวจสอบคุณภาพ และการพัฒนาคุณภาพ การพัฒนาตัวบ่งชี้และเกณฑ์การประเมินจะมุ่งไปที่ระบบการประกันคุณภาพการศึกษามากกว่าการประเมินคุณภาพ เพื่อให้สามารถส่งเสริม สนับสนุน กำกับติดตามการดำเนินงานให้เป็นไปตามที่กำหนด สะท้อนการจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพ

เกณฑ์การประเมิน
คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 หรือ 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
หมายเหตุ

คุณภาพหลักสูตรและการดำเนินงานของคณะดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ให้พิจารณาตามเกณฑ์ทั้ง 2 ประเด็นดังนี้
   1. ผลรวมของคะแนนเฉลี่ยทุกหลักสูตรและการดำเนินงานของคณะต้องดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยไม่พิจารณาจากเส้นแนวโน้ม (Trendline) (ใช้ข้อมูล 3 ปีย้อนหลัง)
   2. ผลการประเมินคุณภาพฯ ของแต่ละหลักสูตรและการดำเนินงานของคณะต้องดีขึ้นอย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของหลักสูตร/คณะทั้งหมด โดยไม่พิจารณาเส้นแนวโน้ม (Trendline) (ใช้ข้อมูล 3 ปีย้อนหลัง)
**กรณีที่หลักสูตรไม่ผ่านเกณฑ์ตัวบ่งชี้ที่ 1.1 การกำกับมาตรฐาน จะไม่พิจารณาผ่านเกณฑ์ข้อที่ 5   

เกณฑ์มาตรฐาน
ระดับ เกณฑ์มาตรฐาน ดำเนินการ
1 มีระบบและกลไกในการกำกับการดำเนินการประกันคุณภาพหลักสูตรให้เป็นไปตามองค์ประกอบการประกันคุณภาพหลักสูตร
2 มีคณะกรรมการกำกับ ติดตามการดำเนินงานให้เป็นไปตามระบบที่กำหนดในข้อ 1 และรายงานผลการติดตามให้กรรมการประจำคณะเพื่อพิจารณาทุกภาคการศึกษา
3 มีการจัดสรรทรัพยากรเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของหลักสูตรให้เกิดผลตามองค์ประกอบการประกันคุณภาพหลักสูตร
4 มีการประเมินคุณภาพหลักสูตรตามกำหนดเวลาทุกหลักสูตร และรายงานผลการประเมิน ให้กรรมการประจำคณะเพื่อพิจารณา
5 นำผลการประเมินและข้อเสนอแนะจากกรรมการประจำคณะมาปรับปรุงหลักสูตรให้มีคุณภาพดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
6 มีผลการประเมินคุณภาพทุกหลักสูตรผ่านองค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน
ผลการดำเนินงาน
ตนข้อเกณฑ์ผลการดำเนินงานหลักฐาน
1 มีระบบและกลไกในการกำกับการดำเนินการประกันคุณภาพหลักสูตรให้เป็นไปตามองค์ประกอบการประกันคุณภาพหลักสูตร

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้ดำเนินงานตามนโยบายการประกันคุณภาพการศึกษา ปีการศึกษา 2565 5.3-1(1) และระบบและกลไกการประกันคุณภาพหลักสูตร 5.3-1(2) คณะมนุษย์ฯ ดังนี้

ระบบควบคุมคุณภาพ

     มีการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายใระดับหลักสูตร 5.3 - 1(3) เพื่อดำเนินการตามนโยบายด้านประกันคุณภาพการศึกษา และดำเนินงานตามปฏิทินการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาภายในปีการศึกษา 2565  5.3 - 1(4) และได้จัดทำคู่มือประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร ปีการศึกษา 2565 เพื่อเป็นแนวปฏิบัติในการดำเนินงานของอาจารย์ประจำหลักสูตรตามเกณฑ์ตัวบ่งชี้ 5.3 - 1(5) นอกจากนี้ยังได้จัดประชุม workshop ชี้แจงข้อมูลเพื่อเตรียมความพร้อมให้แก่บุคลากร เพื่อให้บุคลากรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับตัวบ่งชี้ การเขียนรายงานการประเมินตนเอง  ให้เชื่อมโยงและสอดคล้องกับเอกสารหลักฐาน รวมถึงการอัพโหลด การกรอกข้อมูลในระบบ CHE QA ONLINE ระดับหลักสูตร และระดับคณะ 5.3 - 1(6) อีกทั้งได้จัดทำคู่มือคู่การเข้าใช้งานพื้นที่เก็บข้อมูล-qa-huso พร้อมทั้งสาธิตขั้นตอนและวิธีการเข้าใช้งาน qa-huso เพื่อเป็นฐานในการเก็บข้อมูล 5.3 - 1(7)

