ตัวบ่งชี้ที่ 5.2 การบริหารของคณะเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจ 
กลุ่มสถาบันและเอกลักษณ์ของคณะ

ปีที่ประเมิน 2565
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : ปิยฉัตร ทองแพง , สุภัทรษร ทวีจันทร์ , มณีรัตน์ ปราศจาก , วีระยุทธ มั่งคั่ง , วิชุดา เติมสุข , พนิดา พานิชกุล , ณัชฐปกรณ์ สีหะวงษ์สกุล , ณัชฐปกรณ์ สีหะวงษ์สกุล , พนิดา พานิชกุล
ชนิดตัวบ่งชี้ : กระบวนการ
คำอธิบายตัวบ่งชี้

คณะมีพันธกิจหลัก คือ การเรียนการสอน การวิจัย การบริการทางวิชาการแก่สังคม และการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ในการดำเนินพันธงานตามกิจหลัก แต่ละคณะจำเป็นต้องมีการจัดทำแผนเพื่อกำหนดทิศทางการพัฒนาและการดำเนินงานของคณะให้สอดคล้องกับเป้าหมาย ตลอดจนมีการบริหารทั้งด้านบุคลากร การเงิน ความเสี่ยงและการประกันคุณภาพการศึกษา เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานตามพันธกิจหลักให้บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล คำนึงถึงความหลากหลายและความเป็นอิสระทางวิชาการ มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ยืดหยุ่น คล่องตัว โปร่งใสและตรวจสอบได้

เกณฑ์การประเมิน
คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 หรือ 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 หรือ 6 ข้อ มีการดำเนินการ 7 ข้อ
สูตรการคํานวณ

 

หมายเหตุ

 

เกณฑ์มาตรฐาน
ระดับ เกณฑ์มาตรฐาน ดำเนินการ
1 พัฒนาแผนกลยุทธ์จากผลการวิเคราะห์ SWOT โดยเชื่อมโยงกับวิสัยทัศน์ของคณะและสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของคณะ และมหาวิทยาลัย รวมทั้งสอดคล้องกับกลุ่มสถาบันและเอกลักษณ์ของคณะและและพัฒนาไปสู่แผนกลยุทธ์ทางการเงิน และแผนปฏิบัติการประจำปีตามกรอบเวลาเพื่อให้บรรลุผลตามตัวบ่งชี้และเป้าหมายของแผนกลยุทธ์และเสนอผู้บริหารระดับสถาบันเพื่อพิจารณาอนุมัติ (เสนอคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย)
2 ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินที่ประกอบไปด้วยต้นทุนต่อหน่วยในแต่ละหลักสูตร สัดส่วนค่าใช้จ่ายเพื่อพัฒนานักศึกษา อาจารย์ บุคลากร การจัดการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง เพื่อวิเคราะห์ความคุ้มค่าของการบริหารหลักสูตร ประสิทธิภาพ ประสิทธิผลในการผลิตบัณฑิต และโอกาสในการแข่งขัน
3 ดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยง ที่เป็นผลจากการวิเคราะห์และระบุปัจจัยเสี่ยงที่เกิดจากปัจจัยภายนอก หรือปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ที่ส่งผลต่อการดำเนินงานตามพันธกิจของคณะและให้ระดับความเสี่ยงลดลงจากเดิมอย่างน้อย 1 เรื่อง
4 บริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาลอย่างครบถ้วนทั้ง 10 ประการที่อธิบายการดำเนินงานอย่างชัด (ให้แสดงผลการดำเนินงานในปีที่ประเมิน)
5 ค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีจากความรู้ทั้งที่มีอยู่ในตัวบุคคล ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง และแหล่งเรียนรู้อื่นๆ ตามประเด็นความรู้ อย่างน้อยครอบคลุมพันธกิจด้านการผลิตบัณฑิตและด้านการวิจัย จัดเก็บอย่างเป็นระบบโดยเผยแพร่ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษรและนำมาปรับใช้ในการปฏิบัติงานจริง
6 การกำกับติดตามผลการดำเนินงานตามแผนการบริหารและแผนพัฒนาบุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุน
7 ดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในตามระบบและกลไกที่เหมาะสมและสอดคล้องกับพันธกิจและพัฒนาการของคณะที่ได้ปรับให้การดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารงานคณะตามปกติที่ประกอบด้วย การควบคุมคุณภาพ การตรวจสอบคุณภาพ และการประเมินคุณภาพ
ผลการดำเนินงาน
ตนข้อเกณฑ์ผลการดำเนินงานหลักฐาน
1 พัฒนาแผนกลยุทธ์จากผลการวิเคราะห์ SWOT โดยเชื่อมโยงกับวิสัยทัศน์ของคณะและสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของคณะ และมหาวิทยาลัย รวมทั้งสอดคล้องกับกลุ่มสถาบันและเอกลักษณ์ของคณะและและพัฒนาไปสู่แผนกลยุทธ์ทางการเงิน และแผนปฏิบัติการประจำปีตามกรอบเวลาเพื่อให้บรรลุผลตามตัวบ่งชี้และเป้าหมายของแผนกลยุทธ์และเสนอผู้บริหารระดับสถาบันเพื่อพิจารณาอนุมัติ (เสนอคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย)

ผลการดำเนินงาน

          คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี ได้จัดประชุมเพื่อทบทวนและจัดทำแผนกลยุทธ์ คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2565 – 2569) และได้ปรับปรุงแผนปฏิบัติการ ระยะ 5 ปี (2566 – 2570)  ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ดังหลักฐานที่ 5.2-1(1) โดยให้มีความเชื่อมโยงกับวิสัยทัศน์ของคณะฯ “คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มุ่งสู่ความเป็นเลิศด้านวิชาการและการพัฒนาทักษะวิชาชีพ ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้คู่คุณธรรม  และมีงานทำ โดยการเรียนรู้บูรณาการกับการทำงาน นำองค์ความรู้ไปสู่การพัฒนาสังคมท้องถิ่นที่มีความยั่งยืนและสอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงของประชาคมโลก”
และสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ เป็นต้นแบบการผลิตและพัฒนาครู วิจัย สร้างองค์ความรู้ พัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่นวัตกรรม นำพาเศรษฐกิจชุมชนให้เข้มแข็ง อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม น้อมนำศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตและการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

