✓ | 1 | มีการพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ ของหน่วยงานจากผลการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน อุปสรรค โอกาสกับวิสัยทัศน์ที่มาจากการมีส่วนร่วมของบุคลากรหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยเชื่อมโยงวิสัยทัศน์ พันธกิจของหน่วยงาน ให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ของมหาวิทยาลัย พร้อมทั้งกําหนดกลยุทธ์ มาตรการหรือแนวทางการดําเนินงาน ตัวชี้วัดความสําเร็จและค่าเป้าหมายของแผนยุทธศาสตร์ ในแต่ละปี ทั้งนี้แผนยุทธศาสตร์ของหน่วยงานจะต้องผ่าน การอนุมัติเห็นชอบจากคณะกรรมการประจําหน่วยงาน | ๑. มีการพัฒนาแผนกลยุทธ์ของสำนักงานอธิการบดี
สำนักงานอธิการบดีมีการกำหนดหลักเกณฑ์ในการจัดทำแผนกลยุทธ์ ดังนี้
๑.๑ มีการแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำแผนกลยุทธ์ของสำนักงานอธิการบดี (๑.๑-๑ (๑)) โดยการมีส่วนร่วมของบุคลากรและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของทุกฝ่าย ตามบริบทของมหาวิทยาลัยประกอบด้วย รองอธิการบดี และ ผู้ช่วยอธิการบดี กำกับดูแลหน่วยงานภายใต้สำนักงานอธิการบดีเป็นที่ปรึกษาในการจัดทำแผน ผู้อำนวยการสำนักงานอธิการบดีเป็นประธานกรรมการ รองผู้อำนวยการสำนักงานอธิการบดี ผู้อำนวยการกองนโยบายและแผน และหัวหน้างานภายใต้สำนักงานอธิการบดีเป็นคณะกรรมการ ผู้อำนวยการกองกลางเป็นกรรมการและเลขานุการ หัวหน้างานบริหารทั่วไปและเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไปเป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
๑.๒ มีการจัดทำแผนกลยุทธ์สำนักงานอธิการบดี (๑.๑-๑(๒)) จากผลการวิเคราะห์ SWOT กับวิสัยทัศน์ของหน่วยงาน มีความเชื่อมโยง ยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ ค่าเป้าหมายของแผนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยตามกำหนดกลยุทธ์ มาตรการ แนวทางการดําเนินงาน ตัวชี้วัด ความสำเร็จและค่าเป้าหมายของแผนกลยุทธ์ของหน่วยงานในแต่ละปีที่สามารถดำเนินการและวัดผลได้อย่างเป็นรูปธรรม
๑.๓ มีการทบทวนผลการดำเนินงานปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖5 ตามแผนกลยุทธ์ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2561-2565) (๑.๑-๑(๓)) รายงานผลการทบทวนผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดของแผนแผนกลยุทธ์ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2561-2565)
๑.๔ เสนอผลการทบทวนแผนกลยุทธ์ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2561-2565) ประจำปีพ.ศ 2565 เ ข้าที่ประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักงานอธิการบดี (1.1-1(๔)) รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักงานอธิการบดี ครั้งที่ 7/2564 วันอังคารที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2564
๑. มีการพัฒนาแผนกลยุทธ์ของสำนักงานอธิการบดี
สำนักงานอธิการบดีมีการกำหนดหลักเกณฑ์ในการจัดทำแผนกลยุทธ์ ดังนี้
๑.๑ มีการแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำแผนกลยุทธ์ของสำนักงานอธิการบดี (๑.๑-๑ (๑)) โดยการมีส่วนร่วมของบุคลากรและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของทุกฝ่าย ตามบริบทของมหาวิทยาลัยประกอบด้วย รองอธิการบดี และ ผู้ช่วยอธิการบดี กำกับดูแลหน่วยงานภายใต้สำนักงานอธิการบดีเป็นที่ปรึกษาในการจัดทำแผน ผู้อำนวยการสำนักงานอธิการบดีเป็นประธานกรรมการ รองผู้อำนวยการสำนักงานอธิการบดี ผู้อำนวยการกองนโยบายและแผน และหัวหน้างานภายใต้สำนักงานอธิการบดีเป็นคณะกรรมการ ผู้อำนวยการกองกลางเป็นกรรมการและเลขานุการ หัวหน้างานบริหารทั่วไปและเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไปเป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
