ตัวบ่งชี้ที่ 3.1 ระบบและกลไกการบริการวิชาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ชุมชน หรือสังคม

ปีที่ประเมิน 2564
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : นารีรัตน์ ศรีหล้า , ทิฆัมพร เพทราเวช , วิชุดา เติมสุข
ชนิดตัวบ่งชี้ : กระบวนการ
คำอธิบายตัวบ่งชี้

การบริการวิชาการแก่ท้องถิ่น ชุมชน และสังคมเป็นภารกิจหลักประการหนึ่งของมหาวิทยาลัย ซึ่งพึงมีระบบและกลไกในการบริการทางวิชาการแก่สังคมที่เป็นรูปธรรม กำหนดเป้าหมายในการให้บริการวิชาการที่ชัดเจนเพื่อเป็นกรอบในการจัดทำแผนดำเนินงานในการให้บริการวิชาการแก่สังคม มีคณะกรรมการติดตาม กำกับ สนับสนุน การปฏิบัติงานตามภารกิจด้านบริการทางวิชาการแก่สังคมของสถาบันให้สอดคล้องกับเป้าหมาย เพื่อพัฒนาความเข้มแข็งของท้องถิ่น ชุมชน หรือสังคม

เกณฑ์การประเมิน
คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 ข้อ มีการดำเนินการ 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ
เกณฑ์มาตรฐาน
ระดับ เกณฑ์มาตรฐาน ดำเนินการ
1 มีส่วนร่วมกับสถาบันและชุมชนในการกำหนดพื้นที่เป้าหมายในการพัฒนาท้องถิ่นที่สอดคล้องกับบริบท ปัญหา และความต้องการของท้องถิ่น ชุมชน หรือสังคมตามจุดเน้น จุดเด่นของสถาบัน ตามศาสตร์พระราชา หรือตามแนวพระราชดำริ
2 จัดทำแผนบริการวิชาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ชุมชน หรือสังคมตามจุดเน้น จุดเด่นของสถาบัน ตามศาสตร์พระราชา หรือตามแนวพระราชดำริและแผนการนำไปใช้ประโยชน์ ที่มีการกำหนดตัวบ่งชี้ความสำเร็จในระดับแผนและโครงการบริการวิชาการ และเสนอคณะกรรมการประจำคณะเพื่อพิจารณา
3 ดำเนินการตามแผนการบริการทางวิชาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ชุมชน หรือสังคมที่กำหนดไว้ตามข้อ 2 โดยร่วมมือกับหน่วยงานภายในหรือภายนอกสถาบัน อย่างน้อย 1 โครงการ
4 ประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ของแผนและโครงการบริการวิชาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ชุมชน หรือสังคมตามข้อ 2 และนำเสนอคณะกรรมการประจำคณะเพื่อพิจารณา
5 นำผลการประเมินตามข้อ 4 ไปปรับปรุงแผนบริการวิชาการในปีต่อไป
ผลการดำเนินงาน
ตนข้อเกณฑ์ผลการดำเนินงานหลักฐาน
1 มีส่วนร่วมกับสถาบันและชุมชนในการกำหนดพื้นที่เป้าหมายในการพัฒนาท้องถิ่นที่สอดคล้องกับบริบท ปัญหา และความต้องการของท้องถิ่น ชุมชน หรือสังคมตามจุดเน้น จุดเด่นของสถาบัน ตามศาสตร์พระราชา หรือตามแนวพระราชดำริ

มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ได้มอบหมายให้คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี ดำเนินการบริการวิชาการเพื่อพัฒนาท้องถิ่น ชุมชน หรือสังคม ตามศาสตร์พระราชา หรือตามแนวพระราชดำริ ดังนั้น ทางคณะฯ จึงได้มีการนัดประชุมเพื่อชี้แจงนโยบายการบริการวิชาการของมหาวิทยาลัยฯ แก่คณะกรรมการบริหารคณะฯ และตัวแทนอาจารย์ประจำหลักสูตร เพื่อวางแผนการดำเนินโครงการบริการวิชาการ การกำหนดพื้นที่ การลงพื้นที่เพื่อสำรวจความต้องการการพัฒนาของท้องถิ่น ชุมชน หรือสังคม

