ตัวบ่งชี้ที่ 3.1 ระบบและกลไกการบริการวิชาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ชุมชน หรือสังคม

ปีที่ประเมิน 2565
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : จริยา กฤติยาวรรณ , พุทธิพร พิธานธนานุกูล , มุขจรินทร์ สุทธิสัย , ภาวินี ศรีสันต์
ชนิดตัวบ่งชี้ : กระบวนการ
คำอธิบายตัวบ่งชี้

การบริการวิชาการแก่ท้องถิ่น ชุมชน และสังคมเป็นภารกิจหลักประการหนึ่งของมหาวิทยาลัย ซึ่งพึงมีระบบและกลไกในการบริการทางวิชาการแก่สังคมที่เป็นรูปธรรม กำหนดเป้าหมายในการให้บริการวิชาการที่ชัดเจนเพื่อเป็นกรอบในการจัดทำแผนดำเนินงานในการให้บริการวิชาการแก่สังคม มีคณะกรรมการติดตาม กำกับ สนับสนุน การปฏิบัติงานตามภารกิจด้านบริการทางวิชาการแก่สังคมของสถาบันให้สอดคล้องกับเป้าหมาย เพื่อพัฒนาความเข้มแข็งของท้องถิ่น ชุมชน หรือสังคม

เกณฑ์การประเมิน
คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 ข้อ มีการดำเนินการ 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ
เกณฑ์มาตรฐาน
ระดับ เกณฑ์มาตรฐาน ดำเนินการ
1 มีส่วนร่วมกับสถาบันและชุมชนในการกำหนดพื้นที่เป้าหมายในการพัฒนาท้องถิ่นที่สอดคล้องกับบริบท ปัญหา และความต้องการของท้องถิ่น ชุมชน หรือสังคมตามจุดเน้น จุดเด่นของสถาบัน ตามศาสตร์พระราชา หรือตามแนวพระราชดำริ
2 จัดทำแผนบริการวิชาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ชุมชน หรือสังคมตามจุดเน้น จุดเด่นของสถาบัน ตามศาสตร์พระราชา หรือตามแนวพระราชดำริและแผนการนำไปใช้ประโยชน์ ที่มีการกำหนดตัวบ่งชี้ความสำเร็จในระดับแผนและโครงการบริการวิชาการ และเสนอคณะกรรมการประจำคณะเพื่อพิจารณา
3 ดำเนินการตามแผนการบริการทางวิชาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ชุมชน หรือสังคมที่กำหนดไว้ตามข้อ 2 โดยร่วมมือกับหน่วยงานภายในหรือภายนอกสถาบัน อย่างน้อย 1 โครงการ
4 ประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ของแผนและโครงการบริการวิชาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ชุมชน หรือสังคมตามข้อ 2 และนำเสนอคณะกรรมการประจำคณะเพื่อพิจารณา
5 นำผลการประเมินตามข้อ 4 ไปปรับปรุงแผนบริการวิชาการในปีต่อไป
ผลการดำเนินงาน
ตนข้อเกณฑ์ผลการดำเนินงานหลักฐาน
1มีส่วนร่วมกับสถาบันและชุมชนในการกำหนดพื้นที่เป้าหมายในการพัฒนาท้องถิ่นที่สอดคล้องกับบริบท ปัญหา และความต้องการของท้องถิ่น ชุมชน หรือสังคมตามจุดเน้น จุดเด่นของสถาบัน ตามศาสตร์พระราชา หรือตามแนวพระราชดำริ

     คณะพยาบาลศาสตร์ มีส่วนร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษโดยการเข้าร่วมประชุมกับคณะกรรมการบริการวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษในการกำหนดพื้นที่เป้าหมายในการพัฒนาท้องถิ่นที่สอดคล้องกับบริบท ปัญหา และความต้องการของท้องถิ่น ชุมชน หรือสังคม ตามจุดเน้นของสถาบัน ตามศาสตร์พระราชา หรือตามแนวพระราชดำริ (3.1-1(1)) และมีส่วนร่วมกับชุมชนในการกำหนดพื้นที่เป้าหมายโดยมีการดำเนินการลงพื้นที่ สำรวจปัญหาและความต้องการของผู้ดูแลและผู้สูงอายุในพื้นที่ตำบลดวนใหญ่ อำเภอวังหิน จังหวัดศรีสะเกษ ในประเด็น ดังนี้

 1. กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพในผู้สูงอายุ

 2. กิจกรรมส่งเสริมอาชีพในผู้สูงอายุ (3.1-1(2))

2จัดทำแผนบริการวิชาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ชุมชน หรือสังคมตามจุดเน้น จุดเด่นของสถาบัน ตามศาสตร์พระราชา หรือตามแนวพระราชดำริและแผนการนำไปใช้ประโยชน์ ที่มีการกำหนดตัวบ่งชี้ความสำเร็จในระดับแผนและโครงการบริการวิชาการ และเสนอคณะกรรมการประจำคณะเพื่อพิจารณา

     คณะพยาบาลศาสตร์ ได้ดำเนินการจัดทำแผนบริการวิชาการ โดยการเชื่อมโยงแผนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2561-2565 (3.1-2(1)) มุ่งเน้นพัฒนาท้องถิ่น ชุมชนตามศาสตร์พระราชา หรือตามแนวพระราชดำริ ถ่ายทอดสู่แผนยุทธศาสตร์คณะพยาบาลศาสตร์ พ.ศ. 2565-2569 (3.1-2(2))  ตามประเด็นยุทธศาสตร์ ที่ 3 การบริการวิชาการแก่สังคมโดยบูรณาการการน้อมนำแนวพระราชดำริเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน เป้าประสงค์คือ พัฒนาการให้บริการวิชาการ และแหลงเรียนรู้ดานสุขภาพในท้องถิ่นให้เป็นแหล่งเรียนรู้ตามแนวพระราชดำริที่เป็นประโยชนตอชุมชนและสังคม มีกลยุทธ์ จำนวน 4 ข้อ ดังนี้

1) ส่งเสริมและสนับสนุนการให้บริการวิชาการที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนและสังคม

2) พัฒนาแหล่งเรียนรู้และให้บริการวิชาการด้านสุขภาพชุมชน

3) สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับองค์กรภายนอกในการให้บริการวิชาการ

4) พัฒนาความเชี่ยวชาญเฉพาะทางของอาจารย์พยาบาลสู่ความเป็นเลิศด้านบริการวิชาการ ซึ่งแผนบริการวิชาการ คณะพยาบาลศาสตร์  ปีการศึกษา 2565 (3.1-2(3)) มีวัตถุประสงค์ของแผน จำนวน 4 ข้อ ดังนี้

1) การให้บริการวิชาการที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน

2) เพื่อบูรณาการการบริการวิชาการเข้ากับการเรียนการสอน หรือการวิจัย หรือการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น

3) สร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านการให้บริการวิชาการ

4) สนับสนุนและส่งเสริมให้บุคลากรของคณะพยาบาลศาสตร์ มีส่วนร่วมในการให้บริการวิชาการแก่สังคม

     โดยมีตัวบ่งชี้ความสำเร็จของแผน และค่าเป้าหมาย จำนวน 6 ข้อ ดังนี้

ตัวชี้วัด

ค่า

เป้าหมาย

1. จำนวนกิจกรรม/โครงการบริการวิชาการที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนและสังคม

1 โครงการ

2. ความสำเร็จของกิจกรรม/โครงการบริการวิชาการ

ร้อยละ 100

3. จำนวนกิจกรรม/โครงการบริการวิชาการด้านสุขภาพในชุมชน

1 โครงการ

4. จำนวนกิจกรรม/โครงการบริการวิชาการที่บูรณาการกับการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น

1 โครงการ

5. จำนวนเครือข่ายความร่วมมือกับองค์กรภายนอกในการให้บริการวิชาการ

1 เครือข่าย

6. อาจารย์พยาบาลได้มีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมการบริการวิชาการ

ร้อยละ 100

      ทั้งนี้คณะพยาบาลศาสตร์ มีโครงการบริการวิชาการ ปีการศึกษา 2565 (3.1-2(4))  จำนวน   2 โครงการ คือ 1) โครงการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ และ 2) โครงการบริการวิชาการเทศกาลดอกลำดวนบาน สืบสานประเพณีสี่เผ่าไทศรีสะเกษ โดยมีวัตถุประสงค์และตัวบ่งชี้ความสำเร็จของโครงการ ดังนี้

  1. โครงการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ

วัตถุประสงค์

ตัวชี้วัดความสำเร็จ

1) เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการตรวจประเมินภาวะสุขภาพ และได้รับความรู้ในการสร้างเสริมสุขภาพทั้งด้านร่างกายและจิตใจ

2) เพื่อการบูรณาการการบริการวิชาการกับการทำนุบำรุงศิลปะวัฒนธรรมในการส่งเสริมสุขภาพและส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ

