ตัวบ่งชี้ที่ 1.2 ระบบและกลไกการเงินและงบประมาณ

ปีที่ประเมิน 2565
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : พัทธ์ธีรา เสาร์ชัย , กนกกาญจน์ บุญทรง
ชนิดตัวบ่งชี้ : กระบวนการ
คำอธิบายตัวบ่งชี้

หน่วยงานสนับสนุนจะต้องดําเนินการวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินที่ประกอบไปด้วยการวิเคราะห์ค่าใช้จ่าย โดยมีการจัดสรรงบประมาณและการจัดทํารายงานทางการเงินอย่างเป็นระบบ ครบทุกพันธกิจ มีระบบการตรวจสอบ การใช้เงิน เพื่อให้สามารถวิเคราะห์สถานะทางการเงิน ความมั่นคง และวิเคราะห์ความคุ้มค่าของการบริหารจัดการ ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ในการดําเนินงานตามพันธกิจของหน่วยงาน

เกณฑ์การประเมิน
คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 หรือ 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
เกณฑ์มาตรฐาน
ระดับ เกณฑ์มาตรฐาน ดำเนินการ
1 มีการจัดทําแผนยุทธศาสตร์ทางการเงินหรือจัดสรรงบประมาณของหน่วยงานที่มีการวิเคราะห์แนวทางจัดหาหรือการได้มาซึ่งทรัพยากรทางด้านการเงิน หลักเกณฑ์การจัดสรร และการวางแผนการใช้เงินอย่างมี ประสิทธิภาพ โปร่งใส และตรวจสอบได้ และมีความเชื่อมโยงกับแผนยุทธศาสตร์ของหน่วยงาน มีการกําหนดตัวชี้วัด ความสําเร็จแผนยุทธศาสตร์ ทางการเงิน และจะต้องผ่านการอนุมัติเห็นชอบจากคณะกรรมการประจําหน่วยงาน
2 มีระบบและกลไกหรือมาตรการ แนวทาง วิธีการกํากับด้านการเงินและการป้องกันการทุจริต ประพฤติมิชอบ และผลประโยชน์ทับซ้อนของบุคลากรในหน่วยงาน
3 มีการถ่ายทอดแผนยุทธศาสตร์ทางการเงินหรือจัดสรรงบประมาณของหน่วยงาน ระบบ และกลไก หรือมาตรการ แนวทาง และวิธีการกํากับด้านการเงิน การป้องกันการทุจริต ประพฤติมิชอบ และผลประโยชน์ ทับซ้อนของบุคลากรในหน่วยงานไปสู่บุคลากรในสังกัดและเผยแพร่ให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้รับทราบหรือนําไป ใช้ประโยชน์ต่อการทํางานต่างๆ ของหน่วยงานได้
4 มีการนําข้อมูลทางการเงินไปใช้ในการวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายหรือสถานะทางการเงิน และติดตาม การเบิกจ่ายทางการเงินในการดําเนินงานต่าง ๆ ตามพันธกิจของหน่วยงานของแต่ละไตรมาสให้แก่คณะผู้บริหารหน่วยงานหรือคณะกรรมการประจําหน่วยงานได้รับทราบหรือพิจารณาข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา
5 มีการตรวจสอบ ติดตามการใช้เงินให้เป็นไปตามระเบียบและกฎเกณฑ์ที่สถาบันหรือหน่วยงาน และมีการเผยแพร่รายงานทางการเงินหรือช่องทางการตรวจสอบความโปร่งใสทางการเงินของหน่วยงานให้แก่คณะผู้บริหาร และบุคลากรทั้งภายในและภายนอก
6 มีการรายงานผลความสําเร็จแผนยุทธศาสตร์ทางการเงินหรือจัดสรรงบประมาณของหน่วยงาน อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ที่ผ่านการเห็นชอบจากคณะกรรมการประจําหน่วยงาน และมีการนําผลการพิจารณาข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะไปปรับปรุงหรือพัฒนา
ผลการดำเนินงาน
ตนข้อเกณฑ์ผลการดำเนินงานหลักฐาน
1มีการจัดทําแผนยุทธศาสตร์ทางการเงินหรือจัดสรรงบประมาณของหน่วยงานที่มีการวิเคราะห์แนวทางจัดหาหรือการได้มาซึ่งทรัพยากรทางด้านการเงิน หลักเกณฑ์การจัดสรร และการวางแผนการใช้เงินอย่างมี ประสิทธิภาพ โปร่งใส และตรวจสอบได้ และมีความเชื่อมโยงกับแผนยุทธศาสตร์ของหน่วยงาน มีการกําหนดตัวชี้วัด ความสําเร็จแผนยุทธศาสตร์ ทางการเงิน และจะต้องผ่านการอนุมัติเห็นชอบจากคณะกรรมการประจําหน่วยงาน

๑. สำนักงานอธิการบดีมีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ทางการเงินหรือจัดสรรงบประมาณของหน่วยงานที่มีการวิเคราะห์แนวทางจัดหาหรือการได้มาซึ่งทรัพยากรทางด้านการเงิน หลักเกณฑ์การจัดสรร และการวางแผนการใช้เงินอย่างมีประสิทธิภาพ โปร่งใส และตรวจสอบได้ และมีความเชื่อมโยงกับแผนยุทธศาสตร์ของหน่วยงาน มีการกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จแผนยุทธศาสตร์ทางการเงิน และจะต้องผ่านการอนุมัติเห็นชอบจากคณะกรรมการประจำหน่วยงาน ดังนี้

       ๑.๑ มีการแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำแผนกลยุทธ์ทางการเงิน (๑.๒-๑(๑)) เพื่อทำหน้าที่จัดทำแผนกลยุทธ์ทางการเงิน สำนักงานอธิการบดี ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๖-๒๕๗๐

       ๑.๒ มีการจัดทำแผนกลยุทธ์ทางการเงิน สำนักงานอธิการบดี (๑.๒-๑(๒)) โดยมีการกำหนดแนวทางและหลักเกณฑ์การจัดหาทรัพยากรทางการเงิน มีการวางแผนการจัดสรรและการใช้เงินไว้ในแผนกลยุทธ์ทางการเงิน โดยเชื่อมโยงกับแผนยุทธศาสตร์ของสำนักงานอธิการบดี มีการกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จ ค่าเป้าหมายของแผนกลยุทธ์ทางการเงินในแต่ละปีที่สามารถดำเนินการและวัดผลได้อย่างเป็นรูปธรรม

       ๑.๓ แผนกลยุทธ์ทางการเงิน สำนักงานอธิการบดี ผ่านความเห็นชอบตามมติที่ประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักงานอธิการบดี ครั้งที่ ๙/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๑๔ ธันวาคม ๒๕๖๕ (๑.๒-๑(๓))

2มีระบบและกลไกหรือมาตรการ แนวทาง วิธีการกํากับด้านการเงินและการป้องกันการทุจริต ประพฤติมิชอบ และผลประโยชน์ทับซ้อนของบุคลากรในหน่วยงาน

๒. สำนักงานอธิการบดี มีระบบและกลไกหรือมาตรการ แนวทาง วิธีการกำกับด้านการเงินและการป้องกันการทุจริต ประพฤติมิชอบ และผลประโยชน์ทับซ้อนของบุคลากรในหน่วยงาน ดังนี้

       ๒.๑ มีการจัดทำคู่มือการปฏิบัติงานเพื่อป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อนของสำนักงานอธิการบดี (๑.๒-๒(๑)) ซึ่งมีรายละเอียดเกี่ยวกับการบริหารจัดการผลประโยชน์ทับซ้อน มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อน และแนวทางปฏิบัติเพื่อป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อน

3มีการถ่ายทอดแผนยุทธศาสตร์ทางการเงินหรือจัดสรรงบประมาณของหน่วยงาน ระบบ และกลไก หรือมาตรการ แนวทาง และวิธีการกํากับด้านการเงิน การป้องกันการทุจริต ประพฤติมิชอบ และผลประโยชน์ ทับซ้อนของบุคลากรในหน่วยงานไปสู่บุคลากรในสังกัดและเผยแพร่ให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้รับทราบหรือนําไป ใช้ประโยชน์ต่อการทํางานต่างๆ ของหน่วยงานได้

๓. สำนักงานอธิการบดีมีการถ่ายทอดแผนยุทธศาสตร์ทางการเงินหรือจัดสรรงบประมาณของหน่วยงาน ระบบ และกลไก หรือมาตรการ แนวทาง และวิธีการกำกับด้านการเงิน การป้องกันการทุจริต ประพฤติมิชอบ และผลประโยชน์ทับซ้อนของบุคลากรในหน่วยงานไปสู่บุคลากรในสังกัด และเผยแพร่ให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้รับทราบหรือนำไปใช้ประโยชน์ต่อการทำงานต่าง ๆ ของหน่วยงานได้ ดังนี้