          รวมถึงนำผลการประเมินคุณภาพการศึกษาจาก คณะกรรมการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษาจากปีการศึกษา 2565 ดังหลักฐานที่ 5.2-1(2) ซึ่งได้ให้ข้อเสนอแนะในระดับหลักสูตร โดยให้หลักสูตรพิจารณาดำเนินการกำหนดผู้รับผิดชอบการดำเนินการในแต่ละประเด็นตามเกณฑ์ตัวบ่งชี้
การประกันคุณภาพในระดับหลักสูตรและกำหนดเป้าหมายการดำเนินงานอย่างชัดเจนและมีการกำกับติดตามโดยคณะฯ เพื่อให้มีการดำเนินงานตรงตามแผนที่วางไว้ ในส่วนระดับคณะฯ นั้น ได้ส่งเสริมให้นักศึกษามีการพัฒนาทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และด้านภาษาอังกฤษของอาจารย์และนักศึกษาอย่างต่อเนื่อง ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการในปีที่ผ่านมา โดยในปีการศึกษา 2565 คณะได้ส่งเสริม
และสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงานเพื่อพัฒนานักศึกษาในโครงการส่งเสริมทักษะด้านภาษาอังกฤษให้กับนักศึกษา ดังหลักฐานที่ 5.2-1(3),(4)  และโครงการส่งเสริมทักษะด้านดิจิทัลให้กับนักศึกษา
ดังหลักฐานที่ 5.2-1(5),(6) เพื่อให้นักศึกษามีความรู้และทักษะก่อนที่จะสำเร็จการศึกษาเพื่อออกสู่ตลาดแรงงานและตรงตามความต้องการของสถานประกอบการและโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงไป
และในระดับคณะฯ อีกทั้งทางคณะได้หาแนวทางการเพิ่มสัดส่วนของอาจารย์ที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการให้อยู่ในอัตราที่สูงขึ้น โดยคณะได้นำจุดอ่อนนี้มาวิเคราะห์สภาพแวดล้อม (SWOT) เพื่อการวางแผนปรับปรุงแผนยุทธศาสตร์โดยการส่งเสริมและกระตุ้นให้อาจารย์มีการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ
ให้มีจำนวนเพิ่มขึ้น โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ทางคณะฯ ได้ส่งเสริมและสนับสนุนงบประมาณในการพัฒนาบุคลากร ดังหลักฐานที่ 5.2-1(7) และงบประมาณสนับสนุนการวิจัย ดังหลักฐานที่ 5.2-1(8)

 

           นอกจากนั้นในส่วนที่เป็นจุดแข็งก็ได้มีการพัฒนาเพิ่มเติมโดยจัดให้มีกิจกรรมเสริมการเรียน
ทั้งในหลักสูตรและนอกหลักสูตร โดยคณะฯ ได้ส่งเสริมและสนับสนุนงบประมาณให้นักศึกษาได้เข้าร่วมการแข่งขันทางวิชาการและวิชาชีพกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน และในระดับหลักสูตรทางคณะได้เปิดหลักสูตรใหม่ร่วมกับบริษัทซีพีออล์ จำกัด(มหาชน) คือหลักสูตรการจัดการค้าสมัยใหม่ โดยเปิดรับนักศึกษาตั้งแต่ปีการศึกษา 2563 จนถึงปัจจุบัน และได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก สกอ. ในการปรับปรุง
และพัฒนาหลักสูตรการบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ ให้เป็นหลักสูตรบูรณาการกับการทำงาน (WIL)
อีกทั้งได้ทำความร่วมมือกับเครือข่ายหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนในการจัดการศึกษาร่วมกันในลักษณะของการจัดการศึกษาแบบสหกิจศึกษา ได้แก่ บริษัท บิ๊กซีซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด และบริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) นอกจากนั้นทางคณะฯ ได้นำแผนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยฯ มาเป็นแนวทางในการทบทวนโดยเพิ่มพันธกิจของคณะฯ และแผนปฏิบัติการในการดำเนินงานโครงการ / กิจกรรมในปีงบประมาณ 2566 ดังหลักฐานที่ 5.2-1(9) เสนอต่อคณะกรรมการบริหารคณะฯ, กรรมการประจำคณะและกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ในวาระเสนอเพื่อพิจารณาอนุมัติใช้แผนปฏิบัติการ 
ดังหลักฐานที่ 5.2-1(10)

2 ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินที่ประกอบไปด้วยต้นทุนต่อหน่วยในแต่ละหลักสูตร สัดส่วนค่าใช้จ่ายเพื่อพัฒนานักศึกษา อาจารย์ บุคลากร การจัดการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง เพื่อวิเคราะห์ความคุ้มค่าของการบริหารหลักสูตร ประสิทธิภาพ ประสิทธิผลในการผลิตบัณฑิต และโอกาสในการแข่งขัน

        คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี ได้แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานการวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วย ปีการศึกษา 2565 5.2-2(1) เพื่อดำเนินการวิเคราะห์ความคุ้มทุนทางการเงินด้วยต้นทุนต่อหน่วยระดับหลักสูตรที่สังกัดคณะเพื่อวิเคราะห์ความคุ้มค่าของการบริหารหลักสูตร โดยยึดถือตามนโยบายของมหาวิทยาลัยตามคู่มือรายงานต้นทุนต่อหน่วยและความคุ้มค่าของหลักสูตรมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ 5.2-2(2) เพื่อเป็นข้อมูลกลางให้กับทุกหลักสูตรในมหาวิทยาลัยและให้ทุกหลักสูตรใช้เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์ต้นทุนให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี จึงได้นำข้อมูลดังกล่าวมาเป็นพื้นฐานในการวิเคราะห์ข้อมูลความคุ้มทุนในหลักสูตรที่สังกัดคณะฯโดยวิเคราะห์ความคุ้มทุนเฉพาะหลักสูตรระดับปริญญาตรี 8 หลักสูตร โดยการวิเคราะห์ทั้งจากต้นทุนทางตรง ต้นทุนทางอ้อม ต้นทุนรวมพร้อมกันนี้ยังได้วิเคราะห์จากปัจจัยต่างๆที่จะส่งผลไม่ว่าจะเป็นต้นทุนคงที่ ต้นทุนผันแปรและต้นทุนรวมในการผลิตบัณฑิตของคณะฯ จากการวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยการผลิตบัณฑิตและความคุ้มค่าของการบริหารหลักสูตร ประจำปีการศึกษา 2565 พบว่ามีความคุ้มค่า ๘ หลักสูตร  5.2-2(3)

       ประสิทธิภาพในการผลิตบัณฑิตในปีการศึกษา 2565 คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มีผลการประเมินประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร ในภาพรวมได้ 3.77 คะแนน โดยมีจำนวน 8 หลักสูตร มีผลคะแนนอยู่ในระดับดีและดีมาก ดังนี้

1.สาขาวิชาการบัญชี  ผลการประเมินได้ 4.01 คะแนน

2.สาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม  ผลการประเมินได้ 3.96 คะแนน

3.สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจดิจิทัล  ผลการประเมินได้ 3.92 คะแนน

4.สาขาวิชาการตลาด  ผลการประเมินได้ 3.74 คะแนน

5.สาขาวิชาการบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ  ผลการประเมินได้ 3.70 คะแนน

