ตัวบ่งชี้ที่ 5.1 การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน

ปีที่ประเมิน 2564
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : นารีรัตน์ ศรีหล้า , บังอร สุขจันทร์ , อุ้มทิพย์ แสนสุข
ชนิดตัวบ่งชี้ : กระบวนการ
คำอธิบายตัวบ่งชี้

มหาวิทยาลัยมีหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการพัฒนาผู้เรียนแบบบูรณาการกับการทำงาน เพื่อให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตอบสนองยุทธศาสตร์ชาติและความต้องการที่หลากหลายของประเทศ ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม  และสิ่งแวดล้อม โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน สังคม สถานประกอบการ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน

เกณฑ์การประเมิน
คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 ข้อ มีการดำเนินการ 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ
เกณฑ์มาตรฐาน
ระดับ เกณฑ์มาตรฐาน ดำเนินการ
1 มีระบบและกลไกให้หลักสูตรจัดทำแผนจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน
2 มีการกำกับ ติดตามให้หลักสูตรดำเนินการตามแผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงานตามที่กำหนด
3 มีการกำกับ ติดตามให้หลักสูตรประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนที่กำหนด
4 มีการนำผลไปปรับปรุงแผนจัดการหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
5 มีแนวปฏิบัติที่ดีเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน
ผลการดำเนินงาน
ตนข้อเกณฑ์ผลการดำเนินงานหลักฐาน
1 มีระบบและกลไกให้หลักสูตรจัดทำแผนจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน

1. มีระบบและกลไกให้หลักสูตรจัดทำแผนจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน

          คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี  มีการแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารหลักสูตร ตามคำสั่งเลขที่ 208/2564 ลงวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2564 (เอกสารหมายเลข 5.1-1(1)) คณะกรรมการดำเนินการจัดการนิทรรศการและประกวดผลงานการศึกษาสหกิจศึกษาเครือข่ายสถาบันอุดมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ประจำ พ.ศ. 2565  (เอกสารหมายเลข 5.1-1(2))  มีระบบและกลไกในการจัดทำแผนการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน (เอกสารหมายเลข 5.1-1(3))  โดยการมีส่วนร่วมของหลักสูตรในการจัดทำแผนการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี (เอกสารหมายเลข 5.1-1(4)) เพื่อเป็นกรอบการดำเนินงานของคณะฯ และหลักสูตร 

          คณะฯ มีหลักสูตรที่เปิดสอนในคณะจำนวน 8 หลักสูตร และมีนโยบายให้ทั้ง 8 หลักสูตร จัดการเรียนการสอนในรูปแบบการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน (WIL : Work-integrated Learning) โดยเป็น   สหกิจศึกษา (Cooperative Education)  ซึ่งเป็นระบบการศึกษาที่เน้นประสบการณ์จากการปฏิบัติงานจริงในสถานประกอบการหรือองค์กรผู้ใช้บัณฑิต (Work Based Learning) โดยมอบหมายรองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย พร้อมกับประธานหลักสูตรทั้งหมดจำนวน 8 หลักสูตร  ประกอบด้วย สาขาวิชาการบัญชี สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ สาขาวิชาท่องเที่ยวและการโรงแรม สาขาวิชาการจัดการ สาขาวิชาการตลาด สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การเงินการคลัง  สาขาวิชาการบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ  และหลักสูตรการจัดการธุรกิจการค้าสมัยใหม่  เป็นหลักสูตรจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน (WIL : Work-integrated Learning) ซึ่งเป็นหลักสูตรปฏิบัติการ

 

เดือน

กิจกรรม

ตุลาคม  2563

 

ประชุมคณะกรรมการสหกิจศึกษาเพื่อวางแผนการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา

ให้ความรู้เกี่ยวกับสหกิจศึกษาแก่คณาจารย์คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี

พิจารณาคู่มือปฏิบัติงานสหกิจศึกษา และเตรียมฐานข้อมูลสถานประกอบการ

ประชุมคณะกรรมการสหกิจศึกษาเพื่อกำหนดปฏิทินกิจกรรมสหกิจศึกษา

พิจารณาประกาศและข้อบังคับสหกิจศึกษา

ธันวาคม 2563

ทำ MOU กับสถานประกอบการ

ประชาสัมพันธ์อาจารย์ประจำสาขาวิชาเตรียมคัดเลือกนักศึกษาที่มีสิทธิ์เข้าร่วมการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา

