ตัวบ่งชี้ที่ 3.1 ระบบและกลไกการพัฒนาเสริมสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน

ปีที่ประเมิน 2564
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : รัชฎาภรณ์ พรมทอน เบ้าทอง , เทวา ขันติวงษ์ , สิทธิชัย บวชไธสง , สุชาติ ศรีชื่น , มานะศักดิ์ หงษ์คำชัย
ชนิดตัวบ่งชี้ : กระบวนการ
คำอธิบายตัวบ่งชี้

การพัฒนาเสริมสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนเป็นการบริการวิชาการเพื่อสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน ในการยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชนท้องถิ่นตามยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านการศึกษา รวมถึงด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

เกณฑ์การประเมิน
คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 ข้อ มีการดำเนินการ 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 - 6 ข้อ
หมายเหตุ

1. ต่อเนื่อง หมายถึง การดำเนินงานตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป
2. ยั่งยืน หมายถึง การดำเนินงานตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป
3. เข้มแข็ง หมายถึง สามารถพึ่งตนเองได้

เกณฑ์มาตรฐาน
ระดับ เกณฑ์มาตรฐาน ดำเนินการ
1 ทุกคณะมีส่วนร่วมกับมหาวิทยาลัยและชุมชนในการกำหนดพื้นที่เป้าหมายในการพัฒนาท้องถิ่นที่สอดคล้องกับบริบท ปัญหา และความต้องการของท้องถิ่น ชุมชน หรือสังคม ตามจุดเน้น จุดเด่นของมหาวิทยาลัยตามศาสตร์พระราชา หรือตามแนวพระราชดำริ
2 มีการดำเนินงานตามวงจรคุณภาพ PDCA โดยร่วมมือกับหน่วยงานภายในหรือภายนอกมหาวิทยาลัย
3 ชุมชนหรือองค์กรมีผู้นำหรือสมาชิกที่มีการเรียนรู้และดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง
4 ชุมชนหรือองค์กรสร้างกลไกที่มีการพัฒนาตนเอง โดยคงอัตลักษณ์ของคนในชุมชนและเอกลักษณ์ของท้องถิ่นอย่างต่อเนื่องหรือยั่งยืน
5 มีผลกระทบที่เกิดประโยชน์สร้างคุณค่าต่อสังคม หรือชุมชน/องค์กรอย่างเข้มแข็ง
6 เกิดชุมชนต้นแบบด้านการพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน ที่มีคณะและมหาวิทยาลัย เป็นผู้รับผิดชอบร่วมในการพัฒนาอย่างน้อย 1 ชุมชน
ผลการดำเนินงาน
ตนข้อเกณฑ์ผลการดำเนินงานหลักฐาน
1ทุกคณะมีส่วนร่วมกับมหาวิทยาลัยและชุมชนในการกำหนดพื้นที่เป้าหมายในการพัฒนาท้องถิ่นที่สอดคล้องกับบริบท ปัญหา และความต้องการของท้องถิ่น ชุมชน หรือสังคม ตามจุดเน้น จุดเด่นของมหาวิทยาลัยตามศาสตร์พระราชา หรือตามแนวพระราชดำริ

ทุกคณะ/สำนัก/สถาบัน มีส่วนร่วมกับมหาวิทยาลัยและชุมชนในการกำหนดพื้นที่เป้าหมายในการพัฒนาท้องถิ่นที่สอดคล้องกับบริบท ปัญหา และความต้องการของท้องถิ่น ชุมชน หรือสังคม ตามจุดเน้น จุดเด่นของมหาวิทยาลัยตามศาสตร์พระราชา หรือตามแนว พระราชดำริ ดังนี้

1. ทุกคณะมีส่วนร่วมในการเป็นคณะกรรมการดำเนินงานด้านบริการวิชาการ ระดับสถาบัน ที่มหาวิทยาลัยแต่งตั้งขึ้น จำนวน 3 ชุด  มีการกำหนดบทบาทหน้าที่ในการขับเคลื่อนพันธกิจด้านบริการวิชาการที่ชัดเจน ดังนี้
    1.1 คณะกรรมการบริหารงานด้านบริการวิชาการ (3.1-1(1)) มีผู้บริหารจากทุกคณะ/สำนัก/สถาบัน ร่วมเป็นคณะกรรมการ ประกอบด้วย รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ เป็นประธาน คณบดี ผู้อำนวยการสำนัก/สถาบันเป็นกรรมการ และมีผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการเป็นกรรมการและเลขานุการ มีหน้าที่ อำนวยการ พิจารณา สั่งการ กำกับ ติดตาม และให้ความเห็นข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการดำเนินงานด้านบริการวิชาการ
    1.2 คณะกรรมการดำเนินงานด้านบริการวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ (3.1-1(2)) มีตัวแทนจากทุกคณะ/สำนัก/สถาบัน ร่วมเป็นคณะกรรมการ ประกอบด้วย รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ เป็นที่ปรึกษา ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ เป็นประธานรองหรือผู้ช่วยคณบดี รองหรือผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนัก/สถาบัน และเจ้าหน้าที่ สังกัดกองนโยบายและแผน งานพัสดุ งานคลัง และงานประกันคุณภาพการศึกษา ร่วมเป็นกรรมการ โดยมีสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ เป็นกรรมการและเลขานุการ มีหน้าที่ พิจารณา กลั่นกรอง ระเบียบ หลักเกณฑ์การดำเนินงาน และการกำกับ ติดตาม งานด้านการบริการวิชาการ ตลอดจนพัฒนาคุณภาพมาตรฐานและระบบการให้บริการวิชาการแก่สังคมให้สอดคล้องกับตัวบ่งชี้มาตรฐานประคุณภาพการศึกษาที่เกี่ยวข้อง
    1.3 คณะกรรมการจัดเก็บข้อมูลด้านบริการวิชาการ (3.1-1(3)) มีตัวแทนจากทุกคณะ/สำนัก/สถาบัน ร่วมเป็นคณะกรรมการ ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการเป็นที่ปรึกษา ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายบริการวิชาการ เป็นประธาน มีตัวแทนเจ้าหน้าที่จากทุกคณะ/สำนัก/สถาบันเป็นกรรมการ โดยมีสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ เป็นกรรมการและเลขานุการ มีหน้าที่ จัดเก็บข้อมูลการปฏิบัติงานให้สอดคล้องตามพันธกิจหลักของมหาวิทยาลัย และจัดทำเอกสารรายงานผลการดำเนินงานด้านการบริการวิชาการ

2. ทุกคณะมีส่วนร่วมในการกำหนดพื้นที่เป้าหมาย ร่วมกับมหาวิทยาลัยในรูปแบบการประชุม เช่น การประชุมคณะกรรมการดำเนินงานด้านบริการวิชาการ ครั้งที่ 1/2564 (3.1-1(4)) เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2564 เป็นการประชุมเพื่อร่วมกันพิจารณากำหนดพื้นที่เป้าหมายของมหาวิทยาลัย แนวทางการขับเคลื่อนชุมชนสู่การเป็นชุมชนต้นแบบ และเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ครั้งที่ 11/2564 (3.1-1(5)) เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2564 เพื่อให้ความเห็นชอบกำหนดพื้นที่เป้าหมาย และออกประกาศมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ เรื่อง พื้นที่เป้าหมายและชุมชนเป้าหมายของการให้บริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (3.1-1(5)) เป็นลายลักษณ์อักษรและประชาสัมพันธ์ให้ทุกหน่วยงานได้รับทราบให้ทุกคณะ สำนัก มีส่วนร่วมในการให้บริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนสู่ความยั่งยืน ตามความถนัดและความเชี่ยวชาญของคณะและสำนัก โดยบูรณาการการเรียนการสอน และการวิจัย การประยุกต์ตามโจทย์ที่ชุมชนและท้องถิ่นต้องการ ตอบสนองแนวนโยบายของชาติ “หนึ่งจังหวัดหนึ่งมหาวิทยาลัย” เน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ภาคเอกชน และภาครัฐโดยการบริการวิชาการหลากหลายรูปแบบที่สอดคล้องกับความต้องการของสังคม เชื่อมโยงสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิต ของประชาชนและพื้นที่ ครอบคลุ่ม 4 มิติ คือ มิติด้านเศรษฐกิจ มิติด้านสังคม มิติด้านสิ่งแวดล้อม และมิติด้านการศึกษา ให้เกิดความยั่งยืน มีจำนวน 10 พื้นที่ ดังนี้

ลำดับที่

ชุมชน

การดำเนินงานที่ผ่านมา

เป้าหมายมุ่งสู่ชุมชนต้นแบบในปีงบประมาณ 2565

1

บ้านหัวนา

มากกว่า 5 ปี

2565

2

โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านหนองใหญ่

มากกว่า 5 ปี

2565

3

บ้านสันติสุข(หมู่บ้านทับทิมสยาม ๐๗)

