ตัวบ่งชี้ที่ 1.7 ระบบกลไกการพัฒนาบุคลากรในหน่วยงาน

ปีที่ประเมิน 2564
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : เจริญศรี ธรรมนิยม , สุชาติ ศรีชื่น
ชนิดตัวบ่งชี้ : กระบวนการ
คำอธิบายตัวบ่งชี้

กํากับติดตามผลการดําเนินงานตามแผนพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้มีระบบงานและสมรรถนะที่สอดคล้องและนําไปสู่การบรรลุพันธกิจ ให้เป็นไปตามแผนและแนวทางของตําแหน่งงานที่กําหนด รวมทั้งติดตามตรวจสอบเป็นรายบุคคล เพื่อการส่งเสริมสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งสร้างความผูกพันเพื่อช่วยส่งเสริมให้บุคลากรปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิผลและเต็มความสามารถ มีความมุ่งมั่นและเต็มใจใน การปฏิบัติงานเพื่อให้หน่วยงานประสบความสําเร็จ

เกณฑ์การประเมิน
คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
เกณฑ์มาตรฐาน
ระดับ เกณฑ์มาตรฐาน ดำเนินการ
1 มีแผนพัฒนาบุคลากรที่มีช่วยส่งเสริมให้บุคลากรปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิผลและเต็มความสามารถ
2 มีการพัฒนาบุคลากรให้เป็นไปตามแผนที่กําหนด
3 มีการเสริมสร้างสุขภาพที่ดี และสร้างขวัญและกําลังใจการทํางานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4 มีกำกับและการติดตามให้บุคลากรนําความรู้และทักษะที่ได้จากการพัฒนามาใช้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง
5 มีการประเมินผลความสําเร็จของแผนการพัฒนาบุคลากรในหน่วยงาน
6 มีการนําผลการประเมินไปปรับปรุงแผนหรือปรับปรุงการพัฒนาบุคลากรในหน่วยงาน
ผลการดำเนินงาน
ตนข้อเกณฑ์ผลการดำเนินงานหลักฐาน
1มีแผนพัฒนาบุคลากรที่มีช่วยส่งเสริมให้บุคลากรปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิผลและเต็มความสามารถ

1. สำนักงานอธิการบดี มีแผนพัฒนาบุคลากรที่มีช่วยส่งเสริมให้บุคลากรปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิผลและเต็มความสามารถ ดังนี้

                   1.1 มีการแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำแผนพัฒนาบุคลากร สำนักงานอธิการบดี
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ตามคำสั่งที่ 1907/2564 ลงวันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 (1.7-1(1)) ประกอบด้วยบุคคล ดังนี้   1. ผู้อำนวยการสำนักงานอธิการบดี เป็นประธานคณะกรรมการ

                              2. หัวหน้างาน หัวหน้าฝ่าย สังกัดสำนักงานอธิการบดี เป็นกรรมการ

                              3. ผู้อำนวยการกองกลาง/หัวหน้างานบริหารบุคคล เป็นกรรมการและเลาขานุการ

โดยมีหน้าที่ทบทวนและจัดทำแผนพัฒนาบุคลากร กำกับ ติดตามผลการดำเนินงานและสรุปผลการดำเนินงานตามแผนพัฒนาบุคลากร

                   1.2  มีการประชุมคณะกรรมการจัดทำแผนพัฒนาบุคลากรสำนักงานอธิการบดี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ครั้งที่ 1/2565 (1.7-1(2)) เพื่อยกร่างแผนพัฒนาบุคลากร สำนักงานอธิการบดี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 โดยมีการกำหนดกิจกรรมตามแผน จำนวน 2 โครงการ และได้รับจัดสรรงบประมาณจำนวนทั้งสิ้น 48,736 บาท

                   1.3 แผนพัฒนาบุคลากร สำนักงานอธิการบดี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (1.7-1(3)) ผ่านความเห็นชอบตามมติที่ประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ (ก.บ.)
ครั้งที่ 12/2564 ลงวันที่ 22 ธันวาคม 2564 (1.7-1(4))

2มีการพัฒนาบุคลากรให้เป็นไปตามแผนที่กําหนด

2. สำนักงานอธิการบดี มีการพัฒนาบุคลากรให้เป็นไปตามแผนที่กำหนด ดังนี้

                   มีการจัดทำแผนพัฒนาบุคลากร สำนักงานอธิการบดี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
โดยมีการกำหนดกิจกรรมไว้ตามแผน จำนวน 2 กิจกรรม ดำเนินการแล้วเสร็จ จำนวน 2 กิจกรรม
คิดเป็นร้อยละ 100 ดังนี้