มกราคม 2564

ประชาสัมพันธ์การรับสมัครนักศึกษาสหกิจศึกษา

แจ้งคุณสมบัติของนักศึกษาที่จะปฏิบัติงานสหกิจศึกษาจากสถานประกอบการต่าง ๆ

นักศึกษาพบอาจารย์ที่ปรึกษาก่อนเลือกสถานประกอบการ

กุมภาพันธ์ 2564

วันสุดท้ายของการยื่นคำร้องสมัครนักศึกษาสหกิจศึกษา

คัดเลือกนักศึกษาสหกิจศึกษาโดยคณาจารย์และสถานประกอบการ

มีนาคม 2564

ประกาศผลนักศึกษาที่ผ่านการคัดเลือกไปปฏิบัติงานสหกิจศึกษาและสาขาวิชายืนยันนักศึกษาผู้มีสิทธิ์ไปปฏิบัติงานสหกิจศึกษา

สรุปรายชื่อนักศึกษาที่ผ่านการคัดเลือกไปปฏิบัติงานสหกิจศึกษา    

สั่งพิมพ์คู่มือการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา   

เตรียมความพร้อมอาจารย์นิเทศสหกิจศึกษา

เมษายน  2564

ประชาสัมพันธ์อาจารย์ประจำสาขาวิชาแจ้งนักศึกษาจองรายวิชาเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพและเตรียมสหกิจศึกษา

วันสุดท้ายของการยื่นคำร้องขอเปลี่ยนแปลงไปปฏิบัติงานสหกิจศึกษา

พฤษภาคม 2564

ประชาสัมพันธ์อาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกษาแจ้งนักศึกษาลงทะเบียนเรียนเทอม 1/2564

มิถุนายน 2564

 

เปิดเทอม 1/2564 นักศึกษาลงทะเบียนรายวิชาเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพและเตรียมสหกิจศึกษา    

ทำคำสั่งแต่งตั้งอาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกษา

กรกฎาคม 2564

อบรมเตรียมความพร้อมด้านทักษะภาษาอังกฤษ

อบรมเตรียมความพร้อมด้านสมรรถนะดิจิตัล

สิงหาคม 2564

นักศึกษาศึกษาที่ลงทะเบียนรายวิชาเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพและเตรียมสหกิจศึกษาเก็บชั่วโมงการปฏิบัติงานเพื่อเรียนรู้ทักษะด้านต่าง ๆ ด้วยการปฏิบัติจริง

กันยายน 2564

อบรมเตรียมความพร้อมให้กับนักศึกษาด้านความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการฝึกงานและสหกิจศึกษา

อบรมด้านการพัฒนาบุคลิกภาพสำหรับการสัมภาษณ์งาน และการปรับตัวในสถานประกอบการในยุคปัจจุบัน

อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับความต้องการบัณฑิตจบใหม่ของไทย     

ตุลาคม 2564

ปฐมนิเทศก่อนออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพและปฏิบัติงานสหกิจศึกษา

-ชี้แจงหลักการขั้นตอนของการใช้คู่มือการฝึกงานและปฏิบัติงานสหกิจศึกษา ของคณะบริหารธุรกิจ

- รับฟังการบรรยายเกี่ยวกับบัณฑิตที่พึงประสงค์

- การเตรียมตัวฝึกงานอย่างไรเพื่อให้ได้งานทำ

- นักศึกษาพบอาจารย์ที่ปรึกษาและรับคู่มือสหกิจศึกษา

พฤศจิกายน 2564 -กุมภาพันธ์ 2565

 

 

 

 

 

 

 

 

นักศึกษาออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพและสหกิจศึกษา และปฏิบัติงานตามที่สถานที่ฝึกได้มอบหมาย 

นักศึกษากรอกแบบแจ้งรายละเอียดที่พักระหว่างปฏิบัติงานและแบบแจ้งรายละเอียดงานตำแหน่งงานและพนักงานที่ปรึกษา

