ตัวบ่งชี้ที่ 1.7 การส่งเสริมสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัล

ปีที่ประเมิน 2564
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : นารีรัตน์ ศรีหล้า , พนิดา พานิชกุล , ลัทธกาญจน์ กุยแก้ว , วีระยุทธ มั่งคั่ง
ชนิดตัวบ่งชี้ : กระบวนการ
คำอธิบายตัวบ่งชี้

ความสามารถด้านดิจิทัลเป็นสิ่งที่สามารถสะท้อนถึงความสามารถของบัณฑิตในการเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมเพิ่มโอกาสในการประกอบอาชีพ การเรียนรู้เพื่อการบูรณาการศาสตร์ต่างๆ สามารถรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคดิจิทัล ตัวบ่งชี้นี้ประเด็นการพิจารณาประกอบด้วย
- ระดับความสามารถด้านดิจิทัลของนักศึกษาชั้นปีสุดท้ายระดับปริญญาตรีที่สอบผ่านตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด

เกณฑ์การประเมิน
คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 ข้อ มีการดำเนินการ 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ
หมายเหตุ

ข้อ 5 นักศึกษาที่เข้าสอบต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของนักศึกษาชั้นปีสุดท้าย ในปีที่ประเมิน

เกณฑ์มาตรฐาน
ระดับ เกณฑ์มาตรฐาน ดำเนินการ
1 มีระบบและกลไกในการส่งเสริม สนับสนุน ให้มีการพัฒนานักศึกษาให้มีความสามารถ ด้านดิจิทัล
2 มีการจัดทำแผนพัฒนานักศึกษาให้มีความสามารถด้านดิจิทัล จากการมีส่วนร่วมของหลักสูตร โดยผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการประจำคณะ
3 มีการจัดสรรงบประมาณ และสิ่งสนับสนุนการดำเนินการตามแผนพัฒนานักศึกษาให้มีความสามารถด้านดิจิทัล
4 มีการประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนฯ และมีการนำผลจากการประเมินมาปรับปรุงในปีถัดไป
5 มีนักศึกษาระดับปริญญาตรีปีสุดท้ายที่ผ่านเกณฑ์ IC3 หรือเทียบเท่า หรือตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50
ผลการดำเนินงาน
ตนข้อเกณฑ์ผลการดำเนินงานหลักฐาน
1 มีระบบและกลไกในการส่งเสริม สนับสนุน ให้มีการพัฒนานักศึกษาให้มีความสามารถ ด้านดิจิทัล

þ ข้อ 1. มีระบบและกลไกในการส่งเสริม สนับสนุน ให้มีการพัฒนานักศึกษาให้มีความสามารถด้านดิจิทัล

ผลการดำเนินงาน

          ในปีการศึกษา 2564 คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี ได้ดำเนินงานด้านสมรรถนะดิจิทัลตามระบบและกลไกดังต่อไปนี้

 

ระบบ

กลไก

ระเบียบข้อบังคับมาตรฐานสมรรถนะดิจิทัล

คณะกรรมการสมรรถนะดิจิทัลมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษจัดทำประกาศระเบียบข้อบังคับใช้มาตรฐานสมรรถนะดิจิทัล

สื่อสารไปยังคณะ

คณะฯ จัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสมรรถนะดิจิทัลประจำคณะ

กำหนดให้มีกิจกรรมในแผนปฏิบัติการ

คณะกรรมการสมรรถนะดิจิทัลประจำคณะ ร่วมกับสาขาวิชา ร่วมกันกำหนดกิจกรรม/โครงการในแผนปฏิบัติการ เพื่อให้มีงบประมาณสนับสนุน

กำหนดนโยบายการสอบสมรรถนะดิจิทัล

คณะกรรมการสมรรถนะดิจิทัลมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ร่วมกับทุกคณะ จัดทำกลไกการสอบสมรรถนะดิจิทัล

คณะกรรมการสมรรถนะดิจิทัลมหาวิทยาลัยฯ แจ้งไปยังคณะถึงประกาศและการจัดสอบ

สาขาวิชาประชาสัมพันธ์ไปยังนักศึกษา

กิจกรรม/โครงการส่งเสริมสมรรถนะดิจิทัลให้กับนักศึกษาในคณะฯ

สาขาวิชาแจ้งไปยังนักศึกษาเพื่อเข้าร่วมโครงการ

คณะฯ ประเมินและสรุปผล

คณะกรรมการสมรรถนะดิจิทัลของคณะฯ ร่วมกันประเมินและสรุปผลการดำเนินงาน

คณะฯ พิจารณาและปรับปรุงกระบวนการ

คณะกรรมการสมรรถนะดิจิทัลของคณะฯ ร่วมกันทบทวนและปรับปรุงกระบวนการเพื่อนำไปใช้ในรอบถัดไป

