ตัวบ่งชี้ที่ 5.2 การบริหารของคณะเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจ 
กลุ่มสถาบันและเอกลักษณ์ของคณะ

ปีที่ประเมิน 2564
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : จินตนา ลี้ละไกรวรรณ , พุทธิพร พิธานธนานุกูล
ชนิดตัวบ่งชี้ : กระบวนการ
คำอธิบายตัวบ่งชี้

คณะมีพันธกิจหลัก คือ การเรียนการสอน การวิจัย การบริการทางวิชาการ และการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ในการดำเนินพันธงานตามกิจหลัก แต่ละคณะจำเป็นต้องมีการจัดทำแผนเพื่อกำหนดทิศทางการพัฒนาและการดำเนินงานของคณะให้สอดคล้องกับเป้าหมาย ตลอดจนมีการบริหารทั้งด้านบุคลากร การเงิน ความเสี่ยงและการประกันคุณภาพการศึกษา เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานตามพันธกิจหลักให้บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล คำนึงถึงความหลากหลายและความเป็นอิสระทางวิชาการ มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ยืดหยุ่น คล่องตัว โปร่งใสและตรวจสอบได้

เกณฑ์การประเมิน
คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 - 6 ข้อ มีการดำเนินการ 7 ข้อ
เกณฑ์มาตรฐาน
ระดับ เกณฑ์มาตรฐาน ดำเนินการ
1 พัฒนาแผนกลยุทธ์จากผลการวิเคราะห์ SWOT โดยเชื่อมโยงกับวิสัยทัศน์ของคณะและสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของคณะ สถาบัน รวมทั้งสอดคล้องกับกลุ่มสถาบันและเอกลักษณ์ของคณะและและพัฒนาไปสู่แผนกลยุทธ์ทางการเงินและแผนปฏิบัติการประจำปีตามกรอบเวลาเพื่อให้บรรลุผลตามตัวบ่งชี้และเป้าหมายของแผนกลยุทธ์และเสนอผู้บริหารระดับสถาบันเพื่อพิจารณาอนุมัติ
2 ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินที่ประกอบไปด้วยต้นทุนต่อหน่วยในแต่ละหลักสูตร สัดส่วนค่าใช้จ่ายเพื่อพัฒนานักศึกษา อาจารย์ บุคลากร การจัดการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง เพื่อวิเคราะห์ความคุ้มค่าของการบริหารหลักสูตร ประสิทธิภาพ ประสิทธิผลในการผลิตบัณฑิต และโอกาสในการแข่งขัน
3 ดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยง ที่เป็นผลจากการวิเคราะห์และระบุปัจจัยเสี่ยงที่เกิดจากปัจจัยภายนอก หรือปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ที่ส่งผลต่อการดำเนินงานตามพันธกิจของคณะและให้ระดับความเสี่ยงลดลงจากเดิมอย่างน้อย 1 เรื่อง
4 บริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาลอย่างครบถ้วนทั้ง 10 ประการที่อธิบายการดำเนินงานอย่างชัดเจน
5 ค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีจากความรู้ทั้งที่มีอยู่ในตัวบุคคล ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง และแหล่งเรียนรู้อื่นๆ ตามประเด็นความรู้ อย่างน้อยครอบคลุมพันธกิจด้านการผลิตบัณฑิตและด้านการวิจัย จัดเก็บอย่างเป็นระบบโดยเผยแพร่ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษรและนำมาปรับใช้ในการปฏิบัติงานจริง
6 การกำกับติดตามผลการดำเนินงานตามแผนการบริหารและแผนพัฒนาบุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุน
7 ดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในตามระบบและกลไกที่เหมาะสมและสอดคล้องกับพันธกิจและพัฒนาการของคณะที่ได้ปรับให้การดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารงานคณะตามปกติที่ประกอบด้วย การควบคุมคุณภาพ การตรวจสอบคุณภาพ และการประเมินคุณภาพ
ผลการดำเนินงาน
ตนข้อเกณฑ์ผลการดำเนินงานหลักฐาน
1 พัฒนาแผนกลยุทธ์จากผลการวิเคราะห์ SWOT โดยเชื่อมโยงกับวิสัยทัศน์ของคณะและสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของคณะ สถาบัน รวมทั้งสอดคล้องกับกลุ่มสถาบันและเอกลักษณ์ของคณะและและพัฒนาไปสู่แผนกลยุทธ์ทางการเงินและแผนปฏิบัติการประจำปีตามกรอบเวลาเพื่อให้บรรลุผลตามตัวบ่งชี้และเป้าหมายของแผนกลยุทธ์และเสนอผู้บริหารระดับสถาบันเพื่อพิจารณาอนุมัติ

     ในปีการศึกษา  2564 คณะพยาบาลศาสตร์ มีแผนกลยุทธ์ คณะฯ ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2565 – 2569) (อ้างอิง 5.2-1 (1) ที่สอดคล้องกับนโยบายของมหาวิทยาลัยตามแผนพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ และแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2561-2565) (5.2-1(2) ซึ่งมีการทบทวนแผน อาทิ ปรัชญา วิสัยทัศน์ และทิศทางยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย ตามกรอบร่างยุทธศาสตร์การพัฒนา และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นต้น   โดยในปีการศึกษา  2564 คณะฯ มีขั้นตอนการปฏิบัติงานตามแผนกลยุทธ์ คณะพยาบาลศาสตร์ ระยะ 5 ปี (พ.ศ.  2564-2569) และแผนปฏิบัติการ ประจำปีงบประมาณปี พ.ศ. 2565 และแผนกลยุทธ์ทางการเงิน (งบประมาณปี พ.ศ. 2565) ดังนี้

