ตัวบ่งชี้ที่ 4.1 ระบบและกลไกด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย

ปีที่ประเมิน 2565
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : พุทธิพร พิธานธนานุกูล , มุขจรินทร์ สุทธิสัย , ทัตติยา นครไชย , ภาวินี ศรีสันต์
ชนิดตัวบ่งชี้ : กระบวนการ
คำอธิบายตัวบ่งชี้

สถาบันอุดมศึกษามีนโยบาย แผนงาน โครงสร้าง และการบริหารจัดการด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย ทั้งการอนุรักษ์ สืบสาน พัฒนา เผยแพร่ ถ่ายทอดวัฒนธรรมไทย ภูมิปัญญาท้องถิ่นตามจุดเน้นของมหาวิทยาลัย เพื่อให้เกิดความภาคภูมิใจในความเป็นไทย หรือ การสร้างโอกาสและมูลค่าเพิ่มให้กับผู้เรียน ชุมชน สังคม และประเทศชาติอย่างยั่งยืน

เกณฑ์การประเมิน
คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 ข้อ มีการดำเนินการ 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ
เกณฑ์มาตรฐาน
ระดับ เกณฑ์มาตรฐาน ดำเนินการ
1 กำหนดนโยบายและทิศทางการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยเพื่อการพัฒนาต่อยอดและสร้างคุณค่า ตามจุดเน้นของสถาบัน
2 จัดทำแผนด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย และกำหนดตัวบ่งชี้วัดความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผน รวมทั้งจัดสรรงบประมาณเพื่อให้สามารถดำเนินการได้ตามแผน
3 มีการส่งเสริม สนับสนุนการบูรณาการงานด้านศิลปวัฒนธรรมกับการเรียนการสอน หรือการวิจัย หรือการบริการวิชาการ ซึ่งนำไปสู่การสืบสานการสร้างความรู้ ความเข้าใจในศิลปวัฒนธรรม การปรับและประยุกต์ใช้ศิลปวัฒนธรรม
4 มีการกำกับติดตามให้หน่วยงานมีการดำเนินงาน และประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ของแผนด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย และรายงานผลการดำเนินงานต่อผู้บริหารคณะ
5 นำผลการประเมินไปปรับปรุงแผนหรือกิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย
ผลการดำเนินงาน
ตนข้อเกณฑ์ผลการดำเนินงานหลักฐาน
1 กำหนดนโยบายและทิศทางการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยเพื่อการพัฒนาต่อยอดและสร้างคุณค่า ตามจุดเน้นของสถาบัน

คณะพยาบาลศาสตร์ ได้กำหนดนโยบายและทิศทางการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม และความเป็นไทยเพื่อการพัฒนาต่อยอดและสร้างคุณค่าตามจุดเน้นของสถาบัน (4.1-1(1)) ดังนี้

1. ส่งเสริม สนับสนุนการดำเนินกิจกรรมอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาของท้องถิ่น รวมทั้งการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยการบูรณาการในการเรียนการสอน การทำวิจัยและนวัตกรรม และ/หรือการบริการวิชาการแก่สังคม

 2. พัฒนาต่อยอดและเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น และประเพณีอันดีงามของท้องถิ่นและประเทศชาติ

 3. มุ่งสร้างจิตสำนึกแก่บุคลากรและนักศึกษาให้ตระหนักถึงคุณค่าของศิลปวัฒนธรรมและประเพณีอันดีงามของท้องถิ่น โดยการสืบสานให้คงไว้เป็นมรดกของชาติสืบไป

2 จัดทำแผนด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย และกำหนดตัวบ่งชี้วัดความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผน รวมทั้งจัดสรรงบประมาณเพื่อให้สามารถดำเนินการได้ตามแผน

คณะพยาบาลศาสตร์ ได้จัดทำแผนด้านศิลปวัฒนธรรม และความเป็นไทย ปีการศึกษา 2565 (4.1-2(1)) โดยกำหนดวัตถุประสงค์ของแผนและตัวบ่งชี้วัดความสำเร็จ ดังนี้

วัตถุประสงค์

ตัวชี้วัดความสำเร็จ

1. เพื่อส่งเสริม สนับสนุนให้บุคลากรและนักศึกษาพยาบาลมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทยภูมิปัญญาท้องถิ่น และสิ่งแวดล้อม

- บุคลากรร้อยละ 100 เข้าร่วมกิจกรรม/โครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น

- นักศึกษาร้อยละ 100 ข้าร่วมกิจกรรม/โครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น

2. เพื่อบูรณาการการเรียนการสอนกับการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

มีรายวิชาที่บูรณาการกับการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างน้อย 1 รายวิชา

 

   ในปีการศึกษา 2565 คณะฯ มีการดำเนินโครงการด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย จำนวน 1 โครงการ คือ โครงการสืบสานและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมไทย ซึ่งมี 4 กิจกรรม และมีการจัดสรรงบประมาณในการดำเนินโครงการ ดังนี้

โครงการ/กิจกรรม

งบประมาณ (บาท)

1. โครงการสืบสานและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมไทย

1.1) กิจกรรมไหว้ครู คณะพยาบาลศาสตร์ ปีการศึกษา 2565

1.2) กิจกรรมบายศรีสู่ขวัญสานสัมพันธ์น้องใหม่ปีปทอง

1.3) กิจกรรมถวายเทียนพรรษา ปีการศึกษา 2565

1.4) กิจกรรมสืบสานประเพณีลอยกระทง

1.5 กิจกรรมสืบสานประเพณีสงกรานต์

 