นักศึกษากรอกแบบแจ้งแผนการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา

นักศึกษากรอกข้อมูลรายงานความก้าวหน้าในการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา ครั้งที่ 1

นักศึกษากรอกแบบแจ้งโครงร่างรายงาน

อาจารย์ออกนิเทศการฝึกประสบการณ์วิชาชีพและสหกิจศึกษาช่วงเดือน ธ.ค.64-

กุมภาพันธ์ 65  

 สถานประกอบการส่งแบบประเมินนักศึกษามาที่คณะฯ                                                          

นักศึกษาส่งคู่มือฝึกประสบการณ์วิชาชีพและสหกิจมาที่คณะฯ   

นักศึกษานำเสนอโครงงานสหกิจศึกษา      

ปัจฉิมนิเทศนักศึกษาชั้นปีที่ 4

มีนาคม 2565

คณาจารย์พิจารณาตัดสินโครงงานสหกิจศึกษาดีเด่นเพื่อเข้าประกวดกับเครือข่ายสถาบันอุดมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง      

เมษายน 2565

ส่งนักศึกษาเข้าร่วมงานวันนิทรรศการและการประกวดผลงานการศึกษาสหกิจศึกษาเครือข่ายสถาบันอุดมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ประจำงบประมาณ พ.ศ. 2565 ณ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี    

 

2 มีการกำกับ ติดตามให้หลักสูตรดำเนินการตามแผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงานตามที่กำหนด

มีการกำกับ ติดตามให้หลักสูตรดำเนินการตามแผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงานตามที่กำหนด

          คณะมอบหมายให้รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย เป็นผู้กำกับ ติดตามสาขาวิชาทั้ง 8 หลักสูตรดำเนินการตามแผนที่กำหนดไว้ โดยหลักสูตรได้แบ่งการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงานเป็น 2 ประเภทดังนี้คือ ฝึกประสบการณ์วิชาชีพ และสหกิจศึกษา เพื่อให้นักศึกษาได้สมัครใจ แต่กิจกรรมเตรียมความก่อนออกฝึกงานและสหกิจศึกษาก็จะใช้กิจกรรมด้วยกันและตอนปฐมนิเทศก่อนออกฝึกถึงจะมีการแยกห้องและออกฝึกงานและปฏิบัติงานสหกิจศึกษา จำนวน 4 เดือน และอาจารย์จะต้องไปนิเทศการปฏิบัติงานอย่างน้อย 2 ครั้ง และเพื่อให้ทางคณะและสาขาวิชาชี้แจงกิจกรรมในระหว่างฝึกงานต่างกัน แล้วค่อยพบอาจารย์ที่ปรึกษาหรืออาจารย์ในสาขาวิชา จากนั้นประธานสาขาวิชาจะนำผลการดำเนินงานรายงานต่อที่ประชุมสามัญคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี ครั้งที่ 1/2564 ให้ทราบต่อไป 5.1-2(1))

3 มีการกำกับ ติดตามให้หลักสูตรประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนที่กำหนด

มีการกำกับ ติดตามให้หลักสูตรประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนที่กำหนด

          คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มอบนโยบายให้งานศูนย์ฝึกและสหกิจศึกษา ได้ดำเนินการตามระบบและกลไกการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงานตามนโยบายของมหาวิทยาลัย ดังนี้

          มหาวิทยาลัยมีนโยบายการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงานให้แต่ละคณะคัดเลือกหลักสูตรในการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน

          คณะมีนโยบายให้หลักสูตรจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน เป็นแบบสหกิจศึกษา อย่างน้อย 5 % และให้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยมีระบบฐานข้อมูลสถานประกอบการที่เป็นเครือข่ายความร่วมมือและมีการแต่งตั้งคณะกรรมการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ โดยรายงานต่อรองฝ่ายวิชาการและวิจัย

          งานศูนย์ฝึกและสหกิจศึกษา ประสานคณะกรรมการบริหารหลักสูตร อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรประชุม เพื่อทบทวน และจัดทำแผนปฏิบัติการ กำหนดปฏิทินการดำเนินงาน กิจกรรมการอบรมสหกิจศึกษา และกำหนดรายวิชาเพื่อจัดการเรียนการสอนที่บูรณาการกับการทำงานร่วมกับสถานประกอบการ โดยแจ้งอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรให้ดำเนินการ และรายงานต่อคณะ