3) เพื่อส่งเสริมการสร้างคุณค่าของผู้สูงอายุที่สอดคล้องกับบริบทวัฒนธรรมท้องถิ่นและร่วมกันอนุรักษ์ สืบสานประเพณีสังคมไทย

4) พัฒนาศักยภาพของบุคลากรคณะพยาบาลศาสตร์ และบุคลากรจากเครือข่ายในชุมชนท้องถิ่น

 

เชิงปริมาณ

1. มีผู้เข้าร่วมโครงการ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

2. ผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจต่อการเข้าร่วมโครงการเฉลี่ยอยู่ในระดับดี (ไม่น้อยกว่าระดับ 3.51)

เชิงคุณภาพ

1. ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการได้รับการตรวจประเมินภาวะสุขภาพ และได้รับความรู้ในการสร้างเสริมสุขภาพทั้งด้านร่างกายและจิตใจ

2. ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการได้นำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาประยุกต์ในการจัดทำผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างอาชีพ

3. บุคลากรจากคณะพยาบาลศาสตร์มีการดำเนินงานร่วมกันกับชุมชนที่เป็นเครือข่าย

4. อาจารย์และบุคลากรจากคณะพยาบาลศาสตร์ ได้พัฒนาศักยภาพด้านการสร้างเสริมสุขภาวะของผู้สูงอายุร่วมกัน

  1. โครงการบริการวิชาการเทศกาลดอกลำดวนบาน สืบสานประเพณีสี่เผ่าไทศรีสะเกษ

วัตถุประสงค์

ตัวชี้วัดความสำเร็จ

1. เพื่อให้ประชาชนผู้มาร่วมงานได้รับการประเมินสุขภาพเบื้องต้น

2. เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการบริการวิชาการรร่วมกับมหาวิทยาลัย

3. เพื่อประชาสัมพันธ์คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

 

เชิงปริมาณ

1. มีผู้เข้าร่วมโครงการ ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80

2. ผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจต่อการเข้าร่วมโครงการเฉลี่ยอยู่ในระดับดีขึ้นไป (ไม่น้อยกว่าระดับ 3.51)

เชิงคุณภาพ

1. ประชาชนทั่วไปที่เข้าร่วมโครงการได้รับการประเมินสุขภาพเบื้องต้น

2. อาจารย์และบุคลากรคณะพยาบาลศาสตร์เข้าร่วมโครงการของมหาวิทยาลัย

3.คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษได้รับการประชาสัมพันธ์ต่อสาธารณชน

        คณะพยาบาลศาสตร์ มีการจัดทำแผนการนำไปใช้ประโยชน์(3.1-2(5)) จากการให้บริการวิชาการ ทั้งด้านผู้ใช้บริการ ด้านนักศึกษาและอาจารย์ และด้านท้องถิ่น ชุมชนหรือสังคม ดังนี้

แผนการใช้ประโยชน์

ด้านผู้ใช้บริการ

1.ผู้สูงอายุได้รับการตรวจคัดกรองภาวะสุขภาพ และเกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม

2. ผุ้สูงอายุความรู้ในการจัดทำผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพ (ลูกประคบ)ที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน และสามารถนำความรู้ดังกล่าวไปต่อยอดในการสร้างงาน สร้างอาชีพ เพิ่มรายได้

3. ผู้สูงอายุได้ร่วมกิจกรรม พบปะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน

ด้านนักศึกษาและอาจารย์

1. นักศึกษาและอาจารย์ได้นำองค์ความรู้ด้านสุขภาพมาประยุกต์ในกการส่งเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีแก่ผู้สูงอายุในชุมชน

2. นักศึกษาและอาจารย์ได้พัฒนาทักษะในการสร้างเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุทั้งด้านร่างกายและจิตใจ

3. นักศึกษาและอาจารย์ตระหนักถึงคุณค่าของการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุที่สอดคล้องกับบริบทวัฒนธรรมท้องถิ่น

4. นักศึกษาได้ฝึกทักษะการสร้างสัมพันธภาพกับผู้สูงอายุการปรับตัว การกล้าแสดงออก ในการทำงานร่วมกับชุมชนส่งเสริมให้เกิดมีความมั่นใจในตนเองมากยิ่งขึ้น 

5. อาจารย์และนักศึกษาได้ประชาสัมพันธ์คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษผ่านการให้บริการวิชาการแก่สังคมในการส่งเสริมสุขภาพร่วมกับมหาวิทยาลัย

