ตัวบ่งชี้ที่ 2.2 เงินสนับสนุนงานวิจัยและงานสร้างสรรค์

ปีที่ประเมิน 2565
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : อรรถพล ศิริเวชพันธุ์ , อุ้มทิพย์ แสนสุข , พนิดา พานิชกุล
ชนิดตัวบ่งชี้ : ปัจจัยนำเข้า
คำอธิบายตัวบ่งชี้

ปัจจัยสำคัญที่ส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดการผลิตงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ในสถาบันอุดมศึกษา คือเงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ ดังนั้น สถาบันอุดมศึกษาจึงต้องจัดสรรเงินจากภายในสถาบันและที่ได้รับจากภายนอกสถาบันเพื่อสนับสนุนการทำวิจัยหรืองานสร้างสรรค์อย่างมีประสิทธิภาพตามสภาพแวดล้อมและจุดเน้นของสถาบัน
นอกจากนั้นเงินทุนวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ที่คณะได้รับจากแหล่งทุนภายนอกสถาบันยังเป็นตัวบ่งชี้ที่สำคัญที่แสดงถึงศักยภาพด้านการวิจัยของคณะ โดยเฉพาะคณะที่อยู่ในกลุ่มที่เน้นการวิจัย

เกณฑ์การประเมิน

โดยการแปลงจำนวนเงินต่อจำนวนอาจารย์ประจำและนักวิจัยประจำเป็นคะแนน ระหว่าง 0 – 5

 

เกณฑ์เฉพาะสถาบันกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏ

จำแนกเป็น 3 กลุ่มสาขาวิชา
     กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
     จำนวนเงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์จากภายในและภายนอกสถาบันที่กำหนดให้เป็นคะแนนเต็ม 5 = 60,000 บาทขึ้นไปต่อคน
     กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
     จำนวนเงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์จากภายในและภายนอกสถาบันที่กำหนดให้เป็นคะแนนเต็ม 5 = 50,000 บาทขึ้นไปต่อคน
     กลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
     จำนวนเงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์จากภายในและภายนอกสถาบันที่กำหนดให้เป็นคะแนนเต็ม 5 = 25,000 บาทขึ้นไปต่อคน

สูตรการคํานวณ

1. คำนวณจำนวนเงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์จากภายในและภายนอกสถาบันต่อจำนวนอาจารย์ประจำและนักวิจัย

จำนวนเงินสนับสนุนงานวิจัยฯ = จำนวนเงินสนับสนุนงานวิจัยฯ จากภายในและภายนอก
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
จำนวนอาจารย์ประจำและนักวิจัยภายในคณะทั้งหมด

2. แปลงจำนวนเงินที่คำนวณได้ในข้อ 1 เทียบกับคะแนนเต็ม 5

คะแนนที่ได้ = จำนวนเงินสนับสนุนงานวิจัยฯ จากภายในและภายนอก
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------       x     5
จำนวนเงินสนับสนุนงานวิจัยฯ ที่กำหนดให้เป็นคะแนนเต็ม 5

 

