ตัวบ่งชี้ที่ 1.2 ระบบและกลไกการเงินและงบประมาณ

ปีที่ประเมิน 2564
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : พัทธ์ธีรา เสาร์ชัย
ชนิดตัวบ่งชี้ : กระบวนการ
คำอธิบายตัวบ่งชี้

หน่วยงานสนับสนุนจะต้องดําเนินการวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินที่ประกอบไปด้วย
การวิเคราะห์ค่าใช้จ่าย โดยมีการจัดสรรงบประมาณและการจัดทํารายงานทางการเงินอย่างเป็นระบบ ครบทุกพันธกิจ มีระบบการตรวจสอบ การใช้เงิน เพื่อให้สามารถวิเคราะห์สถานะทางการเงิน
ความมั่นคง และวิเคราะห์ความคุ้มค่าของการบริหารจัดการ ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล
ในการดําเนินงานตามพันธกิจของหน่วยงาน

เกณฑ์การประเมิน
คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
เกณฑ์มาตรฐาน
ระดับ เกณฑ์มาตรฐาน ดำเนินการ
1 มีการจัดทําแผนยุทธศาสตร์ทางการเงินหรือจัดสรรงบประมาณของหน่วยงานที่มีการวิเคราะห์แนวทางจัดหาหรือการได้มาซึ่งทรัพยากรทางด้านการเงิน หลักเกณฑ์การจัดสรร และการวางแผนการใช้เงินอย่างมี ประสิทธิภาพ โปร่งใส และตรวจสอบได้ และมีความเชื่อมโยงกับแผนยุทธศาสตร์ของหน่วยงาน มีการกําหนดตัวชี้วัด ความสําเร็จแผนยุทธศาสตร์ ทางการเงิน และจะต้องผ่านการอนุมัติเห็นชอบจากคณะกรรมการประจําหน่วยงาน
2 มีระบบและกลไกหรือมาตรการ แนวทาง วิธีการกํากับด้านการเงินและการป้องกันการทุจริต ประพฤติมิชอบ และผลประโยชน์ทับซ้อนของบุคลากรในหน่วยงาน
3 มีการถ่ายทอดแผนยุทธศาสตร์ทางการเงินหรือจัดสรรงบประมาณของหน่วยงาน ระบบ และกลไก หรือมาตรการ แนวทาง และวิธีการกํากับด้านการเงิน การป้องกันการทุจริต ประพฤติมิชอบ และผลประโยชน์ ทับซ้อนของบุคลากรในหน่วยงานไปสู่บุคลากรในสังกัดและเผยแพร่ให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้รับทราบหรือนําไป ใช้ประโยชน์ต่อการทํางานต่างๆ ของหน่วยงานได้
4 มีการนําข้อมูลทางการเงินไปใช้ในการวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายหรือสถานะทางการเงิน และติดตาม การเบิกจ่ายทางการเงินในการดําเนินงานต่าง ๆ ตามพันธกิจของหน่วยงานของแต่ละไตรมาสให้แก่คณะผู้บริหารหน่วยงานหรือคณะกรรมการประจําหน่วยงานได้รับทราบหรือพิจารณาข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา
5 มีการตรวจสอบ ติดตามการใช้เงินให้เป็นไปตามระเบียบและกฎเกณฑ์ที่สถาบันหรือหน่วยงาน และมีการเผยแพร่รายงานทางการเงินหรือช่องทางการตรวจสอบความโปร่งใสทางการเงินของหน่วยงานให้แก่คณะผู้บริหาร และบุคลากรทั้งภายในและภายนอก
6 มีการรายงานผลความสําเร็จแผนยุทธศาสตร์ทางการเงินหรือจัดสรรงบประมาณของหน่วยงาน อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ที่ผ่านการเห็นชอบจากคณะกรรมการประจําหน่วยงาน และมีการนําผลการพิจารณาข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะไปปรับปรุงหรือพัฒนา
ผลการดำเนินงาน
ตนข้อเกณฑ์ผลการดำเนินงานหลักฐาน
1มีการจัดทําแผนยุทธศาสตร์ทางการเงินหรือจัดสรรงบประมาณของหน่วยงานที่มีการวิเคราะห์แนวทางจัดหาหรือการได้มาซึ่งทรัพยากรทางด้านการเงิน หลักเกณฑ์การจัดสรร และการวางแผนการใช้เงินอย่างมี ประสิทธิภาพ โปร่งใส และตรวจสอบได้ และมีความเชื่อมโยงกับแผนยุทธศาสตร์ของหน่วยงาน มีการกําหนดตัวชี้วัด ความสําเร็จแผนยุทธศาสตร์ ทางการเงิน และจะต้องผ่านการอนุมัติเห็นชอบจากคณะกรรมการประจําหน่วยงาน

๑. สำนักงานอธิการบดีมีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ทางการเงินหรือจัดสรรงบประมาณของหน่วยงานที่มีการวิเคราะห์แนวทางจัดหาหรือการได้มาซึ่งทรัพยากรทางด้านการเงิน หลักเกณฑ์การจัดสรร และการวางแผนการใช้เงินอย่างมีประสิทธิภาพ โปร่งใส และตรวจสอบได้ และมีความเชื่อมโยงกับแผนยุทธศาสตร์ของหน่วยงาน มีการกำหนดตัวชี้วัด ความสำเร็จแผนยุทธศาสตร์ทางการเงิน และจะต้องผ่านการอนุมัติเห็นชอบจากคณะกรรมการประจำหน่วยงาน ดังนี้

          ๑.๑ มีการแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำแผนกลยุทธ์ทางการเงิน (๑.๒-๑(๑)) เพื่อทำหน้าที่จัดทำแผนกลยุทธ์ทางการเงิน สำนักงานอธิการบดี ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๑-๒๕๖๕

          ๑.๒ มีการจัดทำแผนกลยุทธ์ทางการเงิน สำนักงานอธิการบดี (๑.๒-๑(๒)) โดยมีการกำหนดแนวทางและหลักเกณฑ์การจัดหาทรัพยากรทางการเงิน มีการวางแผนการจัดสรรและการใช้เงินไว้ในแผนกลยุทธ์ทางการเงิน โดยเชื่อมโยงกับแผนยุทธศาสตร์ของสำนักงานอธิการบดี มีการกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จ ค่าเป้าหมายของแผนกลยุทธ์ทางการเงินในแต่ละปีที่สามารถดำเนินการและวัดผลได้อย่างเป็นรูปธรรม

          ๑.๓ แผนกลยุทธ์ทางการเงิน สำนักงานอธิการบดี ผ่านความเห็นชอบตามมติที่ประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักงานอธิการบดี ครั้งที่ ๑/๒๕๖๐ เมื่อวันศุกร์ที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๐ (๑.๒-๑(๓))

2มีระบบและกลไกหรือมาตรการ แนวทาง วิธีการกํากับด้านการเงินและการป้องกันการทุจริต ประพฤติมิชอบ และผลประโยชน์ทับซ้อนของบุคลากรในหน่วยงาน

๒. สำนักงานอธิการบดี มีระบบและกลไกหรือมาตรการ แนวทาง วิธีการกำกับด้านการเงินและการป้องกันการทุจริต ประพฤติมิชอบ และผลประโยชน์ทับซ้อนของบุคลากรในหน่วยงาน ดังนี้

          ๒.๑ มีการจัดทำคู่มือการปฏิบัติงานเพื่อป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อนของสำนักงานอธิการบดี (๑.๒-๒(๑)) ซึ่งมีรายละเอียดเกี่ยวกับการบริหารจัดการผลประโยชน์ทับซ้อน มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อน และแนวทางปฏิบัติเพื่อป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อน

3มีการถ่ายทอดแผนยุทธศาสตร์ทางการเงินหรือจัดสรรงบประมาณของหน่วยงาน ระบบ และกลไก หรือมาตรการ แนวทาง และวิธีการกํากับด้านการเงิน การป้องกันการทุจริต ประพฤติมิชอบ และผลประโยชน์ ทับซ้อนของบุคลากรในหน่วยงานไปสู่บุคลากรในสังกัดและเผยแพร่ให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้รับทราบหรือนําไป ใช้ประโยชน์ต่อการทํางานต่างๆ ของหน่วยงานได้

๓. สำนักงานอธิการบดีมีการถ่ายทอดแผนยุทธศาสตร์ทางการเงินหรือจัดสรรงบประมาณของหน่วยงาน ระบบ และกลไก หรือมาตรการ แนวทาง และวิธีการกำกับด้านการเงิน การป้องกันการทุจริต ประพฤติมิชอบ และผลประโยชน์ทับซ้อนของบุคลากรในหน่วยงานไปสู่บุคลากรในสังกัด และเผยแพร่ให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้รับทราบหรือนำไปใช้ประโยชน์ต่อการทำงานต่าง ๆ ของหน่วยงานได้ ดังนี้

          ๓.๑ มีการถ่ายทอดแผนกลยุทธ์ทางการเงินและการจัดสรรงบประมาณของหน่วยงาน ระบบและกลไกไปสู่บุคลากรในสังกัดทราบ จำนวน ๒ ช่องทาง ดังนี้

