ตัวบ่งชี้ที่ 5.1 การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน

ปีที่ประเมิน 2565
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : ปิยฉัตร ทองแพง , อุ้มทิพย์ แสนสุข , พนิดา พานิชกุล
ชนิดตัวบ่งชี้ : กระบวนการ
คำอธิบายตัวบ่งชี้

มหาวิทยาลัยมีหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการพัฒนาผู้เรียนแบบบูรณาการกับการทำงาน เพื่อให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตอบสนองยุทธศาสตร์ชาติและความต้องการที่หลากหลายของประเทศ ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม  และสิ่งแวดล้อม โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน สังคม สถานประกอบการ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน

เกณฑ์การประเมิน
คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 ข้อ มีการดำเนินการ 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ
สูตรการคํานวณ

 

หมายเหตุ

เกณฑ์มาตรฐานข้อที่ 1 หมายถึง แผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน หลักสูตรจะต้องอธิบายถึงผลการดำเนินงานที่ดำเนินการในสถานประกอบการ
เกณฑ์มาตรฐานข้อที่ 4 หมายถึง การปรับปรุงแผนตามเกณฑ์มาตรฐานข้อที่ 1

เกณฑ์มาตรฐาน
ระดับ เกณฑ์มาตรฐาน ดำเนินการ
1 มีระบบและกลไกให้หลักสูตรจัดทำแผนจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน
2 มีการกำกับ ติดตามให้หลักสูตรดำเนินการตามแผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงานตามที่กำหนด
3 มีการกำกับ ติดตามให้หลักสูตรประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนที่กำหนด
4 มีการนำผลไปปรับปรุงแผนจัดการหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
5 มีแนวปฏิบัติที่ดีเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน
ผลการดำเนินงาน
ตนข้อเกณฑ์ผลการดำเนินงานหลักฐาน
1 มีระบบและกลไกให้หลักสูตรจัดทำแผนจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน

     

คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มีระบบและกลไกส่งเสริมให้ทุกสาขา มีการจัดทำแผนจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน ดังนี้

          1. มีการแต่งตั้งคณะกรรมการผู้รับผิดชอบงานด้านประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ตามพันธกิจด้านการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน ระดับคณะ ประจำปีการศึกษา 2565 ดังหลักฐาน 5.1-1(1) และคำสั่งคณะกรรมการดำเนินการจัดการนิทรรศการและประกวดผลงานการศึกษาสหกิจศึกษาเครือข่ายสถาบันอุดมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ประจำ พ.ศ. 2566 ดังหลักฐาน 5.1-1(1) เพื่อทำหน้าที่กำกับ ติดตาม จัดเก็บข้อมูล ปฏิบัติงานให้สอดคล้องและเป็นไปตามตัวบ่งชี้และเกณฑ์มาตรฐานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2565

          2. คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มอบนโยบายให้งานศูนย์ฝึกและสหกิจศึกษา ได้ดำเนินการตาม

ระบบและกลไกการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงานตามนโยบายของมหาวิทยาลัย ดังหลักฐาน 5.1-1(2)

          3. มหาวิทยาลัยมีนโยบายการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน เพื่อกำหนดทิศทางการดำเนินงานโดยให้ทุกสาขาดำเนินการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการกับการทำงานอย่างน้อย 1 หลักสูตร และให้แต่ละคณะดำเนินการเพิ่มหลักสูตรในปีการศึกษาถัดไป ดังหลักฐาน 5.1-1(3)

          4. งานศูนย์ฝึกและสหกิจศึกษา คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มีการจัดทำปฏิทินการปฏิบัติการ

ด้านงานศูนย์ฝึกสหกิจศึกษา คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี ประจำปีการศึกษา 2565 เพื่อให้การบริหารจัดการและการดำเนินงานของคณะทำงานมีความชัดเจนเป็นระบบ ดังหลักฐาน 5.1-1(4)

          5. คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี ตระหนักและให้ความสำคัญ ในการส่งเสริมให้สาขา จัดทำแผน

การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน ดังหลักฐาน 5.1-1(5) จึงได้จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกำกับทำงาน ประจำปีการศึกษา 2565 โดยมีตัวแทนจากทุกสาขาเข้าร่วม จำนวน 40 คน โดยในปีการศึกษา 2565 คณะบริหารธุรกิจและการบัญชีหลักสูตรจัดทำแผนจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจการเรียนรู้บูรณาการกับการทำงาน
ในภาพรวมของคณะ ดังนี้

เป้าประสงค์แผน

กลยุทธ์

แผนงานกิจกรรม

ยกระดับคุณภาพการศึกษาพัฒนาบัณฑิตให้มีสมรรถนะ (competency) ในการทำงาน พร้อมที่จะทำงานทันที่หลังสำเร็จการศึกษา (ready to work)

 

 

 

 

 

 

การจัดการเรียนรู้

แบบบูรณาการกับ

การทำงาน (Work

Integrated

Learning

1. ส่งเสริมและกำกับให้หลักสูตรจัดทำแผนการเรียนรู้แบบบูรณาการการกับการทำงาน

2.เตรียมความพร้อมและหรือพัฒนาทักษะผู้เรียนก่อนจัดการการเรียนรู้แบบบูรณาการการกับการทำงาน

3. กำหนดส่วนงานรับผิดขอบการจัดการเรียนรู้แบบบูรนาการกับการทำงาน

4.ส่งเสริมสนับสนุนการทำงานกิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน

5. การประเมินการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน

 

 

วัตถุประสงค์

ตัวชี้วัด

ค่าเป้าหมาย (นับปีการศึกษา)

 

ปี 65

ปี 66

ปี 67

ปี 68

หลักสูตรมีการจัดการ

เรียนรู้แบบบูรณาการกับ

การทำงาน

• ร้อยละของหลักสูตรที่ทำแผน

 

• ร้อยละ 30 ของ

หลักสูตร

• ร้อยละ 30 ของ

หลักสูตร

• ร้อยละ 30 ของ

หลักสูตร

• ร้อยละ 30 ของ

หลักสูตร

ผู้เรียนได้รับการเตรียม

ทักษะที่จำเป็นก่อนเข้า

ร่วมกิจกรรม

• ร้อยละหลักสูตรที่มีการเตรียมทักษะที่จำเป็นก่อนเข้าร่วมกิจกรรม WIL

ร้อยละ 50

ร้อยละ 55

ร้อยละ 60

ร้อยละ 65

ขับเคลื่อนระบบและ

กลไกการกำกับ ติดตาม

การทำแผน WIL การ

ดำเนินตามแผน และการ

ประเมินความสำเร็จแผน

WIL

• มีคณะกรรมการหรือ ผู้รับผิดชอบ

 • มีการกำกับติดตามแผน

 

