ตัวบ่งชี้ที่ 5.2 การบริหารของคณะเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจ 
กลุ่มสถาบันและเอกลักษณ์ของคณะ

ปีที่ประเมิน 2562
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : วรางคณา ปุ๋ยสูงเนิน , ปรารถนา มะลิไทย , อลงกต แผนสนิท , ประจวบ จันทร์หมื่น , วิลาสินี รัตนวรรณ , เอกลักษณ์ สุรวิทย์
ชนิดตัวบ่งชี้ : กระบวนการ
คำอธิบายตัวบ่งชี้

คณะมีพันธกิจหลัก คือ การเรียนการสอน การวิจัย การบริการทางวิชาการ และการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ในการดำเนินพันธงานตามกิจหลัก แต่ละคณะจำเป็นต้องมีการจัดทำแผนเพื่อกำหนดทิศทางการพัฒนาและการดำเนินงานของคณะให้สอดคล้องกับเป้าหมาย ตลอดจนมีการบริหารทั้งด้านบุคลากร การเงิน ความเสี่ยงและการประกันคุณภาพการศึกษา เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานตามพันธกิจหลักให้บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล คำนึงถึงความหลากหลายและความเป็นอิสระทางวิชาการ มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ยืดหยุ่น คล่องตัว โปร่งใสและตรวจสอบได้

เกณฑ์การประเมิน
คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 - 6 ข้อ มีการดำเนินการ 7 ข้อ
เกณฑ์มาตรฐาน
ระดับ เกณฑ์มาตรฐาน ดำเนินการ
1 พัฒนาแผนกลยุทธ์จากผลการวิเคราะห์ SWOT โดยเชื่อมโยงกับวิสัยทัศน์ของคณะและสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของคณะ สถาบัน รวมทั้งสอดคล้องกับกลุ่มสถาบันและเอกลักษณ์ของคณะและและพัฒนาไปสู่แผนกลยุทธ์ทางการเงินและแผนปฏิบัติการประจำปีตามกรอบเวลาเพื่อให้บรรลุผลตามตัวบ่งชี้และเป้าหมายของแผนกลยุทธ์และเสนอผู้บริหารระดับสถาบันเพื่อพิจารณาอนุมัติ
2 ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินที่ประกอบไปด้วยต้นทุนต่อหน่วยในแต่ละหลักสูตร สัดส่วนค่าใช้จ่ายเพื่อพัฒนานักศึกษา อาจารย์ บุคลากร การจัดการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง เพื่อวิเคราะห์ความคุ้มค่าของการบริหารหลักสูตร ประสิทธิภาพ ประสิทธิผลในการผลิตบัณฑิต และโอกาสในการแข่งขัน
3 ดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยง ที่เป็นผลจากการวิเคราะห์และระบุปัจจัยเสี่ยงที่เกิดจากปัจจัยภายนอก หรือปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ที่ส่งผลต่อการดำเนินงานตามพันธกิจของคณะและให้ระดับความเสี่ยงลดลงจากเดิมอย่างน้อย 1 เรื่อง
4 บริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาลอย่างครบถ้วนทั้ง 10 ประการที่อธิบายการดำเนินงานอย่างชัดเจน
5 ค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีจากความรู้ทั้งที่มีอยู่ในตัวบุคคล ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง และแหล่งเรียนรู้อื่นๆ ตามประเด็นความรู้ อย่างน้อยครอบคลุมพันธกิจด้านการผลิตบัณฑิตและด้านการวิจัย จัดเก็บอย่างเป็นระบบโดยเผยแพร่ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษรและนำมาปรับใช้ในการปฏิบัติงานจริง
6 การกำกับติดตามผลการดำเนินงานตามแผนการบริหารและแผนพัฒนาบุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุน
7 ดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในตามระบบและกลไกที่เหมาะสมและสอดคล้องกับพันธกิจและพัฒนาการของคณะที่ได้ปรับให้การดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารงานคณะตามปกติที่ประกอบด้วย การควบคุมคุณภาพ การตรวจสอบคุณภาพ และการประเมินคุณภาพ
ผลการดำเนินงาน
ตนข้อเกณฑ์ผลการดำเนินงานหลักฐาน
1 พัฒนาแผนกลยุทธ์จากผลการวิเคราะห์ SWOT โดยเชื่อมโยงกับวิสัยทัศน์ของคณะและสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของคณะ สถาบัน รวมทั้งสอดคล้องกับกลุ่มสถาบันและเอกลักษณ์ของคณะและและพัฒนาไปสู่แผนกลยุทธ์ทางการเงินและแผนปฏิบัติการประจำปีตามกรอบเวลาเพื่อให้บรรลุผลตามตัวบ่งชี้และเป้าหมายของแผนกลยุทธ์และเสนอผู้บริหารระดับสถาบันเพื่อพิจารณาอนุมัติ

    วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้มีการจัดทำแผนกลยุทธ์ 4 ปี (พ.ศ. 2561 – 2564) ที่สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์และนโยบายของมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ซึ่งได้มีกระบวนการในการดำเนินงาน ดังนี้
  1. มีการแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำแผนกลยุทธ์ เพื่อทำหน้าที่ในการทบทวนจัดทำแผนกลยุทธ์ของวิทยาลัยกฎหมายและการปกครองที่สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์และนโยบายของมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ (5.2-1(1))
  2. คณะกรรมการจัดทำแผนกลยุทธ์ ได้มีการประชุมเพื่อทบทวน วางแผน เพื่อจัดทำแผนกลยุทธ์ ภายใต้กระบวนการมีส่วนร่วมของคณาจารย์ และบุคลากรวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ในการร่วมกับวิเคราะห์ SWOT ที่สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ นโยบายของมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ จากนั้นได้มีการนำแผนกลยุทธ์เข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ และเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
  3. วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำแผนกลยุทธ์ทางการเงิน (5.2-1(2)) เพื่อทำหน้าที่ในการดำเนินการจัดทำแผนกลยุทธ์ทางการเงิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ให้สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ของวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง (พ.ศ. 2561-2564) (5.2-1(3), 5.2-1(4)) นอกจากนี้ยังได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำแผนปฏิบัติการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 (5.2-1(5)) เพื่อทำหน้าที่จัดทำแผนปฏิบัติการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ของวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง(5.2-1(6)) ให้สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ของวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง (พ.ศ. 2561-2564) และแผนกลยุทธ์ทางการเงิน โดยได้มีการจำแนกตามโครงการ/กิจกรรม เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการบริหารวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง (5.2-1(7)) และกรรรมการประจำคณะ (5.2-1(8)) และเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563

2 ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินที่ประกอบไปด้วยต้นทุนต่อหน่วยในแต่ละหลักสูตร สัดส่วนค่าใช้จ่ายเพื่อพัฒนานักศึกษา อาจารย์ บุคลากร การจัดการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง เพื่อวิเคราะห์ความคุ้มค่าของการบริหารหลักสูตร ประสิทธิภาพ ประสิทธิผลในการผลิตบัณฑิต และโอกาสในการแข่งขัน

วิทยาลัยกฎหมายและการปกครองได้ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินที่ประกอบไปด้วยต้นทุนต่อหน่วยในแต่ละหลักสูตร สัดส่วนค่าใช้จ่ายเพื่อพัฒนานักศึกษา อาจารย์ บุคลากร การจัดการเรียนการสอน เพื่อวิเคราะห์ความคุ้มค่าของการบริหารหลักสูตร ประสิทธิภาพ ประสิทธิผลในการผลิตบัณฑิต และโอกาสในการแข่งขัน โดยในปีการศึกษา 2562 พบว่า มีหลักสูตรต่าง ๆ ของวิทยาลัยกฎหมายและการปกครองจํานวน 3 หลักสูตร มีความคุ้มค่าในการผลิตบัณฑิต แต่คณะยังมีกระบวนการผลิตบัณฑิตอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากมีจํานวนนักศึกษาน้อยทําให้หลักสูตรต้องออกแนะแนวการศึกษาต่อให้กับนักเรียน นักศึกษา เพื่อกระตุ้นการเลือกเรียนในหลักสูตรและเพิ่มยอดนักศึกษาให้กับหลักสูตร โดยไม่รอการแนะแนวจากมหาวิทยาลัยเท่านั้น (5.2-2-1))

