ตัวบ่งชี้ที่ 1.7 ระบบกลไกการพัฒนาบุคลากรในหน่วยงาน

ปีที่ประเมิน 2564
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : อังคณา ลิ้มพงศธร , ชยานันท์ แก้วเกิด , พรรทิภา พรมมา
ชนิดตัวบ่งชี้ : กระบวนการ
คำอธิบายตัวบ่งชี้

กํากับติดตามผลการดําเนินงานตามแผนพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้มีระบบงานและสมรรถนะที่สอดคล้องและนําไปสู่การบรรลุพันธกิจ ให้เป็นไปตามแผนและแนวทางของตําแหน่งงานที่กําหนด รวมทั้งติดตามตรวจสอบเป็นรายบุคคล เพื่อการส่งเสริมสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งสร้างความผูกพันเพื่อช่วยส่งเสริมให้บุคลากรปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิผลและเต็มความสามารถ มีความมุ่งมั่นและเต็มใจใน การปฏิบัติงานเพื่อให้หน่วยงานประสบความสําเร็จ

เกณฑ์การประเมิน
คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
เกณฑ์มาตรฐาน
ระดับ เกณฑ์มาตรฐาน ดำเนินการ
1 มีแผนพัฒนาบุคลากรที่มีช่วยส่งเสริมให้บุคลากรปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิผลและเต็มความสามารถ
2 มีการพัฒนาบุคลากรให้เป็นไปตามแผนที่กําหนด
3 มีการเสริมสร้างสุขภาพที่ดี และสร้างขวัญและกําลังใจการทํางานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4 มีกำกับและการติดตามให้บุคลากรนําความรู้และทักษะที่ได้จากการพัฒนามาใช้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง
5 มีการประเมินผลความสําเร็จของแผนการพัฒนาบุคลากรในหน่วยงาน
6 มีการนําผลการประเมินไปปรับปรุงแผนหรือปรับปรุงการพัฒนาบุคลากรในหน่วยงาน
ผลการดำเนินงาน
ตนข้อเกณฑ์ผลการดำเนินงานหลักฐาน
1มีแผนพัฒนาบุคลากรที่มีช่วยส่งเสริมให้บุคลากรปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิผลและเต็มความสามารถ

มีแผนพัฒนาบุคลากรที่มีช่วยส่งเสริมให้บุคลากรปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิผลและเต็มความสามารถ

          แผนการพัฒนาบุคลากรที่มีส่งเสริมให้บุคลากรปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิผลและเต็มความสามาถ สำนักส่งเสิรมได้แต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำแผนพัฒนาบุคลากรและกำกับติดตามผลการดำเนินงาน ระยะเวลา 1 ปี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ตามคำสั่งที่ 53 ลงวันที่ 25 ตุลาคม 2564 1.7-1(1)

         โดยมีหน้าที่ในการจัดทำแผนพัฒนาบุคลากร กำกับ ติดตามและประเมินผลความสำเร็จของแผน

          คณะกรรมการฯ ได้มีการประชุมทบทวนผลการดำเนินงานตามแผนพัฒนาบุคลากร ประจำปีงบประมาณ 2564 เพื่อจัดทำแผนพัฒนาบุคลากร ประจำปี 2565 โดยได้กำหนดกลยุทธ์ดังนี้

          1.พัฒนาความรู้ทักษะ ความสามารถของบุคลากร

          2. ส่งเสริมการผลิตผลงานคู่มือปฏิบัติงานหลักและงานวิจัย งานวิเคราะห์ สังเคราะห์สายงานสนับสนุน ภายใต้แผนการดำเนินงานมีโครงการทั้งสิ้น 6 โครงการ

          และได้นำแผนเข้าที่ประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักส่งเสริมและบริการวิชการเพื่อพิจารณา ครั้งที่ 9 เมื่อวันที่ 1 ธค. 2564 ซึ่งที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบ

 

 

2มีการพัฒนาบุคลากรให้เป็นไปตามแผนที่กําหนด

มีการพัฒนาบุคลากรให้เป็นไปตามแผนที่กำหนด

สำนักส่งเสริมได้จัดโครงการ จำนวน 4 โครงการ ได้แก่

1. โครงการอบรมการให้ความรู้ด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสำนักและการเขียนรายงานการประเมินตนเอง (SAR) วันที่ 12 พฤศจิกายน 2564 ณ ห้องเศวตสุวรรณ 2 อาคารศูนย์ฝึกประสบการณ์วิขาการอเนกประสงค์ บุญชง วีสมหมาย ศรีพฤธาลัยราชภัฏสัมมนาคาร มีวัตถุประสงค์ 1.เพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจ ด้านงานประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสำนัก 2.เพื่อถ่ายทอดความรู้และแนวทางการเขียนรายงานประเมินตนเอง 3.เพื่อให้บุคลากรสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน ตัวชี้วัดความสำเร็จ 1.ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ 1) จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ 21 คน ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ 1) ร้อยละ 70 ของผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจและได้แนวปฏิบัติในด้านประกันคุณภาพการศึกษา ผลการดำเนินงาน มีผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 21 คน และร้อยละ 70 ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจและได้แนวปฏิบัติในด้านประกันคุณภาพการศึกษา 1.7-2(1)

2. โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ การจัดทำระบบและเว็บไซด์ สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ วันที่ 17 ธันวาคม 2564 ณ ห้องถนอม อินทรกำเนิด อาคารศูนย์ฝึกประสบการณ์วิขาการอเนกประสงค์ บุญชง วีสมหมาย ศรีพฤธาลัยราชภัฏสัมมนาคาร มีวัตถุประสงค์ 1.เพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจ การจัดทำระบบข้อมูลและเว็บไซด์ 2.เพื่อถ่ายทอดความรู้และแนวทางการจัดทำระบบข้อมูลและเว็บไซด์ 3.เพื่อให้บุคลากรสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน ตัวชี้วัดความสำเร็จ 1.ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ 1) จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ 19 คน ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ 1) ร้อยละ 70 ของผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจในการอบรมเชิงปฏิบัติการการจัดทำระบบข้อมูลและเว็บไซด์ ผลการดำเนินงาน มีผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 19 คน และร้อยละ 70 ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจในการอบรมเชิงปฏิบัติการการจัดทำระบบข้อมูลและเว็บไซด์ 1.7-2(2)

3. โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ การเพิ่มศักยภาพและสร้างจิตสำนึก (Service Mind) ตามหลักธรรมาภิบาล สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ วันที่ 19-20 พฤษภาคม 2565 ณ ห้องประชุมแลโขง รีสอร์ท อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี มีวัตถุประสงค์ 1.เพื่อให้บุคลากรมีความรู้ความเข้าใจ การให้บริการได้ดียิ่งขึ้น 2.เพื่อให้บุคลากรได้พัฒนาทักษะการให้บริการแบบการทำงานเป็นทีม 3.เพื่อให้บุคลากรทราบถึงแนวทางการสร้างวัฒนธรรมบริการให้เกิดขึ้นในองค์กรอย่างเป็นรูปธรรมนำหลักธรรมาภิบาลมาประยุกต์ใช้ในการให้บริการและงานที่ได้รับมอบหมาย ตัวชี้วัดความสำเร็จ 1.ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ 1) จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ 11 คน ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ 1) ร้อยละ 70 ของผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจในการอบรมเชิงปฏิบัติการการเพิ่มศักยภาพและสร้างจิตสำนึก(Service Mind) ตามหลักธรรมาภิบาลในการให้บริการ ผลการดำเนินงาน มีผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 11 คน และร้อยละ 70 ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจในการอบรมเชิงปฏิบัติการการเพิ่มศักยภาพและสร้างจิตสำนึก(Service Mind) ตามหลักธรรมาภิบาลในการให้บริการ 1.7-2(3)

4. โครงการกิจกรรม 5 ส. ปรับปรุงภูมิทัศน์ในสำนักงานส่งเสริมและบริการวิชาการ ในวันที่ 5 ธันวาคม 2564 ณ สำนักงาน สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ ชั้น 1 อาคารพัชรกิติยาภา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ มีวัตถุประสงค์ 1.เพื่อสร้างบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมให้สถานที่ทำงานให้ดีขึ้น 2.เพื่อให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการปรับปรุงสำนักงาน 3.เพื่อให้สถานที่ทำงานสะอาดและเป็นระเบียบเรียบร้อย ตัวชี้วัดความสำเร็จ 1.ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ 1) จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ 22 คน ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ 1) ความพึงพอใจในการจัดกิจกรรม มีค่าเฉลี่ยระดับมาก จากจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม 5ส ผลการดำเนินงาน มีผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 11 คน และความพึงพอใจในการจัดกิจกรรม มีค่าเฉลี่ยระดับมาก จากจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม 5ส 1.7-2(4)

5. โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการเขียนรายงานประเมินตนเอง (SAR) ตามเกณฑ์ประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสำนัก ปีการศึกษา 2564 วันที่ 29 มิถุนายน 2565 ณ ห้องประชุม(หมวดศึกษาทั่วไป) ชั้น 1 อาคารพัชรกิติยาภา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ มีวัตถุประสงค์ 1.เพื่อให้บุคลากรมีความรู้ความเข้าใจ การเขียนรายงานการประเมินตนเอง (SAR) 2.เพื่อให้บุคลากรได้มีทักษะการเขียนรายงานการประเมินตนเอง (SAR) ตัวชี้วัดความสำเร็จ 1.ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ 1) จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ 11 คน ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ 1) ร้อยละ 70 ของผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจการเขียนรายงานประเมินตนเอง ผลการดำเนินงาน มีผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 11 คน และร้อยละ 70 ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจการเขียนรายงานประเมินตนเอง    1.7-2(5)