   1. คณะพยาบาลศาสตร์ มีการจัดทำแผนกลยุทธ์ทางการเงิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 และแผนงานต่าง ๆ ประจำปีการศึกษา 2564 โดยนำข้อมูลจากการวิเคราะห์ SWOT (สภาพแวดล้อมภายใน สภาพแวดล้อมภายนอก) ที่เชื่อมโยงกับวิสัยทัศน์ของคณะฯ และสอดคล้องกับนโยบายของมหาวิทยาลัยผ่านการประชุมเชิงปฏิบัติการ การทบทวนแผนประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 ในวันที่ 16 กรกฎาคม 2564 (5.2 - 1(3)) และแผนงาน ประจำปีการศึกษา 2564) ซึ่งได้รับความร่วมมือจากผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากร เข้าร่วมกิจกรรมและให้ข้อเสนอแนะ ในการปรับปรุงกลยุทธ์ ตัวบ่งชี้ โครงการ/กิจกรรม และผู้รับผิดชอบในแต่ละประเด็นยุทธศาสตร์ เพื่อผลักดันให้การดำเนินงานของคณะฯ บรรลุเป้าหมายตามวิสัยทัศน์ที่วางไว้

   2. คณะพยาบาลศาสตร์ มีการนำแผนประจำปีการศึกษา 2564 ซึ่งประกอบด้วย แผนปฏิบัติการและแผนกลยุทธ์ทางการเงินประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 ที่ได้ดำเนินการในโครงการการจัดเตรียมความพร้อมในการจัดตั้งคณะพยาบาลศาสตร์และเปิดสอนสาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ (5.2-1(4))  แผนบริหารความเสี่ยง แผนบริหารและพัฒนาบุคลากร และแผนงานต่าง ๆ ประจำปีการศึกษา 2564 (5.2-1(5)) เสนอต่อคณะกรรมการประจำคณะ ในการประชุมครั้งที่ 3/2564 เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2564 ในการพิจารณาเห็นชอบแผนต่างๆ ประจำปีการศึกษา 2564  ( 5.2- 1(7)) และเสนอต่อคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ เพื่อให้ความเห็นชอบในการประชุมครั้งที่ 8/2564 เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม  2564 (5.2- 1(8))

    3. คณะพยาบาลศาสตร์ มีการกำกับติดตาม การดำเนินงานของแผนทุกแผน และรายงานแสดงฐานะทางการเงินทุก 6 เดือน เสนอต่อผู้บริหารและนำเข้าพิจารณาในที่ประชุมคณะกรรมการประจำคณะฯ ครั้งที่ 4/2564 วันที่ 7 กันยายน 2564 (5.2- 1(9))  และที่ประชุมสามัญคณะพยาบาลศาสตร์ ครั้งที่ 1/2564 วันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 พร้อมทั้งมีการวิเคราะห์สถานะทางการเงินทุกไตรมาส และนำเข้าพิจารณาในที่ประชุมสามัญ คณะพยาบาลศาสตร์ (ทุกไตรมาส) เพื่อเป็นการตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณให้มีประสิทธิภาพ โปร่งใส และตรวจสอบได้ (5.2- 1(10))

          3.1 คณะพยาบาลศาสตร์ มีการกำกับติดตามผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้วัดความสำเร็จของโครงการ และมีการประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผน (รอบ 6 เดือน) ซึ่งมีการดำเนินงานบางตัวชี้วัดยังไม่บรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้ ส่วนมากเป็นตัวชี้วัดที่อยู่ระหว่างการดำเนินการ และจากการประชุมคณะกรรมการประจำคณะฯ เห็นควรแจ้งให้ผู้รับผิดชอบเพิ่มการติดตามการดำเนินงานของโครงการ/กิจกรรมต่าง ๆ ที่บรรจุไว้ในแผนฯ ซึ่งผลการดำเนินงานด้านโครงการ/กิจกรรม เมื่อใกล้สิ้นปี ให้รวบรวมผลการดำเนินงานตามชี้วัดที่ยังไม่บรรลุและข้อเสนอแนะต่าง ๆ ไปพิจารณาและวางแผนการดำเนินงานต่อไป พร้อมกันนั้นยังรายงานต่อมหาวิทยาลัยต่อไป

          3.2 รายงานแสดงฐานะทางการเงิน ติดตามผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้วัดความสำเร็จของโครงการ รอบ 6 เดือน และเมื่อสิ้นปีงบประมาณ  ในการประชุมคณะกรรมการบริหารคณะฯ ครั้งที่ 3/2565 ในวันที่ 6 พฤษภาคม 2565  (5.2-1(11)) และเสนอในการประชุมคณะกรรมการประจำคณะ ครั้งที่ 3/2564 ในวันที่ 22 กรกฎาคม 2564 (5.2-1(12))