ชื่อโครงการ

ผลการดำเนินงาน

1. โครงการ การจัดอบรมเสริมสร้างจิตบริการและการทำงานเป็นทีมสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศ

    ได้จัดการจัดอบรมเสริมสร้างจิตบริการและการทำงานเป็นทีมสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศ (1.7-2(1)) ในวันอังคารที่ 21 มิถุนายน 2565 ณ ห้องประชุมวิชัย แข่งขัน ชั้น 2 ศูนย์ฝึกประสบการณ์วิชาการอเนกประสงค์ บุญชง วีสมหมาย (ศรีพฤทธาลัยราชภัฏสัมมนาคาร) กลุ่มเป้าหมายที่กำหนดไว้ จำนวน 26 คน มีผู้เข้าร่วมโครงการจริง จำนวน 26 ราย คิดเป็นร้อยละ 100 พบว่า ผลการวิเคราะห์ข้อมูลตามแบบประเมินความพึงพอใจ ของผู้เข้าร่วมอบรมโครงการ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ( = 4.35) และบุคลากรสามารถใช้เครื่องมือ MIC Model ช่วยลดขั้นตอนการปฏิบัติและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้ จำนวน 1 หน่วยงาน ได้แก่
ฝ่ายธุรการและงานสารบรรณ 

2. โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ

“การจัดทำคู่มือปฏิบัติงานหลักและการทำผลงานวิจัยบุคลากรสายสนับสนุน”

      ได้จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การจัดทำคู่มือปฏิบัติงานหลักและการทำผลงานวิจัยบุคลากรสายสนับสนุน” (1.7-2(2))
ในระหว่างวันที่ 23 - 24 ธันวาคม 2564  ณ ห้องประชุม 9901  ชั้น 9 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 โดยมีกลุ่มเป้าหมายที่กำหนดไว้ จำนวน 50 คน มีผู้เข้าร่วมโครงการจริง จำนวน 42 คน คิดเป็นร้อยละ 84  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่มีต่อโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ พบว่าผลการวิเคราะห์ข้อมูลตามแบบประเมินความพึงพอใจ ของผู้เข้าร่วมอบรมโครงการ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.75)
และสามารถนำความรู้ไปใช้ในการจัดทำคู่มือปฏิบัติงานหลัก
เพื่อขอรับการประเมินเพื่อแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งที่สูงได้ จำนวน 1 คน ได้แก่ 1. ฝ่ายภูมิทัศน์

3มีการเสริมสร้างสุขภาพที่ดี และสร้างขวัญและกําลังใจการทํางานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3. สำนักงานอธิการบดี มีการเสริมสร้างสุขภาพที่ดี และสร้างขวัญและกำลังใจการทำงานได้อย่างประสิทธิภาพ ดังนี้

                   3.1 มีการสร้างเสริมสุขภาพที่ดีให้แก่บุคลากร โดยมีการขออนุมัติจัดสรรงบประมาณ ประจำปี พ.ศ. 2565 จำนวนเงิน 5,000 บาท เพื่อจัดกิจกรรมโครงการบริหารจัดการเกี่ยวกับสวัสดิการบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ โดยมีกำหนดจัดกิจกรรมตามแผนงบประมาณประจำปี พ.ศ. 2565
ในเดือน สิงหาคม 2565 (ซึ่งอยู่ในระหว่างการดำเนินการ)

                   3.2 มีการสร้างขวัญและกำลังใจในการทำงานให้แก่บุคลากร ได้มอบสวัสดิการให้กับบุคลากรสำนักงานอธิการบดี ในด้านต่าง ๆ ดังนี้

ดังนี้

                  1. สวัสดิการสมรส จำนวน 2 ราย ๆ ละ 2,000 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 4,000 บาท

                  2. สวัสดิการคลอดบุตร จำนวน 3 ราย ๆ ละ 2,000 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 6,000 บาท

                  3. สวัสดิการงานฌาปนกิจศพ จำนวน 16 ราย ๆ ละ  2,000 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 32,000 บาท

                  4. สวัสดิการการรักษาพยาบาล

                  5. สวัสดิการค่าการศึกษาบุตร

                  6. สวัสดิการบ้านพัก  จำนวน 68 หลัง จำนวน 128 คน

4มีกำกับและการติดตามให้บุคลากรนําความรู้และทักษะที่ได้จากการพัฒนามาใช้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง

4. สำนักงานอธิการบดี มีกำกับและการติดตามให้บุคลากรนำความรู้และทักษะที่ได้จากการพัฒนามาใช้ในการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

