ตัวบ่งชี้ที่ 3.1 ระบบและกลไกการบริการวิชาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ชุมชน หรือสังคม

ปีที่ประเมิน 2564
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : สุภาพร พลายระหาร , พุทธิพร พิธานธนานุกูล
ชนิดตัวบ่งชี้ : กระบวนการ
คำอธิบายตัวบ่งชี้

การบริการวิชาการแก่ท้องถิ่น ชุมชน และสังคมเป็นภารกิจหลักประการหนึ่งของมหาวิทยาลัย ซึ่งพึงมีระบบและกลไกในการบริการทางวิชาการแก่สังคมที่เป็นรูปธรรม กำหนดเป้าหมายในการให้บริการวิชาการที่ชัดเจนเพื่อเป็นกรอบในการจัดทำแผนดำเนินงานในการให้บริการวิชาการแก่สังคม มีคณะกรรมการติดตาม กำกับ สนับสนุน การปฏิบัติงานตามภารกิจด้านบริการทางวิชาการแก่สังคมของสถาบันให้สอดคล้องกับเป้าหมาย เพื่อพัฒนาความเข้มแข็งของท้องถิ่น ชุมชน หรือสังคม

เกณฑ์การประเมิน
คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 ข้อ มีการดำเนินการ 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ
เกณฑ์มาตรฐาน
ระดับ เกณฑ์มาตรฐาน ดำเนินการ
1 มีส่วนร่วมกับสถาบันและชุมชนในการกำหนดพื้นที่เป้าหมายในการพัฒนาท้องถิ่นที่สอดคล้องกับบริบท ปัญหา และความต้องการของท้องถิ่น ชุมชน หรือสังคมตามจุดเน้น จุดเด่นของสถาบัน ตามศาสตร์พระราชา หรือตามแนวพระราชดำริ
2 จัดทำแผนบริการวิชาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ชุมชน หรือสังคมตามจุดเน้น จุดเด่นของสถาบัน ตามศาสตร์พระราชา หรือตามแนวพระราชดำริและแผนการนำไปใช้ประโยชน์ ที่มีการกำหนดตัวบ่งชี้ความสำเร็จในระดับแผนและโครงการบริการวิชาการ และเสนอคณะกรรมการประจำคณะเพื่อพิจารณา
3 ดำเนินการตามแผนการบริการทางวิชาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ชุมชน หรือสังคมที่กำหนดไว้ตามข้อ 2 โดยร่วมมือกับหน่วยงานภายในหรือภายนอกสถาบัน อย่างน้อย 1 โครงการ
4 ประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ของแผนและโครงการบริการวิชาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ชุมชน หรือสังคมตามข้อ 2 และนำเสนอคณะกรรมการประจำคณะเพื่อพิจารณา
5 นำผลการประเมินตามข้อ 4 ไปปรับปรุงแผนบริการวิชาการในปีต่อไป
ผลการดำเนินงาน
ตนข้อเกณฑ์ผลการดำเนินงานหลักฐาน
1 มีส่วนร่วมกับสถาบันและชุมชนในการกำหนดพื้นที่เป้าหมายในการพัฒนาท้องถิ่นที่สอดคล้องกับบริบท ปัญหา และความต้องการของท้องถิ่น ชุมชน หรือสังคมตามจุดเน้น จุดเด่นของสถาบัน ตามศาสตร์พระราชา หรือตามแนวพระราชดำริ

คณะพยาบาลศาสตร์ ได้กำหนดให้การบริการวิชาการแก่ท้องถิ่น ชุมชน และสังคมเป็นภารกิจหลักประการหนึ่ง ซึ่งมีความประสงค์ที่จะพัฒนาศูนย์ความเป็นเลิศด้านผู้สูงอายุให้เกิดขึ้น ทั้งนี้ทางคณะพยาบาลศาสตร์โดยรองคณบดีฝ่ายวิชาการและพัฒนางานวิจัย ได้มีส่วนร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ (3.1-1(1)) และชุมชนในการกำหนดพื้นที่เป้าหมายในการพัฒนาท้องถิ่นที่สอดคล้องกับบริบท ปัญหา และความต้องการของท้องถิ่น ชุมชนหรือสังคมตามจุดเน้น จุดเด่นของสถาบัน ตามศาสตร์พระราชาหรือตามแนวพระราชดำริ คือ ตำบลดวนใหญ่ อำเภอวังหิน จังหวัดศรีสะเกษ โดยได้มีการดำเนินการลงพื้นที่ เพื่อสำรวจปัญหาและความต้องการของผู้ดูแลและผู้สูงอายุในพื้นที่ ด้วยการดำเนินการวิจัย (3.1-1(2))

2 จัดทำแผนบริการวิชาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ชุมชน หรือสังคมตามจุดเน้น จุดเด่นของสถาบัน ตามศาสตร์พระราชา หรือตามแนวพระราชดำริและแผนการนำไปใช้ประโยชน์ ที่มีการกำหนดตัวบ่งชี้ความสำเร็จในระดับแผนและโครงการบริการวิชาการ และเสนอคณะกรรมการประจำคณะเพื่อพิจารณา

คณะกรรมการบริการวิชาการ คณะพยาบาลศาสตร์มีการจัดทำแผนบริการวิชาการแก่สังคม ในปีงบประมาณ 2565 (3.1-2(1)) เพื่อพัฒนาท้องถิ่น ชุมชนหรือสังคมตามจุดเน้น จุดเด่นของสถาบัน ตามศาสตร์พระราชาหรือตามแนวพระราชดำริเสนอต่อคณะกรรมการประจำคณะเพื่อพิจารณา ประกอบด้วย

