ตัวบ่งชี้ที่ 3.2 การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา

ปีที่ประเมิน 2563
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : ณัฐวัฒน์ บัวทอง , ธัญยธรณ์ พิพัฒนมงคลชัย
ชนิดตัวบ่งชี้ : กระบวนการ
คำอธิบายตัวบ่งชี้

ในช่วงปีแรกของการศึกษา ต้องมีกลไกในการพัฒนาความรู้พื้นฐานหรือการเตรียมความพร้อมทางการเรียนแก่นักศึกษา เพื่อให้มีความสามารถในการเรียนรู้ระดับอุดมศึกษาได้อย่างมีความสุข อัตราการลาออกกลางคันน้อย ในระหว่างการศึกษามีการจัดกิจกรรมการพัฒนาความรู้ความสามารถในรูปแบบต่างๆ ทั้งกิจกรรมในห้องเรียนและนอกห้องเรียน มีกิจกรรมเสริมสร้างความเป็นพลเมืองดีที่มีจิตสำนึกสาธารณะ มีการวางระบบการดูแลให้คำปรึกษาจากอาจารย์ที่ปรึกษาวิชาการ (ระดับปริญญาตรี โท เอก) ระบบการป้องกันหรือการบริหารจัดการความเสี่ยงของนักศึกษา เพื่อให้สามารถสำเร็จการศึกษาได้ตามระยะเวลาที่หลักสูตรกำหนด รวมทั้งการส่งเสริมการเผยแพร่ผลงานวิชาการของนักศึกษา การสร้างโอกาสการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพนักศึกษาและทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ให้ได้มาตรฐานสากล

ในการรายงานการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้นี้ ให้อธิบายกระบวนการหรือแสดงผลการดำเนินงานอย่างน้อยให้ครอบคลุมประเด็นต่อไปนี้

- การควบคุมการดูแลการให้คำปรึกษาวิชาการและแนะแนวแก่นักศึกษาปริญญาตรี

- การควบคุมการดูแลการให้คำปรึกษาวิทยานิพนธ์ แก่บัณฑิตศึกษา

- การพัฒนาศักยภาพนักศึกษาและการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

ในการประเมินเพื่อให้ทราบว่าอยู่ในระดับคะแนนใด ให้พิจารณาในภาพรวมของผลการดำเนินงานทั้งหมด ที่ทำให้นักศึกษาเรียนอย่างมีความสุขและมีทักษะที่จำเป็นต่อการประกอบอาชีพในอนาคต

เกณฑ์การประเมิน
0 1 2 3 4 5

• ไม่มีระบบ

• ไม่มีกลไก

• ไม่มีแนวคิดในการกำกับติดตามและปรับปรุง

• ไม่มีข้อมูลหลักฐาน

• มีระบบมีกลไก

• ไม่มีการนำระบบกลไกไปสู่การปฏิบัติ/ดำเนินงาน

• มีระบบมีกลไก

• มีการนำระบบกลไกไปสู่การปฏิบัติ/ดำเนินงาน

• มีการประเมินกระบวนการ

• ไม่มีการปรับปรุง/พัฒนากระบวนการ

• มีระบบมีกลไก

• มีการนำระบบกลไกไปสู่การปฏิบัติ/ดำเนินงาน

• มีการประเมินกระบวนการ

• มีการปรับปรุง/พัฒนากระบวนการจากผลการประเมิน

• มีระบบมีกลไก

• มีการนำระบบกลไกไปสู่การปฏิบัติ/ดำเนินงาน

• มีการประเมินกระบวนการ

• มีการปรับปรุง/พัฒนากระบวนการจากผลการประเมิน

• มีผลจากการปรับปรุงเห็นชัดเจนเป็นรูปธรรม

• มีระบบ มีกลไก

• มีการนำระบบกลไกไปสู่การปฏิบัติ/ดำเนินงาน

• มีการประเมินกระบวนการ

• มีการปรับปรุง/พัฒนา กระบวนการจากผลการประเมิน

• มีผลจากการปรับปรุงเห็นชัดเจนเป็นรูปธรรม

• มีแนวทางปฏิบัติที่ดี โดย มีหลักฐานเชิงประจักษ์ ยืนยัน และกรรมการ ผู้ตรวจประเมิน สามารถ ให้เหตุผลอธิบายการ เป็นแนวปฏิบัติที่ดีได้ ชัดเจน

