ตัวบ่งชี้ที่ 1.9 ดําเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในตามระบบและกลไก

ปีที่ประเมิน 2564
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : กมลมาศ เอี้ยวถาวร , กนกกาญจน์ บุญทรง
ชนิดตัวบ่งชี้ : กระบวนการ
คำอธิบายตัวบ่งชี้

การประกันคุณภาพการศึกษาภายในเป็นภารกิจของสถาบันอุดมศึกษา/หน่วยงาน ตามที่กําหนดไว้ใน พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 ซึ่งสถาบัน/หน่วยงาน ต้องสร้างระบบและกลไกในการควบคุม ตรวจสอบ ประเมินและพัฒนาการดําเนินงานของสถาบัน/หน่วยงานให้เป็นไปตามนโยบาย เป้าประสงค์ และระดับคุณภาพตามมาตรฐานที่กําหนดโดยสถาบันและหน่วยงานต้นสังกัด ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีการวัดผลสําเร็จของการประกันคุณภาพการศึกษาภายในรวมทั้งการรายงานผลการประกันคุณภาพต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเปิดเผยต่อสาธารณชน มีการประเมินและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง และมีนวัตกรรมที่เป็นแบบอย่างที่ดี

เกณฑ์การประเมิน
คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 ข้อ มีการดำเนินการ 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 - 6 ข้อ
เกณฑ์มาตรฐาน
ระดับ เกณฑ์มาตรฐาน ดำเนินการ
1 ดําเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในตามระบบและกลไกที่เหมาะสมสอดคล้องกับ พันธกิจของหน่วยงาน
2 มีการกําหนดนโยบายและให้ความสําคัญเรื่องการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน โดยคณะกรรมการระดับนโยบายและผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงาน รวมทั้งมีระบบสารสนเทศที่ให้ข้อมูลสนับสนุนการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน
3 มีการดําเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในที่ครบถ้วน ประกอบด้วย 1) การควบคุม ติดตามการดําเนินงาน และประเมินคุณภาพ 2) การจัดทํารายงานประจําปีที่เป็นรายงานประเมินคุณภาพตามกําหนดเวลา 3) การนําผลการประเมินคุณภาพไปทําแผนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถาบัน/หน่วยงาน
4 มีการนําผลการประกันคุณภาพการศึกษาภายในมาปรับปรุงการทํางาน และส่งผลให้มีการพัฒนาผลการดําเนินงานตามตัวบ่งชี้ของแผนยุทธศาสตร์ทุกตัวบ่งชี้
5 มีเครือข่ายการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการประกันคุณภาพการศึกษาระหว่างหน่วยงาน ภายในหรือภายนอกและมีกิจกรรมร่วมกัน
6 มีแนวปฏิบัติที่ดีหรืองานวิจัยด้านการประกันคุณภาพการศึกษาที่หน่วยงานพัฒนาขึ้นและเผยแพร่ ให้หน่วยงานอื่นสามารถนําไปใช้ประโยชน์
ผลการดำเนินงาน
ตนข้อเกณฑ์ผลการดำเนินงานหลักฐาน
1ดําเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในตามระบบและกลไกที่เหมาะสมสอดคล้องกับ พันธกิจของหน่วยงาน

๑.สำนักงานอธิการบดีมีการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในตามระบบและกลไกที่เหมาะสมสอดคล้องกับพันธกิจของหน่วยงานดังนี้

                   ๑.๑ มีการจัดทำคู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสำนัก (๑.๙-๑(๑))เพื่อเป็นระบบและกลไกในการดำเนินงานด้านประกันคุณภาพการศึกษาภายใน มีการกำหนดเกณฑ์การประเมินที่ชัดเจนสอดคล้องกับพันธกิจของหน่วยงาน จำนวน ๒ องค์ประกอบ ๑๕ ตัวบ่งชี้

                   ๑.๒ มีการจัดทำปฏิทินการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสำนัก (๑.๙-๑(๒)) เพื่อกำหนดกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงานให้ชัดเจนในวงรอบปีประกันอย่างชัดเจน

                   ๑.๓ มีการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสำนัก (๑.๙-๑(๓)) โดยมีส่วนร่วมของบุคลากรและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย ประกอบด้วย คณะกรรมการที่ปรึกษา, คณะกรรมการอำนวยการ, คณะกรรมการดำเนินงาน เพื่อทำหน้าที่ ให้คำปรึกษา แนะนำแก่คณะกรรมการฝ่ายต่างๆ กำหนดนโยบาย หลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติต่างๆ เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนา ดำเนินการเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษาตามตัวบ่งชี้ทุกตัว