       ๓.๑ มีการถ่ายทอดแผนกลยุทธ์ทางการเงิน และการจัดสรรงบประมาณของหน่วยงาน ระบบและกลไก หรือมาตรการ แนวทาง และวิธีการกำกับด้านการเงิน การป้องกันการทุจริต ประพฤติมิชอบ และผลประโยชน์ ทับซ้อนของบุคลากรในหน่วยงานไปสู่บุคลากรในสังกัดทราบและนำไปใช้ประโยชน์ โดยการนำเสนอผ่านการประชุมสามัญบุคลากรสำนักงานอธิการบดี เมื่อวันที่ ๗ ธันวาคม ๒๕๖๕ (๑.๒-๓(๑))

4มีการนําข้อมูลทางการเงินไปใช้ในการวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายหรือสถานะทางการเงิน และติดตาม การเบิกจ่ายทางการเงินในการดําเนินงานต่าง ๆ ตามพันธกิจของหน่วยงานของแต่ละไตรมาสให้แก่คณะผู้บริหารหน่วยงานหรือคณะกรรมการประจําหน่วยงานได้รับทราบหรือพิจารณาข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา

๔. สำนักงานอธิการบดีมีการนำข้อมูลทางการเงินไปใช้ในการวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายหรือสถานะทางการเงิน และติดตามการเบิกจ่ายทางการเงินในการดำเนินงานต่าง ๆ ตามพันธกิจของหน่วยงานของแต่ละไตรมาส ให้แก่คณะผู้บริหารหน่วยงานหรือคณะกรรมการประจำหน่วยงานได้รับทราบ หรือพิจารณาข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา ดังนี้

       ๔.๑ มีการนำข้อมูลงบประมาณที่ได้รับจัดสรรประจำปี เสนอที่ประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักงานอธิการบดี (๑.๒-๔(๑)) เพื่อพิจารณาดำเนินโครงการต่าง ๆ ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดต่อมหาวิทยาลัย

       ๔.๒ มีการติดตามการเบิกจ่ายการดำเนินงานโครงการต่าง ๆ ตามพันธกิจของหน่วยงานรายไตรมาส รายงานต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักงานอธิการบดี (๑.๒-๔(๒)) (๑.๒-๔(๓)) เพื่อรับทราบและพิจารณาให้ข้อเสนอแนะ โดยมีข้อเสนอแนะให้หน่วยงานต่าง ๆ ที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ เร่งรัด กำกับ ติดตามการใช้จ่ายงบประมาณของหน่วยงานในสังกัด ให้เป็นไปตามแผนการปฏิบัติราชการที่ได้กำหนดไว้ และให้มีการตรวจสอบข้อมูลให้มีความถูกต้องสอดคล้องกับข้อมูลของส่วนกลาง และให้นำเสนอข้อมูลใกนารประชุมของคณะกรรมการฯ ในการประชุมประจำเดือน ดังนั้นเพื่อให้การบริหารจัดการการใช้จ่ายงบประมาณของสำนักงานอธิการบดี ประจำปึงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ ใช้จ่ายงบประมาณตรงตามแผนการปฏิบัติราชการของหน่วยงาน จึงให้ดำเนินการดังนี้

          (๑) ให้หัวหน้าหน่วยงานเร่งรัด กำกับ ติดตาม การใช้จ่ายงบประมาณของหน่วยงาน ตามแผนการปฏิบัติราชการของหน่วยงานเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

          (๒) ให้เร่งดำเนินโรงการและหรือกิจกรรมตามแผนปฏิบัติราชการของหน่วยขงาน และเร่งใช้หรือเบิกจ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามเป้าหมาย กำหนดระยะเวลาที่มหาวิทยาลัยกำหนด โดยเฉพาะเงินงบประมาณแผ่นดิน

