ตัวบ่งชี้ที่ 3.1 ระบบและกลไกการบริการวิชาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ชุมชน หรือสังคม

ปีที่ประเมิน 2565
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : สุภัทรษร ทวีจันทร์ , วีระยุทธ มั่งคั่ง , พนิดา พานิชกุล
ชนิดตัวบ่งชี้ : กระบวนการ
คำอธิบายตัวบ่งชี้

การบริการวิชาการแก่ท้องถิ่น ชุมชน และสังคมเป็นภารกิจหลักประการหนึ่งของมหาวิทยาลัย ซึ่งพึงมีระบบและกลไกในการบริการทางวิชาการแก่สังคมที่เป็นรูปธรรม กำหนดเป้าหมายในการให้บริการวิชาการที่ชัดเจนเพื่อเป็นกรอบในการจัดทำแผนดำเนินงานในการให้บริการวิชาการแก่สังคม มีคณะกรรมการติดตาม กำกับ สนับสนุน การปฏิบัติงานตามภารกิจด้านบริการทางวิชาการแก่สังคมของสถาบันให้สอดคล้องกับเป้าหมาย เพื่อพัฒนาความเข้มแข็งของท้องถิ่น ชุมชน หรือสังคม

เกณฑ์การประเมิน
คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 ข้อ มีการดำเนินการ 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ
สูตรการคํานวณ

 

หมายเหตุ

 

เกณฑ์มาตรฐาน
ระดับ เกณฑ์มาตรฐาน ดำเนินการ
1 มีส่วนร่วมกับสถาบันและชุมชนในการกำหนดพื้นที่เป้าหมายในการพัฒนาท้องถิ่นที่สอดคล้องกับบริบท ปัญหา และความต้องการของท้องถิ่น ชุมชน หรือสังคมตามจุดเน้น จุดเด่นของสถาบัน ตามศาสตร์พระราชา หรือตามแนวพระราชดำริ
2 จัดทำแผนบริการวิชาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ชุมชน หรือสังคมตามจุดเน้น จุดเด่นของสถาบัน ตามศาสตร์พระราชา หรือตามแนวพระราชดำริและแผนการนำไปใช้ประโยชน์ ที่มีการกำหนดตัวบ่งชี้ความสำเร็จในระดับแผนและโครงการบริการวิชาการ และเสนอคณะกรรมการประจำคณะเพื่อพิจารณา
3 ดำเนินการตามแผนการบริการทางวิชาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ชุมชน หรือสังคมที่กำหนดไว้ตามข้อ 2 โดยร่วมมือกับหน่วยงานภายในหรือภายนอกสถาบัน อย่างน้อย 1 โครงการ
4 ประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ของแผนและโครงการบริการวิชาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ชุมชน หรือสังคมตามข้อ 2 และนำเสนอคณะกรรมการประจำคณะเพื่อพิจารณา
5 นำผลการประเมินตามข้อ 4 ไปปรับปรุงแผนบริการวิชาการในปีต่อไป
ผลการดำเนินงาน
ตนข้อเกณฑ์ผลการดำเนินงานหลักฐาน
1มีส่วนร่วมกับสถาบันและชุมชนในการกำหนดพื้นที่เป้าหมายในการพัฒนาท้องถิ่นที่สอดคล้องกับบริบท ปัญหา และความต้องการของท้องถิ่น ชุมชน หรือสังคมตามจุดเน้น จุดเด่นของสถาบัน ตามศาสตร์พระราชา หรือตามแนวพระราชดำริ

           

ผลการดำเนินงาน

           ในด้านการบริการทางวิชาการ คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี ได้มีส่วนร่วมในกระบวนการวางแผนระบบการบริการวิชาการในระดับมหาวิทยาลัย และเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมลงพื้นที่ในการให้บริการฯ โดยผ่านทางคณะฯ และหลักสูตร ซึ่งการร่วมกิจกรรมต่างๆ ที่ผ่านมา คณะฯ ได้มีส่วนร่วมในหลายๆ ด้าน อาทิ การเป็นวิทยากร การเป็นทีมพี่เลี้ยง การเป็นทีมที่ปรึกษา และการร่วมเป็นกรรมการตรวจติดตามการลงพื้นที่ของทุกๆ คณะฯ โดยมีรายละเอียดในรอบปีการศึกษา 2565 ที่ผ่านมาดังนี้

 

           การร่วมกำหนดวางแผนกระบวนการ  คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี ร่วมกับสำนักส่งเสริมบริการวิชาการและมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ได้กำหนดพื้นที่เป้าหมายในการให้บริการทางวิชาการ ภายใต้ศาสตร์พระราชา/แนวพระราชดำริอย่างต่อเนื่อง จำนวน 2 พื้นที่หลัก คือ ตำบลผักไหม และตำบลน้ำคำ โดยได้จำแนกระดับบริการทางวิชาการกับเป้าหมายสำคัญ คือ ชุมชนที่เป็นเป้าหมายในการพัฒนาท้องถิ่น โดยได้ใช้กระบวนการพัฒนาแบบเสริมพลังอำนาจ (The Empowerment Approach) และกระบวนการเครือข่าย ความร่วมมือกับชุมชน จากกระบวนการ 5 ขั้นตอน คือ 1) วิเคราะห์ ทบทวนพันธกิจ (Mission Analysis) 2) วิเคราะห์สภาพบริการทางวิชาการที่ผ่านมาและ สภาพปัจจุบัน-ปัญหา (Taking Stock) 3) การกำหนดเป้าหมาย(Setting Goal)  4) การกำหนดยุทธศาสตร์และจัดทำแผนงานโครงการ (Developing Strategies)  5) ดำเนินการตามแผน(Implementing) และ 6) ประเมินผลการดำเนินงาน (Documenting Progress)  ในการดำเนินงาน ตามแนวทางนี้ คณะได้ดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม ดังนี้

