ตัวบ่งชี้ที่ 1.7 การส่งเสริมสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัล

ปีที่ประเมิน 2565
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : สุภัทรษร ทวีจันทร์ , วีระยุทธ มั่งคั่ง , ลัทธกาญจน์ กุยแก้ว , พนิดา พานิชกุล
ชนิดตัวบ่งชี้ : กระบวนการ
คำอธิบายตัวบ่งชี้

ความสามารถด้านดิจิทัลเป็นสิ่งที่สะท้อนความสามารถของบัณฑิตที่มีความรู้ และทักษะในการนำเครื่องมือ อุปกรณ์ และเทคโนโลยีในปัจจุบันมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการเรียนรู้ การแก้ไขปัญหา การสื่อสาร ตลอดจนความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เพื่อรู้เท่าทันการใช้งานและการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเพิ่มโอกาสในการประกอบอาชีพ การสร้างนวัตกรรม และการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ตัวบ่งชี้นี้ประเด็นการพิจารณาประกอบด้วยระดับความสามารถด้านดิจิทัลของนักศึกษาชั้นปีสุดท้ายระดับปริญญาตรีที่สอบผ่านตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด

เกณฑ์การประเมิน
คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 ข้อ มีการดำเนินการ 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ
สูตรการคํานวณ

 

หมายเหตุ

ข้อ 5 นักศึกษาที่เข้าสอบต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของนักศึกษาชั้นปีสุดท้าย ในปีที่ประเมิน

เกณฑ์มาตรฐาน
ระดับ เกณฑ์มาตรฐาน ดำเนินการ
1 มีระบบและกลไกในการส่งเสริม สนับสนุน ให้มีการพัฒนานักศึกษาให้มีความสามารถด้านดิจิทัล
2 มีการจัดทำแผนพัฒนานักศึกษาให้มีความสามารถด้านดิจิทัล จากการมีส่วนร่วมของหลักสูตร โดยผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการประจำคณะ
3 มีการจัดสรรงบประมาณ และสิ่งสนับสนุนการดำเนินการตามแผนพัฒนานักศึกษาให้มีความสามารถด้านดิจิทัล
4 มีการประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนพัฒนานักศึกษาให้มีความสามารถด้านดิจิทัล และมีการนำผลจากการประเมินมาปรับปรุงในปีถัดไป
5 มีนักศึกษาระดับปริญญาตรีปีสุดท้ายที่ผ่านเกณฑ์ IC3 หรือเทียบเท่า หรือตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50
ผลการดำเนินงาน
ตนข้อเกณฑ์ผลการดำเนินงานหลักฐาน
1 มีระบบและกลไกในการส่งเสริม สนับสนุน ให้มีการพัฒนานักศึกษาให้มีความสามารถด้านดิจิทัล

ในปีการศึกษา 2565 คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี ได้ดำเนินงานด้านสมรรถนะดิจิทัลตามระบบและกลไกดังต่อไปนี้

 

ระบบ

กลไก

ระเบียบข้อบังคับมาตรฐานสมรรถนะดิจิทัล

คณะกรรมการสมรรถนะดิจิทัลมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษจัดทำประกาศระเบียบข้อบังคับใช้มาตรฐานสมรรถนะดิจิทัล

สื่อสารไปยังคณะ

คณะฯ จัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสมรรถนะดิจิทัลประจำคณะ

กำหนดให้มีกิจกรรมในแผนปฏิบัติการ

คณะกรรมการสมรรถนะดิจิทัลประจำคณะ ร่วมกับสาขาวิชา ร่วมกันกำหนดกิจกรรม/โครงการในแผนปฏิบัติการ เพื่อให้มีงบประมาณสนับสนุน

กำหนดนโยบายการสอบสมรรถนะดิจิทัล

คณะกรรมการสมรรถนะดิจิทัลมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ร่วมกับทุกคณะ จัดทำกลไกการสอบสมรรถนะดิจิทัล

