ตัวบ่งชี้ที่ 3.1 การบริการวิชาการแก่สังคม

ปีที่ประเมิน 2561
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : สุชาติ ศรีชื่น
ชนิดตัวบ่งชี้ : กระบวนการ
คำอธิบายตัวบ่งชี้

การบริการวิชาการเป็นภารกิจหลักอีกอย่างหนึ่งของสถาบันอุดมศึกษา สถาบันควรคำนึงถึงกระบวนการในการให้บริการวิชาการแก่สังคม โดยการศึกษาความต้องการของกลุ่มเป้าหมายนำมาจัดทำแผนบริการวิชาการ ทั้งการบริการวิชาการที่ทำให้เกิดรายได้และการบริการวิชาการที่สถาบันจัดทำเพื่อสร้างประโยชน์แก่ชุมชนหรือสังคมโดยมีการประเมินความสำเร็จของการบริการวิชาการ และนำมาจัดทำเป็นแผนการใช้ประโยชน์จนเกิดผลลัพธ์ที่สร้างความพึงพอใจต่อชุมชนและสังคมอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

 

เกณฑ์การประเมิน
คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3-4ข้อ มีการดำเนินการ 5ข้อ มีการดำเนินการ 6ข้อ
เกณฑ์มาตรฐาน
ระดับ เกณฑ์มาตรฐาน ดำเนินการ
1 กำหนดชุมชนหรือองค์การเป้าหมายของการให้บริการทางวิชาการแก่สังคมโดยมีความร่วมมือระหว่างคณะหรือหน่วยงานเทียบเท่า
2 จัดทำแผนบริการวิชาการโดยมีส่วนร่วมจากชุมชนหรือองค์การเป้าหมายที่กำหนดในข้อ 1
3 ชุมชนหรือองค์การเป้าหมายได้รับการพัฒนาและมีความเข้มแข็งที่มีหลักฐานที่ปรากฏชัดเจน
4 ชุมชนหรือองค์การเป้าหมายดำเนินการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
5 สถาบันสามารถสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกในการพัฒนาชุมชนหรือองค์การเป้าหมาย
6 ทุกคณะมีส่วนร่วมในการดำเนินการตามแผนบริการทางวิชาการแก่สังคมของสถาบันตามข้อ 2 โดยมีจำนวนอาจารย์เข้าร่วมไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ของอาจารย์ทั้งหมดของสถาบัน ทั้งนี้ต้องมีอาจารย์มาจากทุกคณะ
ผลการดำเนินงาน
ตนข้อเกณฑ์ผลการดำเนินงานหลักฐาน
1 กำหนดชุมชนหรือองค์การเป้าหมายของการให้บริการทางวิชาการแก่สังคมโดยมีความร่วมมือระหว่างคณะหรือหน่วยงานเทียบเท่า

1. มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ มีการแต่งตั้งคณะกรรมการผู้รับผิดชอบด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน
ตามพันธกิจด้านการบริการทางวิชาการแก่สังคม ระดับสถาบัน ประจำปีการศึกษา 2561 (3.1-1(1)) ซึ่งประกอบด้วย อธิการบดีและคณะผู้บริหารเป็นคณะกรรมการอำนวยการ
ทำหน้าที่อำนวยการ พิจารณาสั่งการ กำกับติดตาม ให้ความเห็นชอบ และให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการดำเนินงานด้านบริการวิชาการแก่สังคม และมีผู้บริหารที่รับผิดชอบ อาจารย์ และบุคลากร จาก 5 คณะ 2 สำนัก และ 2 งาน เป็นคณะกรรมการดำเนินงาน ประกอบด้วย 1) คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ 2) คณะครุศาสตร์ 3) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 4) คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี 5) วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง 6) สำนักงานอธิการบดี 7) สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ 8) กองนโยบายและแผน และ 9) หน่วยมาตรฐานและประกันคุณภาพการศึกษา เพื่อทำหน้าที่ขับเคลื่อนพันธกิจด้านการบริการวิชาการให้บรรลุวัตถุประสงค์

        2. ได้มีการจัดประชุมคณะกรรมการผู้รับผิดชอบงานด้านประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ตามพันธกิจด้านการบริการวิชาการแก่สังคม ระดับสถาบัน ประจำปีการศึกษา 2561 ครั้งที่ 1/2561 เพื่อกำหนดพื้นที่เป้าหมาย คือ ชุมชนในเขตพื้นที่โรงเรียนบ้านหนองสาดโนนเจริญ ตำบลหนองครก อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ และกำหนดองค์กรร่วมพัฒนาในการให้บริการวิชาการแก่ชุมชน คือ องค์การบริหารส่วนตำบลหนองครก และองค์การบริหารส่วนตำบลซำ (3.1-1(2))

