ตัวบ่งชี้ที่ 3.1 ระบบและกลไกการบริการวิชาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ชุมชน หรือสังคม

ปีที่ประเมิน 2562
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : วรางคณา ปุ๋ยสูงเนิน , ปรารถนา มะลิไทย , กิตติชัย ขันทอง , ประจวบ จันทร์หมื่น , สันติภาพ รัตนวรรณ , วิลาสินี รัตนวรรณ
ชนิดตัวบ่งชี้ : กระบวนการ
คำอธิบายตัวบ่งชี้

การบริการวิชาการแก่ท้องถิ่น ชุมชน และสังคมเป็นภารกิจหลักประการหนึ่งของมหาวิทยาลัย ซึ่งพึงมีระบบและกลไกในการบริการทางวิชาการแก่สังคมที่เป็นรูปธรรม กำหนดเป้าหมายในการให้บริการวิชาการที่ชัดเจนเพื่อเป็นกรอบในการจัดทำแผนดำเนินงานในการให้บริการวิชาการแก่สังคม มีคณะกรรมการติดตาม กำกับ สนับสนุน การปฏิบัติงานตามภารกิจด้านบริการทางวิชาการแก่สังคมของสถาบันให้สอดคล้องกับเป้าหมาย เพื่อพัฒนาความเข้มแข็งของท้องถิ่น ชุมชน หรือสังคม

เกณฑ์การประเมิน
คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 ข้อ มีการดำเนินการ 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ
เกณฑ์มาตรฐาน
ระดับ เกณฑ์มาตรฐาน ดำเนินการ
1 มีส่วนร่วมกับสถาบันและชุมชนในการกำหนดพื้นที่เป้าหมายในการพัฒนาท้องถิ่นที่สอดคล้องกับบริบท ปัญหา และความต้องการของท้องถิ่น ชุมชน หรือสังคมตามจุดเน้น จุดเด่นของสถาบัน ตามศาสตร์พระราชา หรือตามแนวพระราชดำริ
2 จัดทำแผนบริการวิชาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ชุมชน หรือสังคมตามจุดเน้น จุดเด่นของสถาบัน ตามศาสตร์พระราชา หรือตามแนวพระราชดำริและแผนการนำไปใช้ประโยชน์ ที่มีการกำหนดตัวบ่งชี้ความสำเร็จในระดับแผนและโครงการบริการวิชาการ และเสนอคณะกรรมการประจำคณะเพื่อพิจารณา
3 ดำเนินการตามแผนการบริการทางวิชาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ชุมชน หรือสังคมที่กำหนดไว้ตามข้อ 2 โดยร่วมมือกับหน่วยงานภายในหรือภายนอกสถาบัน อย่างน้อย 1 โครงการ
4 ประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ของแผนและโครงการบริการวิชาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ชุมชน หรือสังคมตามข้อ 2 และนำเสนอคณะกรรมการประจำคณะเพื่อพิจารณา
5 นำผลการประเมินตามข้อ 4 ไปปรับปรุงแผนบริการวิชาการในปีต่อไป
ผลการดำเนินงาน
ตนข้อเกณฑ์ผลการดำเนินงานหลักฐาน
1 มีส่วนร่วมกับสถาบันและชุมชนในการกำหนดพื้นที่เป้าหมายในการพัฒนาท้องถิ่นที่สอดคล้องกับบริบท ปัญหา และความต้องการของท้องถิ่น ชุมชน หรือสังคมตามจุดเน้น จุดเด่นของสถาบัน ตามศาสตร์พระราชา หรือตามแนวพระราชดำริ

    

         วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้มีการกำหนดเป้าหมายการบริการวิชาการ ในปีที่ 1  พ.ศ. 2561 วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง  ได้จัดกิจกรรมบริการวิชาการที่พื้นที่ตำบลหนองครก พื้นที่บ้านหนองสวงและบ้านหนองม่วง โดยมีวัตถุประสงค์ศึกษาชุมชน เพื่อวางแผนพัฒนาหมู่บ้าน  โดยได้รวบรวมทรัพยากรป่าไม้ ภูมิปัญญา อาชีพ เพื่อวางแผนพัฒนาหมู่บ้านโดยใช้ศาสตร์พระราชา โดยในการจัดกิจกรรมมีการวางแผนพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนโดยใช้ศาสตร์พระราชา จากนั้นในปีที่ 2  พ.ศ. 2562 วิทยาลัยกฎหมายและการปกครองได้จัดกิจกรรมต่อเนื่อง โดยวันจัดกิจกรรมพัฒนาอาชีพและให้ความรู้เรื่องการจัดการขยะเพื่อการท่องเที่ยว มีกิจรรมอบรมให้ความรู้ด้านการจัดการขยะ และความรู้ในการทำน้ำหอมและการสร้างลายผ้า นอกจากนี้  วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ยังจัดกิจกรรมต่อเนื่องในพื้นที่บ้านหนองสวงและบ้านหนองม่วง มีกิจกรรมมัคคุเทศน์น้อย อบรมให้เด็กๆฝึกการเก็บข้อมูล การบรรยายบริบทชุมชน ให้นักท่องเที่ยวทราบ มีกิจกรรมการเดินป่าจากบ้านหนองสวงถึงบ้านหนองม่วง ปีที่ 3  พ.ศ. 2563 วิทยาลัยกฎหมายยังคงใช้พื้นที่ตำบลบ้านหนองสวง และบ้านหนองม่วง และเน้นการจัดบริการวิชาการด้านการท่องเที่ยวทางน้ำห้วยสำราญที่บ้านหนองม่วง มีกิจกรรมบรรยายเรื่องการจัดการขยะในแหล่งท่องเที่ยวและการบรรยายเรื่องการจัดกานท่องเที่ยวโดยชุมชน 

          โดยการสำรวจปัญหาและความต้องการของชุมชน ท้องถิ่น ที่สะท้อนความต้องการให้วิทยาลัยกฎหมายและการปกครองเข้าไปบริการวิชาการ
แก่สังคม โดยประชุมหัวหน้าชุมชนเพื่อสะท้อนปัญหาและความต้องการใน
การรับบริการวิชาการแก่สังคม ((3.1 - 1(1))

           วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง มีการแต่งตั้งคณะกรรมการผู้รับผิดชอบงานด้านประกันคุณภาพการศึกษาภายในตามพันธกิจด้านบริการวิชาการแก่สังคมระดับคณะ ประจำปีการศึกษา พ.ศ.2562 (3.1.1(2)) เพื่อทำหน้าที่ในการจัดทำแผนบริการวิชาการที่สอดคล้องกับปัญหาและความต้องการของชุมชน เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชนอย่างแท้จริง (3.1 - 1(3))

2 จัดทำแผนบริการวิชาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ชุมชน หรือสังคมตามจุดเน้น จุดเด่นของสถาบัน ตามศาสตร์พระราชา หรือตามแนวพระราชดำริและแผนการนำไปใช้ประโยชน์ ที่มีการกำหนดตัวบ่งชี้ความสำเร็จในระดับแผนและโครงการบริการวิชาการ และเสนอคณะกรรมการประจำคณะเพื่อพิจารณา

             วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง มีการแต่งตั้งผู้รับผิดชอบงานคือ รองคณบดี ผู้ช่วยคณบดี ตัวแทนอาจารย์แต่ละสาขาวิชา และเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานบริการวิชาการ เพื่อทำหน้าที่จัดทำแผนการบริการวิชาการแก่สังคมที่มีความสอดคล้องกับปัญหาและความต้องการของชุมชน (3.1 - 2(1))  และจัดทำแผนการนำไปใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการเพื่อให้เกิดผลต่อการพัฒนานักศึกษา ชุมชนหรือสังคม ที่มีการกำหนดตัวบ่งชี้ความสำเร็จของแผน ซึ่งในแผนปฏิบัติการปีงบประมาณ  2563 มีจำนวน 9 โครงการ โดยทั้ง 9 โครงการ (3.1 - 2(2))   และเสนอที่ประชุมคณะกรรมการประจำวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ครั้งที่1/2563 วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2563 วาระที่ 4.4 พิจารณาให้เห็นชอบและอนุมัติให้ดำเนินการจัดโครงการบริการวิชาการแก่สังคมตามแผนที่กำหนดไว้ (3.1 - 2(3))

3 ดำเนินการตามแผนการบริการทางวิชาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ชุมชน หรือสังคมที่กำหนดไว้ตามข้อ 2 โดยร่วมมือกับหน่วยงานภายในหรือภายนอกสถาบัน อย่างน้อย 1 โครงการ