               ๑) มีการผยแพร่ห้บุคลากรภายในสำนักงานอธิการบดีทราบและนำไปใช้ประโยชน์ โดยการจัดส่งหนังสือบันทึกข้อความ (๑.๒-๓(๑)) ไปยังหน่วยงานในสังกัดสำนักงานอธิการบดี จำนวน ๑๓ หน่วยงาน ประกอบด้วย กองนโยบายและแผน งานพัฒนานักศึกษา งานคลัง งานพัสดุ งานบริหารทั่วไป งานประชาสัมพันธ์ งานออกแบบและวางผัง งานวิเทศสัมพันธ์ งานอาคารสถานที่ สำนักงานสภามหาวิทยาลัย หน่วยตรวจสอบภายใน และหน่วยมาตรฐานและประกันคุณภาพการศึกษา

               ๒) เผยแพร่ให้บุคลากรในสังกัดและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียรับทราบและนำไปใช้ประโยชน์ผ่านทางเว็บไซต์สำนักงานอธิการบดี (http://www.psd.sskru.ac.th/) (๑.๒-๓(๒))

4มีการนําข้อมูลทางการเงินไปใช้ในการวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายหรือสถานะทางการเงิน และติดตาม การเบิกจ่ายทางการเงินในการดําเนินงานต่าง ๆ ตามพันธกิจของหน่วยงานของแต่ละไตรมาสให้แก่คณะผู้บริหารหน่วยงานหรือคณะกรรมการประจําหน่วยงานได้รับทราบหรือพิจารณาข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา

๔. สำนักงานอธิการบดีมีการนำข้อมูลทางการเงินไปใช้ในการวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายหรือสถานะทางการเงิน และติดตามการเบิกจ่ายทางการเงินในการดำเนินงานต่าง ๆ ตามพันธกิจของหน่วยงานของแต่ละไตรมาส ให้แก่คณะผู้บริหารหน่วยงานหรือคณะกรรมการประจำหน่วยงานได้รับทราบ หรือพิจารณาข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา ดังนี้

          ๔.๑ มีการนำข้อมูลงบประมาณที่ได้รับจัดสรรประจำปี เสนอที่ประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักงานอธิการบดี (๑.๒-๔(๑)) เพื่อพิจารณาดำเนินโครงการต่าง ๆ ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดต่อมหาวิทยาลัย

          ๔.๒ มีการติดตามการเบิกจ่ายการดำเนินงานโครงการต่าง ๆ ตามพันธกิจของหน่วยงานรายไตรมาส รายงานต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักงานอธิการบดี (๑.๒-๔(๒)) (๑.๒-๔(๓)) เพื่อรับทราบและพิจารณาให้ข้อเสนอแนะ โดยมีข้อเสนอแนะดังนี้

               ๑) ให้ทุกหน่วยงานเร่งรัดการดำเนินโครงการให้เป็นไปตามแผน หากโครงการใดไม่สามารถดำเนินการได้หรือมีปัญหาอุปสรรคในการเบิกจ่ายงบประมาณให้รายงานผู้บริหารทราบเพื่อพิจารณาสั่งการแก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงที

               ๒) ให้หน่วยงานในสังกัดพิจารณาวางแผนการดำเนินงานตามพันธกิจของแต่ละหน่วยงานอย่างรอบคอบ อย่าให้กระทบกับแผนการดำเนินงานประจำปี หากเบิกจ่ายงบประมาณล่าช้าหรือเบิกจ่ายไม่ทันจะมีผลต่อการพิจารณาจัดสรรงบประมาณในปีต่อไป

5มีการตรวจสอบ ติดตามการใช้เงินให้เป็นไปตามระเบียบและกฎเกณฑ์ที่สถาบันหรือหน่วยงาน และมีการเผยแพร่รายงานทางการเงินหรือช่องทางการตรวจสอบความโปร่งใสทางการเงินของหน่วยงานให้แก่คณะผู้บริหาร และบุคลากรทั้งภายในและภายนอก

๕. สำนักงานอธิการบดี มีการตรวจสอบ ติดตามการใช้เงินให้เป็นไปตามระเบียบและกฎเกณฑ์ของสถาบันหรือหน่วยงาน และมีการเผยแพร่รายงานทางการเงินหรือช่องทางการตรวจสอบความโปร่งใสทางการเงินของหน่วยงานให้แก่คณะผู้บริหาร และบุคลากรทั้งภายในและภายนอก ดังนี้

          ๕.๑ มีการติดตาม ตรวจสอบการใช้จ่ายเงินให้เป็นไปตามระเบียบราชการ ดังนี้

               ๑) มีหน่วยงานกำกับดูแลติดตามและตรวจสอบการใช้จ่ายเงินให้เป็นไปตามระเบียบราชการ จำนวน ๓ หน่วยงาน ได้แก่