                             -

                                        4,900                                                                       -

-

2,000

 

และได้เสนอแผนงานด้านศิลปวัฒนธรรม และความเป็นไทย ต่อกรรมการบริหารคณะพยาบาลศาสตร์ในการประชุมครั้งที่ 4/2565 วันที่ 29 มิถุนายน 2565 (4.1-2(2)) เพื่อพิจารณาอนุมัติ

3 มีการส่งเสริม สนับสนุนการบูรณาการงานด้านศิลปวัฒนธรรมกับการเรียนการสอน หรือการวิจัย หรือการบริการวิชาการ ซึ่งนำไปสู่การสืบสานการสร้างความรู้ ความเข้าใจในศิลปวัฒนธรรม การปรับและประยุกต์ใช้ศิลปวัฒนธรรม

คณะพยาบาลศาสตร์มีการส่งเสริม สนับสนุนการบูรณาการงานด้านศิลปวัฒนธรรมกับการเรียนการสอน หรือการวิจัย หรือการบริการวิชาการ ซึ่งนำไปสู่การสืบสานการสร้างความรู้ ความเข้าใจในศิลปวัฒนธรรม การปรับและประยุกต์ใช้ศิลปวัฒนธรรม ดังนี้

1. บูรณาการการเรียนการสอนรายวิชาวิถีสุขภาพศรีสะเกษกับการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม (4.1-3(1)) โดยการเชิญอาจารย์ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านศิลปวัฒนธรรมของจังหวัดศรีสะเกษ มาเป็นอาจารย์พิเศษสอนในหัวข้อที่เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับศิลปวัฒนธรรมของจังหวัดศรีสะเกษ ในบทที่ 2 และในบทที่ 5 เรื่องการออกแบบบริการสุขภาพฯ จะเน้นการดูแลสุขภาพตามภูมิปัญญาท้องถิ่นของจังหวัดศรีสะเกษทั้งด้านพิธีกรรม การใช้สมุนไพรและอาหาร เป็นต้น

4 มีการกำกับติดตามให้หน่วยงานมีการดำเนินงาน และประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ของแผนด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย และรายงานผลการดำเนินงานต่อผู้บริหารคณะ

คณะพยาบาลศาสตร์ มีการกำกับติดตามการดำเนินงานด้านศิลปวัฒนธรรม และความเป็นไทย โดย คณะกรรมการบริหารคณะพยาบาลศาสตร์ในการประชุมครั้งที่ ครั้งที่ 9/2565 วันที่ 23 ธันวาคม 2565 (4.1-4(1)) และประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ของแผนด้านศิลปวัฒนธรรม และความเป็นไทย ดังนี้ (4.1-4(2))

ตัวชี้วัดความสำเร็จ

ผลการดำเนินงาน

- บุคลากรร้อยละ 100 เข้าร่วมกิจกรรม/โครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น

บรรลุตัวชี้วัด คือบุคลากรคณะพยาบาลศาสตร์ทุกคน (ร้อยละ 100) ได้เข้าร่วมกิจกรรม/โครงการด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น

- นักศึกษาร้อยละ 100 ข้าร่วมกิจกรรม/โครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น

บรรลุตัวชี้วัด คือ นักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 1 ทั้ง 50 คน (ร้อยละ 100) ได้เข้าร่วมกิจกรรมด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น

มีรายวิชาที่บูรณาการกับการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างน้อย 1 รายวิชา

บรรลุตัวชี้วัด คือ ในปีการศึกษา 2565 มี 1 รายวิชา ที่บูรณาการกับการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้แก่ รายวิชาวิถีสุขภาพศรีสะเกษ

และมีการรายงานผลการดำเนินงานด้านศิลปวัฒนธรรม และความเป็นไทยต่อคณะกรรมการ บริหารคณะพยาบาลศาสตร์ ในการประชุมครั้งที่ 5/2566 วันที่ 15 พฤษภาคม 2566 (4.1-4(3)) เพื่อพิจารณาและมีการให้ข้อเสนอแนะ ดังนี้ นอกจากบูรณาการการเรียนการสอนกับการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมแล้ว ควรบูรณาการพันธกิจด้านการบริการวิชาการ หรือการวิจัย กับการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ในปีการศึกษา 2566 และควรจัดสรรงบประมาณให้เพียงพอต่อการดำเนินงาน

 

5 นำผลการประเมินไปปรับปรุงแผนหรือกิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย

คณะพยาบาลศาสตร์ ได้นำผลการประเมินแผนด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย ปีการศึกษา 2565 รวมทั้งข้อเสนอแนะจากที่ประชุมคณะกรรมการบริหารคณะพยาบาลศาสตร์ มาปรับปรุงแผนด้านศิลปวัฒนธรรม และความเป็นไทยในปีการศึกษา 2566 โดยวางแผนการดำเนินงานด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมกับพันธกิจด้านการเรียนการสอน การบริการวิชาการหรือการวิจัย (4.1-5(1))

ผลคะแนนการประเมินตนเอง
ทำได้ (ข้อ) ได้คะแนน
5 ข้อ 5 คะแนน