ตัวบ่งชี้ที่ 1.8 ร้อยละของหลักสูตรที่นักศึกษามีส่วนร่วมในการสร้างนวัตกรรม

ปีที่ประเมิน 2562
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : เกษม เปนาละวัด , ฐิติมา เกษมสุข
ชนิดตัวบ่งชี้ : ผลลัพธ์
คำอธิบายตัวบ่งชี้

ผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ตามมาตรฐานการศึกษาชาติที่กำหนดให้นักศึกษาเป็นผู้ร่วมสร้างนวัตกรรม หลักสูตรจึงควรผลักดันให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการสร้างผลงานนวัตกรรมโครงงานหรืองานวิจัยหรือบูรณาการศาสตร์ต่างๆ ที่เป็นงานพัฒนาที่สามารถแก้ไขปัญหาให้ชุมชนหรือท้องถิ่น

เกณฑ์การประเมิน

โดยการแปลงค่าร้อยละของหลักสูตรที่นักศึกษามีส่วนร่วมในการสร้างนวัตกรรม ที่กำหนดให้คะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 100

สูตรการคํานวณ

1. คำนวณค่าร้อยละของหลักสูตรที่นักศึกษามีส่วนร่วมในการสร้างนวัตกรรม

จำนวนหลักสูตรที่นักศึกษามีส่วนร่วมในการสร้างนวัตกรรม
---------------------------------------------------------------------------------------------------------      x  100
จำนวนหลักสูตรทั้งหมดในคณะ

2. แปลงค่าร้อยละที่คำนวณได้ในข้อ 1 เทียบกับคะแนนเต็ม 5

คะแนนที่ได้ = ร้อยละของหลักสูตรที่นักศึกษามีส่วนร่วมในการสร้างนวัตกรรม
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------       x     5
ร้อยละของหลักสูตรที่นักศึกษามีส่วนร่วมในการสร้างนวัตกรรมที่กำหนดให้เป็นคะแนนเต็ม 5
หมายเหตุ

1. นวัตกรรมที่ชุมชนยอมรับโดยมีหลักฐานการใช้ประโยชน์จากชุมชน
2. ความหมายของการมีส่วนร่วม หมายถึง นักศึกษามีการวางแผน การดำเนินงาน และการประเมินผล
3. นวัตกรรมดังกล่าวอาจเกิดขึ้นในชุมชน เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตและเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน

ผลการดำเนินงาน

        คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ได้เปิดการเรียนการสอนจำนวนทั้งสิ้น 7 หลักสูตร  โดยทุกหลักสูตร ได้มีการนำนักศึกษาเข้าร่วมจัดโครงการเพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมร่วมกับชุมชน  มีการวางแผนการดำเนินงาน และการประเมินผลการดำเนินงาน  และเพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาร่วมสร้างนวัตกรรมให้เกิดขึ้นภายในชุมชน ส่งเสริมคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน รวมทั้งสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ภายใต้โครงการยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น 62  เป็นการสนับสนุน ส่งเสริมสร้างประสบการณ์ให้กับนักศึกษาได้ตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม การเข้าถึงประโยชน์ต่อชุมชน และสังคม โดยมีรายละเอียดการจัดกิจกรรมในแต่ละหลักสูตร ดังนี้

         1.  สาขาวิชาการตลาด รับผิดชอบ โครงการย่อย“ยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น Plus” โดยกลุ่มเด็กดีปลาร้าเด็ด โดยทีม พัฒนาชุมชนให้มั่นคง ด้วยคนมีอุดมการณ์

            2.  สาขาวิชาการจัดการ รับผิดชอบโครงการย่อย วิสาหกิจชุมชนศูนย์ส่งเสริมและผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวชุมชนตำบลผักไหม โดย ทีม Good Rice

         3.  สาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม รับผิดชอบ โครงการย่อย“ออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น Plus” โดย ทีม THE WOVEN MAT

            4.  สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ รับผิดชอบ โครงการย่อยโครงการออมสิน ยุวพัฒน์รักษ์ พลัส โดยทีมนักศึกษา Herb Hunter – x

            5.  สาขาวิชาการบัญชี รับผิดชอบโครงการย่อย  หมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงศาสนาและวัฒนธรรม : เที่ยวบ้านหว้าน โดยทีม ATM ร่วมใจรักษ์ถิ่น 

            6.  สาขาวิชาบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ รับผิดชอบโครงการยุวพัฒนารักษ์ถิ่น Plus “แปรรูปผลิตภัณฑ์ผ้าขาวม้า” โดยทีม The Life of Baan Don Ka

         7.  สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การเงินการคลัง รับผิดชอบ โครงการยุวพัฒนารักษ์ถิ่น Plus โดยทีม BAAC รักบ้านเกิด

          จากผลการดำเนินงาน พบว่า ทั้ง 7 หลักสูตรได้มีการนำนักศึกษาแต่ละสาขาวิชาเข้าร่วมโครงการ และได้ร่วมวางแผนกำหนดกิจกรรม สร้างนวัตกรรมในด้านกระบวนการ ด้านผลิตภัณฑ์ รวมถึงวิธีการคิด โดยในแต่ละกิจกรรมได้สอดแทรกเนื้อหาเกี่ยวกับการบริหารธุรกิจให้กับชุมชน เพื่อให้นักศึกษาและชุมชนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

 

 1.  คำนวณค่าร้อยละของหลักสูตรที่นักศึกษามีส่วนร่วมในการสร้างนวัตกรรม

      แทนค่าการแปลงคะแนน

         

2.  แปลงค่าร้อยละที่คำนวณในข้อ 1 เทียบกับคะแนนเต็ม 5

      

   แทนค่าการแปลงคะแนน

หลักฐาน
รหัสหลักฐาน เอกสารหลักฐาน
1.8 - (1)
ผลคะแนนการประเมินตนเอง
ทำได้ (ข้อ) ได้คะแนน
1 5