          (๓) ให้ตรวจสอบข้อมูลการใช้จ่ายงบประมาณให้มีความถูกต้องตรงตามแผนงาน โครงการ และหรือกิจกรรมที่ได้ดำเนินการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และให้รรายงานข้อมูลการใช้จ่ายงบประมาณตามแผนปฏิบัติราชการ มายังงานบริหารทั่วไป(ฝ่ายธุรการและสารบรรณ) ภายในวันที่ ๗ ของเดือนถัดไปทุกเดือนเพื่อจะได้รวบรวมข้อมูลและนำเสนอคณะกรรมการบริหารสำนักงานอธิการบดีต่อไป

5มีการตรวจสอบ ติดตามการใช้เงินให้เป็นไปตามระเบียบและกฎเกณฑ์ที่สถาบันหรือหน่วยงาน และมีการเผยแพร่รายงานทางการเงินหรือช่องทางการตรวจสอบความโปร่งใสทางการเงินของหน่วยงานให้แก่คณะผู้บริหาร และบุคลากรทั้งภายในและภายนอก

๕. สำนักงานอธิการบดี มีการตรวจสอบ ติดตามการใช้เงินให้เป็นไปตามระเบียบและกฎเกณฑ์ของสถาบันหรือหน่วยงาน และมีการเผยแพร่รายงานทางการเงินหรือช่องทางการตรวจสอบความโปร่งใสทางการเงินของหน่วยงานให้แก่คณะผู้บริหาร และบุคลากรทั้งภายในและภายนอก ดังนี้

       ๕.๑ มีการติดตาม ตรวจสอบการใช้จ่ายเงินให้เป็นไปตามระเบียบราชการ ดังนี้

          (๑) มีหน่วยงานกำกับดูแลติดตามและตรวจสอบการใช้จ่ายเงินให้เป็นไปตามระเบียบราชการ จำนวน ๓ หน่วยงาน ได้แก่

               - ฝ่ายการเงินของหน่วยงาน มีหน้าที่ตรวจสอบเอกสาร หลักฐาน และเบิกจ่ายเงินที่ทุกหน่วยงานในสังกัดสำนักงานอธิการบดีดำเนินการ ให้เป็นไปตามระเบียบและแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง

               - ฝ่ายแผนของหน่วยงาน มีหน้าที่ ตรวจสอบ กำกับติดตาม เร่งรัด และตัดยอดงบประมาณให้เป็นไปตามแผนปฏิบัติการประจำปี

               - หน่วยตรวจสอบภายใน มีหน้าที่ ตรวจสอบ สอบทานการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามระเบียบ และกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

       ๕.๒ มีการเผยแพร่รายงานทางการเงินของหน่วยงานให้แก่ผู้บริหาร บุคลากรทั้งภายในและภายนอกทราบ ผ่านเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย (http://www.sskru.ac.th/) (๑.๒-๕(๑))

6มีการรายงานผลความสําเร็จแผนยุทธศาสตร์ทางการเงินหรือจัดสรรงบประมาณของหน่วยงาน อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ที่ผ่านการเห็นชอบจากคณะกรรมการประจําหน่วยงาน และมีการนําผลการพิจารณาข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะไปปรับปรุงหรือพัฒนา

๖. มีการรายงานผลความสำเร็จแผนกลยุทธ์ทางการเงินหรือจัดสรรงบประมาณ ที่ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารสำนักงานอธิการบดี และนำข้อเสนอแนะมาปรับปรุง ดังนี้

       ๖.๑ มีการรายงานผลความสำเร็จแของแผนกลยุทธ์ทางการเงิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ โดยมีการกำหนดความสำเร็จของแผนกลยุทธ์ทางการเงินไว้ ๓ ตัวชี้วัด ซึ่งบรรลุเป้าหมาย ๒ ตัวชี้วัด ดังนี้

เป้าประสงค์

ตัวชี้วัด

ค่าเป้าหมาย

ผลการดำเนินงาน

การบรรลุ

 

ประเด็นยุทธศาสตร์ : การส่งเสริมและพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการบริหารจัดการทางการเงิน

๑. สำนักงานอธิการบดีมีระบบสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพ สามารถใช้งานและตรวจสอบข้อมูลทางการเงินและ งบประมาณได้อย่างทัน ตามความต้องการ

๑.๑ มีระบบฐานข้อมูล ทางการเงินและงบประมาณ เอื้อต่อการสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหาร

ระดับ ๑

 