3 ดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยง ที่เป็นผลจากการวิเคราะห์และระบุปัจจัยเสี่ยงที่เกิดจากปัจจัยภายนอก หรือปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ที่ส่งผลต่อการดำเนินงานตามพันธกิจของคณะและให้ระดับความเสี่ยงลดลงจากเดิมอย่างน้อย 1 เรื่อง

วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้มีการดำเนินงานด้านการบริหารความเสี่ยง ดังนี้                                                                    

  1. แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 เพื่อทำหน้าที่ในการกำกับ ติดตาม จัดเก็บข้อมูล ปฏิบัติงานให้สอดคล้องและเป็นไปตามตัวบ่งชี้และเกณฑ์ มาตรฐานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน และจัดทำรายงานประเมินตนเองในระดับคณะ องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ ตัวบ่งชี้ที่ 5.2 การบริหารของสถาบันเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ตาม พันธกิจ กลุ่มสถาบันและเอกลักษณ์ของสถาบัน เกณฑ์มาตรฐานข้อที่ 3 ดำเนินงานตามแผนบริหารความ เสี่ยง ที่เป็นผลจากการวิเคราะห์และระบุปัจจัยเสี่ยงที่เกิดจากปัจจัยภายนอก หรือปัจจัยที่ไม่สามารถ ควบคุมได้ที่ส่งผลต่อการดำเนินงานตามพันธกิจของคณะ และให้ระดับความเสี่ยงลดลงจากเดิม (5.2-3 (1))    
  2. คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง ได้มีการประชุมพิจารณาเพื่อวิเคราะห์ระบุความเสี่ยงและปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยง จัดลำดับความเสี่ยง ในคราวการประชุมครั้งที่ 1/2562 โดยมติที่ประชุมได้จัดลำดับความเสี่ยง ได้ 4 ด้าน  ได้แก่ (5.2-3(2))

       1)  ด้านทรัพยากร       
       2)  ด้านนโยบายกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
       3)  ด้านการปฏิบัติงาน  
       4) จากเหตุการณ์ภายนอก

  3. วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง  ได้มีการจัดทำแผนบริหารความเสี่ยง (5.2-3(3)) วิทยาลัยมีการดำเนินการตามแผนบริหารความเสี่ยงและนำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2562 (5.2-3(4))
  4. วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง  ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการติดตามผลการดำเนินงาน (5.2-3(5)) โดยได้มีการดำเนินการติดตามการดำเนินการประเมินผลการดำเนินงานตามแผน (5.2-3(6)), (5.2-3(7)) พร้อมทั้งได้มีการนำผลการประเมินรายงานต่อคณะกรรมการบริการความเสี่ยง และคณะกรรมการบริหาร วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ครั้งที่3/2563 วันที่ 13 พฤษภาคม 2563 วาระที่4.5  (5.2-3(8)), (5.2-3(9))

4 บริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาลอย่างครบถ้วนทั้ง 10 ประการที่อธิบายการดำเนินงานอย่างชัดเจน

ผู้บริหารวิทยาลัยกฎหมายและการปกครองได้รับการบริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาลโดยคำนึงถึงประโยชน์ของสถาบันและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตามหลักธรรมาภิบาล 10 ประการดังนี้

หลักธรรมาภิบาล

ผลงานดำเนินงาน

หลักที่ ( ประสิทธิผล)     

 

วิทยาลัยกฎหมายและการปกครองมีการบริหารงบประมาณและการบริหารทรัพยากรที่มีสิทธิ์ได้รับผลกระทบด้านทรัพยากรเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดโดยจัดให้มีคณะกรรมการบริหารด้านการเงินกฎหมายและการปกครอง

