✓ | 1 | มีระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานวิจัยที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการบริหารงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ | คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ มีระบบสารสนเทศเพื่อการบริการงานวิจัยมาใช้ประโยชน์ในการบริการงานวิจัย ซึ่งจัดสร้างขึ้นโดยสถาบันวิจัยและพัฒนา (สวพ.) มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ดังหลักฐาน 2.1 - 1(1) โดยมีการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการวิจัย ดังหลักฐาน 2.1 - 1(2) ซึ่งมีความสามารถในการบริหารจัดการงานวิจัยภายในคณะฯ ดังต่อไปนี้
1. บันทึกข้อมูลโครงการวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากแหล่งทุนต่าง ๆ ลงในฐานข้อมูล
2. บันทึกข้อมูลเผยแพร่ผลงานทางวิชาการที่เผยแพร่ผ่านการประชุมวิชาการ
3. บันทึกข้อมูลการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการที่เผยแพร่ผ่านวารสารวิชาการ
4. สืบค้นข้อมูลการวิจัยจากฐานข้อมูลงานวิจัยย้อนหลัง
5. สามารถเชื่อมโยงข้อมูลการทำวิจัยของบุคลากรเข้ากับฐานข้อมูลประวัติส่วนตัวของบุคลากรเพื่อประโยชน์ในการะบวนการพิจารณาผลการปฏิบัติงานของบุคลากรรายบุคคล
6. ประมวลผลข้อมูลในฐานข้อมูลการวิจัยเพื่อให้ได้สารสนเทศที่นำไปใช้ประโยชน์ในด้านการบริหารเพื่อสนับสนุน ส่งเสริมการวิจัย ได้แก่
6.1 จำนวนเงินสนับสนุนการวิจัยที่ได้รับในระดับสถาบัน จำแนกตามปีงบประมาณ
6.2 จำนวนเงินทุนสนับสนุนการวิจัยที่ได้รับระดับคณะ จำแนกตามปีงบประมาณ
6.3 จำนวนเงินทุนสนับสนุนการวิจัยที่ได้รับ จำแนกตามแหล่งทุน
6.4 สถิติการเผยแพร่ผลงานวิจัยผ่านการประชุมทางวิชาการ หรือวารสารวิชาการ
นอกจากนี้ยังมีการนำระบบสารสนเทศการบริหารงานวิจัยจากภายนอก คือ ระบบบริหารจัดการงานวิจัยแห่งชาติ (National Research Management System) ดังหลักฐาน 2.1 - 1(3) เข้ามาใช้สำหรับ การจัดการวิจัยในด้านต่าง ๆ อาทิการยื่นข้อเสนอการวิจัยเพื่อขอรับทุนสนับสนุนการวิจัยจากแหล่งทุนต่าง ๆ การสรุปสถิติการยื่นข้อเสนอโครงการวิจัยเพื่อขอรับทุนสนับสนุนการวิจัย ในหมวดงบประมาณแผ่นดินปกติ ประจำปีงบประมาณ การจัดการลำดับความสำคัญของโครงการวิจัยเพื่อยื่นข้อเสนอต่อแหล่งทุนเพื่อพิจารณา การรายงานความก้าวหน้าของการดำเนินงานวิจัยผ่านระบบออนไลน์เพื่อให้แหล่งทุนได้รับทราบ การติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินการวิจัยของนักวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนรายบุคคล ตรวจสอบประวัติของนักวิจัยย้อนหลัง
| |
✓ | 2 | สนับสนุนพันธกิจด้านการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์อย่างน้อยในประเด็นต่อไปนี้ - ห้องปฏิบัติการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ หรือหน่วยวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ หรือศูนย์เครื่องมือ หรือศูนย์ให้คำปรึกษาและสนับสนุนการวิจัย - ห้องสมุดหรือแหล่งค้นคว้าข้อมูลสนับสนุนการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ - สิ่งอำนวยความสะดวกหรือการรักษาความปลอดภัยในการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ เช่น ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบรักษาความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการวิจัย - กิจกรรมวิชาการที่ส่งเสริมงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ เช่น การจัดประชุมวิชาการ การจัดแสดงงานสร้างสรรค์ การจัดให้มีศาสตราจารย์รับเชิญ (Visiting Professor) | ในปีการศึกษา 2565 คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ตระหนักถึงการส่งเสริมด้านการวิจัยตามพันธกิจของคณะฯ และมหาวิทยาลับฯ เพื่อให้อาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา มีสมรรถนะด้านการวิจัย สามารถผลิตงานวิจัยที่ตอบสนองต่อชุมชน สังคม และวิชาชีพได้อย่างมีคุณภาพ รวมไปถึงการเขียนบทความวิจัย บทความวิชาการ หรืองานสร้างสรรค์อื่นที่ได้จากผลของการศึกษาไปสู่การเผยแพร่ในรูปแบบการประชุมวิชาการ หรือวารสารระดับชาติและนานาชาติได้ เพื่อให้การดำเนินการบรรลุเป้าหมายของความสำเร็จ คณะฯ จึงได้ดำเนินการดังนี้
1. คณะบริหารธุรกิจฯ ได้จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ โดยทำการจัดสร้าง ห้องให้คำปรึกษาถ่ายทอดองค์ความรู้จากผู้ที่มีประสบการณ์ด้านการวิจัย (คลินิกวิจัย) ทุกวันพุธ เวลา 13.00-16.30 น. เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างนักวิจัยและผู้ที่สนใจ ที่ชั้น 1 ห้องพื้นที่ทำงานร่วมกัน (Co-working Space) อาคาร 8 คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี ดังหลักฐาน 2.1 - 2(1)
2. จัดให้มีแหล่งศึกษาค้นคว้าข้อมูลเพื่อสนับสนุนการวิจัยให้กับบุคลากร (มุมห้องสมุดวิจัย) ประกอบด้วย ผลงานวิจัยของนักศึกษา หนังสือต่าง ๆ ที่ใช้ประกอบการอ้างอิงในการศึกษาค้นคว้า ที่ชั้น 1 ห้องพื้นที่ทำงานร่วมกัน (Co-working Space) อาคาร 8 คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี เพื่อเป็นห้องสำหรับให้คำปรึกษาวิจัยและสืบค้น ดังหลักฐาน 2.1 - 2(1)
3. จัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกในการสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับผลงานวิจัยให้กับบุคลากร เช่น ระบบสารสนเทศ ติดตั้งสัญญาณอินเตอร์เน็ตเพิ่มเติม เพื่อให้พร้อมกับการใช้งานของนักวิจัย อาจารย์ นักศึกษา
ดังหลักฐาน 2.1 - 2(2)
4. คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี จัดให้มีฐานข้อมูลออนไลน์ ร่วมกับสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อใช้ในการสืบค้นงานวิจัย เช่น ฐานข้อมูลออนไลน์สืบค้นฟรี เช่น Gale OneFile: Business, Thai Journals Online (ThaiJO), Academic Search Ultimate (ASU), ACM Digital Library, American Chemical Society Journal (ACS), EBSCO Discovery Service (EDS) Plus Full Text, Emerald Management, Engineering Source, ScienceDirect, SpringerLink – Journal, TDC : Thai Digital Collection เป็นต้น ดังหลักฐาน 2.1 - 2(3)
| |