               4.1 มีการจัดกิจกรรมโครงการการจัดอบรมเสริมสร้างจิตบริการและการทำงานเป็นทีมสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศ (1.7-4(1))  เมื่อวันอังคารที่ 21 มิถุนายน 2565 ณ ห้องประชุมวิชัย แข่งขัน 
ชั้น 2 ศูนย์ฝึกประสบการณ์วิชาการอเนกประสงค์ บุญชง วีสมหมาย (ศรีพฤทธาลัยราชภัฏสัมมนาคาร) 
มีผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 26 คน ผลการวิเคราะห์ข้อมูลตามแบบประเมินความพึงพอใจ ของผู้เข้าร่วมอบรมโครงการ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ( = 4.35) จากการกำกับติดตามหลังจากการจัดกิจกรรม
พบว่า บุคลากรสามารถใช้เครื่องมือ MIC Model ช่วยลดขั้นตอนการปฏิบัติและเพิ่มประสิทธิภาพ
ในการทำงานได้ จำนวน 1 หน่วยงาน ได้แก่ ฝ่ายธุรการและงานสารบรรณ (1.7-4(2))  

               4.2 มีการจัดกิจกรรมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การจัดทำคู่มือปฏิบัติงานหลัก
และการทำผลงานวิจัยบุคลากรสายสนับสนุน” (1.7-4(3)) ในระหว่างวันที่ 23-24 ธันวาคม 2564 
ณ ห้องประชุม 9901 ชั้น 9 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5  ธันวาคม 2550 มีผู้เข้าร่วมโครงการ 
จำนวน 42 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลตามแบบประเมินความพึงพอใจ ของผู้เข้าร่วมอบรมโครงการ 
มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.75) จากการกำกับติดตามหลังจากการจัดกิจกรรม 
บุคลากรสามารถนำความรู้ไปใช้ในการจัดทำคู่มือปฏิบัติงานหลัก เพื่อขอรับการประเมินเพื่อแต่งตั้งบุคคล
ให้ดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้นได้ จำนวน 1 คน ได้แก่ ฝ่ายภูมิทัศน์(1.7-4(4))  
 

 

5มีการประเมินผลความสําเร็จของแผนการพัฒนาบุคลากรในหน่วยงาน

5. สำนักงานอธิการบดี มีการประเมินผลความสำเร็จของแผนการพัฒนาบุคลากรในหน่วยงาน ดังนี้

                           5.1 มีผลการดำเนินงานกิจกรรมโครงการตามแผนพัฒนาบุคลากร สำนักงานอธิการบดี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 พบว่า มีการกำหนดกิจกรรมไว้ในแผน จำนวน 2 โครงการ ดำเนินการแล้วเสร็จ จำนวน 2 โครงการ คิดเป็นร้อยละ 100

                           5.2 มีผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดของแผน พบว่า มีการกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จของแผนไว้ จำนวน 1 ตัวชี้วัด บรรลุเป้าหมาย จำนวน 1 ตัวชี้วัด คิดเป็นร้อยละ 100 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

ตัวชี้วัด

ค่าเป้าหมาย

ผลการดำเนินงาน

การบรรลุเป้าหมาย

- ผู้เข้าร่วมโครงการการจัดอบรมเสริมสร้างจิตบริการและการทำงานเป็นทีมสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

 

 

 

 

- ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจในการเขียนคู่มือปฏิบัติงานหลักอย่างน้อยร้อยละ 80

 

-  ร้อยละของโครงการที่บรรลุวัตถุประสงค์

 - บุคลากร สังกัด สำนักงานอธิการบดี จำนวน 26 คน

 

 

- หน่วยงานสามารถใช้เครื่องมือ MIC Model
ได้อย่างน้อย 1 หน่วยงาน

 

 

บุคลากรสามารถส่งผลงานเพื่อขอแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้นได้ อย่างน้อย3 คน

 

 

      2 โครงการ

กลุ่มเป้าหมายที่กำหนดไว้ จำนวน 26 คน มีผู้เข้าร่วมโครงการจริง จำนวน 26 คน คิดเป็นร้อยละ 100

บุคลากรสามารถใช้เครื่องมือ MIC Model ช่วยลดขั้นตอนการปฏิบัติและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้ จำนวน 1 หน่วยงาน ได้แก่ ฝ่ายธุรการและงานสารบรรณ

สามารถนำความรู้ไปใช้ในการจัดทำคู่มือปฏิบัติงานหลักเพื่อขอรับการประเมินเพื่อแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้นได้จำนวน  1 คน ได้แก่ ฝ่ายภูมิทัศน์

มีการกำหนดกิจกรรมไว้ในแผน จำนวน 2 โครงการ ดำเนินการแล้วเสร็จ จำนวน 2 โครงการ

บรรลุ

 

 

 

 

 

 

 

ไม่บรรลุ

 

 

 

บรรลุ

 