หลักประสิทธิภาพ ( ประสิทธิภาพ)  

วิทยาลัยกฎหมายและการปกครองได้รับการสร้างระบบการจัดการที่ดีที่สุดในการจัดการระบบการติดตามและการใช้งบประมาณที่เหมาะสมและคุ้มค่า

หลักการตอบสนองการตอบสนอง 

 

วิทยาลัยกฎหมายและการปกครองมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการความต้องการของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้อย่างเต็มที่

หลักภาระรับผิดชอบรับผิดชอบ 

ผู้บริหารวิทยาลัยกฎหมายและการปกครองได้รับความไว้วางใจในการปฏิบัติตามกฎหมายที่ได้รับการสนับสนุนและความรับผิดชอบ
ต่อสังคมและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่ได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการดำเนินการ งานด้านต่างๆให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามพันธกิจด้านต่างๆที่ได้กำหนดไว้

หลักความแข็ง ( ความโปร่งใส)     

ผู้บริหารวิทยาลัยกฎหมายและการปกครองได้รับรายงานผลการดำเนินงานด้านต่าง ๆ ในการประชุมประจำปีและให้โอกาสพนักงานหรือผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียได้รับทราบรายงานผลการดำเนินงานและกิจกรรมต่างๆมากมาย และภายนอก

หลักการมีส่วนร่วม (การมีส่วนร่วม)  

ผู้บริหารวิทยาลัยกฎหมายและการปกครองได้รับการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานตามพันธกิจต่าง ๆ เพื่อช่วยให้นักศึกษามีส่วนร่วมมากขึ้นในการดำเนินงานให้ได้รับการแต่งตั้งโดยมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานตามพันธกิจ กิจ

หลักการกระจายอำนาจการกระจายอำนาจ

 

ผู้บริหารวิทยาลัยกฎหมายและการปกครองได้รับการกระจายการบริหารงานโดยได้รับการจัดระเบียบคำสั่งแต่งตั้งประธานสาขาทั้ง 3 สาขาวิชา (5.1-4 (10) ) รวมทั้งมีส่วนร่วมในการจัดทำโดยผ่านคณะกรรมการดำเนินงานฝ่ายต่างๆในการจัดโครงการ

หลักนิติธรรม 
(
กฏหมาย)   

ผู้บริหารวิทยาลัยกฎหมายและการปกครองได้รับการรักษาด้วยยาเสพติดจำนวนมากเพื่อรองรับการใช้งานร่วมกันในการบริหารงานด้วยความระมัดระวัง

หลักความเสมอภาค ( Equity)

คุณผู้บริหารวิทยาลัยกฎหมายและหัวเรื่อง: การหัวเรื่อง: การปกครองได้มีหัวเรื่อง: การจัดสรรงบประมาณสำหรับหัวเรื่อง: การพัฒนาศักยภาพบุคลากรทั้งคุณสายวิชาการและสนับสนุนโดยยึดหลักความสามารถเสมอภาคและเท่าเทียมกัน
เพื่อเป็นการให้บุคลากรได้พัฒนาตนเองอย่างเต็มศักยภาพ
เช่นแผนพัฒนาบุคลากรวิทยาลัยกฎหมายและหัวเรื่อง: การปกครอง

หลักมุ่งเน้นฉันทามติฉันทามติที่มุ่งเน้น) 

 

ผู้บริหารวิทยาลัยกฎหมายและการปกครองได้รับการประชุมคณะกรรมการประจำวิทยาลัยกฎหมายและการปกครองโดยมีการจัดระเบียบเป็นระเบียบวาระการประชุมต่างประเทศในการประชุมคำแนะนำ ประชุมวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง

5 ค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีจากความรู้ทั้งที่มีอยู่ในตัวบุคคล ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง และแหล่งเรียนรู้อื่นๆ ตามประเด็นความรู้ อย่างน้อยครอบคลุมพันธกิจด้านการผลิตบัณฑิตและด้านการวิจัย จัดเก็บอย่างเป็นระบบโดยเผยแพร่ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษรและนำมาปรับใช้ในการปฏิบัติงานจริง