          ระดับมหาวิทยาลัยฯ ภายใต้การเป็นทีมดำเนินการในพื้นที่ส่วนร่วม คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี เป็นหนึ่งในพื้นที่พัฒนาต่อเนื่องและมีส่วนร่วมกับมหาวิทยาลัย ในการกำหนดชุมชนเป้าหมายในการพัฒนาที่มีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 3 ปี จำนวน 10 พื้น โดยมีเป้าหมายในปีงบประมาณ 2565 จำนวน                2 ชุมชน และมีกิจกรรมการมีส่วนร่วมในการบริการวิชาการพื้นที่ ดังนี้

          1) ชุมชนบ้านหัวนา อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ และ

          2) โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านหนองใหญ่ อำเภอกันทรลักษณ์ จังหวัดศรีสะเกษและมีการส่งเสริมสนับสนุนให้ทุกคณะจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาชุมชนดังกล่าวอย่างต่อเนื่องจนส่งผลให้ชุมชนมีการเรียนรู้และดำเนินกิจกรรม อย่างต่อเนื่อง ตามรายงานการติดตามพื้นที่เป้าหมายการดำเนินงานด้านบริการวิชาการ ระดับสถาบัน ปีงบประมาณ 2565 ซึ่งคณะฯ ได้ร่วมเสริมสร้างทักษะอาชีพ และพัฒนาศักยภาพการแข่งขันทางการตลาดกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ทำให้เกิดรูปแบบการฝึกความคิดสร้างสรรค์ กระตุ้นความคิดของนักเรียน และสามารถดึงดูดความสนใจของนักเรียนได้มีคณะกรรมการบริหาร กลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่เข้มแข็งและมีการสร้างกลไกในการขับเคลื่อน ดังนี้ คือ มีการทำบัญชีรายรับรายจ่าย ชุมชนทักษะการเป็นวิทยากรการบรรยายเรื่ององค์ความรู้ทางบริหารธุรกิจและการบริหารจัดการต่างๆ ได้ เพิ่มขึ้น (เล่มแผนกลยุทธ์การบริการวิชาการมหาวิทยาลัย, หน้า 45)

          ระดับคณะฯ คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี ได้รับผิดชอบพื้นที่เป้าหมายหลักในการบริการวิชาการสู่ชุมชน จำนวน 2 พื้นที่ คือ ชุมชนตำบลผักไหม และตำบลน้ำคำ โดยคณะได้กำหนดนโยบายและแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานในการให้บริการทางวิชาการและโครงการยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ครอบคลุม 2 ลักษณะ คือ

          1) บริการทางวิชาการแบบทั่วไปตามความต้องการของสังคม ชุมชน ทั่วไป และชุมชนทางการศึกษา             โดยคณะได้ดำเนินการจัดโครงการบริการวิชาการ 2 โครงการ คือ “โครงการส่งเสริมและยกระดับผลิตภัณฑ์                ผ้าออก สู่ตลาดผ่านช่องทางการจัดจำหน่ายเพื่อสร้างรายได้” เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2566 ณ องค์การบริหารส่วนตำบลผักไหม ต.ผักไหม อ.ห้วยทับทัน จ.ศรีสะเกษ โดยมีกลุ่มเป้าหมายจำนวน 40 ราย ภายใต้งบประมาณ                การบริหารโครงการ 30,000 บาท และ “โครงการการส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนด้วยการผลิตของที่ระลึกชุมชนสารสกัดน้ำมันนวดสมุนไพร ยาหม่องสมุนไพรและครีมสมุนไพรเพื่อการท่องเที่ยว” ณ วัดพระธาตุสุวรรณหงส์                   ต.น้ำคำ อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ เมื่อวันที่ 13-15 มกราคม 2565 โดยมีกลุ่มเป้าหมายจำนวน 60 ราย

          2) บริการทางวิชาการแบบเฉพาะภายใต้นโยบายรัฐบาลและนโยบายการบริหารจัดการแผนงบประมาณของมหาวิทยาลัย คือ โดยคณะได้รับผิดชอบและมีส่วนร่วมในการบริการวิชาการอย่างต่อเนื่องร่วมกับมหาวิทยาลัยภายใต้ “โครงการยุทธศาสตร์ราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น” และ”โครงการ U2T มหาวิทยาลัย                สู่ตำบล สร้างงาน สร้างรายได้ให้ชุมชน และศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการ” ซึ่งเป็นโครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบลร่วมกับมหาวิทยาลัยโครงการของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ที่จะช่วยสร้างรากแก้วให้ประเทศ ซึ่งโครงการดังกล่าวเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้ มหาวิทยาลัยได้สามารถใช้องค์ความรู้ งานวิจัย เทคโนโลยี นวัตกรรม และทรัพยากรของมหาวิทยาลัย ในการพัฒนาพื้นที่ พัฒนาประเทศ ในขณะเดียวกันก็สามารถที่จะนำโจทย์หรือปัญหาของประเทศ มาสู่การพัฒนาศักยภาพกำลังคน พัฒนาองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อขับเคลื่อนประเทศ และโครงการธนาคารออมสิน ด้วยวัตถุประสงค์ในการจัดกิจกรรมด้านการเสริมสร้างและพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น “ออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น” โดยการบูรณาการภูมิปัญญาและวิทยาการสมัยใหม่ของสถาบันอุดมศึกษากับภูมิปัญญาและทรัพยากรท้องถิ่น เพื่อสร้างกระบวนการในการเสริมสร้างและพัฒนายกระดับขีดความสามารถในการประกอบการของกลุ่มชุมชนที่รวมตัวกันสร้างผลิตภัณฑ์หรือบริการให้มีศักยภาพมีมูลค่าเพิ่ม สามารถยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์หรือบริการ ให้ตอบสนองต่อความต้องการของตลาดซึ่งเป็นการเสริมความมั่นคงในอาชีพและรายได้ การมีวินัยทางการเงินและศักยภาพในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนให้แก่ประชาชนในแต่ละท้องถิ่นให้มีความมั่นคง เกิดผลที่ยั่งยืนในขณะเดียวกันนิสิตนักศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ จะเกิดการเรียนรู้ เข้าใจในวิถีชีวิต เอกลักษณ์และภูมิปัญญาท้องถิ่น ตระหนักถึงความสำคัญของภูมิปัญญาไทยและทรัพยากรอันมีค่าเพื่อจะช่วยกันจรรโลงรักษาให้อยู่คู่สังคมไทยสืบต่อไป ประกอบด้วย

