ตัวบ่งชี้ที่ 3.3 ผลที่เกิดกับนักศึกษา

ปีที่ประเมิน 2563
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : ปรารถนา มะลิไทย , อลงกต แผนสนิท
ชนิดตัวบ่งชี้ : ผลลัพธ์
คำอธิบายตัวบ่งชี้

ผลการประกันคุณภาพควรทำให้นักศึกษามีความพร้อมทางการเรียน มีอัตราการคงอยู่ของนักศึกษาในหลักสูตรสูง อัตราการสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรสูง นักศึกษามีความพึงพอใจต่อหลักสูตร และผลการจัดการข้อร้องเรียนของนักศึกษา

ในการรายงานการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้นี้ ให้อธิบายกระบวนการหรือแสดงผลการดำเนินงานในประเด็นต่อไปนี้

- การคงอยู่

- การสำเร็จการศึกษา

- ความพึงพอใจและผลการจัดการข้อร้องเรียนของนักศึกษา

ตัวอย่างการคำนวณหลักสูตร 4 ปี

ปีการศึกษา

จำนวนรับเข้า (1)

จำนวนสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร (2) จำนวนที่ลาออกและคัดชื่อออกสะสมจนถึงสิ้นปีการศึกษา 2562 (3)
2560 2561 2562
2557   x      
2558     x    
2559       x  

 

อัตราการสำเร็จการศึกษา = (2)
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------       x     100
(1)

 

อัตราการคงอยู่ = (1)  -  (3)
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------       x     100
(1)
เกณฑ์การประเมิน
0 1 2 3 4 5

• ไม่มีการรายงานผลการดำเนินงาน

• มีการรายงานผลการดำเนินงานในบางเรื่อง

• มีการรายงานผลการดำเนินงานครบทุกเรื่องตามคำอธิบายใน
ตัวบ่งชี้

• มีการรายงานผลการดำเนินงานครบทุกเรื่องตามคำอธิบายในตัวบ่งชี้

• มีแนวโน้มผลการดำเนินงานที่ดีขึ้นในบางเรื่อง

• มีการรายงานผลการดำเนินงานครบทุกเรื่องตามคำอธิบายในตัวบ่งชี้

• มีแนวโน้มผลการดำเนินงานที่ดีขึ้นในทุกเรื่อง

• มีการรายงานผลการดำเนินงานครบทุกเรื่องตามคำอธิบายในตัวบ่งชี้

• มีแนวโน้มผลการดำเนินงานที่ดีขึ้นในทุกเรื่อง

• มีผลการดำเนินงานที่โดดเด่น เทียบเคียงกับหลักสูตรนั้นในสถาบันกลุ่มเดียวกันโดยมีหลักฐานเชิงประจักษ์ยืนยัน และกรรมการผู้ตรวจประเมินสามารถให้เหตุผลอธิบายว่าเป็นผลการดำเนินงานที่โดดเด่นอย่างแท้จริง

หมายเหตุ
  • การประเมินความพึงพอใจของนักศึกษา เป็นการประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาต่อกระบวนที่ดำเนินการให้กับนักศึกษาตามกิจกรรมในตัวบ่งชี้ที่ 3.1 และ 3.2
  • อัตราการคงอยู่ของนักศึกษา คิดจากนักศึกษาที่เข้าในแต่ละรุ่น ลบด้วยจำนวนนักศึกษาที่ออกทุกกรณีนับถึงสิ้นปีการศึกษาที่ประเมิน ยกเว้น การเสียชีวิต การย้ายสถานที่ทำงานของนักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา คิดเป็นร้อยละของจำนวนที่รับเข้าในแต่ละรุ่นที่มีบัณฑิตสำเร็จการศึกษาแล้ว
  • การคิดร้อยละของจำนวนนักศึกษาที่ยังคงอยู่ของแต่ละรุ่น
ผลการดำเนินงาน

 ในปีการศึกษา 2563 หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต ได้มีการดำเนินการผลที่เกิดกับนักศึกษาดังนี้

  • หลักสูตรฯ ได้รายงานผลอัตราการคงอยู่ของนักศึกษาในหลักสูตรเมื่อสิ้นปีการศึกษา 2563
  • หลักสูตรฯ ได้รายงานผลจำนวนร้อยละของผู้สำเร็จการศึกษาเมื่อสิ้นปีการศึกษา 2563
  • หลักสูตรฯ ได้รายงานความพึงพอใจและการจัดการข้อร้องเรียนของนักศึกษา พบว่าในปีการศึกษา 2563 นักศึกษาไม่มีข้อร้องเรียนในปีการศึกษานี้

3.3.1 อัตราการคงอยู่

   ในปีการศึกษาศึกษา 2563 หลักสูตรมีอัตราการคงอยู่ของนักศึกษา 3 ชั้นปี ระหว่างปีการศึกษา 2561 – 2563 ดังนี้

ปีการศึกษา

จำนวนรับเข้า

จำนวนนักศึกษาคงอยู่ในแต่ละปีการศึกษา

2561

2562

2563

2561

60

60

(100%)

56

(93.33%)

53

(88.33%)

2562

50

 