                   - ฝ่ายการเงินของหน่วยงาน มีหน้าที่ตรวจสอบเอกสาร หลักฐาน และเบิกจ่ายเงินที่ทุกหน่วยงานในสังกัดสำนักงานอธิการบดีดำเนินการ ให้เป็นไปตามระเบียบและแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง

                   - ฝ่ายแผนของหน่วยงาน มีหน้าที่ ตรวจสอบ กำกับติดตาม เร่งรัด และตัดยอดงบประมาณให้เป็นไปตามแผนปฏิบัติการประจำปี

                   - หน่วยตรวจสอบภายใน มีหน้าที่ ตรวจสอบ สอบทานการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามระเบียบ และกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

          ๕.๒ มีการเผยแพร่รายงานทางการเงินของหน่วยงานให้แก่ผู้บริหาร บุคลากรทั้งภายในและภายนอกทราบ ผ่านเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย (http://www.sskru.ac.th/) (๑.๒-๕(๑))

6มีการรายงานผลความสําเร็จแผนยุทธศาสตร์ทางการเงินหรือจัดสรรงบประมาณของหน่วยงาน อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ที่ผ่านการเห็นชอบจากคณะกรรมการประจําหน่วยงาน และมีการนําผลการพิจารณาข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะไปปรับปรุงหรือพัฒนา

๖. มีการรายงานผลความสำเร็จแผนกลยุทธ์ทางการเงินหรือจัดสรรงบประมาณ ที่ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารสำนักงานอธิการบดี และนำข้อเสนอแนะมาปรับปรุง ดังนี้

          ๖.๑ มีการรายงานผลความสำเร็จแของแผนกลยุทธ์ทางการเงิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ โดยมีการกำหนดความสำเร็จของแผนกลยุทธ์ทางการเงินไว้ ๒ ตัวชี้วัด บรรลุเป้าหมาย ๑ ตัวชี้วัด ดังนี้

เป้าประสงค์

ตัวชี้วัด

ค่าเป้าหมาย

ผลการดำเนินงาน

การบรรลุ

ประเด็นยุทธศาสตร์ : การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการด้านการเงิน

การบริหารจัดการทรัพยากรทางการเงินของสำนักงานอธิการบดี มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้

๑. จำนวนข้อท้วงติงจากสำนักตรวจเงินแผ่นดิน เทียบกับปีงบประมาณที่ผ่านมา

ลดลงร้อยละ ๕

ไม่มีข้อท้วงติง

/

๒. ผลการเบิกจ่ายงบประมาณ

ไม่ต่ำกว่า ร้อยละ ๙๐

ร้อยละ ๘๙

 

X

 

          ๖.๒ นำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักงานอธิการบดี ในคราวประชุม ครั้งที่ ๗/๒๕๖๔ (๑.๑–๖(๑)) เพื่อพิจารณาให้ข้อเสนอแนะ พบว่า มีข้อเสนอแนะในการปรับปรุงพัฒนา จำนวน ๒ ประเด็น หน่วยงานจึงได้จัดทำแผนการปรับปรุงคุณภาพของแผนกลยุทธ์ทางการเงิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ (๑.๑–๖(๒)) กำหนดแนวทางการปรับปรุงพัฒนา ตัวชี้วัด/ค่าเป้าหมาย ระยะเวลาดำเนินงาน และผู้รับผิดชอบ อย่างชัดเจน

          ๖.๓ มีจัดทำรายงานผลการดำเนินงาน สำนักงานอธิการบดี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ (๑.๑–๖(๓)) โดยสำนักงานอธิการบดีได้รับการจัดสรรงบประมาณตามแผน จำนวนทั้งสิ้น ๘,๖๒๐,๙๐๐ บาท แบ่งเป็นงบประมาณแผ่นดิน จำนวน ๑,๘๘๙,๗๐๐ บาท คิดเป็นร้อยละ ๒๑.๙๒ และงบประมาณบำรุงการศึกษา จำนวน ๖,๗๓๑,๒๐๐ บาท คิดเป็นร้อยละ ๗๘.๐๘ โดยมีผลการเบิกจ่าย ดังนี้

งบประมาณ

แผน

ผล

ร้อยละการเบิกจ่าย

แผ่นดิน

1,889,700.00

1,712,216.03

90.60

บกศ.

6,731,200.00

5,984,020.84

88.90

รวม

8,620,900.00

7,696,236.87

89.27

 

ผลคะแนนการประเมินตนเอง
ทำได้ (ข้อ) ได้คะแนน
6 5