• อย่างน้อย 1 ส่วนงาน

• ไม่น้อยกว่า 3 ครั้ง

• อย่างน้อย 1 ส่วนงาน

• ไม่น้อยกว่า 3 ครั้ง

• อย่างน้อย 1 ส่วนงาน

• ไม่น้อยกว่า 3 ครั้ง

• อย่างน้อย 1 ส่วนงาน

• ไม่น้อยกว่า 3 ครั้ง

เตรียมความพร้อมด้านผู้สอน และสร้าง

เครือข่ายสถาน

ประกอบการ

• ผู้สอนได้รับการอบรม

ความรู้

• มีกิจกรรมการพบปะ

ผู้ประกอบการ

• มีผู้สอนเข้าร่วมอบรม

ความรู้ CWIE อย่าง

น้อย 2 คน

• พบปะผู้ประกอบการ

อย่างน้อย 1 ครั้ง

• มีผู้สอนเข้าร่วมอบรม

ความรู้ CWIE อย่าง

น้อย 2 คน

• พบปะผู้ประกอบการ

อย่างน้อย 1 ครั้ง

• มีผู้สอนเข้าร่วมอบรม

ความรู้ CWIE อย่าง

น้อย 2 คน

• พบปะผู้ประกอบการ

อย่างน้อย 1 ครั้ง

• มีผู้สอนเข้าร่วมอบรม

ความรู้ CWIE อย่าง

น้อย 2 คน

• พบปะผู้ประกอบการ

อย่างน้อย 1 ครั้ง

เป็นข้อมูลปรับปรุง

แผนการจัดการเรียนรู้

WIL

• มีสรุปผลแผน

 WIL ปี

การศึกษา 2565

• ค่าเฉลี่ยคุณภาพสถานประกอบการ

• อย่างน้อย 1 ครั้ง

• ค่าเฉลี่ยไม่น้อยว่า

ระดับมาก

• อย่างน้อย 1 ครั้ง

• ค่าเฉลี่ยไม่น้อยว่า

ระดับมาก

• อย่างน้อย 1 ครั้ง

• ค่าเฉลี่ยไม่น้อยว่า

ระดับมาก

• อย่างน้อย 1 ครั้ง

• ค่าเฉลี่ยไม่น้อยว่า

ระดับมาก

2 มีการกำกับ ติดตามให้หลักสูตรดำเนินการตามแผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงานตามที่กำหนด

คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มีการกำกับ ติดตามให้ทุกคณะดำเนินการเป็นไปตามแผนที่กำหนด ดังนี้

          1. มีการจัดประชุมคณะกรรมการผู้รับผิดชอบงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ตามพันธกิจด้านการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน ระดับคณะประจำปีการศึกษา 2565 เพื่อทบทวนระบบและกลไกการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน ดังหลักฐาน 5.1-2(1) ดังนี้

               1.1 รับทราบคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ตามพันธกิจด้านการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน ประจำปีการศึกษา 2565

               1.2 รับทราบกรอบปฏิทินการปฏิบัติการด้านงานศูนย์ฝึกสหกิจศึกษา คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี ประจำปีการศึกษา 2565

               1.3 ทบทวนระบบและกลไกการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน เพื่อให้มีแนวปฏิบัติ
ที่ดี

               1.4 แนวทางการจัดการความรู้ (Knowledge) พันธกิจด้านการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน ระดับคณะ ประจำปีการศึกษา 2565 ดังหลักฐาน 5.1-2(2)

          คณะฯ มีการกำกับติดตามให้ทุกคณะดำเนินการตามแผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงานอย่างต่อเนื่อง จนส่งผลให้ปีการศึกษา 2565 สาขามีการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน จำนวน 8 หลักสูตร เข้าร่วมสหกิจศึกษา จำนวน 6 หลักสูตร คิดเป็น 75%  โดยแยกเป็นสาขา ดังหลักฐาน 5.1-2(3)  ดังนี้

ลำดับที่

สาขาวิชา

สาขาที่ส่งนักศึกษาเข้าฝึกสหกิจศึกษา

1

สาขาวิชาการบัญชี

P

2

สาขาวิชาการจัดการ

-

3

สาขาวิชาการตลาด

P

4

สาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม

P

5

สาขาวิชาการบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ

P

6

สาขาวิชาการจัดการธุรกิจการค้าสมัยใหม่

P

7

สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจดิจิทัล

-

8

สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การเงินการคลัง

P

3 มีการกำกับ ติดตามให้หลักสูตรประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนที่กำหนด

      คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มอบนโยบายให้งานศูนย์ฝึกและสหกิจศึกษา ได้ดำเนินการตามระบบ
และกลไกการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงานตามนโยบายของมหาวิทยาลัย ดังนี้

          มหาวิทยาลัยมีนโยบายการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงานให้แต่ละคณะคัดเลือกหลักสูตรในการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน โดยมีขั้นตอนการดำเนินงานดังนี้