ผลการดำเนินงาน

การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา

3.2.1 การควบคุมดูแลให้คำปรึกษาวิชาการและแนะแนวแก่นักศึกษาปริญญาตรี

ระบบและกลไกการให้คำปรึกษา

   สำหรับระบบและกลไกการให้คำปรึกษาจากเดิมปีการศึกษา 2562 เป็นระบบและกลไกที่อ้างอิงจากระดับคณะ เมื่อหลักสูตรได้ผ่านการประเมินคุณภาพการศึกษาแล้ว พบว่าควรมีการปรับระบบและกลไก
ซึ่งจัดทำขึ้นโดยหลักสูตรเอง ดังนี้

 

ระบบ

กลไก

1. หลักสูตร มีการประชุมเพื่อพิจารณาการกำหนดอาจารย์ที่ปรึกษาประจำหมู่เรียน

อาจารย์หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต

2. ส่งรายชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อจัดทำคำสั่งแต่งตั้งไปยังวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง

ประธานหลักสูตรดำเนินการ

3. หลักสูตรชี้แจงนวปฏิบัติของอาจารย์ที่ปรึกษา

ประธานหลักสูตรดำเนินการชี้แจงแนวปฏิบัติของอาจารย์ที่ปรึกษา

4.อาจารย์ที่ปรึกษาจัดเก็บข้อมูลนักศึกษาในที่ปรึกษา

อาจารย์ที่ปรึกษาจัดเก็ยข้อมูลนักศึกษาในที่ปรึกษา

5. ดำเนินการให้คำปรึกษาตลอดปีการศึกษา 2563

อาจารย์ที่ปรึกษาให้คำปรึกษาพร้อมทั้งบันทึกการให้ปรึกษา สรุปและประเมินผลการให้ปรึกษา

6. หลักสูตรทบทวนการปฏิบัติหน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษา

อาจารย์ประจำหลักสูตรพิจารณาเพื่อทบทวนผลการปฏิบัติหน้าที่อาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อนำไปสู่กระบวนการปรับปรุงประสิทธิภาพการทำหน้าที่อาจารย์ที่ปรึกษาให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น

 

มีการนำระบบกลไกไปสู่การปฏิบัติ/ดำเนินงานดังนี้

  • การวางแผนการดำเนินงาน (Plan) หลักสูตรดำเนินงานตามระบบและกลไกข้างต้น โดยเริ่มจากขั้นตอนแรกของระบบและกลไก คือ การวางแผน ดังนี้

   (1) ทบทวนเกณฑ์พิจารณาแต่งตั้งอาจารย์ที่ปรึกษา การจัดระบบการดูแลนักศึกษาของอาจารย์ในหลักสูตรเพื่อทำหน้าที่อาจารย์ที่ปรึกษาในปี 2562 ที่ผ่านมา ใช้ระบบหมุนเวียน กล่าวคือ อาจารย์ทุกคนต้องมีนักศึกษาอย่างน้อย 1 หมู่เรียนอยู่ในความดูแลเป็นที่ปรึกษาหลัก หากอาจารย์คนใดที่นักศึกษาในความดูแลใกล้สำเร็จการศึกษา จะต้องพิจารณาอาจารย์ท่านนั้นก่อน เนื่องจากท่านที่เหลือยังมีนักศึกษาอยู่ในระบบ สำหรับการใช้ระบบการจัดอาจารย์ที่ปรึกษาในลักษณะนี้จากที่อาจารย์ในหลักสูตรหารือกันแล้วมีมติให้ใช้ระบบหมุนเวียนต่อไป ดังนั้น ในปีการศึกษา 2563 จึงใช้ระบบเดิม

   (2) ทบทวนความพึงพอใจของนักศึกษาและอาจารย์ที่ปรึกษา ในปีการศึกษา 2562 ที่ผ่านมา หลักสูตรได้จัดทำแบบประเมินการให้คำปรึกษา เพื่อสอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่ออาจารย์ที่ปรึกษา ผลการประเมินอยู่ใจระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.38) เนื่องจากอาจารย์ในหลักสูตรให้ความใส่ใจแก่นักศึกษา และพยายามเพิ่มช่องทางการการให้คำปรึกษา