       ในปีการศึกษา 2562 วิทยาลัยกฎหมายและการปกครองได้จัดทำโครงการบริการวิชาการแก่สังคมตามแผนที่กำหนดไว้ โดยร่วมกับหน่วยงานภายนอกและภายใน จำนวน  5 โครงการ (3.1-3-(1)) ดังนี้

       1. โครงการสืบสานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ  (3.1-3-(2))

       2. โครงการบริการวิชาการศาสตร์พระราชา   (3.1-3-(3))

       3. โครงการบริการวิชาการติวสอบนายสิบตำรวจ (3.1-3-(4))

       4. โครงการบริการวิชาการสู่ชุมชนโรงเรียนกฎหมายเคลื่อนที่ (3.1-3-(8))

       5. โครงการบัณฑิตจิตอาสา ส่งเสริมวิชาการ ธรรมาภิบาล สร้างความรู้ควบคู่คุณธรรม: ธรรมาภิบาลสัญจร (3.1-3-(9))

       และวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ดำเนินงานโครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน ประจำปีงบประมาณ 2563 จำนวน 3 โครงการ ได้แก่

      1. โครงการส่งเสริมความรักความสามัคคี มีวินัยเข้าใจในสิทธิ์หน้าที่ของตนเองและผู้อื่นภายใต้พื้นฐานของสังคมประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข จำนวน 10 พื้นที่ (3.1-3-(5))

      2. โครงการส่งเสริมภาวะชุมชนเพิ่มดัชนีความสุขเพื่อให้เกิดสุข(3.1-3-6))

      3. โครงการยกระดับรายได้ครัวเรือนในชุมชนท่องเที่ยววิถีลำน้ำมูลและห้วยสำราญ (3.1-3-7))

4 ประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ของแผนและโครงการบริการวิชาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ชุมชน หรือสังคมตามข้อ 2 และนำเสนอคณะกรรมการประจำคณะเพื่อพิจารณา

        คณะกรรมการผู้รับผิดชอบงานด้านประกันคุณภาพการศึกษาภายในตามพันธกิจด้านบริการวิชาการแก่สังคมระดับคณะ ประจำปีการศึกษา พ.ศ.2562 ได้ดำเนินงานตามแผนบริการวิชาการแก่สังคม ในปีงบประมาณ  2563 ประจำปีการศึกษา พ.ศ.2562 เมื่อการดำเนินโครงการสิ้นสุดลง คณะกรรมการผู้รับผิดชอบงานด้านประกันคุณภาพการศึกษาภายในตามพันธกิจด้านบริการวิชาการแก่สังคมระดับคณะได้ประชุม (3.1-4(1)) เพื่อประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ของแผนและโครงการ ผลการดำเนินงานของโครงการในแผนบริการวิชาการแก่สังคม พบว่า มีโครงการที่ดำเนินงานทั้งหมด 5 โครงการ คณะกรรมการบริการวิชาการแก่สังคมนำผลการประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ของแผนและโครงการเข้าที่ประชุมคณะกรรมการประจำวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ครั้งที่4/2563 วันที่ 5 สิงหาคม 2563 เพื่อพิจารณาผลการประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ของแผนฯ และโครงการบริการวิชาการแก่สังคม (3.1-4(2)) , (3.1-4(3))

5 นำผลการประเมินตามข้อ 4 ไปปรับปรุงแผนบริการวิชาการในปีต่อไป

        คณะกรรมการผู้รับผิดชอบงานด้านประกันคุณภาพการศึกษาภายในตามพันธกิจด้านบริการวิชาการแก่สังคมระดับคณะ ประจำปีการศึกษา พ.ศ.2562 ได้นำรายงานผลการประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ของแผนฯ และโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีการศึกษา พ.ศ.2562 ที่นำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการประจำวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง เพื่อพิจารณาและที่ประชุมคณะกรรมการประจำวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้ให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม   ซึ่งทางคณะกรรมการผู้รับผิดชอบงานด้านประกันคุณภาพการศึกษาภายในตามพันธกิจด้านบริการวิชาการแก่สังคมระดับคณะ จะได้นำข้อเสนอแนะมาแก้ไข ปรับปรุง (3.1 - 5(1)), (3.1 - 5(2)) และพัฒนาแผนการบริการวิชาการวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ประจำปีการศึกษา พ.ศ.2563 (3.1-5(3)

ผลคะแนนการประเมินตนเอง
ทำได้ (ข้อ) ได้คะแนน
5 5