          3.3 เมื่อสิ้นสุดปีการศึกษา คณะฯ ได้มีการประเมินความสำเร็จของแผนและ กิจกรรม/โครงการที่ได้ดำเนินการไป โดยนำเข้าพิจารณาในการประชุมคณะกรรมการบริหารคณะฯ ในการประชุมครั้งที่ 3/2565 วันที่ 6 พฤษภาคม 2565 (5.2-1(13))  เพื่อให้ทราบถึงร้อยละความสำเร็จของตัวชี้วัดตามแผนกลยุทธ์ แผนปฏิบัติการ และแผนงานต่าง ๆ  สรุปปัญหาและอุปสรรค ในการดำเนินงานเพื่อเสนอต่อมหาวิทยาลัยต่อไป เมื่อสิ้นสุดปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 แต่เนื่องด้วยช่วงรับการประเมินยังไม่สิ้นงบประมาณ พ.ศ. 2565

2 ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินที่ประกอบไปด้วยต้นทุนต่อหน่วยในแต่ละหลักสูตร สัดส่วนค่าใช้จ่ายเพื่อพัฒนานักศึกษา อาจารย์ บุคลากร การจัดการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง เพื่อวิเคราะห์ความคุ้มค่าของการบริหารหลักสูตร ประสิทธิภาพ ประสิทธิผลในการผลิตบัณฑิต และโอกาสในการแข่งขัน

   คณะพยาบาลศาสตร์ ได้ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินที่ประกอบไปด้วยต้นทุนต่อหน่วยในหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรใหม่ พ.ศ.2564) สัดส่วนค่าใช้จ่ายเพื่อพัฒนานักศึกษา อาจารย์ บุคลากร การจัดการเรียนการสอน เพื่อวิเคราะห์ความคุ้มค่าของการบริหารหลักสูตร ประสิทธิภาพ ประสิทธิผลในการผลิตบัณฑิต และโอกาสในการแข่งขัน โดยในปีการศึกษา 2564 ผลการวิเคราะห์ความคุ้มค่าของการบริหารหลักสูตรที่พิจารณาจากจำนวนนักศึกษา  พบว่า  ยังไม่มีจุดคุ้มทุน ของหลักสูตร ปีการศึกษา 2565-2569 ดังรายงานสรุปผลการวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยและความคุ้มค่าของหลักสูตร-ปีการศึกษา 2565-2569

3 ดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยง ที่เป็นผลจากการวิเคราะห์และระบุปัจจัยเสี่ยงที่เกิดจากปัจจัยภายนอก หรือปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ที่ส่งผลต่อการดำเนินงานตามพันธกิจของคณะและให้ระดับความเสี่ยงลดลงจากเดิมอย่างน้อย 1 เรื่อง

คณะพยาบาลศาสตร์ ได้ดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยง ที่เป็นผลจากการวิเคราะห์และระบุปัจจัยเสี่ยงที่เกิดจากปัจจัยภายนอก หรือปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ที่ส่งผลต่อการดำเนินงานตามพันธกิจของคณะ มีรายละเอียดดังนี้

    1. แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (5.2-3(1))

    2. คณะกรรมการ ได้เสนอแผนบริหารความเสี่ยง (5.2-3(2)) และได้แสดงลำดับความเสี่ยงที่อยู่ในระดับสูง และสูงมาก ในที่ประชุมคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงครั้งที่ 1/2564 วันที่  5 สิงหาคม 2564 (5.2-3(3)) เพื่อวิเคราะห์ความเสี่ยง และปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยง และวิเคราะห์ความเสี่ยง โดยให้สำนักงานคณบดีจัดทำแผนบริหารความเสี่ยง และส่งข้อมูลมายังคณะฯ และสรุป เพื่อหาความเสี่ยงในระดับคณะ ผลการวิเคราะห์และจัดลำดับความเสี่ยงโดยพิจารณาจากการประเมินโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยง (Likelihood) และความรุนแรงของผลกระทบจากเหตุการณ์ความเสี่ยง (Impact) โดยอาศัยเกณฑ์มาตรฐานที่ได้กำหนดไว้ ทำให้การตัดสินใจจัดการกับความเสี่ยงเป็นไปอย่างเหมาะสม

     ซึ่งในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 คณะพยาบาลศาสตร์ มีปัจจัยเสี่ยงภายนอกหรือปัจจัยเสี่ยงที่ควบคุมไม่ได้ สูง และสูงมาก ได้จัดลำดับความเสี่ยง 1 โครงการ  ได้แก่ การดำเนินงานมีคุณภาพที่ไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด ดังนี้

ลำดับ

ประเด็นความเสี่ยง

ประเภทความเสี่ยง

สาเหตุความเสี่ยง

1

คณะฯยังไม่มีเงินรายได้ในการดำเนินโครงการ/กิจกรรม

ด้านปฏิบัติงานตามพันธกิจหลัก (O)

เป็นคณะเปิดใหม่ ยังไม่มีเงินรายได้ และไม่ได้จัดทำแผนปฏิบัติงาน มหาวิทยาลัยได้จัดทำแผนงบประมาณไปแล้ว

2

การจัดทำเอกสารล่าช้า/ไม่สมบูรณ์

ด้านนโยบาย กฎหมาย ข้อบังคับ (L)

การระบาดของโรคโควิด 19 บุคคลากรทำงานด้วยวิธี WFH

3

การเบิกจ่ายเงินและงบประมาณไม่เป็นไปตามกำหนด

ด้านบุคลากรและด้านธรรมาภิบาล (M)

1.การปฏิบัติงานล่าช้า

2.ร้านค้าไม่เปิดรับเงินเชื่อ

4

ไฟฟ้าดับมีผลต่อการใช้งานโสตทัศนูปกรณ์

ด้านเทคโนโลยีและสถานที่ (F)