2จัดทำแผนบริการวิชาการโดยมีส่วนร่วมจากชุมชนหรือองค์การเป้าหมายที่กำหนดในข้อ 1

1. มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ  ได้นำคณะทำงานซึ่งประกอบด้วย คณะผู้บริหาร คณาจารย์ และบุคลากรจาก 5 คณะ 2 สำนัก พร้อมด้วยหน่วยงานภายนอก ร่วมลงพื้นที่สำรวจปัญหาและความต้องการของชุมชน เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2561 ณ โรงเรียนบ้านหนองสาดโนนเจริญ เป็นศูนย์กลางสำรวจปัญหาและความต้องการของชุมชนครั้งนี้ (3.1-2(1)) โดยมี คณะครู ผู้บริหารสถานศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ใหญ่บ้าน ชาวบ้าน และภาคีเครือข่ายผู้แทนจากองค์การบริหาร เข้าร่วมการประชุม และได้มีการแบ่งกลุ่มเพื่อสำรวจความต้องการ โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเด็น คือ 1) ปัญหาของชุมชน และ 2) ความต้องการในด้านต่างๆ ของชุมชน ซึ่งสรุปข้อมูลโดยย่อ ดังนี้

 

     1. ผลการสำรวจปัญหาและความต้องการ มีทั้งหมด 7 ด้าน รายละเอียดดังนี้  

 

1) ด้านสิ่งแวดล้อม สุขภาพ และภูมิปัญญาท้องถิ่น

ประเด็น

ปัญหา

ความต้องการ

1. การจัดการขยะมูลฝอยในชุมชน

1. ทิ้งขยะไม่เป็นที่

 

2. มีธุรกิจคัดแยกขยะในหมู่บ้าน

 

3. การคัดแยกขยะในหมู่บ้านมีกลิ่นเหม็น

 

4. ในหมู่บ้านแต่ละหลังคาเรือนไม่มีการคัดแยก

 

5. ชุมชนไม่มีกระบวนการตรวจสอบการทิ้งขยะในที่ทิ้งขยะของเทศบาลเมือง
ศรีสะเกษ

1. สร้างความตระหนักในการคัดแยกขยะในหมู่บ้าน

2. มีการจัดตั้งธนาคารขยะ

3. ทำให้หมู่บ้านมีความสะอาด  เกิดรายได้จากการคัดแยกขยะ

2. น้ำประปา

1. ระบบการผลิตประปาหมู่บ้านไม่มีการดูแลที่ได้มาตรฐาน

 

2. ขาดระบบการบริหารจัดการน้ำประปา

1. จัดระบบการบริหารจัดการน้ำประปาหมู่บ้านที่ได้มาตรฐาน

3. สุขภาพผู้สูงอายุ

1. มีโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น

1. การออกกำลังกายในหมู่บ้าน  เพื่อลดความเสี่ยงต่อโรคไม่ติดต่อ

4. ป่าชุมชน

1. มีป่าสาธารณะในโรงเรียนแต่มีการลักลอบล่าสัตว์และตัดไม้

1. ต้องการเพิ่มที่ป่า

 

2. สร้างความตระหนักในการรักษาป่าสาธารณะในโรงเรียน

5. ภูมิปัญญาท้องถิ่น

1. การทอผ้า การจักสาน และสมุนไพรขาดผู้สืบทอด

1. การสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นและขยายเป็นแหล่งเรียนรู้

 

2) ด้านการศึกษา

ประเด็น

ปัญหา

ความต้องการ

1. ด้านความรู้

นักเรียนทำคะแนนสอบ o-net ป.6 , NT ป.3 และ LAS ป.5 ได้ต่ำกว่ามาตรฐาน

จัดติวสอบ o-net ป.6 ,NT ป.3 และ LAS ป.5

2. ด้านสิ่งแวดล้อมที่เหมาะต่อการจัดการเรียนการสอน

ห้องเรียนปฐมวัยไม่เหมาะสมต่อการจัดการเรียนรู้

จัดห้องเรียนให้เหมาะสมแก่นักเรียนชั้นปฐมวัย

3. ด้านการจัดการเรียนรู้

ครูไม่พอต่อจำนวนนักเรียน

ต้องการนักศึกษาฝึกสอน

4. ด้านกีฬา

นักเรียนมีความสนใจด้านฟุตซอล

พัฒนาทักษะด้านฟุตซอล

 

3) ด้านธุรกิจและการจัดทำบัญชี

ประเด็น

ปัญหา

ความต้องการ

1. การพัฒนาร้านค้าชุมชน

1. ขายสินค้าไม่ได้เนื่องจากหมู่บ้านมีร้านค้าธงฟ้า

 

2. ไม่มีการทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย

1. ต้องการขายสินค้าให้เทียบเคียงร้านธงฟ้า

 

2. ต้องการปรับปรุงหน้าร้านค้าให้ดูโดดเด่นทันสมัย

 

