ตัวบ่งชี้ที่ 3.3 ผลที่เกิดกับนักศึกษา

ปีที่ประเมิน 2563
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : ณัฐวัฒน์ บัวทอง , ธัญยธรณ์ พิพัฒนมงคลชัย
ชนิดตัวบ่งชี้ : ผลลัพธ์
คำอธิบายตัวบ่งชี้

ผลการประกันคุณภาพควรทำให้นักศึกษามีความพร้อมทางการเรียน มีอัตราการคงอยู่ของนักศึกษาในหลักสูตรสูง อัตราการสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรสูง นักศึกษามีความพึงพอใจต่อหลักสูตร และผลการจัดการข้อร้องเรียนของนักศึกษา

ในการรายงานการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้นี้ ให้อธิบายกระบวนการหรือแสดงผลการดำเนินงานในประเด็นต่อไปนี้

- การคงอยู่

- การสำเร็จการศึกษา

- ความพึงพอใจและผลการจัดการข้อร้องเรียนของนักศึกษา

ตัวอย่างการคำนวณหลักสูตร 4 ปี

ปีการศึกษา

จำนวนรับเข้า (1)

จำนวนสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร (2) จำนวนที่ลาออกและคัดชื่อออกสะสมจนถึงสิ้นปีการศึกษา 2562 (3)
2560 2561 2562
2557   x      
2558     x    
2559       x  

 

อัตราการสำเร็จการศึกษา = (2)
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------       x     100
(1)

 

อัตราการคงอยู่ = (1)  -  (3)
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------       x     100
(1)
เกณฑ์การประเมิน
0 1 2 3 4 5

• ไม่มีการรายงานผลการดำเนินงาน

• มีการรายงานผลการดำเนินงานในบางเรื่อง

• มีการรายงานผลการดำเนินงานครบทุกเรื่องตามคำอธิบายใน
ตัวบ่งชี้

• มีการรายงานผลการดำเนินงานครบทุกเรื่องตามคำอธิบายในตัวบ่งชี้

• มีแนวโน้มผลการดำเนินงานที่ดีขึ้นในบางเรื่อง

• มีการรายงานผลการดำเนินงานครบทุกเรื่องตามคำอธิบายในตัวบ่งชี้

• มีแนวโน้มผลการดำเนินงานที่ดีขึ้นในทุกเรื่อง

• มีการรายงานผลการดำเนินงานครบทุกเรื่องตามคำอธิบายในตัวบ่งชี้

• มีแนวโน้มผลการดำเนินงานที่ดีขึ้นในทุกเรื่อง

• มีผลการดำเนินงานที่โดดเด่น เทียบเคียงกับหลักสูตรนั้นในสถาบันกลุ่มเดียวกันโดยมีหลักฐานเชิงประจักษ์ยืนยัน และกรรมการผู้ตรวจประเมินสามารถให้เหตุผลอธิบายว่าเป็นผลการดำเนินงานที่โดดเด่นอย่างแท้จริง

หมายเหตุ
  • การประเมินความพึงพอใจของนักศึกษา เป็นการประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาต่อกระบวนที่ดำเนินการให้กับนักศึกษาตามกิจกรรมในตัวบ่งชี้ที่ 3.1 และ 3.2
  • อัตราการคงอยู่ของนักศึกษา คิดจากนักศึกษาที่เข้าในแต่ละรุ่น ลบด้วยจำนวนนักศึกษาที่ออกทุกกรณีนับถึงสิ้นปีการศึกษาที่ประเมิน ยกเว้น การเสียชีวิต การย้ายสถานที่ทำงานของนักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา คิดเป็นร้อยละของจำนวนที่รับเข้าในแต่ละรุ่นที่มีบัณฑิตสำเร็จการศึกษาแล้ว
  • การคิดร้อยละของจำนวนนักศึกษาที่ยังคงอยู่ของแต่ละรุ่น
ผลการดำเนินงาน

   ในปีการศึกษา 2563 หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต ได้มีการดำเนินการผลที่เกิดกับนักศึกษาดังนี้

  • หลักสูตรฯ ได้รายงานผลอัตราการคงอยู่ของนักศึกษาในหลักสูตรเมื่อสิ้นปีการศึกษา 2563
  • หลักสูตรฯ ได้รายงานผลจำนวนร้อยละของผู้สำเร็จการศึกษาเมื่อสิ้นปีการศึกษา 2563
  • หลักสูตรฯ ได้รายงานความพึงพอใจและการจัดการข้อร้องเรียนของนักศึกษา พบว่าในปีการศึกษา 2563 นักศึกษาไม่มีข้อร้องเรียนในปีการศึกษานี้

3.3.1 อัตราการคงอยู่

   ในปีการศึกษาศึกษา 2563 หลักสูตรมีอัตราการคงอยู่ของนักศึกษา 3 ชั้นปี ระหว่างปีการศึกษา 2561 – 2563 ดังนี้