คณะกรรมการสมรรถนะดิจิทัลมหาวิทยาลัยฯ แจ้งไปยังคณะถึงประกาศและการจัดสอบ

สาขาวิชาประชาสัมพันธ์ไปยังนักศึกษา

กิจกรรม/โครงการส่งเสริมสมรรถนะดิจิทัลให้กับนักศึกษาในคณะฯ

สาขาวิชาแจ้งไปยังนักศึกษาเพื่อเข้าร่วมโครงการ

คณะฯ ประเมินและสรุปผล

คณะกรรมการสมรรถนะดิจิทัลของคณะฯ ร่วมกันประเมินและสรุปผลการดำเนินงาน

คณะฯ พิจารณาและปรับปรุงกระบวนการ

คณะกรรมการสมรรถนะดิจิทัลของคณะฯ ร่วมกันทบทวนและปรับปรุงกระบวนการเพื่อนำไปใช้ในรอบถัดไป

       หลังจากที่มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ได้ประกาศระเบียบข้อบังคับใช้มาตรฐานสมรรถนะดิจิทัล แล้ว ในที่ประชุมกรรมการบริหารคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี ได้มีมติให้แต่งตั้งคณะกรรมการสมรรถนะดิจิทัลประจำคณะฯ เพื่อดำเนินงานดังกล่าวโดยเฉพาะ ซึ่งในปีการศึกษา 2565 ยังคงเป็นคณะกรรมการชุดเดิมตามมติในที่ประชุม ซึ่งได้แก่ อ.พนิดา พานิชกุล, อ.ลัทธกาญจน์ กุยแก้ว และนายวีระยุทธ มั่งคั่ง และได้ร่วมกันกำหนดกิจกรรม/โครงการเพื่อส่งเสริมสมรรถนะดิจิทัลให้แก่นักศึกษาในคณะที่จะสอดคล้องกับนโยบายของส่วนกลาง โดยกำหนดไว้ในแผนปฏิบัติการเพื่อให้มีงบประมาณสนับสนุนการดำเนินงานดังกล่าว จากนั้น คณะกรรมการสมรรถนะดิจิทัลส่วนกลางได้ประชุมร่วมกับคณะกรรมการจากทุกคณะ เพื่อร่วมกันจัดทำกลไกการสอบสมรรถนะดิจิทัล เมื่อทราบแนวทางแล้ว ทางคณะกรรมการสมรรถนะดิจิทัลของคณะฯ ได้ประชาสัมพันธ์ไปยังสาขาวิชาต่างๆ ในคณะฯ และดำเนินกิจกรรมส่งเสริมสมรรถนะดิจิทัลให้กับนักศึกษาตามแผนปฏิบัติการ

2 มีการจัดทำแผนพัฒนานักศึกษาให้มีความสามารถด้านดิจิทัล จากการมีส่วนร่วมของหลักสูตร โดยผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการประจำคณะ

         คณะกรรมการสมรรถนะดิจิทัลประจำคณะฯ ได้ร่วมกันจัดทำแผนพัฒนาและส่งเสริมสมรรถนะดิจิทัลสำหรับนักศึกษาในคณะประจำปีการศึกษา 2565 และนำแผนดังกล่าวเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารคณะฯ ครั้งที่ 2/2565 เมื่อวันที่ 31ตุลาคม 2565 โดยได้ทบทวนแผนเดิมของปีการศึกษา 2564 พบว่า ถึงแม้ว่าจะมีการบรรลุวัตถุประสงค์ทั้งหมดก็ตาม แต่ยังมีกระบวนการบางอย่างที่ต้องปรับปรุงตามสถานการณ์ กล่าวคือ การจัดอบรมที่ดำเนินการมา อาจช่วยให้นักศึกษาได้รับความรู้และทักษะเพิ่มในขณะอบรม เมื่อเวลาผ่านไปอาจทำให้นักศึกษาลืมองค์ความรู้ที่ได้รับเมื่อไม่ได้ใช้งานประจำ ดังนั้น ในปีการศึกษา 2565 คณะกรรมการในที่ประชุมจึงหารือกันเพื่อปรับกระบวนการส่งเสริมสมรรถนะดิจิทัลให้นักศึกษาเกิดแรงจูงใจในการนำไปใช้ในชีวิตประจำวันและการเรียน จะช่วยให้การสอบมาตรฐานฯ ง่ายขึ้นเนื่องจากมีความคุ้นเคยกับเทคโนโลยีดิจิทัลแล้ว โดยการจัดกิจกรรม “ประกวดการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการเรียนและชีวิตประจำวัน” สำหรับนักศึกษาในคณะฯ โดยมีรายละเอียดสำคัญของแผน ดังนี้