2มีการกําหนดนโยบายและให้ความสําคัญเรื่องการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน โดยคณะกรรมการระดับนโยบายและผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงาน รวมทั้งมีระบบสารสนเทศที่ให้ข้อมูลสนับสนุนการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน

๒. สำนักงานอธิการบดีมีการกำหนดนโยบายและให้ความสำคัญเรื่องการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน โดยคณะกรรมการระดับนโยบายและผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงานรวมทั้งมีระบบสารสนเทศที่ให้ข้อมูลสนับสนุนการประกันคุณภาพการศึกษาภายในดังนี้

                   ๒.๑ มีการกำหนดนโยบายที่ชัดเจน โดยมีผู้บริหารและบุคลากรของหน่วยงาน มีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย โดยจัดทำประกาศเรื่องนโยบายด้านการประกันคุณภาพการศึกษา (๑.๙-๒(๑)) มีรายละเอียดดังนี้

                   ๑) ประกาศสำนักงานอธิการบดี เรื่อง นโยบายประกันคุณภาพการศึกษาภายใน

                   ๒.๒ มีระบบสารสนเทศสนับสนุนการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษา จำนวน ๒ ระบบ ดังนี้

                   ๑) มีระบบการประเมินออนไลน์ ESAR (www.esar.sskru.ac.th) (๑.๙-๒(๒)) เป็นระบบสารสนเทศที่ใช้สำหรับการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายในของหน่วยงาน สามารถเขียนผลการดำเนินงาน อัพโหลดเอกสารหลักฐานรายองค์ประกอบ และตัวบ่งชี้ สามารถ เพิ่ม ลบ แก้ไข สืบค้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

                   ๒) มีเว็ปไซต์หน่วยงาน (๑.๙-๒(๓)) เป็นระบบสารสนเทศที่ใช้สำหรับการเผยแพร่ผลการประเมิน SAR ข้อมูลด้านการประกันคุณภาพการศึกษาให้หน่วยงานภายนอก และภายในสามารถนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์

หลักฐาน

3มีการดําเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในที่ครบถ้วน ประกอบด้วย 1) การควบคุม ติดตามการดําเนินงาน และประเมินคุณภาพ 2) การจัดทํารายงานประจําปีที่เป็นรายงานประเมินคุณภาพตามกําหนดเวลา 3) การนําผลการประเมินคุณภาพไปทําแผนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถาบัน/หน่วยงาน

๓. สำนักงานอธิการบดีมีการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในที่ครบถ้วน ประกอบด้วย  ๑) การควบคุม ติดตามการดำเนินงาน และประเมินคุณภาพ  ๒) การจัดทำรายงานประจำปีที่เป็นรายงานประเมินคุณภาพตามกำหนดเวลา ๓) การนำผลการประเมินคุณภาพไปทำแผนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของหน่วยงานดังนี้

          ๓.๑ การควบคุม ติดตามการดำเนินงาน และประเมินคุณภาพ

          ๑) มีการควบคุม ติดตาม และประเมินคุณภาพโดยคณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษา ที่หน่วยงานแต่งตั้ง ผ่านการประชุมคณะกรรมการอย่างต่อเนื่อง ดังนี้

- การประชุมคณะกรรมการดำเนินงาน ครั้งที่ ๗/๒๕๖๔ วาระที่ ๔.๒ (๑.๙-๓(๑)) เพื่อรายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาจากปีที่ผ่านมาเพื่อพิจารณา ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงเพื่อนำข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการตรวจประเมินจากปีที่ผ่านมามาจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา รับทราบปฏิทินการดำเนินงาน กำหนดเป้าหมายการดำเนินงานตามองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ และพิจารณากำหนดมอบหมายผู้รับผิดชอบ ผู้กำกับตัวบ่งชี้ เพื่อนำมาแต่งตั้งคณะกรรมการการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษา

- การประชุมคณะกรรมการดำเนินงาน ครั้งที่ ๓/๒๕๖๕ วาระที่ ๓.๑ เรื่องสืบเนื่อง  (๑.๙-๓(๒)) เพื่อกำกับติดตามผลการดำเนินงานของกิจกรรม โครงการ แผนงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาของหน่วยงาน กำหนดคณะกรรมการตรวจประเมิน กำหนดวันตรวจประเมิน สรุปข้อมูลเพื่อเขียนรายงานการประเมินตนเอง (SAR)