   (3) ทบทวนแนวปฏิบัติของอาจารย์ที่ปรึกษา ในปีการศึกษา 2562 ที่ผ่านมา ใช้แนวปฏิบัติอ้างอิงจากคู่มืออาจารย์ที่ปรึกษาของคณะฯ
ซึ่งข้อมูลบางอย่างไม่เป็นปัจจุบัน ดังนั้น ในปี 2563 หลักสูตรจึงจะปรับปรุงแนวปฏิบัติให้เป็นปัจจุบัน และเพิ่มแนวปฏิบัติในการจัดการความเสี่ยงด้านนักศึกษา เช่น นักเรียนศึกษามีผลการเรียนต่ำ มีความเสี่ยงที่จะออกกลางคัน หรือสำเร็จการศึกษาช้า เป็นต้น

   (4) ทบทวนเนื้อหา กิจกรรม และระยะเวลาในการให้คำปรึกษาในปี 2562 ที่ผ่านมา จากการสัมภาษณ์นักศึกษาและผลการประเมินความพึงพอใจในการให้คำปรึกษาพบว่า อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.38) อาจารย์ที่ปรึกษาสามารถให้คำปรึกษาและช่วยหาวิธีการแก้ไขปัญหาได้ดีในเรื่องต่างๆ เช่น การลงทะเบียนเรียน การปรับตัวหากพบว่าผลการเรียนต่ำ ความเสี่ยงที่จะออกกลางคัน การสำเร็จการศึกษาล่าช้า การแก้ I แก้ E เป็นต้น

   (5) ทบทวนการมีส่วนร่วมของอาจารย์ในหลักสูตร ในปีการศึกษา 2562 ที่ผ่านมา พบว่าอาจารย์ในหลักสูตรมีส่วนร่วมในการให้คำปรึกษาแก่นักศึกษาเป็นอย่างดี

  • การนำไปสู่การปฏิบัติ (Do)

   ประธานสาขาวิชานิติศาสตร์ ได้มีการนำผลจากการประชุมร่วมกับคณะมาแจ้งรายละเอียดบทบาทและหน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษาให้อาจารย์ประจำหลักสูตร อาทิ การพัฒนาศักยภาพทางการเรียน การลงทะเบียนเรียน การแก้ไขผลการเรียน I และผลการเรียน E การใช้ชีวิตที่มีคุณภาพการร่วมกิจกรรม การแต่งกาย การปรับตัว การปฏิบัติตามกฎระเบียบ และการพัฒนาบุคลิกภาพ โดยกำหนดกิจกรรมพบอาจารย์ที่ปรึกษาทุกภาคการศึกษาในคาบโฮมรูม โดยอาจารย์จะได้รับ “คู่มืออาจารย์ที่ปรึกษา” จากคณะฯ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพบปะนักศึกษาในคาบโฮมรูม นอกจากนี้ ทางมหาวิทยาลัยยังได้มี “คู่มือนักศึกษา” ให้กับคณาจารย์ทุกท่าน ใช้อ่านประกอบการให้คำปรึกษาในเรื่องต่างๆ ข้างต้น

   ผลจากการทบทวนด้านต่างๆ ในขั้นตอนการวางแผนดำเนินงานการให้คำปรึกษาของหลักสูตร ได้ดำเนินการตามแผนที่วางไว้ คือ คณาจารย์ในหลักสูตรเพิ่มช่องทางการให้คำปรึกษาผ่านทางไลน์กลุ่มห้องไลน์และเฟซบุ๊คส่วนตัว ทั้งในเวลาและนอกเวลาราชการได้
และจัดให้มีอาจารย์ที่ปรึกษาร่วมสำหรับนักศึกษาแต่ละหมู่เรียน
เช่น ผศ.ว่าที่ร้อยตรี ดร.ณัฐวัฒน์ บัวทอง เป็นที่ปรึกษารวมกับ ผศ.ทรณ์ สิทธิศักดิ์ เป็นต้น  

  • การติดตามและตรวจสอบผลการดำเนินงาน (Check)

   หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต ได้ดำเนินการกำกับติดตามการดำเนินงานการให้คำปรึกษาจากการดำเนินงานที่ผ่านมาพบว่า นักศึกษาสามารถขอคำปรึกษาอาจารย์ได้สะดวกขึ้นเนื่องจากมีช่องทางการให้คำปรึกษาหลายช่องทางและสามารถปรึกษาทั้งในและนอกเวลาราชการได้ผ่านทาง Social Network

  • การทบทวน/ปรับปรุง (Act)

   หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต ได้มีการนำผลการให้คำปรึกษาแก่นักศึกษา มาตรวจสอบ  ทบทวนเพื่อปรับปรุงแก้ไข และนำไปใช้ในครั้งต่อไปดังนี้

