ตัวบ่งชี้ที่ 1.7 การส่งเสริมสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัล

ปีที่ประเมิน 2562
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : พนิดา พานิชกุล
ชนิดตัวบ่งชี้ : กระบวนการ
คำอธิบายตัวบ่งชี้

ความสามารถด้านดิจิทัลเป็นสิ่งที่สามารถสะท้อนถึงความสามารถของบัณฑิตในการเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมเพิ่มโอกาสในการประกอบอาชีพ การเรียนรู้เพื่อการบูรณาการศาสตร์ต่างๆ สามารถรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคดิจิทัล ตัวบ่งชี้นี้ประเด็นการพิจารณาประกอบด้วย
- ระดับความสามารถด้านดิจิทัลของนักศึกษาชั้นปีสุดท้ายระดับปริญญาตรีที่สอบผ่านตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด

เกณฑ์การประเมิน
คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 ข้อ มีการดำเนินการ 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ
หมายเหตุ

ข้อ 5 นักศึกษาที่เข้าสอบต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของนักศึกษาชั้นปีสุดท้าย ในปีที่ประเมิน

เกณฑ์มาตรฐาน
ระดับ เกณฑ์มาตรฐาน ดำเนินการ
1 มีระบบและกลไกในการส่งเสริม สนับสนุน ให้มีการพัฒนานักศึกษาให้มีความสามารถ ด้านดิจิทัล
2 มีการจัดทำแผนพัฒนานักศึกษาให้มีความสามารถด้านดิจิทัล จากการมีส่วนร่วมของหลักสูตร โดยผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการประจำคณะ
3 มีการจัดสรรงบประมาณ และสิ่งสนับสนุนการดำเนินการตามแผนพัฒนานักศึกษาให้มีความสามารถด้านดิจิทัล
4 มีการประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนฯ และมีการนำผลจากการประเมินมาปรับปรุงในปีถัดไป
5 มีนักศึกษาระดับปริญญาตรีปีสุดท้ายที่ผ่านเกณฑ์ IC3 หรือเทียบเท่า หรือตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50
ผลการดำเนินงาน
ตนข้อเกณฑ์ผลการดำเนินงานหลักฐาน
1 มีระบบและกลไกในการส่งเสริม สนับสนุน ให้มีการพัฒนานักศึกษาให้มีความสามารถ ด้านดิจิทัล

มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการดูแลการพัฒนานักศึกษาด้านทักษะดิจิทัลขึ้น เพื่อเตรียมความพร้อมในการพัฒนานักศึกษาด้านทักษะดิจิทัล โดยมีผู้บริหาร หน่วยงาน คณะ และคณาจารย์ มีส่วนร่วม และมีผู้ดูแลหลักคือสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ และได้จัดให้มีการประชุมหารือกันเพื่อกำหนดแนวทางในการขับเคลื่อนกระบวนการดังกล่าว โดยได้หารือถึงการกำหนดมาตรฐานที่จะใช้เทียบเท่ากับมาตรฐาน IC3 ซึ่งในที่ประชุมมีมติให้ทดลองใช้มาตรฐาน ICDL Certificates ก่อนเนื่องจากมีบริษัทเอกชนเสนอแบบทดสอบให้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย โดยการคัดเลือกนักศึกษาเข้าร่วมโครงการตามจำนวนโควต้าของระบบทั้งหมด 300 คน คณะกรรมการเห็นชอบให้นักศึกษาสาขาที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์มีสิทธิ์สอบก่อน ได้แก่ วิทยาการคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัล วิศวกรรมซอฟต์แวร์ คอมพิวเตอร์ธุรกิจ และคอมพิวเตอร์ศึกษา 1.7-1(1)

2 มีการจัดทำแผนพัฒนานักศึกษาให้มีความสามารถด้านดิจิทัล จากการมีส่วนร่วมของหลักสูตร โดยผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการประจำคณะ

คณะบริหารธุรกิจและการบัญชีได้นำนโยบายดังกล่าวเข้าที่ประชุมคณะกรรมการบริหารคณะ ซึ่งประกอบไปด้วยผู้บริหารคณะ และประธานหลักสูตรในการพิจารณาร่วมกัน ได้มีมติให้นักศึกษาสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ชั้นปีที่ 2 และ 3 นำร่องก่อน รวมทั้งหมด 60 คน 1.7-1(2) ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารคณะ พิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการสมรรถนะดิจิทัลของนักศึกษา 1.7-1(3) โดยให้รองคณบดี อาจารย์เกษม เปนาละวัด และอาจารย์พนิดา พานิชกุล ดูแลเป็นหลัก

 

ผลการดำเนินงาน ในปี 2562 นักศึกษาชั้นปีที่ 3 และ 4 ในขณะนั้น คือ รหัส 60 จำนวน 22 คน และ 59 จำนวน 38 คน รวมจำนวน 70 คนที่ได้เข้าร่วมตามเกณฑ์ของคณะกรรมการ คือ ต้องมีเกรดเฉลี่ย 2.00 ขึ้นไป จึงจะสามารถสอบได้ ผลการสอบสรุปว่า สามารถสอบผ่านเกณฑ์ 75% ได้ทั้งหมด 20 คน คิดเป็นร้อยละ 33.33 1.7-1(4)

 

ที่ประชุมประธานสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจรายงานผลการสอบ ICDL ข้างต้นในที่ประชุมคณะกรรมการบริหารคณะพร้อมกับคณะกรรมการขับเคลื่อนงานสมรรถนะดิจัล เพื่อร่วมกับพิจารณาทบทวนผลการดำเนินงานดังกล่าว โดยมติที่ประชุมเห็นว่านักศึกษาสาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ เป็นนักศึกษาที่มีทักษะทางด้านไอทีอยู่แล้ว สามารถสอบผ่านได้ 20 คน จากทั้งหมด 70 คน ถือว่าเป็นจำนวนไม่น้อย แต่อย่างไรก็ตาม หากต้องการให้มีผลลัพธ์ที่ดีขึ้นไม่ว่าจะเป็นนักศึกษาสาขาใดก็ตามในคณะ จำเป็นต้องมีการเตรียมความพร้อมก่อนสอบให้กับนักศึกษา คณะกรรมการจึงได้ร่วมกันจัดทำร่างแผนพัฒนานักศึกษาด้านสมรรถนะดิจิทัล ประจำปีงบประมาณ 2563 และนำร่างแผนดังกล่าวเข้าที่ประชุมเพื่อพิจารณาในคณะกรรมการประจำคณะเพื่อพิจารณาเห็นชอบ 1.7-1(5) และเผยแพร่แผนดังกล่าวให้บุคลากรในคณะนำไปใช้เป็นแนวทางสำหรับการดำเนินการต่อไป เพื่อรองรับการบังคับใช้มาตรฐานสมรรถนะที่ทางมหาวิทยาลัยจะประกาศใช้กับนักศึกษารหัส 61 เร็วๆ นี้ (กำหนดเป็น Exit Exam) 1.7-1(8 - 10)

3 มีการจัดสรรงบประมาณ และสิ่งสนับสนุนการดำเนินการตามแผนพัฒนานักศึกษาให้มีความสามารถด้านดิจิทัล

คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี ได้มีการจัดสรรงบประมาณและสิ่งสนับสนุนการดำเนินการตามแผนพัฒนานักศึกษาใหม่ความสามารถด้านดิจิทัล ให้กับนักศึกษา ประจำปีงบประมาณ 2563 จำนวน 10,800 บาท ในโครงการพัฒนาศักยภาพด้านสมรรถนะดิจิทัล 1.7-1(6) ให้กับนักศึกษารหัส 61 ทุกสาขาวิชา นอกจากนี้ ยังมีสิ่งสนับสนุนให้เกิดทักษะด้านเทคโนโลยีและดิจิทัล ดังนี้

ระบบฐานข้อมูลสืบค้นงานวิจัย ThaiLis (1.7-1(7))

