ตัวบ่งชี้ที่ 1.6 การส่งเสริมสมรรถนะและทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ

ปีที่ประเมิน 2562
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : วรางคณา ปุ๋ยสูงเนิน , ปรารถนา มะลิไทย , เอกลักษณ์ สุรวิทย์ , กิตติชัย ขันทอง , อลงกต แผนสนิท , สมฤทัย ปิยะพิสุทธิ์
ชนิดตัวบ่งชี้ : กระบวนการ
คำอธิบายตัวบ่งชี้

กระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายเร่งปฏิรูปการเรียนรู้ทั้งระบบให้สัมพันธ์เชื่อมโยงกัน เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาและพัฒนาศักยภาพผู้เรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างเสริมสมรรถนะและทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ ให้ผู้เรียนสามารถใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารและใช้ในการแสวงหาองค์ความรู้เพื่อพัฒนาตนเอง กระทรวงศึกษาธิการจึงได้ออกประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การปฏิรูปการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ นโยบายหนึ่งที่สำคัญ คือ การส่งเสริมการยกระดับความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษด้วยโครงการพิเศษด้านการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ สถาบันอุดมศึกษาจึงต้องพัฒนาศักยภาพของบัณฑิตให้เป็นไปตามนโยบาย ซึ่งจะนำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศได้

เกณฑ์การประเมิน
คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 ข้อ มีการดำเนินการ 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ
หมายเหตุ

ข้อ 5 นักศึกษาที่เข้าสอบต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของนักศึกษาชั้นปีสุดท้ายทั้งหมด ในปีที่ประเมิน

เกณฑ์มาตรฐาน
ระดับ เกณฑ์มาตรฐาน ดำเนินการ
1 มีระบบและกลไกในการส่งเสริม สนับสนุน ให้มีการพัฒนานักศึกษาด้านภาษาอังกฤษ
2 มีการจัดทำแผนพัฒนานักศึกษาด้านภาษาอังกฤษ จากการมีส่วนร่วมของหลักสูตร โดยผ่าน ความเห็นชอบจากคณะกรรมการประจำคณะ
3 มีการจัดสรรงบประมาณ และสิ่งสนับสนุนการดำเนินการตามแผนพัฒนานักศึกษาด้านภาษาอังกฤษ
4 มีการประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนฯ และมีการนำผลจากการประเมินมาปรับปรุงในปีถัดไป
5 มีนักศึกษาระดับปริญญาตรีปีสุดท้ายที่ผ่านเกณฑ์การวัดผล CEFR (B1) ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 50 ของนักศึกษาชั้นปีสุดท้ายที่เข้าสอบ
ผลการดำเนินงาน
ตนข้อเกณฑ์ผลการดำเนินงานหลักฐาน
1 มีระบบและกลไกในการส่งเสริม สนับสนุน ให้มีการพัฒนานักศึกษาด้านภาษาอังกฤษ

     วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง มีระบบและกลไกในการส่งเสริม สนับสนุน ให้มีการพัฒนานักศึกษาด้านภาษาอังกฤษ ดังต่อไปนี้

   1.วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการผู้รับผิดชอบงานด้านประกันคุณภาพการศึกษาภายในตามพันธกิจด้านการส่งเสริมสมรรถนะและทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง (1.6-1(1)) เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านภาษาอังกฤษ

   2. มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการผู้รับผิดชอบงานด้านประกันคุณภาพการศึกษาภายในตามพันธกิจด้านการส่งเสริมสมรรถนะและทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ ระดับสถาบัน ปีการศึกษา 2562 (1.6-1(2)) โดยการมีส่วนร่วมของผู้บริหารมหาวิทยาลัย ผู้แทนผู้บริหาร/อาจารย์จากทุกคณะ ผ่านการประชุมคณะกรรมการผู้รับผิดชอบด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในตามพันธกิจด้านการส่งเสริมสมรรถนะและทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ (1.6-1(3)) เพื่อจัดทำแผนพัฒนานักศึกษาด้านภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ พ.ศ.2562-2565 (1.6-1(4)) และประกาศนโยบายยกระดับมาตรฐานภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาในมหาวิทยาลัย (1.6-1(5))

   2. คณะกรรมการดำเนินงานด้านการส่งเสริมสมรรถนะและทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ ได้จัดทำระบบและกลไกในการส่งเสริมสนับสนุนให้มีการพัฒนานักศึกษาด้านภาษาอังกฤษ (1.6-1(6))

2 มีการจัดทำแผนพัฒนานักศึกษาด้านภาษาอังกฤษ จากการมีส่วนร่วมของหลักสูตร โดยผ่าน ความเห็นชอบจากคณะกรรมการประจำคณะ

   1. วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง โดยคณะกรรมการซึ่งประกอบไปด้วยตัวแทนอาจารย์จากทั้ง 3 หลักสูตร ประกอบด้วย หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต และหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต  ร่วมจัดทำแผนพัฒนานักศึกษาด้านการส่งเสริมสมรรถนะและทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ (1.6-2(1))