          หลังจากที่มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ได้ประกาศระเบียบข้อบังคับใช้มาตรฐานสมรรถนะดิจิทัล แล้ว ในที่ประชุมกรรมการบริหารคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี ได้มีมติให้แต่งตั้งคณะกรรมการสมรรถนะดิจิทัลประจำคณะฯ เพื่อดำเนินงานดังกล่าวโดยเฉพาะ ซึ่งในปีการศึกษา 2564 ยังคงเป็นคณะกรรมการชุดเดิมตามมติในที่ประชุม ซึ่งได้แก่ อ.พนิดา พานิชกุล, อ.ลัทธกาญจน์ กุยแก้ว และนายวีระยุทธ มั่งคั่ง และได้ร่วมกันกำหนดกิจกรรม/โครงการเพื่อส่งเสริมสมรรถนะดิจิทัลให้แก่นักศึกษาในคณะที่จะสอดคล้องกับนโยบายของส่วนกลาง โดยกำหนดไว้ในแผนปฏิบัติการเพื่อให้มีงบประมาณสนับสนุนการดำเนินงานดังกล่าว จากนั้น คณะกรรมการสมรรถนะดิจิทัลส่วนกลางได้ประชุมร่วมกับคณะกรรมการจากทุกคณะ เพื่อร่วมกันจัดทำกลไกการสอบสมรรถนะดิจิทัล เมื่อทราบแนวทางแล้ว ทางคณะกรรมการสมรรถนะดิจิทัลของคณะฯ ได้ประชาสัมพันธ์ไปยังสาขาวิชาต่างๆ ในคณะฯ และดำเนินกิจกรรมส่งเสริมสมรรถนะดิจิทัลให้กับนักศึกษาตามแผนปฏิบัติการ

2 มีการจัดทำแผนพัฒนานักศึกษาให้มีความสามารถด้านดิจิทัล จากการมีส่วนร่วมของหลักสูตร โดยผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการประจำคณะ

þ ข้อ 2. มีการจัดทำแผนพัฒนานักศึกษาให้มีความสามารถด้านดิจิทัล จากการมีส่วนร่วมของหลักสูตร โดยผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการประจำคณะ

ผลการดำเนินงาน

          คณะกรรมการสมรรถนะดิจิทัลประจำคณะฯ และคณะกรรมการบริหารคณะฯ ได้ร่วมกันจัดทำแผนพัฒนาและส่งเสริมสมรรถนะดิจิทัลสำหรับนักศึกษาในคณะ โดยได้ทบทวนแผนเดิมของปีการศึกษา 2563 พบว่า กระบวนการติวก่อนสอบมาตรฐานสมรรถนะดิจิทัลนั้นช่วยให้นักศึกษาสามารถสอบผ่านได้จริง แต่เมื่อปีการศึกษา 2564 ภายหลังจากคณะกรรมการสมรรถนะดิจิทัลส่วนกลาง ได้ประกาศปฏิทินสอบสมรรถนะดิจิทัล พบว่าเป็นห้วงเวลาตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน 2564 - มีนาคม 2565 ที่เป็นภาคเรียนที่ 2 ของปีการศึกษา 2564 ดังนั้น คณะกรรมการสมรรถนะดิจิทัลของคณะฯ จึงได้เสนอให้มีการหารือร่วมกันในที่ประชุมคณะกรรมการประจำคณะ เพื่อกำหนดแผนพัฒนาและส่งเสริมสมรรถนะดิจิทัลสำหรับนักศึกษาในคณะ โดยมีรายละเอียดสำคัญดังนี้

        วัตถุประสงค์ของแผนฯ

          1. เพื่อส่งเสริมสมรรถนะดิจิทัลให้กับนักศึกษาทุกหลักสูตร

          2. เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนสอบวัดสมรรถนะดิจิทัลให้กับนักศึกษาชั้นปีสุดท้าย

        ตัวชี้วัดความสำเร็จของแผน

  1. นักศึกษาทุกหลักสูตร เข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมสมรรถนะดิจิทัล
  2. นักศึกษาชั้นปีสุดท้าย เข้าร่วมอบรมเตรียมความพร้อมเพื่อการสอบวัดสมรรถนะดิจิทัล อย่างน้อยร้อยละ 90 ของนักศึกษาชั้นปีสุดท้าย

นักศึกษาชั้นปีสุดท้ายสอบผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนด ร้อยละ 50

3 มีการจัดสรรงบประมาณ และสิ่งสนับสนุนการดำเนินการตามแผนพัฒนานักศึกษาให้มีความสามารถด้านดิจิทัล

þ ข้อ 3. มีการจัดสรรงบประมาณ และสิ่งสนับสนุนการดำเนินการตามแผนพัฒนานักศึกษาให้มีความสามารถด้านดิจิทัล