          3.1 คณะมีนโยบายให้หลักสูตรจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงานโดยส่งเสริมให้นักศึกษาลงฝึกสหกิจศึกษาอย่างน้อย 2 – 5 คน ต่อหลักสูตร และให้มีแนวโน้มในการส่งเสริมเพิ่มขึ้นในทุกๆปี โดยคณะ
จะจัดทำระบบฐานข้อมูลสถานประกอบการที่เป็นเครือข่ายความร่วมมือทั้งในและนอกจังหวัดศรีสะเกษ
และรับผิดชอบติดต่อประสานงานโดยตรงเพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกันในแนวทางปฏิบัติและรายละเอียดต่างๆ
ที่เกี่ยวข้องในทิศทางเดียวกัน หลังจากนั้นจะจัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ
โดยรายงานต่อผู้บริหารคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี

          3.2 งานศูนย์ฝึกฯและสหกิจศึกษาทำการประสานงานกับสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการเพื่อตรวจสอบช่วงระยะเวลาให้มีความสอดคล้องกับระยะเวลาการขออนุมัติสำเร็จการศึกษา เพื่อนำมาเป็นฐานข้อมูลประกอบการวางแผนปฏิทินการดำเนินงานศูนย์ฝึกฯ

          3.3 งานศูนย์ฝึกฯ และสหกิจศึกษาจะทำการประสานคณะกรรมการบริหารหลักสูตร อาจารย์ที่ปรึกษารายวิชาฝึกประสบการณ์และสหกิจศึกษาเข้าร่วมประชุมเพื่อรับทราบแนวทางการปฏิบัติงาน รวมจัดทำแผนปฏิบัติการ กำหนดปฏิทินการดำเนินงาน กิจกรรมการอบรมสหกิจศึกษา และกำหนดรายวิชาเพื่อจัดการเรียนการสอน
ที่บูรณาการกับการทำงานร่วมกับสถานประกอบการ โดยให้รับผิดชอบกำกับติดตามดูแลและประเมินผล
อย่างต่อเนื่องรวมถึงการจัดแบ่งอาจารย์นิเทศในระดับหลักสูตรพร้อมรายงานผลการดำเนินงานในลำดับถัดไป

         3.4 งานศูนย์ฝึกฯ และสหกิจศึกษาและอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรได้รับการแต่งตั้งให้เป็นตัวแทนคณะกรรมการดำเนินงานทุกสาขาเพื่อรับผิดชอบดูแลนักศึกษาและปรึกษาหารือร่วมกันเพื่อให้ได้ข้อสรุปหรือ
มีแนวปฏิบัติที่ดีเกี่ยวกับระบบและกลไกลการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงานรายงานการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี  ประจำปีการศึกษา 2565

          3.5 คณะกรรมการบริหารคณะพิจารณาแผนปฏิบัติการ กำหนดปฏิทินการดำเนินงาน กิจกรรมการอบรมสหกิจศึกษา และกำหนดรายวิชาเพื่อจัดการเรียนการสอนที่บูรณาการกับการทำงาน เป็นมติ กบ.คณะ

          3.6 งานศูนย์ฝึกฯ และสหกิจศึกษา ร่วมกับหลักสูตร ดำเนินตามแผนและประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนในการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการกับการทำงาน

          3.7 งานศูนย์ฝึกฯ และสหกิจศึกษา จะทำหน้าที่ในการกำกับติดตามการปฏิบัติตามแผนบูรณาการกับการทำงานของคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี และรายงานการประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนที่กำหนดในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน

          3.8 งานศูนย์ฝึกฯ และสหกิจศึกษา อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร และอาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาฝึกประสบการณ์วิชาและสหกิจศึกษา  นำผลการประเมินไปปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการเรียนกับการทำงานอย่างต่อเนื่อง และรายงานต่อผู้บริหารคณะ

4 มีการนำผลไปปรับปรุงแผนจัดการหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

  

    คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มีการจัดประชุมคณะกรรมการผู้รับผิดชอบ อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร และอาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาฝึกประสบการณ์วิชาและสหกิจศึกษา เพื่อทบทวนระบบและกลไกการปฏิบัติงานรวมถึงสรุปปัญหาข้อเสนอแนะ ที่แต่ละหลักสูตรได้รับจากการออกนิเทศเพื่อสะท้อนปัญหา หาทางแก้ไขและเป็นฐานข้อมูลในการวางแผนในปีถัดไปให้เกิดอุปสรรค์หรือปัญหาที่ลดลงตลอดจนมีการกำหนดทิศทางการพัฒนาด้านการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยในปีการศึกษา 2565 กำหนดให้มีการดำเนินงานบูรณาการหลักสูตรกับการทำงานสาขาละ 1 ประเภท รวมทั้งสิ้น 8 หลักสูตร และในปีการศึกษา 2565  มีการเพิ่มเป้าหมายการพัฒนาโดยกำหนดและส่งเสริมให้ทุกหลักสูตรมีการบูรณาการกับการทำงานเพิ่มขึ้นทุกปี  โดยเน้นตามบริบทของรายวิชาในแต่ละหลักสูตร  ซึ่งสรุปได้ดังนี้

ลำดับ

หลักสูตร

ประเภท WILL

1

สาขาวิชาการบัญชี

หน่วยงานภาครัฐ/หน่วยงานวิสาหกิจ/สถานประกอบการ เช่น สำนักงานบัญชี บริษัทห้างร้าน สำนักงานตรวจสอบบัญชี สำนักงานตรวจสอบเงินแผ่นดิน สำนักงานสรรพากร เป็นต้น

2

สาขาวิชาการจัดการ

หน่วยงานภาครัฐ/หน่วยงานวิสาหกิจ/สถานประกอบการ เช่น ธนาคารออมสิน ธนาคารกสิกร การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เป็นต้น

3

สาขาวิชาการตลาด

หน่วยงานภาครัฐ/หน่วยงานวิสาหกิจ/สถานประกอบการ เช่น หอการค้าจังหวัด บริษัท ห้างสรรพสินค้า ประกันชีวิต บริษัท เบทาโกร เป็นต้น

4

สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การเงินการคลัง

หน่วยงานภาครัฐ/หน่วยงานวิสาหกิจ/สถานประกอบการ เช่น ธนาคารกรุงศรีอยุธยา บริษัท เบทาโกร เป็นต้น

5

สาขาวิชาการบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ

หน่วยงานภาครัฐ/หน่วยงานวิสาหกิจ/สถานประกอบการ เช่น สำนักงานพาณิชย์จังหวัดศรีสะเกษ ที่ทำการไปรษณีย์จังหวัดศรีสะเกษ
บริษัทแมชชั่น เอ็นจิเนียริ่ง เซ็นเตอร์ จำกัด
เป็นต้น

6

สาขาวิชาการจัดการธุรกิจการค้าสมัยใหม่

หน่วยงานภาครัฐ/หน่วยงานวิสาหกิจ/สถานประกอบการ เช่น บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) เป็นต้น

7

สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจดิจิทัล

หน่วยงานภาครัฐ/หน่วยงานวิสาหกิจ/สถานประกอบการ เช่น สำนักงานพาณิชย์จังหวัดศรีสะเกษ ที่ทำการไปรษณีย์จังหวัดศรีสะเกษ
เป็นต้น

8

สาขาวิชาการบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ

ธุรกิจนำเที่ยว/โรงแรม/สถานประการ เช่น
โรงเเรมเเกรนด์ริชมอนด์ สยามเบย์ชอร์
รีสอร์ทพัทยา อนันตรา รสานันดา
เกาะพะงัน วิลล่าส์ เป็นต้น

5 มีแนวปฏิบัติที่ดีเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน

        จากผลการทำงานตามแผนบริหารจัดการการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงานของแต่ละหลักสูตร
คณะกรรมการฝ่ายแผนการบูรณาการกับการทำงาน ได้พิจารณาเลือกแนวการจัดการการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงานของหลักสูตร หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิตสาขาวิชาการจัดการธุรกิจการค้าสมัยใหม่
เป็นต้นแบบในการทำงนการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน และมีการถ่ายทอดรูปแบบการจัดการเรียนการสอนดังกล่าวผ่านการประชุมร่วมกัน ซึ่งอาจารย์ประจำหลักสูตรสาขาวิชาการจัดการธุรกิจการค้าสมัยใหม่
ได้เป็นพี่เลี้ยงและให้คำปรึกษาคำแนะนำในการจัดทำหลักสูตรบูรณาการกับการทำงาน ทำให้แต่ละหลักสูตรสามารถทำงานตามแผนได้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

         คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี ร่วมกับหลักสูตร 8 หลักสูตร ประกอบด้วย สาขาการบัญชี สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจดิจิทัล สาขาท่องเที่ยวและการโรงแรม สาขาการจัดการสาขาการตลาด สาขาเศรษฐศาสตร์ สาขาบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ และสาขาการจัดการธุรกิจการค้าสมัยใหม่มีการวางแผนระบบและกลไกที่รัดกุม ดังหลักฐาน 5.1-5(1) และสามารถปฏิบัติงานได้ตรงตามแผนที่กำหนดไว้ทำให้ได้รับคำชื่นชมจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาทิเช่น สถานประกอบการ สำนักส่งเสริมบริการและวิชาการ ในการเปิดโอกาสรับนักศึกษาเพิ่มขึ้นเลื่อยๆทุกปี และมีสถานประกอบการอื่นที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักทั้งในและนอกจังหวัดศรีสะเกษแสดงความจำนงเป็นหนึ่งในสถานที่ฝึกประสบการณ์ให้กับนักศึกษารวมทั้งมีการจัดสวัสดีการต่างๆ และเปิดโอกาสรับนักศึกษาเข้าทำงานเป็นพนักงานหลังจากฝึกประสบการณ์และสหกิจศึกษาเสร็จสิ้น โดยในปีการศึกษา 2565 นักศึกษาสหกิจศึกษา คือ นายสุเทพ สอนสำแดง  สาขาวิชาการบัญชี ได้ถูกคัดเลือกเป็นผู้จัดการ บริษัท สตาร์ พลาสติกและ นางสาวมณีรัตน์ จันทร์ศรี  สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การเงินการคลัง ได้ถูกคัดเลือกเป็นผู้ช่วยผู้จัดการร้าน บริษัทเบทาโก สำนักงานใหญ่

          นอกจากนี้ งานศูนย์ฝึกประสบการณ์วิชาชีพและสหกิจศึกษา คณะบริหารธุรกิจและการบัญชีเป็นหน่วยงานต้นแบบด้านสหกิจศึกษาที่มีการปฏิบัติงานที่ดีอย่างต่อเนื่องทำให้คณะอื่นๆ รวมถึงสำนักส่งเสริมบริการและวิชาการได้เข้ามาศึกษาดูงานเกี่ยวกับวิธีการปฏิบัติงานและการกำหนดขั้นตอนต่างๆ เพื่อนำไปปรับประยุกต์ใช้ในการวางแผนในการดำเนินงานแต่ละหน่วยงานต่อไป ดังหลักฐาน 5.1-5(2) และ ดังหลักฐาน 5.1-5(3)

           งานศูนย์ฝึกประสบการณ์วิชาชีพและสหกิจศึกษา คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี ได้เข้าร่วมพิธีลงนามความร่วมมือกับ (MOU) ดังหลักฐาน 5.1-5(4) ระหว่าง มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ มหาวิทยาลัยเครือข่าย กับ บริษัท เมเจอร์ซีนีเพล็กซ์ จำกัด เป็นบริษัทชั้นนำของประเทศและเป็นเครือข่ายสหกิจศึกษาในระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง เพื่อสนับสนุนสหกิจศึกษา ทั้งนี้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีและมหาวิทยาลัยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ซึ่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีเป็นแม่ข่ายและให้คำปรึกษามาตลอด ทำให้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีเชื่อมั่นในระบบการทำงานสหกิจศึกษาและสนับสนุนงบประมาณในการจัดกิจกรรมประกวดผลงานสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงานดีเด่นอย่างต่อเนื่อง ดังหลักฐาน 5.1-5(5)

ผลคะแนนการประเมินตนเอง
ทำได้ (ข้อ) ได้คะแนน
5 5