ปีการศึกษา

จำนวนรับเข้า

จำนวนนักศึกษาคงอยู่ในแต่ละปีการศึกษา

2561

2562

2563

2561

56

56

(100%)

49

(27.44%)

41

(22.96%)

2562

100

 

100

(100%)

51

(51.00%)

2563

52

 

 

52
(100
%)

 

ผลการดำเนินงาน

  • ปีการศึกษา 2561 อัตราการคงอยู่ ร้อยละ 22.96
  • ปีการศึกษา 2562 อัตราการคงอยู่ร้อยละ 51.00
  • ปีการศึกษา 2563 อัตราการคงอยู่ร้อยละ 0

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

    ในปีการศึกษา 2563 หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต 
มี
อัตราการคงอยู่ของนักศึกษามีแนวโน้มและผลการดำเนินงานที่ดีขึ้น โดยหลักสูตรได้มีการรายงานผลด้านอัตราการคงอยู่ทุกภาคเรียน ตลอดระยะเวลาการจัดการศึกษา ในปีการศึกษา 2563 ซึ่งจากการประชุมคณะกรรมการบริหารหลักสูตรฯ ครั้งที่ 4/2563 วาระที่ 3.4 รายงานผลอัตราการคงอยู่ของนักศึกษาหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต ปีการศึกษา 2562 พบว่าจากการรายงานอัตราการคงอยู่ของนักศึกษา 3 ชั้นปีนั้นมีจำนวนนักศึกษาลดลงเนื่องมาจากสาเหตุ
เช่น ลาออก ย้ายสถานศึกษา สอบรับราชการได้ ซึ่งหลักสูตรได้มีการวิเคราะห์ปัจจัยที่ทำให้จำนวนนักศึกษาดังรายละเอียดต่อไปนี้

ปัจจัยภายใน

ปัจจัยภายนอก

1. นักศึกษามารายงานตัวแล้วแต่นักศึกษาสอบติดสถาบันการศึกษาอื่นจึงไม่มาเรียน

1. หน่วยงาน/องค์กรที่รับบัณฑิตเข้าทำงานมีการเปลี่ยนแลงเงื่อนไขคุณวุฒิการรับเข้า

2. นักศึกษาเปลี่ยนแปลงสาขา/ย้ายสาขาในภายหลัง เนื่องจากการตัดสินใจเรียนตามเพื่อน

3. นักศึกษาประสบปัญหาครอบครัว เช่น ผู้ปกครองย้ายถิ่นฐาน ฐานะของผู้ปกครอง   

4. นักศึกษาขาดแคลนทุนทรัพย์ไม่ได้กู้กองทุนเงินเพื่อการศึกษา (กยศ.) หรือไม่ได้รับการพิจารณาเงินกู้ กยศ.

3.3.2 การสำเร็จการศึกษา

      ในปีการศึกษา 2563 หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต
มีบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจำนวนทั้งสิ้น 52 คน คิดเป็นร้อยละ 100

ปีการศึกษารับเข้า

จำนวนรับเข้า

จำนวนสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร

2561

2562

2563

2559

92 (คน)

 

 

42 (คน)

2558

  97(คน)

 

56 (คน)
 

 

2557

100 (คน)

61 (คน)
 

 

 

 

ผลการดำเนินงาน

  • ปีการศึกษา 2557 อัตราการสำเร็จการศึกษาร้อยละ 61
  • ปีการศึกษา 2558 อัตราการสำเร็จการศึกษาร้อยละ 56
  • ปีการศึกษา 2559 อัตราการสำเร็จการศึกษาร้อยละ 42

 

 

 

 

 

 

 

3.3.3 ความพึงพอใจและผลการจัดการข้อร้องเรียนของนักศึกษา 

  • ความพึงพอใจต่อหลักสูตรของนักศึกษา

        ในปีการศึกษา 2563 หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต ได้มีการดำเนินการสำรวจความความพึงพอใจของนักศึกษาต่อหลักสูตร โดยทำการเปรียบเทียบระหว่างปีการศึกษา 2561 – 2563 ดังนี้

 

ปีการศึกษา 2561

ความคิดเห็นของนักศึกษา

ระดับ
ความพึงพอใจ

1. การรับนักศึกษา

4.13

มาก

2. การเตรียมความพร้อมก่อนเข้าศึกษา

4.19

มาก

3. การควบคุมดูแลให้คำปรึกษาวิชาการและแนะแนวแก่นักศึกษาปริญญาตรี

4.05

มาก

4. การพัฒนาศักยภาพนักศึกษาและการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

4.16

มาก

รวม

4.13

มาก

 