แรงดันไฟตกทำให้ตู้ MDBหลักตัดระบบการทำงานของไฟฟ้าที่เข้าอาคาร ตู้MDB ไม่มีระบบออโต้ในขณะที่ไฟฟ้ากลับมาติดเป็นปกติ

     3. คณะพยาบาลศาสตร์ ได้นำแผนบริหารความเสี่ยงเข้าที่ประชุมคณะกรรมการประจำคณะเพื่อรับทราบ ในการประชุมครั้งที่ 4/2564 เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2564 (5.2-3(4))

    4. คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงมีการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อลดความเสี่ยง โดยเฉพาะปัจจัยภายนอกหรือปัจจัยเสี่ยงที่ควบคุมไม่ได้ 1 ประเด็นดังนี้

       4.1 การดำเนินงานมีคุณภาพที่ไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด ได้ดำเนินการดังนี้

          4.1.1 กำหนดและทำตารางปฏิบัติงานของบุคลากรให้ชัดเจน และจัดลำดับความสำคัญและความเร่งด่วนของงาน                    

          4.1.2 มีระบบในการตรวสอบความถูกต้องของงาน

          4.1.3 มีการกำกับติดตามงานหลังจากมอบหมายงาน และผ่านการตรวจสอบจาก หัวหน้าสนง.,ผู้ช่วยคณบดี,รองคณบดี ตามลำดับ                   

     5. เมื่อสิ้นสุดปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 คณะมีการประเมินความสำเร็จของแผน และรายงานผลต่อคณะกรรมการประจำคณะ ผลการดำเนินงานพบว่า ความเสี่ยงของสำนักงานคณบดี ให้อยู่ในขอบเขตที่องค์กรยอมรับได้

   มติที่ประชุม  เห็นชอบผลการกำกับติดตามการดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยงของคณะฯและได้ให้ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงต่อไป (5.2 - 3(6))

4 บริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาลอย่างครบถ้วนทั้ง 10 ประการที่อธิบายการดำเนินงานอย่างชัดเจน

     ผูบริหารคณะพยาบาลศาสตร บริหารงานดวยหลักธรรมาภิบาล โดยยึดหลักประโยชนของคณะฯ มหาวิทยาลัย และมีสวนได้ส่วนเสียในการปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาล ดังนี้

      1. หลักประสิทธิผล

        ผูบริหารคณะฯ มีการบริหารจัดการภายในคณะฯ ให้ดำเนินงานบรรลุตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายของแผนปฏิบัติราชการ ปีงบประมาณ2565 ครอบคลุมทุกพันธกิจและนำเสนอผลการดำเนินงานต่อคณะกรรมการบริหารคณะฯ ตามวงรอบการประชุม และนำปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะไปพัฒนาปรับปรุงการดำเนินงานใหมีประสิทธิผล (5.2-4(1) มีการดำเนินการตามแผนบริหารความเสี่ยง (5.2-4(2)) และมีการกำกับ ติดตามเป้าหมายและตัวชี้วัดต่างๆ ให้เป็นไปตามกลยุทธ์ต่างๆ ที่กำหนดไว้ในแผนปฏิบัติการ โดยบริหารงบประมาณตามแผนปฏิบัติการ ประจำปีงบประมาณ 2564 (5.2-4(3))

      2. หลักประสิทธิภาพ

        การดำเนินงานของคณะฯ ได้บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ในแผนปฏิบัติการ ประจำปีงบประมาณ 2565 เช่น ด้านงบประมาณมีการใช้จ่ายงบประมาณตามหลักการบริหาร จัดการงบประมาณที่ดี โดยใช้งบประมาณตามวงเงินที่กำหนดโดยมหาวิทยาลัยและคณะฯ เสนอขอ  (5.2-4(4)) นอกจากนี้มีการใช้เทคโนโลยีเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ ในการดำเนินการประชุมคณะกรรมการชุดต่างๆ  โดยระบบออนไลน์เพื่อลดต้นทุนการใช้จ่าย พลังงานและระยะเวลา

     3. หลักการตอบสนอง

         การดำเนินงานของคณะฯ มีการกำกับ ติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการบริหารจัดการทุกพันธกิจให้สำเร็จตามเป้าหมายและระยะเวลาที่กำหนด และคำนึงถึงความต้องการของอาจารย์ และบุคลากรสายสนับสนุน โดยมีการจัดทำแผนและดำเนินการพัฒนาศักยภาพอาจารย์ และบุคลากรสายสนับสนุนที่ตรงกับความต้องการ ซึ่งได้มีการสำรวจและให้ทุกคนจัดทำแผนพัฒนาตนเองเป็นรายบุคคล (Individual Development Plan: ID PLAN) (5.2-4(5))

     4. หลักความรับผิดชอบ

         ผูบริหารคณะฯ ไดตระหนักถึง ภาระความรับผิดชอบในการปฏิบัติ หนาที่ตามพันธกิจของมหาวิทยาลัยที่ไดกำหนดไว เพื่อตอบสนองตอความตองการของชุมชนสังคม และผูมีสวนไดสวนเสีย ซึ่งได้สงเสริมและสนับสนุน ใหมีการดำเนินงานดานตางๆ เพื่อใหบรรลุวัตถุประสงคตามพันธกิจ ครอบคลุม 6 ดาน โดยแตงตั้งคณะกรรมการดำเนินงานตามพันธกิจ ไดแก