          คณะกรรมการบริหารคณะพิจารณาแผนปฏิบัติการ กำหนดปฏิทินการดำเนินงาน กิจกรรมการอบรมสหกิจศึกษา และกำหนดรายวิชาเพื่อจัดการเรียนการสอนที่บูรณาการกับการทำงาน เป็นมติ กบ.คณะ

          งานศูนย์ฝึกและสหกิจศึกษา ร่วมกับหลักสูตร ดำเนินตามแผนและประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนในการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการกับการทำงาน

          คณะกรรมการ กำกับ ติดตาม ให้งานศูนย์ฝึกและสหกิจศึกษา และหลักสูตร ดำเนินการตามแผนบูรณาการกับการทำงานของคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี5.1-3(1) และรายงานการประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนที่กำหนดในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน 5.1-3(2)

          งานศูนย์ฝึกและสหกิจศึกษา และอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร นำผลการประเมินไปปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการเรียนกับการทำงานอย่างต่อเนื่อง และรายงานต่อรองฝ่ายวิชาการและวิจัย และคณะ

งานศูนย์ฝึกและสหกิจศึกษาและอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรได้รับการแต่งตั้งให้เป็นตัวแทนคณะกรรมการดำเนินงานทุกสาขาเพื่อรับผิดชอบดูแลนักศึกษาและปรึกษาหารือร่วมกันเพื่อให้ได้ข้อสรุปหรือ มีแนวปฏิบัติที่ดีเกี่ยวกับระบบและกลไกลการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน5.1-3(3) รายงานการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี  ประจำปีการศึกษา 2564

4 มีการนำผลไปปรับปรุงแผนจัดการหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

มีการนำผลไปปรับปรุงแผนการจัดการหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

             เนื่องจากสถานการณ์โควิค -19 มหาวิทยาลัยฯ ได้ออกประกาศมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษเรื่อง มาตรการและการเฝ้าระวังการระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรน่า โควิค 19 มาตรการด้านการจัดการเรียนการสอนรวมถึงการส่งนักศึกษาออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพและสหกิจศึกษาของนักศึกษาระดับชั้นปีที่ 4 ในภาคการศึกษา 2/2564 ทั้งนี้ให้คณะและหลักสูตรได้พิจารณาความเหมาะสมสอดคล้องและคำนึงถึงความปลอดภัยของนักศึกษาเป็นหลัก ทั้งนี้งานศูนย์ฝึกและสหกิจศึกษาของคณะบริหารธุรกิจและการบัญชีและอาจารย์ผู้สอนในรายวิชาฝึกประสบการณ์วิชาชีพและสหกิจศึกษาของแต่ละสาขาวิชา ของคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี ได้ประชุมเพื่อปรึกษาหารือร่วมกันเพื่อเป็นแนวทางในการส่งนักศึกษาออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพสรุปได้ดังนี้

1) ให้นักศึกษาเลือกสถานที่ฝึกและสหกิจศึกษาในพื้นที่จังหวัดที่ไม่มีความเสี่ยงสูง โดยคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นหลัก

2) ให้เลือกสถานที่ฝึกและสหกิจในภายในจังหวัดก่อนและจังหวัดใกล้เคียงก่อนเป็นอับดับต้น

3) กิจกรรมเตรียมความพร้อมก่อนออกฝึกและสหกิจควรเน้นเป็นกิจกรรมการออนไลน์ หรือเป็นคลิปวีดีโอ มากกว่าการรวมตัวกัน

4) ถ้ากิจกรรมใดที่มีการปฏิบัติให้ใช้มาตรากรเว้นระยะห่าง สวมแมส มีการวัดอุณภูมิ ทาเจลแอลกอลฮอลล์ทุกครั้ง

      กิจกรรมเตรียมความพร้อมให้กับนักศึกษาก่อนการออกฝึกงานและปฏิบัติงานสหกิจศึกษา

                   ประจำภาคเรียนที่ 1/2564 (สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี ปีที่ 4 )