6.สาขาวิชาการจัดการธุรกิจการค้าสมัยใหม่  ผลการประเมินได้ 3.70 คะแนน

7.สาขาวิชาการจัดการ ผลการประเมินได้ 3.60 คะแนน

8.สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การเงินการคลัง ผลการประเมินได้ 3.54 คะแนน

     ประสิทธิผลในการผลิตบัณฑิต ในปีการศึกษา 2565 คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มีจำนวนผู้สำเร็จการศึกษา คิดเป็นร้อยละ 79.56 โดยมีจำนวน 7 หลักสูตร มีร้อยละของผู้สำเร็จการศึกษา ดังนี้

1.สาขาวิชาการบัญชี มีจำนวนผู้สำเร็จการศึกษา คิดเป็นร้อยละ 89.09

2.สาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม มีจำนวนผู้สำเร็จการศึกษา คิดเป็นร้อยละ 86.66

3.สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจดิจิทัล มีจำนวนผู้สำเร็จการศึกษา คิดเป็นร้อยละ 52.63

4.สาขาวิชาการตลาด มีจำนวนผู้สำเร็จการศึกษา คิดเป็นร้อยละ 78.57

5.สาขาวิชาการบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ มีจำนวนผู้สำเร็จการศึกษา คิดเป็นร้อยละ 80

6.สาขาวิชาการจัดการ มีจำนวนผู้สำเร็จการศึกษา คิดเป็นร้อยละ 80

7.สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การเงินการคลัง มีจำนวนผู้สำเร็จการศึกษา คิดเป็นร้อยละ 90

         ในปีการศึกษา 2565 คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มีจำนวนบัณฑิตที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระภายในระยะเวลา 1 ปี คิดเป็นร้อยละ 84.06 โดยมีจำนวน 7 หลักสูตร มีร้อยละของบัณฑิตที่ได้งานทำดังนี้

1.สาขาวิชาการบัญชี มีจำนวนบัณฑิตที่ได้งานทำ คิดเป็นร้อยละ 78.13

2.สาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม  มีจำนวนบัณฑิตที่ได้งานทำ คิดเป็นร้อยละ 79.49

3.สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจดิจิทัล มีจำนวนบัณฑิตที่ได้งานทำ คิดเป็นร้อยละ 83.33

4.สาขาวิชาการตลาด มีจำนวนบัณฑิตที่ได้งานทำคิดเป็นร้อย 85.00

5.สาขาวิชาการบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ  มีจำนวนบัณฑิตที่ได้งานทำคิดเป็นร้อยละ 100.00

6.สาขาวิชาการจัดการ มีจำนวนบัณฑิตที่ได้งานทำคิดเป็นร้อยละ 75

7.สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การเงินการคลัง มีจำนวนบัณฑิตที่ได้งานทำคิดเป็นร้อยละ 87.50

    โอกาสในการแข่งขัน คณะบริหารธุรกิจและการบัญชีมีค่าธรรมเนียมวิชาชีพเทอมละ 1,000 บาท และค่าเทอม เทอมละ 8,000 บาท ซึ่งถ้าเปรียบเทียบกับสถาบันการศึกษาที่อยู่ใกล้เคียงแล้วคณะบริหารธุรกิจและการบัญชีมีค่าธรรมเนียมการศึกษาที่ต่ำกว่า ส่งผลต่อโอกาสที่นักเรียนจะเลือกศึกษาต่อในคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี

3 ดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยง ที่เป็นผลจากการวิเคราะห์และระบุปัจจัยเสี่ยงที่เกิดจากปัจจัยภายนอก หรือปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ที่ส่งผลต่อการดำเนินงานตามพันธกิจของคณะและให้ระดับความเสี่ยงลดลงจากเดิมอย่างน้อย 1 เรื่อง

คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี ดำเนินการแต่งตั้งบุคลากรปฏิบัติหน้าที่งานบริหารความเสี่ยง คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี ประจำปีการศึกษา 2565  โดยมีลำดับการดำเนินงาน ดังนี้

              1) แต่งตั้งคณะกรรมการการบริหารความเสี่ยง ประจำปีงบประมาณ 2566

              2) ร่วมกำหนดนโยบายแนวทางในการบริหารความเสี่ยง

              3) ประชุมและร่วมกำหนดประเด็นความเสี่ยง

              4) ประเมินโอกาสและผลกระทบของความเสี่ยง ตลอดจนจัดลำดับความเสี่ยง

              5) ร่วมจัดทำแผนบริหารความเสี่ยงที่มีระดับความเสี่ยงสูง โดยกำหนดมาตรการหรือแผนปฏิบัติการที่จะสร้างความรู้ ความเข้าใจให้กับบุคลากรในหน่วยงานและดำเนินการตามแผน

             6) ร่วมพิจารณาแผนบริหารความเสี่ยงที่เหลืออยู่ รวมทั้งความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นใหม่ จากนโยบายเพื่อดำเนินการปรับแผนและวิเคราะห์ความเสี่ยงในรอบการดำเนินงานถัดไป

             7) ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามแผนและรายงานผลการดำเนินงาน ปัญหาอุปสรรค และแนวทางการแก้ไข พร้อมข้อเสนอแนะในการปรับปรุงแผนการดำเนินงาน

         คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงได้ดำเนินการจัดลำดับปัจจัยเสี่ยง  ความเสี่ยง  ตลอดจนพิจารณาความเสี่ยงปีงบประมาณ 2566  ซี่งบริหารความเสี่ยงในเรื่องยุทธศาสตร์/กลยุทธ์ซึ่งได้มีการจัดการความเสี่ยงเรียบร้อยแล้ว  ดังนั้นคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงจึงได้ร่วมพิจารณาความเสี่ยงในประเด็นใหม่ปีงบประมาณ 2566  โดยมีความเสี่ยงเรื่องงบประมาณในการจ้างเจ้าของภาษา/อาจารย์ภาษาอังกฤษเพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอนไม่เพียงพอ และการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในวารสารระดับนานาชาติ พร้อมทั้งพิจารณาเป็นรายประเด็นแล้วนั้นนับว่าจึงมีความจำเป็นที่จะต้องจัดการความเสี่ยงที่เกิดขึ้น ดังนั้นจึงได้ทำแผนบริหารความเสี่ยง จำนวน 1  แผน  ได้แก่

         แผนบริหารความเสี่ยง คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี ประจำปีงบประมาณ 2566   แบ่งความเสี่ยงออกเป็น 2 ด้าน  คือ

          1. ความเสี่ยงด้านการผลิตบัณฑิตและการพัฒนาบัณฑิตที่มีคุณภาพสอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่นและประเทศ

          2. ความเสี่ยงด้านการวิจัย การสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมเพื่อพัฒนาสังคม (การตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารระดับนานาชาติ)

 

 

 

 

          แผนบริหารความเสี่ยง คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี ประจำปีงบประมาณ 2566  มีการดำเนินงาน ดังนี้

