ตัวบ่งชี้ที่ 1.6 การส่งเสริมสมรรถนะและทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ

ปีที่ประเมิน 2562
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : ฐิติมา เกษมสุข , วนัสนันท์ งวดชัย , อรุณ วรรณราช
ชนิดตัวบ่งชี้ : กระบวนการ
คำอธิบายตัวบ่งชี้

กระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายเร่งปฏิรูปการเรียนรู้ทั้งระบบให้สัมพันธ์เชื่อมโยงกัน เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาและพัฒนาศักยภาพผู้เรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างเสริมสมรรถนะและทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ ให้ผู้เรียนสามารถใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารและใช้ในการแสวงหาองค์ความรู้เพื่อพัฒนาตนเอง กระทรวงศึกษาธิการจึงได้ออกประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การปฏิรูปการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ นโยบายหนึ่งที่สำคัญ คือ การส่งเสริมการยกระดับความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษด้วยโครงการพิเศษด้านการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ สถาบันอุดมศึกษาจึงต้องพัฒนาศักยภาพของบัณฑิตให้เป็นไปตามนโยบาย ซึ่งจะนำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศได้

เกณฑ์การประเมิน
คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 ข้อ มีการดำเนินการ 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ
หมายเหตุ

ข้อ 5 นักศึกษาที่เข้าสอบต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของนักศึกษาชั้นปีสุดท้ายทั้งหมด ในปีที่ประเมิน

เกณฑ์มาตรฐาน
ระดับ เกณฑ์มาตรฐาน ดำเนินการ
1 มีระบบและกลไกในการส่งเสริม สนับสนุน ให้มีการพัฒนานักศึกษาด้านภาษาอังกฤษ
2 มีการจัดทำแผนพัฒนานักศึกษาด้านภาษาอังกฤษ จากการมีส่วนร่วมของหลักสูตร โดยผ่าน ความเห็นชอบจากคณะกรรมการประจำคณะ
3 มีการจัดสรรงบประมาณ และสิ่งสนับสนุนการดำเนินการตามแผนพัฒนานักศึกษาด้านภาษาอังกฤษ
4 มีการประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนฯ และมีการนำผลจากการประเมินมาปรับปรุงในปีถัดไป
5 มีนักศึกษาระดับปริญญาตรีปีสุดท้ายที่ผ่านเกณฑ์การวัดผล CEFR (B1) ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 50 ของนักศึกษาชั้นปีสุดท้ายที่เข้าสอบ
ผลการดำเนินงาน
ตนข้อเกณฑ์ผลการดำเนินงานหลักฐาน
1 มีระบบและกลไกในการส่งเสริม สนับสนุน ให้มีการพัฒนานักศึกษาด้านภาษาอังกฤษ

          มหาวิทยาลัยได้มีการจัดตั้งศูนย์ภาษา เพื่อพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ  โดยมีการแต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมสมรรถนะและทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ (เอกสารหมายเลข 1.6-1(1)) โดยการมีส่วนร่วมของผู้บริหารมหาวิทยาลัย ผู้แทนผู้บริหาร/อาจารย์จากทุกคณะ เพื่อร่วมกันกำหนดนโยบายและวางแนวทางในการพัฒนาทักษะด้านภาษาอังกฤษของนักศึกษา (เอกสารหมายเลข 1.6-1 (2-3)) และจัดทำแผนพัฒนานักศึกษาด้านภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ พ.ศ. 2562 – 2565 (เอกสารหมายเลข 1.6-1(4))

        คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี ได้นำนโยบายด้านการส่งเสริมภาษาอังกฤษของมหาวิทยาลัยมาใช้ในการดำเนินการ และแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการส่งเสริมสมรรถนะและทักษะด้านภาษาอังกฤษแก่นักศึกษา (เอกสารหมายเลข 1.6-1(5)) โดยคณะกรรมการดังกล่าวมีหน้าที่ในการกำหนดนโยบายและแนวทางในการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการส่งเสริมและพัฒนาทักษะด้านภาษาอังกฤษของบุคลากรและนักศึกษาของคณะ