         (1) ความพึงพอใจของนักศึกษาและอาจารย์ : นักศึกษามีความพึงพอใจในระดับดี

         (2) ทบทวนเนื้อหา กิจกรรม : การดำเนินการให้คำปรึกษามีความเหมาะสม

         (3) ระยะเวลาให้คำปรึกษา : นักศึกษาสามารถเข้าพบอาจารย์ที่ปรึกษาผ่านทางช่องทางต่างๆได้

         (4) การมีส่วนร่วมของอาจารย์ประจำหลักสูตร : อาจารย์ในสาขาวิชาสามารถให้คำปรึกษาได้ทุกคน

  • การประเมินกระบวนการ

  จากการดำเนินขั้นตอนการให้คำปรึกษา ในปีการศึกษา 2563 หลักสูตรฯ ได้ดำเนินการประเมินกระบวนการดังนี้

          (1) คณะจัดประชุมชี้แจงนโยบายแนวทางในการให้คำปรึกษาด้านวิชาการและแนะแนวแก่นักศึกษา : มีความเหมาะสม

          (2) กำหนดตารางเวลาให้คำปรึกษาและช่องทางการให้คำปรึกษา : มีความเหมาะสม

          (3) อาจารย์ให้คำปรึกษา : มีความเหมาะสม

          (4) จัดทำบันทึกการปฏิบัติงานอาจารย์ที่ปรึกษา : มีความเหมาะสม

 

          (5) นักศึกษาประเมินอาจารย์ : มีความเหมาะสม

          (6) สาขาวิชาประเมินและสรุปผลการให้คำปรึกษา : มีความเหมาะสม

          (7) สาขาวิชาพิจารณาและปรับปรุงกระบวนการให้คำปรึกษา : มีความเหมาะสม

   ซึ่งผลการประเมินอยู่ใจระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.38) ซึ่งมีผลความพึงพอใจเพิ่มขึ้น เนื่องจากได้มีการเพิ่มช่องทางการให้คำปรึกษาหลายช่องทางไม่ว่าจะเป็นการเข้าพบที่ห้องพักอาจารย์ประจำสาขาตามตารางการให้คำปรึกษา ทางโทรศัพท์ ทางเฟซบุ๊ก ทางไลน์กลุ่ม อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่พบเพิ่มเติมคือหากเป็นการขอคำปรึกษานอกเวลาราชการ นักศึกษาติดต่ออาจารย์ที่ปรึกษาไม่ได้ ดังนั้น คณาจารย์ในหลักสูตรจึงควรให้คำปรึกษาทาง Social Network นอกเวลาราชการได้ และควรมีอาจารย์ที่ปรึกษาร่วม

  • การปรับปรุง/พัฒนากระบวนการจากผลการประเมิน

   จากผลการประเมินในข้อ 3 กระบวนการมีความเหมาะสม จึงไม่ได้มีการปรับปรุงกระบวนการ ยังคงดำเนินการตามกระบวนการเดิม ดังนี้

   (1)  คณะฯ จัดประชุมชี้แจงนโยบายและแนวทางในการให้คำปรึกษาด้านวิชาการและแนะแนวแก่นักศึกษา

   (2) สาขาวิชาทำตารางการให้คำปรึกษาและช่องทางให้คำปรึกษานำเสนอคณะฯ

   (3)  อาจารย์ให้คำปรึกษาแก่นักศึกษา

   (4)  อาจารย์ที่ปรึกษาจัดทำบันทึกการปฏิบัติงานของอาจารย์ที่ปรึกษา

   (5)  นักศึกษาประเมินอาจารย์

   (6)  สาขาวิชาประเมินและสรุปผลการให้คำปรึกษา

   (7)  สาขาวิชาพิจารณาและปรับปรุงกระบวนการให้คำปรึกษา

  • มีการปรับปรุงเห็นชัดเจนเป็นรูปธรรม

  ผลการดำเนินงานในปีการศึกษา 2563 มีดังนี้

   1) นักศึกษาสร้างกลุ่มใน Facebook และ LINE สำหรับนักศึกษาแต่ละหมู่เรียนเพื่อเป็นช่องทางการขอคำปรึกษา

   2) อาจารย์ที่ปรึกษาเปิดโอกาสให้นักศึกษาสามารถปรึกษาได้ในเวลาและนอกเวลาราชการ โดยอาจารย์ที่ปรึกษาให้นักศึกษาแอดไลน์และเบอร์โทรส่วนตัวเพื่อเป็นช่องทางในการให้คำปรึกษา