3. ต้องการทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายร้านค้า

2. ยกระดับผลิตภัณฑ์สินค้าการเกษตร

1. สินค้ายังไม่เป็นที่รู้จัก

 

2. จำนวนสินค้าไม่เพียงพอต่อความต้องการของลูกค้า

 

3. ไม่มีการทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย

1. ต้องการสร้าง
แบรนด์/โลโก้ให้กับสินค้า

 

2. ต้องการผลิตอาหารสัตว์ (ปลา /กบ)

 

3. ต้องการทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายครัวเรือน

3. พัฒนาสินค้าให้มีอายุการเก็บรักษาได้นาน

1. สินค้าไม่โดดเด่น

 

2. สินค้าหมดอายุเร็ว

 

3. ไม่มีการทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย

1. ต้องการให้สินค้ามีอายุในการเก็บรักษาได้นาน

 

2. ต้องการพัฒนาบรรจุภัณฑ์

3. ต้องการทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย

4. การจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนประเภทจักสานตะกร้าพลาสติก

1. ไม่มีการรวมกลุ่มวิสาหกิจชุมชน

 

2. สินค้าไม่โดดเด่น

 

3. ไม่มีการทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย

1. จัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชน

 

2. ต้องการพัฒนาบรรจุภัณฑ์

 

3. ต้องการทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย

 

4) ด้านกฎหมาย

ประเด็น

ปัญหา

ความต้องการ

1. กฎหมายที่ดิน

1. สำนักงานที่ดินออกเอกสารสิทธิ์ในที่ดินล้าช้า

 

2. ปัญหาในการแบ่งที่ดินภายในครอบครัว ญาติพี่น้อง

1 .การออกเอกสารสิทธิ์

 

2. ความรู้ ขั้นตอน วิธีในการแก้ไขปัญหาที่ถูกต้องตามหลักกฎหมาย

2. ปัญหาที่เกิดขึ้นในครอบครัว

1. ข้อพิพาทที่เกี่ยวกับทรัพย์สินของคนในครอบครัว ญาติพี่น้อง เช่นสิทธิในที่ดิน การครอบครองปรปักษ์

1. ความรู้ ขั้นตอน วิธีในการแก้ไขปัญหาที่ถูกต้องตามหลักกฎหมาย

3. กฎหมายมรดก

1. ปัญหาการแบ่งทรัพย์มรดก

1. ความรู้ ขั้นตอน วิธีในการแก้ไขปัญหาที่ถูกต้องตามหลักกฎหมาย

 

5) ด้านพัฒนาชุมชน

ประเด็น

ปัญหา

ความต้องการ

1. อาชีพ

อาชีพที่มีการรวมกลุ่มในปัจจุบันมีดังนี้

 

1.  อาชีพจักสาน ปัญหาของการรวมกลุ่มคือคนมีฝีมือ ความชำนาญน้อย ขาดการอบรมฝีมือด้านการจักสาน

 

2.  อาชีพเพาะเห็ด ปัญหาคือ ขาดความต่อเนื่อง มีมีเงินทุนทำต่อยอด ต่อเนื่อง

 

3.  อาชีพทำปลาส้ม ปัญหาคือ  ไม่มีการเลี้ยงปลาเพื่อมาทำแต่เป็นการซื้อมาทำทำให้ชาวบ้านไม่มีเงินลงทุน

 

4.  อาชีพเลี้ยงไก่พื้นเมือง ปัญหาคือ ขาดเงินทุนทำต่อเนื่อง

 

5.  อาชีพเลี้ยงปลาดุกในบ่อ ปัญหาคือขาดเงินทุนทำต่อเนื่อง ไม่มีกลุ่มที่มีการบริหารจัดการเรื่องการเงินที่ดี

1. อาชีพเลี้ยงกบในกระชัง

 

2. อาชีพการทำของชำร่วย

 

3. อาชีพเพาะเห็ด

 

4. อาชีพการทำปุ๋ยชีวภาพ

 

6) ด้านส่งเสริมกิจกรรมและอาชีพกลุ่มผู้สูงอายุ

ประเด็น

ปัญหา

ความต้องการ

1. กิจกรรมที่ส่งเสริมอาชีพและกิจกรรมที่สร้างพื้นที่สำหรับกลุ่มผู้สูงอายุของชุมชนได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์และทางเลือกของอาชีพเสริมของผู้สูงอายุ