   2. มีการนำแผนพัฒนานักศึกษาด้านภาษาอังกฤษ ประจำปีการศึกษา 2562 เข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง เพื่อพิจารณาเห็นชอบ ในคราวประชุม ครั้งที่ 11/2562 วาระที่ 4.5 วันที่ 11 พฤศจิกายน 2563 (1.6-2(2)) และเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการประจำคณะ เพื่อพิจารณาเห็นชอบ ในการประชุมครั้งที่ 1/2563 วาระที่ 4.4 วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2563 (1.6-2(3))

3 มีการจัดสรรงบประมาณ และสิ่งสนับสนุนการดำเนินการตามแผนพัฒนานักศึกษาด้านภาษาอังกฤษ

  วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้มีการจัดสรรงบประมาณ เพื่อใช้ในการจัดหาสิ่งสนับสนุนการดำเนินงานตามแผนพัฒนานักศึกษาด้านภาษาอังกฤษ โดยระบุในแผนปฏิบัติการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563 (1.6-3(1)) งบประมาณโครงการบริหารจัดการนิเทศนักศึกษาฝึกประสบการณ์ เพื่อดำเนินงานโครงการพัฒนาสมรรถนะนักศึกษาด้านการใช้ภาษาอังกฤษก่อนสำเร็จการศึกษา สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ทั้ง 3 หลักสูตร ในวันที่ 5,6 และ 9 กันยายน 2563 (1.6-3(2)) และเข้าร่วมโครงการพัฒนาความรู้ ทักษะภาษาอังกฤษในศตวรรษที่ 21 โดยอาจารย์ในวิทยาลัยฯ เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการดำเนินงาน (1.6-3(3)) และให้นักศึกษาชั้นปีที่ 4 และอาจารย์เข้าร่วมทดสอบวัดระดับความรู้ภาษาอังกฤษ CERF และเรียนออนไลน์ด้วยตนเองผ่านโปรแกรม English Discoveries ซึ่งมีการทดสอบก่อนและหลังอบรมเพื่อนำผลคะแนนมาเปรียบเทียบในการพัฒนาครั้งต่อไป

4 มีการประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนฯ และมีการนำผลจากการประเมินมาปรับปรุงในปีถัดไป

วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้ดำเนินการกำกับติดตามและประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผน ดังนี้

   1.คณะกรรมการพัฒนานักศึกษาด้านสมรรถนะและทักษะด้านภาษาอังกฤษ มีการติดตามและประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนและโครงการ (1.6-4(1)) 

   2.นำผลการประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผน เข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารวิทยาลัยฯ ครั้งที่ 5/2563 วาระที่ 4.16 วันที่ 29 กรกฎาคม 2563 (1.6-4(2))  และการประชุมคณะกรรมการประจำ ครั้งที่ 4/2563 วาระที่ 4.9 วันที่ 5 สิงหาคม 2563 (1.6-4(3))

   3. นำข้อเสนอแนะมาปรับปรุงแผนงานพัฒนานักศึกษาด้านสมรรถนะและทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ ประจำปีการศึกษา 2563 (1.6-4(4)) 

5 มีนักศึกษาระดับปริญญาตรีปีสุดท้ายที่ผ่านเกณฑ์การวัดผล CEFR (B1) ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 50 ของนักศึกษาชั้นปีสุดท้ายที่เข้าสอบ

วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้มีการสนับสนุนให้นักศึกษาเข้ารับการสอบวัดระดับภาษาอังกฤษตามเกณฑ์มาตรฐาน CEFR ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

1. นักศึกษาเข้าสอบไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของนักศึกษาชั้นปีสุดท้ายทั้งหมด โดยนักศึกษาวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ชั้นปีที่ 4 เข้ารับการสอบวัดระดับภาษาอังกฤษ จำนวน 223 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ของนักศึกษาทั้งหมด

2. นักศึกษาวิทยาลัยกฎหมายและการปกครองมีผู้ผ่านเกณฑ์ B1 ทั้งหมด 5 คน จาก นักศึกษาทั้งหมด 223 คน หรือ คิดเป็นร้อยละ 2.24 ซึ่งยังไม่ผ่านตามเกณฑ์ของตัวบ่งชี้ที่ 1.6 โดยมีรายละเอียดผลการสอบดังต่อไปนี้  

ระดับ Cer

จำนวน

ร้อยละ

ผ่าน  จำนวน 130 คน คิดเป็นร้อยละ 58.30

A1

39

17.49

A2

62

27.80

B1

4

1.79

B2

1

0.45

No test (ไม่สอบวัดผล)

23

10.31

สอบไม่สมบูรณ์

1

0.45

ไม่ผ่าน จำนวน 93 คน คิดเป็นร้อยละ 41.70

 (1.6-5 (1), 1.6-5(2))

ผลคะแนนการประเมินตนเอง
ทำได้ (ข้อ) ได้คะแนน
5 5