          1. แผนบริหารความเสี่ยงด้านการผลิตบัณฑิตและการพัฒนาบัณฑิตที่มีคุณภาพสอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่นและประเทศ (ด้านการสอบผ่านเกณฑ์ทักษะภาษาอังกฤษ CEFR)

          คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงได้ประเมินความเสี่ยงและปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ ความเสี่ยงด้านทักษะด้านภาษาอังกฤษ (CEFR) ให้กับนักศึกษาก่อนสำเร็จการศึกษามีความเสี่ยงสูงมากเป็นลำดับที่ 1 เนื่องจากนักศึกษาสอบไม่ผ่านเกณฑ์การทดสอบสมรรถนะด้านภาษาอังกฤษ ไม่เป็นไปตามร้อยละของนักศึกษาสอบไม่ผ่านตามเกณฑ์การประกันคุณภาพการศึกษาที่กำหนดไว้  ดังรายละเอียด

 

ข้อมูลรายงาน[A1] ผลการทดสอบภาษาอังกฤษ CEFR

นักศึกษาคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี

นักศึกษา รหัส 61

จำนวนผู้เข้าสอบ CEFR  ร้อยละ 40 จำนวน 106 คน

จำนวนผู้เข้าสอบ

(คน)

ระดับ

(CEFR)

ร้อยละ

1

A2

18.86

85

B1

80.18

20

B2

18.86

 

          คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงได้มีการจัดการความเสี่ยง ดังนี้

ขั้นตอน

ความเสี่ยงที่คงเหลืออยู่

การจัดการความเสี่ยง

แนวทางแก้ไข

ปัญหา/อุปสรรค

1.การแต่งตั้งคณะกรรมการทักษะภาษาอังกฤษ CEFR คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี

นักศึกษาขาดทักษะความรู้ภาษาอังกฤษ ในการฟัง พูด อ่าน เขียน ก่อนสอบวัดความรู้ภาษาอังกฤษตามมาตรฐาน CEFR

ประชุมชี้แจงให้ทราบความสำคัญ สร้างความตระหนักถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้น

ประสานงานไปยังอาจารย์/วิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านทักษะภาษาอังกฤษเพื่ออบรมและให้ความรู้ภาษาอังกฤษ ในการฟัง พูด อ่าน เขียน ก่อนสอบวัดความรู้ภาษาอังกฤษก่อนสำเร็จการศึกษาตามมาตรฐาน CEFR

อาจารย์มีภาระงานรับผิดชอบทำให้เวลาว่างไม่ตรงกัน  และนักศึกษายังไม่เห็นถึงความสำคัญในการทดสอบภาษาอังกฤษ

2.การกำหนดนโยบายกลยุทธ์  วิธีการปฏิบัติ

นักศึกษาขาดทักษะความรู้ภาษาอังกฤษ ในการฟัง พูด อ่าน เขียน ก่อนสอบวัดความรู้

ประชุมให้ความรู้ ความสำคัญของโครงการอบรมและการเข้าทดสอบทักษะภาษาอังกฤษ

ประสานงานไปยังอาจารย์/วิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านทักษะภาษาอังกฤษเพื่ออบรมและให้ความรู้ภาษาอังกฤษ ในการฟัง พูด อ่าน เขียน ก่อนสอบวัดความรู้ภาษาอังกฤษก่อนสำเร็จการศึกษาตามมาตรฐาน CEFR แต่ยังไม่มีงบประมาณเพียงพอที่จะจัดสรรว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญเพื่ออบรมเพิ่มเติม

อาจารย์มีภาระงานรับผิดชอบทำให้เวลาว่างไม่ตรงกัน  และนักศึกษายังไม่เห็นถึงความสำคัญในการทดสอบภาษาอังกฤษ

3.การนำวิธีการไปสู่การปฏิบัติ

การประชาสัมพันธ์ช่วงเวลาจัดอบรมพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษเกณฑ์ CEFR ให้กับนักศึกษา

คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี

ดำเนินการจัดโครงการอบรมทักษะภาษาอังกฤษ CEFR

ปรับเปลี่ยนรูปแบบกิจกรรมเสริมในการจัดโครงการอบรมทักษะภาษาอังกฤษของคณะบริหารฯ จำนวน 2 รอบ ก่อนเข้าสอบจริง

- Online

- Onsite

 

          ผลจากการจัดการความเสี่ยง

          จากการบริหารความเสี่ยงด้านการรับนักศึกษา มีผลการดำเนินงานดังตารางต่อไปนี้

นักศึกษา รหัส 62

จำนวนผู้เข้าสอบ CEFR  ร้อยละ 20.37 จำนวน 44 คน

จำนวนผู้เข้าสอบ

(คน)

ระดับ

(CEFR)

ร้อยละ

17

A2

38.63

16

B1

36.37

1

B2

2.27

10

C1

22.73

 

          ผลจากการจัดการความเสี่ยงในปีการศึกษา 2565  พบว่า นักศึกษาสามารถเข้าทดสอบทักษะภาษาอังกฤษเกณฑ์ CEFR ในระดับ C1 จำนวน 10 คน ซึ่งเป็นระดับที่สูงขึ้นจากปีการศึกษาที่ผ่านมา  แต่ภาพรวมยังคงต้องมีการควบคุมให้นักศึกษามีร้อยละของนักศึกษาสอบผ่านตามเกณฑ์ก่อนการสำเร็จการศึกษา

          ดังนั้นทางคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงจึงมีความเห็นว่ายังคงต้องมีการบริหารความเสี่ยงในการศึกษา 2566 ต่อไป เพื่อเพิ่มจำนวนนักศึกษาสอบผ่านเกณฑ์ทักษะภาษาอังกฤษ CEFR ก่อนสำเร็จการศึกษา ซึ่งทำให้ความเสี่ยงลดลงโดยเสนอแนวทางการดำเนินงาน ดังนี้

          1. คณะบริหารธุรกิจและการบัญชีประสานงานกับหน่วยงานภายในและภายนอกจังหวัด เพื่อจัดทำ MOU ด้านทักษะภาษาอังกฤษเพื่อผลิตบัณฑิตให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้บัณฑิต

          2. การจัดกิจกรรม/โครงการอบรมเพิ่มทักษะเตรียมความพร้อมด้านความรู้ภาษาอังกฤษ ในการฟัง พูด อ่าน เขียน ก่อนสอบวัดความรู้ภาษาอังกฤษก่อนสำเร็จการศึกษาตามมาตรฐาน CEFR

 

          2. แผนบริหารความเสี่ยงด้านการยกระดับการตีพิมพ์เผยแพร่

                   คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงได้ประเมินความเสี่ยงและปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ ความเสี่ยงด้านการยกระดับการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานตีพิมพ์วิจัย มีความเสี่ยงสูงมากเป็นลำดับที่ 1 ดังรายละเอียด

