ตัวบ่งชี้ที่ 1.5 การบริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาล

ปีที่ประเมิน 2565
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : กมลมาศ เอี้ยวถาวร , กนกกาญจน์ บุญทรง
ชนิดตัวบ่งชี้ : กระบวนการ
คำอธิบายตัวบ่งชี้

การบริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาล ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยผู้บริหารของหน่วยงานแสดงความมุ่งมั่นต่อการประพฤติปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาล ให้นโยบาย สร้างบรรยากาศ กําหนดแนวทางกํากับติดตาม แสดงตนเป็นตัวอย่างที่ดี ทําให้มั่นใจว่าพันธกิจและวิสัยทัศน์สอดคล้องไปในแนวทางเดียวกันกับหลักจริยธรรม พฤติกรรมที่มีจริยธรรมควรมีการปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด สามารถตรวจสอบได้ บุคลากรประพฤติปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาล และผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียรับรู้และเชื่อมั่นด้านธรรมาภิบาล ของหน่วยงาน สามารถอธิบายการดําเนินงานได้อย่างชัดเจนครบถ้วนทั้ง 10 ประการ ได้แก่ 1) หลักประสิทธิผล 2) หลักประสิทธิภาพ 3) หลักการตอบสนอง 4) หลักภาระรับผิดชอบ 5) หลักความโปร่งใส 6) หลักการมีส่วนร่วม 7) หลักการกระจายอํานาจ 8) หลักนิติธรรม 9) หลักความเสมอภาค และ 10) หลักมุ่งเน้นฉันทามติ