         1) ดานการผลิตบัณฑิต มีการมอบหมายอาจารยผูสอน/ผู้รับผิดชอบหรือผู้ประสานรายวิชา ในรายวิชาที่ร่วมรับผิดชอบสอนกับสาขาวิชา/คณะวิทยาศาสตร์และศิลปะศาสตร์ (5.2-4(6)) การมอบหมายอาจารยผูสอน/ผู้รับผิดชอบหรือผู้ประสานรายวิชา ในรายวิชาที่ร่วมรับผิดชอบ) และมีคำสั่งแตงตั้งคณะกรรมการศูนย์การเรียนรู้ทางการพยาบาล เพื่อดำเนินการเตรียมความพร้อมในการเปิดสอนหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรใหม่ พ.ศ.2565) (5.2-4(7))

         2) ดานการบริการวิชาการ (5.2-4(8) คำสั่งแตงตั้งคณะกรรมการดำเนินงานบริการวิชาการ)

         3) ดานการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม (5.2-4(9) คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานการทำนุบำรุงศิลปะวัฒนธรรม)

         4) ดานการวิจัย (5.2-4(10) คำสั่งแตงตั้งคณะกรรมการดำเนินงานวิจัย

           5) ดานประกันคุณภาพการศึกษา (5.2-4(11) คำสั่งแตงตั้งคณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษา)

           6) ดานการจัดการความรู (5.2-4(12) คำสั่งแตงตั้งคณะกรรมการดำเนินงานการจัดการความรู

         5. หลักความโปรงใส   

            ผูบริหารคณะฯ ได้แตงตั้งคณะกรรมการประจำคณะฯ (5.2-4(13)) และแตงตั้งคณะกรรมการบริหารคณะฯ (5.2-4(14)) เพื่อกำกับติดตามตรวจสอบดูแลการบริหารจัดการ ภายในคณะฯ พรอมทั้งใหคำปรึกษาเสนอแนะแนวทางการพัฒนาแกผูบริหาร คณะฯ เพื่อใหเกิดการทำงานที่โปรงใส งานเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล บรรลุเป้าหมายในการทำงานตามพันธกิจ คณะฯ ไดแตงตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน) เพื่อ กำกับ ติดตาม ใหงานบรรลุวัตถุประสงคเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล ซึ่งทำ ใหเกิดความโปรงใสในการทำงานรวมกันภายในคณะฯ มีการประชุมสามัญภายในคณะฯ (5.2-4(15)) และมีการประชุมคณาจารย์ประจำเดือน/ตามบริบทที่เหมาะสม (5.2-4(16)) รายงานการประชุมคณาจารย์) เพื่อเปนมอบนโยบาย การปรึกษาหารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ติดตามการทำงาน รวมทั้งหาแนวทางการแกปญหารวมกัน เปดโอกาสใหทุกคนไดเสนอความคิดเห็น ในการชวยพัฒนาการบริหารงานใหเกิดการขับเคลื่อนคณะฯ รวมกัน 

        6. หลักการมีสวนรวม

             ผูบริหารคณะฯ ไดมีการแตงตั้งหัวหนาสำนักงานคณบดี คณะกรรมการดำเนินงานตามพันธกิจคณะฯที่ครอบคลุมงานตางๆ ภายในคณะฯ เพื่อใหบุคลากรมีสวนรวมในการดำเนินงานใหบรรลุเปาหมายที่วางไว รวมทั้งเมื่อมีดำเนินโครงการตาม แผนงานของคณะฯ บุคลากรเขามามีสวนรวมในการทำงาน โดยมอบหมายตาม ภารกิจความรับผิดชอบใหกับอาจารย์ และบุคลากร เพื่อขับเคลื่อน การดำเนินงานรวมกัน ภายใตแผนยุทธศาสตรของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาทองถิ่น (5.2-4(17))

          7. หลักการกระจายอำนาจ

           ผูบริหารคณะฯ ไดกระจายอำนาจในการบริหารงาน โดยไดมีการจัดทำคำสั่งมอบอำนาจ รองคณบดีปฏิบัติราชการแทนคณบดี) มีคำสั่งแตงตั้งผูชวยคณบดี (5.2-4(18)) มีคำสั่งแตงตั้งประธานสาขาวิชา (5.2-4(19)) คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรฯ (5.2-4(20)) คำสั่งแตงตั้งคณะกรรมการบริหารหลักสูตร(5.2-4(21)) คำสั่งแต่งตั้งประธานและคณะกรรมชุดต่างๆ ตามพันธกิจ (5.2-4(22)) รวมทั้งมีการกระจายอำนาจไปยังบุคลากรภายในคณะฯ ใหไดมีสวนรวมในการตัดสิน การวางแผน การดำเนินงาน การประเมินผล การแกไขปัญหาและอุปสรรค โดยผานคณะกรรมการดำเนินงานฝายตาง ๆ

        8. หลักนิติธรรม

           ผูบริหารคณะฯ ยึดแนวปฏิบัติ กฎ ระเบียบ ประกาศ ข้อบังคับตางๆ ของทางมหาวิทยาลัย (5.2-4(23)) และไดมีการออกแนวปฏิบัติระเบียบ ประกาศ และขอบังคับตางๆ ของมหาวิทยาลัยขึ้นตามบริบทของคณะฯ เพื่อยึดถือเปนแนวปฏิบัติรวมกัน และบริหารงานดวยความเปนธรรม ไม่เลือกปฏิบัติ โดยแสดงให้เห็นชัดเจนจากการกำหนดแบบข้อตกลงภาระงาน (TOR) ให้บุคลากรทุกคนมีภาระงานที่ชัดเจนและเท่าเทียมกัน ตามประกาศมหาวิทยาลัย เรื่อง หลักเกณฑ์การให้คะแนนการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากร เพื่อนำไปสู่การประเมินผลการปฏิบัติงานที่ชัดเจนและเป็นธรรม คำนึงถึงสิทธิและเสรีภาพของคณาจารย และบุคลากรภายในคณะฯ เปนหลัก (5.2-4(24) และ (5.2-4(25))