                   คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

วัน/เดือน/ปี

หลักสูตร/กิจกรรม

 

จำนวนชั่วโมง

รูปแบบกิจกรรม

ออนไลน์

ออฟไลน์

ก.ค.2564

อบรมเตรียมความพร้อมด้านภาษาอังกฤษ

อ.พิมพิลา  คงขาว

ดร.ศิริกร  อัตไพบูลย์

6

 

ก.ค.2564

อบรมเตรียมความพร้อมด้านคอมพิวเตอร์และสมรรถนะดิจิทัล

อ.ปวีณา ฉ่ำกิ่ง

ดร.กนิษฐา  อินธิชิต

6

 

กันยายน2564

ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการฝึกงานและสหกิจศึกษาและความต้องการบัณฑิตจบใหม่ของไทย

ผศ.ศิริกมล ประภาสพงษ์

อ.ทิฆัมพร เพทราเวชา

4

 

กันยายน 2564

การพัฒนาบุคลิกภาพสำหรับการสัมภาษณ์งานและการปรับตัวในสถานประกอบการในยุคปัจจุบัน

อ.พรมลิขิต  อุรา

อ.ทิฆัมพร  เพทราเวชา

อ.ณัชฐปกรณ์  สีหะวงษ์

4

 

ก.ย. 2564

การสร้างเรซูเม่ออนไลน์และเทคนิคการสัมภาษณ์ภาษณ์งานอย่างไรให้ได้งาน

: วิทยากรจาก บ.JOBTOPGUN

4

 

ต.ค. 2564

 ปฐมนิเทศก่อนออกฝึกงานและปฏิบัติงานสหกิจศึกษา

- การชี้แจงหลักการขั้นตอนของการใช้คู่มือการฝึกงานและปฏิบัติงานสหกิจศึกษาต่างๆ ของคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี

- ฟังการบรรยายคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์

- การเตรียมตัวฝึกงานอย่างไรเพื่อให้ได้งานทำ

- แนวคิดและแรงบันดาลใจจากรุ่นพี่ที่ประสบความสำเร็จ

- พบอาจารย์ในสาขาวิชา,อาจารย์ที่ปรึกษา

: วิทยากรจาก : ฝ่าย CEO บริษัทจตุรโชคกรุ๊ป

 ผศ.ศิริกรมล  ประภาศพงษ์

 อ.ทิฆัมพร  เพทราเวชา

  นางสาวอุ้มทิพย์  แสนสุข

: ตัวแทนศิษย์เก่าที่ประสบความสำเร็จ

6

 

            ตามที่คณะกรรมการศูนย์ฝึกและสหกิจศึกษาและคณาจารย์ผู้สอนในรายวิชาฝึกฯ ได้นำข้อสรุปจากการประชุมที่หารือร่วมกันไปกำหนดแผนในการดำเนินงานและปรับปรุงในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการเรียนกับการทำงาน แล้วนำผลการประเมินไปปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการเรียนกับการทำงานอย่างต่อเนื่อง และพัฒนาจัดกิจกรรมเสริมทักษะการเรียนรู้ก่อนออกฝึกงานและปฏิบัติงานสหกิจศึกษาอย่างน้อย 30 ชั่วโมง 5.1-4(1) กิจกรรมเตรียมความพร้อมก่อนออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพและสหกิจศึกษาของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะบริหารธุรกิจและการบัญชีและทั้งนี้ คณะและสาขาวิชายังได้เสนอแนวทางและเป็นมติที่ประชุมร่วมกันว่าควรจะมีการเตรียมความในการอบรมความรู้ด้านสหกิจศึกษาให้กับนักศึกษาชั้นปีที่ 1,2,3 เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของสหกิจศึกษาและเชิญรุ่นพี่ที่ประสบความสำเร็จจากการปฏิบัติงานสหกิจและสถานประกอบการรับเข้าทำงานหลังสหกิจศึกษาเสร็จมาแลกเปลี่ยนและจุดประการหรือสร้างแรงบันดาลใจให้กับรุ่นน้องต่อไป ทั้งนี้เพื่อให้แผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นโดยในปีการศึกษา 2564 มีข้อเสนอแนะ ดังนี้