เกณฑ์การประเมิน
คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 หรือ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 หรือ 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 หรือ 6 ข้อ มีการดำเนินการ 7 หรือ 8 ข้อ มีการดำเนินการ 9 หรือ 10 ข้อ
เกณฑ์มาตรฐาน
ระดับ เกณฑ์มาตรฐาน ดำเนินการ
1 หลักประสิทธิผล (Effectiveness) คือ ผลการปฏิบัติราชการที่บรรลุวัตถุประสงค์ และเป้าหมายของ แผนการปฏิบัติราชการตามที่ได้รับงบประมาณมาดําเนินการ รวมถึงสามารถเทียบเคียงกับส่วนราชการหรือ หน่วยงานที่มีภารกิจคล้ายคลึงกันและมีผลการปฏิบัติงานในระดับชั้นนําของประเทศ เพื่อให้เกิดประโยชน์สุขต่อ ประชาชน โดยการปฏิบัติราชการจะต้องมีทิศทางยุทธศาสตร์และเป้าประสงค์ที่ชัดเจน มีกระบวนการปฏิบัติงาน และระบบงานที่เป็นมาตรฐาน รวมถึงมีการติดตามประเมินผลและพัฒนา ปรับปรุงอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ
2 หลักประสิทธิภาพ (Efficiency) คือ การบริหารราชการตามแนวทางการกํากับดูแลที่ดีที่มีการออกแบบ กระบวนการปฏิบัติงานโดยใช้เทคนิคและเครื่องมือการบริหารจัดการที่เหมาะสมให้องค์การสามารถใช้ทรัพยากร ทั้งด้านต้นทุน แรงงานและระยะเวลาให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาขีดความสามารถในการปฏิบัติราชการ ตามภารกิจเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม
3 หลักการตอบสนอง (Responsiveness) คือ การให้บริการที่สามารถดําเนินการได้ภายในระยะเวลาที่กําหนด และสร้าง ความเชื่อมั่น ความไว้วางใจ รวมถึงตอบสนองความคาดหวังหรือความต้องการของประชาชน ผู้รับบริการ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีความหลากหลายและมีความแตกต่าง
4 หลักภาระรับผิดชอบ (Accountability) คือ การแสดงความรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่และผลงานต่อเป้าหมายที่กําหนดไว้ โดยความรับผิดชอบนั้นควรอยู่ในระดับที่สนองต่อความคาดหวังของสาธารณะ รวมทั้งการแสดงถึงความสํานึกในการรับผิดชอบต่อปัญหาสาธารณะ
5 หลักความโปร่งใส (Transparency) คือ กระบวนการเปิดเผยอย่างตรงไปตรงมา ชี้แจงได้ เมื่อมีข้อสงสัย และสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารอันไม่ต้องห้ามตามกฎหมายได้อย่างเสรี โดยประชาชนสามารถรู้ทุกขั้นตอนในการดําเนินกิจกรรมหรือกระบวนการต่างๆ และสามารถตรวจสอบได้
6 หลักการมีส่วนร่วม (Participation) คือ กระบวนการที่ข้าราชการ ประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทุกกลุ่มมีโอกาสได้เข้าร่วมในการรับรู้ เรียนรู้ ทําความเข้าใจ ร่วมแสดงทัศนะร่วมเสนอปัญหาหรือประเด็นที่สําคัญ ที่เกี่ยวข้อง ร่วมคิด แนวทาง ร่วมการแก้ไขปัญหา ร่วมในกระบวนการตัดสินใจ และร่วมกระบวนการพัฒนาในฐานะ หุ้นส่วนการพัฒนา
7 หลักการกระจายอํานาจ (Decentralization) คือ การถ่ายโอนอํานาจการตัดสินใจ ทรัพยากรและภารกิจ จากส่วนราชการส่วนกลางให้แก่หน่วยการปกครองอื่นๆ (ราชการบริหาร ส่วนท้องถิ่น) และภาคประชาชนดําเนินการ แทนโดยมีอิสระตามสมควร รวมถึงการมอบอํานาจและความรับผิดชอบในการตัดสินใจ และการดําเนินการให้แก่ บุคลากร โดยมุ่งเน้นการสร้างความพึงพอใจในการให้บริการต่อผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียการปรับปรุง กระบวนการ และเพิ่มผลิตภาพ เพื่อผลการดําเนินงานที่ดีของส่วนราชการ
8 หลักนิติธรรม (Rule of Law) คือ การใช้อํานาจของกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับในการบริหารราชการ ด้วยความเป็นธรรม ไม่เลือกปฏิบัติ และคํานึงถึงสิทธิเสรีภาพของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
9 หลักความเสมอภาค (Equity) คือ การได้รับการปฏิบัติและได้รับบริการอย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่มี การแบ่งแยกด้านชายหรือหญิง ถิ่นกําเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษา การฝึกอบรม และอื่นๆ
10 หลักมุ่งเน้นฉันทามติ (Consensus Oriented) คือ การหาข้อตกลงทั่วไปภายในกลุ่ม ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นข้อตกลงที่เกิดจากการใช้กระบวนการเพื่อหาข้อคิดเห็นจากกลุ่มบุคคลที่ได้รับประโยชน์และ เสียประโยชน์ โดยเฉพาะกลุ่มที่ได้รับผลกระทบโดยตรงซึ่งต้องไม่มีข้อคัดค้านที่ยุติไม่ได้ในประเด็นที่สําคัญ โดย ฉันทามติไม่จําเป็นต้องหมายความว่าเป็นความเห็นพ้อง โดยเอกฉันท์
ผลการดำเนินงาน
ตนข้อเกณฑ์ผลการดำเนินงานหลักฐาน
1หลักประสิทธิผล (Effectiveness) คือ ผลการปฏิบัติราชการที่บรรลุวัตถุประสงค์ และเป้าหมายของ แผนการปฏิบัติราชการตามที่ได้รับงบประมาณมาดําเนินการ รวมถึงสามารถเทียบเคียงกับส่วนราชการหรือ หน่วยงานที่มีภารกิจคล้ายคลึงกันและมีผลการปฏิบัติงานในระดับชั้นนําของประเทศ เพื่อให้เกิดประโยชน์สุขต่อ ประชาชน โดยการปฏิบัติราชการจะต้องมีทิศทางยุทธศาสตร์และเป้าประสงค์ที่ชัดเจน มีกระบวนการปฏิบัติงาน และระบบงานที่เป็นมาตรฐาน รวมถึงมีการติดตามประเมินผลและพัฒนา ปรับปรุงอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ

  ๑.สำนักงานอธิการบดีมีการบริหารงานตามหลักประสิทธิผล (Effectiveness) ดังนี้

          ๑.๑ มีผลการปฏิบัติราชการที่บรรลุวัตถุประสงค์ และเป้าหมายของแผนปฏิบัติการ ประจำปีงบประมาณพ.ศ. ๒๕๖๖ (๑.๕-๑(๑)) โดยได้รับการจัดสรรงบประมาณทั้งสิ้น ๗,๖๐๒,๖๐๐ บาท สามารถเบิกจ่ายตามแผน ๓,๙๐๗,๖๕๖ บาท คิดเป็นร้อยละ ๕๑.๔๐ เมื่อเทียบกับงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๕ โดยได้รับการจัดสรรงบประมาณทั้งสิ้น ๗,๒๑๐,๖๐๐ บาท สามารถเบิกจ่ายตามแผน ๓,๐๖๕,๔๓๗.๑๘ บาท คิดเป็นร้อยละ ๔๒.๕๑

         ๑.๒ มีผลการปฏิบัติที่บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายตามผลการประเมินคณะกรรมการติดตามตรวจสอบ ผู้อำนวยการสำนักงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔  (๑.๕-๒ (๒)) มีแนวโน้มดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนี้

         ๑.๓ มีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ สำนักงานอธิการบดี ประจำปี ๒๕๖๖ – ๒๕๗๐ (๑.๕-๑(๓)) และจัดทำรายงานประจำปี (๑.๕-๑(๔)) เพื่อรายงานต่อผู้บริหาร (๑.๕-๑(๕)) เผยแพร่ต่อสาธารณชน

2หลักประสิทธิภาพ (Efficiency) คือ การบริหารราชการตามแนวทางการกํากับดูแลที่ดีที่มีการออกแบบ กระบวนการปฏิบัติงานโดยใช้เทคนิคและเครื่องมือการบริหารจัดการที่เหมาะสมให้องค์การสามารถใช้ทรัพยากร ทั้งด้านต้นทุน แรงงานและระยะเวลาให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาขีดความสามารถในการปฏิบัติราชการ ตามภารกิจเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม

            ๒. สำนักงานอธิการบดีมีการบริหารงานตามหลักประสิทธิภาพ (Efficiency)ดังนี้

                    ๒.๑. ผู้บริหารให้ความสำคัญในการกำกับดูแลอย่างใกล้ชิดและมีประสิทธิภาพ โดยใช้กระบวนการประชุมคณะกรรมการบอร์ดต่างๆ เพื่อกำกับติดตามและใช้มติที่ประชุมในการหาข้อสรุปร่วมกัน โดยมีหัวหน้าฝ่ายทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วมในการเป็นคณะกรรมการ เช่น คณะกรรมการบริหารสำนักงานอธิการบดี (๑.๕-๒(๑))คณะกรรมการบริหารงานบุคคลประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ (ก.บ.ม.) (๑.๕-๒(๒)) คณะกรรมการอุทธรณ์และร้องทุกข์ประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ (ก.อ.ม.) (๑.๕-๒(๓)) คณะกรรมการติดตามตรวจสอบ

                    ๒.๒. มีการใช้เครื่องมือการจัดการความรู้ มาใช้ในการพัฒนางาน โดยมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำประเด็นปัญหา และความต้องการที่จำเป็นมาแลกเปลี่ยนพูดคุย ทางออก และค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีจากผู้ปฏิบัติงานที่ประสบความสำเร็จในองค์กร เพื่อเผยแพร่และนำไปสู่การปฏิบัติในการพัฒนางาน พัฒนาคน ให้มีประสิทธิภาพ นอกจากจะได้องค์ความรู้ที่จำเป็นต่อการพัฒนางานแล้ว ยังส่งผลให้บุคลากรมีความรัก ความผูกพันในระดับตัวบุคคล และผูกพันกับองค์กรอีกด้วย จนเกิดวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ในองค์กร โดยมีองค์ความรู้ที่มีการจัดเก็บไว้เป็นลายลักษณ์อักษรและประชาสัมพันธ์จำนวนมาก

                    ๒.๓. มีการใช้นวัตกรรมในการบริหารจัดการองค์กร โดยมีการมอบนโยบายให้ทุกหน่วยงานลดขั้นตอนการปฏิบัติงานให้มีระยะเวลา ต้นทุนที่น้อยลง แต่มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น เช่น การให้บริการด้านระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ (E-Document) (๑.๕-๒(๔)) เป็นต้น

                    ๒.๔. มีการใช้ทรัพยากรร่วมกันระหว่างหน่วยงาน หรือระหว่างฝ่ายงาน เพื่อลดต้นทุนในการเช่า ซื้อ หรือจ้าง เช่น การใช้ห้องประชุมสถานที่หรืออาคาร การยืมวัสดุอุปกรณ์ การบูรณาการจัดกิจกรรมต่างๆ ระหว่างหน่วยงาน และอื่นๆ เป็นต้น