                   2.1)  โครงการยุทธศาสตร์ราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ประจำปี 2556 รวมจำนวน                        14 โครงการด้วยงบระมาณที่ได้รับจัดสรรจำนวน 3,200,000 บาท ซึ่งนับเป็นสิ่งจำเป็นที่สังคมการศึกษาควรได้รับการพัฒนาเป็นการเฉพาะ อีกทั้ง เน้นสร้างความเชี่ยวชาญเฉพาะทางสำหรับคณาจารย์และเน้นการส่งเสริมให้ท้องถิ่น ชุมชน ยกระดับคุณภาพชีวิต ในด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และการศึกษามากขึ้น  โดยในการนี้ คณะได้จัดทำโครงการบริการทางวิชาการแก่สังคม และโครงการยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ไว้ในแผนปฏิบัติการประจำปี และจัดบูรณาการจัดทำโครงการบริการทางวิชาการที่เอื้อต่อ การเรียนรู้ของนักศึกษาและคนในชุมชนยกระดับให้ชุมชนมีรายได้อย่างยั่งยืน

                   2.2) โครงการยุวพัฒน์ออมสิน ประจำปี 2565 รวมจำนวน 5 โครงการๆละ 126,000                       รวมงบประมาณทั้งสิ้น 630,000 บาท ได้แก่

                             2.2.1) กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรกรรมยั่งยืน อำเภอขุขันธ์

                             2.2.2) กลุ่มโฮมสเตย์นครลำดวน

                             2.2.3) วิสาหกิจชุมชนกลุ่มทอผ้าฝ้ายย้อมสีธรรมชาติบ้านท่าสว่าง

                             2.2.4) กลุ่มวิสาหกิจชุมชนสวนเห็ดไอดิน

                             2.2.5) กลุ่มแม่บ้านหนองคู

(https://drive.google.com/drive/folders/1eyv28kwYu7ZpRx0HDxRifR5jBRm28fsv?usp=drive_link)

 

                   2.3) โครงการ U2T มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างงาน สร้างรายได้ให้ชุมชน ประจำปี 2556              รวมจำนวน 31 โครงการๆละ 139,200 บาท ภายใต้พื้นที่ อำเภอยางชุมน้อย อำเภอกันทรารมย์ อำเภอราศีไศล อำเภอศรีรัตนะ อำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ อำเภอวังหิน อำเภอห้วยทับทัน อำเภอยางชุมน้อย อำเภออุทุมพรพิสัย อำเภอคำเขื่อนแก้ว อำเภอทรายมูล และอำเภอเมืองยโสธร

(https://docs.google.com/spreadsheets/d/16eecyptH7M3nLEQ9fnYKc2UxM5qw5483/edit?fbclid=IwAR0YTAkWmhJQRGkYBjZlqbrukpxK23JnI5_zAf1Tvxq7-HEXn_1YO6_MtKQ#gid=59826521)

            นอกจากนี้ คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี ยังมีการจัดงานภายในคณะคือ งานวันบริหารธุรกิจ เพื่อเป็นการให้บริการวิชาการด้านความรู้ทางทักษะการเรียนสาขาต่างๆ มีการแข่งขันตอบคำถามการแข่งขันทักษะวิชาชีพ รวมทั้งเป็นการแนะแนวการศึกษาให้แก่โรงเรียนต่างๆ ด้วย อาทิ การโรงแรมและการท่องเที่ยว คอมพิวเตอร์ดิจิทัลฯ เป็นต้น โดยคณะฯ ได้จัดทำโครงการในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 ซึ่งได้รับความร่วมมือจากโรงเรียนเครือข่ายเข้าร่วมประมาณ 300 คน    

             2.4 คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี ได้รับการอนุมัติจากกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยแม่ข่ายคือ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ในการเป็นศูนย์กลางการให้บริการวิชาการด้านความรู้แก่ชุมชน สังคม โดยเฉพาะชุมชนที่ต้องการเป็นผู้ประกอบการ ที่สร้างผลิตภัณฑ์ สร้างรายได้ และสร้างโอกาสทางการพาณิชย์ เริ่มจากระดับความต้องการที่อยากจะเป็น สู่การพัฒนาและสรรสร้างให้เกิดผลิตภัณฑ์และสามารถสร้างรายได้ได้ ถือเป็นหน่วยงานที่ให้บริการวิชาการอีกรุปแบบหนึ่ง

เชิงปริมาณ : จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 โดยกำหนดเป้าหมายเชิงคุณภาพ คือ1.ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับคำปรึกษาด้านบริหารธุรกิจและการบัญชี และศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง  2.การมีส่วนร่วมของประชาชนในการให้เข้าร่วมโครงการ  พบว่า ประชาชนที่ต้องการเป็นผู้ประกอบการสามารถเข้ามาปรึกษาและเข้าร่วมโครงการโครงการจากชุมชน ทั้งสิ้น 12 ราย ผ่านการคัดเลือกจาก UBI จำนวน 10 ราย คิดเป็นร้อยละ 83.33 มีการจัดกิจกรรมให้ผู้ประกอบการและนักศึกษาในชมรมผู้ประกอบการรุ่นใหม่

2จัดทำแผนบริการวิชาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ชุมชน หรือสังคมตามจุดเน้น จุดเด่นของสถาบัน ตามศาสตร์พระราชา หรือตามแนวพระราชดำริและแผนการนำไปใช้ประโยชน์ ที่มีการกำหนดตัวบ่งชี้ความสำเร็จในระดับแผนและโครงการบริการวิชาการ และเสนอคณะกรรมการประจำคณะเพื่อพิจารณา

           

          คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี  มีระบบและกลไกการให้บริการวิชาการแก่สังคม โดยมีการแต่งตั้งผู้รับผิดชอบงานคือ ผู้ช่วยคณบดี หัวหน้างานบริการวิชาการแก่สังคม และคณะกรรมการบริการวิชาการแก่สังคมของคณะ เพื่อทำหน้าที่จัดทำแผนการบริการวิชาการแก่สังคมที่มีความสอดคล้องกับปัญหาและความต้องการของชุมชน และจัดทำแผนการนำไปใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการเพื่อให้เกิดผลต่อการพัฒนานักศึกษา ชุมชนหรือสังคม ที่มีการกำหนดตัวบ่งชี้ความสำเร็จของแผน  และเสนอที่ประชุมคณะกรรมการประจำคณะฯ พิจารณาให้เห็นชอบและอนุมัติให้ดำเนินการจัดโครงการบริการวิชาการแก่สังคมตามแผนที่กำหนดไว้

            คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี ได้มีการบริการวิชาการแก่สังคมอย่างต่อเนื่อง โดยจะเห็นได้จากให้บริการวิชาการที่ผ่านมา 4 ปีต่อเนื่องในพื้นที่ ตำบลผักไหม และตำบลน้ำคำ เพื่อเป็นการร่วมพัฒนา ต่อยอด ควบคุมและติดตามประเมินผลให้ชุมชนมีความเข้มแข็งและสามารถที่จะขยายวงกว้างไปยังชุมชนพื้นที่ใกล้เคียงได้ โดยมีโครงการในการให้บริการวิชาการดังต่อไปนี้

 

 

 

 

ปีการศึกษา

พื้นที่ให้บริการ

พื้นที่ตำบลผักไหม  

พื้นที่ตำบลน้ำคำ

 

2562

โครงการส่งเสริมและผลิตเมล็ดพันธ์ข้าวชุมชนตำบลผักไหม 

 

 

2563

โครงการยกระดับผลิตภัณฑ์โจ๊กข้าวอินทรีย์เพื่อสุขภาพ

ณ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปข้าวผักไหม อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ

โครงการการส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนด้วย                การผลิตของที่ระลึกชุมชนสบู่แฟนซีเพื่อการท่องเที่ยว”

ณ วัดพระธาตุสุวรรณหงส์ ต.น้ำคำ อ.เมือง                  จ.ศรีสะเกษ

 

2564

โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปกระเจี๊ยบแดงและส่งเสริมกลยุทธ์ทางการตลาดสมัยใหม่

ณ ตำบลผักไหม อำเภอห้วยทับทัน               จังหวัดศรีสะเกษ

โครงการการส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนด้วย                การผลิตของที่ระลึกชุมชนสบู่สมุนไพรเพื่อการท่องเที่ยว”

ณ วัดพระธาตุสุวรรณหงส์ ต.น้ำคำ อ.เมือง                  จ.ศรีสะเกษ

 

2565

โครงการส่งเสริมและยกระดับผลิตภัณฑ์                ผ้าออก สู่ตลาดผ่านช่องทางการจัดจำหน่ายเพื่อสร้างรายได้”

ณ องค์การบริหารส่วนตำบลผักไหม                      ต.ผักไหม อ.ห้วยทับทัน จ.ศรีสะเกษ

โครงการการส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนด้วย                การผลิตของที่ระลึกชุมชนสารสกัดน้ำมันนวดสมุนไพร ยาหม่องสมุนไพรและครีมสมุนไพรเพื่อการท่องเที่ยว”

ณ วัดพระธาตุสุวรรณหงส์ ต.น้ำคำ อ.เมือง                  จ.ศรีสะเกษ

 

 

          นอกจากนี้ คณะฯ ได้กำหนดชุมชนเป้าหมายดำเนินการจัดทำแผนการบริการประจำปีที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนและดำเนินการจัดทำแผนการใช้ประโยชน์จากการบริการทางวิชาการเพื่อการพัฒนาด้านนักศึกษา ชุมชนและสังคมและนำมาบูรณาการกับการเรียนการสอนและการวิจัยในการดำเนินโครงการบริการวิชาการของแต่ละโครงการคณะฯ มีโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2565 จำนวน  14  โครงการ โดยโครงการทั้งหมดได้วางแผนสำหรับการใช้ประโยชน์เพื่อให้เกิดผลต่อการพัฒนานักศึกษา ชุมชน หรือสังคม ดังนี้

ชื่อโครงการ

แผนการใช้ประโยชน์

พัฒนานักศึกษา

พัฒนาชุมชน

1. โครงการส่งเสริมและพัฒนาตลาดออนไลน์-ออฟไลน์ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มผักสดปลอดสารพิษชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง

- ผู้ช่วยวิทยากรชุมชน

- ช่วยประสานงานกิจกรรม

- จิตอาสา มีความรับผิดชอบต่อการทำงาน

 