        9. หลักความเสมอภาค

           ผูบริหารคณะฯ มีการจัดสรรงบประมาณ สำหรับการพัฒนาศักยภาพ บุคลากรทั้งสายวิชาการและสายสนับสนุนโดยยึดหลักความเสมอภาคและเทาเทียมกันตามแผนบริหารและพัฒนาบุคลากร ปงบประมาณ 2564 ที่มีการพิจารณาและตกลงร่วมกันในที่ประชุม (5.2-4(26)) นอกจากนี้คณะฯ ใชระเบียบและขอบังคับบุคลากรตามที่ฝายบริหารงานบุคคลมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ และแจ้งใหแกบุคลากรรับทราบโดยทั่วกันเพื่อยึดถือเปนแนวปฏิบัติเหมือนกันทั้งคณะและมหาวิทยาลัย

        10. หลักมุงเนนฉันทามติ

           ผูบริหารคณะฯ มีการประชุมสามัญ กอนเปดเรียนในปการศึกษา 2565 และมีการประชุมประจำเดือนและ/หรือวาระพิเศษในกรณีเร่งด่วน  เพื่อใหคณาจารยและบุคลากรไดรับทราบนโยบาย ขอมูลขาวสาร แลกเปลี่ยนความคิดเห็น จากทางผู้บริหารคณะฯ มหาวิทยาลัยหรือประกันคุณภาพการศึกษา ภายใน (5. 1-4(27), 5.2-4(28) และ 5.2-4(29)) อีกทั้งคณะฯ ได้มีการประชุมคณะกรรมการประจำคณะฯ เพื่อแลกเปลี่ยนขับเคลื่อนการ พัฒนาคณะฯ จำนวน 3 ครั้ง/ภาค เรียน เพื่อมอบนโยบาย รายงานสรุปผลการดำเนินงาน กำกับ ติดตาม ตรวจสอบการดำเนินงาน รวมถึงการหาแนวทางแกปญหาตาง ๆ เพื่อใหการ ขับเคลื่อนภายในคณะฯ บรรลุเปาหมายตามพันธกิจ (5. 1-4(30))

5.2 - 4(5) ID PLAN
5 ค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีจากความรู้ทั้งที่มีอยู่ในตัวบุคคล ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง และแหล่งเรียนรู้อื่นๆ ตามประเด็นความรู้ อย่างน้อยครอบคลุมพันธกิจด้านการผลิตบัณฑิตและด้านการวิจัย จัดเก็บอย่างเป็นระบบโดยเผยแพร่ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษรและนำมาปรับใช้ในการปฏิบัติงานจริง

1. คณะพยาบาลศาสตร์ ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการจัดการความรู้ ประจำปีการศึกษา 2563 เพื่อบริหารจัดการความรู้และที่มีอยู่ภายในตัวบุคคล รวบรวม จัดระบบความรู้เพื่อจัดทำเป็นแนวปฏิบัติที่ดีสำหรับประชาสัมพันธ์ให้แก่บุคลากรภายในคณะ (5.2-5(1))

2. คณะกรรมการจัดการความรู้จัดการประชุมเพื่อวางแผน และกำหนดแนวทางในการจัดการความรู้ ในปีการศึกษา 2564 (อ้างอิง 5.2-5(2) รายนามผู้ร่วมโครงการกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การจัดการความรู้ (KM) ปีการศึกษา 2564) โดยกำหนดประเด็นที่จะดำเนินการจัดการความรู้จำนวน 2 ประเด็น (5.2-5(3)) และ5.2-5(4)) คือ

        1) แนวปฏิบัติในการทำตำราและหนังสือวิชาการทางการพยาบาลสำหรับอาจารย์ในยุค วิถีชีวิตใหม่       

        2) การพัฒนาโจทย์วิจัยเพื่อให้ได้รับทุนสนับสนุนวิจัยจากภายนอก

3. ตลอดปีการศึกษา 2564 คณะกรรมการจัดการความรู้ได้ดำเนินกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านละ 6 ครั้ง (5.2-5(5))

4. คณะกรรมการจัดการความรู้ได้รวบรวม จัดเก็บความรู้ที่ได้รับจากกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในแต่ละครั้ง

5. คณะกรรมการจัดการความรู้ได้จัดโครงการบริหารจัดการความรู้ขึ้นในวันที่ 27 มีนาคม 2564 เพื่อนำเสนอความรู้ที่ได้รับจากกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้แก่อาจารย์ภายในคณะ และร่วมกับคณาจารย์จัดระบบความรู้เพื่อจัดทำเป็นแนวปฏิบัติที่ดี

