ตัวบ่งชี้ที่ 1.6 แนวปฏิบัติที่ดีจากความรู้ที่มีอยู่ในตัวบุคคลขององค์กร

ปีที่ประเมิน 2565
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : กนกกาญจน์ บุญทรง
ชนิดตัวบ่งชี้ : กระบวนการ
คำอธิบายตัวบ่งชี้

แนวปฏิบัติที่ดี คือ วิธีปฏิบัติ หรือขั้นตอนการปฏิบัติที่ทําให้หน่วยงานประสบความสําเร็จ หรือสู่ ความเป็นเลิศตามเป้าหมาย เป็นที่ยอมรับในวงวิชาการหรือวิชาชีพนั้นๆ มีหลักฐานของความสําเร็จปรากฏชัดเจน โดยมีการสรุปวิธีปฏิบัติ หรือขั้นตอนการปฏิบัติ ตลอดจนความรู้และประสบการณ์ บันทึกเป็นเอกสาร เผยแพร่ ให้หน่วยงานภายในหรือภายนอกสามารถนําไปใช้ประโยชน์ได้ และมีการวิเคราะห์ และทบทวนผลการดําเนินการ เพื่อประเมินผลสําเร็จ ความก้าวหน้าในการบรรลุวัตถุประสงค์เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวปฏิบัติที่ดี และนําไปสู่ การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

เกณฑ์การประเมิน
คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 ข้อ มีการดำเนินการ 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ
เกณฑ์มาตรฐาน
ระดับ เกณฑ์มาตรฐาน ดำเนินการ
1 มีการกําหนดประเด็นความรู้และเป้าหมายของการจัดการความรู้ที่สอดคล้องกับพันธกิจของหน่วยงาน อย่างน้อย 1 พันธกิจ
2 มีกําหนดบุคลากรกลุ่มเป้าหมายที่จะพัฒนาความรู้และทักษะให้สอดคล้องกับประเด็นความรู้ที่กําหนด ในข้อ 1
3 มีการแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้จาก ความรู้ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง (Tacit Knowledge) เพื่อค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีตามประเด็นความรู้ที่กําหนดในข้อ 1 และเผยแพร่ ไปสู่บุคลากรกลุ่มเป้าหมายที่กําหนด
4 มีการรวบรวมความรู้ตามประเด็นความรู้ที่กําหนดในข้อ 1 ทั้งที่มีอยู่ใตัวบุคคล และแหล่งเรียนรู้อื่นๆ ที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดีมาพัฒนาและจัดเก็บอย่างเป็นระบบโดยเผยแพร่ออกมาเป็น ลายลักษณ์อักษร (Explicit Knowledge)
5 มีการนําความรู้ที่ได้จากการจัดการความรู้ในปีงบประมาณปัจจุบันหรือปีที่ผ่านมาที่เป็นลายลักษณ์อักษร (Explicit Knowledge) และจากความรู้ ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง (Tacit Knowledge) ที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดี มาปรับใช้ในการปฏิบัติงานจริง
ผลการดำเนินงาน
ตนข้อเกณฑ์ผลการดำเนินงานหลักฐาน
1มีการกําหนดประเด็นความรู้และเป้าหมายของการจัดการความรู้ที่สอดคล้องกับพันธกิจของหน่วยงาน อย่างน้อย 1 พันธกิจ
  1. สำนักงานอธิการบดี มีการกำหนดประเด็นความรู้และเป้าหมายของการจัดการความรู้ที่สอดคล้องกับพันธกิจ ดังนี้
    1. มีการแต่งตั้งคณะกรรมการจัดการความรู้ สำนักงานอธิการบดี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566(1.6-1(1)) เพื่อดำเนินงาน กำกับ ติดตามและจัดเก็บข้อมูลการประกัน คุณภาพการศึกษา ระดับสำนัก สำนักงานอธิการบดี รวมถึงทบทวนแผนการจัดการองค์ความรู้ โดยกำหนดลักษณะกิจกรรมและวิธีการดำเนินงานจัดการความรู้ของสำนักงานอธิการบดี และดำเนินการตามแผน รวมถึงสรุปผลการดำเนินงานตามแผนการจัดการความรู้
    2. มีการกำหนดประเด็นความรู้และเป้าหมายของการจัดการความรู้ที่สอดคล้องกับพันธกิจของหน่วยงาน จำนวน 1 เรื่อง คือ “เทคนิคการให้บริการที่มีประสิทธิภาพ” โดยมีเป้าหมายการจัดการความรู้ตามมติคณะกรรมการจัดการความรู้ สำนักงานอธิการบดี ครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันจันทร์ที่ 15 สิงหาคม 2565 วาระที่ 5.1 (1.6-1(2))
    3. มีการจัดทำแผนการจัดการความรู้  (1.6-1(3)) โดยแผนการจัดการความรู้ในปีนี้ มีเป้าหมายที่จะพัฒนาองค์กร สู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ ซึ่งสอดคล้องกับพันธกิจตามแผนกลยุทธ์ ระยะ 5 ปี ของสำนักงานอธิการบดี ในประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการ (1.6-1(4))
2มีกําหนดบุคลากรกลุ่มเป้าหมายที่จะพัฒนาความรู้และทักษะให้สอดคล้องกับประเด็นความรู้ที่กําหนด ในข้อ 1
  1.  สำนักงานอธิการบดีมีการกำหนดบุคลากรกลุ่มเป้าหมายที่จะพัฒนาความรู้และทักษะให้สอดคล้องกับประเด็นความรู้ ดังนี้