   3) อาจารย์ที่ปรึกษาเปิดโอกาสให้นักศึกษาสามารถปรึกษาได้นอกเวลาราชการผ่านช่องทาง facebook ส่วนตัวของอาจารย์, facebook กลุ่มหมู่เรียน, LINE ส่วนตัวของอาจารย์, LINE กลุ่มนักศึกษา ทางโทรศัพท์มือถือ

   4) มีบอร์ดประชาสัมพันธ์หน้าห้องพักอาจารย์เพื่อแจ้งข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมนอกเหนือจาก Facebook และ LINE

   โดยผลการวิเคราะห์ข้อมูลแบบประเมินอาจารย์ที่ปรึกษาในปีการศึกษา 2563 ประกอบด้วย 5 ประเด็น ที่ค่าเฉลี่ย 4.38 อยู่ในระดับมาก    

3.2.2 การส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพนักศึกษาตามแนวการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

ระบบและกลไก

     ในปีการศึกษา 2563 หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต
ได้มีการประชุมในประเด็นการพัฒนาศักยภาพนักศึกษาและการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยได้มีการกำหนดผู้รับผิดชอบในการดำเนินนงานอย่างเป็นระบบ ดังนี้

  • หลักสูตรฯ ได้มีการสำรวจความต้องการของนักศึกษาในการจัดกิจกรรม
  • หลักสูตรฯ ร่วมกันจัดทำแผนกิจกรรมการพัฒนาศักยภาพนักศึกษาตามแนวการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
  • หลักสูตรฯ ดำเนินการจัดกิจกรรมตามแผนการพัฒนานักศึกษาตามแนวการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
  • หลักสูตรฯ ประชุมคณะกรรมการบริหารหลักสูตรเพื่อสรุป และทบทวนผลการจัดกิจกรรมเพื่อวางแผนในปีการศึกษาถัดไป

การนำไปปฏิบัติ

   หลักสูตรฯ ได้มีการประชุมคณะกรรมการบริหารหลักสูตรเพื่อพิจารณาเกี่ยวกับการพัฒนานักศึกษาและทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ประจำปีการศึกษา 2563 ซึ่งได้มีการสำรวจความต้องการของนักศึกษาในการพัฒนานักศึกษาและทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 จากนั้นได้มีการรายงานต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารหลักสูตร ทั้งนี้ได้มีการมอบหมายให้  ผศ.ปรารถนา มะลิไทย และ ผศ. ดร.อลงกต แผนสนิท เป็นผู้รับผิดชอบ และได้มีการดำเนินการสำรวจความต้องการในการพัฒนาทักษะดังกล่าว ซึ่งผลจากการสำรวจพบว่า นักศึกษาต้องการพัฒนาทักษะด้านเสริมสร้างทักษะการใช้กลยุทธ์ทางด้านการบริหารงานภาครัฐ ด้านการพัฒนาทักษะชีวิตและอาชีพ และทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูล โดยหลักสูตรได้รับความอนุเคราะห์จากที่ทำการปกครองอำเภออุทุมพรพิสัย โดยนายสุกิจ เหลืองสกุลไทย นายอำเภออุทุมพรพิสัย ได้มาบรรยายให้ความรู้สำหรับนักศึกษาเกี่ยวกับประเด็น
“กลยุทธ์ทางด้านการบริหารงานภาครัฐ ทักษะการใช้ชีวิตหลังการสำเร็จการศึกษา ทักษะการเข้าสังคม นอกจากนี้ ผศ.ดร. อลงกต
แผนสนิท ยังได้มีการให้ความรู้นักศึกษาเกี่ยวกับสารสนเทศสำหรับนักบริหาร” ซึ่งจะเป็นการเรียนรู้เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสืบค้นข้อมูล รวมทั้งการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในหน่วยงานภาครัฐ เช่น
GFMIS เป็นต้น