ด้านท้องถิ่น ชุมชน หรือสังคม

1. องค์กรท้องถิ่น ชมุชนมีเครือข่ายความร่วมมือที่ดีระหว่างคณะพยาบาลศาสตร์กับองค์การบริหารส่วนตำบลดวนใหญ่ และ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดวนใหญ่ ในการสร้างเสริมสุขภาวะของผู้สูงอายุ

2. องค์กรท้องถิ่น ชมุชนได้รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุเพื่อให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดี

    และนำเสนอแผนบริการวิชาการต่อคณะกรรมการประจำคณะ เพื่อพิจารณาในการประชุม ครั้งที่ 2/2565 วันที่ 14 กันยายน 2565 (3.1-2(5))

3ดำเนินการตามแผนการบริการทางวิชาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ชุมชน หรือสังคมที่กำหนดไว้ตามข้อ 2 โดยร่วมมือกับหน่วยงานภายในหรือภายนอกสถาบัน อย่างน้อย 1 โครงการ

คณะพยาบาลศาสตร์ ได้ดำเนินการตามแผนบริการวิชาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ชุมชนหรือสังคมที่กำหนด จำนวน 1 โครงการ คือ โครงการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ โดยร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกสถาบัน คือ องค์การบริหารส่วนตำบลดวนใหญ่ โดยจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างคณะพยาบาลศาสตร์กับองค์การบริหารส่วนตำบล ดวนใหญ่ ลงนามในวันที่ 15 สิงหาคม 2565 (3.1-3(1)

4ประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ของแผนและโครงการบริการวิชาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ชุมชน หรือสังคมตามข้อ 2 และนำเสนอคณะกรรมการประจำคณะเพื่อพิจารณา

     คณะพยาบาลศาสตร์ ประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ของแผนบริการวิชาการ คณะพยาบาลศาสตร์ ปีการศึกษา 2565 (3.1-4(1)) ดังนี้

ตัวชี้วัด

ค่าเป้าหมาย

ผลดำเนินการ

 
 

1. จำนวนกิจกรรม/โครงการบริการวิชาการที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนและสังคม

1 โครงการ

1 โครงการ

 

2. ความสำเร็จของกิจกรรม/โครงการบริการวิชาการ

ร้อยละ 100

ร้อยละ 100

 

3. จำนวนกิจกรรม/โครงการบริการวิชาการด้านสุขภาพชุมชน

1 โครงการ

1 โครงการ

 

4. จำนวนกิจกรรม/โครงการบริการวิชาการที่บูรณาการกับการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น

1 โครงการ

1 โครงการ

 

5. จำนวนเครือข่ายความร่วมมือกับองค์กรภายนอกในการให้บริการวิชาการ

1 เครือข่าย

1 เครือข่าย

 

6. อาจารย์พยาบาลได้มีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมการบริการวิชาการ

ร้อยละ 100

ร้อยละ 100

 

     คณะพยาบาลศาสตร์ มีการประเมินความสำเร็จตามตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการบริการวิชาการ คณะพยาบาลศาสตร์ ปีการศึกษา 2565 จำนวน 2 โครงการ ดังนี้

  1. โครงการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ

ตัวชี้วัดความสำเร็จ

ผลการดำเนินงาน

เชิงปริมาณ

1. มีผู้เข้าร่วมโครงการ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

2. ผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจต่อการเข้าร่วมโครงการเฉลี่ยอยู่ในระดับดี (ไม่น้อยกว่าระดับ 3.51)

เชิงคุณภาพ

1. ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการได้รับการตรวจประเมินภาวะสุขภาพ และได้รับความรู้ในการสร้างเสริมสุขภาพทั้งด้านร่างกายและจิตใจ

2. ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการได้นำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาประยุกต์ในการจัดทำผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างอาชีพ

3. บุคลากรจากคณะพยาบาลศาสตร์มีการดำเนินงานร่วมกันกับชุมชนที่เป็นเครือข่าย

4. อาจารย์และบุคลากรจากคณะพยาบาลศาสตร์ ได้พัฒนาศักยภาพด้านการสร้างเสริมสุขภาวะของผู้สูงอายุร่วมกัน

เชิงปริมาณ

1. มีผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 90 คน คิดเป็น ร้อยละ 97.2

2. ค่าเฉลี่ยภาพรวม ความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการฯ อยู่ในระดับดี เท่ากับ 4.40 (S.D.=0.51)

เชิงคุณภาพ

1. ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการได้รับการตรวจคัดกรองภาวะสุขภาพและได้รับความรู้ในการสร้างเสริมสุขภาพแบบองค์รวม ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์

2. ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้ในการจัดทำผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพ (ลูกประคบ)โดยบูรณาการกับภูมิปัญญาท้องถิ่นจากสมุนไพรพื้นบ้านในชุมชน

3. มีบุคลากรจากคณะพยาบาลศาสตร์ องค์การบริหารส่วนตำบลดวนใหญ่เข้าร่วมกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุที่สอดคล้องกับบริบทวัฒนธรรมท้องถิ่น และร่วมกันอนุรักษ์และสืบสานประเพณีสังคมไทย

4. อาจารย์คณะพยาบาลศาสตร์เข้าร่วมโครงการด้วยความกระตือรือร้น มีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมด้านการสร้างเสริมสุขภาวะของผู้สูงอายุในทุกกิจกรรม

  1. โครงการบริการวิชาการเทศกาลดอกลำดวนบาน สืบสานประเพณีสี่เผ่าไทศรีสะเกษ

ตัวชี้วัดความสำเร็จ

ผลการดำเนินงาน

เชิงปริมาณ

1. มีผู้เข้าร่วมโครงการ ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80

2. ผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจต่อการเข้าร่วมโครงการเฉลี่ยอยู่ในระดับดีขึ้นไป (ไม่น้อยกว่าระดับ 3.51)

เชิงคุณภาพ

1. ประชาชนทั่วไปที่เข้าร่วมโครงการได้รับการประเมินสุขภาพเบื้องต้น

2. อาจารย์และบุคลากรคณะพยาบาลศาสตร์เข้าร่วมโครงการของมหาวิทยาลัย

3. คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษได้รับการประชาสัมพันธ์ต่อสาธารณชน

เชิงปริมาณ

1. มีผู้เข้าร่วมโครงการฯ รวม 56 คน คิดเป็น ร้อยละ 87.50

2. ความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการฯ ค่าเฉลี่ยภาพรวมระดับดี เท่ากับ 4.36 (S.D.=0.61)

เชิงคุณภาพ

1. ประชาชนทั่วไปที่เข้าร่วมโครงการได้รับการประเมินสุขภาพเบื้องต้นและได้รับคำแนะนำในการส่งเสริมการมีสุขภาวะที่ดีครบถ้วน ตรงประเด็นตามความต้องการและจำเป็นของแต่ละบุคคล และเข้าใจได้ง่าย

2. อาจารย์คณะพยาบาลศาสตร์เข้าร่วมโครงการของมหาวิทยาลัยด้วยความกระตือรือร้น มีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมในแต่ละขั้นตอนเป็นอย่างดี

3. คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษได้รับการประชาสัมพันธ์ต่อสาธารณชนระหว่างที่ดำเนินการตรวจร่างกาย และการให้คำแนะนำด้านสุขภาพ และจากป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ

    และได้นำเสนอผลการประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ของแผนและโครงการบริการวิชาการต่อคณะกรรมการประจำคณะ เพื่อพิจารณา ในการการประชุมคณะกรรมการประจำคณะ ครั้งที่ 2/2566 เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2566

5นำผลการประเมินตามข้อ 4 ไปปรับปรุงแผนบริการวิชาการในปีต่อไป

    คณะพยาบาลศาสตร์ ได้นำผลการประเมินแผนบริการวิชาการ ปีการศึกษา 2565 และข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประจำคณะ (3.1-5(1))  ซึ่งมีข้อเสนอแนะ ดังนี้

1. คณะพยาบาลศาสตร์ ควรร่วมมือกับองค์กรวิชาชีพเพื่อจัดบริการวิชาการสำหรับพยาบาลเพื่อพัฒนาวิชาชีพ

2. คณะพยาบาลศาสตร์ ควรวางแผนการบริการวิชาการโดยนำองค์ความรู้ด้านวิชาชีพเพื่อสร้างรายได้ให้องค์กร

   ทั้งนี้ คณะพยาบาลศาสตร์ ได้นำผลการประเมินโครงการและข้อเสนอแนะดังกล่าว รวมทั้ง ผลสำรวจความต้องการการบริการวิชาการของท้องถิ่น ชุมชน สังคม ไปปรับปรุงแผนและโครงการบริการวิชาการ คณะพยาบาลศาสตร์ ในปีการศึกษา 2566 (3.1-5(2))

ผลคะแนนการประเมินตนเอง
ทำได้ (ข้อ) ได้คะแนน
5 ข้อ 5 คะแนน