  1. วิทยาลัยกฎหมายและการปกครองได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการจัดการความรู้ ประจำปีการศึกษา 2562 (5.2-5(1)) เพื่อบริหารจัดการความรู้และที่มีอยู่ภายในตัวบุคคล รวบรวม จัดระบบความรู้เพื่อจัดทำเป็นแนวปฏิบัติที่ดีสำหรับประชาสัมพันธ์ให้แก่บุคลากรภายในคณะ

     2. คณะกรรมการจัดการความรู้จัดการประชุมเพื่อวางแผน และกำหนดแนวทางในการจัดการความรู้ ในปีการศึกษา 2562 (5.2-5(2)) โดยกำหนดประเด็นที่จะดำเนินการจัดการความรู้จำนวน 2 ประเด็นคือ

         1) การตีพิมพ์บทความวิจัย

         2) เทคนิคการสอนอย่างมืออาชีพ “ใช้สื่อการสอนสนุก”

    3. ตลอดปีการศึกษา 2562 คณะกรรมการจัดการความรู้ได้ดำเนินกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งสิ้น 4 ครั้ง (5.2-5(3)) จำแนกเป็น

      1) ประเด็นการเขียนบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์ จำนวน 2 ครั้ง ในแต่ละครั้งมีรายละเอียดการจัดกิจกรรมดังนี้

          ครั้งที่ 1 วันที่ 3 มีนาคม 2563 คณาจารย์ร่วมกันเสนอและคัดเลือกหัวข้อหลักในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หัวข้อที่กำหนดคือ การกำหนดความรู้หลัก เพื่อการเขียนบทความตีพิมพ์ และดำเนินกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ครั้งที่ 1 ประเด็น “การตีพิมพ์บทความวิจัยในวารสาร”

           ครั้งที่ 2 วันที่ 8 กรกฎาคม 2563 ดำเนินกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งที่ 2

      2) ประเด็นการจัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ จำนวน 2 ครั้ง ในแต่ละครั้งมีรายละเอียดการจัดกิจกรรมดังนี้ ครั้งที่ 1 วันที่ 3 มีนาคม 2563 คณาจารย์ร่วมกันเสนอและคัดเลือกหัวข้อหลักในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หัวข้อที่กำหนดคือ  “เทคนิคการสอนโดยใช้สื่อการสอนสนุก” และดำเนินกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งที่ 1

           ครั้งที่ 2 วันที่ 8 กรกฎาคม 2563 ดำเนินกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งที่ 2 

    4. คณะกรรมการจัดการความรู้ได้รวบรวม จัดเก็บความรู้ที่ได้รับจากกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในแต่ละครั้ง (5.2-5(4), 5.2-5(5))

    5. คณะกรรมการจัดการความรู้ดำเนินการเผยแพร่แนวปฏิบัติที่ดีให้แก่อาจารย์และบุคลากรในคณะผ่านช่องทางดังนี้

        1) เผยแพร่ทางออนไลน์ คือ Facebook คณาจารย์วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง

         2) เผยแพร่ในรูปแบบเอกสารโดยตีพิมพ์ในรูปแบบรูปเล่ม

    6. การบริหารจัดการความรู้เป็นกิจกรรมที่ไม่ได้แสดงให้เห็นผลลัพธ์ทั้งหมดของการดำเนินการเมื่อสิ้นปีการศึกษา แต่ผลของการจัดการความรู้จะแสดงให้เห็นชัดเจนในปีการศึกษาถัดไป เนื่องจากการจัดการความรู้เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อแลกเปลี่ยนปัญหาที่เกิดขึ้นในปีการศึกษาที่จัดกิจกรรม และแสวงหาแนวทางการแก้ไข แนวทางการพัฒนาเพื่อนำไปใช้ในปีการศึกษาต่อไป ดังนั้นเป้าหมายของการดำเนินงานในปีการศึกษา 2562 ด้านจำนวนอาจารย์ที่นำแนวปฏิบัติไปใช้จะสามารถตรวจสอบการบรรลุเป้าหมายได้ในปีการศึกษา 2563