  นอกจากนี้หลักสูตรฯ ได้มีการประชุมคณะกรรมการบริหารหลักสูตรเกี่ยวกับประเด็น “โครงการพัฒนาศักยภาพนักศึกษาและการศึกษาดูงาน ประจำปีการศึกษา 2563” จากการได้สอบถามความต้องการของนักศึกษาเกี่ยวกับสถานประกอบการที่ต้องการไปศึกษาดูงานพบว่า นักศึกษามีความต้องการไปศึกษาดูงาน บริษัท ปตท. จำกัด (โรงแยกก๊าซ) จังหวัดระยอง และโรงไฟฟ้าลำตะคองชลภาวัฒนา จังหวัดนครราชสีมา โดยได้ดำเนินการติดต่อเพื่อขอความอนุเคราะห์ศึกษาดูงานระหว่างวันที่ 19 -21 ธันวาคม 2563 แต่เนื่องจากสถานการณ์โรคระบาดไวรัสโคโรนา (COVID-19)ทำให้หลักสูตรฯ ไม่สามารถนำนักศึกษาไปศึกษาดูงานได้ จึงได้มีการจัดกิจกรรมเพื่อการพัฒนาศักยภาพนักศึกษาด้านการการสอนออนไลน์ด้วย Google Classroom และ Zoom

การนำทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนในรายวิชา

   ในปีการศึกษา 2563 หลักสูตรฯ ได้มีการนำทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ซึ่งประกอบด้วย วิชาหลัก ทักษะชีวิตและอาชีพ ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม และทักษะสารเสนเทศสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนดังนี้

 

รายวิชา/โครงการ

ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

ผลที่เกิดกับนักศึกษา

 

วิชาสถิติเบื้องต้น

1. วิชาหลัก

2. ทักษะชีวิตและอาชีพ

3. ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม

4. ทักษะสารเสนเทศสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ

เกิดทักษะการคิดวิเคราะห์ การสังเคราะห์ข้อมูล การแปรผลข้อมูล และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่สำคัญต่อการปฏิบัติงาน ระบบงานซอฟต์แวร์ของสำนักงาน

วิชาสารสนเทศสำหรับการบริหาร

1. วิชาหลัก

2. ทักษะชีวิตและอาชีพ

3. ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม

4. ทักษะสารเสนเทศสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ

เกิดทักษะการคิดวิเคราะห์ การสังเคราะห์ข้อมูล การแปรผลข้อมูล และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่สำคัญต่อการปฏิบัติงาน ระบบงานซอฟต์แวร์ของสำนักงาน

 

การนำทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนในการทำกิจกรรมหรือโครงการต่างๆ

 

รายวิชา/โครงการ

ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

ผลที่เกิดกับนักศึกษา

 

1. โครงการสัปดาห์วิชาการห้องสมุด

1. ทักษะชีวิตและอาชีพ

2. ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม

3. ทักษะสารเสนเทศสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ

- หลักการสืบค้นหนังสือตามหมวดหมู่
- การแยกประเภทหนังสือตามรหัส

2. โครงการ
ธรรมาภิบาลสัญจร

1. ทักษะชีวิตและอาชีพ

2. ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม

3. ทักษะสารเสนเทศสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ

- ทำให้เกิดการคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหา และการตัดสินใจร่วมกับผู้อื่น

- เกิดทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล เช่น การทำงานเป็นทีม การแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง

 

การประเมินระบบและกลไกการการพัฒนาศักยภาพนักศึกษาตามแนวการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

    เมื่อสิ้นภาคการศึกษาที่ 1/2563 หลักสูตรฯ ได้มีการดำเนินการเพิ่มกิจกรรมการพัฒนาศักยภาพนักศึกษา และได้มีการนำข้อมูลจากนักศึกษาเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารหลักสูตรฯ เพื่อนำปสู่การวิเคราะห์และจัดกลุ่มความต้องการของนักศึกษาที่มีความต้องการใกล้เคียงกัน ซึ่งมติจากที่ประชุมสรุปได้ว่านักศึกษาใความต้องการในการพัฒนาศักยภาพด้านการเขียนหนังสือราชการ ระเบียบงารสารบรรณ/โปรแกรมสำเร็จรูปที่ใช้ในการบริหารสำนักงานภาครัฐ
เพื่อนำไปใช้ประกอบการสมัครหรือการทำงานหลังสำเร็จการศึกษา

   ในภาคการศึกษา 2/2563 หลักสูตรฯ ได้มีการจัดกิจกรรมโครงการพัฒนาศักยภาพนักศึกษา “การเขียนหนังสือหนังราชการและการใช้โปรแกรมในสำนักงานภาครัฐ” โดยมีวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญมาบรรยายให้ความรู้ ซึ่งกิจกรรมโครงการดังกล่าวเป็นการพัฒนาทักษะชีวิตและอาชีพ รรวมทั้งเป็นทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมอีกด้วย