๑.๒ มีการจัดทำแผนกลยุทธ์สำนักงานอธิการบดี (๑.๑-๑(๒)) จากผลการวิเคราะห์ SWOT กับวิสัยทัศน์ของหน่วยงาน มีความเชื่อมโยง ยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ ค่าเป้าหมายของแผนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยตามกำหนดกลยุทธ์ มาตรการ แนวทางการดําเนินงาน ตัวชี้วัด ความสำเร็จและค่าเป้าหมายของแผนกลยุทธ์ของหน่วยงานในแต่ละปีที่สามารถดำเนินการและวัดผลได้อย่างเป็นรูปธรรม
๑.๓ มีการทบทวนผลการดำเนินงานปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๕ ตามแผนกลยุทธ์ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2561-2565) (๑.๑-๑(๓)) รายงานผลการทบทวนผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดของแผนแผนกลยุทธ์ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2561-2565)
๑.๔ เสนอผลการทบทวนแผนกลยุทธ์ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2561-2565) ประจำปีพ.ศ 2565 เข้าที่ประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักงานอธิการบดี (๑.๑-๑(๔)) รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักงานอธิการบดี ครั้งที่ 7/2564 วันอังคารที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2564
| |
✓ | 2 | มีการแปลงแผนยุทธศาสตร์ เป็นแผนปฏิบัติการประจําปีครบตามพันธกิจของหน่วยงาน โดยกําหนด กลยุทธ์ มาตรการหรือแนวทางการดําเนินงาน โครงการ/กิจกรรม ตัวชี้วัด ค่าเป้าหมายความสําเร็จของแต่ละตัวชี้วัด ในแผนปฏิบัติการประจําปีของหน่วยงาน พร้อมทั้งจะต้องมีความสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ของหน่วยงาน | ๒. มีการแปลงแผนกลยุทธ์เป็นแผนปฏิบัติการประจำปี ฯ
สำนักงานอธิการบดีมีหลักเกณฑ์ในการแปลงแผนยุทธศาสตร์เป็นแผนปฏิบัติการประจำปี ดังนี้
๒.๑ มีการแปลงแผนกลยุทธ์เป็นแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (1.1– 2(1)) โดยได้รับการจัดสรรงบประมาณตามแผน จำนวนทั้งสิ้น 7,210,600 บาท แบ่งเป็นงบประมาณแผ่นดิน จำนวน 944,900 บาท คิดเป็นร้อยละ 13.11 และงบประมาณบํารุงการศึกษา จำนวน 6,265,700 บาท คิดเป็นร้อยละ 86.89 โดยมีการจัดสรร ครบถ้วนตามพันธกิจของหน่วยงาน ดังนี้
หน่วยงาน
|
งบประมาณ
|
จำนวนโครงการ/กิจกรรม
|
แผ่นดิน
|
บกศ.
|
๑.สำนักผู้อำนวยการ
|
76,000
|
43,700
|
13
|
๒.กองกลางสำนักงานอธิการบดี
|
315,200
|
1,706,400
|
13
|
๓.งานบริหารงานบุคคล
|
237,500
|
725,000
|
13
|
๔.งานพัฒนานักศึกษา
|
142,500
|
1,357,500
|
8
|
๕.หน่วยตรวจสอบภายใน
|
-
|
72,000
|
3
|
๖.สำนักงานสภามหาวิทยาลัย
|
47,500
|
1,563,700
|
12
|
๗.กองนโยบายและแผน
|
46,200
|
143,900
|
2
|
๘.งานออกแบบและวางผัง
|
23,500
|
56,500
|
1
|
๙.งานวิเทศสัมพันธ์
|
23,500
|
253,000
|
7
|
๑๐.หน่วยมาตรฐานและงานประกันคุณภาพ
|
33,000
|
344,000
|
4
|
รวม
|
944,900
|
6,265,200
|
76
|
๒.๒ แผนปฏิบัติการประจำปีของหน่วยงาน มีความสอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ โดยกำหนด กลยุทธ์ มาตรการ และแนวทางการดําเนินงานโครงการกิจกรรม ตัวชี้วัด ค่าเป้าหมายความสำเร็จ ที่สามารถวัดผลและดำเนินการได้อย่างเป็นรูปธรรม (1.1–2(2))
| |