จากการศึกษาพบว่าชุมชนพื้นที่เป้าหมายมีจำนวนผู้สูงอายุจำนวนมากและบางส่วนได้มีการทำกิจกรรมหรืออาชีพเสริมบางแต่ว่ายังขาดการดำเนินกิจกรรมในลักษณะที่รวมตัวกันดำเนินงาน หรือกลุ่มอาชีพ ทางเลือกโดยให้ข้อสังเกตว่ากิจกรรมด้านอาชีพนั้นต้องการให้เป็นการนำภูมิปัญญามาสร้างมูลค่าและวัสดุในท้องถิ่นเพื่อการประหยัดและใช้งานให้เกิดประโยชน์ จึงพบว่าทักษะที่กลุ่มผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีคือการจักรสานจากวัสดุต่างในท้องที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น ตะกร้าไม้ไผ่ อุปกรณ์ทำมาหากิน ซึ่งสิ่งเหล่านี้คนรุ่นใหม่ส่วนน้อยที่จะได้เรียนรู้และมีทักษะในการทำงานด้านฝีมือ

 

สรุปที่มาของประเด็นปัญหา

 

คือ การจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมอาชีพให้กับกลุ่มผู้สูงอายุในชุมชน

1. การจักรสานจากวัสดุต้นกก

2. งานฝีมือด้านงานใบตอง

3. การจักรสานจากวัสดุเส้นพลาสติก

 

เพื่อเป็นทางเลือกของอาชีพเสริมและสร้างกิจกรรมให้กลุ่มผู้สูงอายุในชุมชน โดยอาชีพนั้นมีความจำเป็นต่อการใช้ในชีวิตประจำวันและเพื่อประกอบพิธีกรรมต่างๆตามความเชื่อของคนในชุมชน

 

7) ด้านห้องสมุดและคอมพิวเตอร์

ประเด็น

ปัญหา

ความต้องการ

1. ห้องสมุดโรงเรียน

1. ขาดระบบการจัดเก็บหนังสือที่ถูกต้อง

 

2. ขาดวัสดุ อุปกรณ์ เช่น ชั้นวางหนังสือ โต๊ะ เก้าอี้ สำหรับนั่งอ่านหนังสือ

 

3. ขาดครูบรรณารักษ์ในการดำเนินงานห้องสมุดโรงเรียน

 

4. นักเรียนขาดความรู้และทักษะการใช้ห้องสมุดที่ถูกต้อง

1.  อยากให้บรรณารักษ์ช่วยจัดระบบหนังสือให้ถูกต้องเป็นหมวดหมู่

 

2.  อยากได้วัสดุ อุปกรณ์ เช่น ชั้นวางหนังสือ โต๊ะ-เก้าอี้ สำหรับนั่งอ่านหนังสือเพิ่มมากขึ้น ที่มีอยู่ชำรุด และไม่เพียงพอ

 

3.  จัดอบรมครูที่ดูแลรับผิดชอบงานห้องสมุดในปัจจุบันให้มีความรู้ในด้านห้องสมุดเพิ่มเติม และตรงตามมาตรฐาน

 

4.  จัดอบรมให้ความรู้ และทักษะการใช้ห้องสมุดที่ถูกต้องให้กับนักเรียนที่สนใจ เพื่อให้สามารถช่วยเหลืองานห้องสมุดได้

2. ด้านคอมพิวเตอร์

1. ขาดเครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับการเรียน การสอนที่เพียงพอ

 

2. ระบบอินเตอร์เน็ตไม่ทั่วถึง

 

3. คอมพิวเตอร์ที่มีในโรงเรียนชำรุด ไม่สามารถใช้งานได้

 

4. ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ขาดการดูแลรักษาให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน

1.  ขอความอนุเคราะห์บริจาคเครื่องคอมพิวเตอร์เพิ่มเติม

 

2.  ต้องการให้ช่วยเหลือในด้านการติดตั้งจุดสัญญาณ Wi-Fi หรือต่อสัญญาณอินเตอร์เพิ่มเติม

 

3.  อยากให้ซ่อมบำรุงคอมพิวเตอร์ ที่ชำรุดให้กลับมาใช้งานได้ตามปกติ

 

4.  ดูแลปรับปรุงห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน สวยงาม เป็นระเบียบ

 

2. มหาวิทยาลัย ได้จัดการประชุมคณะกรรมการผู้รับผิดชอบด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ตามพันธกิจด้านการบริการทางวิชาการแก่สังคม ระดับสถาบัน ประจำปีการศึกษา 2561 ครั้งที่ 2/2561 (3.1-2(2)) เพื่อกำหนดกิจกรรม จัดสรรงบประมาณ และพิจารณาจัดทำ (ร่าง) แผนบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ประจำปีการศึกษา 2561 และดำเนินการลงพื้นที่ชุมชนตามแผนดังกล่าว

 

3. มหาวิทยาลัย ได้จัดทำแผนบริการวิชาการ มหาวิทยาลัย
ราชภัฏศรีสะเกษ ประจำปีการศึกษา 2561 (3.1-2(3)) และเสนอคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยให้ความเห็นชอบ ในการประชุมครั้งที่ 11/2561 เมื่อวัน 22 พฤศจิกายน 2561 หน้าที่ 9 เรื่องที่คณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยมีมติเห็นชอบ วาระที่ 4.5 (ร่าง) แผนบริการวิชาการแก่สังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ประจำปีการศึกษา 2561
(3.1-2(4))