ขั้นตอน

ความเสี่ยงที่คงเหลืออยู่

การจัดการความเสี่ยง

แนวทางแก้ไข

ปัญหา/อุปสรรค

1.กำหนดนโยบาย กลยุทธ์ วิธีการปฏิบัติ

การดำเนินงานไม่ต่อเนื่องตามขั้นตอน

ขาดการควบคุมและขาดงบประมาณสนับสนุน

คณะกรรมการวิจัยได้กำหนดแนวทางการปฏิบัติที่ชัดเจน

แนะนำแหล่งทุนภายนอก ตลอดจนปรับกระบวนการการทำวิจัยผ่านโครงการฯ ที่ได้รับจัดสรรจากมหาวิทยาลัย

บุคลากรได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากแหล่งทุนภายนอกน้อย

2.การนำวิธีการสู่การปฏิบัติ

กระบวนการทำงานยังไม่ครอบคลุม

ประชุมชี้แจงให้บุคลากรรับทราบถึงความสำคัญ และสร้างความตระหนักถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้น

ประชุมชี้แจงการจัดเตรียมข้อเสนอโครงการวิจัยให้เป็นไปตาม TOR ของแหล่งทุน

บุคลากรเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยไม่ตรงตาม TOR ของแหล่งทุน

 

          ผลจากการจัดการความเสี่ยง

           จากการบริหารความเสี่ยงด้านการจัดสรรเงินงบประมาณการวิจัย มีผลการดำเนินงานดังนี้

            1. ประชุมมอบหมายให้แต่ละสาขา นำนโยบายที่ได้จากการจัดทำแผนกลยุทธ์ประจำปี พ.ศ.2566 – 2569 และแผนปฏิบัติราลการประจำปีงบประมาณ 2566 ร่วมวางแผนการดำเนินงานเพื่อจัดทำโครงการ  ตลอดจนกิจกรรมให้สอดคล้องกับงบประมาณและนโยบายของคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี และมหาวิทยาลัยราชภัฏ

            โดยมีการปรับปรุงการดำเนินงาน คือ มอบหมายแต่ละสาขาวิชาเข้าร่วมทำกิจกรรม/โครงการที่มีความสอดคล้องกันในแต่ละสาขาวิชาเพื่อประหยัดงบประมาณและใช้งบประมาณที่มีอยู่จำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุดและคุ้มค่า มอบหมายผู้รับผิดชอบและระยะเวลาที่จะดำเนินการให้ชัดเจน  เพื่อที่จะสามารถติดตามผลการดำเนินกิจกรรมและโครงการต่าง ๆ

            2. คณะกรรมการการจัดการความรู้ โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปิยฉัตร ทองแพง เป็นผู้รับผิดชอบแผนการจัดการความรู้ คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี ร่วมกับงานวิจัยและบริการวิชาการคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี ได้จัดกิจกรรมการทำวิจัยที่มีคุณภาพให้กับบุคลากรเพื่อเขียนข้อเสนอวิจัยให้ตรงตาม TOR ของแต่ละแหล่งทุน

            3. คณะได้ส่งเสริมกระบวนการพี่เลี้ยงและดำเนินการอย่างต่อเนื่องโดยมีการจัดการอบรมและส่งเสริมในการเตรียมจัดทำข้อเสนอการวิจัยเพื่อยื่นขอทุนวิจัยภายนอกให้ทันในระยะเวลาที่แหล่งทุนกำหนด โดยมีแหล่งทุนที่เปิดรับเฉพาะกิจ ไม่อยู่ในตารางการยื่นทุนตามปกติทำให้มีเวลาจำกัดไม่สามารถยื่นข้อเสนอทุนได้ทันระยะเวลา ทำให้คณะฯได้พิจารณาถึงประเด็นข้างต้น จึงส่งผลให้คณะฯได้มีกระบวนการส่งเสริมและสนับสนุนคณาจารย์ในการการอบรมเพื่อจัดทำข้อเสนอวิจัยให้ตรงตาม TOR ของแหล่งทุน  นอกจากนี้กระบวนการติดตามจากระบบพี่เลี้ยงส่งผลให้คณาจารย์จัดทำข้อเสนอการวิจัยที่มีคุณภาพยิ่งขึ้น ส่งผลให้ในรอบปีการศึกษา 2565 คณะฯ ได้รับการอุดหนุนทุนวิจัยจากแหล่งภายในและภายนอกมากขึ้น  ดังตารางต่อไปนี้

            4. ผลงานตีพิมพ์เผยแพร่ในระดับนานาชาติ ในรอบปีการศึกษา 2565 คณะบริหารฯ ได้มีระบบและกลไก เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้คณาจารย์ยกระดับผลงานในระดับนานาชาติ มีระบบพี่เลี้ยง และส่งเสริมนักวิจัยอย่างต่อเนื่อง โดยมีการจัดทำคู่มือ Good Practice เพื่อเป็นองค์ความรู้พร้อมใช้ในการดำเนินการเตรียม Menu Scrip ส่งผลให้ อาจารย์ลัทธกาญ กุยแก้ว และ ผศ.พนิดา  พานิชกุล ได้รับการตีพิมพ์ในระดับนานาชาติ ฐาน Scopus Q1 จำนวน 1 บทความ และ ผศ.ดร.ปิยฉัตร ทองแพง ได้รับการตีพิมพ์ในระดับนานาชาติ ฐาน Scopus Q1 จำนวน 1 บทความ นอกจากนี้คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี ยังได้เข้าร่วมประกวดโครงการ KM Award 2023 จัดโดยมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ โดยได้รับรางวัล The Best of The Best ด้านการตีพิมพ์เผยแพร่ในระดับนานาชาติ เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2566 ที่ผ่านมา เป็นการสะท้อนผลการดำเนินงานส่งเสริม สนับสนุน นักวิจัยอย่างต่อเนื่องในการตีพิมพ์เผยแพร่ในระดับนานาชาติ และเป็นการยกระดับผลงานในระดับสากล

 

4 บริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาลอย่างครบถ้วนทั้ง 10 ประการที่อธิบายการดำเนินงานอย่างชัด (ให้แสดงผลการดำเนินงานในปีที่ประเมิน)

       คณบดีคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี ได้บริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาล โดยยึดหลักนิติธรรม ความโปร่งใส การมีส่วนร่วม ความรับผิดชอบตรวจสอบได้ตลอดจนความคุ้มค่า และอาศัยหลักคุณธรรมในการกำกับดูแลด้านต่างๆที่มีความสำคัญต่อความสำเร็จและก้าวหน้า คณบดีคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี บริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาล 10 ประการ ดังนี้