✓ | 3 | จัดสรรงบประมาณเพื่อเป็นทุนวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ และสนับสนุนการเผยแพร่ผลงานวิจัย หรืองานสร้างสรรค์ในการประชุมวิชาการ หรือการตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติ | คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ มีการจัดสรรงบประมาณ เพื่อเป็นทุนสนับสนุนการวิจัยในปีงบประมาณ 2565 ดังหลักฐาน 2.1 - 3(1) จำนวนทั้งสิ้น 9 ทุน รวมเป็นเงินสนับสนุน จำนวน 108,000 บาท ประกาศเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2564 ให้กับบุคลากรเพื่อดำเนินการวิจัย ดังนี้
เจ้าของผลงาน
|
ชื่อผลงาน
|
งบประมาณ (บาท)
|
1. พิมพิลา คงขาว
|
การพัฒนาศักยภาพโฮมสเตย์บ้านดวนใหญ่สู่การรองรับการท่องเที่ยววิถีใหม่เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของจังหวัดศรีสะเกษ
|
12,000
|
2. รพีพรรณ โสภากุล
|
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อระดับปริญญาตรีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ
|
12,000
|
3. ลินดา ราเต
|
การตลาดออนไลน์เพื่อการพัฒนาส่วนประสมการตลาด ของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านโนนสามัคคี ตำบลพรหมสวัสดิ์ อำเภอพยุห์ จังหวัดศรีสะเกษ
|
12,000
|
4. อัญชนา สนิท
|
ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อราคาหอมแดง กรณีศึกษาการปลูกหอมแดงจากเกษตรกรในตำบลอีปาด อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ
|
12,000
|
5. ศิริกมล ประภาสพงษ์
|
การพัฒนาระบบการจัดการสหกิจศึกษาของคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี
มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
|
12,000
|
6. ลัทธกาญจน์ กุยแก้ว
|
การพัฒนาแชตบอตในการตอบคำถามและประชาสัมพันธ์สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจดิจิทัล
|
12,000
|
7. สุภัทรษร ทวีจันทร์
|
ต้นทุนและผลตอบแทนกระบวนการแปรรูปวัสดุเศษผ้าเหลือใช้เพื่อ เชิงพาณิชย์ กรณีศึกษากลุ่มวิสาหกิจชุมชนทอผ้าบ้านบก ตำบลโนนคูณ จังหวัดศรีสะเกษ
|
12,000
|
8. กาญจน์เกล้า
แสงเพชร
|
การวิเคราะห์ความเสี่ยงทางการเงินของครัวเรือน และปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการเงินของครัวเรือนจากสถานการณ์โรคระบาดเชื้อไวรัสโควิด (Covid-19) ของจังหวัดศรีสะเกษ
|
12,000
|
9. วิชุดา สิงห์คำ
|
ปัจจัยที่มีผลต่อการตอบสนองอุปทานของเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนภูเขาไฟ
ในจังหวัดศรีสะเกษ
|
12,000
|
นอกจากนี้คณะบริหารธุรกิจฯ ยังได้จัดสรรงบประมาณสนับสนุนการเผยแพร่ผลงานวิจัย จากงบประมาณรายได้วิจัย 5% ที่ได้รับจัดสรรมาจากมหาวิทยาลัย ในปี 2565 เพื่อสนับสนุนนักวิจัยอีกด้วย
| |
✓ | 4 | มีการพัฒนาสมรรถนะอาจารย์และนักวิจัย มีการสร้างขวัญและกำลังใจตลอดจนยกย่องอาจารย์และนักวิจัยที่มีผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ดีเด่น | ผลการดำเนินงาน
ในปีการศึกษา 2565 คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฎศรีสะเกษ ได้จัดให้มีการพัฒนาสมรรถนะอาจารย์และนักวิจัย โดยการอบรม ชื่อโครงการพัฒนาศักยภาพด้านการวิจัย : เทคนิคและวิธีการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยให้ได้ทุน เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2566 โดยมีบุคลากรคณะบริหารธุรกิจและการบัญชีเข้าร่วม ดังหลักฐาน 2.1 - 4(1)