ระบบตรวจสอบคุณภาพ

            มีการจัดทำแผนประกันคุณภาพการศึกษา ปีการศึกษา  2565  5.3 - 1(8) โดยมีคณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาดำเนินการตรวจสอบดำเนินงานตามตัวบ่งชี้วัดความสำเร็จตามแผน 5.3 - 1(9) และแนวปฏิบัติด้านการประกันคุณภาพการศึกษา

ระบบประเมินคุณภาพ

           มีการจัดทำกำหนดการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร ปีการศึกษา 2565 โดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับ วัน เวลา สถานที่ รูปแบบการประเมิน และรายชื่อคณะกรรมการผู้ประเมิน เพื่อให้ทุกหลักสูตรเข้ารับการประเมินตามกำหนดการ 5.3 - 1(10) จากนั้นจัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร 5.3 - 1(11) และทุกหลักสูตรเข้ารับการประเมิน รับฟังข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุง จากนั้นรายงานผลการประเมิน 5.3 - 1(12)   

2 มีคณะกรรมการกำกับ ติดตามการดำเนินงานให้เป็นไปตามระบบที่กำหนดในข้อ 1 และรายงานผลการติดตามให้กรรมการประจำคณะเพื่อพิจารณาทุกภาคการศึกษา

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน กำกับ ติดตามการดำเนินงานด้านประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับคณะฯ 5.3 - 2(1) และระดับหลักสูตร 5.3 - 2(2) เพื่อดำเนินงานให้เป็นไปตามระบบ ขั้นตอนที่กำหนดไว้ โดยมีการจัดประชุมคณะกรรมการดำเนินงานด้านประกันคุณภาพการศึกษา และคณะกรรมการบริหารคณะฯ 5.3 - 2(3) เพื่อชี้แจงรายระเอียดการดำเนินโครงการ กิจกรรม ตามแผนและปฏิทินการดำเนินงาน จากนั้นนำข้อมูลการดำเนินงานรายงานต่อที่ประชุมคณะกรรมการประจำคณะฯ 5.3 - 2(4) 5.3 - 2(5) เพื่อให้ข้อเสนอแนะ

3 มีการจัดสรรทรัพยากรเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของหลักสูตรให้เกิดผลตามองค์ประกอบการประกันคุณภาพหลักสูตร

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้จัดสรรงบประมาณให้แต่ละหลักสูตร เพื่อการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ 2566 โดยมีโครงการหลักของแต่ละหลักสูตร 3 โครงการ ได้แก่

     1. โครงการบริหารจัดการหลักสูตร ซึ่งประกอบไปด้วยการจัดซื้อวัสดุสำนักงานสำหรับสาขาวิชา และกิจกรรมอื่นนอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในแผน 

     2.โครงการบริการวิชาการ

     3.โครงการพัฒนาศักยภาพนักศึกษาและศึกษาดูงาน

     มีรายละเอียดต่อไปนี้

    งบประมาณที่ได้รับจัดสรรทุกหลักสูตร 5.3 - 3(1) เปรียบเทียบปีงบประมาณ 2564, 2565 และ 2566

4 มีการประเมินคุณภาพหลักสูตรตามกำหนดเวลาทุกหลักสูตร และรายงานผลการประเมิน ให้กรรมการประจำคณะเพื่อพิจารณา

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้ดำเนินการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตรทุกหลักสูตร ตามที่กำหนดไว้ในปฏิทินการดำเนินงาน ประจำปีการศึกษา 2565  5.3 - 4(1) และทุกหลักสูตรได้จัดทำรายงานผลการดำเนินการของหลักสูตร มคอ.7  โดยได้นำข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการประเมินในรอบการประเมิน ประจำปีการศึกษา 2564 มาปรับปรุง เพื่อเข้ารับการประเมินในปีการศึกษา  2565 ระหว่างวันที่ 12-16 มิถุนายน 2566 โดยการดำเนินการเชิญคณะกรรมการผู้ตรวจประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตรที่มีชื่อผู้ประเมินของ สกอ. และเป็นผู้ประเมินที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในแต่ละหลักสูตร ปีการศึกษา 2565  5.3 - 4(11) โดยมีหลักสูตรที่เข้ารับการประเมินจากคณะกรรมการภายนอก 9 หลักสูตร ได้แก่

     1. หลักสูตรศศ.บ. สาขาวิชาภาษาจีน 5.3 - 4(2)

     2. หลักสูตรศศ.บ. สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น 5.3 - 4(3)

     3. หลักสูตรศศ.บ. สาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ 5.3 - 4(4)