สรุปคะแนนที่ได้ในระดับคณะ

     คะแนนที่ได้ในระดับคณะ    =    ค่าเฉลี่ยของคะแนนที่ได้ของทุกกลุ่มสาขาวิชาในคณะ

หมายเหตุ

1. จำนวนอาจารย์และนักวิจัยให้นับตามปีการศึกษา และนับเฉพาะที่ปฏิบัติงานจริงไม่นับรวมผู้ลาศึกษาต่อ
2. ให้นับจำนวนเงินที่มีการลงนามในสัญญารับทุนในปีการศึกษาหรือปีงบประมาณหรือปีปฏิทินนั้นๆ ไม่ใช่จำนวนเงินที่เบิกจ่ายจริง กรณีที่งานวิจัยมีระยะเวลามากกว่า 1 ปี ให้เฉลี่ยงบประมาณตามจำนวนปีที่ได้รับการพิจารณาจากงบประมาณทั้งหมด
3. กรณีที่มีหลักฐานการแบ่งสัดส่วนเงินสนับสนุนงานวิจัย ซึ่งอาจเป็นหลักฐานจากแหล่งทุนหรือหลักฐานจากการตกลงร่วมกันของสถาบันที่ร่วมโครงการ ให้แบ่งสัดส่วนเงินตามหลักฐานที่ปรากฏ กรณีที่ไม่มีหลักฐาน ให้แบ่งเงินตามสัดส่วนผู้ร่วมวิจัยของแต่ละคณะ
4. การนับจำนวนเงินสนับสนุนโครงการวิจัย สามารถนับเงินโครงการวิจัยสถาบันที่ได้ลงนามในสัญญารับทุนโดยอาจารย์ประจำ หรือนักวิจัย แต่ไม่สามารถนับเงินโครงการวิจัยสถาบันที่บุคลากรสายสนับสนุนที่ไม่ใช่นัก วิจัยเป็นผู้ดำเนินการ

ผลการดำเนินงาน

ผลการดำเนินงาน

          คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ มีจำนวนอาจารย์ประจำคณะ ทั้งหมด ที่ปฏิบัติงานจริงในปีการศึกษา 2565 จำนวน 36 คน โดยได้รับเงินสนับสนุนงานวิจัยภายนอก ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 จำนวน 6 คน (7 ทุน) คือ (1) ผศ.ดร.ภาดล อามาตย์ (2) ดร.พิชญาพร ศรีบุญเรือง                         (3) อาจารย์ลัลนา ยุกต์วัฒนพงศ์ (4) ผศ.พนิดา พานิชกุล (5) ผศ.ดร.ปิยฉัตร ทองแพง และ (8) ผศ.ดร.สหัสา พลนิล รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 5,347,100 บาท ระยะเวลาดำเนินการระหว่างเดือนตุลาคม 2565 ถึง เดือนกันยายน 2566 ดังหลักฐาน 2.2 - (1) โดยมีรายละเอียด ดังนี้

 

ชื่อนักวิจัย

โครงการวิจัย

สัดส่วน

จำนวนเงินที่สนับสนุนงานวิจัย

1. ผศ.ดร.ภาดล อามาตย์

นวัตกรรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารเสริมชะลอวัยและเพิ่มมูลค่าจากสารสกัดหอมแดงศรีสะเกษ GI

แบบครบวงจร เพื่อพัฒนายกระดับเศรษฐกิจให้กับเกษตรกรผู้ปลูกหอมแดงในจังหวัดศรีสะเกษ       

ร้อยละ 100

394,700 บาท

2. ดร.พิชญาพร ศรีบุญเรือง

การศึกษาศักยภาพและขีดความสามารถการรองรับได้ของแหล่งท่องเที่ยวชุมชนโบราณในจังหวัดศรีสะเกษเพื่อพัฒนาไปสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

ร้อยละ 100

394,700 บาท

3. อาจารย์ลัลนา

ยุกต์วัฒนพงศ์

การพัฒนายาย้อมผมจากสมุนไพรพื้นบ้านกลุ่มผู้ประกอบการสมุนไพรป่าชุมชนโนนใหญ่ ต.เสียว

อ.โพธิ์ศรีสุวรรณ จ.ศรีสะเกษ ในเชิงธุรกิจ

ร้อยละ 100

394,700 บาท

4. ผศ.พนิดา พานิชกุล (1)

นวัตกรรมทางสังคมเพื่อสร้างเครือข่ายผู้เลี้ยงปูนา

เชิงพาณิชย์สู่ความยั่งยืนทางเศรษฐกิจชุมชน

ร้อยละ 100

265,000 บาท

5. ผศ.พนิดา พานิชกุล (2)

การแปรรูปผักกะแยงแบบประหยัดน้ำและเพิ่มมูลค่าทางการตลาด

ร้อยละ 100

1,290,000 บาท

6. ผศ.ดร.สหัสา พลนิล

การวิจัยและนวัตกรรมการพัฒนาระบบข้อมูลเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนอย่างเบ็ดเสร็จและแม่นยำ กรณีจังหวัดศรีสะเกษ