3ชุมชนหรือองค์การเป้าหมายได้รับการพัฒนาและมีความเข้มแข็งที่มีหลักฐานที่ปรากฏชัดเจน

มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ได้ส่งเสริม สนับสนุนให้อาจารย์ และบุคลากรทุกหน่วยงานมีส่วนร่วมในการบริการวิชาการตามแผนบริการวิชาการของมหาวิทยาลัย โดยกำหนดกิจกรรมในแผนจำนวน 7 โครงการ ส่งผลให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง มีรายได้ พึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน  มหาวิทยาลัยมอบหมายมีการกำกับติดตามความยั่งยืนอันเป็นผลจากการบริการวิชาการแก่สังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ประจำปีการศึกษา 2561
(3.1-3(8)) ซึ่งมีผลการติดตามดังนี้

ที่

โครงการ

หน่วยงานที่รับผิดชอบ

ผลการติดตาม / สิ่งที่ชุมชนหรือโรงเรียนยังมีดำเนินการต่อ / มีความเข้มแข็งอย่างชัดเจน

1

โครงการการบริการจัดการขยะมูลฝอยตั้งแต่ต้นทาง

คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์

1. เกิดคณะทำงานการจัดการขยะบ้านหนองสาด

 

2. ประชนที่เข้าร่วมโครงการมีการคัดแยกและใช้ประโยชน์จากขยะ ส่งผลให้เกิดรายได้

 

3. เกิดกติกาชุมชนเรื่องการจัดการขยะบ้านหนองสาด โดยการประชาคมจากประชาชนบ้านหนองสาด

 

4. ปริมาณขยะที่ต้องจัดการลดลง

2

โครงการค่ายพัฒนาทักษะทางวิชาการ

คณะครุศาสตร์

นักเรียนเกิดทักษะด้านการอ่าน การเขียน และการคิดคำนวณได้เพิ่มมากขึ้น ส่งเสริมการกล้าแสดงออกของนักเรียนในด้านที่บวก โดยผ่านกระบวนการเรียนรู้จากการละเล่น รวมทั้งสร้างแรงบันดาลใจเกี่ยวกับการเรียนในระดับที่สูงขึ้น จากการแนะนำของนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ และได้มีการเครือข่ายในการแนะแนวเกี่ยวกับการศึกษาต่อในระดับสูงขึ้นได้

3

โครงการพัฒนาอาชีพการเพราะเลี้ยงกบในกระชัง ตามแนวพระราชดำริของหลักเศรษฐกิจพอเพียง

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

ชุมชนบ้านหนองสาด จำนวน 15 ครัวเรือน มีความรู้ในการเพาะเลี้ยงกบกระชัง สามารถขยายพันธ์กบเอง คัดเลือกพ่อพันธ์ แม่พันธ์ ทำกระชังกบเองได้ มีอาหารกิน  และต่อยอดขยายสู่ครอบครัวอื่นในชุมชนได้

4

โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์ สร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจชุมชนสู่ความยั่งยืน

คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี

ชุมชนมีการรวมกลุ่มจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจขึ้น จำนวน 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มวิสาหกิจจักรสาน และกลุ่มวิสาหกิจทอสื่อ มีการผลิตออกแบบลวดลายที่ทันสมัยและตามความต้องการของผู้บริโภค สินค้ามีความเป็นเอกลักษณ์ ชุมชนสามารถขายสินค้าได้อย่างต่อเนื่อง

5

โครงการบริการวิชาการอบรมเบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย

วิทยาลัยกฎหมาย

กรรมการหมู่บ้าน นำความรู้ที่ได้รับเป็นแนวทางในการจัดทำระเบียบข้อบังคับ กติกาหมู่บ้านหรือธรรมนูญหมู่บ้าน เพื่อเป็นการบังคับใช้ หรือบทลงโทษสำหรับผู้ฝ่าฝืน เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในหมู่บ้านหรือในช่วงเทศกาล งานมหรสพต่างๆ  และการนำความรู้ไปแก้ไขปัญหาข้อพิพาทเบื้องต้นที่เกิดขึ้นในชุมชน  เพื่อให้เกิดความสงบสุข ความเป็นระเบียบ ความรักสามัคคี การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน เพิ่มมากขึ้นในชุมชน

6

โครงการส่งเสริมกิจกรรมและอาชีพเสริมกลุ่มผู้สูงอายุ

สำนักงานอธิการบดี

ชุมชุมเกิดกลุ่มจักรสานจากการรวมกลุ่มของผู้สูงอายุ  เกิดตัวแทนที่มีความรู้ความสามารถในชุมชนด้านงานอาชีพระดับชำนาญ จำนวน 1 คน ชุมชนมีรายได้ และสามารถต่อยอดขยายสู่ครัวเรือนอื่นในชุมชน