                    ๒.๕. มีการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการบริหารจัดการหน่วยงาน เช่น ระบบการขอเลขหนังสือราชการ ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ (๑.๕-๒(๕))เป็นต้น

3หลักการตอบสนอง (Responsiveness) คือ การให้บริการที่สามารถดําเนินการได้ภายในระยะเวลาที่กําหนด และสร้าง ความเชื่อมั่น ความไว้วางใจ รวมถึงตอบสนองความคาดหวังหรือความต้องการของประชาชน ผู้รับบริการ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีความหลากหลายและมีความแตกต่าง

๓. สำนักงานอธิการบดีมีการบริหารงานตามหลักการตอบสนอง (Responsiveness) ดังนี้

                    มีการให้บริการที่สามารถดำเนินการได้ตามระยะเวลาที่กำหนด สามารถตอบสนองความคาดหวังของผู้รับบริการ โดยมีผลการประเมินความพึงพอใจ การให้บริการด้านต่างๆ ดังนี้

                    ๓.๑ การให้บริการด้านสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ (๑) มีการประเมินความพึงพอใจ แบ่งเป็น ๒ ด้าน ดังนี้

                   ส่วนที่ ๑ : ด้านความพึงพอใจต่อการใช้งานระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์

          - ด้านความสามารถของผู้ใช้งานระบบ E-Document มีค่าเฉลี่ย ๓.๗๖

          - ด้านประสิทธิภาพและความปลอดภัยของระบบ E-Document มีค่าเฉลี่ย ๓.๘๑

          - ด้านการให้บริการของเจ้าหน้าที่งานธุรการและสารบรรณ มีค่าเฉลี่ย ๓.๘๓

          ระดับความพึงพอใจภาพรวม มาก

          ส่วนที่ ๒ : ปัญหาในการใช้งานระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์

          - ด้านการใช้งานระบบ E-Document มีค่าเฉลี่ย ๓.๐๗

          - ด้านการจัดการเอกสารระบบ E-Document มีค่าเฉลี่ย ๓.๑๘

          - ด้านการดำเนินงานระบบ E-Document มีค่าเฉลี่ย ๓.๑๘

ระดับความพึงพอใจภาพรวม ปานกลาง

4หลักภาระรับผิดชอบ (Accountability) คือ การแสดงความรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่และผลงานต่อเป้าหมายที่กําหนดไว้ โดยความรับผิดชอบนั้นควรอยู่ในระดับที่สนองต่อความคาดหวังของสาธารณะ รวมทั้งการแสดงถึงความสํานึกในการรับผิดชอบต่อปัญหาสาธารณะ

๔. สำนักงานอธิการบดีมีการบริหารงานตามหลักภาระรับผิดชอบ (Accountability) ดังนี้

                    ๔.๑ หน่วยงานมีการมอบหมายภาระงานแก่บุคลากรที่ชัดเจน ตรงตามความสามารถ และตรงตามตำแหน่งที่บรรจุ โดยมีการกำหนดไว้ในหนังสือสัญญาจ้างของบุคลากรของแต่ละบุคคลตั้งแต่แรกบรรจุ (๑.๕-๔(๑)) และหน่วยงานมีการจัดทำเป็นคำสั่ง เรื่องมอบหมายภาระงานบุคลากร สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ (๑.๕-๔(๒)) มีการจัดทำปฏิทินการดำเนินงานรายปี (๑.๕-๔(๓)) ทุกหน่วยงานมีการดำเนินงานตามแผนได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีการกำกับติดตามผลการดำเนินงานของแต่ละหน่วยงานผ่านการประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักงานอธิการบดี อย่างต่อเนื่อง มีการประเมินผลการปฏิบัติราชการของบุคลากร ตามหลักเกณฑ์วิธีการตามระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ ที่กำหนด โดยวิธีการประเมินแบบสามเส้า มีการประเมินจากผู้บริหารที่กำกับทุกระดับชั้น โดยแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินในขั้นต้น ขั้นกลาง และขั้นสุดท้าย พิจารณากลั่นกรอง เพื่อให้เกิดความถูกต้อง เป็นธรรม แก่บุคลากรทุกฝ่าย ก่อนออกคำสั่งเลื่อนเงินค่าตอบแทนประจำปี ในแต่ละรองการประเมิน (๑.๕-๔(๔) (๕)) คือ ผู้บริหารระดับสูง ผู้บริหารหน่วยงานและหัวหน้าหน่วยงาน โดยมีผลต่อการปรับขั้นเงินเดือนของบุคลากร เพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติบุคลากรที่มีความรับผิดชอบ