✓ | 3 | มีการถ่ายทอดแผนยุทธศาสตร์ และแผนปฏิบัติการประจําปีของหน่วยงานไปสู่บุคลากร ในสังกัดและเผยแพร่ให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้รับทราบหรือนําไปใช้ประโยชน์ต่อการทํางานต่างๆ ของหน่วยงานได้ | ๓. มีการถ่ายทอดแผนกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการประจำปีของหน่วยงานไปสู่บุคลากรในสังกัดสำนักงานอธิการบดี
๓.๑ มีการถ่ายทอดแผนกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการประจำปีของหน่วยงานไปสู่บุคลากรในสังกัดทราบ จำนวน 2 ช่องทาง ดังนี้
๑) ถ่ายทอดผ่านการประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักงานอธิการบดี ครั้งที่ 7/2564 วันที่ 8 ตุลาคม 2564 (1.1-3(1)) วาระที่ 4.10
๒) มีการจัดทำบันทึกข้อความ (1.1-3(2)) จัดส่งแผนกลยุทธ์สำนักงานอธิการบดี ไปยังหน่วยงานต่าง ๆ ภายใต้สำนักงานอธิการบดี จำนวน ๑๖ หน่วยงาน ประกอบด้วย ๑.งานบริหารงานทั่วไป(กองกลาง) ๒.งานคลัง ๓.งานพัสดุ ๔.งานบริหารบุคคล ๕.งานประชาสัมพันธ์ เอกสารสิ่งพิมพ์และโสตทัศนูปกรณ์ ๖.งานพัฒนานักศึกษา ๗.งานอาคารสถานที่ ยานพาหนะและบริการ ๘.หน่วยตรวจสอบภายใน ๙.สำนักงานสภามหาวิทยาลัย ๑๐.งานบริหารงานทั่วไป(กองนโยบายและแผน) ๑๑.งานสถิติและสารสนเทศ ๑๒.งานยุทธศาสตร์และแผนงาน ๑๓.งานติดตามและประเมินผล ๑๔.งานวิเทศสัมพันธ์ ๑๕.งานออกแบบและวางผัง ๑๖.หน่วยมาตรฐานและประกันคุณภาพการศึกษา
๓) เผยแพร่ให้บุคลากร และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียรับทราบ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ผ่านทางเว็บไซต์หน่วยงาน http://www2.sskru.ac.th/2021/portfolio/office-of-the-president/ (1.1-3(3))
| |
✓ | 4 | มีการติดตามผลการดําเนินงานตามตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย เพื่อวัดความสําเร็จของ การดําเนินงาน แผนปฏิบัติการประจําปีของหน่วยงานอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง โดยรายงานผลต่อคณะกรรมการประจำหน่วยงาน เพื่อรับทราบและพิจารณาข้อคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะแนวเพื่อการพัฒนาอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง | 4. มีการกำกับติดตามผลการใช้ดำเนินงานตามตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย เพื่อวัดความสำเร็จของการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการประจำปีของหน่วยงานงานอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง
4.1 มีการจัดทำรายงานผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดของแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565เสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักงานอธิการบดี ครั้งที่2/2565 (1.1-4(1)) ลงวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2565 ผลการติดตาม พบว่า มีการกำหนดตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายไว้ตามแผน จำนวน 10 ตัวชี้วัด บรรลุเป้าหมาย จำนวน 6 ตัวชี้วัด อยู่ระหว่างดำเนินการตามแผน 4 ตัวชี้วัด
4.2 มีการจัดทำรายงานผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดของแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ เสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักงานอธิการบดี ครั้งที่8/2565 (1.1-4(2)) ลงวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 จำนวน 10 ตัวชี้วัด บรรลุเป้าหมาย จำนวน 10 ตัวชี้วัด
4.3 มีการจัดทำรายงานผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดของแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (1.1-4(3))
| |
✓ | 5 | มีการติดตามผลการดําเนินงานตามตัวชี้วัด ค่าเป้าหมายเพื่อวัดความสําเร็จของการดําเนินงานแผน ยุทธศาสตร์ ของหน่วยงาน อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และมีการรายงานผลความสําเร็จแผนยุทธศาสตร์ของหน่วยงาน ต่อคณะกรรมการประจําหน่วยงานเพื่อรับทราบหรือพิจารณาข้อคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา | 5. มีการประเมินผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้ของแผนกลยุทธ์อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และรายงานผลต่อผู้บริหารและคณะกรรมการประจำหน่วยงาน
สำนักงานอธิการบดีมีการจัดทำรายงานผลตัวชี้วัดตามยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ โครงการ ของแผนปฏิบัติการสำนักงานอธิการบดี ประจำปีงบประมาณ 2565 (รอบ 12 เดือน) โดยสำนักงานอธิการบดี มีโครงการทั้งสิ้นจำนวน 76 โครงการ พบว่า ผลการดำเนินงานส่วนใหญ่บรรลุตามเป้าหมายตัวชี้วัด ตามที่ตั้งไว้ จำนวน 66 โครงการ ซึ่งมีเพียงบางส่วนที่ไม่บรรลุ จำนวน 10 โครงการ (เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบายเชื้อไวรัสโคโรน่า2019 (covid-19) (1.1-5(1)) และประเมินผลการดำเนินงานโดยคณะกรรมการบริหารสำนักงานอธิการบดี (1.1-5(2)) รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักงานอธิการบดี ครั้งที่7/65 วันที่ 9 กันยายน 65 วาระที่ 4.11
| |
✓ | 6 | มีการนําผลการพิจารณา ข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการประจําหน่วยงานไปปรับปรุง หรือพัฒนาแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการประจําปี | ๖. การนำผลการพิจารณาข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการประจำหน่วยงานไปปรับปรุงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน
สำนักงานอธิการบดี มีหลักเกณฑ์ ดังนี้
มีการจัดทำรายงานผลการดําเนินงานประจำประจำปี 2565 (รอบ 12 เดือน) สำนักงานอธิการบดี (1.1-6(1)) และรายงานผลการดําเนินงานตามตัวชี้วัดของแผนปฏิบัติการประจำปี งบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖5สำนักงานอธิการบดี มีโครงการทั้งสิ้นจำนวน 76 โครงการ พบว่า ผลการดำเนินงานส่วนใหญ่บรรลุตามเป้าหมายตัวชี้วัด ตามที่ตั้งไว้ จำนวน 66 โครงการ ซึ่งมีเพียงบางส่วนที่ไม่บรรลุ จำนวน 10 โครงการ (1.1–6(2)) เสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักงานอธิการบดี ครั้งที่ 7/2565 ลงวันที่ 9 กันยายน ๒๕๖5 วาระที่4.11 (1.1 –6(3)) และ พบว่า มีข้อเสนอแนะในการปรับปรุงพัฒนา จำนวน ๑ ประเด็น หน่วยงานจึงได้จัดทำแผนการปรับปรุงคุณภาพของแผนกลยุทธ์สำนักงานอธิการบดี ประจำปีงบประมาณพ.ศ.2565 (1.1–6(4)) กำหนดแนวทางการปรับปรุงพัฒนา ปรัชญา/วิสัยทัศน์ ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น โดยมีรายละเอียดดังนี้
ข้อเสนอแนะ
|
แนวทางการปรับปรุง
|
ระยะเวลาดำเนินงาน
|
ผู้รับผิดชอบ
|
-ควรมีการปรับ ปรัชญา วิสัยทัศน์ให้มีความชัดเจนสอดคล้องกับบริบทของดำเนินงานของสำนักงานอธิการมากขึ้น
|
1. การปรับปรุง :
( ) ปรับปรุงกระบวนการ ( ) ปรับปรุงโครงการ ( / ) ปรับปรุงแผน
2. การดําเนินงาน :
( / ) ดำเนินการแล้ว : มีการทบทวนแผนกลยุทธสำนักงานอธิการบดีโดยได้ทำการปรับ ปรัชญา วิสัยทัศน์ให้มีความชัดเจนสอดคล้องกับบริบทของดำเนินงานของสำนักงานอธิการมากขึ้น
|
ปีงบประมาณ 2565
|
คณะกรรมการจัดทำแผนกลยุทธสำนักงานอธิการบดี
|
| |