7

โครงการพัฒนาห้องสมุดและซ่อมบำรุงคอมพิวเตอร์

สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ

ห้องสมุดโรงเรียนบ้านหนองสาดโนนเจริญ ได้รับการพัฒนาและปรับปรุงจนมีสภาพสวยงามน่าเข้าใช้บริการ ครูและนักเรียน ได้รับการพัฒนาศักยภาพในด้านความเข้าใจในระบบงานห้องสมุด นักเรียนได้รับความรู้ในการใช้ห้องสมุดที่ถูกต้อง และสามารถช่วยเหลืองานห้องสมุดได้ และเครื่องคอมพิวเตอร์ได้รับการซ่อมบำรุงและสามารใช้งานได้อย่างมประสิทธิภาพ จำนวน 10 เครื่อง

4ชุมชนหรือองค์การเป้าหมายดำเนินการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง

ชุมชนมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ดังนี้

1. มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ มีการต่อยอดพื้นที่เดิมจากปีที่ผ่านมา ตามแผนบริการวิชาการแก่สังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ประจำปีการศึกษา 2560 (3.1-4(1)) ณ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านหนองใหญ่ และบ้านหนองโปร่งใหญ่ ตำบลรุง อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 2 กิจกรรม เนื่องจากชุมชนเป้าหมายยังมีความต้องการให้มหาวิทยาลัยเป็นพี่เลี้ยงและให้การสนับสนุนเพื่อต่อยอดกิจกรรมให้บรรลุเป้าหมาย  จึงได้กำหนดกิจกรรมในแผนบริการวิชาการประจำปีการศึกษา 2561 (อ้างอิงหลักฐานจาก 3.1-2(3)) โดยมีผลการดำเนินงานดังนี้ (3.1-4(2))

1.1 โครงการบริการวิชาการคณะครุศาสตร์สู่โรงเรียน

    คณะครุศาสตร์ ได้ลงพื้นที่เพื่อต่อยอดโครงการบริการวิชาการคณะครุศาสตร์สู่โรงเรียน เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2562 ณ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านหนองใหญ่ โดยมีการจัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่บุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียน จำนวน 7 คน  เรื่อง นวัตกรรมการศึกษา ซึ่งเป็นประเด็นที่โรงเรียนได้ประสานความร่วมมือด้านวิทยากรเพื่อจัดกิจกรรมดังกล่าว ส่งผลให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจและสามารถบูรณาการองค์ความรู้ในรายวิชาต่างๆ ที่รับผิดชอบสู่การสร้าง นวัตกรรมาการศึกษาได้  นอกเหนือจากนั้นมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษโดยคณะครุศาสตร์ยังได้กำหนดโรงเรียนนี้เป็นพื้นที่ในการพัฒนาอย่างต่อเนื่องตามประเด็น ดังนี้

ประเด็น

กิจกรรมที่ดำเนินงาน

ผลการติดตาม

1.

เป็นพี่เลี้ยงการจัดการเรียนการสอน

มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษโดยคณะครุศาสตร์ได้กำหนดพื้นที่โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนฯ เป็นหนึ่งในพื้นที่เป้าหมายการพัฒนา ด้านสภาพแวดล้อมโรงเรียน การจัดการเรียนการสอน พัฒนาบุคลากรทางการศึกษา เป็นพี่เลี้ยงให้กับโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง สนับสนุนวิทยากร ทรัพยากรอื่นๆ เพื่อให้โรงเรียนสามารถมีความพร้อมในการจัดการเรียนการสอนได้

2.

สนับสนุนนักศึกษาฝึกประสบการณ์

สนับสนุนศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูในสาขาวิชาที่ขาดแคลน โดยในปีนี้มีนักศึกษาลงพื้นที่ จำนวน 5 คน ได้แก่ สาขาวิชาภาษาอังกฤษ สาขาวิชาคณิตศาสตร์ และสาขาวิชาวิทยาศาสตร์

3.

พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านหนองใหญ่ ให้เป็นครูมืออาชีพ

สนับสนุนวิทยากรให้กับโรงเรียนตามประเด็นที่มีความสนใจ

    1.2 โครงการเสริมสร้างทักษะอาชีพและพัฒนาศักยภาพการแข่งขันทางการตลาดกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านหนองใหญ่

     คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี ได้ลงพื้นที่เพื่อต่อยอดโครงการเสริมสร้างทักษะอาชีพและพัฒนาศักยภาพการแข่งขันทางการตลาดกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านหนองใหญ่ เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2562 ณ บ้านหนองใหญ่ ตำบลรุง อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ  โดยมีการจัดกิจกรรมเสริมสร้างความรู้ด้านการทำบัญชีกลุ่มวิสาหกิจชุมชน โดยมีผู้เข้าร่วม จำนวน 12 คน ประกอบด้วย คณะกรรมการกลุ่มเพาะเห็ดนางฟ้า และผู้นำชุมชน และมีติดตามการบริหารจัดการกลุ่มเห็ดนางฟ้า พบว่า ชุมชนยังมีการต่อยอดกลุ่มเพาะเห็ดนางฟ้าโดยการขยายโรงเรือนจากเดิม 2 โรงเรือน เป็น  4  โรงเรือน มีการแปรรูเห็ดนางฟ้า ทำเป็นแหนมเห็ด จำหน่ายในหมู่บ้านและชุมชนใกล้เคียง สามารถสร้างรายได้ 25,000 – 30,000 บาท / เดือน

 

2. มีการขยายพื้นที่ใหม่ 1 ชุมชน ตามแผนบริหารวิชาการแก่สังคม ประจำปีการศึกษา 2561 โดยมีการกำหนดให้อาจารย์ และบุคลากรจาก 5 คณะ 2 สำนัก กำหนดกิจกรรมร่วมกับชุมชนจำนวน 7 โครงการ จากผลการดำเนินงานพบว่า ชุมชนมีความเข้มแข็ง มีรายได้ พึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง (อ้างอิงหลักฐาน 3.1-3(8)) ตามรายละเอียดดังนี้

ที่

โครงการ

หน่วยงานที่รับผิดชอบ

ผลการติดตาม / สิ่งที่ชุมชนหรือโรงเรียนยังมีดำเนินการต่อ / มีความเข้มแข็งอย่างชัดเจน

1

โครงการการบริการจัดการขยะมูลฝอยตั้งแต่ต้นทาง

คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์

1. เกิดคณะทำงานการจัดการขยะบ้านหนองสาด

 

2. ประชนที่เข้าร่วมโครงการมีการคัดแยกและใช้ประโยชน์จากขยะ ส่งผลให้เกิดรายได้

 

3. เกิดกติกาชุมชนเรื่องการจัดการขยะบ้านหนองสาด โดยการประชาคมจากประชาชนบ้านหนองสาด

 

4. ปริมาณขยะที่ต้องจัดการลดลง

2

โครงการค่ายพัฒนาทักษะทางวิชาการ

คณะครุศาสตร์

นักเรียนเกิดทักษะด้านการอ่าน การเขียน และการคิดคำนวณได้เพิ่มมากขึ้น ส่งเสริมการกล้าแสดงออกของนักเรียนในด้านที่บวก โดยผ่านกระบวนการเรียนรู้จากการละเล่น รวมทั้งสร้างแรงบันดาลใจเกี่ยวกับการเรียนในระดับที่สูงขึ้น จากการแนะนำของนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ และได้มีการเครือข่ายในการแนะแนวเกี่ยวกับการศึกษาต่อในระดับสูงขึ้นได้

3

โครงการพัฒนาอาชีพการเพราะเลี้ยงกบในกระชัง ตามแนวพระราชดำริของหลักเศรษฐกิจพอเพียง

คณะมนุษย
ศาสตร์และสังคมศาสตร์

ชุมชนบ้านหนองสาด จำนวน 15 ครัวเรือน มีความรู้ในการเพาะเลี้ยงกบกระชัง สามารถขยายพันธ์กบเอง คัดเลือกพ่อพันธ์ แม่พันธ์ ทำกระชังกบเองได้ มีอาหารกิน  และต่อยอดขยายสู่ครอบครัวอื่นในชุมชนได้

4

โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์ สร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจชุมชนสู่ความยั่งยืน

คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี

ชุมชนมีการรวมกลุ่มจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจขึ้น จำนวน 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มวิสาหกิจจักรสาน และกลุ่มวิสาหกิจทอสื่อ มีการผลิตออกแบบลวดลายที่ทันสมัยและตามความต้องการของผู้บริโภค สินค้ามีความเป็นเอกลักษณ์ ชุมชนสามารถขายสินค้าได้อย่างต่อเนื่อง

5

โครงการบริการวิชาการอบรมเบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย

วิทยาลัยกฎหมาย

กรรมการหมู่บ้าน นำความรู้ที่ได้รับเป็นแนวทางในการจัดทำระเบียบข้อบังคับ กติกาหมู่บ้านหรือธรรมนูญหมู่บ้าน เพื่อเป็นการบังคับใช้ หรือบทลงโทษสำหรับผู้ฝ่าฝืน เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในหมู่บ้านหรือในช่วงเทศกาล งานมหรสพต่างๆ  และการนำความรู้ไปแก้ไขปัญหาข้อพิพาทเบื้องต้นที่เกิดขึ้นในชุมชน  เพื่อให้เกิดความสงบสุข ความเป็นระเบียบ ความรักสามัคคี การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน เพิ่มมากขึ้นในชุมชน