2 มีการจัดทำแผนพัฒนานักศึกษาด้านภาษาอังกฤษ จากการมีส่วนร่วมของหลักสูตร โดยผ่าน ความเห็นชอบจากคณะกรรมการประจำคณะ

         คณะฯ จัดการมีการจัดประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการส่งเสริมสมรรถนะและทักษะด้านภาษาอังกฤษ เพื่อจัดทำร่างแผนพัฒนานักศึกษาด้านทักษะด้านภาษาอังกฤษ ประจำปี พ.ศ. 2563 (เอกสารหมายเลข 1.6-2(1)) และนำร่างแผนดังกล่าวเข้าที่ประชุมคณะกรรมการประจำคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี ครั้งที่ 1/2563 เพื่อพิจารณาเห็นชอบ (เอกสารหมายเลข 1.6-2(1)) และเผยแพร่แผนดังกล่าวให้บุคลากรในคณะฯ นำไปใช้เป็นแนวทางสำหรับการดำเนินการต่อไป

3 มีการจัดสรรงบประมาณ และสิ่งสนับสนุนการดำเนินการตามแผนพัฒนานักศึกษาด้านภาษาอังกฤษ

         คณะฯ  ได้มีการจัดสรรงบประมาณและสิ่งสนับสนุนการดำเนินการตามแผนพัฒนาทักษะด้านภาษาอังกฤษ สำหรับบุคลากรและนักศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 จำนวน 16,160 บาท ในโครงการส่งเสริมทักษะด้านภาษาอังกฤษให้กับนักศึกษา (เอกสารหมายเลข 1.6-3(1)) ซึ่งเป็นงบประมาณสำหรับการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ เพื่อกระตุ้นให้นักศึกษาเห็นความสำคัญของการพัฒนาทักษะทางด้านภาษาอังกฤษ  นอกจากนี้ คณะฯ ได้จัดสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ทักษะด้านภาษาอังกฤษ โดยนำนักศึกษาชั้นปีที่ 3 เข้าร่วมโครงการพัฒนาความรู้ ทักษะภาษาอังกฤษในศตวรรษที่ 21 โดยอาจารย์ในคณะฯได้เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการดำเนินโครงการพัฒนาความรู้ ทักษะภาษาอังกฤษในศตวรรษที่ 21 ระดับมหาวิทยาลัย (เอกสารหมายเลข 1.6-3(2))  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาได้พัฒนาความรู้ด้านภาษาอังกฤษ และสอบวัดระดับความรู้ภาษาอังกฤษ CEFR  มีการเรียนออนไลน์ผ่านโปรแกรม English Discoveries ซึ่งมีการทดสอบก่อนการอบรมและหลังการอบรมเพื่อนำผลคะแนนมาเปรียบเทียบในการพัฒนาครั้งต่อไป

4 มีการประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนฯ และมีการนำผลจากการประเมินมาปรับปรุงในปีถัดไป

        คณะฯ โดยคณะกรรมการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการส่งเสริมสมรรถนะและทักษะด้านภาษาอังกฤษแก่นักศึกษา มีการประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนพัฒนาทักษะด้านภาษาอังกฤษ (เอกสารหมายเลข 1.6-4(1))  พบว่า ไม่บรรลุเป้าหมายตามวัตถุประสงค์ของแผน เนื่องจากเกิดความล่าช้าในการจัดโครงการ  โดยคณะได้จัดโครงการพัฒนาบุคลากรด้านทักษะภาษาอังกฤษขึ้นเมื่อวันที่ 23 - 24 มิถุนายน 2563 (เอกสารหมายเลข 1.6-4(2))  อย่างไรก็ตาม ทางคณะฯ ได้มีการนำผลการประเมินความสำเร็จของแผนมาวางแผนดำเนินงาน ในปีการศึกษา 2563  โดยคณะไว้วางแผนจัดทำโครงการส่งเสริมทักษะด้านภาษาอังกฤษให้กับนักศึกษา จำนวน 225 คน ในวันที่ 8 สิงหาคม 2563 (เอกสารหมายเลข 1.6-4(3)) และเสริมทักษะด้านภาษาอังกฤษ และเตรียมความพร้อมเพื่อสอบวัดระดับความรู้ทางก้านภาษาอังกฤษ CEFR และจะนำผลสอบของนักศึกษาไปวางแผนในการพัฒนารายบุคคลต่อไป