       1. จำนวนนักศึกษาที่เข้าร่วมสหกิจศึกษามีน้อยเกินไป งานศูนย์ฝึกและสหกิจศึกษาควรจัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับสหกิจศึกษาให้กับ นักศึกษาตั้งแต่ชั้นปีที่ 1,2,3 ที่เข้ามาเรียน ได้ทราบว่าคณะมีสหกิจศึกษา เพื่อให้นักศึกษามีเป้าหมายในการเรียนและมีแรงบันดาลใจ

          2. ปรับกระบวนการในการรับสมัครนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ให้มีความสนใจเข้ามาสมัครสหกิจศึกษา โดยเฉพาะการประชาสัมพันธ์ของสถานประกอบการมากขึ้น

          3. หลักสูตรควรสร้างเครือข่ายหรือสร้างฐานข้อมูลสถานประกอบการเพื่อรองรับการปฏิบัติงานสกิจศึกษา

          4. คณะส่งเสริมให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรผ่านอบรมหลักสูตรคณาจารย์นิเทศก์สหกิจศึกษา

          5. งานศูนย์ฝึกและสหกิจศึกษาร่วมกับหลักสูตร และสถานประกอบการ กำหนดกิจกรรมอบรมให้นักศึกษาก่อนออกฝึกและสหกิจศึกษาอย่างน้อย 30 ชม.เพื่อให้ตรงตามความต้องการของสถานประกอบการ

     6. ควรมีการถอดบทเรียนหรือสรุปผลการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการเรียนกับการทำงาน โดยหลักสูตรจะนำข้อเสนอแนะไปปรับปรุงในการจัดแผนการดำเนินงานในปีการศึกษา 2565 5.1-4(2) รายงานการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี ประจำปีการศึกษา 2564

       7. คณะและหลักสูตรร่วมกันจัดการสถานประกอบการที่มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับ เพื่อให้เป็นการสร้างความสนใจให้กับนักศึกษามากยิ่งขึ้น