5.3 มีการจัดทำรายงานผลการดำเนินงานตามแผนพัฒนาบุคลากร สำนักงานอธิการบดี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (1.7-5(1)) เสนอต่อคณะกรรมการจัดทำแผนพัฒนาบุคลากร สำนักงานอธิการบดี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ครั้งที่ 2/2565 (1.7-5(2)) เพื่อรับทราบและพิจารณาให้ข้อเสนอแนะในการพัฒนา โดยมีข้อเสนอแนะ จำนวน 2 เรื่อง ดังนี้

                             1. การกำหนดวัตถุประสงค์ของแผนพัฒนาบุคลากรต้องยึด ตัวชี้วัด/ค่าเป้าหมายจากเล่มแผนยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ระยะ 5 ปี

                             2. ให้กำหนดความต้องการที่ผู้เข้าร่วมสนใจพัฒนาในการดำเนินการครั้งต่อไปลงในแบบสอบถามความพึงพอใจต่อการดำเนินโครงการให้ชัดเจน

6มีการนําผลการประเมินไปปรับปรุงแผนหรือปรับปรุงการพัฒนาบุคลากรในหน่วยงาน

6. สำนักงานอธิการบดี มีการนำผลประเมินไปปรับปรุงแผนหรือปรับปรุงการพัฒนาบุคลากรในหน่วยงาน ดังนี้

                                          มีการจัดทำรายงานผลการประเมินความสำเร็จของแผนพัฒนาบุคลากร สำนักงานอธิการบดี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (1.7-6(1)) เสนอต่อคณะกรรมการจัดทำแผนพัฒนาบุคลากร สำนักงานอธิการบดี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
ในวันพฤหัสบดี ที่ 7 กรกฎาคม 2565 ครั้งที่ 2/2565 พบว่า มีข้อเสนอแนะในการปรับปรุงพัฒนา จำนวน 4 ประเด็น หน่วยงานจึงได้จัดทำแผนการปรับปรุงคุณภาพ โดยกำหนดแนวทางการปรับปรุงพัฒนา ตัวชี้วัด/ค่าเป้าหมาย ระยะเวลาดำเนินงาน และผู้รับผิดชอบอย่างชัดเจน โดยมีรายละเอียด ดังนี้

ข้อเสนอแนะ

แนวทางการปรับปรุง

ระยะเวลาดำเนินงาน

ผู้รับผิดชอบ

1.ควรกำหนดวัตถุประสงค์ของแผน ให้เชื่อมโยงกับแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏ
ศรีสะเกษ ระยะ 5 ปี พ.ศ. 2566-2570 กำหนดตัวชี้วัดค่าเป้าหมายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาบุคลากร

2. ควรวัดเชิงคุณภาพตามวัตถุประสงค์ของแผน ควรกำหนดวัตถุประสงค์ของแผนพัฒนาบุคลากรโดยยึดตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายจากเล่มแผนยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
ระยะ 5 ปี

3. ควรจัดกิจกรรมนอกสถานที่เพื่อสร้างแรงจูงใจให้บุคลากรเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

4. ควรเพิ่มกิจกรรมสร้างจิตสำนึก เชิดชูเกียรติบุคลากรดีเด่น โดยมอบเกียรติบัตรเพื่อสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่บุคลากร

 

1. การปรับปรุง :

(    ) ปรับปรุงกระบวนการ

(    ) ปรังปรุงโครงการ

( / ) ปรับปรุงแผน

2. การดำเนินงาน :

(    ) ดำเนินการแล้ว

(  / ) อยู่ระหว่างดำเนินการ

    มีการยก (ร่างแผนพัฒนาบุคลากร สำนักงานอธิการบดีประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ปรับปรุงโดย

1.กำหนดวัตถุประงสงค์ ตัวชี้วัด ค่าเป้าหมายให้เชื่อมโยงกับแผนยุมธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ 5 ปี (พ.ศ. 2566-2570)

2. การวัดผลเชิงคุณภาพตามวัตถุประสงค์ของแผนเพื่อให้เห็นถึงความสำเร็จในการดำเนินการตามแผน

3. ควรจัดกิจกรรมนอกสถานที่เพื่อสร้างแรงจูงใจให้กับบุคลากร

4. ควรเพิ่มกิจกรรมสร้างจิตสำนึก เชิดชูเกียรติบุคลากรดีเด่นโดยการมอบเกียรติบัตร

(    ) ยังไม่ดำเนินการ

 

สิงหาคม 2565

คณะกรรมการจัดทำแผนพัฒนาบุคลากรและกำกับติดตามผลการดำเนินงาน ระยะ 1 ปี สำนักงานอธิการบดี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

ผลคะแนนการประเมินตนเอง
ทำได้ (ข้อ) ได้คะแนน
6 5