ผลการดำเนินงาน

          คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี ได้มีการจัดสรรงบประมาณและสิ่งสนับสนุนการดำเนินการตามแผนพัฒนานักศึกษาใหม่ความสามารถด้านดิจิทัล ให้กับนักศึกษา ประจำปีงบประมาณ 2564 จำนวน 10,800 บาท ในโครงการพัฒนาศักยภาพด้านสมรรถนะดิจิทัลให้กับนักศึกษาทุกสาขาวิชา

4 มีการประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนฯ และมีการนำผลจากการประเมินมาปรับปรุงในปีถัดไป

þ ข้อ 4. มีการประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนฯ และมีการนำผลจากการประเมินมาปรับปรุงในปีถัดไป

ผลการดำเนินงาน

       ตัวชี้วัดความสำเร็จของแผน มีดังนี้

          1. พบว่านักศึกษาทุกหลักสูตร เข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมสมรรถนะดิจิทัล ในโครงการ “อบรมสมรรถนะดิจิทัล” เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2564 จำนวน 232 คน และเข้าร่วมโครงการ “เพิ่มพลังเครื่องมือดิจิทัลด้วย Microsoft 365” เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2565 จำนวน 83 คน จึงบรรลุวัตถุประสงค์ของแผน

          2. นักศึกษาชั้นปีสุดท้าย (รหัส 61) เข้าร่วมอบรมเตรียมความพร้อมเพื่อการสอบวัดสมรรถนะดิจิทัล ในโครงการ “อบรมสมรรถนะดิจิทัล” เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2564 จำนวน 211 คน จากจำนวนนักศึกษาชั้นปีสุดท้ายทั้งหมด 229 คน ซึ่งมากกว่าร้อยละ 90 จึงบรรลุวัตถุประสงค์ของแผน

          3. นักศึกษาชั้นปีสุดท้ายสอบผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนด ร้อยละ 50 กล่าวคือ นักศึกษาชั้นปีสุดท้าย (รหัส 61) มีจำนวนทั้งสิ้น 229 คน สมัครสอบ 223 คน เข้าสอบ 215 คน สอบผ่าน 205 คน คิดเป็นร้อยละ 89.52 ซึ่งมากกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ร้อยละ 50 จึงบรรลุวัตถุประสงค์ของแผน

          คณะฯ ได้มีการประเมินความสำเร็จของแผนพัฒนาสมรรถนะดิจิทัลฯ ที่ใช้ในปีการศึกษา 2564 พบว่าถึงแม้ว่าจะมีการบรรลุวัตถุประสงค์ทั้งหมดก็ตาม แต่ยังมีกระบวนการบางอย่างที่ต้องปรับปรุงตามสถานการณ์ กล่าวคือ การจัดอบรมที่ดำเนินการมา อาจช่วยให้นักศึกษาได้รับความรู้และทักษะเพิ่มในขณะอบรม เมื่อเวลาผ่านไปอาจทำให้นักศึกษาลืมองค์ความรู้ที่ได้รับเมื่อไม่ได้ใช้งานประจำ ดังนั้น ในปีการศึกษา 2565 คณะกรรมการสมรรถนะดิจิทัลประจำคณะฯ จึงหารือกันเพื่อปรับกระบวนการส่งเสริมสมรรถนะดิจิทัลให้นักศึกษาเกิดแรงจูงใจในการนำไปใช้เป็นประจำ จะช่วยให้การสอบมาตรฐานฯ ง่ายขึ้นเนื่องจากมีความคุ้นเคยกับเทคโนโลยีดิจิทัลแล้ว โดยการจัดกิจกรรม “ประกวดการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการเรียนและชีวิตประจำวัน” สำหรับนักศึกษาในคณะฯ โดยมีแผนจะจัดขึ้นในภาคเรียนที่ 2/2565

5 มีนักศึกษาระดับปริญญาตรีปีสุดท้ายที่ผ่านเกณฑ์ IC3 หรือเทียบเท่า หรือตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50

þ ข้อ 5. มีนักศึกษาระดับปริญญาตรีปีสุดท้ายที่ผ่านเกณฑ์การวัดผล IC3 หรือเทียบเท่า หรือตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50

ผลการดำเนินงาน

          ในปีการศึกษา 2563 นักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีสุดท้าย รหัส 61 มีจำนวนทั้งสิ้น 229 คน สมัครสอบ 223 คน เข้าสอบ 215 คน สอบผ่าน 205 คน คิดเป็นร้อยละ 89.52 ซึ่งมากกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ร้อยละ 50

ผลคะแนนการประเมินตนเอง
ทำได้ (ข้อ) ได้คะแนน
5 5