5 มีแนวปฏิบัติที่ดีเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน

มีแนวปฏิบัติที่ดีเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน

          งานศูนย์ฝึกประสบการณ์วิชาชีพและสหกิจศึกษา ร่วมกับหลักสูตร 8 หลักสูตร ประกอบด้วย สาขาการบัญชี สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ สาขาท่องเที่ยวและการโรงแรม สาขาการจัดการ สาขาการตลาด สาขาเศรษฐศาสตร์ สาขาบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ และสาขาการจัดการธุรกิจการค้าสมัยใหม่ ได้จัดประชุม ทบทวน การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน (WIL)โดยได้มีการทำการประสานความร่วมมือ(MOU)กับสถานประกอบการเพิ่มขึ้นเรื่อยๆทุกปีและคัดเลือกสถานประกอบการที่มีความมั่งคงมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักและยอมรับเพื่อเป็นการสร้างความสนใจให้กับนักศึกษาอีกทางหนึ่งและมีสวัสดิการต่างๆ และมีโอกาสได้ทำงานต่อหลักจากที่สหกิจศึกษาเสร็จสิ้น และคณะกรรมการศูนย์ฝึกฯ และหลักสูตรร่วมกันพิจารณากิจกรรมเตรียมความเสริมทักษะเพื่อให้นักศึกษามีความมั่นใจในการออกฝึกประสบการณ์และสหกิจศึกษาไม่น้องกว่า 30 ชม. โดยเฉพาะกิจกรรมส่งเสริมการพัฒนาบุคลิกภาพภายในและภายนอก การเป็นนักพูดที่ดี เทคนิคการสัมภาษณ์งานอย่างไรให้ได้งานและการเขียนเรซูเม่อย่างไรให้ปังและกิจกรรมการส่งเสริมสมรรถนะทางด้านภาษาอังกฤษ และสมรรถนะทางด้านดิจิทัล และเน้นว่ามาเรียนคณะบริหารธุรกิจแล้วต้องขายเป็นขายได้ คือการเป็นนักขายมืออาชีพทั้งออนไลน์และออฟไลน์ รวมถึงการสร้างแรงบันดาลใจและการใช้ชีวิตในยุคนิงนอร์มอลทั้งนี้คณะและสาขาวิชาได้เชิญสถานประกอบการ เช่น บริษัทเบทาโกร จำกัด(มหาชน) และบริษัทอื่นๆ ที่มีความประสงค์เข้ามารับคัดเลือกนักศึกษาเองถึงคณะฯหรือให้คณะฯ คัดเลือกนักศึกษาไปให้เอง ทั้งนี้อาจารย์ผู้สอนในรายวิชาฝึกฯ ได้ประชาสัมพันธ์ให้นักศึกษาที่สนใจทราบและเข้าร่วม ในกิจกรรมนี้และชี้แจงให้นักศึกษาของตนเตรียมตัว โดยเน้นการแต่งกายที่สุภาพ เรียบร้อย มีเรซูเม่ที่เป็นมาตรฐานสากลในการเตรียมตัวเข้าสัมภาษณ์ในการไปปฏิบัติงานสหกิจศึกษาในปีการศึกษา 2564 ซึ่งจัดทำแผนการปฏิบัติงานการกำหนดปฏิทินกิจกรรมเสริมหลักสูตรและกำหนดรายวิชาเพื่อจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการกับการทำงาน จนได้คู่มือสหกิจศึกษา ของคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี 5.1-5(1) มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ และนำผลจากกิจกรรมเตรียมความพร้อมก่อนออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพและสหกิจศึกษาและข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการบริหารประจำคณะ มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อค้นหาแนวทางปฏิบัติที่ดีเพื่อนำมากำหนดเป็นทางในการปฏิบัติงานในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน5.1-5(1) ทั้งนี้ยังมีสำนักงานส่งเสริมวิชาการ รวมถึง 4 คณะฯ ในมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ได้เข้ามาศึกษาเรียนรู้การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงานร่วมกับคณะบริหารธุรกิจและการบัญชีโดยได้ให้คณะบริหารธุรกิจและการบัญชีเป็นคณะที่มีการดำเนินงานสหกิจที่  ซึ่งคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มีเครือข่ายความร่วมมือ MOU กับบริษัทชั้นนำของประเทศ และเป็นเครือข่ายสหกิจศึกษาในระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ร่วมมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีและมหาวิทยาลัยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง มหาวิทยาลัยสุรนารี เป็นแม่ข่ายและให้คำปรึกษามาตลอด ทำให้มหาวิทยาลัยสุรนารีเชื่อมั่นในระบบการทำงานสหกิจศึกษา และสนับสนุนงบประมาณในการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่องจนทำให้คณะบริหารธุรกิจและการบัญชีได้รับรางวัลผู้ปฏิบัติงานสหกิจศึกษาดีเด่น และส่งผลให้นักศึกษาที่ปฏิบัติงานสหกิจศึกษาได้รับรางวัลยกย่องจำนวน 1 สาขาดังนี้ คือ1) สาขาวิชาการตลาด นางสาวหนึ่งฤทัย  บุญเจริญและนายยศพล  โพธิ์ดี  ได้รับรางวัลชมเชยในการประกวดผลงานสหกิจศึกษาประเภทบรรยาย เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2565 จัดโดยเเครือข่ายสถาบันอุดมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ณ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และผู้บริหารของสถานประกอบการยังแจ้งอีกว่า ให้ส่ง นศ.รุ่นถัดไป มาปฏิบัติสหกิจศึกษาทุกปี  และคณะได้รายงานผลการดำเนินงานด้านบูรณาการกับการทำงานของสหกิจศึกษาต่อคณะกรรมการบริหารประจำคณะฯ และรายงานต่อคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ทุกไตรมาศ ทำให้คณะอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษและมหาวิทยาลัยอื่นๆ ชื่นชมระบบการทำงานของศูนย์ฝึกและสหกิจศึกษาและขอเข้ามาศึกษาดูงานของระบบการทำงานของงานศูนย์ฝึกและสหกิจศึกษาของคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ เป็นระยะ

 

 

ผลคะแนนการประเมินตนเอง
ทำได้ (ข้อ) ได้คะแนน
5 ข้อ 5