- ระดับ ๒

- สำนักงานอธิการบดี ได้นำระบบโปรแกรมสำเร็จรูป Express มาใช้ในการบันทึกรายการรับเงิน การเบิกจ่ายเงินนอกงบประมาณ และนำระบบ New GFMIS มาใช้สำหรับการบันทึกรายการเบิกจ่ายงบประมาณแผ่นดิน ซึ่งทั้ง 2 ระบบ สามารถเรียกดูรายงานผลการรับเงิน การเบิกจ่ายงบประมาณ และวิเคราะห์สถานะทางการเงินแยกตามหน่วยงาน ซึ่งผู้บริหารสามารถ
นำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อประกอบการตัดสินใจบริหารจัดการงบประมาณของสำนักได้

บรรลุ

 

ประเด็นยุทธศาสตร์ : เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารการจัดการทางการเงิน

๒. การบริหารจัดการ ทางการเงินและงบประมาณของสำนักงานอธิการบดีมีประสิทธิภาพ โปร่งใส ตรวจสอบได้

๒.๑ จำนวนเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี

๗.๖ ล้าน

 

- สำนักงานอธิการบดีได้รับการจัดสรรงบประมาณตามแผน จำนวนทั้งสิ้น ๗,๖๐๒,๖๐๐ บาท แบ่งเป็นงบประมาณแผ่นดิน จำนวน ๗๖๒,๖๐๐ บาท คิดเป็นร้อยละ ๑๐.๐๓ และงบประมาณบำรุงการศึกษา จำนวน ๖,๘๔๐,๐๐๐ บาท คิดเป็นร้อยละ ๘๙.๙๗

บรรลุ

 

๒.๒ ร้อยละการเบิกจ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี

ร้อยละ ๘๐

ณ วันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๖ (สิ้นไตรมาสที่ ๓) สำนักงานอธิการบดี เบิกจ่ายงบประมาณ แล้วทั้งสิ้น ๕,๓๒๕,๘๑๐.๐๐ บาท คิดเป็นร้อยละ ๗๐.๐๑ โดยคาดว่าเมื่อสิ้นไตรมาสที่ ๔ สำนักงานอธิการบดีจะสามารถเบิกจ่ายงบประมาณได้ครบถ้วนตามแผนการใช้จ่ายเงินประจำปี

ไม่บรรลุ
(เนื่องจากอยู่ระหว่างการดำเนินงานไตรมาส ๔)

 

       ๖.๒ นำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักงานอธิการบดี ในคราวประชุม ครั้งที่ ๔/๒๕๖๖ (๑.๒–๖(๑)) เพื่อพิจารณาให้ข้อเสนอแนะ พบว่า ไม่มีมีข้อเสนอแนะในการปรับปรุงพัฒนา แต่ให้คำชื่นชมที่หน่วยงานสามารถนำระบบสารสนเทศทางการเงินมาใช้จนสามารถจัดทำรายงานการเงินได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำมากยิ่งขึ้น อันนำไปสู่การรายงานผู้บริหารพิจารณาตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดการงบประมาณของหน่วยงานได้อย่างทันท่วงที

       ๖.๓ มีการจัดทำรายงานผลการดำเนินงาน สำนักงานอธิการบดี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ (๑.๒–๖(๒)) (๑.๒-๖(๓)) โดยสำนักงานอธิการบดีได้รับการจัดสรรงบประมาณตามแผน จำนวนทั้งสิ้น ๗,๖๐๗,๐๙๐ บาท แบ่งเป็นงบประมาณแผ่นดิน จำนวน ๗๖๒,๖๐๐ บาท คิดเป็นร้อยละ ๑๐.๐๒ และงบประมาณบำรุงการศึกษา จำนวน ๖,๘๔๐,๐๐๐ บาท คิดเป็นร้อยละ ๘๙.๙๘ โดยมีผลการเบิกจ่าย ดังนี้

งบประมาณ

แผน

ผล

ร้อยละการเบิกจ่าย

แผ่นดิน

๗๖๒,๖๐๐.๐๐

๖๑๖,๓๓๗.๐๐

๘๐.๘๒

บกศ.

๖,๘๔๔,๔๙๐.๐๐

๔,๗๐๙,๔๗๓.๐๐

๖๘.๘๑

รวม

๗,๖๐๗,๐๙๐.๐๐

๕,๓๒๕,๘๑๐.๐๐

๗๐.๐๑

 

ผลคะแนนการประเมินตนเอง
ทำได้ (ข้อ) ได้คะแนน
6 5