-โรงเรือนในการปลูกผัก

-ได้กระบวนการ กรรมวิธีที่ถูกต้องในการปลูกผัก

- ได้ความรู้เรื่องระบบออนไลน์และการบัญชี

2. โครงการพัฒนาอาชีพเสริมการเลี้ยงจี้ดหรีดโปรตีนเพื่อยกระดับรายได้

- ผู้ช่วยวิทยากรชุมชน

- ช่วยประสานงานกิจกรรม

- จิตอาสา มีความรับผิดชอบต่อการทำงาน

 

-มีความรู้ด้านอาชีพเสริม

-ได้กระบวนการที่ถูกต้องจากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน

-ได้ความรู้เรื่องระบบออนไลน์และการบัญชี

3. โครงการส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนด้วยการผลิตของที่ระลึกชุมชนสบู่หอมแฟนซีเพื่อการท่องเที่ย

- ผู้ช่วยวิทยากรชุมชน

- ช่วยประสานงานกิจกรรม

- จิตอาสา มีความรับผิดชอบต่อการทำงาน

 

-มีความรู้ด้านอาชีพเสริม

-ได้กระบวนการที่ถูกต้องจากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน

-ได้ความรู้เรื่องระบบออนไลน์และการบัญชี

4. โครงการส่งเสริมอาชีพการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรเป็นขนมทอดโบราณและน้ำพริกเพื่อเพิ่มมูลค่า (มันม่วง มันเหลือง เผือก มะพร้าว เห็ด)

- ผู้ช่วยวิทยากรชุมชน

- ช่วยประสานงานกิจกรรม

- จิตอาสา มีความรับผิดชอบต่อการทำงาน

 

-มีความรู้ด้านอาชีพเสริม

-มีช่องทางการสร้างรายได้

-ได้กระบวนการที่ถูกต้องจากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน

-ได้ความรู้เรื่องระบบออนไลน์และการบัญชี

5. โครงการส่งเสริมพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรแปรรูป

- ผู้ช่วยวิทยากรชุมชน

- ช่วยประสานงานกิจกรรม

- จิตอาสา มีความรับผิดชอบต่อการทำงาน

 

-มีสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชนจากสมุนไพรชุมชน

-มีช่องทางการสร้างรายได้เพิ่มขึ้นประเภทของฝาก ที่ระลึกเพิ่ม

-ได้กระบวนการที่ถูกต้องจากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน

-ได้ความรู้เรื่องระบบออนไลน์และการบัญชี

6. โครงการยกระดับการเพิ่มมูลค่าก้อนเห็ดอินทรีย์สู่การตลาดยุคดิจิทัลแบบสมัยใหม่

- ผู้ช่วยวิทยากรชุมชน

- ช่วยประสานงานกิจกรรม

- จิตอาสา มีความรับผิดชอบต่อการทำงาน

 

-มีความรู้ด้านอาชีพเกษตรกรรมประเภทก้อนเห็ดในยุคใหม่

-มีช่องทางการสร้างรายได้

-ได้กระบวนการที่ถูกต้องจากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน

-ได้ความรู้เรื่องระบบออนไลน์

และการบัญชี

7. โครงการพัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์สินค้า OTOP กระเทียมโทนดองน้ำผึ้ง

- ผู้ช่วยวิทยากรชุมชน

- ช่วยประสานงานกิจกรรม

- จิตอาสา มีความรับผิดชอบต่อการทำงาน

 

-มีผลิตภัณฑ์สินค้า OTOP กระเทียมโทนดองน้ำผึ้ง

- มีความรู้เพิ่มเติมด้านการแปรรูปสินค้าเกษตร

-มีช่องทางการสร้างรายได้

-ได้กระบวนการที่ถูกต้องจากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน

-ได้ความรู้เรื่องระบบออนไลน์และการบัญชี

8. โครงการยกระดับและเพิ่มมูลค่าพริกของ กลุ่มแปรรูปอาหาร

- ผู้ช่วยวิทยากรชุมชน

- ช่วยประสานงานกิจกรรม

- จิตอาสา มีความรับผิดชอบต่อการทำงาน

 

-มีผลิตภัณฑ์สินค้าที่มีกระบวนการในการยกระดับที่ดีขึ้น

- มีความรู้เพิ่มเติมด้านการแปรรูปสินค้าอาหาร

-มีช่องทางการสร้างรายได้

-ได้กระบวนการที่ถูกต้องจากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน

-ได้ความรู้เรื่องระบบออนไลน์

และการบัญชี

9. โครงการส่งเสริมการแปรรูปและสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์อาหารเสริมชะลอวัย (Anti-Aging) จากสารสกัดหอมแดงศรีสะเกษ

- ผู้ช่วยวิทยากรชุมชน

- ช่วยประสานงานกิจกรรม

- จิตอาสา มีความรับผิดชอบต่อการทำงาน

 

-มีผลิตภัณฑ์สินค้า การแปรรูปและสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์อาหารเสริมชะลอวัย (Anti-Aging)

- มีความรู้เพิ่มเติมด้านการแปรรูปที่ถูกต้อง

-มีช่องทางการสร้างรายได้

-ได้กระบวนการที่ถูกต้องจากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน

-ได้ความรู้เรื่องระบบออนไลน์

และการบัญชี

10.โครงการแปรรูปสินค้าจากผ้าเบญจศรีศรีสะเกษ เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าชุมชน

- ผู้ช่วยวิทยากรชุมชน

- ช่วยประสานงานกิจกรรม

- จิตอาสา มีความรับผิดชอบต่อการทำงาน

 

-มีผลิตภัณฑ์สินค้าที่มีการแปรรูปจากผ้าที่หลากหลาย

- ผลิตภัณฑ์สินค้ามีช่องทางการเพิ่มมูลค่าที่หลากหลาย

- มีความรู้เพิ่มเติมด้านการแปรรูปที่ถูกต้อง

-มีช่องทางการสร้างรายได้

-ได้กระบวนการที่ถูกต้องจากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน

-ได้ความรู้เรื่องระบบออนไลน์

และการบัญชี

11.โครงการพัฒนาบรรจุภัณฑ์และการตลาด digital ผลิตภัณฑ์ อำเภอบึงบูรณ์ จังหวัดศรีสะเกษ