1.หลักประสิทธิผล (Effectiveness) คณบดีคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี ยึดหลักการบริหารงานโดยคำนึงถึงความมีประสิทธิผล (Effectiveness) โดยได้จัดทำแผนปฏิบัติการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ตามเอกสาร 5.2-4(1) โดยกำหนดยุทธศาสตร์และเป้าหมายไว้อย่างชัดเจน และมีการติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ อาทิ การรายงานผลการดำเนินงานคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ตามเอกสาร 5.2-4(2)  ต่อคณะกรรมการประจำคณะ ตามเอกสาร 5.2-4(3)

2.หลักประสิทธิภาพ (Efficiency) คณบดีคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มีการบริหารงานด้วยหลักประสิทธิภาพ โดยมีการ บริหารจัดการด้วยการกำหนดความรับผิดชอบและมอบหมายงานแก่รองคณบดี ตามเอกสาร 5.2-4(4) ผู้ช่วยคณบดีอย่างชัดเจน ตามเอกสาร 5.2-4(5)

คณะฯ มีการจัดสรรงบประมาณให้กับสาขาวิชาและหน่วยงานในสังกัดคณะฯ เพื่อดำเนินโครงการให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามแผนปฏิบัติการ และมีการติดตาม ควบคุมการใช้จ่ายงบประมาณที่จัดสรรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ตามเอกสาร 5.2-4(6)  โดยให้แต่ละสาขาและหน่วยงานส่งรายงานการใช้งบประมาณเป็นรายไตรมาส ตามเอกสาร 5.2-4(7)  

3.หลักการตอบสนอง(Responsiveness) คณบดีคณะบริหารธุรกิจและการบัญชีบริหารงานโดยนำหลักมาตอบสนอง มาใช้ในการบริหารเพื่อสร้างความไว้ใจความเชื่อมั่น รวมถึงตอบสนองต่อผู้รับบริการ โดยมีกลไกและกระบวนการการบริหารจัดการภายในมหาวิทยาลัยที่มีประสิทธิภาพ มีความเป็นธรรม โปร่งใส ตรวจสอบได้ ภายใต้กรอบการปฏิบัติที่ชัดเจนรวมถึงเปิดโอกาสและช่องทางในการ ร้องทุกข์ของบุคลากรและนักศึกษาผ่าน เฟสบุ๊คคณะ และไลน์คณะ ตามเอกสาร 5.2-4(8) 

4.หลักภาระรับผิดชอบ (Accountability) คณบดีคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มีการกระจายอำนาจในการบริหารงานให้กับรองคณบดี และ ผู้ช่วยคณบดี ตามเอกสาร 5.2-4(9) มีการควบคุมภายในโดยคณะฯตั้งคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง ตามเอกสาร 5.2-4(10) เพื่อทำหน้าที่ควบคุมการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติราชการประจำปี และมีการบริหารจัดการความเสี่ยงที่เกิดจากการดำเนินงาน ตามเอกสาร 5.2-4(11)     

5.หลักความโปร่งใส (Transparency) คณบดีคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี ได้จัดทำโครงการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี ให้กับบุคลากรในคณะฯ บรรยายในหัวข้อ การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารวัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 บรรยายโดยนักวิชาการพัสดุ และ หัวข้อแนวปฏิบัติการยืมเงินทดรองจ่ายและการส่งเอกสารเพื่อเบิกชดใช้เงินยืมและการเบิกเงิน บรรยายโดย นักวิชาการเงินและบัญชี ตามเอกสาร 5.2-4(12)

6.หลักการมีส่วนร่วม (Participation) คณบดีคณะบริหารธุรกิจและการบัญชีเปิดโอกาสให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น เสนอปัญหา และตัดสินใจร่วมกันเพื่อหาแนวทางในการแก้ปัญหาโดยคณะฯ ได้มีการจัดประชุมอาจารย์ และเจ้าหน้าที่ ตามเอกสาร 5.2-4(13)  

7.หลักการกระจายอำนาจ (Decentralization) คณบดีคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มีการมอบอำนาจ ในการตัดสินใจให้กับรองคณบดี ผู้ช่วยคณบดี ในในการปฏิบัติงานในส่วนของความรับผิดชอบทั้งทางด้านวิชาการ งานวิจัย งานนักศึกษา บริหารบุคคล งานประกันคุณภาพการศึกษาและงานบริหารงานทั่วไป ตามเอกสาร 5.2-4(14)

8.หลักนิติธรรม (Rule of law)          

คณบดีคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี ยึดแนวปฏิบัติระเบียบข้อบังคับต่างๆของทางมหาวิทยาลัยและได้มีการออกแนวปฏิบัติระเบียบข้อบังคับต่างๆ ขึ้นตามบริบทของคณะฯ เพื่อยึดถือเป็นแนวปฏิบัติร่วมกัน และบริหารงานด้วยความเป็นธรรมโดยคำนึงถึงสิทธิและเสรีภาพของคณาจารย์และบุคลากรภายในคณะฯ เป็นหลัก ตามเอกสาร 5.2-4(15) มีกระบวนการพิจารณาความผิดและกำหนดบทลงโทษอย่างเป็นธรรม เช่น รายงานการตรวจสอบอาจารย์ที่ส่งเกรดผิด ตามเอกสาร 5.2-4(16)

9.หลักความเสมอภาค (Equity) คณบดี คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มีการดูแล การให้บริการแก่นักศึกษาบุคลากรภายในและบุคลากรภายนอกที่เข้ามาติดต่อใช้บริการ โดยไม่มีการเลือกปฏิบัติ เช่น มีนโยบายในการสนับสนุนให้บุคลากรทุกคนได้พัฒนาตนเองอย่างเสมอภาคโดยจัดเตรียมงบประมาณสนับสนุนสายวิชาการ 2,000 บาทต่อคนต่อปี สายสนับสนุน 2,000 บาทต่อคนต่อปี เนื่องจากเห็นความสำคัญของการพัฒนาตนเอง เพื่อนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับมาพัฒนาการทำงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ตามเอกสาร 5.2-4(17) ด้านนักศึกษาได้ให้บริการแก่นักศึกษาทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน เช่น นโยบายการจัดกิจกรรมนักศึกษาได้ส่งเสริมและสนับสนุนงบประมาณให้นักศึกษามีส่วนร่วมและได้รับบริการด้านกิจกรรมนักศึกษาอย่างเท่าเทียมกัน ตามเอกสาร 5.2-4(18)

10.หลักมุ่งเน้นฉันทามติ  (Consensus Oriented)                      

มีการสำรวจความต้องการในการปฏิบัติงาน เพื่อนำไปสู่การพัฒนาตนเองของบุคลากร คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี ตามเอกสาร 5.2-4(19) ผู้บริหารเปิดโอกาสให้อาจารย์และเจ้าหน้าที่มีส่วนร่วมในการพิจารณาและตัดสินในร่วมกัน เช่น โครงการพัฒนาบุคลากร ตามเอกสาร 5.2-4(20) 