6. คณะกรรมการจัดการความรู้ดำเนินการเผยแพร่แนวปฏิบัติที่ดีให้แก่อาจารย์และบุคลากรในคณะผ่านช่องทาง
          1)  LINE และ Facebook กลุ่มคณาจารย์คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎศรีสะเกษ
          2) Google Drive สาหรับจัดเก็บและรวบรวมไฟล์
          3) เผยแพร่ผ่านเว็บไซต์คณะพยาบาลศาสตร์ http://nurse.sskru.ac.th/2021/ 
(5.2-5(6)) และ 5.2-5(7))

7. การบริหารจัดการความรู้เป็นกิจกรรมที่ไม่ได้แสดงให้เห็นผลลัพธ์ทั้งหมดของการดำเนินการเมื่อสิ้นปีการศึกษา แต่ผลของการจัดการความรู้จะแสดงให้เห็นชัดเจนในปีการศึกษาถัดไป เนื่องจากการจัดการความรู้เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อแลกเปลี่ยนปัญหาที่เกิดขึ้นในปีการศึกษาที่จัดกิจกรรม และแสวงหาแนวทางการแก้ไข แนวทางการพัฒนาเพื่อนำไปใช้ในปีการศึกษาต่อไป ดังนั้นเป้าหมายของการดำเนินงานในปีการศึกษา 2564 ด้านจำนวนอาจารย์ที่นำแนวปฏิบัติไปใช้จะสามารถตรวจสอบการบรรลุเป้าหมายได้ในปีการศึกษา 2564 (5.2-5(8))

6 การกำกับติดตามผลการดำเนินงานตามแผนการบริหารและแผนพัฒนาบุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุน

      คณะฯ มีการจัดทำแผนบริหารและพัฒนาบุคลากร เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานตามแผนบริหารและแผนพัฒนาบุคลากรทั้งสายวิชาการ และสายสนับสนุน โดยการสำรวจของรองคณบดีฝ่ายบริหารและสำนักงานคณบดี และจัดทำแผนบริหารและพัฒนาบุคลากรได้ประชุมร่วมกันเพื่อจัดทำแผนบริหารและแผนพัฒนาบุคลากร ประจำปีการศึกษา 2564 (5.2-6(1)) เพื่อใช้เป็นแนวทางการพัฒนาบุคลากรทั้งสายวิชาการและสายสนับสนุนวิชาการ ซึ่งครอบคลุมภารกิจ 4 ด้านของมหาวิทยาลัย และของคณะฯ รวมถึงการเพิ่มศักยภาพของสายวิชาการและสายสนับสนุนตามภาระงาน ด้านประสิทธิภาพของกระบวนการบริหารทรัพยากรบุคคล และประสิทธิผลของการบริหารทรัพยากรบุคคลในการจัดทำแผนบริหารและแผนพัฒนาบุคลากร คณะฯ มีการสำรวจข้อมูลซึ่งประกอบไปด้วย ความต้องการในการพัฒนาสมรรถนะเป็นรายบุคคล และสมรรถนะการบริหาร ของบุคลากรทั้งสายวิชาการและสายสนับสนุนวิชาการ (5.2-6(2))  ซึ่งคณะฯ ได้ใช้ข้อมูลจากฐานข้อมูล โดยนำผลจากการวิเคราะห์สมรรถนะและความต้องการในการพัฒนาตนเอง ของแต่ละบุคคลมาเป็นแนวทางในการกำหนดโครงการและกิจกรรมในการแผนบริหารและพัฒนาบุคลากร (5.2-6(3))

      คณะฯ มีการบริหาร ส่งเสริม การพัฒนาและติดตามผลตามแผนบริหารและแผนพัฒนาบุคลากร ให้เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้ในแผนความต้องการในการพัฒนาตนเองทั้งการเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ (5.2-6(4)) และมีการกำกับติดตามการนำผลจากการพัฒนาด้านความรู้และประสบการณ์มาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอน และพันธกิจต่างๆ ตามนโยบายของคณะฯ(5.2-6(5)) นอกจากนี้ในปีการศึกษา 2564 ได้สนับสนุนให้คณาจารย์และบุคลากรได้เข้าร่วมโครงการและกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาศักยภาพและประสิทธิภาพของบุคลากรแต่ละสายงาน ทั้งภายในและภายนอกคณะฯ และมีการจัดโครงการเพื่อส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพ เช่น

        1. โครงการพัฒนาบุคลากร ส่งเสริมคุณธรรม ความโปร่งใส และบริหารความเสี่ยง (IPA) (5.2-6(6))

        2. โครงการพัฒนาการวัดและการประเมินผลการศึกษาทางการพยาบาล (5.2-6(7))

        3. โครงการพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนเรื่องการจัดสรรงบประมาณและการเบิกจ่ายภายใต้โครงการบริหารจัดการ (5.2-6(8))

        4. โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เพื่อพัฒนาคุณภาพบุคลากรในการขับเคลื่อนองค์กร คณะพยาบาลศาสตร์  (5.2-6(9))

        5. การพัฒนาศักยภาพอาจารย์พยาบาลเพื่อเป็นอาจารย์มืออาชีพในรูปแบบ Simulation-Based Learning : SBL (5.2-6(10))