ร้อยละ 100

2,100,000

บาท

7. ผศ.ดร.ปิยฉัตร ทองแพง

นวัตกรรมการผลิตปลาร้าก้อนโซเดียมต่ำรสชาติดั้งเดิมจากภูมิปัญญาท้องถิ่นอีสาน (ผศ.ดร.ปิยฉัตร ทองแพง)

ร้อยละ 100

508,000

บาท

 

นอกจากนี้ยังมีทุนภายใน โดยคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ                         มีการจัดสรรงบประมาณ เพื่อเป็นทุนสนับสนุนการวิจัยในปีงบประมาณ 2565 จำนวนทั้งสิ้น 9 ทุน เมื่อวันที่        9 ธันวาคม 2564 รวมเป็นเงินสนับสนุน จำนวน 108,000 บาท (หนึ่งแสนแปดพันบาทถ้วน) ให้กับบุคลากรเพื่อดำเนินการวิจัย ดังหลักฐาน 2.2 - (2) ดังนี้

 

เจ้าของผลงาน

ชื่อผลงาน

งบประมาณ (บาท)

1. พิมพิลา คงขาว  

 

การพัฒนาศักยภาพโฮมสเตย์บ้านดวนใหญ่สู่การรองรับการท่องเที่ยววิถีใหม่เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของจังหวัดศรีสะเกษ          

12,000

2. รพีพรรณ โสภากุล

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อระดับปริญญาตรีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ

12,000

3. ลินดา ราเต

การตลาดออนไลน์เพื่อการพัฒนาส่วนประสมการตลาด ของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านโนนสามัคคี ตำบลพรหมสวัสดิ์ อำเภอพยุห์ จังหวัดศรีสะเกษ

12,000

4. อัญชนา สนิท

ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อราคาหอมแดง กรณีศึกษาการปลูกหอมแดงจากเกษตรกรในตำบลอีปาด อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ

12,000

5. ศิริกมล ประภาสพงษ์

การพัฒนาระบบการจัดการสหกิจศึกษาของคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี

มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

12,000

6. ลัทธกาญจน์ กุยแก้ว

การพัฒนาแชตบอตในการตอบคำถามและประชาสัมพันธ์สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจดิจิทัล

12,000

7. สุภัทรษร ทวีจันทร์

ต้นทุนและผลตอบแทนกระบวนการแปรรูปวัสดุเศษผ้าเหลือใช้เพื่อ                                     เชิงพาณิชย์ กรณีศึกษากลุ่มวิสาหกิจชุมชนทอผ้าบ้านบก ตำบลโนนคูณ จังหวัดศรีสะเกษ

12,000

8. กาญจน์เกล้า

แสงเพชร

การวิเคราะห์ความเสี่ยงทางการเงินของครัวเรือน และปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการเงินของครัวเรือนจากสถานการณ์โรคระบาดเชื้อไวรัสโควิด (Covid-19) ของจังหวัดศรีสะเกษ

12,000

9. วิชุดา สิงห์คำ

ปัจจัยที่มีผลต่อการตอบสนองอุปทานของเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนภูเขาไฟ

ในจังหวัดศรีสะเกษ

12,000

สามารถสรุปได้ว่า คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี ประจำปีการศึกษา 2565 นักวิจัยได้รับทุนวิจัย              ทั้งภายนอกและภายใน รวมกันทั้งสิ้น 16 ทุน รวมเป็นจำนวนเงิน 5,455,100 บาท

 

สูตรการคํานวณ กลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

 

จำนวนเงินสนับสนุนงานวิจัยฯ      =                                   5,455,100

                       36

=                                 151,530.55 บาท

 

คิดเป็นคะแนน                       =                                    151,530.55 x 5

25,000

=        30.30

ดังนั้นคะแนนที่คณะทำได้          =        5 คะแนน

 

 

 

ผลคะแนนการประเมินตนเอง
ทำได้ (ข้อ) ได้คะแนน
5