        วัตถุประสงค์ของแผนฯ

          1. เพื่อส่งเสริมและพัฒนาสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัลให้กับนักศึกษา

          2. เพื่อให้นักศึกษาสามารถประยุกต์ใช้สมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัลในการเรียนและชีวิตประจำวัน

             3. เพื่อให้นักศึกษาสอบผ่านเกณฑ์การทดสอบตามเกณฑ์ Digital Literacy หรือเทียบเท่าตามมาตรฐานที่มหาวิทยาลัยกำหนด

        ตัวชี้วัดความสำเร็จของแผน

         1. มีการจัดโครงการ/กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อส่งเสริมและพัฒนาสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัลให้กับนักศึกษา อย่างน้อย 1 โครงการต่อปีการศึกษา

         2. มีหลักสูตรที่ประยุกต์ใช้สมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัลในการจัดการเรียนการสอน อย่างน้อย 3 หลักสูตร

         3. นักศึกษาที่ได้รับรางวัลการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการเรียนและชีวิตประจำวัน อย่างน้อย 3 คนนักศึกษาชั้นปีสุดท้ายสามารถสอบผ่านเกณฑ์การทดสอบตามเกณฑ์ Digital Literacy หรือเทียบเท่าตามมาตรฐานที่มหาวิทยาลัยกำหนด อย่างน้อยร้อยละ 50 ของนักศึกษาชั้นปีสุดท้ายทั้งหมด           

         สำหรับโครงการที่จัดขึ้นตามแผนข้างต้น คือ “โครงการส่งเสริมสมรรถนะดิจิทัล ปีการศึกษา 2565 การประยุกต์ใช้สมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัลในการเรียนและชีวิตประจำวัน” เรื่อง “การใช้โปรแกรม Excel ในการบริหารธุรกิจ”

3 มีการจัดสรรงบประมาณ และสิ่งสนับสนุนการดำเนินการตามแผนพัฒนานักศึกษาให้มีความสามารถด้านดิจิทัล

         คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี ได้มีการจัดสรรงบประมาณและสิ่งสนับสนุนการดำเนินการตามแผนพัฒนานักศึกษาใหม่ความสามารถด้านดิจิทัล ให้กับนักศึกษา ประจำปีงบประมาณ 2565 จำนวน 8,400 บาท ในโครงการพัฒนาศักยภาพด้านสมรรถนะดิจิทัลให้กับนักศึกษาทุกสาขาวิชา

4 มีการประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนพัฒนานักศึกษาให้มีความสามารถด้านดิจิทัล และมีการนำผลจากการประเมินมาปรับปรุงในปีถัดไป

ตัวชี้วัดความสำเร็จของแผน มีดังนี้

          1. ในปีการศึกษา 2565 ทางคณะฯ ได้มีการจัดโครงการ/กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อส่งเสริมและพัฒนาสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัลให้กับนักศึกษา 1 โครงการ คือ “โครงการส่งเสริมทักษะด้านดิจิทัลให้กับนักศึกษา” ในหัวข้อ “การใช้ Excel ในการบริหารธุรกิจ” เพื่อเป็นการประกวดการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการเรียน จึงถือว่าบรรลุวัตถุประสงค์ของแผน

          2. มีหลักสูตรที่ประยุกต์ใช้สมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัลในการจัดการเรียนการสอน จำนวน 6 หลักสูตร ได้แก่ การบัญชี การจัดการ การตลาด คอมพิวเตอร์ธุรกิจดิจิทัล การบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ และการท่องเที่ยวและการโรงแรม จึงถือว่าบรรลุวัตถุประสงค์ของแผน

          3. มีนักศึกษาที่ได้รับรางวัลการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการเรียน จำนวน 6 รางวัล ได้แก่ รางวัลชนะเลิศ รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 และรางวัลชมเชย 3 รางวัล จึงถือว่าบรรลุวัตถุประสงค์ของแผน