วัตถุประสงค์

ตัวชี้วัด

เป้าหมาย

ผลการประเมิน

ระดับความสำเร็จ

1.  เพื่อส่งเสริมและพัฒนาทักษะด้านภาษาอังกฤษของนักศึกษาคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี

ร้อยละของนักศึกษาที่ผ่านโครงการ/กิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาทักษะด้านภาษาอังกฤษมีความรู้ทางด้านภาษาอังกฤษมากขึ้น

 

20

นักศึกษาคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี ได้เข้าร่วมอบรมโครงการพัฒนาความรู้ ทักษะภาษาอังกฤษในศตวรรษที่ 21 จำนวน 275 คน มีผู้สอบผ่านตามเกณฑ์ CEFR ในระดับ B1 จำนวน 11 คน คิดเป็นร้อยละ 4 ของนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ (ทดสอบก่อนเข้ารับการอบรม)  แต่ยังไม่สามารถประเมินความรู้ที่เพิ่มขึ้นได้ เนื่องจากยังไม่ได้ทดสอบหลังจบการอบรม

0

2.  เพื่อจัดหาสื่อ นวัตกรรม แหล่งเรียนรู้ และสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ด้านทักษะภาษาอังกฤษ

ร้อยละของหลักสูตรที่นำสื่อ นวัตกรรม แหล่งเรียนรู้ และสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ด้านทักษะภาษาอังกฤษ ไปพัฒนาทักษะนักศึกษาในหลักสูตรของตนเอง

15

นักศึกษาจำนวน 7 หลักสูตร ได้รับการสนับสนุนให้ใช้โปรแกรม English Discoveries เพื่อพัฒนาทักษะด้านภาษาอังกฤษ โดยนักศึกษาทุกคนจะได้สิทธิ์ในการเข้าใช้โปรแกรมและมีอาจารย์ที่ปรึกษาคอยให้คำแนะนำและให้ความรู้เพิ่มเติม

100

3.  เพื่อพัฒนาอาจารย์ให้มีทักษะด้านภาษาอังกฤษสำหรับการจัดการเรียนการสอน

ร้อยละของอาจารย์ที่เข้าอบรม พัฒนาความสามารถทางด้านภาษาอังกฤษที่สามารถสอบผ่านหลังการอบรมเรื่องการจัดการเรียนการสอนด้านภาษาอังกฤษ (Post-test)

10

ในปีการศึกษา 2562 คณะไม่ได้จัดอบรมให้แก่อาจารย์

0

5 มีนักศึกษาระดับปริญญาตรีปีสุดท้ายที่ผ่านเกณฑ์การวัดผล CEFR (B1) ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 50 ของนักศึกษาชั้นปีสุดท้ายที่เข้าสอบ

        ในปีการศึกษา 2562  มีนักศึกษาชั้นปีสุดท้ายเข้าสอบวัดระดับความรู้ภาษาอังกฤษ จำนวน 11 คน โดยผลมีผลคะแนนสอบไม่เป็นไปตามเกณฑ์ (ระดับ B1)  และไม่เป็นไปตามเกณฑ์จำนวนนักศึกษาที่เข้าสอบ (เอกสารหมายเลข 1.6-5(1))

ผลคะแนนการประเมินตนเอง
ทำได้ (ข้อ) ได้คะแนน
4 4