     1) โครงการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ : บูรณาการการบริการวิชาการและการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม (3.1-2(2))

     2) โครงการบริการวิชาการเทศกาลดอกลำดวนบาน สืบสานประเพณีสี่เผ่าไทศรีสะเกษ (3.1-2(3))

   ในโครงการมีการกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ ทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ โดยได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการประจำคณะพยาบาลศาสตร์ ในการประชุม ครั้งที่ 4/2564 วันที่ 7 กันยายน 2564 (3.1-2(4))

3 ดำเนินการตามแผนการบริการทางวิชาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ชุมชน หรือสังคมที่กำหนดไว้ตามข้อ 2 โดยร่วมมือกับหน่วยงานภายในหรือภายนอกสถาบัน อย่างน้อย 1 โครงการ

ในปีงบประมาณ 2565 คณะกรรมการบริการวิชาการ คณะพยาบาลศาสตร์ ได้ดำเนินการตามแผนบริการวิชาการเพื่อพัฒนาท้องถิ่น ชุมชนหรือสังคมที่กำหนดไว้ตามแผน ทั้ง 2 โครงการ (3.1-3(1) และ 3.1-3(2)) แต่เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้ทางคณะพยาบาลศาสตร์ จำเป็นต้องเปลี่ยนสถานที่จัดโครงการในช่วงเวลาดังกล่าว มาเป็นพื้นที่ตำบลโพธิ์ อ.โนนคูณ จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งพื้นที่นี้เป็นพื้นที่เป้าหมายรองในการพัฒนาท้องถิ่นฯ ของคณะพยาบาลศาสตร์ โดยในการดำเนินโครงการในครั้งนี้ ทางคณะฯ ได้ร่วมมือกับองค์การบริหารส่วนตำบลโพธิ์ และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งรวงทอง อ.โนนคูณ จังหวัดศรีสะเกษ ในการดำเนินโครงการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ : บูรณาการการบริการวิชาการและการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม (3.1-3(1))

4 ประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ของแผนและโครงการบริการวิชาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ชุมชน หรือสังคมตามข้อ 2 และนำเสนอคณะกรรมการประจำคณะเพื่อพิจารณา

คณะกรรมการบริการวิชาการ คณะพยาบาลศาสตร์ ได้ดำเนินการประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ของโครงการบริการวิชาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ชุมชนหรือสังคมตามแผนบริการวิชาการที่กำหนดไว้ตามแผน ทั้ง 2 โครงการ (3.1-4(1) และ 3.1-4(2)) และได้มีการนำเสนอผลการดำเนินโครงการต่อคณะกรรมการบริหารคณะพยาบาลศาสตร์ ในการประชุม ครั้งที่ 3/2565 วันที่ 6 พฤษภาคม 2565 (3.1-4(3)) และคณะกรรมการประจำคณะพยาบาลศาสตร์ เพื่อพิจารณา ในการประชุม ครั้งที่ 1/2565 วันที่ 17 มิถุนายน 2565 (3.1-4(4))

5 นำผลการประเมินตามข้อ 4 ไปปรับปรุงแผนบริการวิชาการในปีต่อไป

คณะกรรมการบริการวิชาการ คณะพยาบาลศาสตร์ ได้นำผลการประเมินโครงการ โดยมีข้อเสนอแนะของแต่ละโครงการ (3.1-5(1) และ 3.1-5(2)) และข้อเสนอแนะของคณะกรรมการบริหารคณะพยาบาลศาสตร์ (3.1-5(3)) และคณะกรรมการประจำคณะพยาบาลศาสตร์ (3.1-5(4)) ไปปรับปรุงแผนปฏิบัติการและโครงการบริการวิชาการแก่สังคมในปีงบประมาณ 2566 โดยแต่ละโครงการมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติม ดังนี้

   1) โครงการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ : บูรณาการการบริการวิชาการและการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ข้อเสนอแนะ ประกอบด้วย

      - ควรมีการทำความเข้าใจให้ตรงกันระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้องในการดำเนินโครงการทั้งหมดก่อนการดำเนินการ

      - ควรมีการเตรียมผลิตภัณฑ์ไว้ให้เกินจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการอย่างน้อย ร้อยละ 10

      - ควรมีการเตรียมความพร้อมโดยเฉพาะเรื่องของเวลาที่ชัดเจนของเจ้าหน้าที่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านก่อนการดำเนินการจริง และควรมีการมอบหมายหน้าที่ให้อย่างชัดเจน

   2) โครงการบริการวิชาการเทศกาลดอกลำดวนบาน สืบสานประเพณีสี่เผ่าไทศรีสะเกษ ข้อเสนอแนะ ประกอบด้วย

      - ควรมีการเตรียมความพร้อมของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านก่อนการดำเนินการจริง และควรมีการมอบหมายหน้าที่ให้อย่างชัดเจน

      - ควรเพิ่มอุปกรณ์ที่ต้องในกิจกรรมให้มากขึ้น เพื่อไม่ให้เกิดความล่าช้าในการให้บริการ

ผลคะแนนการประเมินตนเอง
ทำได้ (ข้อ) ได้คะแนน
5 ข้อ 5 คะแนน