4 ปี

2566

4

บ้านรงระ

2 ปี

2566

5

ตำบลผักไหม

มากกว่า 5 ปี

2566

6

บ้านหนองสรวง

3 ปี

2567

7

โรงเรียนบ้านประทาย

มากกว่า 5 ปี

2567

8

ตำบลบึงบูรพ์

3 ปี

2568

9

ตำบลเมืองใต้

1 ปี

2568

10

โรงเรียนบ้านนาขนวน

มากกว่า 5 ปี

2568

    ซึ่งปีงบประมาณ 2565 มหาวิทยาลัยมีเป้าหมายมุ่งพัฒนาสู่ชุมชนต้นแบบของมหาวิทยาลัยอย่างน้อย 2 พื้นที่ คือ ชุมชนบ้านหัวนา อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ และ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านหนองใหญ่ อำเภอกันทรลักษณ์ จังหวัดศรีสะเกษ

3. ทุกคณะมีการลงพื้นที่สำรวจปัญหาและความต้องการของชุมชน และกำหนดเป้าหมายการดำเนินงานร่วมกับมหาวิทยาลัย โดยคณะกรรมการดำเนินงานด้านบริการวิชาการ ได้จัดทำแบบฟอร์มสำรวจปัญหาและความต้องการชุมชน (3-1-1(6)) เพื่อใช้ในการจัดเก็บข้อมูลที่ครอบคลุมประเด็นต่างๆ ที่สำคัญ มีการส่งเสริมให้ทุกคณะลงพื้นที่สำรวจปัญหาและความต้องการของชุมชน ทั้งการสัมภาษณ์ การประชุม การสอบถามจากผู้นำชุมชน และชาวบ้าน และเปิดโอกาสให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดแนวทางการพัฒนา การแสดงความเห็น เพื่อร่วมออกแบบกิจกรรมและแนวทางในการพัฒนาชุมชน และนำปัญหาและความต้องการของชุมชนมากำหนดกิจกรรมในการพัฒนาตามแผนของคณะและมหาวิทยาลัย ดังนี้

ลำดับ

ชุมชน

ปัญหา

ความต้องการ

กิจกรรม/โครงการ

1

บ้านหัวนา อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ

ปลาร้ามีความเค็มมากไม่เหมาะกับผู้บริโภคที่มีโรคไตและผู้สูงอายุ

พัฒนาสูตรปลาร้าสำหรับผู้เป็นโรคไต หรือ ต้องการรักสุขภาพให้สามารถบริโภคได้

พัฒนาสูตรปลาร้าลดโซเดียม

 

สินค้ายังไม่เป็นที่รู้จักในวงกว้าง/ผู้บริโภคเป็นกลุ่มเดิม ๆ ที่เคยมาซื้อ

พัฒนาทักษะการตลาด

- พัฒนาบรรจุภัณฑ์

- เสริมสร้างทักษะการขายและการตลาดออนไลน์

2

โรงเรียนตำรวจ ตระเวนชายแดน    บ้านหนองใหญ่ อำเภอกันทรลักษณ์ จังหวัดศรีสะเกษ

นักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในมีศักยภาพที่แตกต่างกัน 

ควรมีเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ มีอิสระ นำไปสู่การเรียนแบบใหม่ที่ให้ผู้เรียนได้มีการเรียนรู้ด้วย ในการเรียน

โครงการ การพัฒนาการเรียนรู้ต้นแบบ กิจกรรมการเรียนรู้ทางพหุปัญญา

โรงเรียนมีต้นไม้นานาชนิด แต่ขาดองค์ความรู้เกี่ยวกับชนิดพื้นและการอนุรักษ์ และการใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่า

สำรวจพรรณพืชในโรงเรียนทำสวนพฤกษศาสตร์เพื่อ อนุรักษ์ ศึกษา วิจัยทางวิทยาศาสตร์โดยเฉพาะทางด้านพฤกษศาสตร์หรือวิทยาศาสตว่าด้วยพืช และเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านพืชสำหรับการศึกษาของนักวิจัย นักเรียน นักศึกษา หรือ ตอบสนองต่อการเป็นแหล่งท่องเที่ยวและสถานพักผ่อนหย่อนใจ และเป็นแหล่งพันธุกรรมให้แก่ชุมชนในท้องถิ่น

- ศึกษาการเจริญเติมโตของพืช โดยต้นไม้ 1 ต้น มีนักเรียน 1 คน และชาวบ้าน 1 คน เป็นผู้ศึกษาร่วมกันนักศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์

- ทำป้ายชื่อพืชและพรรณไม้

- จัดทำข้อมูลเพื่อมุ่งจัดทำสวนพฤกษศาสตร์ของโรงเรียน

4. ทุกคณะมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมพัฒนาชุมชน เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนสู่ความยั่งยืน โดยการบูรณาการศาสตร์ต่างๆ ตามความความเชี่ยวชาญของแต่ละคณะไปพัฒนาชุมชนตามโจทย์ที่ชุมชนต้องการ มีการบูรณาการด้านการเรียนการสอน การวิจัย การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมเข้ากับการบริการวิชาการ ตอบสนองแนวนโยบายของชาติ “หนึ่งจังหวัดหนึ่งมหาวิทยาลัย” เน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ภาคเอกชน และภาครัฐเข้ามาเป็นเครือข่ายร่วมพัฒนา เชื่อมโยงสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิต  ของประชาชนและพื้นที่ ครอบคลุ่ม 4 มิติ คือ มิติด้านเศรษฐกิจ มิติด้านสังคม มิติด้านสิ่งแวดล้อม และมิติด้านการศึกษา ให้เกิดความยั่งยืน เช่น

ลำดับ

โครงการ/กิจกรรม

ชุมชน/กลุ่ม

      ผู้รับผิดชอบหลักในการบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน

ประจะปีงบประมาณ 2565

1

 

 

โครงการเพิ่มประสิทธิภาพวิสาหกิจชุมชน ปลาร้าบ้านหัวนา

 

กลุ่มวิสาหกิจชุมชนปลาร้าบ้านหัวนา (วัดจำปา บ้านหัวนา) ตำบลหนองแก้ว อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ

 

- คณะศิลปะศาสตร์และวิทยาศาสตร์

- คณะกรรมการดำเนินงานด้านบริการวิชาการ ระดับสถานะ

2

 

 

 

 

 

 

 

โครงการส่งเสริมสัมมาชีพชุมชนสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน พื้นที่ตำบลหนองแก้ว

อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ

 

 

 

 

1. โรงเรียนบ้านกอกหัวนา ตำบลหนองแก้ว อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ
2. ชุมชนบ้านหนองแก้ว(วัดสว่างวราราม) ตำบลหนองแก้ว อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ
3. ชุมชนบ้านเปือย (วัดบ้านเปือย) ตำบลหนองแก้ว อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ
4. ชุมชนบ้านกอก (วัดบ้านกอก) ตำบลหนองแก้ว อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ

 

- สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ

- คณะกรรมการดำเนินงานด้านบริการวิชาการ ระดับสถาบัน

 

 

 

 

 

3

 

โครงการการพัฒนาการเรียนรู้ต้นแบบกิจกรรมการเรียนรู้ทางพหุปัญญา

โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านหนองใหญ่ ตำบลรุง อำเภอกันทรลักษณ์ จังหวัดศรีสะเกษ

- คณะครุศาสตร์

- คณะกรรมการดำเนินงานด้านบริการวิชาการ ระดับสถาบัน

4

 

 

 

โครงการบริการวิชาการแก่สังคม

 

 

 

พื้นที่บริการวิชาการระดับสถาบัน

 

 

 

- สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ- - คณะกรรมการดำเนินงานด้านบริการวิชาการ ระดับสถาบัน

 

 

 

2มีการดำเนินงานตามวงจรคุณภาพ PDCA โดยร่วมมือกับหน่วยงานภายในหรือภายนอกมหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัย มีระบบและกลการดำเนินงานด้านบริการวิชาการ (3.1-2(1)) และดำเนินงานตามวงจรคุณภาพ PDCA โดยร่วมมือกับหน่วยงานภายในหรือภายนอกมหาวิทยาลัย ดังนี้