- ผู้ช่วยวิทยากรชุมชน

- ช่วยประสานงานกิจกรรม

- จิตอาสา มีความรับผิดชอบต่อการทำงาน

 

-มีแนวคิด วิธีการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้า บรรจุภัณฑ์และการตลาด digital ที่ดี

 - มีความรู้เพิ่มเติมด้านการส่งเสริมการขายและการตลาด

-มีช่องทางการสร้างรายได้

-ได้กระบวนการที่ถูกต้องจากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน

-ได้ความรู้เรื่องระบบออนไลน์

และการบัญชี

12. โครงการยกระดับและเพิ่มมูลค่าข้าวอินทรีย์ ของกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์เกษตร ตำบลหนองแค

อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ

- ผู้ช่วยวิทยากรชุมชน

- ช่วยประสานงานกิจกรรม

- จิตอาสา มีความรับผิดชอบต่อการทำงาน

 

-ผลิตภัณฑ์เกษตร มีการถูกยกระดับและเพิ่มมูลค่าได้อย่างถูกวิธี

- มีความรู้เพิ่มเติมด้านการส่งเสริมการขายและการตลาด

-มีช่องทางการสร้างรายได้

-ได้กระบวนการที่ถูกต้องจากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน

-ได้ความรู้เรื่องระบบออนไลน์

และการบัญชี

13.โครงการยกระดับการผลิตและพัฒนากำลังคนเป็นผู้ประกอบการเพื่อสังคม ตามความต้องการของพื้นที่ในจังหวัดศรีสะเกษ

- ผู้ช่วยวิทยากรชุมชน

- ช่วยประสานงานกิจกรรม

- จิตอาสา มีความรับผิดชอบต่อการทำงาน

 

-ชุมชนมีกระบวนการคิด วิเคราะห์ที่ถูกหลัก มีการพัฒนากำลังคนที่สามารถสร้างศักยภาพสู่ชุมชนได้

-ได้กระบวนการที่ถูกต้องจากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน

-ได้ความรู้เรื่องระบบออนไลน์

และการบัญชี

14. โครงการยกระดับรายได้สินค้าชุมชนด้วยนวัตกรรมแพลตฟอร์มการตลาดชุมชนดิจิทัลของผู้ประกอบการชุมชนเพื่อส่งเสริมทางท่องเที่ยวในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ

- ผู้ช่วยวิทยากรชุมชน

- ช่วยประสานงานกิจกรรม

- จิตอาสา มีความรับผิดชอบต่อการทำงาน

 

-ชุมชนมีแพลตฟอร์มการตลาดที่ทันสมัย และสามารถเพิ่มช่องทางในการส่งเสริมการขายได้ครอบคลุมเพิ่มขึ้น

-ได้กระบวนการที่ถูกต้องจากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน

-ได้ความรู้เรื่องระบบออนไลน์

และการบัญชี

 

 

          นอกจากนี้ แต่ละหลักสูตรของคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี ยังมีโครงการบริการวิชาการที่ร่วมกับหลักสูตรฯ ที่ก่อให้เกิดผลงานวิจัย งานสร้างสรรค์ หรือนวัตกรรม จำนวน 5 เรื่อง ที่นำไปใช้ในชุมชน สามารถนำไปแก้ไขปัญหาต่างๆ ของชุมชน และได้รับการรับรองการใช้ประโยชน์จากชุมชน 5 เรื่อง ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้

 

 

ที่

งานวิจัย/นวัตกรรม

ชุมชน/หน่วยงานที่นำไปใช้ประโยชน์

ประเภทการนำไปใช้ประโยชน์

วัน/เดือน/ปีที่นำไปใช้ประโยชน์

รูปแบบการนำไปใช้ประโยชน์

1

การพัฒนายาย้อมผมจากสมุนไพรพื้นบ้านกลุ่มผู้ประกอบการสมุนไพรป่าชุมชนโนนใหญ่ ต.เสียว อ.โพธิ์ศรีสุวรรณ จ.ศรีสะเกษ

ในเชิงธุรกิจ

ชุมชนโนนใหญ่ ต.เสียว อ.โพธิ์ศรีสุวรรณ

จ.ศรีสะเกษ

เชิงพาณิชย์และการพัฒนาท้องถิ่น

23 มีนาคม 2565

1. ชุมชนได้นำสมุนไพรมาแปรรูปเป็นสินค้า

2. ชุมชนมีการต่อยอดเพื่อพัฒนายาย้อมผม

3. ชุมชนได้นำองค์ความรู้เชิงธุรกิจไปใช้ในการศึกษาต้นทุนและผลตอบแทน

2

การศึกษาศักยภาพและขีดความสามารถการรองรับได้ของแหล่งท่องเที่ยวชุมชนโบราณในจังหวัดศรีสะเกษเพื่อพัฒนาไปสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

สำนักงานท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดศรีสะเกษ

การพัฒนาการท่องเที่ยว

1 มิถุนายน 2565

1. หน่วยงานได้นำข้อมูลไปประชาสัมพันธ์

2. หน่วยงานได้นำไปพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยว

3. หน่วยงานได้นำข้อมูลไปใช้ในการกำหนดกรอบงบประมาณ เพื่อวางแผนการท่องเที่ยว

3

นวัตกรรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารเสริมชะลอวัยและเพิ่มมูลค่าจากสารสกัดหอมแดงศรีสะเกษ GI แบบครบวงจร เพื่อพัฒนายกระดับเศรษฐกิจให้กับเกษตรกรผู้ปลูกหอมแดงในจังหวัดศรีสะเกษ