- การประชุมคณะกรรมการดำเนินงาน ครั้งที่ ๕/๒๕๖๕ วาระที่ ๕.๑ (๑.๙-๓(๓)) เพื่อพิจารณารายงานผลการประเมินตนเอง (SAR) ระดับสำนัก สำนักงานอธิการบดี ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๔

๒. มีการจัดทำโครงการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสำนัก สำนักงานอธิการบดี ประจำปีการศึกษา พ.ศ.๒๕๖๓ (๑.๙-๓(๔)) เมื่อวันที่ ๓๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ โดยมีผลการประเมินคะแนน ๔.๘๘ อยู่ในระดับ ดีมาก และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์บนเว็ปไซต์หน่วยงาน (http://www.psd.sskru.ac.th/)

                   ๓.๒ มีการจัดทำรายงานประจำปีที่เป็นรายงานประเมินคุณภาพตามกำหนดเวลา และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผ่านเว็ปไซต์หน่วยงาน (http://www.psd.sskru.ac.th/) (๑.๙-๓(๕))

                   ๓.๓ การนำผลการประเมินคุณภาพไปทำแผนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสำนักงานอธิการบดี

         

4มีการนําผลการประกันคุณภาพการศึกษาภายในมาปรับปรุงการทํางาน และส่งผลให้มีการพัฒนาผลการดําเนินงานตามตัวบ่งชี้ของแผนยุทธศาสตร์ทุกตัวบ่งชี้

๔. สำนักงานอธิการบดีมีการนำผลการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน มาปรับปรุงการทำงาน และส่งผลให้มีการพัฒนาผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้ของแผนยุทธศาสตร์ทุกตัวบ่งชี้ดังนี้

มีการนำข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสำนัก สำนักงานอธิการบดี ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๓ โดยได้จัดทำโครงการอบรมให้ความรู้ด้านงานประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสำนักและการเขียนรายงานการประเมินตนเอง (Self Assessment Report)ขึ้นในวันที่ ๑๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ ณ ห้อง ๙๓๑๓ เพื่อให้ได้แนวทางการดำเนินงาน และให้สอดคล้องกับนโยบายของสภามหาวิทยาลัย เพื่อให้มีการพัฒนา ติดตาม และตรวจสอบระบบการดำเนินงาน ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๔ (๑.๙-๔(๑)) พบว่า มีการกำหนดแนวทางการพัฒนาปรับปรุง ส่งต่อให้หน่วยงานมีผลการประเมิน มีแนวโน้มดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังตารางนี้

แสดงผลการประเมินย้อนหลัง ๓ ปี

ตัวบ่งชี้

ผลการประเมิน

๒๕๖๑

๒๕๖๒

๒๕๖๓

๘ ข้อ

๔.๘๘

๔.๗๕

๔.๘๘

5มีเครือข่ายการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการประกันคุณภาพการศึกษาระหว่างหน่วยงาน ภายในหรือภายนอกและมีกิจกรรมร่วมกัน

๕. สำนักงานอธิการบดี มีเครือข่ายการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการประกันคุณภาพการศึกษาระหว่างหน่วยงาน ภายในหรือภายนอกและมีกิจกรรมร่วมกันดังนี้

๕.๑ เครือข่ายภายใน

มีเครือข่ายการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในมหาวิทยาลัย ระหว่าง สำนักงานอธิการบดี กับ สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ โดยมีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการประกันคุณภาพการศึกษา (MOU) (๑.๙-๕(๑)) ในวันที่ ๓๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๕ มีระยะเวลาความร่วมมือเป็นเวลา ๔ ปี ตั้งแต่วันที่ ๓๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๕ ถึงวันที่ ๓๑ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๙ โดยมีการจัดกิจกรรมร่วมกันระหว่างเครือข่ายกิจกรรม

๑.การจัดการความรู้ (KM) ด้านการเงิน, งานพัสดุ, งานนโยบายและแผน

๒.ส่งเสริมบุคลากรเพื่อเข้าสู่ระดับตำแหน่งที่สูงขึ้น

๓.ศึกษาดูงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการทำงานเพื่อให้เกิดคุณภาพและมาตรฐาน

๔.การยกระดับและพัฒนาบุคลากรเพื่อดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษา

๕.โครงการ Shoe & Share สำนักงานอธิการบดีและสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ สow & S

ผลคะแนนการประเมินตนเอง
ทำได้ (ข้อ) ได้คะแนน
5 5