6

โครงการส่งเสริมกิจกรรมและอาชีพเสริมกลุ่มผู้สูงอายุ

สำนักงานอธิการบดี

ชุมชุมเกิดกลุ่มจักรสานจากการรวมกลุ่มของผู้สูงอายุ  เกิดตัวแทนที่มีความรู้ความสามารถในชุมชนด้านงานอาชีพระดับชำนาญ จำนวน 1 คน ชุมชนมีรายได้ และสามารถต่อยอดขยายสู่ครัวเรือนอื่นในชุมชน

7

โครงการพัฒนาห้องสมุดและซ่อมบำรุงคอมพิวเตอร์

สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ

ห้องสมุดโรงเรียนบ้านหนองสาดโนนเจริญ ได้รับการพัฒนาและปรับปรุงจนมีสภาพสวยงามน่าเข้าใช้บริการ ครูและนักเรียน ได้รับการพัฒนาศักยภาพในด้านความเข้าใจในระบบงานห้องสมุด นักเรียนได้รับความรู้ในการใช้ห้องสมุดที่ถูกต้อง และสามารถช่วยเหลืองานห้องสมุดได้ และเครื่องคอมพิวเตอร์ได้รับการซ่อมบำรุงและสามารใช้งานได้อย่างมประสิทธิภาพ จำนวน 10 เครื่อง

5 สถาบันสามารถสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกในการพัฒนาชุมชนหรือองค์การเป้าหมาย

มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ โดยคณะกรรมการผู้รับผิดชอบด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ตามพันธกิจด้านการบริการทางวิชาการแก่สังคม ระดับสถาบัน ประจำปีการศึกษา 2561 ได้มีการสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกระหว่าง มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ฝ่ายที่หนึ่ง กับ องค์การบริหารส่วนตำบลหนองครก  ฝ่ายที่สอง กับ องค์การบริหารส่วนตำบลซำ ฝ่ายที่สาม กับ ศูนย์พัฒนานโยบายสาธารณะจังหวัดศรีสะเกษ ฝ่ายที่สี่ กับ สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ ฝ่ายที่ห้า กับ ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการด้านเด็กและเยาวชนจังหวัดศรีสะเกษ ฝ่ายที่หก กับ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองครกฝ่ายที่เจ็ด โดยการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการด้านการบริการวิชาการแก่สังคม (3.1-5(1)) เพื่อพัฒนาร่วมกันในพื้นที่ชุมชนบ้านหนองสาด ตำบลหนองครก อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ และชุมชนบ้านโนนเจริญ ตำบลซำ อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ หน่วยงานสนับสนุนจากภายนอกสนับสนุนการดำเนินงานเกี่ยวกับการจัดหาองค์ความรู้ วิทยากร ปัจจัยที่จำเป็นต่อการพัฒนาพื้นที่ และดำเนินการเผยแพร่ถ่ายทอดองค์ความรู้วิชาการผ่านทางสื่อวิทยุ โทรทัศน์ การประชุม สัมมนา หรืออบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อทำให้ชุมชนเข้าถึงกิจกรรม งานของมหาวิทยาลัยได้สะดวกและ  ตรงความต้องการของชุมชนมากขึ้น รวมทั้งสนับสนุนกิจกรรมการดำเนินการเผยแพร่และถ่ายทอดองค์ความรู้วิชาการที่จำเป็นต่อการพัฒนาชุมชน

6ทุกคณะมีส่วนร่วมในการดำเนินการตามแผนบริการทางวิชาการแก่สังคมของสถาบันตามข้อ 2 โดยมีจำนวนอาจารย์เข้าร่วมไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ของอาจารย์ทั้งหมดของสถาบัน ทั้งนี้ต้องมีอาจารย์มาจากทุกคณะ

ในปีการศึกษา 2561 มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ มีจำนวนบุคคลากรสายวิชาการ จำนวนทั้งสิ้น 256 คน

คณะ

จำนวนอาจารย์ทั้งหมด/คน

จำนวนอาจารย์ที่มีส่วนร่วม

คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์

66

6 (3.1-6(1))

คณะครุศาสตร์

81

34 (3.1-6(2))

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

47

19 (3.1-6(3))

คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี

38

8 (3.1-6(4))

วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง

24

10 (3.1-6(5))

รวมทั้งสิ้นจำนวน

256

77

 

โดยมีอาจารย์ซึ่งเป็นตัวแทนจากทุกคณะเข้ามามีส่วนร่วมในการให้บริการวิชาการแก่สังคมแก่พื้นที่เป้าหมาย รวมจำนวนทั้งสิ้น 77 คน

ดังนั้น (77 x 100) / 256 = 30.00 คิดเป็นค่าร้อยละ 30.00 ของจำนวนบุคคลากรสายวิชาการทั้งหมด