1. ขั้นตอนการวางแผน (P : PLAN)
    1.1 มีการจัดทำแผนกลยุทธ์การบริการวิชาการ ระยะ 5  ปี (พ.ศ.2561 - 2565) (3.1 - 2(2))  เพื่อเป็นเป้าหมายในการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน และถ่ายทอดแผนดังกล่าว สู่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น คณะ สำนัก สถาบัน เพื่อนำไปเป็นเป้าหมาย ในการกำหนดกิจกรรมโครงการพัฒนาชุมชนให้มีความสอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งได้มีการทบทวนและจัดทำแผนกลยุทธ์การบริการวิชาการ ระยะ 5  ปี (พ.ศ.2561 - 2565) ฉบับทบทวนปีงบประมาณ 2565 เสนอคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยพิจารณาให้ความเห็นชอบในการประชุม ครั้งที่ 11/2564 เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2564
    1.2 มีการจัดทำแผนบริการวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (3.1 - 2(3)) กำหนดกิจกรรมโครงการ งบประมาณ ระยะเวลา ผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน สอดคล้องกับเป้าหมายของแผนกลยุทธ์ด้านบริการวิชาการ โดยมีกิจกรรมโครงการตามแผน จำนวน 4 โครงการ และได้รับการจัดสรรงบประมาณในการดำเนินงาน จำนวน 1,100,000 บาท และนำแผนเสนอต่อที่ประชุมเสนอคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยพิจารณาให้ความเห็นชอบในการประชุม ครั้งที่ 11/2564 เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2564
    1.3 มีการจัดทำปฏิทินในการดำเนินงานด้านบริการวิชาการ (3.1 - 2(4)) โดยคณะกรรมการดำเนินงานด้านบริการวิชาการ ในการประชุม ครั้งที่ 1 / 2565 เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2564 ร่วมพิจารณาแนวทางการดำเนินงานโดยกำหนดปฏิทินการดำเนินงานประเมินการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2564 และการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาภายนอก (พ.ศ. 2564-2565)  เพื่อเป็นกรอบในการขับเคลื่อนพันธกิจด้านบริการวิชาการที่ชัดเจน เพื่อกำกับติดตามการดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2. ขั้นตอนการดำเนินงาน (D : DO)
    2.1 มีการดำเนินงานโครงการตามแผนบริการวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จำนวน 4 โครงการ ดำเนินการแล้วเสร็จ 4 โครงการ คิดเป็นร้อยละ 100 ส่งผลให้ชุมชนได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง  

ลำดับ

โครงการ

ชุมชน

ผลการดำเนินงาน

1

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

โครงการเพิ่มประสิทธิภาพวิสาหกิจชุมชน ปลาร้าบ้านหัวนา

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

กลุ่มวิสาหกิจชุมชนปลาร้าบ้านหัวนา  (วัดจำปาบ้านหัวนา) ตำบลหนองแก้ว อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

    มีกระบวนการผลิตน้ำปลาร้าที่เป็นมาตรฐานของกลุ่มวิสาหกิจโดยเกิดจากการวิเคราะห์ร่วมกันของคณะศิลปะศาสตร์และวิทยาศาสตร์กับกลุ่มผู้ผลิตน้ำปลาร้าบ้านหัวนา โดยเริ่มจากวิธีที่เป็นภูมิปัญญาชาวบ้าน จํานวน 2 สูตร ต่อยอดกระบวนการการผลิตออกเป็นขั้นตอนแล้วจับเวลาแต่ละขั้นตอนทั้ง 2 สูตร เพื่อหาเวลามาตรฐาน (Standardtime) ในการผลิต จากนั้นได้มีการการประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัส (Sensory evaluation) น้ำปลาร้าทั้ง 2 สูตรจากกลุ่มชาวบ้าน 20 คน ประชาชนทั่วไปอีก 20 คน ผลปรากฏว่า สูตรที่ 1 ได้รับความนิยมสูงสุดแต่ยังมีจุดที่ต้องปรับปรุงคือ ยังมีการใส่ผงชูรสในปริมาณต่อหน่วยที่มากอยู่ หลังจากนั้นคณะศิลปะศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ได้นําน้ำปลาร้าสูตรที่ 1 มาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงสูตร โดยตัดผงชูรสออกแต่เพิ่มใบหม่อนในปริมาณมากขึ้นกว่าเดิม จาก 2 ใบเป็น5 ใบเพื่อเพิ่มรสชาติ พอปรับปรุงสูตรเสร็จเรียบร้อยได้มีการทําการประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัส (Sensoryevaluation) อีก 1 รอบ จึงได้สูตรมาตรฐานสําหรับการผลิตน้ำปลาร้า ต่อปลาร้าดิบ 1 กิโลกรัม ให้ผลผลิตน้ำปลาร้าสุก 900 กรัม หรือ 900 มิลลิลิตร

    โดยกลุ่มวิสาหกิจชุมชนปลาร้าลําน้ำมูลบ้านหัวนาสามารถวิเคราะห์ต้นทุนในการผลิตน้ำปลาร้าได้ โดยได้ใช้กระบวนการ ECRS ในการปรับกระบวนการทํางานทั้งโซ่อุปทานของปลาร้าบ้านหัวนา ซึ่งได้เริ่มวิเคราะห์จากต้นทุนส่วนต้นน้พ คือ การหาปลาในลําน้ำมูล นํามาขายต่อให้ผู้ทําปลาร้าต่อน จากนั้นคิดต้นทุนการผลิตน้ำปลาร้าสุก รวมไปถึงคิดราคาบรรจุภัณฑ์ เพื่อตั้งเป็นราคาขายของกลุ่มฯ

 

2

โครงการส่งเสริมสัมมาชีพชุมชนสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน พื้นที่ตำบลหนองแก้ว

อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ

1. โรงเรียนบ้านกอกหัวนา ตำบลหนองแก้ว    อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ
2.ชุมชนบ้านหนองแก้ว (วัดสว่างวราราม) ตำบลหนองแก้ว อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ
3. ชุมชนบ้านเปือย (วัดบ้านเปือย) ตำบลหนองแก้ว อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ
4. ชุมชนบ้านกอก (วัดบ้านกอก) ตำบลหนองแก้ว  อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ

มีการดำเนินงานกิจกรรมพัฒนาอาชีพ  5 กิจกรรม คือ
    1. ส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชนการอบรมให้ความรู้และฝึกปฏิบัติการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากผ้าขิดและการตลาดออนไลน์ ในเขตพื้นที่ชุมชนบ้านหนองแก้ว(วัดสว่างวราราม) ตำบลหนองแก้ว อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ
    2. ส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพโรงเรียนเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านกอกหัวนา ตำบลกู่ อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ
    3) ส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง ในเขตพื้นที่ชุมชนบ้านเปือย (วัดบ้านเปือย) ตำบลหนองแก้ว อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ
    4. ส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชนการแปรรูปผลิตภัณฑ์พรมอเนกประสงค์ และการให้ความรู้ตลาดออนไลน์ ในเขตพื้นที่ชุมชนบ้านกอก (วัดบ้านกอก) ตำบลหนองแก้ว อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ
    5. ส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชนการอบรมให้ความรู้และฝึกปฏิบัติการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากผ้าฝ้ายทอมือและการตลาดออนไลน์ ในเขตพื้นที่ชุมชนบ้านกอก (วัดบ้านกอก) ตำบลหนองแก้ว อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ

3

โครงการพัฒนาการเรียนรู้ต้นแบบกิจกรรมการเรียนรู้ทางพหุปัญญา

โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านหนองใหญ่ตำบลรุง อำเภอกันทรลักษณ์ จังหวัดศรีสะเกษ

มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ โดยคณะครุศาสตร์จัดโครงการ การพัฒนาการเรียนรู้ต้นแบบกิจกรรมการเรียนรู้ทางพหุปัญญา โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ขึ้นในหลากหลายกิจกรรมเพื่อสนองงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้าฯ โดยมีการจัดกิจกรรมในหลากหลายกิจกรรม ผลการดำเนินงานตามโครงการบรรลุวัตถุประสงค์เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพตอบโจทย์ความต้องการของพื้นที่เป็นอย่างดี มีการดำเนินกิจกรรม ดังนี้
    1. การประชุมวิเคราะห์แนวทางการดำเนินงานร่วมกันระหว่างคณะครุศาสตร์ กับโรงเรียน
    2. ประชุมร่วมกับกรรมการสถานศึกษา และชุมชนผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง กลุ่มเป้าหมายคือ ผู้บริหาร คณะครูอาจารย์ ผู้นำชุมชน
    3. ประชุมเชิงปปฏิบัติการจัดท าแผนพัฒนาการเรียนรู้โรงเรียน “ต้นแบบการเรียนรู้กิจกรรม การเรียนรู้ทางพหุปัญญา (Multiple Intelligences Learning Activities : MILA)
    4.  อบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาครูส่งเสริมกิจกรรมการเรียนรู้ทางพหุปัญญา (MultipleIntelligences Learning Activities : MILA) 6 ด้าน (ด้านภาษา,ด้านตรรกะและคณิตศาสตร์,ด้านมิติ สัมพันธ์,ด้านดนตรี,ด้านธรรมชาติวิทยา,ด้านมนุษยสัมพันธ์)
    5. ส่งเสริมการเรียนรู้สื่อการศึกษาปฐมวัย และมอบสื่อให้กับโรงเรียน