หลักจากคณะกรรมการบริหารคณะฯ และตัวแทนอาจารย์ประจำหลักสูตรลงพื้นที่เพื่อสำรวจความต้องการการพัฒนาของท้องถิ่น ชุมชน หรือสังคม แล้ว ทางคณะฯ ได้จัดประชุมเพื่อรวบรวมปัญหาและความต้องการของชุมชนในการจัดทำแผนบริการวิชาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นเสนอต่อมหาวิทยาลัยพิจารณาอนุมัติการจัดสรรงบประมาณต่อไป

ซึ่งในปีงบประมาณ 2565 คณะฯ ได้รับงบประมาณสนับสนุนการจัดโครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน จำนวน 10 โครงการ ในพื้นที่บริการ 9 ตำบล ได้แก่

  1. โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการแปรรูปสินค้าจากผ้าเบญจศรีศรีสะเกษ เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าชุมชน (งบประมาณ 300,000 บาท)
  2. โครงการส่งเสริมการแปรรูปและสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์อาหารเสริมชะลอวัย (Anti-Aging) จากสารสกัดหอมแดงศรีสะเกษ (งบประมาณ 300,000 บาท)
  3. โครงการส่งเสริมและพัฒนาตลาดออนไลน์-ออฟไลน์ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มผักสดปลอดสารพิษชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง (งบประมาณ 300,000 บาท)
  4. โครงการพัฒนาอาชีพเสริมการเลี้ยงจิ้งหรีดโปรตีนเพื่อยกระดับรายได้ (งบประมาณ 300,000 บาท)
  5. โครงการส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนด้วยการผลิตของที่ระลึกชุมชนสบู่หอมแฟนซีเพื่อการท่องเที่ยว (งบประมาณ 300,000 บาท)
  6. โครงการส่งเสริมพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนเพรแปรรูป (งบประมาณ 300,000 บาท)
  7. โครงการส่งเสริมอาชีพการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรเป็นขนมทอดโบราณและน้ำพริกเพื่อเพิ่มมูลค่า (มันม่วง มันเหลือง เผือก มะพร้าว เห็ด) (งบประมาณ 300,000 บาท)
  8. โครงการยกระดับการเพิ่มมูลค่าก้อนเห็ดอินทรีย์สู่การตลาดยุคดิจิทัลแบบสมัยใหม่ (งบประมาณ 300,000 บาท)
  9. โครงการพัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์สินค้า OTOP กระเทียมโทนดองน้ำผึ้ง (งบประมาณ 300,000 บาท)
  10. โครงการยกระดับและเพิ่มมูลค่าพริกของกลุ่มแปรรูปอาหาร (งบประมาณ 300,000 บาท)

รวมจำนวนงบประมาณที่ใช้ในการดำเนินการบิการวิชาการ 3,000,000 บาท

2 จัดทำแผนบริการวิชาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ชุมชน หรือสังคมตามจุดเน้น จุดเด่นของสถาบัน ตามศาสตร์พระราชา หรือตามแนวพระราชดำริและแผนการนำไปใช้ประโยชน์ ที่มีการกำหนดตัวบ่งชี้ความสำเร็จในระดับแผนและโครงการบริการวิชาการ และเสนอคณะกรรมการประจำคณะเพื่อพิจารณา

คณะกรรมการผู้รับผิดชอบโครงการบริการวิชาการ ดำเนินการสำรวจความต้องการของชุมชน จากการทำประชาคมในพื้นที่ที่คณะบริหารธุรกิจและการบัญชีได้รับมอบหมาย พร้อมทั้งรายงานผลสำรวจความต้องการของชุมชน เพื่อนำมาจัดทำแผนงานโครงการบริการวิชาการโครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน ให้สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ของคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี

คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ได้ประชุมจัดทำแผนเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ชุมชน หรือสังคมตามโครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

มอบหมายให้สาขาวิชาที่สังกัดในคณะฯ และสำนักงานคณบดี ร่วมวางแผนการดำเนินโครงการบริการวิชาการ และกำกับติดตามโครงการ มีการแต่งตั้งคณะกรรมการบริการวิชาการ คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี

วางแผนการนำโครงการบริการวิชาการไปใช้ประโยชน์ โดยมีตัวแทนที่มาจากในแต่ละหลักสูตรเป็นกรรมการร่วมวางแผน แนวทางการปฏิบัติเกี่ยวกับการดำเนินงานระบบและกลไกการขับเคลื่อนงานบริการวิชาการโครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน ตลอดจนการกำกับดูแลติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานด้านบริการวิชาการประจำปีงบประมาณ 2565

จัดทำแผนบริการวิชาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นภายใต้ศาสตร์พระราชา ประจำปีงบประมาณ 2565 โดยมีการกำหนดตัวบ่งชี้ความสำเร็จในระดับแผนงานและโครงการในแผนดำเนินงานด้านการบริการวิชาการแก่ชุมชนและสังคมประจำปีงบประมาณ 2565

ทั้งนี้ คณะบริหารธุรกิจและการบัญชีได้มีการกำหนดเป้าประสงค์ของแผนบริการวิชาการโครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน ของคณะ คือ ชุมชนมีอาชีพ มีรายได้ สร้างความเข้มแข็ง สามารถพัฒนาโดยนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มาประยุกต์ใช้ทางด้านภาคเกษตรกรรม ด้านเศรษฐกิจและด้านสังคม รวมทั้งสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเองทำให้คุณภาพชีวิตของชุมชนดีขึ้น และกำหนดตัวชี้วัดระดับความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ของแผนบริการวิชาการโครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน ดังนี้

  1. โครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน ที่เกิดจากความร่วมกันระหว่างคณะกับชุมชนในเขตพื้นที่เป้าหมายที่คณะบริหารธุรกิจและการบัญชีดูแลรับผิดชอบ เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีสู่ชุมชนอย่างมีส่วนร่วม ค่าเป้าหมายอย่างน้อย 1 โครงการ

 

  1. เครือข่ายความร่วมมือจากหน่วยงานภายนอกหรือชุมชนในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน ค่าเป้าหมายอย่างน้อย 1 เครือข่าย
  2. โครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน ที่สร้างความเข้มแข็งแก่สังคมหรือชุมชนท้องถิ่น ค่าเป้าหมายอย่างน้อย 1 โครงการ
  3. โครงการที่นำองค์ความรู้ตามศาสตร์พระราชาไปประยุกต์กับภูมิปัญญาท้องถิ่นในชุมชน ค่าเป้าหมายอย่างน้อย 1 โครงการ
  4. จำนวนโครงการบริการวิชาการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด ร้อยละ 80

ซึ่งคณะบริหารธุรกิจและการบัญชีมีการนำเสนอแผนบริการวิชาการโครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน ประจำปีงบประมาณ 2565 ที่มีการกำหนดตัวบ่งชี้ความสำเร็จทั้งในระดับแผนงานและระดับโครงการต่อคณะกรรมการประจำคณะ เพื่อพิจารณาอนุมัติการจัดดำเนินโครงการต่อไป

3 ดำเนินการตามแผนการบริการทางวิชาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ชุมชน หรือสังคมที่กำหนดไว้ตามข้อ 2 โดยร่วมมือกับหน่วยงานภายในหรือภายนอกสถาบัน อย่างน้อย 1 โครงการ

คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏ   ศรีสะเกษ ได้ดำเนินการตามแผนบริการวิชาการโครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน ในพื้นที่เป้าหมายที่คณะฯ ได้รับผิดชอบ ทั้ง 10 โครงการ โดยใช้งบประมาณปี 2565 จำนวน 3,000,000 บาท ในการดำเนินงานตามโครงการ ได้แก่

  1. โครงการส่งเสริมพัฒนาอาชีพการเลี้ยงจิ้งหรีดโปรตีนเพื่อยกระดับรายได้ (300,000 บาท) ได้รับความร่วมมือจากคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ในการเป็นวิทยากร ด้านการออกแบบบรรจุภัณฑ์ และคณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ในการเป็นวิทยากรด้านการผลิตอาหารจิ้งหรัด รวมถึงการแปรรูปจิ้งหรีด
  2. โครงการส่งเสริมการแปรรูปและสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์อาหารเสริมชะลอวัย (Anti-Aging) จากสารสกัดหอมแดงศรีสะเกษ (300,000 บาท) ทำงานร่วมกันกับภาคีเครือข่ายและผู้ประกอบการ เช่น พัฒนาชุมชน อุตสาหกรรมจังหวัด หอการค้า จังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการวางแผนพัฒนาแนวทางการผลิตภัณฑ์อาหารเสริมชะลอวัย
  3. โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการแปรรูปสินค้าจากผ้าเบญจศรีศรีสะเกษ เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าชุมชน (งบประมาณ 300,000 บาท) ได้รับความร่วมมือจากร้านคันนาผ้าไทยมาเป็นวิทยากรในหัวข้อทเทคนิคการย้อมผ้า การออกแบบและตัดเย็บเสื้อผ้า และร้านแส่วผ้าศรีสะเกษมาเป็นวิทยากรในการแส่วผ้า