6. โครงการกิจกรรมผู้ปฏิบัติงานดีเด่น ประจำปี 2564 วันที่ 8 มิถุนายน 2564 ณ ห้องประชุมหมวดศึกษาทั่วไป ชั้น 1 อาคารพัชรกิติยาภา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ มีวัตถุประสงค์ 1.เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจให้กับบุคลากร 2.เพื่อเป็นการยกย่องเชิดชูเกียรติผู้ปฏิบัติงาน ตัวชี้วัดความสำเร็จ 1.ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ 1) จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ 16 คน ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ 1) ความพึงพอใจในการจัดกิจกรรม มีค่าเฉลี่ยระดับมาก จากจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม ผลการดำเนินงาน มีผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 16 คน และความพึงพอใจในการจัดกิจกรรม มีค่าเฉลี่ยระดับมาก จากจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม 1.7-2(6)

 

 

 

 

3มีการเสริมสร้างสุขภาพที่ดี และสร้างขวัญและกําลังใจการทํางานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

มีสวัสดิการเสริมสร้างสุขภาพที่ดี และสร้างขวัญและกำลังใจให้บุคลากรสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

       ในการเสริมสร้างสุขภาพที่ดี สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการได้มีการจัดกิจกรรม 5. 

     1. เพื่อสร้างบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมให้สถานที่ทำงานให้ดีขึ้น

     2. เพื่อให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการปรับปรุงสำนักงาน 3.เพื่อให้สถานที่ทำงานสะอาดและเป็นระเบียบเรียบร้อย  

1.7-3(1) 

       และสร้างขวัญและกำลังใจให้บุคลากร สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สำนักส่งเสริมได้จัดทำกิจกรรมมอบรางวัลบุคลากรดีเด่น ในการประจำ 1.7-3(2)

 

 

4มีกำกับและการติดตามให้บุคลากรนําความรู้และทักษะที่ได้จากการพัฒนามาใช้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง

สำนักได้กำกับและติดตามให้บุคลากรนำความรู้และทักษะที่ได้จากการพัฒนามาใช้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งผลมีดังนี้

       1. มีบุคลากรสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการเป็นคณะกรรมการในการเขียนรายงานประเมินตนเอง (SAR) มีการกำหนดตัวบ่งชี้ให้แต่ละบุคคลเป็นผู้รับผิดชอบ 1.7-4(1)และ 1.7-4(2)

       2. มีบุคลากรสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ ได้จัดทำเว็บไซด์ของสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ สำหรับรองรับการบริหารจัดการภายในสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ 1.7-4(3)

       3. มีบุคลากรสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ ได้รับความพึงพอใจในการให้บริการในระดับดี 1.7-4(4)

5มีการประเมินผลความสําเร็จของแผนการพัฒนาบุคลากรในหน่วยงาน

มีการประเมินผลความสําเร็จของแผนการพัฒนาบุคลากรในหน่วยงาน

      สำนักและบริการวิชาการ ได้ประเมินผลความสำเร็จของแผนพัฒนาบุคลากรและจัดทำรายงานผลการดำเนินงานตามแผนพัฒนาบุคลากร ซึ่งมีผลตามตัวชี้วัดความสำเร็จของแผน ฯ ดังนี้ 1.7-5(1)

  1. ร้อยละของบุคลากรที่เข้ารับการอบรม (ร้อยละ 70) ผลการดำเนินงานบุคลากรได้รับการอบรม  คิดเป็นร้อยละ 100 ผลการดำเนินงานบรรลุ
  2. จำนวนโครงการกิจกรรมพัฒนาบุคลากร (4 โครงการ) ผลการดำเนินงาน จำนวน 6 โครงการ บรรลุ 
  3. จำนวนโครงการกิจกรรมเสริมสร้างสุขภาพที่ดีและสร้างขวัญและกำลังใจการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลการดำเนินงานบรรลุ
  4. ระดับความพึงพอใจของผู้รับบริการ (ระดับ 4.00) ผลการดำเนินงานบรรลุ

       จากการประเมินผลความสําเร็จของแผนการพัฒนาบุคลากร พบว่า ระยะเวลาในการจัดโครงการที่สั้นเกินควรเพิ่มจำนวนวันในการจัดโครงการและกิจกรรม และนำรายงานผลการประเมินผลความเสร็จของแผนพัฒนาบุคลากรเข้าที่ประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ เพื่อพิจารณา เห็นความเห็นเตรียมความพร้อมในการทำวิจัยของสายสนับสนุน และ เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ความก้าวหน้าในตำแหน่งที่สูงขึ้น) 1.7-5(2)

6มีการนําผลการประเมินไปปรับปรุงแผนหรือปรับปรุงการพัฒนาบุคลากรในหน่วยงาน

สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ ได้นําผลการประเมินมาปรับปรุงแผนการพัฒนาบุคลากรในหน่วยงาน ดังนี้

1. มีการสำรวจความต้องของบุคลากรในการจัดอบรม และสอดคล้องกับความก้าวหน้าในตำแหน่งที่สูงขึ้น 1.7-6(1)

2. จัดทำโครงการพัฒนาบุคลากรฉบับร่างให้สอดคล้องกับความต้องการของบุคลากร 1.7-6(2)

ผลคะแนนการประเมินตนเอง
ทำได้ (ข้อ) ได้คะแนน
6 5