4

โครงการบริการวิชาการแก่สังคม

พื้นที่บริการวิชาการระดับสถาบัน

ติดตาม ตรวจเยี่ยม และประเมินผลการดำเนินงานพื้นที่บริการวิชาการ ระดับ สถาบัน จำนวน 10 พื้นที่ ซึ่งทุกคณะ/สำนักมีส่วนร่วมในการพัฒนาพื้นที่ โดยการบูรณาการณ์ความร่วมมือทางวิชาการตามศาสตร์ความถนัดของคณะ

3. ขั้นตอนการตรวจสอบ/ประเมิน (C : CHECK)
    3.1 มีการจัดทำรายงานผลการประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนบริการวิชาการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (3.1 - 2(5)) โดยกำหนดตัวชี้วัด จำนวน 7 ตัวชี้วัด ผลการดำเนินงานบรรลุเป้าหมาย 7 ตัวชี้วัด โดยฝ่ายเลขาุนุการคณะกรรมการดำเนินงานด้านบริการวิชาการได้นำเสนอต่อคณะกรรมการดำเนินงานด้านบริการวิชาการ ในการประชุมเชิงปฏิบัติการ “การทบทวนและจัดทำแผนกลยุทธ์การบริการวิชาการ ระยะ 5 ปี พ.ศ. 2566 - 2570) และ เตรียมจัดทำแผนปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ในวันที่ 25 - 26 สิงหาคม 2565 เพื่อทราบและพิจารณา โดยมีข้อเสนอแนะในการพัฒนา จำนวน 2 ประเด็น ดังนี้
         - ควรทบทวนวัตถุประสงค์ของโครงการและวัตถุประสงค์ของแผนให้สะท้อนการดำเนินงานได้อย่างชัดเจน
         - ควรนำผลการประเมินพื้นที่เป้าหมายบริการวิชาการระดับสถาบันไปประกอบการพิจารณาทบทวนปรับปรุงแผนบริการวิชาการระยะยาว และ ระยะสั้น
    3.2) มีการกำกับติดตามการดำเนินงานตามแผนบริการวิชาการฯ ผ่านการประชุมคณะกรรมการดำเนินงานด้านบริการวิชาการ และคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยในวาระสืบเนื่อง (3.1 - 2(6)) อย่างต่อเนื่อง
    3.3) มีการลงพื้นที่ติดตามตรวจเยี่ยมการดำเนินงานโครงการบริการวิชาการ ในพื้นที่บริการวิชาการของมหาวิทยาลัย จำนวน 10 พื้นที่ ในระหว่างวันที่ 2 – 25 กรกฎาคม 2565 และจัดทำรายงานผลการประเมินการดำเนินงานตามระบบกลไกและกลไกการบริการวิชาการ (3.1 - 2(7) เสนอต่อคณะกรรมการดำเนินงานด้านบริการวิชาการเพื่อใช้ในการเป็นแนวทางการ  “การทบทวนและจัดทำแผนกลยุทธ์การบริการวิชาการ ระยะ 5 ปี พ.ศ. 2566 - 2570) และ เตรียมจัดทำแผนปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ในวันที่ 25 - 26 สิงหาคม 2565

4. ขั้นตอนการปรับปรุง (A : ACT)
    มีการนำข้อเสนอแนะจากการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในปีที่ผ่านมา มาทำแผนพัฒนาคุณภาพด้านการบริการวิชาการ (3.1 - 2(8)) เป็นแนวทางการพัฒนา ระยะเวลา และ ผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน ปรับปรุง แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น นำไปสู่การพัฒนาให้ชุมชนเข้มแข็ง พึ่งพาตนเองได้ต่อไป ดังนีั้

ข้อเสนอแนะ

การปรับปรุง

1. การบริการวิชาการเพื่อให้เกิดประโยชน์และส่งผลกระทบต่อกลุ่มเป้าหมายได้จริงเห็นผลเป็นรูปธรรมควรตั้งโจทย์และกำหนดผลลัพธ์ (Output, Outcome) ให้ชัดเจนแล้วหาเครือข่ายความร่วมมือ เพื่อบูรณาการองค์ความรู้ภายในคณะร่วมกับคณะหรือหน่วยงานอื่นทั้งภายในและภายนอกเพื่อดำเนินการให้ตอบโจทย์และได้ผลลัพธ์ตามกำหนด เพื่อสร้างโอกาสที่จะได้รับการสนับสนุนทุนจากแหล่งทุนภายนอกสูงส่งผลให้สามารถทำโครงการบริการวิชาการที่มี Impact ต่อกลุ่มเป้าหมายอย่างเป็นรูปธรรม

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

(✓) ดำเนินการแล้ว :
   - มหาวิทยาลัยแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารงานด้านบริการวิชาการ  คณะกรรมการดำเนินงานด้านบริการวิชาการ จากตัวแทนของทุกหน่วยงาน ทั้งระดับบริหารและระดับปฏิบัติงาน เพื่อกำหนดทิศทางและกลไกการขับเคลื่อนพันธกิจด้านบริการวิชาการ
   - ประชุมคณะกรรมการร่วมพิจารณากำหนดทิศทางและกลไกการขับเคลื่อนพันธกิจด้านบริการวิชาการ เช่น แนวทางการเลือกพื้นที่กลุ่มเป้าหมาย ประเด็นโจทย์ปัญหา การวิเคราะห์บริบทของชุมชน การสร้างเครือข่ายความร่วมมือ การวิเคราะห์และประเมินผลลัพธ์  ให้ครอบคลุมมิติด้านสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม
    - วางแผนและดำเนินงานด้านการบริการวิชาการตามวงจรคุณภาพ (PDCA) ด้วยการบูรณาการศาสตร์เพื่อพัฒนาชุมชนท้องถิ่นให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนและกลุ่มเป้าหมายอย่างเป็นรูปธรรม

(✓) แผนงานที่จะดำเนินงานในอนาคต :
    จัดทำแผนกลยุทธการบริการวิชาการ ระดับสถาบัน ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566 – 2570)

2. ควรมีการประเมินแผนการบริการวิชาการตามเป้าประสงค์ของแผนและวัตถุประสงค์โครงการกิจกรรมในแผนอย่างเป็นรูปธรรมชัดเจนแล้วนำผลการประเมินมาปรับปรุงแผนเพื่อยกระดับคุณภาพของการบริการวิชาการของมหาวิทยาลัยอย่างต่อเนื่อง

(✓) ดำเนินการแล้ว :
    ประชุมคณะกรรมการร่วมพิจารณาทบทวนและประเมินผลการดำเนินงานโครงการตามแผนการบริการวิชาการ เพื่อให้ทราบผลการดำเนินงานได้ตามเป้าหมายเพียงใด เกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผล  เกิดความคุ้มค่า และเกิด Impact อย่างไรบ้าง

(✓) แผนงานที่จะดำเนินงานในอนาคต :
     นำผลการประเมินมาปรับปรุงแผนเพื่อยกระดับคุณภาพการบริการวิชาการของมหาวิทยาลัย

5. มีหน่วยงานภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยให้ความร่วมมือในการพัฒนาชุมชน
    5.1 มีการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานด้านบริการวิชาการ ประจำปีการศึกษา 2565 โดยมีตัวแทนจากทุกคณะ/สำนัก/สถาบัน เป็นคณะกรรมการเพื่อร่วมมือกันนำองค์ความรู้ที่ความหลากหลายของแต่ละหน่วยงานมาบูรณาการขับเคลื่อนพันธกิจด้านบริการวิชาการของมหาวิทยาลัย และร่วมกันจัดกิจกรรมโครงการตามแผนเพื่อขับเคลื่อนชุมชนให้สามารถพึงพาตนเองได้อย่างเข้มแข็ง
    5.2 มีการสร้างเครือข่ายความร่วมมือจากหน่วยงานภายนอกเพิ่มเติม เช่น โครงการเพิ่มศักยภาพการเรียนรู้ศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน มีโรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายความมั่นคงทางอาหาร จำนวน 14 โรงเรียน ซึ่งปีการศึกษา 2565 มีพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) เพิ่มเติม ในวันที่ 23 พฤษภาคม 2565 จำนวน 7 โรงเรียน ดังนี้ (1)โรงเรียนไกรภักดีวิทยาคม (2)โรงเรียนสตรีสิริเกศ (3)โรงเรียนละลมวิทยา (4)โรงเรียนพอกพิทยาคม รัชมังคลาภิเษก (5)โรงเรียนบ้านหนองแก้ว (ราษฏร์ผดุงวิทยา) (6)โรงเรียนบ้านตะเคียนช่างเหล็ก (7)โรงเรียนบ้านเมืองน้อยหนองมุข มีผลใช้บังคับเป็นระยะเวลา 1 ปี (พ.ศ.2565 – พ.ศ.2566) มีวัตถุประสงค์ตามข้อตกลงความมือทางวิชาการและเพื่อส่งเสริมการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการสร้างแหล่งเรียนรู้ความมั่นคงทางอาหารให้แก่ท้องถิ่นและโรงเรียน