 

  1. โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการยกระดับและเพิ่มมูลค่าพริกของกลุ่มแปรรูปอาหารตำบลหนองเชียงทูน (300,000 บาท) ได้รับความร่วมมือจากคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ในการเป็นวิทยากร ด้านการออกแบบบรรจุภัณฑ์ และกรมบัญชีกลาง จังหวัดศรีสะเกษ ในการเป็นวิทยากรเรื่องการคำนวณต้นทุนและการตั้งราคา
  2. โครงการการส่งเสริมอาชีพการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรเป็นขนมทอดโบราณและน้ำพริกเพื่อเพิ่มมูลค่า (มันม่วง มันเหลือง เผือก มะพร้าว เห็ด) (300,000 บาท) ได้รับความร่วมมือจากสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานในจังหวัดศรีสะเกษ ในการรวบรวมสังเคราะห์องค์ความรู้ด้านการจัดการการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร สามารถสร้างอาชีพให้ประชาชนเกิดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางพัฒนาทางเลือกในการประกอบอาชีพเป็นการเพิ่มรายได้และลดรายจ่ายในครัวเรือน และเพิ่มศักยภาพทักษะอาชีพเพื่อน้าไปใช้ในชีวิตประจ้าวันอย่างมีประสิทธิภาพและคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ในการเป็นวิทยากร ด้านการออกแบบบรรจุภัณฑ์
  3. โครงการส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนด้วยการผลิตของที่ระลึกชุมชนสบู่หอมแฟนซีเพื่อการท่องเที่ยว (300,000 บาท) ได้รับความร่วมมือจากสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดศรีสะเกษ ในการเป็นวิทยากรให้ความรู้เรื่องการแปรรูปสบู่และคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ในการเป็นวิทยากร ด้านการออกแบบบรรจุภัณฑ์
  4. โครงการส่งเสริมและพัฒนาตลาดออนไลน์-ออฟไลน์ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มผักสดปลอดสารพิษชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง (งบประมาณ 300,000 บาท) ได้รับความร่วมมือจากคณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ในการเป็นวิทยากรด้านการแปรรูปผักปลอดสารพิษ
  5. โครงการส่งเสริมพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนเพรแปรรูป (งบประมาณ 300,000 บาท) ได้รับความร่วมมือจากคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ในการเป็นวิทยากร ด้านการออกแบบบรรจุภัณฑ์ และบริษัท นวลจันทร์ เนเชอรัล จำกัด ในการเป็นวิทยากรแปรรูปสมุนไพร
  6. โครงการยกระดับการเพิ่มมูลค่าก้อนเห็ดอินทรีย์สู่การตลาดยุคดิจิทัลแบบสมัยใหม่ (งบประมาณ 300,000 บาท) ได้รับความร่วมมือจากสำนักงานสาธารณสุข จังหวัดศรีสะเกษ ในการเป็นวิทยากรให้ความรู้เรื่องการขอมาตรฐานผลิตภัณฑ์แปรรูปและ
  7. โครงการพัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์สินค้า OTOP กระเทียมโทนดองน้ำผึ้ง (งบประมาณ 300,000 บาท) ได้รับความร่วมมือจากคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ในการเป็นวิทยากร ด้านการออกแบบบรรจุภัณฑ์

 

เนื่องจากทางมหาวิทยาลัยฯ ได้มีการขยายเวลาการจัดโครงการให้แล้วเสร็จ จากแผนฯ เดิมต้องจัดในแล้วเสร็จภายใน เดือน พ.ค. 2565 ขยายเป็นจัดให้แล้วเสร็จภายในเดือน มิ.ย. 2565 เนื่องจากผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบายเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 (Covid-19) จึงทำให้เกิดอุปสรรคในการประสานงานและการลงพื้นที่ดำเนินโครงการล่าช้าบ้าง แต่การดำเนินโครงการบริการวิชาการ ของคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี ดำเนินการครบ 10 โครงการ และทั้ง 10 โครงการดำเนินการตามแผนการบริการทางวิชาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ชุมชน หรือสังคม โดยร่วมมือกับหน่วยงานภายในหรือภายนอกสถาบัน