45

(90%)

45

(90%)

2563

45

 

 

42
(95.45%)

ผลการดำเนินงาน

  • ปีการศึกษา 2561 อัตราการคงอยู่ ร้อยละ 88.33
  • ปีการศึกษา 2562 อัตราการคงอยู่ร้อยละ 90
  • ปีการศึกษา 2563 อัตราการคงอยู่ร้อยละ 95.45

    ในปีการศึกษา 2563 หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต มีอัตราการคงอยู่ของนักศึกษามีแนวโน้มและผลการดำเนินงานที่ดีขึ้น โดยหลักสูตรได้มีการรายงานผลด้านอัตราการคงอยู่ทุกภาคเรียน ตลอดระยะเวลาการจัดการศึกษา ในปีการศึกษา 2563 ซึ่งจากการประชุมคณะกรรมการบริหารหลักสูตรฯ ครั้งที่ 4/2563 วาระที่ 3.3 รายงานผลอัตราการคงอยู่ของนักศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต ปีการศึกษา 2563 พบว่าจากการรายงานอัตราการคงอยู่ของนักศึกษา 3 ชั้นปีนั้นมีจำนวนนักศึกษาลดลงเนื่องมาจากสาเหตุ เช่น ลาออก ย้ายสถานศึกษา สอบรับราชการได้ ซึ่งหลักสูตรได้มีการวิเคราะห์ปัจจัยที่ทำให้จำนวนนักศึกษาดังรายละเอียดต่อไปนี้

 

ปัจจัยภายใน

ปัจจัยภายนอก

1. นักศึกษามารายงานตัวแล้วแต่นักศึกษาสอบติดสถาบันการศึกษาอื่นจึงไม่มาเรียน

1. หน่วยงาน/องค์กรที่รับบัณฑิตเข้าทำงานมีการเปลี่ยนแลงเงื่อนไขคุณวุฒิการรับเข้า

2. นักศึกษาเปลี่ยนแปลงสาขา/ย้ายสาขาในภายหลัง เนื่องจากการตัดสินใจเรียนตามเพื่อน

3. นักศึกษาประสบปัญหาครอบครัว เช่น ผู้ปกครองย้ายถิ่นฐาน ฐานะของผู้ปกครอง   

4. นักศึกษาขาดแคลนทุนทรัพย์ไม่ได้กู้กองทุนเงินเพื่อการศึกษา (กยศ.) หรือไม่ได้รับการพิจารณาเงินกู้ กยศ.

3.3.2 การสำเร็จการศึกษา

      ในปีการศึกษา 2563 หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิตมีบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจำนวนทั้งสิ้น 97 คน คิดเป็นร้อยละ 88.18

ปีการศึกษารับเข้า

จำนวนรับเข้า

จำนวนสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร

2561

2562

2563

2559

110 (คน)

 

 

97 (คน)
(88.18%)

2558

220  (คน)

 

126 (คน)
(57.27%)

 

2557

220 (คน)

107 (คน)
(48.63%)

 

 

ผลการดำเนินงาน

  • ปีการศึกษา 2557 อัตราการสำเร็จการศึกษาร้อยละ 48.63
  • ปีการศึกษา 2558 อัตราการสำเร็จการศึกษาร้อยละ 57.27
  • ปีการศึกษา 2559 อัตราการสำเร็จการศึกษาร้อยละ 88.18

3.3.3 ความพึงพอใจและผลการจัดการข้อร้องเรียนของนักศึกษา 

  • ความพึงพอใจต่อหลักสูตรของนักศึกษา

        ในปีการศึกษา 2563 หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต ได้มีการดำเนินการสำรวจความความพึงพอใจของนักศึกษาต่อหลักสูตร โดยทำการเปรียบเทียบระหว่างปีการศึกษา 2561 – 2563 ดังนี้

ปีการศึกษา 2561

ความคิดเห็นของนักศึกษา

ระดับ
ความพึงพอใจ

1. การรับนักศึกษา

4.13

มาก

2. การเตรียมความพร้อมก่อนเข้าศึกษา

4.19

มาก

3. การควบคุมดูแลให้คำปรึกษาวิชาการและแนะแนวแก่นักศึกษาปริญญาตรี

4.05

มาก

4. การพัฒนาศักยภาพนักศึกษาและการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

4.16

มาก

รวม

4.13

มาก

 

ปีการศึกษา 2562

ความคิดเห็นของนักศึกษา

ระดับ
ความพึงพอใจ

1. การรับนักศึกษา

4.20

มาก

2. การเตรียมความพร้อมก่อนเข้าศึกษา

4.21

มาก

3. การควบคุมดูแลให้คำปรึกษาวิชาการและแนะแนวแก่นักศึกษาปริญญาตรี

4.10

มาก

4. การพัฒนาศักยภาพนักศึกษาและการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

4.17

มาก

รวม

4.17

มาก

ปีการศึกษา 2563

ความคิดเห็นของนักศึกษา

ระดับ
ความพึงพอใจ

1. การรับนักศึกษา

4.19

มาก

2. การเตรียมความพร้อมก่อนเข้าศึกษา

4.22

มาก

3. การควบคุมดูแลให้คำปรึกษาวิชาการและแนะแนวแก่นักศึกษาปริญญาตรี

4.38

มาก

4. การพัฒนาศักยภาพนักศึกษาและการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