5 ค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีจากความรู้ทั้งที่มีอยู่ในตัวบุคคล ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง และแหล่งเรียนรู้อื่นๆ ตามประเด็นความรู้ อย่างน้อยครอบคลุมพันธกิจด้านการผลิตบัณฑิตและด้านการวิจัย จัดเก็บอย่างเป็นระบบโดยเผยแพร่ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษรและนำมาปรับใช้ในการปฏิบัติงานจริง

         เป้าหมาย คณะบริหารธุรกิจและการบัญชีในปีการศึกษา 2565 ค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีจากความรู้ทั้งที่มีอยู่ในตัวบุคคล ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรงและแหล่งเรียนรู้อื่น ๆ ตามประเด็นความรู้ อย่างน้อยครอบคลุมพันธกิจด้านการผลิตบัณฑิตและด้านการวิจัยมีการจัดเก็บอย่างเป็นระบบโดยเผยแพร่ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษรและนำมาปรับใช้ในการปฏิบัติจริง

         1) คณะบริหารธุรกิจและการบัญชีได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการการจัดการความรู้ ประจำปีการศึกษา 2565 เพื่อบริหารจัดการความรู้และที่มีอยู่ภายในตัวบุคคล รวบรวม จัดระบบความรู้เพื่อจัดทำร่างแผนการจัดการความรู้ ประจำปีการศึกษา 2565 โดยคณะกรรมการจัดการความรู้ได้ดำเนินการประชุมและมีการวางแผน และกำหนดประเด็นการจัดการความรู้ โดยมีมติที่ประชุมดำเนินการจัดการความรู้ จำนวน 2 ประเด็น ได้แก่

                    (1) แผนการจัดการความรู้ด้านการผลิตบัณฑิต  KM Focus Area : เรื่องการจัดการเรียนการสอนแนวปฏิบัติที่ดีในการจัดทำ มคอ.7 โดยมีการเผยแพร่เทคนิคที่ถูกต้องเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้  เพื่อให้บุคลากรมีแนวทางในการจัดการการศึกษาให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานระดับหลักสูตร ได้รับองค์ความรู้และนวัตกรรมในการการจัดการศึกษามุ่งบริหารจัดการศึกษาสู่คุณภาพและมาตรฐาน และมีการนำหลักการบูรณาการการเรียนการสอนกับการทำงาน WIL จากสาขาบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ และสาขาการจัดการธุรกิจการค้าสมัยใหม่มาเป็นต้นแบบในการพัฒนาหลักสูตรให้เป็นหลักสูตร WIL ให้แก่สาขาอื่นๆ ในคณะฯ อีกด้วย

                    (2) แผนการจัดการความรู้ด้านการวิจัย KM Focus Area : เรื่องการพัฒนางานวิจัยเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ มีนโยบายส่งเสริมให้บุคลากรส่งเสริมผลงานทางวิชาการและผลผลิตงานทางวิชาการ เพื่อเป็นการบูรณาการการทำงานอย่างมีส่วนร่วมของบุคลากรภายในคณะฯ ให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน และสามารถจัดการความรู้ในด้านการจัดทำผลงานวิชาการ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด บุคลากรสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้บรรลุตามเป้าหมายของงาน บรรลุตามเป้าหมายของการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรและบรรลุตามเป้าหมายของการพัฒนาองค์กรไปสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ที่มีคุณภาพในระดับอุดมศึกษา

        2) หัวหน้างานการจัดการความรู้ เสนอแผนการจัดการความรู้ ประจำปีการศึกษา 2565 เพื่อจัดทำแผนปฏิบัติราชการร่วมกันในที่ประชุมคณะกรรมการบริหารประจำคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี เพื่อบรรจุอยู่ในแผนปฏิบัติราชการ โดยมติที่ประชุมเห็นชอบกับแผนการจัดการความรู้

        3) คณะกรรมการงานการจัดการความรู้ ได้ดำเนินการประชุมเพื่อกำหนดผู้รับผิดชอบโครงการการจัดการความรู้ ประจำปีการศึกษา 2565

                (3.1) ด้านการผลิตบัณฑิต  KM Focus Area : เรื่องการจัดการเรียนการสอน แนวปฏิบัติที่ดีในการจัดทำ มคอ.7 โดยมีการมอบหมาย อาจารย์รพีพร โสภากุล และ นางสาววิชุดา เติมสุข เจ้าหน้าที่สำนักงาน

                (3.2) ด้านการวิจัย KM Focus Area : เรื่องการพัฒนางานวิจัยเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ โดยมีการมอบหมาย ผศ.พนิดา พานิชกุล และนางสาววิชุดา เติมสุข เจ้าหน้าที่สำนักงาน

        4) ตลอดปีการศึกษา 2565 คณะกรรมการการจัดการความรู้ได้ดำเนินกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยแยกประเด็น ดังนี้

 

ด้านการผลิตบัณฑิต  KM Focus Area : เรื่องการจัดการเรียนการเรียนการสอน แนวปฏิบัติที่ดีในการจัดทำ มคอ.7

         1. คณะกรรมการการจัดการความรู้ ประชุมและวางแผนการจัดทำโครงการการจัดการความรู้ด้านการวิจัย หัวข้อ แนวปฏิบัติที่ดีในการจัดทำ มคอ.7 โดยมีการมอบหมาย อาจารย์ณัฐชปกร สีหะวงษ์ และ นางสาววิชุดา เติมสุข เจ้าหน้าที่สำนักงาน

         2. การดำเนินการกิจกรรมการจัดการความรู้ หัวข้อ แนวปฏิบัติที่ดีในการจัดทำ มคอ.7 คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี และมีการขออนุมัติกิจกรรมตลอดจนงบประมาณตามแผนที่กำหนดไว้

         3. ผู้รับผิดชอบกิจกรรมดำเนินการจัดการความรู้เพื่อศึกษาแนวปฏิบัติที่ดีในการจัดทำ มคอ.7  โดยมีสาขาวิชาการบัญชีเป็นต้นแบบในการเขียนรายงานผลการดำเนินงานระดับหลักสูตร (มคอ.7) เนื่องจากเป็นสาขาวิชาที่ได้รับคะแนนการประกันคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรมากที่สุดในคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี ค่าคะแนนเฉลี่ย 4.01 และมีสาขาธุรกิจระหว่างประเทศ และสาขาวิชาการจัดการธุรกิจการค้าสมัยใหม่มาเป็นต้นแบบของการพัฒนาหลักสูตรให้เป็นหลักสูตร WIL ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปิยฉัตร ทองแพง เป็นตัวแทนสาขาวิชาการบัญชีซึ่งเป็นต้นแบบในการจัดทำ มคอ.7 เพื่อให้เป็นไปตามเกณฑ์ประกันคุณภาพ คปภ. และ อาจารย์อัญชนา  สนิท
จากสาขาวิชาการบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ และอาจารย์ณัฐชปกร สีหะวงษ์ จากสาขาวิชาการจัดการธุรกิจการค้าสมัยใหม่ ได้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถ่ายทอดประสบการณ์ในการจัดทำ มคอ.2 หลักสูตร WIL ให้มีความสอดคล้องกับความต้องการของสถานประกอบการและบริบทของคณะ โดยมีการจัดกิจกรรมทั้งหมด 3 ครั้ง ดังนี้