          ๔.๒ หน่วยงานมีการจัดกิจกรรมบริการวิชาการที่แสดงความรับผิดชอบต่อสาธารณะ หลากหลายรูปแบบดังนี้

                  ๑) กิจกรรมที่แสดงความรับผิดชอบต่อสาธารณะและตอบสนองความคาดหวังต่อสังคม เช่น มีการจัดกิจกรรมโครงการอบรมวิศวกรสังคม, โครงการศาสตร์พระราชาฯ, โครงการยกระดับเศรษฐกิจฐานราก ๑ ตำบล ๑ มหาวิทยาลัย (U2T)  (๑.๕-๔(๖)) เป็นต้น

5หลักความโปร่งใส (Transparency) คือ กระบวนการเปิดเผยอย่างตรงไปตรงมา ชี้แจงได้ เมื่อมีข้อสงสัย และสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารอันไม่ต้องห้ามตามกฎหมายได้อย่างเสรี โดยประชาชนสามารถรู้ทุกขั้นตอนในการดําเนินกิจกรรมหรือกระบวนการต่างๆ และสามารถตรวจสอบได้

๕. สำนักงานอธิการบดีมีการบริหารงานตามหลักความโปร่งใส (Transparency) ดังนี้

                   มีการเปิดเผยข้อมูลอย่างตรงไปตรงมา สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร การดำเนินกิจกรรมหรือกระบวนการต่างๆ ซึ่งสามารถตรวจสอบได้ 

          ๕.๑ สายตรงผู้อำนวยการสำนักงานอธิการบดี เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการแจ้งปัญหา หรือข้อสงสัย เพื่อนำมาปรับปรุงพัฒนาหน่วยงาน

          ๕.๒ เปิดเผยข้อมูลข่าวสารหน่วยงานและกิจกรรมผ่าน เว็ปไซต์ สำนักงานอธิการบดี http://www.psd.sskru.ac.th/ (๑.๕-๕(๒))

          ๕.๓ มีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ คู่มือการปฏิบัติงานธุรการและสารบรรณ (๑.๕-๕(๓)) เพื่อให้บุคลากร นักศึกษา และผู้สนใจนำไปใช้ประโยชน์

6หลักการมีส่วนร่วม (Participation) คือ กระบวนการที่ข้าราชการ ประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทุกกลุ่มมีโอกาสได้เข้าร่วมในการรับรู้ เรียนรู้ ทําความเข้าใจ ร่วมแสดงทัศนะร่วมเสนอปัญหาหรือประเด็นที่สําคัญ ที่เกี่ยวข้อง ร่วมคิด แนวทาง ร่วมการแก้ไขปัญหา ร่วมในกระบวนการตัดสินใจ และร่วมกระบวนการพัฒนาในฐานะ หุ้นส่วนการพัฒนา

 ๖. สำนักงานอธิการบดีมีการบริหารงานตามหลักการมีส่วนร่วม (Participation) ดังนี้

                    ๖.๑ ข้าราชการ ประชาชน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีส่วนร่วมในการเป็นคณะกรรมการ บอร์ดต่างๆ

7หลักการกระจายอํานาจ (Decentralization) คือ การถ่ายโอนอํานาจการตัดสินใจ ทรัพยากรและภารกิจ จากส่วนราชการส่วนกลางให้แก่หน่วยการปกครองอื่นๆ (ราชการบริหาร ส่วนท้องถิ่น) และภาคประชาชนดําเนินการ แทนโดยมีอิสระตามสมควร รวมถึงการมอบอํานาจและความรับผิดชอบในการตัดสินใจ และการดําเนินการให้แก่ บุคลากร โดยมุ่งเน้นการสร้างความพึงพอใจในการให้บริการต่อผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียการปรับปรุง กระบวนการ และเพิ่มผลิตภาพ เพื่อผลการดําเนินงานที่ดีของส่วนราชการ