ปีการศึกษา 2562

ความคิดเห็นของนักศึกษา

ระดับ
ความพึงพอใจ

1. การรับนักศึกษา

4.20

มาก

2. การเตรียมความพร้อมก่อนเข้าศึกษา

4.21

มาก

3. การควบคุมดูแลให้คำปรึกษาวิชาการและแนะแนวแก่นักศึกษาปริญญาตรี

4.10

มาก

4. การพัฒนาศักยภาพนักศึกษาและการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

4.17

มาก

รวม

4.17

มาก

 

 

ปีการศึกษา 2563

ความคิดเห็นของนักศึกษา

ระดับ
ความพึงพอใจ

1. การรับนักศึกษา

4.19

มาก

2. การเตรียมความพร้อมก่อนเข้าศึกษา

4.22

มาก

3. การควบคุมดูแลให้คำปรึกษาวิชาการและแนะแนวแก่นักศึกษาปริญญาตรี

4.38

มาก

4. การพัฒนาศักยภาพนักศึกษาและการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

4.25

มาก

รวม

4.26

มาก

 

ผลการวิเคราะห์พบว่า

  • ปีการศึกษา 2561 ผลการประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาต่อหลักสูตร อยู่ในระดับมาก  (=4.13)
  • ปีการศึกษา 2562 ผลการประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาต่อหลักสูตร อยู่ในระดับมาก  (=4.17)
  • ปีการศึกษา 2563 ผลการประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาต่อหลักสูตร อยู่ในระดับมาก  (=4.26)

การจัดการข้อร้องเรียน

   ในปีการศึกษา 2563 หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต
มีระบบและกลไกการจัดการข้อร้องเรียน ดังนี้

1. หลักสูตรกำหนดช่องทางการรับเรื่องร้องเรียนจากนักศึกษาที่หลากหลาย เพื่อให้นักศึกษาสารมารถเข้าถึงช่องทางต่างๆ ได้อย่างสะดวก โดยได้มีการมอบหมายให้อาจารย์ที่ปรึกษาแจ้งให้นักศึกษาทราบถึงช่องทางในการรับข้อร้องเรียนของนักศึกษา ซึ่งหลักสูตรมีทั้งหมด 4 ช่องทาง คือ

1.1 โทรศัพท์ส่วนตัวของอาจารย์ที่ปรึกษา

1.2 แอฟพลิเคชั่น Line Messenger กลุ่มหรือส่วนตัวของอาจารย์ที่ปรึกษาคืออาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรฯ

1.3 กล่องข้อความรับเรื่องร้องเรียน (เพื่อไม่เป็นการแสดงตัวตนในกรณีที่นักศึกษากลัวว่าอาจมีผลกระทบต่อการประเมินผลการเรียน)

1.4 ห้องให้คำปรึกษา/รับเรื่องร้องเรียนของหลักสูตรฯ

 

 

 

 

2. หลักสูตรได้มีการกำหนดระดับและผลกระทบวิธีการจัดการข้อร้องเรียนไว้ดังนี้

ระดับผลกระทบ

วิธีการจัดการข้อร้องเรียน

ข้อร้องเรียนที่มีผลกระทบไม่รุนแรง

ติดต่อประสานงาน หาข้อมูลเพิ่มเติมแจ้งอาจารย์ที่ปรึกษาและประธานหลักสูตรให้รับทราบ พร้อมทั้งหาวิธีการป้องกัน แก้ไข หรือปรับปรุง

ข้อร้องเรียนที่มีผลกระทบไม่รุนแรง แต่มีโอกาสและความเสี่ยงสูงที่จะเกิดความรุนแรง

ติดต่อประสานงาน หาข้อมูลเพิ่มเติมแจ้งอาจารย์ที่ปรึกษาและประธานหลักสูตรให้รับทราบ ประชุมอาจารย์ประจำหลักสูตรให้รับทราบ เพื่อหาแนวทางในการป้องกันและแก้ไข พร้อมทั้งแจ้งผลการดำเนินการกลับไปยังผู้ร้องเรียน

ข้อร้องเรียนที่มีผลกระทบรุนแรง

หากมีการร้องเรียนที่มีผลกระทบที่รุนแรง หลักสูตรฯ มีวิธีการจัดการแก้ไขเพื่อให้ผลกระทบลดลงทันที โดยการประสานงานและติดต่อกับไปยังผู้ร้องเรียนภายใน 1 วัน รายงานผู้บริหารระดับคณะเพื่อพิจารณาในการทบทวนข้อร้องเรียนต่างๆ และติดตามประเมินผู้ร้องเรียนอย่างสม่ำเสมอ

นอกจากนี้หลักสูตรได้มีการประชุมอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรครั้งที่ 5/2563 วาระที่ 4.4 การดำเนินงานต่อการจัดการข้อร้องเรียนของนักศึกษา เพื่อประเมินและติดตามผลที่ได้จากการสำรวจความพึงพอใจของนักศึกษาต่อหลักสูตรและการจัดการข้อร้องเรียน

หลักฐาน
รหัสหลักฐาน เอกสารหลักฐาน
3.3 - (1)