    7. จากการดำเนินงานการจัดการความรู้ในปีการศึกษา 2561 มีอาจารย์และบุคลากรภายในคณะได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจำนวนทั้งสิ้น 14 หัวข้อ ผู้ได้รับทุนจำนวน 16 คนจำแนกเป็นอาจารย์ จำนวน 13 คนและบุคลากรสายสนับสนุนจำนวน 3 คน ซึ่งจำนวนผู้ที่ได้รับทุนในปีการศึกษา 2562 แสดงให้เห็นว่าการดำเนินงานในปีการศึกษา 2561 ประสบความสำเร็จ

6 การกำกับติดตามผลการดำเนินงานตามแผนการบริหารและแผนพัฒนาบุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุน

วิทยาลัยกฎหมายและการปกครองได้จัดทำแผนการบริหารและการพัฒนาบุคลากรวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ซึ่งรวมทั้งบุคลากรสายวิชาการและบุคลากรสายสนับสนุน โดยได้มีการสำรวจข้อมูลจากบุคลากรในหลักสูตร และบุคลากรสำนักงานคณบดี ซึ่งมีการนำข้อมูลของบุคลากร เช่น จำนวนบุคลากรทั้งหมด คุณวุฒิ ตำแหน่งทางวิชาการ เพื่อนำมามาวิเคราะห์และจัดทำเป็นแผนบริหารและพัฒนาบุคลากรประจำปีการศึกษา 2562 ปีงบบประมาณ พ.ศ. 2563 เพื่อนำไปสู่กระบวนการพัฒนา 3 ด้าน คือ แผนบริหารกำลังคน แผนพัฒนาความก้าวหน้าบุคลากร และแผนพัฒนาสมรรถนะบุคลากร (5.2-6(1))

  วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้มีการบริหารส่งเสริมการพัฒนา และติดตามผลดำเนินงานตามแผนบริหารและแผนพัฒนาบุคลากร เพื่อให้เป็นไปตามแผนการสำรวจความต้องการในการพัฒนาตนเอง ทั้งการพัฒนาทักษะด้านความรู้ การศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น และมีการกำกับติดตามการศึกษาต่อ

   ในปีการศึกษา 2562 มีบุคลากรสายวิชาการสาขาวิชานิติศาสตร์ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก จำนวน 1 คน ได้แก่ ว่าที่ร้อยตรี ดร.ณัฐวัฒน์ บัวทอง และบุคลากรที่ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการจำนวน 3 คน ได้แก่ 1) ผศ. ดร.วิชชุดา วงษ์พานิชย์ 2) ผศ. ทรณ์ สิทธิศักดิ์ และ3) ผศ.ปรารถนา มะลิไทย ซึ่งวิทยาลัยได้มีการสร้างขวัญและกำลังใจให้บุคลากรโดยการกล่าวแสดงความยินดีและมอบช่อดอกไม้แสดงความยินดีในการสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาเอก และได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการของบุคลากร
   วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้มีการจัดสรรงบประมาณเพื่อเป็นการส่งเสริมและพัฒนาบุคลกรทั้งวิชาการและสายสนับสนุน ซึ่งได้มีการจัดสรรงบประมาณในการพัฒนาตนเองในอัตรา 5,000 บาท/คน/งบประมาณ และได้มีการสนับสนุนให้บุคลากรเข้าร่วมโครงการและกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาศักยภาพและประสิทธิภาพของบุคลากรแต่ละสายงาน ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยเพื่อเป็นการเพิ่มพูนทักษะทั้งด้านความรู้ และมีการติดตามให้มีการนำความรู้และทักษะที่ได้จากการพัฒนาตนเองมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน การวัดผลการเรียนรู้ของนักศึกษา ตลอดจนการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยวิทยาลัยได้จัดทำเป็นรายงานผลการพัฒนาศักยภาพตนเองรายบุคคลต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง
ทั้งนี้วิทยาลัยกฎหมายและการปกครองได้มีการดำเนินการเพื่อติดตามผลการดำเนินงานตามแผนพัฒนาบุคลากร ผ่านที่ประชุมคณะกรรมการบริหารวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง และได้ดำเนินการติดตามผลปีละ1ครั้งและนำผลการประเมินมาพัฒนาและปรับปรุงแผนการดำเนินงานให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้นต่อไป (5.2-6(2))