3ชุมชนหรือองค์กรมีผู้นำหรือสมาชิกที่มีการเรียนรู้และดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง

มหาวิทยาลัย มีการกำหนดชุมชนเป้าหมายในการพัฒนา ที่มีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 3 ปี จำนวน 10 พื้น โดยมีเป้าหมายในปีงบประมาณ 2565 จำนวน 2 ชุมชน คือ 1) ชุมชนบ้านหัวนา อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ และ 2) โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านหนองใหญ่ อำเภอกันทรลักษณ์ จังหวัดศรีสะเกษ และมีการส่งเสริมสนับสนุนให้ทุกคณะจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาชุมชนดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง จนส่งผลให้ชุมชนมีการเรียนรู้และดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง ตามรายงานการติดตามพื้นที่เป้าหมา่ยการดำเนินงานด้านบริการวิชาการ ระดับสถาบัน ปีงบประมาณ 2565 (3.1-3(1) ดังนี้

ชุมชน

การดำเนินงานของมหาวิทยาลัย

การต่อยอดของชุมชน

1. ชุมชนบ้านหัวนา ตำบลหนองแก้ว อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ

    มหาวิทยาลัย ได้มีการดำเนินโครงการบริการวิชาการในพื้นที่ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 มาอย่างต่อเนื่องทุกปี จนถึงปัจจุบัน จากการติดตามผลการดำเนินงานในพื้นที่ ชุมชนมีพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง มีการดำเนินงานกิจกรรมและกลุ่มอาชีพ ตลอดจนประเพณีชุมชน ด้วยตนเองมา โดยมีมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ เป็นที่ปรึกษา และได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอกได้แก่ ศูนย์พัฒนานโยบายสาธารณะจังหวัดศรีสะเกษ องค์กรปกครองปกครองส่วนของถิ่น และพัฒนาชุมชน ทำให้มีกลุ่มอาชีพเพิ่มขึ้น เช่น
     - กลุ่มวิสาหกิจชุมชนปลาร้าบ้านหัวนา ที่เข้มแข็ง มีสูตรปลาร้าที่ได้มาตรฐาน และกลุ่มวิสาหกิจชุมชนปลาร้าลําน้ำมูลบ้านหัวนาสามารถวิเคราะห์ต้นทุนในการผลิตน้ำปลาร้าได้ โดยได้ใช้กระบวนการ ECRS ในการปรับกระบวนการทํางานทั้งโซ่อุปทานของปลาร้าบ้านหัวนา ซึ่งได้เริ่มวิเคราะห์จากต้นทุน ส่วนต้นน้ำ คือ การหาปลาในลําน้ำมูล นํามาขายต่อให้ผู้ทําปลาร้าต่อน จากนั้นคิดต้นทุนการผลิตน้ำปลาร้าสุก รวมไปถึงคิดราคาบรรจุภัณฑ์ เพื่อตั้งเป็นราคาขายของกลุ่มฯ
    -. กลุ่มอาชีพผู้ผลิตปลาส้ม ทั้งนี้ เกิดประเพณีประจำปีของหมู่บ้าน คือ งานข้าวใหม่ปลามัน โดยมีหน่วยงานการ เอกชน และนักท่องเที่ยว จำนวนมาก มีการแสดงวัฒนธรรมฟ้อนกองตุ้ม มีการจำหน่ายอาหารประจำถิ่นขันโตก มีการจัดจำหน่ายสินค้าประจำหมู่บ้าน เช่น ปลาส้ม อ่องปูนา ผ้าไหม และอื่นๆทำให้ชุมชนมีรายได้ จากการจำหน่ายสินค้า ผลิตภัณฑ์ชุมชนในงานเทศกาลประจำปีของจังหวัด เช่น เทศกาลงานแสงสีเสียงงานดอกลำดวนบาน งานกาชาด การจัดแสดงนิทรรศการของหน่วยงานของรัฐๆ ภายในจังหวัด และอื่นๆ การดำเนินงานเป็นที่ยอมรับส่งผลให้ชุมชนบ้านหัวนาเป็นชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมแหล่งใหม่ของจังหวัดศรีสะเกษ มีนักท่องเที่ยวจำนวนมากแวะเวียนมาไม่ขาดสายมีแหล่งเรียนรู้ชาติพันธ์ สี่เผ่าไทยที่ เกิดการยอมรับจากหน่วยงาน เช่น วัฒนธรรมจังหวัดศรีสะเกษ และหน่วยงานอื่นๆ อย่างกว้างขวาง ที่สำคัญบ้านหัวนา ยังเป็นชุมชนที่มหาวิทยาลัยคัดเลือกให้พื้นที่เป้าหมายของมหาวิทยาลัยเพื่อมุ่งพัฒนาสู่ชุมชนต้นแบบของมหาวิทยาลัยโดยชุมชนมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องผลงานเป็นประจักษ์ จนได้มีโอกาสครั้งสำคัญในการต้อนรับ  พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ องคมนตรี ในการลงพื้นที่ เพื่อติดตามการดำเนินงานพื้นที่เป้าหมายตามยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ด้วย

       มหาวิทยาลัย ได้มีการดำเนินโครงการบริการวิชาการในพื้นที่ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 มาอย่างต่อเนื่องทุกปี จนถึงปัจจุบัน จากการติดตามผลการดำเนินงานในพื้นที่ ชุมชนมีพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง มีการดำเนินงานกิจกรรมและกลุ่มอาชีพ ตลอดจนประเพณีชุมชน ด้วยตนเองมา โดยมีมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ เป็นที่ปรึกษา และได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอกได้แก่ศูนย์พัฒนานโยบายสาธารณะจังหวัดศรีสะเกษ องค์กรปกครองปกครองส่วนของถิ่น และพัฒนาชุมชน  เช่น กลุ่มวิสาหกิจชุมชนปลาร้าบ้านหัวนา ที่เข้มแข็ง มีสูตรปลาร้าทีได้มาตรฐาน และกลุ่มสามารถวิเคราะห์ต้นทุนในการผลิตน้ำปลาร้าได้ ปัจจุบันมีสูตรปลาร้าเพิ่ม และได้รับการสนับสนุนจัดวัดจำปา หัวนาในการใช้สถานที่ในการรวมกลุ่ม กลุ่มมีแผนที่จะทำโรงเรือนเพื่อสร้างมาตรฐานการผลิตมุ่งเพื่อขอมาตรฐาน อย. มีกระบวนการในการดำเนินงานด้วยตนเอง เพื่อทำประชาคม และขอใช้พื้นที่จากองค์การบริหารส่วนตำบลเพื่อสร้างโรงเรือนต่อไป

2. โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน บ้านหนองใหญ่ อำเภอกันทรลักษณ์ จังหวัดศรีสะเกษ

เป็นพื้นที่เป้าหมายการพัฒนาของมหาวิทยาลัย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 ดำเนินงานมาอย่างต่อเนื่องทุกปี จนถึงปัจจุบัน ซึ่งมหาวิทยาลัยได้ลงพื้นที่ จัดกิจกรรม เช่น 
    1) โครงการพัฒนาศักยภาพชุมชนในการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมบริเวณโรงเรียนให้มีความยั่งยืน และโครงการเสริมสร้างทักษะอาชีพและพัฒนาศักยภาพการแข่งขันทางการตลาดกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ดำเนินงานโดยคณะศิลปะศาสตร์และวิทยาศาสตร์ เป็นหลักและบูรณาการ วางแผนการดำเนินงานร่วมกันกับคณะ/สำนัก
    2) โครงการบริการวิชาการคณะครุศาสตร์สู่โรงเรียน  ดำเนินงานโดยคณะครุศาสตร์ เป็นหลักและบูรณาการ วางแผนการดำเนินงานร่วมกันกับคณะ/สำนัก
     3) โครงการหน้าบ้าน น่ามอง ชุมชนน่าอยู่ ดำเนินงานโดยคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์เป็นหลักและบูรณาการ วางแผนการดำเนินงานร่วมกันกับคณะ/สำนัก
     4) โครงการเสริมสร้างทักษะอาชีพและพัฒนาศักยภาพการแข่งขันทางการตลาดกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ดำเนินงานโดยคณะบริหารธุรกิจและการบัญชีเป็นหลักและบูรณาการ  วางแผนการดำเนินงานร่วมกันกับคณะ/สำนัก
    5) โครงการอบรมการซ่อมบำรุงเครื่องคอมพิวเตอร์เบื้องต้นดำเนินงานโดยสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ เป็นหลักและบูรณาการ วางแผนการดำเนินงานร่วมกันกับคณะ/สำนัก
    การดำเนินงานเป็นที่ยอมรับด้านแหล่งเรียนรู้และการนำนวัตกรรมการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ๆ ผลิตชุดการเรียนการสอน ชุดฝึกทักษะการเรียนรู้ รูปแบบการฝึกความคิดสร้างสรรค์ กระตุ้นความคิดของนักเรียน และสามารถดึงดูดความสนใจ ของนักเรียนได้มีคณะกรรมการบริหารกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่เข้มแข็ง และมีการสร้างกลไกในการขับเคลื่อน ทำให้มีหน่วยงานต่างๆมาดูงานอย่างต่อเนื่อง