นอกจากนี้คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ยังได้ให้ความสำคัญกับการสร้างขวัญและกำลังใจแก่บุคลากรให้เกิดแรงขับเคลื่อนในการวิจัยอยู่เสมอ โดยในวงรอบปีการศึกษา 2565 คณะฯ ได้มอบเกียรติบัตรเพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติบุคลากรที่มีผลงานตีพิมพ์ในวารสารที่เป็นที่ยอมรับ 2 ท่าน ดังหลักฐาน 2.1 - 4(2)
ลำดับที่
|
ชื่อ – สกุล
|
1
|
นางสาวพิมพิลา คงขาว
|
2
|
นางสาวลัทธิกาญจน์ กุยแก้ว
|
| |
✓ | 5 | มีการดำเนินงานกับเครือข่ายความร่วมมือด้านวิจัยหรืองานสร้างสรรค์หรือนวัตกรรมระหว่างสถาบันอุดมศึกษา องค์กรภาครัฐหรือเอกชน ทั้งในประเทศหรือต่างประเทศ | ผลการดำเนินงาน
ในปีการศึกษา 2565 คณะบริหารธุรกิจและการบัญชีฯ มีการดำเนินงานกับเครือข่ายความร่วมมือด้านวิจัย หรืองานสร้างสรรค์ หรือนวัตกรรมระหว่างสถาบันอุดมศึกษา องค์กรภาครัฐบาลหรือเอกชน ทั้งในประเทศหรือต่างประเทศ คือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สหัสา พลนิล ได้จัดสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านการวิจัย โครงการวิจัยเพื่อพัฒนาพื้นที่เพื่อแก้ไขความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ กรณีศึกษาจังหวัด ศรีสะเกษ โดยจัดพิธีลงนามความร่วมมือการใช้ฐานข้อมูล Big Data ระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏ ศรีสะเกษ กับองค์การบริหารส่วนตำบล ในพื้นที่อำเภอเมืองศรีสะเกษ หวังขับเคลื่อนยุทธ์ศาสตร์จังหวัด ไปสู่เป้าหมายการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ดังหลักฐาน 2.1 - 5(1) ซึ่งมีวัตถุประสงค์ดังนี้
1. เพื่อเป็นเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการการแก้ไขปัญหาความยากจน จังหวัดศรีสะเกษ
2. เพื่อร่วมพัฒนาและร่วมใช้งานระบบฐานข้อมูล Big Data มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
3. เพื่อร่วมจัดเก็บ บันทึกข้อมูล ส่งต่อความช่วยเหลือ กลุ่มคนจน กลุ่มผู้ด้อยโอกาส ให้เข้าถึงสิทธิและสวัสดิการ รวมถึงการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้มีความมั่นคงและสามารถพึ่งพาตนเองได้
4. ความร่วมมืออื่น ๆ ซึ่งทั้งสองฝ่ายเห็นชอบดำเนินการร่วมกัน
ซึ่งมีผู้ร่วมลงนามดังกล่าว ประกอบด้วยองค์การบริหารส่วนตำบล ทั้ง 15 แห่งในพื้นที่อำเภอเมือง ศรีสะเกษ ได้แก่ องค์การบริหารส่วนตำบลหมากเขียบ หนองครก หนองไฮ หนองไผ่ หนองแก้ว หญ้าปล้อง ทุ่ม ตะดอบ ซำ จาน คูซอด โพนค้อ โพนข่า โพนเขวา และเทศบาลตำบลน้ำคำ โดยบันทึกข้อตกลงฉบับนี้ มีกำหนดระยะเวลา 3 ปี เริ่มตั้งแต่วันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 สิ้นสุด วันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
เครือข่ายความร่วมมือ
|
ภาครัฐ
|
1. เครือข่ายความร่วมมือด้านการวิจัย โครงการวิจัยเพื่อพัฒนาพื้นที่เพื่อแก้ไขความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ กรณีศึกษาจังหวัดศรีสะเกษ (การวิจัยและนวัตกรรม การพัฒนาระบบข้อมูลเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนอย่างเบ็ดเสร็จและแม่นยำ กรณีจังหวัด
ศรีสะเกษ)
|
1. หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนา
เชิงพื้นที่ (บพท.)
2. กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ฯ (อว.)
3. สำนักงานจังหวัดศรีสะเกษ
4. สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ
5. สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคง
ของมนุษย์จังหวัดศรีสะเกษ
6. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ
7. สำนักงานเกษตรจังหวัดศรีสะเกษ
8. สำนักงานแรงงานจังหวัดศรีสะเกษ
9. องค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ
|
นอกจากนี้ ในปีการศึกษา 2565 ยังได้มีการวิจัยระหว่างคณาจารย์ของคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี คือ ดร.พิชญาพร ศรีบุญเรือง ในโครงการพัฒนาต้นแบบการท่องเที่ยวจังหวัดศรีสะเกษตามกรอบ BCG โดยการดำเนินงานกับเครือข่ายความร่วมมือด้านวิจัย ระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) องค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษดังหลักฐาน 2.1 - 5(2)
เครือข่ายความร่วมมือ
|
ภาครัฐ
|
โครงการพัฒนาต้นแบบการท่องเที่ยวจังหวัด
ศรีสะเกษตามกรอบ BCG
|
1. มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
2. หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) 3. องค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ
|
| |
✓ | 6 | มีระบบและกลไกการนำผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์หรือนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาผู้เรียนหรือชุมชนและดำเนินการตามระบบที่กำหนด | ผลการดำเนินงาน
คณะบริหารธุรกิจและการบัญชีฯ มีระบบและกลไกการนำผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์หรือนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาผู้เรียนหรือชุมชน โดยบูรณาการร่วมกับโครงการออมสินยุวพัฒน์ รักษ์ถิ่น ประจำปี พ.ศ. 2565 ที่ให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการนำผลงานการวิจัยไปใช้ในเชิงสร้างสรรค์ เพื่อบริการวิชาการ อันเป็นการพัฒนาผู้เรียน อีกทั้งสร้างนวัตกรรมแก่ชุมชนท้องถิ่นของจังหวัดศรีสะเกษ เป็นจำนวนทั้งสิ้น 5 โครงการ (5 ชุมชน) จนเกิดนวัตกรรมใหม่ที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน เพื่อยกระดับสินค้าชุมชน เช่น หมวกศรีลาวา (ชุมชนท่าสว่าง ตำบลโนนสำราญ อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ) และ กิมแจ่ว หรือกิมจิรสแจ่ว (ชุมชนอาวอย ตำบลอาวอย อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ) เป็นต้น ดังหลักฐาน 2.1 - 6(1) และหลักฐาน 2.1 - 6(2) โดยมีการดำเนินการตามระบบ ดังนี้
ระบบการนำผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์
หรือนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาผู้เรียนหรือชุมชนและดำเนินการตามระบบที่กำหนด
|
ผู้รับผิดชอบดำเนินงาน (กลไก)
|
1. กำหนดนโยบายการนำผลงานวิจัย หรืองานสร้างสรรค์หรือนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ใน การพัฒนาผู้เรียน หรือชุมชน
|
คณบดี รองคณบดี ผู้ช่วยคณบดี ประธานสาขาวิชา
|
2. กำหนดผู้รับผิดชอบในการดำเนินการนำผลงานวิจัย หรืองานสร้างสรรค์หรือนวัตกรรม ไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาผู้เรียน หรือชุมชน
|
คณบดี
ฝ่ายงานวิชาการและงานวิจัยคณะ