4 ประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ของแผนและโครงการบริการวิชาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ชุมชน หรือสังคมตามข้อ 2 และนำเสนอคณะกรรมการประจำคณะเพื่อพิจารณา

โครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืนของคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มีการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติงานและมีการประเมินผลโครงการตามวัตถุประสงค์และตัวชี้วัดที่กำหนดทุกโครงการ ซึ่งมีเกณฑ์กำหนดความรู้ความเข้าใจ ร้อยละ 80 ความพึงพอใจ ร้อยละ 80 การนำไปใช้ประโยชน์ ร้อยละ 80 ทั้งนี้ โครงการบริการวิชาการโครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืนของคณะฯ จำนวน 10 โครงการ บรรลุวัตถุประสงค์ทุกกิจกรรม และบรรลุวัตถุประสงค์ตามตัวชี้วัดความสำเร็จของแผนบริการวิชาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นภายใต้ศาสตร์พระราชา คือ

        1. โครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน ที่เกิดจากความร่วมกันระหว่างคณะกับชุมชนในเขตพื้นที่เป้าหมายที่คณะบริหารธุรกิจและการบัญชีดูแลรับผิดชอบ เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีสู่ชุมชนอย่างมีส่วนร่วม ค่าเป้าหมายอย่างน้อย 1 โครงการ  ได้แก่

  • โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการแปรรูปสินค้าจากผ้าเบญจศรีศรีสะเกษ เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าชุมชน โดยสาขาวิชาการตลาดเป็นผู้รับผิดชอบในการประสานกับหน่วยงานเอกชน ได้แก่ ร้านคันนาผ้าไทย เพื่อเข้าอบรมเชิงปฏิบัติการการตัดเย็บเสื้อผ้าให้แก่สมาชิกในชุมชน และร้านแส่วผ้าศรีสะเกษเข้าอบรมเชิงปฏิบัติการการแส่วผ้า ซึ่งทางชุมชนได้ผลผลิตครบทั้ง 50 คน ตรงตามกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ

2. เครือข่ายความร่วมมือจากหน่วยงานภายนอกหรือชุมชนในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน ค่าเป้าหมายอย่างน้อย 1 เครือข่าย ได้แก่

  • สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดศรีสะเกษ
  • สำนักงานพัฒนาชุมชน จังหวัดศรีสะเกษ
  • สำนักงานพานิชย์จังหวัดศรีสะเกษ
  • สำนักงานหอการค้า จังหวัดศรีสะเกษ
  • สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดศรีสะเกษ
  • สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ
  • ร้านคันนาผ้าไทย
  • ร้านแส่วผ้าศรีสะเกษ
  • บริษัท นวลจันทร์ เนเชอรัล จำกัด

3. โครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน ที่สร้างความเข้มแข็งแก่สังคมหรือชุมชนท้องถิ่น ค่าเป้าหมายอย่างน้อย 1 โครงการ ได้แก่

  • โครงการส่งเสริมพัฒนาอาชีพการเลี้ยงจิ้งหรีดโปรตีนเพื่อยกระดับรายได้ โดยทางคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี ได้ส่งเสริมให้ชุมชนสนับสนุนสมาชิกของกลุ่มเพราะเลี้ยงจิ้งหรีดขาย ไม่ว่าจะเป็นจิ้งหรีดสดและจิ้งหรีดแปรรูป เพื่อส่งเสริมรายได้ของครัวเรือน นอกจากนี้ยังได้อบรมการแปรรูปจิ้งหรีด เช่น จิ้งหรีดปรุงรส ผงจิ้งหรีดโรยข้าว เพิ่มเติมเพื่อให้ชุมชนมีองค์ความรู้นำไปต่อยอดต่อการประกอบอาชีพของครัวเรือนในอนาคต

 4. จำนวนโครงการบริการวิชาการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด ร้อยละ 80

  • การดำเนินโครงการบริการวิชาการของคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี ดำเนินการแล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนดทั้ง 10 โครงการ คิดเป็นร้อยละ 100

 

5. จำนวนโครงการบริการวิชาการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด ร้อยละ 80

  • การดำเนินโครงการบริการวิชาการของคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี ดำเนินการแล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนดทั้ง 10 โครงการ คิดเป็นร้อยละ 100

ในการจัดโครงการบริการวิชาการโครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจโดยภาพรวมทุกโครงการ (4.26, ระดับมาก) ผลดังตาราง

ชื่อโครงการ

ค่าเฉลี่ย

1. โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการแปรรูปสินค้าจากผ้าเบญจศรี ศรีสะเกษ เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าชุมชน

4.18

2. โครงการส่งเสริมการแปรรูปและสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์อาหารเสริมชะลอวัย (Anti-Aging) จากสารสกัดหอมแดงศรีสะเกษ

4.85

3. โครงการส่งเสริมและพัฒนาตลาดออนไลน์-ออฟไลน์ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มผักสดปลอดสารพิษชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง

4.24

4. โครงการพัฒนาอาชีพเสริมการเลี้ยงจิ้งหรีดโปรตีนเพื่อยกระดับรายได้

4.19

5. โครงการส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนด้วยการผลิตของที่ระลึกชุมชนสบู่หอมแฟนซีเพื่อการท่องเที่ยว

4.01

6. โครงการส่งเสริมพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนเพรแปรรูป

4.29

7. โครงการส่งเสริมอาชีพการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรเป็นขนมทอดโบราณและน้ำพริกเพื่อเพิ่มมูลค่า (มันม่วง มันเหลือง เผือก มะพร้าว เห็ด)

4.05

8. โครงการยกระดับการเพิ่มมูลค่าก้อนเห็ดอินทรีย์สู่การตลาดยุคดิจิทัลแบบสมัยใหม่

4.21

9. โครงการพัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์สินค้า OTOP กระเทียมโทนดองน้ำผึ้ง

4.42

10. โครงการยกระดับและเพิ่มมูลค่าพริกของกลุ่มแปรรูปอาหาร

4.11

เฉลี่ยรวมทุกโครงการ

4.26

 

 

 

 

ซึ่งได้นำผลการประเมินเข้าที่ประชุมคณะกรรมการประจำคณะ และคณะกรรมการได้ให้ข้อเสนอแนะเพื่อนำไปปรับปรุงโครงการบริการวิชาการโครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืนในปีถัดไป

1. การจัดกิจกรรมบริการวิชาการโครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืนสาขาวิชาสามารถนำมาบูรณาการกับการเรียนการสอนและการวิจัยได้

2. ในการจัดโครงการบริการวิชาการโครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืนให้แก่ชุมชนนั้นควรให้ชุมชนได้สร้างความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนได้ด้วยตนเอง และมีควรมีการติดตามอย่างต่อเนื่อง

5 นำผลการประเมินตามข้อ 4 ไปปรับปรุงแผนบริการวิชาการในปีต่อไป

จากการนำผลการประเมินตามตัวชี้วัดความสำเร็จ ตามรายงานการประชุมคณะกรรมการประจำคณะ เรื่องรายงานผลการดำเนินงานโครงการบริการวิชาการโครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืนปีงบประมาณ 2565 พบว่า คณะกรรมการประจำคณะมีข้อเสนอแนะว่าคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี นอกจากจะให้มีการบริการวิชาการโครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืนแก่ชุมชนและสังคมแล้ว ควรมีการติดตามและต่อยอดเพื่อให้ชุมชนนั้นมีความเข้มแข็งและยั่งยืน รวมทั้งควรมีการบูรณาการการบริการวิชาการโครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืนเข้ากับการเรียน การสอน และการวิจัย ซึ่งจากผลข้อเสนอแนะดังกล่าว คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี จึงได้มีการจัดโครงการบริการวิชาการโครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืนที่มีการบูรณาการกับการเรียน การสอน และการวิจัย รวมทั้งสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน เพื่อให้ชุมชนนั้นสามารถอยู่รอดได้ ซึ่งในปีงบประมาณปี 2566 คณะบริหารธุรกิจและการบัญชีได้นำข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการบริการวิชาการมาปรับปรุงพัฒนาการให้บริการวิชาการโครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน และได้ดำเนินการจัดโครงการบริการวิชาการโครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืนในพื้นที่ที่ได้รับผิดชอบและตามความต้องการของชุมชนเพื่อให้ชุมชนเข้มแข็งสามารถสร้างรายได้จากการพัฒนาอาชีพ และได้กำหนดระบบกลไกการดำเนินงานบริการวิชาการ

ผลคะแนนการประเมินตนเอง
ทำได้ (ข้อ) ได้คะแนน
5 5