    โรงเรียนได้แต่งตั้งคณะทำงาน ในการคัดแยกขยะตามประเภท มีการต่อยอดโดยการจัดตั้งธนาคารขยะ จัดทำบัญชีรายรับรายจ่ายอย่างเป็นระบบ และนำฝากธนาคารออมสินชื่อบัญชี ลดปัญหาขยะในโรงเรียนและชุมชนนำนวัตกรรมการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ๆ และผลิตชุดการเรียนการสอน และชุดฝึกทักษะการเรียนรู้ รูปแบบการฝึกความคิดสร้างสรรค์ กระตุ้นความคิดของนักเรียน และสามารถดึงดูดความสนใจของนักเรียนได้มีคณะกรรมการบริหาร  กลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่เข้มแข็ง และมีการสร้างกลไกในการขับเคลื่อน ดังนี้
    1) มีการทำบัญชีรายรับรายจ่าย
    2) ชุมชนมีการขยายโรงเรือนเพาะเห็นนางฟ้าเพิ่มขึ้น
    3) ชุมชนสามารถเป็นวิทยากรในการบรรยาย เรื่อง การเพาะเห็ดนางฟ้า อาทิ ชุมชนได้รับเชิญจากโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านหนองใหญ่ ให้เป็นวิทยากรในการเพาะเห็ดนางฟ้า การสร้างโรงเรือน การดูแล  และการบริหารจัดการ  ส่งผลให้โรงเรียนสามารถเพาะเห็ดนางฟ้า เพื่อเป็นอาหารกลางวันให้กับนักเรียน  สามารถลดรายจ่ายค่าอาหารกลางวันได้เฉลี่ย 100-200 บาทต่อมื้อ ซึ่งเห็ดนางฟ้าที่เหลือในแต่ละวัน นักเรียนก็ยังสามารถนำกลับไปประกอบอาหารที่บ้านของตนได้
    4) มีหน่วยงานภายนอกศึกษาดูงานการจัดการการแหล่งเรียนรู้ของโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง

4ชุมชนหรือองค์กรสร้างกลไกที่มีการพัฒนาตนเอง โดยคงอัตลักษณ์ของคนในชุมชนและเอกลักษณ์ของท้องถิ่นอย่างต่อเนื่องหรือยั่งยืน

ชุมชนมีกลไกการพัฒนาตนเอง อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ตามรายงานผลการติดตามผลการดำเนินงาน 3.1-4(1) ดังนี้

1. ชุมชนบ้านหัวนา ตำบลหนองแก้ว อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ 
                เป็นพื้นที่เป้าหมายในการพัฒนาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 และมีการดำเนินงานกิจกรรมโครงการ ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาชุมชนมาอย่างต่อเนื่อง โดยนำองค์ความรู้ศาสตร์วิชาต่างๆ ตามความเชี่ยวชาญของทุกคณะบูรณาการกิจกรรมเพื่อพัฒนาชุมชน เช่น
           - โครงการส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงลูกอ๊อด เลี้ยงกบ เลี้ยงปูนา และหอยนา
           - โครงการส่งเสริมอาชีพการประดิษฐ์ดอกไม้จันทน์
           - โครงการส่งเสริมอาชีพการแปรรูปผลิตภัณฑ์ฟาร์มปูนาศรีสะเกษ
           - โครงการส่งเสริมการตลาดออนไลน์ และการจัดทำบัญชีต้นทุนเพื่อชุมชนเข้มแข็ง
           - โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าขิด เพื่อส่งเสริมอาชีพอย่างยั่งยืน
           - โครงการอบรมให้ความรู้เรื่องการจัดพิพิธภัณฑ์ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ชุมชน
           - โครงการ พัฒนาศักยภาพการออกแบบและผลิตสินค้าชุมชนจากภูมิปัญญาสู่ตลาดชุมชนและ      ตลาดดิจิทัล
           - โครงการเพิ่มประสิทธิภาพวิสาหกิจชุมชน ปลาร้าบ้านหัวนา
           - โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ปลาส้ม
           - โครงการกฐินทางน้ำ เป็นต้น
    จากการดำเนินการดังกล่าว ส่งผลให้ชุมชนมีการสร้างกลไกในการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ตามรายงานติดตามผลการดำเนินงานโครงการบริการวิชาการ พื้นที่บ้านหัวนา  เช่น 
    - กลุ่มวิสากิจวิสาหกิจชุมชนปลาร้าบ้านหัวนา ได้รับการสนับสนุนจากวัดจำปาหัวนาใช้สถานที่ในการรวบกลุ่ม ซึ่งมีการนำผลิตภัณฑ์ไปขายในงานเทศกาลต่างๆ และขายเป็นประจำ
    - สร้างเพจฟาร์มปูนาศรีสะเกษขึ้นมา เพื่อจำหน่ายและประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์จากปูนา     โดยเฉพาะ ซึ่งมีแฟนเพจที่ซื้อสินค้าและติดตามกิจกรรมต่างๆ ของฟาร์ม จำนวน 5,150 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 21ธ.ค.2564) และจำนวนแฟนเพจยังมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทุกวัน โดยชุมชนแปรรูปเสร็จจะจำหน่ายเองในชุมชน ตลาดชุมชน เฟชบุ๊คส่วนตัว ไลน์ และบางส่วนได้นำมาฝากผู้จัดทำโครงการจำหน่ายผ่านเพจฟาร์มปูนา และนำเข้าจำหน่ายในตลาด Shopee
    -วัฒนธรรมประเพณีที่สืบทอดกันมาตั้งแต่โบราณของชุมชนบ้านหัวนา ซึ่งประกอบด้วยขบวนแห่องค์กฐิน ขบวนแห่เรือที่มีการเห่อย่างไพเราะและสื่อความหมาย ที่ห่างหายไปนาน ได้กลับทำอีกครั้ง และมีการดำเนินงานมาอย่างต่อเนื่องทุกปี มีการนำมาเรือจากชาวบ้านในชุมชนเข้าร่วมพิธีเคลื่อนองค์กฐินไปยังวัดจำปา และมีการทำบุญตักบาตรร่วมกันทุกปี

2. โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านหนองใหญ่ อำเภอกันทรลักษณ์ จังหวัดศรีสะเกษ
    
เป็นพื้นที่เป้าหมายในการพัฒนาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 และมีการดำเนินส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาชุมชนมาอย่างต่อเนื่อง โดยนำองค์ความรู้ศาสตร์วิชาต่างๆ ตามความเชี่ยวชาญของทุกคณะบูรณาการกิจกรรมเพื่อพัฒนาชุมชน เช่น
    - โครงการพัฒนาศักยภาพชุมชนในการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมบริเวณโรงเรียนให้มีความยั่งยืน และโครงการเสริมสร้างทักษะอาชีพและพัฒนาศักยภาพการแข่งขันทางการตลาดกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ดำเนินงานโดยคณะศิลปะศาสตร์และวิทยาศาสตร์ เป็นหลักและบูรณาการ วางแผนการดำเนินงานร่วมกันกับคณะ/สำนัก
    - โครงการบริการวิชาการคณะครุศาสตร์สู่โรงเรียน ดำเนินงานโดยคณะครุศาสตร์ เป็นหลักและบูรณาการ วางแผนการดำเนินงานร่วมกันกับคณะ/สำนัก
    - โครงการหน้าบ้าน น่ามอง ชุมชนน่าอยู่ ดำเนินงานโดยคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์เป็นหลักและบูรณาการ วางแผนการดำเนินงานร่วมกันกับคณะ/สำนัก
    - โครงการเสริมสร้างทักษะอาชีพและพัฒนาศักยภาพการแข่งขันทางการตลาดกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ดำเนินงานโดยคณะบริหารธุรกิจและการบัญชีเป็นหลักและบูรณาการ วางแผนการดำเนินงานร่วมกันกับคณะ/สำนัก
    - โครงการอบรมการซ่อมบำรุงเครื่องคอมพิวเตอร์เบื้องต้นดำเนินงานโดยสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ เป็นหลักและบูรณาการ วางแผนการดำเนินงานร่วมกันกับคณะ/สำนัก
    จากการดำเนินการดังกล่าว ส่งผลให้ชุมชนมีการสร้างกลไกในการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง รายงานติดตามผลการดำเนินงานโครงการบริการวิชาการ พื้นที่โรงเรียนตำรวจตระเวนชายเดนบ้านหนองใหญ่  เช่น มีการทำบัญชีรายรับรายจ่าย ชุมชนมีการขยายโรงเรือนเพาะเห็นนางฟ้าเพิ่มขึ้น ชุมชนสามารถเป็นวิทยากรในการบรรยาย เรื่อง การเพาะเห็ดนางฟ้า อาทิ ชุมชนได้รับเชิญจากโรงเรียนตำรวจตะเวนชายแดนบ้านหนองใหญ่ ให้เป็นวิทยากรในการเพาะเห็ดนางฟ้า การสร้างโรงเรือน การดูแล  และการบริหารจัดการ  ส่งผลให้โรงเรียนสามารถเพาะเห็ดนางฟ้า เพื่อเป็นอาหารกลางวันให้กับนักเรียน  สามารถลดรายจ่ายค่าอาหารกลางวันได้เฉลี่ย 100-200 บาทต่อมื้อ ซึ่งเห็ดนางฟ้าที่เหลือในแต่ละวัน นักเรียนก็ยังสามารถนำกลับไปประกอบอาหารที่บ้านของตนได้ มีหน่วยงานภายนอกศึกษาดูงานการจัดการการแหล่งเรียนรู้ของโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง

 

5มีผลกระทบที่เกิดประโยชน์สร้างคุณค่าต่อสังคม หรือชุมชน/องค์กรอย่างเข้มแข็ง

 มีผลกระทบที่เกิดประโยชน์และสร้างคุณค่าต่อสังคม หรือชุมชน/องค์กรอย่างเข้มแข็ง  ดังนี้

1. ชุมชนบ้านหัวนา อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ 
    เป็นพื้นที่เป้าหมายในการพัฒนาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 และมีการดำเนินส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาชุมชนมาอย่างต่อเนื่อง โดยนำองค์ความรู้ศาสตร์วิชาต่างๆ ตามความเชี่ยวชาญของทุกคณะ บูรณาการกิจกรรมเพื่อพัฒนาชุมชน จากการติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน (3.1-5(1)) พบว่าการดำเนินงานส่งผลให้ชุมชนมีผลกระทบที่เกิดประโยชน์สร้างคุณค่าอย่างเข้มแข็งทางด้านเศรษฐกิจ (In Cash) สังคม (In Kind) และเครือข่าย (Development Network) ในการขับเคลื่อนพัฒนาชุมชนอย่างเข้มแข็ง ดังนี้
    1.1 มีจุดเด่นด้านเศรษฐกิจ (In Cash) จากการดำเนินงานดังกล่าว ส่งผลให้ชุมชนมีรายได้ ดังนี้
           1) มีรายได้จากการจัดงานประเพณีประจำปีของหมู่บ้าน คือ งานข้าวใหม่ปลามัน โดยมีหน่วยงานการ เอกชน และนักท่องเที่ยว จำนวนมาก มีการแสดงวัฒนธรรมฟ้อนกองตุ้ม มีการจำหน่ายอาหารประจำถิ่นขันโตก มีการจัดจำหน่ายสินค้าประจำหมู่บ้าน เช่น ปลาส้ม อ่องปูนา ผ้าไหม และอื่นๆ
           2) มีรายได้จากการจำหน่ายสินค้า ผลิตภัณฑ์ชุมชนในงานเทศกาลประจำปีของจังหวัด เช่น เทศกาลงานแสงสีเสียงงานดอกลำดวนบาน งานกาชาด การจัดแสดงนิทรรศการของหน่วยงานของรัฐๆ ภายในจังหวัด และอื่นๆ
           3) มีรายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชนที่เป็นสินค้าโอทอป เช่น จำหน่ายปลา ปูนา อ่องปูนา พรหมเช็ดเช้า ผ้าไหม ฯลฯ โดยเฉลี่ยมีรายได้จากการแปรรูปและจำหน่ายผ่านตลาดออนไลน์อาทิตย์ละ 5,000-12,000 บาท สร้างรายได้ให้กับชุมชนอย่างต่อเนื่อง ประมาณ 152,325 บาท และมีแนวโน้มความต้องการทางการตลาดมากขึ้นเรื่อยๆ คาดว่าหากบริหารจัดการปูได้ดีตลอดทั้งปี จะสามารถสร้างความเป็นอยู่ที่ดีให้กับชุมชนได้เป็นอย่างดี
    1.2 สังคม (In Kind) จากการดำเนินงานดังกล่าว ส่งผลให้ :ชนบ้านหัวนาเป็นชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมแหล่งใหม่ของจังหวัดศรีสะเกษ มีนักท่องเที่ยวจำนวนมากแวะเวียนมาไม่ขาดสาย มีแหล่งเรียนรู้ชาติพันธ์สี่เผ่าไทยที่เกิดการยอมรับจากหน่วยงาน เช่น วัฒนธรรมจังหวัดศรีสะเกษ และหน่วยงานอื่นๆ อย่างกว้างขวาง ที่สำคัญบ้านหัวนา ยังเป็นชุมชนที่มหาวิทยาลัยคัดเลือกให้เป็นชุมชนต้นแบบ และเป็นตัวแทนชาติพันธ์ลาวเข้าร่วมจัดแสดงผลงานนิทรรศการสี่เผ่าไทย ในงานแสงสีเสียงประจำจังหวัดทุกปี นอกเหนือจากนั้นมหาวิทยาลัยและชุมชนได้มีโอกาสครั้งสำคัญในการต้อนรับ พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ องคมนตรี ในการลงพื้นที่เพื่อติดตามการดำเนินงานพื้นที่เป้าหมายตามยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ   
    1.3 เครือข่าย (Development Network) มีเครือข่ายร่วมพัฒนา ได้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ศูนย์พัฒนานโยบายสาธารณะจังหวัดศรีสะเกษ องค์การบริหารส่วนตำบลหัวนา สำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดศรีสะเกษ วัดจำปาหัวนา และโรงเรียนบ้านกอกหัวนา

2. โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านหนองใหญ่ อำเภอกันทรลักษณ์ จังหวัดศรีสะเกษ
    
เป็นพื้นที่เป้าหมายในการพัฒนาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 และมีการดำเนินส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาชุมชนมาอย่างต่อเนื่อง โดยนำองค์ความรู้ศาสตร์วิชาต่างๆ ตามความเชี่ยวชาญของทุกคณะ บูรณาการกิจกรรมเพื่อพัฒนาชุมชน จากการติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน (3.1-5(1)) พบว่าการดำเนินงานส่งผลให้ชุมชนมีผลกระทบที่เกิดประโยชน์สร้างคุณค่าอย่างเข้มแข็งทางด้านเศรษฐกิจ (In Cash) สังคม (In Kind) และเครือข่าย (Development Network) ในการขับเคลื่อนพัฒนาชุมชนอย่างเข้มแข็ง ดังนี้
    2.1  มีจุดเด่นด้านเศรษฐกิจ (In Cash) กลุ่มเพาะเห็ดมีรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 มีผลผลิตออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง
    2.2  สังคม (In Kind) อาชีพส่งผลให้โรงเรียนมีความโดดเด่นด้านการใช้สร้างสื่อ และแหล่งเรียนรู้ ทำให้ชุมชนและนักเรียนมีแหล่งเรียนรู้ที่สามารถเรียนรู้ได้ตลอดเวลา มีการรวบกลุ่มทำกิจกรรม ร่วมกันระหว่างชุมชนและโรงเรียนเกิดความรักความสามัคคี สัมพันธ์อันดีนี้ ส่งผลดีต่อการบูรณ์การความร่วมมือในการพัฒนาการเรียนการสอน และพัฒนาชุมชนให้ดีและยั่งยืน
    2.3 เครือข่าย (Development Network) มีเครือข่ายร่วมพัฒนา ได้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 22

 

6เกิดชุมชนต้นแบบด้านการพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน ที่มีคณะและมหาวิทยาลัย เป็นผู้รับผิดชอบร่วมในการพัฒนาอย่างน้อย 1 ชุมชน

เกิดชุมชนต้นแบบด้านการพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน ที่มีคณะและมหาวิทยาลัย เป็นผู้รับผิดชอบร่วมในการพัฒนาจำนวน 2 ชุมชน ตามรายงานผลการติดตามความยั่งยืนอันเนื่องมาจากการบริการวิชาการแก่สังคม ของมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ดังนี้