     4. หลักสูตรนศ.บ. สาขาวิชานิเทศศาสตร์ 5.3 - 4(5)

     5. หลักสูตรศศ.บ. สาขาวิชาบรรณรักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ 5.3 - 4(6)

     6. หลักสูตรศศ.บ. สาขาวิชาศิลปะและการออกแบบ 5.3 - 4(7)

     7. หลักสูตรศศ.บ. สาขาวิชาประวัติศาสตร์ 5.3 - 4(8)

     8. หลักสูตรศศ.บ. สาขาวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร 5.3 - 4(9)

     9. หลักสูตรศศ.บ. สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน 5.3 - 4(10)

         ผลการประเมิน 9 หลักสูตร ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 9 หลักสูตร5.3 - 4(12)  จากนั้นได้รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตรต่อคณะกรรมการประจำคณะฯเพื่อพิจารณาให้ข้อเสนอแนะ และนำข้อเสนอแนะดังกล่าวไปพัฒนาปรับปรุงเพื่อให้เกิดคุณภาพดีขึ้น   5.3 - 4(13)   

5 นำผลการประเมินและข้อเสนอแนะจากกรรมการประจำคณะมาปรับปรุงหลักสูตรให้มีคุณภาพดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง

                ในปีการศึกษา 2565 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้เข้ารับการประเมินทั้งหมด 9 หลักสูตร 5.3 - 5(1)  และพบว่ามีหลักสูตรที่ได้มาตรฐาน จำนวน 9 หลักสูตร  และมีผลการประเมินระดับคุณภาพดี จำนวนทั้งหมด 9 หลักสูตร และภายหลังการประเมินในแต่ละสาขาวิชาได้นำผลการประเมินรายงานต่อคณะกรรมการบริหารคณะฯ 5.3 - 5(2)  และคณะกรรมการประจำคณะฯ 5.3 - 5(3)  จากนั้นคณะกรรมการประจำคณะฯ ได้ให้ข้อเสนอแนะควรมีการจัดทำแผนพัฒนาหลักสูตรอย่างต่อเนื่องของทุกสาขาวิชา ดำเนินงานตามระบบและกลไกและมีการปรับปรุงผลการดำเนินงานให้ดีขึ้นตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประเมินฯ แต่ละหลักสูตรได้ดำเนินการจัดทำร่างแผนพัฒนาคุณภาพหลักสูตรของทุกหลักสูตร 5.3 - 5(5) 5.3 - 5(6) 5.3 - 5(7) 5.3 - 5(8) 5.3 - 5(9) 5.3 - 5(10) 5.3 - 5(11) 5.3 - 5(12) 5.3 - 5(13) ประจำปีการศึกษาต่อไป  

        ตารางเปรียบเทียบผลการประเมิน 9 หลักสูตร 5.3 - 5(4)   ปีการศึกษา 2563-2565  (ดังเอกสารแนบ)

เมื่อเปรียบเทียบผลการดำเนินงานของหลักสูตร ประจำปีการศึกษา 2563 และ 2564 พบว่าใน ปีการศึกษา 2565 มีหลักสูตรที่ได้มาตรฐานระดับคุณภาพดี จำนวน 9 หลักสูตร อย่างต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา ส่งผลให้การประเมินในภาพรวมมีคะแนนในปีการศึกษา 2563 = 3.63 คะแนน และปีการศึกษา 2564 = 3.79 และปีการศึกษา 2565 = 3.81  โดยมีคะแนนดีขึ้นตามลำดับ

6 มีผลการประเมินคุณภาพทุกหลักสูตรผ่านองค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

        คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้ดำเนินการตรวจประเมินการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร จากการแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร ประจำปีการศึกษา 2565  5.3 - 6(1) ระหว่างวันที่ 12-16 มิถุนายน 2566 โดยมีหลักสูตรระดับปริญญาตรี จำนวน 9 หลักสูตร เข้ารับการตรวจประเมินดังนี้

   1. สาขาวิชาการจัดการดิจิทัล

   2. สาขาวิชาประวัติศาสตร์

   3. สาขาวิชานิเทศศาสตร์

   4. สาขาวิชาศิลปะและการออกแบบ

   5. สาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ

   6. สาขาวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร     

   7. สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน

   8. สาขาวิชาภาษาจีน

   9. สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น

         ผลการประเมิน 5.3 - 6(2) มีหลักสูตรที่ผ่านองค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน จำนวน 9 หลักสูตร จาก 9 หลักสูตร คิดเป็นร้อยละ 100

ผลคะแนนการประเมินตนเอง
ทำได้ (ข้อ) ได้คะแนน
6 5