4 มีการประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนฯ และมีการนำผลจากการประเมินมาปรับปรุงในปีถัดไป

คณะบริหารธุรกิจและการบัญชีกำหนดวัตถุประสงค์ของแผนฯ ดังนี้

  1. เพื่อส่งเสริมสมรรถนะดิจิทัลให้กับนักศึกษาทุกหลักสูตร
  2. เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนสอบวัดสมรรถนะดิจิทัลให้กับนักศึกษาที่กำลังจะขึ้นปีสุดท้าย

 

ตัวชี้วัดความสำเร็จของแผน มีดังนี้

  1. นักศึกษาชั้นปีสุดท้าย เข้าร่วมอบรมเตรียมความพร้อมเพื่อการสอบวัดสมรรถนะดิจิทัล อย่างน้อยร้อยละ 90 ของนักศึกษาชั้นปีสุดท้าย
  2. นักศึกษาชั้นปีสุดท้ายสอบผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนด ร้อยละ 50

คณะฯ ได้มีการประเมินความสำเร็จของแผนพัฒนาสมรรถนะดิจิทัลฯ พบว่าไม่บรรลุเป้าหมายตามตัวชีัวัดความสำเร็จของแผน เนื่องจากทางคณะฯ ต้องรอความชัดเจนในการกำหนดมาตรฐานการประเมินผลสมรรถนะดิจิทัลจากมหาวิทยาลัยฯ จึงทำให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างล่าช้า อย่างไรก็ตาม ทางคณะฯ ได้มีการนำผลการประเมินความสำเร็จของแผนมาวางแผนดำเนินงานในปีการศึกษา 2563 โดยได้จัดให้มีโครงการอบรมเพื่อสอบประเมินสำหรับนักศึกษาชั้นปีสุดท้าย และกำหนดให้ใช้มาตรฐาน Digital Literacy จากระทรวงดิจิทัล ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานที่ทางมหาวิทยาลัยกำหนด 

เมื่อปลายเดือนมีนาคม 2563 คือกำหนดการเดิมของการจัดโครงการโครงการพัฒนาศักยภาพด้านสมรรถนะดิจิทัล ได้เกิดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ทำให้ทางคณะฯ ไม่สามารถจัดโครงการดังกล่าวขึ้นได้ เนื่องจากเพื่อเป็นการป้องกันการแพร่ระบาด และเพื่อความปลอดภัยของนักศึกษาและบุคลากร คณะกรรมการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการสมรรถนะดิจิทัลของนักศึกษาจึงมีมติให้เลื่อนการจัดโครงการออกไปก่อน โดยคาดการณ์ว่าจะสามารถจัดได้ในไตรมาสสุดท้ายของปีงบประมาณ 2563

 

อย่างไรก็ตาม ในระหว่างนี้ คือช่วงเดือน มีนาคม 2563 มหาวิทยาลัยได้ประกาศนโยบายยกระดับมาตรฐานสมรรถนะและทักษะดิจิทัลสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ โดยใช้กับนักศึกษารหัส 61 เป็นต้นไป ดังนั้น คณะกรรมการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการสมรรถนะดิจิทัลของนักศึกษา ได้นำแผนพัฒนานักศึกษาด้านสมรรถนะดิจิทัลมาทบทวน พิจารณาจัดโครงการขึ้นในวันที่ 9 สิงหาคม 2563 ที่จะถึงนี้

5 มีนักศึกษาระดับปริญญาตรีปีสุดท้ายที่ผ่านเกณฑ์ IC3 หรือเทียบเท่า หรือตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50

ในปีการศึกษา 2562 นักศึกษาระดับปริญญาตรีปีสุดท้าย (รหัส 59) ของคณะบริหารธุรกิจและการบัญชีมีจำนวนทั้งสิ้น XXX คน แต่จัดให้มีการประเมินสมรรถนะดิจิทัลเพียง 38 คน และสอบผ่านเพียง 12 คน

ผลคะแนนการประเมินตนเอง
ทำได้ (ข้อ) ได้คะแนน
4 4