         4. นักศึกษาชั้นปีสุดท้ายสามารถสอบผ่านเกณฑ์การทดสอบตามเกณฑ์ Digital Literacy ที่มหาวิทยาลัยกำหนด จำนวน 167 จากนักศึกษาชั้นปีสุดท้ายทั้งหมด 216 คน คิดเป็นร้อยละ 77.31 ซึ่งมากกว่าที่เกณฑ์กำหนดไว้ที่ร้อยละ 50 ดังนั้น จึงบรรลุวัตถุประสงค์ของแผน

       คณะฯ ได้มีการประเมินความสำเร็จของแผนพัฒนาสมรรถนะดิจิทัลฯ ที่ใช้ในปีการศึกษา 2565 พบว่า การจัดการประกวดการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเป็นกิจกรรมที่จำกัดจำนวนการเข้าร่วมของนักศึกษา อาจทำให้นักศึกษารายอื่นที่ไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรมเสียโอกาสในการรับความรู้และประสบการณ์จากการแข่งขันและอาจส่งผลต่อการสอบผ่านมาตรฐานสมรรถนะดิจิทัลของมหาวิทยาลัยได้ ดังนั้น ในปีการศึกษา 2566 คณะฯ จึงกำหนดแผนพัฒนาสมรรถนะดิจิทัล โดยมีวัตถุประสงค์และตัวชี้วัดความสำเร็จของแผนดังนี้

       วัตถุประสงค์ของแผน

          1. เพื่อส่งเสริมและพัฒนาสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัลให้กับนักศึกษา

          2. เพื่อให้นักศึกษาสามารถประยุกต์ใช้สมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัลในการเรียนและชีวิตประจำวัน

          3. เพื่อให้นักศึกษาสอบผ่านเกณฑ์การทดสอบตามเกณฑ์ Digital Literacy หรือเทียบเท่าตามมาตรฐานที่มหาวิทยาลัยกำหนด

       ตัวชี้วัดความสำเร็จของแผน

              1. มีการจัดกิจกรรมอบรมหรือจัดหาสิ่งสนับสนุนเพื่อส่งเสริมและพัฒนาสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัลให้กับนักศึกษา อย่างน้อย 1 กิจกรรมต่อปีการศึกษา

          2. นักศึกษาชั้นปีสุดท้ายสามารถสอบผ่านเกณฑ์การทดสอบตามเกณฑ์ Digital Literacy หรือเทียบเท่าตามมาตรฐานที่มหาวิทยาลัยกำหนด อย่างน้อยร้อยละ 50 ของนักศึกษาชั้นปีสุดท้ายทั้งหมด

          โดยในปีการศึกษา 2566 ทางคณะฯ จะมีการจัดกิจกรรมอบรมหรือจัดหาสิ่งสนับสนุนเพื่อส่งเสริมและพัฒนาสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัลให้กับนักศึกษาเพิ่มเติม ซึ่งถึงแม้ว่าทางงานสมรรถนะดิจิทัลส่วนกลางจะมีการจัดอบรมให้อยู่แล้วนั้น แต่ทางคณะฯ เห็นว่าควรจะมีกิจกรรมเสริมหรือสิ่งสนับสนุนเสริมดังกล่าวด้วยเพื่อสร้างความคุ้นเคยให้กับนักศึกษาซึ่งอาจส่งผลให้สามารถสอบผ่านเกณฑ์ได้ นอกจากนี้ ความรู้ที่ได้จากการอบรมหรือสิ่งสนับสนุน อาจช่วยให้นักศึกษาประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดังกล่าวในการเรียนและชีวิตประจำได้ดีขึ้น

5 มีนักศึกษาระดับปริญญาตรีปีสุดท้ายที่ผ่านเกณฑ์ IC3 หรือเทียบเท่า หรือตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50

       ในปีการศึกษา 2565 นักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีสุดท้าย รหัส 62 มีจำนวนทั้งสิ้น 216 คน เข้าสอบ 216 คน คิดเป็นร้อยละ 100 สอบผ่าน 167 คน คิดเป็นร้อยละ 77.31 ซึ่งมากกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ร้อยละ 50

ผลคะแนนการประเมินตนเอง
ทำได้ (ข้อ) ได้คะแนน
5 5