7 ดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในตามระบบและกลไกที่เหมาะสมและสอดคล้องกับพันธกิจและพัฒนาการของคณะที่ได้ปรับให้การดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารงานคณะตามปกติที่ประกอบด้วย การควบคุมคุณภาพ การตรวจสอบคุณภาพ และการประเมินคุณภาพ

วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง มีระบบกลไกการติดตามการดำเนินการประกันคุณภาพหลักสูตรของคณะ โดยดำเนินการตามมาตรฐานการประกันคุณภาพในทุกองค์ประกอบตามมาตรฐานการประกันคุณภาพของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และมหาวิทยาลัยกลุ่มราชภัฏ โดยเน้นระบบการประกันคุณภาพการศึกษาที่ก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ตามพันธกิจหลักของมหาวิทยาลัย ประกอบด้วย
  1. การแต่งตั้งคณะกรรมการประกันคุณภาพของวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ประจำปีการศึกษา 2562 (5.2-7(1))  2. กำหนดกรอบการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษา โดยการจัดทำคู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาของวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ประจำปีการศึกษา 2562 ที่ประกอบด้วยแนวทางการดำเนินงานการประกันคุณภาพระดับหลักสูตรและระดับคณะ พร้อมด้วยระบบกลไกต่างๆ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานการประกันคุณภาพให้สำเร็จลุล่วงและเกิดประสิทธิภาพทั้งในระดับหลักสูตรและระดับคณะ (5.2-7(2))
  3. การจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง (Improvement Plan) โดยนำผลการประเมินคุณภาพจากวงรอบปีการศึกษา 2561 มาเป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนพัฒนางานในด้านต่างๆ ให้ครอบคลุมภาระงานด้านการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในระดับหลักสูตรและระดับคณะ และขับเคลื่อนงานให้เป็นไปตามปฏิทินการดำเนินงานที่วางไว้ (5.2-7(3))
  4. วิทยาลัยกฎหมายและการปกครองได้มีการส่งเสริมคณาจารย์เข้าร่วมการอบรมเกี่ยวกับการประกันคุณภาพระดับหลักสูตร โดยการจัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจด้านการประกันคุณภาพการศึกษาสำหรับบุคลากร เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในระยะต่างๆ อย่างต่อเนื่อง (5.2-7(4))   
  5. คณะกรรมการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษามีการประชุมคณะกรรมการงานประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อปรึกษาหารือ วางแผน ติดตามผลและสรุปผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง (5.2-7(5)

  6. คณะกรรมการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาได้กำกับ ติดตามการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา ในที่ประชุมคณะกรรมการบริหารประจำวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง และรายงานต่อคณะกรรมการประจำวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ติดตามการดำเนินงาน รวมถึงการได้รับข้อเสนอแนะต่างๆ เพื่อนำมาบริหารจัดการให้เกิดประสิทธิภาพ (5.2-7(6))
  ทั้งนี้วิทยาลัยกฎหมายและการปกครองจัดให้มีการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร ประจำปีการศึกษา 2562 ในทุกหลักสูตร จำนวนทั้งสิ้น 3 หลักสูตร คือ หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต และหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต มีผลการประเมินหลักสูตรดังนี้ (5.2-7(7))

หลักสูตร

องค์ประกอบที่ 1

องค์ประกอบที่ 2-6

รัฐศาสตรบัณฑิต

ผ่าน

3.66

รัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต

ผ่าน

3.85

นิติศาสตรบัณฑิต

ผ่าน

3.37

ผลการประเมินหลักสูตรโดยรวม

3.63

ผลคะแนนการประเมินตนเอง
ทำได้ (ข้อ) ได้คะแนน
7 5