4.25

มาก

รวม

4.26

มาก

 

ผลการวิเคราะห์พบว่า

  • ปีการศึกษา 2561 ผลการประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาต่อหลักสูตร อยู่ในระดับมาก  (=4.13)
  • ปีการศึกษา 2562 ผลการประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาต่อหลักสูตร อยู่ในระดับมาก  (=4.17)
  • ปีการศึกษา 2563 ผลการประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาต่อหลักสูตร อยู่ในระดับมาก  (=4.26)

   จากการวิเคราะห์ผลการประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาระหว่างปีการศึกษา 2561 – 2563 นั้น ประเด็นที่มีระดับความพึงพอใจน้อยที่สุดในปีการศึกษา 2561 คือ การควบคุมดูแลให้คำปรึกษาวิชาการและแนะแนวแก่นักศึกษาปริญญาตรี (=4.05) ซึ่งจากประเด็นดังกล่าวหลักสูตรได้มีการพัฒนาปรับปรุงเพื่อให้การควบคุมดูแลให้คำปรึกษาแก่นักศึกษาดีขึ้น จะเห็นได้จากในปีการศึกษา 2562 – 2563 ประเด็นดังกล่าวมีระดับความพึงพอใจเพิ่มขึ้น
(=4.10) (=4.38) ตามลำดับ

การจัดการข้อร้องเรียน

   ในปีการศึกษา 2563 หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิตมีระบบและกลไกการจัดการข้อร้องเรียน ดังนี้

1. หลักสูตรกำหนดช่องทางการรับเรื่องร้องเรียนจากนักศึกษาที่หลากหลาย เพื่อให้นักศึกษาสารมารถเข้าถึงช่องทางต่างๆ ได้อย่างสะดวก โดยได้มีการมอบหมายให้อาจารย์ที่ปรึกษาแจ้งให้นักศึกษาทราบถึงช่องทางในการรับข้อร้องเรียนของนักศึกษา ซึ่งหลักสูตรมีทั้งหมด 4 ช่องทาง คือ

1.1 โทรศัพท์ส่วนตัวของอาจารย์ที่ปรึกษา
1.2 แอฟพลิเคชั่น Line Messenger กลุ่มหรือส่วนตัวของอาจารย์ที่ปรึกษาคืออาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรฯ
1.3 กล่องข้อความรับเรื่องร้องเรียน (เพื่อไม่เป็นการแสดงตัวตนในกรณีที่นักศึกษากลัวว่าอาจมีผลกระทบต่อการประเมินผลการเรียน)
1.4 ห้องให้คำปรึกษา/รับเรื่องร้องเรียนของหลักสูตรฯ

2. หลักสูตรได้มีการกำหนดระดับและผลกระทบวิธีการจัดการข้อร้องเรียนไว้ดังนี้

ระดับผลกระทบ

วิธีการจัดการข้อร้องเรียน

ข้อร้องเรียนที่มีผลกระทบไม่รุนแรง

ติดต่อประสานงาน หาข้อมูลเพิ่มเติมแจ้งอาจารย์ที่ปรึกษาและประธานหลักสูตรให้รับทราบ พร้อมทั้งหาวิธีการป้องกัน แก้ไข หรือปรับปรุง

ข้อร้องเรียนที่มีผลกระทบไม่รุนแรง แต่มีโอกาสและความเสี่ยงสูงที่จะเกิดความรุนแรง

ติดต่อประสานงาน หาข้อมูลเพิ่มเติมแจ้งอาจารย์ที่ปรึกษาและประธานหลักสูตรให้รับทราบ ประชุมอาจารย์ประจำหลักสูตรให้รับทราบ เพื่อหาแนวทางในการป้องกันและแก้ไข พร้อมทั้งแจ้งผลการดำเนินการกลับไปยังผู้ร้องเรียน

ข้อร้องเรียนที่มีผลกระทบรุนแรง

หากมีการร้องเรียนที่มีผลกระทบที่รุนแรง หลักสูตรฯ มีวิธีการจัดการแก้ไขเพื่อให้ผลกระทบลดลงทันที โดยการประสานงานและติดต่อกับไปยังผู้ร้องเรียนภายใน 1 วัน รายงานผู้บริหารระดับคณะเพื่อพิจารณาในการทบทวนข้อร้องเรียนต่างๆ และติดตามประเมินผู้ร้องเรียนอย่างสม่ำเสมอ

 

นอกจากนี้หลักสูตรได้มีการประชุมอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรครั้งที่ 5/2563 วาระที่ 4.4 การดำเนินงานต่อการจัดการข้อร้องเรียนของนักศึกษา เพื่อประเมินและติดตามผลที่ได้จากการสำรวจความพึงพอใจของนักศึกษาต่อหลักสูตรและการจัดการข้อร้องเรียน

ผลคะแนนการประเมินตนเอง
ทำได้ (ข้อ) ได้คะแนน
3 3