|
3. กำหนดกิจกรรมตามขั้นตอนระบบและกลไกเพื่อนำผลงานวิจัย หรืองานสร้างสรรค์หรือนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาผู้เรียน หรือชุมชน
|
ฝ่ายงานวิชาการและงานวิจัยคณะ
คณะกรรมการดำเนินโครงการออมสินยุวพัฒน์ฯ
|
4. กำกับ ติดตาม และประเมินผลการดำเนินการตามขั้นตอนระบบและกลไกการนำผลงานวิจัย หรืองานสร้างสรรค์หรือนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ ในการพัฒนาผู้เรียน หรือชุมชน
|
ฝ่ายงานวิชาการและงานวิจัยคณะ
คณะกรรมการดำเนินโครงการออมสินยุวพัฒน์ฯ
|
5. รายงานผลการดำเนินการตามขั้นตอนระบบและกลไกการนำผลงานวิจัย หรืองานสร้างสรรค์หรือนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาผู้เรียน หรือชุมชน
|
ฝ่ายงานวิชาการและงานวิจัยคณะ คณะกรรมการดำเนินโครงการออมสินยุวพัฒน์
|
การดำเนินงานในปีการศึกษา 2565 คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฎศรีสะเกษ ได้มีการดำเนินงานตามขั้นตอนระบบและกลไกการนำผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์หรือนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาผู้เรียนหรือชุมชน ดังนี้
1. คณบดีลงนามคำสั่งกำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบของบุคลากรคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี ประจำปีการศึกษา 2565 โดยกำหนดให้ฝ่ายงานวิชาการและงานวิจัยคณะ ประจำคณะบริหารธุรกิจและ การบัญชีมีภาระและความรับผิดชอบในการทำงานเกี่ยวกับการดำเนินงานตามขั้นตอนระบบและกลไก การนำผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์หรือนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาผู้เรียนหรือชุมชน
2. คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ กำหนดให้การสนับสนุนทุนวิจัย โดยงบรายได้ของคณะ ให้นักวิจัยต้องระบุการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ และกำหนดโครงการ 1 โครงการ ที่มีการนำนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาผู้เรียนหรือชุมชน คือ โครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น
3. คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินโครงการ พร้อมกำหนดปฏิทินการดำเนินงาน
4. ดำเนินโครงการโดยเริ่มจากการนำนักศึกษาและอาจารย์ที่รับผิดชอบลงพื้นที่เพื่อทำการสำรวจ/สอบถามประเด็นปัญหาหรือความต้องการของชุมชน และนำข้อมูลดังกล่าวมาทำการเขียนข้อเสนอโครงการพร้อมกำหนดให้การดำเนินโครงการเกิดการนำองค์ความรู้หรือนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ต่อชุมชนเพื่อเสนอ ขออนุมัติโครงการ
5. คณะกรรมการดำเนินโครงการรายงานความก้าวหน้าของการดำเนินโครงการให้ผู้บริหารรับทราบเป็นระยะ เมื่อสิ้นสุดโครงการ ให้จัดทำรายงานผลการดำเนินโครงการ และวิเคราะห์ผลการดำเนินโครงการการนำผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์หรือนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาผู้เรียนหรือชุมชน
| |
✓ | 7 | มีระบบและกลไกการคุ้มครองสิทธิ์ของงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ที่นำไปใช้ประโยชน์และดำเนินการตามระบบที่กำหนด | ผลการดำเนินงาน
คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ มีระบบและกลไกเพื่อช่วยในการคุ้มครองสิทธิ์ของงานวิจัยที่นำไปใช้ประโยชน์ โดยมีการออกระเบียบมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษว่าด้วย การจัดการทรัพย์สินทางปัญญา พ.ศ. 2565 เพื่อใช้เป็นหลักเกณฑ์ และแนวปฏิบัติในการคุ้มครองสิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญา ตลอดจนงานวิจัยต่าง ๆ ที่ถูกพัฒนาขึ้นในมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ มีการแต่งตั้งคณะกรรมการจัดการทรัพย์สินทางปัญญา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ เพื่อทำหน้าที่พิจารณาให้ความเห็น กำกับติดตาม และดำเนินงานให้เป็นไปตามระเบียบที่กำหนดไว้ โดยอาจารย์หรือนักวิจัยที่ต้องการร้องขอการคุ้มครองสิทธิ์ในงานวิจัยสามารถดำเนินการตามขั้นตอนตามแผนภาพขั้นตอนการดำเนินงานตามระบบที่กำหนดในกรณีที่ต้องการร้องขอความคุ้มครอง ดังหลักฐาน 2.1 - 7(1) หลักฐาน 2.1 - 7(2) และหลักฐาน 2.1 - 7(3) โดยมีขั้นตอนในการดำเนินงานเพื่อคุ้มครองสิทธิ์ ดังต่อไปนี้
1. เจ้าของผลงานวิจัยชิ้นที่ถูกละเมิดสิทธิ์ดำเนินการยื่นคำร้องมาที่งานวิจัยคณะฯ พร้อมแนบเอกสารหลักฐานที่แสดงว่าตนเองเป็นเจ้าของผลงานที่ถูกละเมิดสิทธิ์ตลอดจนหลักฐานที่บ่งชี้ถึงการละเมิดสิทธิ์ในงานวิจัยของตนเอง หรือเอกสารอื่นๆ ประกอบเพื่อความชัดเจน
2. กลุ่มงานวิจัย คณะฯ เป็นผู้รับเรื่องร้องเรียนจากเจ้าของผลงาน ทำการพิจารณาตรวจสอบข้อเท็จจริงเบื้องต้น และตรวจสอบความสมบรูณ์ของเรื่องร้องเรียน
3. ดำเนินการจัดประชุมคณะกรรมการจัดการทรัพย์สินทางปัญญา ของคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี และมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ เพื่อหาแนวทางการแก้ไขปัญหาเรื่องการละเมิดสิทธิ์ของงานวิจัยที่ได้มีการร้องเรียน
4. นำเสนอแนวทางในการจัดการปัญหาด้านการละเมิดสิทธิ์และมติของที่ประชุมคณะกรรมการต่ออธิการบดีเพื่อสั่งการตามอำนาจของอธิการบดี
5. ในกรณีที่ต้องการฟ้องร้องหรือดำเนินการเอาผิดทางคดีความให้นิติกรของมหาวิทยาลัยราชภัฏ ศรีสะเกษเป็นผู้ดำเนินการ
อนึ่งในปีการศึกษา 2565 มีนักวิจัยในคณะบริหารธุรกิจฯ คือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปิยฉัตร ทองแพง ได้เข้าสู่ระบบและกลไกการคุ้มครองสิทธิ์ของงานวิจัย/งานสร้างสรรค์ที่ทางคณะให้การสนับสนุน ตามระบบที่กำหนด โดยการจดลิขสิทธิ์งานประเภทวรรณกรรม ลักษณะงานนิพนธ์ ที่ผลิตในปีการศึกษา 2565 จำนวน 3 เรื่อง เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2566 และในปีการศึกษา 2565 เช่นกัน ได้มีการออกระเบียบมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษว่าด้วยกองทุนวิจัย ซึ่งมีเนื้อหาครอบคลุมเรื่องการคุ้มครองสิทธิ์ของวิจัยที่เกิดจากการให้ทุนสนับสนุนจากกองทุนวิจัย อาทิ ผลงาน ลิขสิทธิ์ หรือสิทธิบัตร รวมทั้งทรัพย์สินทางปัญญาอื่น ๆ ซึ่งเกิดจากงานวิจัยตามระเบียบ ให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัย เว้นแต่มีข้อตกลงไว้เป็นอย่างอื่น แต่ผู้วิจัยมีสิทธิ์ตีพิมพ์และเผยแพร่งานวิจัยเพื่อประโยชน์ในทางวิชาการได้ การตีพิมพ์และการเผยแพร่ผลงานวิจัยอันเป็นผลงานที่ได้รับการสนับสนุนจากเงินกองทุนวิจัย ต้องได้รับการเห็นชอบจากกรรมการ
| |