      คณะพยาบาลศาสตร์ มีการจัดสวัสดิการ เสริมสร้างสุขภาพที่ดี และสร้างขวัญและกำลังใจให้บุคลากรทั้งสายวิชาการ และบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ เช่น การเยี่ยมพร้อมของเยี่ยมเมื่อเจ็บป่วย และการคลอดบุตร การอวยพรวันเกิดและรับประทานอาหารร่วมกันเพื่อต้อนรับเมื่อมีอาจารย์ใหม่เข้ามาปฏิบัติงานในคณะฯ นอกจากนี้ยังได้ปรับปรุงภูมิทัศน์ภายในอาคารและสำนักงาน เว้นระยะห่างตามมาตราป้องกัน covid 19 เพื่อให้มีสภาพแวดล้อมและสุขภาวะที่ดีในการทำงานของบุคคลากร เช่น การจัดโต๊ะทำงานในสำนักงาน และจัดมุมพักผ่อนในห้องสำนักงานคณบดี และห้องสมุด เพื่อการผ่อนคลายจากการทำงาน เป็นต้น

      คณะพยาบาลศาสตร์ ยังส่งเสริมให้บุคลากรทั้งสายวิชาการ และสายสนับสนุนให้มีการพัฒนา และเพิ่มพูนความรู้ทั้งภายในและภายนอกคณะ และมีการติดตามให้มีการนำความรู้และทักษะที่ได้จากการพัฒนาตนเองมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน การวัดผลการเรียนรู้ของนักศึกษา ตลอดจนการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยแต่ละสาขาวิชาจัดทำเป็นรายงานผลการพัฒนาศักยภาพตนเอง รายบุคคล รายงานผลส่งมายังคณะฯ ซึ่งในรอบปีที่ผ่านมามีบุคลากรเข้าร่วมกิจกรรมศึกษาดูงาน โครงการอบรมและสัมมนาเชิงปฏิบัติการต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกคณะฯ (5.2-6(11))         

        คณะพยาบาลศาสตร์ มีประเมินผลความสำเร็จของแผนบริหารและแผนพัฒนาบุคลากร ประจำปี  2564 โดยได้จัดทำรายงานผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดในแผนบริหารและพัฒนาบุคลากร ประจำปี  2564 ผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดในแผนพัฒนาคณะฯ คิดเป็นร้อยละความสำเร็จ 100.00 (5.2-6(12)) เสนอในการประชุมคณะกรรมการบริหารคณะ ครั้งที่ 3/2565 ในวันที่ 6 พฤษภาคม 2565 (5.2-6(13))  และนำผลการประเมินตัวชี้วัดตามวัตถุประสงค์ของแผนรายงานต่อที่ประชุมคณะกรรมการประจำคณะฯ ในการประชุมครั้งที่ 1/2565 ในวันที่ 17 มิถุนายน 2565 (5.2-6(14))

7 ดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในตามระบบและกลไกที่เหมาะสมและสอดคล้องกับพันธกิจและพัฒนาการของคณะที่ได้ปรับให้การดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารงานคณะตามปกติที่ประกอบด้วย การควบคุมคุณภาพ การตรวจสอบคุณภาพ และการประเมินคุณภาพ

คณะพยาบาลศาสตร์  ได้ดำเนินงานดานการประกันคุณภาพ การศึกษาภายในตามระบบและกลไกที่เหมาะสมและสอดคลองกับพันธกิจและการดำเนินงานของคณะที่ไดปรับใหการดำเนินงานดานการประกันคุณภาพเปนสวน หนึ่งของการบริหารงานคณะตามปกติที่ประกอบดวยการควบคุมคุณภาพ การ ตรวจสอบคุณภาพ และการประเมินคุณภาพ โดยดำเนินการ ดังนี้

      คณะฯ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการประกัน คุณภาพการศึกษา ที่มีตัวแทนจากทุกสาขาวิชา เพื่อทำหน้าที่วางแผนกำกับ และติดตามการดำเนินงานด้าน ประกันคุณภาพการศึกษาภายใน (5.2 -7(1)) มีการกำหนด โครงการ/กิจกรรมด้านการประกันคุณภาพ ไว้ในแผนปฏิบัติการ ประจำปีงบประมาณ 2565 เพื่อใช้ดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาของคณะฯ (5.2-7(2)) มีการให้มีการกำหนดตัวบ่งชี้ในการการดำเนินการประกันคุณภาพในการประชุมคณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษา และได้รับการพิจารณาเห็นชอบจากการประชุมสภาวิชาการมหาวิทยาลัย (5.2-7(3)) และการประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย (5.2-7(4)) หลังจากนั้นได้จัดทำปฏิทินการดำเนินงาน ดังนี้

            1) คณะฯใช้คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ (5.2-7(5)) 

            2) ชี้แจงตัวบ่งชี้โดยนำเกณฑ์ประเมินคุณภาพของสกอ.และเกณฑ์การรับรองสถาบันของสภาการพยาบาล มาทำความเข้าใจร่วมกัน

            3) จัดอบรมให้ความรู้แก่อาจารย์และบุคลากรด้านการประกันคุณภาพการศึกษา

      คณะฯ ไดนำหลักการประกันคุณภาพเปนทิศทางในการทำงาน สงเสริม พัฒนางานตามพันธกิจของคณะ รวมทั้งไดมอบนโยบายใหกับบุคลากรทั้งสาย วิชาการ และสายสนับสนุนภายในคณะฯโดยปรับใหการดำเนินงานดานการประกันคุณภาพ เป็นส่วนหนึ่งของการบริหารงานตามปกติ เพื่อใหเกิดประโยชนกับคุณภาพขององคกร งานตามพันธกิจ และคุณภาพของบุคลากร เพื่อเป็นคณะและมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาทองถิ่น

ผลคะแนนการประเมินตนเอง
ทำได้ (ข้อ) ได้คะแนน
7 ข้อ 5 คะแนน