ตัวบ่งชี้ที่ 2.2 จำนวนชุมชนเป้าหมายที่ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องตามแผนเสริมสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน

ปีที่ประเมิน 2564
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : รัชฎาภรณ์ พรมทอน เบ้าทอง , เทวา ขันติวงษ์ , สิทธิชัย บวชไธสง , กัลยกฤต ปีมา , ชยานันท์ แก้วเกิด
ชนิดตัวบ่งชี้ : ผลลัพธ์
คำอธิบายตัวบ่งชี้

สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการมีภารกิจกำหนดพื้นที่รับผิดชอบในการพัฒนา และมีการกำหนดชุมชนเป้าหมายการพัฒนาไว้ในแผน การจัดทำแผนเสริมสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน
จึงต้องศึกษาความต้องการของชุมชนเป้าหมายและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องให้บรรลุตามแผน

เกณฑ์การประเมิน

โดยการแปลงค่าร้อยละจำนวนชุมชนเป้าหมายที่ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องตามแผนเสริมสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนที่กำหนดให้เป็นคะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 20

สูตรการคํานวณ

1. คำนวณค่าร้อยละของชุมชนเป้าหมายที่ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องตามแผนเสริมสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน

จำนวนชุมชนเป้าหมายที่ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องตามแผนเสริมสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------       x     100
จำนวนชุมชนเป้าหมายทั้งหมด

2. แปลงค่าร้อยละที่คำนวณได้ในข้อ 1 เทียบกับคะแนนเต็ม 5

คะแนนที่ได้ = ร้อยละของชุมชนเป้าหมายที่ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องตามแผนเสริมสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------       x     5
ร้อยละจำนวนชุมชนเป้าหมายที่ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องตามแผนเสริมสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนที่กำหนดให้เป็นคะแนนเต็ม 5
ผลการดำเนินงาน

โดย คณะกรรมการดำเนินงานด้านบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ในการประชุมครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2564 ร่วมพิจารณากำหนดพื้นที่เป้าหมาย เพื่อมุ่งสู่ชุมชนต้นแบบของมหาวิทยาลัย (2-1-1(2) เสนอคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ เห็นชอบในการประชุม ครั้งที่ 11 / 2565 เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2564 และมีประกาศมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ เรื่อง พื้นที่เป้าหมายและชุมชนเป้าหมายของการให้บริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (2.1-1(3) โดยให้ทุกคณะ สำนัก มีส่วนร่วมในการให้บริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนสู่ความยั่งยืน ตามความถนัดและความเชี่ยวชาญของคณะและสำนัก โดยบูรณาการการเรียนการสอน และการวิจัย การประยุกต์ตามโจทย์ที่ชุมชนและท้องถิ่นต้องการ ตอบสนองแนวนโยบายของชาติ “หนึ่งจังหวัดหนึ่งมหาวิทยาลัย” เน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ภาคเอกชน และภาครัฐโดยการบริการวิชาการหลากหลายรูปแบบที่สอดคล้องกับความต้องการของสังคม เชื่อมโยงสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิต ของประชาชนและพื้นที่ ครอบคลุ่ม 4 มิติ คือ มิติด้านเศรษฐกิจ มิติด้านสังคม มิติด้านสิ่งแวดล้อม และมิติด้านการศึกษา ให้เกิดความยั่งยืน มีจำนวน 10 พื้นที่ ดังนี้

 

ลำดับที่

ชุมชน

การดำเนินงานที่ผ่านมา

เป้าหมายมุ่งสู่ชุมชนต้นแบบในปีงบประมาณ 2565

1.

บ้านหัวนา

มากกว่า 5 ปี

2565

2.

โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านหนองใหญ่

มากกว่า 5

2565

3.

บ้านสันติสุข(หมู่บ้านทับทิมสยาม 07)

4 ปี

2566

4.

บ้านรงระ

2 ปี

2566

5.

ตำบลผักไหม

มากกว่า 5

2566

6.

บ้านหนองสรวง

3 ปี

2567

7.

โรงเรียนบ้านประทาย

มากกว่า 5

2567

8.

ตำบลบึงบูรพ์

3 ปี

2568

9.

ตำบลเมืองใต้

1 ปี

2568

10.

โรงเรียนบ้านนาขนวน

มากกว่า 5

2568

ซึ่งปีงบประมาณ 2565 มหาวิทยาลัยมีเป้าหมายมุ่งพัฒนาสู่ชุมชนต้นแบบของมหาวิทยาลัยอย่างน้อย 2 พื้นที่ คือ ชุมชนบ้านหัวนา อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ และ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านหนองใหญ่ อำเภอกันทรลักษณ์ จังหวัดศรีสะเกษ

ผลคะแนนการประเมินตนเอง
ทำได้ (ข้อ) ได้คะแนน
2 5