    มีการกำหนดบุคลากรกลุ่มเป้าหมายที่จะพัฒนาความรู้ในด้าน“เทคนิคการให้บริการที่มีประสิทธิภาพ”  ซึ่งจะเพิ่มทักษะในการปฏิบัติงานให้กับบุคลากรในสำนักงานอธิการบดี ตามประเด็นความรู้ที่กำหนดในข้อ 1 โดยใช้การพิจารณาจากมติคณะกรรมการจัดการความรู้ สำนักงานอธิการบดี ครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันจันทร์ที่ 15 สิงหาคม 2565 วาระที่ 5.2 (1.6-2(1)) ซึ่งจะเป็นบุลลากรในฝ่ายต่าง ๆ ของสำนักงานอธิการบดี

3มีการแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้จาก ความรู้ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง (Tacit Knowledge) เพื่อค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีตามประเด็นความรู้ที่กําหนดในข้อ 1 และเผยแพร่ ไปสู่บุคลากรกลุ่มเป้าหมายที่กําหนด

3. สำนักงานอธิการบดีมีการแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากความรู้ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง (Tacit Knowledge) เพื่อค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีตามประเด็นความรู้ที่กำหนด ดังนี้

    มีการจัดกิจกรรมแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากความรู้และทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง (Tacit Knowledge) เพื่อค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีตามประเด็นความรู้ที่กำหนดในข้อ 1 และนำไปเผยแพร่ไปสู่บุคลากรกลุ่มเป้าหมายที่กำหนด โดยปีการศึกษานี้สำนักงานอธิการบดีได้จัดจัดกิจกรรมการจัดการความรู้เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในหน่วยงาน เรื่อง “เทคนิคการให้บริการที่มีประสิทธิภาพ” โดยได้เชิญบุคลากรในสังกัดสำนักงานอธิการบดีซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายจำนวน 14 คน เข้าร่วมกิจกรรมแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวปฏิบัติที่ดีจากองค์ความรู้ที่มีอยู่ในตัวบุคคลขององค์กร (1.6-3(1)) จำนวน 3 ครั้ง โดยจัดเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2566 วันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2566 และวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2566 ณ ห้องประชุมธง รุญเจริญ เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในกลุ่มเป้าหมาย โดยมีพูดคุยเกี่ยวกับประเด็น “เทคนิคการให้บริการที่มีประสิทธิภาพ” จากนั้นจะมีการมอบหมายหน้าที่ให้บุคลากรในกลุ่มผู้สังเคราะห์ความรู้ นำสิ่งที่ได้จากการประชุมทำหน้าที่ถอดชุดความรู้ที่ได้จากการ ประชุมออกมาเป็นเอกสารสรุปความรู้ และเผยแพร่ระหว่างกันทุกครั้ง ซึ่งทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างตัวบุคลากรภายในกลุ่มตลอดเวลา (1.6-3(2)) พร้อมมีการเผยแพร่นำคู่มือแนวปฏิบัติที่ดี เรื่อง“เทคนิคการให้บริการที่มีประสิทธิภาพ”  ไปยังหน่วยงานต่าง ๆ (1.6-3(3)) ตลอดจนเว็บไซต์ของงานบริหารบุคคล มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ http://staff.sskru.ac.th/newhrm/ (1.6-3(4))

4มีการรวบรวมความรู้ตามประเด็นความรู้ที่กําหนดในข้อ 1 ทั้งที่มีอยู่ใตัวบุคคล และแหล่งเรียนรู้อื่นๆ ที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดีมาพัฒนาและจัดเก็บอย่างเป็นระบบโดยเผยแพร่ออกมาเป็น ลายลักษณ์อักษร (Explicit Knowledge)