1. ชุมชนบ้านหัวนา อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ
    มหาวิทยาลัย ได้กำหนดให้ชุมชนบ้านหัวนา อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ เป็นพื้นที่เป้าหมายในการพัฒนาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2565 และมีการดำเนินส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาชุมชนมาอย่างต่อเนื่อง โดยนำองค์ความรู้ศาสตร์วิชาต่างๆ ตามความเชี่ยวชาญของทุกคณะ บูรณาการกิจกรรมเพื่อพัฒนา ส่งผลให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง พึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน มีจุดเด่นด้านต่างๆ ที่น่าสนใจที่สามารถดึงดูดนักเที่ยวเข้ามาจำนวนมาก เช่น ประเพณีการแห่กระฐินทางนำ มีผลิตภัณฑ์สินค้าโอท็อปชุมชนทั้งปลาส้ม อ่องปูนา มีการจัดกิจกรรมประจำปีที่มีนักท่องเที่ยวจำนวนมาก เป็นต้น เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการจำหน่ายสินค้า เพิ่มขึ้น จึงทำให้บ้านหัวนาได้รับรางวัลการันตีมากมายจากหน่วยงานต่างๆ เช่น

ลำดับ

หน่วยงาน

รางวัล/ผลงาน

ได้รับรางวัลจาก

1

ชุมชนบ้านหัวนา

ได้รับโล่เกียรติคุณเป็นหมู่บ้านรักษาศีล 5 ต้นแบบ ประจำปี 2561

วัดไร่ขิง (พระอารามหลวง)

2

วัดจำปา ชุมชนบ้านหัวนา

ได้รับโล่เกียรติคุณเป็นวัดพัฒนาตัวอย่างที่มีผลงานดีเด่น ประจำปี 2561

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

3

ชุมชนบ้านหัวนา

ได้รับโล่รางวัลวัฒนคุณาธร ชุมชนคุณธรรมต้นแบบ ผู้ทำคุณประโยชน์ต่อกระทรวงวัฒนธรรม ระดับประเทศ ประจำปี 2561

จากกระทรวงวัฒนธรรม

4

ชุมชนบ้านหัวนา

ได้รับโล่เกียรติคุณเป็นชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถีดีเด่นระดับจังหวัดศรีสะเกษ ประจำปี 2561

จังหวัดศรีสะเกษ

5

ชุมชนบ้านหัวนา

ได้รับเกียรติคุณบัตรในการสนับสนุนการจัดนิทรรศการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประจำปี 2561

จังหวัดศรีสะเกษ

6

ชุมชนบ้านหัวนา

ได้รับเกียรติคุณบัตรรางวัลชนะเลิศอันดับที่ 3 หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง “อยู่เย็น เป็นสุข” ดีเด่นระดับจังหวัด ประจำปี 2562

จังหวัดศรีสะเกษ

7

วัดจำปา ชุมชนบ้านหัวนา

ได้รับโล่เกียรติคุณเป็นลานธรรม ลานวิถีไทย ต้นแบบ ประจำปี 2562

กรมการศาสนา

8

วัดจำปา ชุมชนบ้านหัวนา

ได้รับเกียรติคุณบัตรเป็นอุทยานการเรียนรู้ศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ประจำปี 2562

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

9

ชุมชนบ้านหัวนา

ได้รับเกียรติคุณบัตรผ่านการรับรองด้วยระบบมาตรฐานการพัฒนาชุมชน (มชช.) ประจำปี 2562

จังหวัดศรีสะเกษ

10

กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านหัวนา

ได้รับเกียรติคุณบัตรผ่านการรับรองด้วยระบบมาตรฐานการพัฒนาชุมชน (มชช.) ประจำปี 2562

จังหวัดศรีสะเกษ

11

ชุมชนบ้านหัวนา

ได้รับเกียรติคุณบัตรรางวัลดีเด่นระดับอำเภอการประกวดหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ “อยู่เย็นเป็นสุข” ประจำปี 2562

อำเภอกันทรารมย์

12

กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านหัวนา

ได้รับเกียรติคุณบัตรรางวัลดีเด่นระดับอำเภอการประกวดกิจกรรมพัฒนาชุมชนดีเด่น ประเภท กลุ่ม/องค์กรชุมชนแกนนำหลักสำคัญในการพัฒนาหมู่บ้านประจำปี 2562

อำเภอกันทรารมย์

13

วัดจำปา ชุมชนบ้านหัวนา

ได้รับโล่เกียรติคุณประเภทหมู่บ้านขับเคลื่อนศีล 5 ดีเด่นแห่งปี ประจำปี 2563

พระเทพศาสนาภิบาล ประธานขับเคลื่อนโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ส่วนกลาง

    เป็นต้น นอกเหนือจากนั้น บ้านหัวนายังได้รับความสนใจจากชุมชนอื่น หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน เข้ามาศึกษาดูงานมากมาย เช่น  องค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ  สภาวัฒนธรรมจังหวัดศรีสะเกษ ชุมชนบ้านหว้าน และอื่นๆ เป็นต้น ด้วยความโดดเด่นที่ชัดเจนของบ้านหัวนา จังหวัดศรีสะเกษ จึงกำหนดให้เป็นชุมชนท่องเที่ยวเชิงศาสนาศิลปะและวัฒนธรรม

2. โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านหนองใหญ่ อำเภอกันทรลักษณ์ จังหวัดศรีสะเกษ
    มหาวิทยาลัย ได้กำหนดให้ชุมชนบ้านหัวนา อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ เป็นพื้นที่เป้าหมายในการพัฒนาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาชุมชนมาอย่างต่อเนื่อง โดยนำองค์ความรู้ศาสตร์วิชาต่างๆ ตามความเชี่ยวชาญของทุกคณะ บูรณาการกิจกรรมเพื่อพัฒนา ส่งเสริมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ วิชาวิทยาศาสตร์ และวิชาภาษาไทย ทำให้เกิดสภาพแวดล้อมแห่งการเรียนรู้ (Learning Environment)  มีกระบวนทัศน์ร่วมกัน (Paradigm) มีนวัตกรรมการเรียนรู้ (Learning Innovation)  มีระบบพี่เลี้ยง (Coaching and Mentoring)  เกิดค่ายการเรียนรู้ (Collective Learning) และผู้เรียนมีสมรรถนะ (Competency) ในการใช้คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวันมีสมรรถนะการสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์ และสมรรถนะการใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร  โดยวางแผนการสอนให้นักเรียน อยากเรียนรู้ - อยากอ่านออก - อยากเขียนได้ - คิดเป็น - มีทักษะชีวิต และมีพื้นฐานทักษะอาชีพส่งผลให้โรงเรียนมีความโดดเด่นด้านการใช้สร้างสื่อ และแหล่งเรียนรู้ ทำให้มีหน่วยงานภายนอกมาดูงานอย่างต่อเนื่อง  ส่งผลให้นักเรียนมีทักษะการเรียนรู้ที่ดีขึ้น จนได้รับรางวัลต่างๆมากมายเช่น

ลำดับ

รางวัล/ผลงาน

ได้รับรางวัลจาก

1

โรงเรียนโครงการตามพระราชดำริ (กิจกรรมปศุสัตว์ดีเด่น) 2563

ปศุสัตว์

2

รองชนะเลิศคลิปวิดีโอส่งเสริมสุขภาพเด็กในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน  2565

กรมอนามัย

3

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 กลุ่มยุวเกษตรดีเด่น ระดับจังหวัดศรีสะเกษ 2565

จังหวัดศรีสะเกษ

4

เด็กหญิงอภิสรา  สารพล รางวัลชนะเลิศอันดับ 2 การแข่งขันสาวไหม ประเภทเส้นไหมน้อยสาวมือ ระดับประถม 22 มิถุนายน 64

สำนักงานหม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เขต 6 จังหวัดศรีสะเกษ

5

รางวัลชนะเลิศโครงการประกวดโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนดีเด่น ปี 2564

กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 22

6

เด็กหญิงภาวิกา โกศล  รางวัลชนะเลิศอันดับ 2 การแข่งขันสาวไหม ประเภทเส้นไหมน้อยสาวมือ ระดับประถม จากสำนักงานหม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เขต 6 จังหวัดศรีสะเกษ 22 มิถุนา 64

สำนักงานหม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เขต 6 จังหวัดศรีสะเกษ

7

เด็กหญิงภาวิกา  โกศล รางวัลชนะเลิศอันดับ 2 การแข่งขันสาวไหม ประเภทเส้นไหมหลีบสาวมือ ระดับประถม จากสำนักงานหม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เขต 6 จังหวัดศรีสะเกษ 22 มิถุนายน 64

สำนักงานหม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เขต 6 จังหวัดศรีสะเกษ

 

 

ผลคะแนนการประเมินตนเอง
ทำได้ (ข้อ) ได้คะแนน
6 ข้อ 5 คะแนน