 ๗. สำนักงานอธิการบดีมีการบริหารงานตามหลักการกระจายอํานาจ (Decentralization) ดังนี้

                    ๗.๑ มีการมอบหมายผู้อำนวยการสำนักงานอธิการบดี เพื่อประโยชน์และความเหมาะสมในการปฏิบัติราชการ และเพื่อให้งานในสำนักงานอธิการบดีเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีความต่อเนื่องอย่างมีประสิทธิภาพ (๑.๕-๗(๑))

                    ๗.๒ มีการจัดทำคำสั่งมอบหมาย หัวหน้างาน โดยมีบทบาทหน้าที่ เพื่อให้การกำกับดูแลและการปฏิบัติงานของมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ เป็นไปด้วยความเรียบร้อย มีประสิทธิภาพ และเกิดผลดีแก่ทางราชการ  (๑.๕-๗(๒))

                    ๗.๓ มีการจัดทำคำสั่งมอบหมายภาระงานให้บุคลากรสำนักงานอธิการบดีให้เหมาะสมตรงตามตำแหน่งและฝ่ายงาน เพื่อให้ดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ (๑.๕-๗(๓))

8หลักนิติธรรม (Rule of Law) คือ การใช้อํานาจของกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับในการบริหารราชการ ด้วยความเป็นธรรม ไม่เลือกปฏิบัติ และคํานึงถึงสิทธิเสรีภาพของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

  ๘. สำนักงานอธิการบดีมีการบริหารงานตามหลักนิติธรรม (Rule of Law) ดังนี้

                   ๘.๑ มีการใช้อำนาจของกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับในการบริหารราชการด้านความเป็นธรรม เช่น ระเบียบ การใช้จ่ายเงิน /ประกาศมหาวิทยาลัยฯ /การประเมินผู้ประกัน (๑.๕-๘(๑) (๒))

9หลักความเสมอภาค (Equity) คือ การได้รับการปฏิบัติและได้รับบริการอย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่มี การแบ่งแยกด้านชายหรือหญิง ถิ่นกําเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษา การฝึกอบรม และอื่นๆ

 ๙. สำนักงานอธิการบดีมีการบริหารงานตามหลักความเสมอภาค (Equity) ดังนี้

                    มีการให้บริการอย่างเท่าเทียม ไม่มีการแบ่งแยก เพศ ภาษา เชื้อชาติ ศาสนา เช่น มีการประเมินขั้นเงินเดือนให้แก่บุคลากรโดยมีการกำหนดหลักเกณฑ์และแต่งตั้งคณะกรรมการที่ไม่มีส่วนได้ส่วนเสีย / การจัดกิจกรรมที่ให้บุคลากร / นักศึกษาเข้าร่วม เช่น การบริจาคโลหิต ที่สามารถให้ทุกคนเข้าร่วมกิจกรรมได้

10หลักมุ่งเน้นฉันทามติ (Consensus Oriented) คือ การหาข้อตกลงทั่วไปภายในกลุ่ม ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นข้อตกลงที่เกิดจากการใช้กระบวนการเพื่อหาข้อคิดเห็นจากกลุ่มบุคคลที่ได้รับประโยชน์และ เสียประโยชน์ โดยเฉพาะกลุ่มที่ได้รับผลกระทบโดยตรงซึ่งต้องไม่มีข้อคัดค้านที่ยุติไม่ได้ในประเด็นที่สําคัญ โดย ฉันทามติไม่จําเป็นต้องหมายความว่าเป็นความเห็นพ้อง โดยเอกฉันท์

 ๑๐. สำนักงานอธิการบดีมีการบริหารงานตามหลักมุ่งเน้นฉันทามติ (Consensus Oriented) ดังนี้

                   หน่วยงานมีการหาข้อตกลง ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของบุคลากร โดยการประชุมคณะกรรมการ โดยมีผู้บริหารใช้หลักมุ่งฉันทามติในการหาข้อตกลงเพื่อหาข้อตกลงแบบมีส่วนร่วมโดยใช้การประชุมบอร์ดต่างๆ  ใช้มติที่ประชุมเพื่อหาข้อสรุป (๑.๕-๑๐(๑))

ผลคะแนนการประเมินตนเอง
ทำได้ (ข้อ) ได้คะแนน
10 5