4. สำนักงานอธิการบดีมีการรวบรวมความรู้ตามประเด็นความรู้ที่กำหนดในข้อ 1 ทั้งที่มีอยู่ในตัวบุคคล และแหล่งเรียนรู้อื่น ๆ ที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดีมาพัฒนาและจัดเก็บอย่างเป็นระบบโดยเผยแพร่ออกเป็นลายลักษณ์อักษร (Explicit Knowledge) ดังนี้

        มีการรวบรวมความรู้จากผู้มีประสบการณ์ตรงและกลุ่มเป้าหมายตามประเด็นความรู้ แล้วนำมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ ความรู้ เป็นแนวปฏิบัติที่ดี จากการจัดกิจกรรมกิจกรรมการจัดการความรู้เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในหน่วยงาน เรื่อง “เทคนิคการให้บริการที่มีประสิทธิภาพ” โดยมีกลุ่มเป้าหมายจำนวน 14 คน เข้าร่วมกิจกรรมแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวปฏิบัติที่ดีจากองค์ความรู้ที่มีอยู่ในตัวบุคคลขององค์กร โดยจัดเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2566 วันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2566 และวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2566 ณ ห้องประชุมธง รุญเจริญ แล้วนำมาพัฒนาและจัดเก็บอย่างเป็นระบบเพื่อให้ได้แนวปฏิบัติที่ดีเกี่ยวกับ “เทคนิคการให้บริการที่มีประสิทธิภาพ” ในรูปแบบของคู่มือแนวปฏิบัติที่ดี เรื่อง“เทคนิคการให้บริการที่มีประสิทธิภาพ” (1.6-4(1)) พร้อมมีการเผยแพร่นำคู่มือแนวปฏิบัติที่ดี เรื่อง“การยืม-ชดใช้เงินโครงการ”  ไปยังหน่วยงานต่าง ๆ (1.6-4(2)) และเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ของสำนักงานอธิการบดี http://www.psd.sskru.ac.th (1.6-4(3)) เพื่อจัดเก็บไว้อย่างเป็นระบบสามารถสืบค้นได้ เพื่อให้ผู้สนใจนำไปใช้ประโยชน์

5มีการนําความรู้ที่ได้จากการจัดการความรู้ในปีงบประมาณปัจจุบันหรือปีที่ผ่านมาที่เป็นลายลักษณ์อักษร (Explicit Knowledge) และจากความรู้ ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง (Tacit Knowledge) ที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดี มาปรับใช้ในการปฏิบัติงานจริง

5. สำนักงานอธิการบดีมีการนำความรู้ที่ได้จากการจัดการความรู้ในปีงบประมาณปัจจุบันหรือปีที่ผ่านมาที่เป็นลายลักษณ์อักษร (Explicit Knowledge) และจากความรู้ ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง (Tacit Knowledge) ที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดี มาปรับใช้ในการปฏิบัติงานจริง ดังนี้

        มีการนำแนวปฏิบัติที่ดี เรื่อง “การยืม-ชดใช้เงินโครงการ” (1.6-5(1))  ซึ่งเป็นองค์ความรู้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในปีการศึกษา 2563 ที่ผ่านมา ซึ่งมีการรวบรวมองค์ความรู่ไว้เป็นลายลักษณ์อักษร และเผยแพร่ไปยังบุคลากรหน่วยงานต่าง ๆ (1.6-5(2))  อีกทั้ง ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักงานอธิการบดี ครั้งที่ ครั้งที่ 5/2565 วันอังคารที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2565 วาระอื่น ๆ (1.6-5(3)) โดยในมติที่ประชุมกำหนดให้แต่ละหน่วยงานนำคู่มือ “การยืม-ชดใช้เงินโครงการ” ไปใช้ในการปฏิบัติงาน เพื่อให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นประสิทธิภาพมากขึ้น และได้เผยแพร่ในเว็บเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ของสำนักงานอธิการบดี http://www.psd.sskru.ac.th (1.6-5(4)) ซึ่งบุคลากรมีการนำแนวปฏิบัติที่ดีดังกล่าวไปปรับใช้ ส่งผลให้การยืม-ชดใช้เงินโครงการ มีความถูกต้องมากขึ้น ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้ดีมากยิ่งขึ้น ซึ่งมีผลประเมินความพึงพอใจใน คู่มือ “การยืม-ชดใช้เงินโครงการ” อยู่ในระดับดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.90

ผลคะแนนการประเมินตนเอง
ทำได้ (ข้อ) ได้คะแนน
5 5