เครือข่ายคลัสเตอร์ศรีสะเกษ และเกษตรกร                   อ.ยางชุมน้อย

จ.ศรีสะเกษ

เชิงพาณิชย์และการพัฒนาท้องถิ่น

30 กันยายน 2565

1. เครือข่ายได้นำไปแปรรูปสินค้า

2. เครือข่ายได้นำองค์ความรู้ไปพัฒนาตลาด

3. เครือข่ายได้พัฒนายกระดับเศรษฐกิจให้กับเกษตรกรผู้ปลูกหอมแดง

4

นวัตกรรมทางสังคมเพื่อสร้างเครือข่ายผู้เลี้ยงปูนาเชิงพาณิชย์สู่ความยั่งยืนทางเศรษฐกิจของชุมชน

ศูนย์สงเคราะห์และ         ฝึกอาชีพเยาวชนจังหวัดศรีสะเกษ

เชิงพาณิชย์และการพัฒนาท้องถิ่น

27 มกราคม2566

1. นำองค์ความรู้ไปส่งเสริมอาชีพในครัวเรือน

2. นำองค์ความรู้ไปสู่การเลี้ยงปูนาครบวงจร

3. นำรูปแบบการเลี้ยงปูนาไปประยุกต์ใช้กับชุมชนต่าง ๆ ที่มีความต้องการถ่ายทอด

5

นวัตกรรมการย้อมสีจากมูลหนอนไหมเพื่อยกระดับอาชีพและเสริมสร้างขีดความสามารถของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผ้าทอมือ                            จังหวัดศรีสะเกษ

กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านไหมไทยเฉลิมพระเกียรติ

เชิงพาณิชย์และการพัฒนาท้องถิ่น

14 ธันวาคม 2565

1. ชุมชนได้เรียนรู้เทคนิคการย้อมสี

2. ชุมชนได้ยกระดับอาชีพ

3. ชุมชนได้นำองค์ความรู้มาใช้กำหนดขีดความสามารถชิงธุรกิจ

 

 

 

3ดำเนินการตามแผนการบริการทางวิชาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ชุมชน หรือสังคมที่กำหนดไว้ตามข้อ 2 โดยร่วมมือกับหน่วยงานภายในหรือภายนอกสถาบัน อย่างน้อย 1 โครงการ

          ในปีงบประมาณ  2565 คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี แผนการนำไปใช้ประโยชน์ที่มีการกำหนดตัวบ่งชี้ความสำเร็จในระดับแผนและโครงการบริการวิชาการ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้

          1. สร้างงานบริการวิชาการที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนและสังคมอย่างยั่งยืน

          2. มีระบบการบริหารจัดการโครงการบริการวิชาการแก่ชุมชนที่มีประสิทธิภาพ

          จากเป้าประสงค์ทั้ง 2 ประการ ทำให้มีการการบริการวิชาการแก่ชุมชนและสังคมของคณะฯ ต้องปรับระบบการบริหารจัดการใหม่เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับความต้องการของชุมชนและสังคมโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 เน้นสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน ปรับวิธีการจัดทำโครงการใหม่ ไม่ใช่อยู่ในรูปแบบเดิมๆ ที่คณะฯเป็นผู้นำเสนอองค์ความรู้ไปให้ชุมชน แต่เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างบุคลากรของมหาวิทยาลัยกับชุมชนและสังคม เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ยอมรับซึ่งกันและกันภายใต้ความต้องการของชุมชนและสังคม

          คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี ได้มีการจัดโครงการบริการวิชาการแก่สังคมตามแผนที่กำหนดไว้ โดยร่วมกับหน่วยงานภายนอก คือ องค์การบริหารส่วนตำบลผักไหม ต.ผักไหม อ.ห้วยทับทัน จ.ศรีสะเกษ จำนวน                   1 โครงการ ดังนี้ คือ การส่งเสริมและยกระดับผลิตภัณฑ์ผ้าออกสู่ตลาดผ่านช่องทางการจัดจำหน่ายเพื่อสร้างรายได้ ณ วันที่ 17 มิถุนายน 2566

ผลลัพธ์-ผลผลิต-ตัวชี้วัด

หน่วยนับ

เป้าหมาย

(แผน)

ผลการ

ดำเนินงาน

ปัญหา/อุปสรรค

ผลลัพธ์

 

 

 

 

ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ

ผู้เข้ารับบริการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

ร้อยละ

ประชาชน 30 ราย

เรียบร้อย

ประชาชนอาจจะมีภารกิจในงานครอบครัว อาจจะมีผลต่อการเข้าร่วมล่าช้าและมีความไม่

ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ

 

 

 

 

1. เกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่สามารถสร้างเป็นอาชีพใหม่

2. สร้างรายได้มากขึ้นจากการขายผลิตภัณฑ์

ร้อยละ

 

ร้อยละ

5

 

30

เรียบร้อย

ประชาชนต้องมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่องเพื่อวัดประสิทธิภาพ การต่อยอดความรู้

ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ

 

 

 

 

-จำนวนผู้เข้ารับบริการ

คน

30

เรียบร้อย

 

ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ

 

 

 

 

- เกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่สามารถสร้างเป็นอาชีพใหม่

- สร้างรายได้มากขึ้นจากการขายผลิตภัณฑ์

ร้อยละ

 

ร้อยละ

5

 

30

เรียบร้อย

 

ตัวชี้วัดเชิงเวลา

 

 

 

 

- งานบริการวิชาการแล้วเสร็จตามระยะเวลา

ร้อยละ

100%

 

 

ตัวชี้วัดเชิงต้นทุน

 

 

 

 

- ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร

บาท

30,000

 

 

 

 

รายการหลักฐาน : ตัวบ่งชี้ที่ 3.1 ข้อที่ 3

3.1-3(1) รายงานผลการดำเนินงานโครงการบริการวิชาการ

 

þ4. ประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ของแผนและโครงการบริการวิชาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ชุมชน หรือสังคมตามข้อ 2 และนำเสนอคณะกรรมการประจำคณะเพื่อพิจารณา

          คณะกรรมการการบริการวิชาการแก่สังคม คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี ได้ดำเนินงานตามแผนบริการวิชาการแก่สังคม ในปีงบประมาณ  2565 เมื่อการดำเนินโครงการสิ้นสุดลง คณะกรรมการบริการวิชาการแก่สังคมได้ประชุม เพื่อประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ของแผนและโครงการ ผลการดำเนินงานของโครงการในแผนบริการวิชาการแก่สังคม พบว่า มีโครงการที่ดำเนินงานทั้งหมด 1 โครงการ คณะกรรมการบริการวิชาการแก่สังคมนำผลการประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ของแผนและโครงการเข้าที่ประชุมคณะกรรมการประจำคณะฯ  เพื่อพิจารณาผลการประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ของแผนฯ และโครงการบริการวิชาการแก่สังคม

          คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี ได้กำหนดความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ของแผนและโครงการบริการวิชาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ตามนโยบายการบริการวิชาการแก่สังคมอย่างยั่งยืนดังต่อไปนี้

          1. การจัดทำโครงการ มีการบูรณาการร่วมกับพันธกิจอื่นๆ ของคณะ สาขา และมหาวิทยาลัย เช่น                 การเรียนการสอน การวิจัย และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

          2. การบริการวิชาการแก่สังคมอย่างยั่งยืนเป็นพันธกิจหลักที่คณะฯ ดำเนินการตามความต้องการของชุมชน

          3. การดำเนินโครงการต้องเน้นคุณภาพและความยั่งยืน และคำนึงถึงพื้นที่เป็นหลัก

          4. การดำเนินโครงการต้องสอดคล้องกับตัวชี้วัดสำหรับการประกันคุณภาพการศึกษา

 

กลยุทธ์

โครงการ และ ตัวชี้วัด  

ค่าเป้าหมาย

(แผน)

ผลการ

ดำเนินงาน

 

โครงการ

 

บรรลุ

ไม่บรรลุ

ผลผลิต

 

 

 

ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ

 

 

 

- จำนวนผู้เข้ารับบริการ

คน

30

 

ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ

 

 

 

- เกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่สามารถสร้างเป็นอาชีพใหม่

- สร้างรายได้มากขึ้นจากการขายผลิตภัณฑ์

ร้อยละ

5

 

ตัวชี้วัดเชิงเวลา

 

 

 

- งานบริการวิชาการแล้วเสร็จตามระยะเวลา

ร้อยละ

100

 

ตัวชี้วัดเชิงต้นทุน

 

 

 

- ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร

บาท

 30,000

 

 

 

4ประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ของแผนและโครงการบริการวิชาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ชุมชน หรือสังคมตามข้อ 2 และนำเสนอคณะกรรมการประจำคณะเพื่อพิจารณา

         คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี ได้ดำเนินงานตามแผนบริการวิชาการแก่สังคม ปีการศึกษา 2565 จำนวน 2 โครงการ โครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นจำนวน 14  โครงการ และโครงการยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น จำนวน 5 โครงการ  และได้ประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ของแผนและโครงการบริการวิชาการเพื่อพัฒนาท้องถิ่น ชุมชน และมีการรายงานผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้วัดความสำเร็จ แผนบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีการศึกษา 2565 ต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี ครั้งที่ 6/2566 และคณะกรรมการประจำวิทยาลัยฯ ครั้งที่ 2/2566 เพื่อพิจารณาผลการประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ของแผนฯ และโครงการบริการวิชาการแก่ชุมชน

5นำผลการประเมินตามข้อ 4 ไปปรับปรุงแผนบริการวิชาการในปีต่อไป

         

คณะกรรมการการบริการวิชาการแก่สังคม คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี ได้นำรายงานผลการประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ของแผนฯ และโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ปีงบประมาณ  2565 ที่นำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการประจำคณะฯ เพื่อพิจารณาและที่ประชุมคณะกรรมการประจำคณะฯ ได้ให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม  ซึ่งทางคณะกรรมการบริการวิชาการแก่สังคมจะได้นำข้อเสนอแนะมาแก้ไข ปรับปรุง และพัฒนาแผนการให้บริการวิชาการแก่สังคม ในปีงบประมาณ 2566 จากการประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ ได้นำผลการประเมินเสนอที่ประชุมคณะกรรมการประจำคณะฯ ทราบ เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนา/ปรับปรุง/ดำเนินการให้สอดคล้องกับความต้องการเพื่อเกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป ผลการประเมินและข้อเสนอแนะด้านบริการวิชาการ

          ดังนั้น จากการดำเนินโครงการบริการวิชาการในปีงบประมาณ 2565 พบว่า ชุมชนได้รับความรู้และพัฒนาทักษะในด้านๆ ที่สอดคล้องกับความต้องการ แต่ชุมชนมีข้อจำกัดในเรื่องของระยะเวลาในการเข้าร่วมอบรม ต้นทุนการต่อยอดผลิตภัณฑ์ และการส่งเสริมสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐอย่างต่อเนื่อง ซึ่งปัญหาข้อจำกัดดังกล่าวเกิดจากปัจจัยภายนอกและภายใน ที่ต้องหาทางแก้ไขและพัฒนาแนวทางส่งเสริมต่อไป

ผลคะแนนการประเมินตนเอง
ทำได้ (ข้อ) ได้คะแนน
5 5