             3.1) กิจกรรมครั้งที่ 1 เป็นการจัดกิจกรรมการจัดการความรู้ภายในกับอาจารย์ตัวแทนสาขาวิชา และคณะกรรมการการจัดการความรู้คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี

             3.2) กิจกรรมครั้งที่ 2 เป็นการจัดกิจกรรมการจัดการความรู้ภายนอกกับเครือข่ายการศึกษา และคณะกรรมการการจัดการความรู้คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี

             3.3) กิจกรรมครั้งที่ 3 เป็นการจัดกิจกรรมการประมวล และกลั่นกรองความรู้ คณะกรรมการการจัดการความรู้ คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี พิจารณาเอกสารประกอบ และสรุปประเด็นของเนื้อหาความถูกต้องและจัดทำเป็นรูปเล่มองค์ความรู้ (ร่าง) แนวปฏิบัติที่ดีเพื่อเตรียมเผยแพร่

             3.4) หัวหน้างานการจัดการความรู้ นำส่งแนวปฏิบัติที่ดีในการจัดการเรียนการสอนและจัดทำ มคอ.7 ต่อท่านคณบดี

             3.5) หัวหน้างานการจัดการความรู้ จัดทำหนังสือประชาสัมพันธ์เพื่อเผยแพร่แนวปฏิบัติที่ดีในการจัดทำ มคอ.7 ผ่านทางช่องทางสื่อโซเชียลทั้งภายในและภายนอกคณะ

 

ด้านการวิจัย KM Focus Area : เรื่องการพัฒนางานวิจัยเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ

         1. คณะกรรมการการจัดการความรู้ ประชุมและวางแผนการจัดทำโครงการการจัดการความรู้ด้านการวิจัย หัวข้อ แนวปฏิบัติที่ดีในการพัฒนางานวิจัยเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ โดยมีการมอบหมาย ผศ.พนิดา พานิชกุล และ นางสาววิชุดา เติมสุข เจ้าหน้าที่สำนักงาน

         2. การดำเนินการกิจกรรมการจัดการความรู้ หัวข้อ แนวปฏิบัติที่ดีเทคนิคการทำวิจัยที่มีคุณภาพในระดับสากลและการตีพิมพ์ในระดับชาติและระดับนานาชาติ คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี และมีการขออนุมัติกิจกรรมตลอดจนงบประมาณตามแผนที่กำหนดไว้

         3. ผู้รับผิดชอบกิจกรรมดำเนินการจัดการความรู้เพื่อศึกษาแนวปฏิบัติที่ดี การพัฒนางานวิจัยเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ โดยคณะบริหารฯ ได้มีการจัดโครงการการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาองค์กร (KM) ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้จาก รศ.ดร.สัญญา เคณาภูมิ เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2565 ซึ่งได้นำองค์ความรู้ด้านการตีพิมพ์เผยแพร่ในระดับนานาชาติ เพื่อมาจัดทำคู่มือการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารระดับนานาชาติของคณะ และได้มีการเผยแพร่/สื่อสาร ไปยังคณาจารย์ภายในคณะและนอกคณะ 

         4. นอกจากนี้คณาจารย์ได้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้มีการถ่ายทอดประสบการณ์ในการเขียนข้อเสนอวิจัยที่มีคุณภาพ ตลอดจนการจัดเตรียมบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารระดับชาติและระดับนานาชาติ ที่อยู่ในฐาน Scopus และได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากเครือข่ายการวิจัยจากหลากหลายมหาวิทยาลัยร่วมสกัดแนวทางและเทคนิคการการพัฒนางานวิจัยเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ โดยมีการจัดกิจกรรมทั้งหมด 3 ครั้ง ดังนี้

             3.1) กิจกรรมครั้งที่ 1 เป็นการจัดกิจกรรมการจัดการความรู้ภายในกับอาจารย์ตัวแทนสาขาวิชา และคณะกรรมการการจัดการความรู้คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี

             3.2) กิจกรรมครั้งที่ 2 เป็นการจัดกิจกรรมการจัดการความรู้ภายนอกกับเครือข่ายวิจัยภายนอก  และคณะกรรมการการจัดการความรู้คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี

             3.3) กิจกรรมครั้งที่ 3 เป็นการจัดกิจกรรมการประมวล และกลั่นกรองความรู้ คณะกรรมการการจัดการความรู้ คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี พิจารณาเอกสารประกอบ และสรุปประเด็นของเนื้อหาความถูกต้องและจัดทำเป็นรูปเล่มองค์ความรู้ (ร่าง) แนวปฏิบัติที่ดีเพื่อเตรียมเผยแพร่

             3.4) หัวหน้างานการจัดการความรู้ นำส่งแนวปฏิบัติที่ดีด้านการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารระดับนานาชาติ

             3.5) หัวหน้างานการจัดการความรู้ จัดทำหนังสือประชาสัมพันธ์เพื่อเผยแพร่แนวปฏิบัติที่ดีการพัฒนางานวิจัยเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ ผ่านทางช่องทางสื่อโซเชียลทั้งภายในและภายนอกคณะ/มหาวิทยาลัย

 

ด้านการเผยแพร่และแบ่งปัน

            ในปีการศึกษา 2565  งานการจัดการความรู้ คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี ได้ดำเนินการการเผยแพร่และแบ่งปัน เพื่อสร้างองค์ความรู้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการผลิตบัณฑิตและด้านการวิจัย ให้กับบุคลากร นักศึกษา ตลอดจนหน่วยงานภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างแพร่หลายจนสามารถทำให้บุคคลภายในมหาวิทยาลัยนำแนวปฏิบัติที่ดีการพัฒนาการวิจัยเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการไปใช้จนเกิดผลสามารถตีพิมพ์บทความวิจัยในวารสารระดับชาติและนานาชาติ ที่อยู่ในฐาน Scopus ได้ และคณาจารย์มีความก้าวหน้าทางวิชาการ และพัฒนาองค์ความรู้ด้านงานวิจัยอย่างต่อเนื่อง ได้เสนอขอกำหนดตำแหน่ง
รองศาสตราจารย์ จำนวน 2 ท่าน ได้แก่ 1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สหัสสา พลนิล 2.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรรถพล ศิริเวชพันธุ์ นอกจากนี้คณาจารย์ได้รับตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ จำนวน 2 ท่าน ได้แก่ 1.ผศ.ปาริฉัตร พงษ์คละ 2.ผศ.พนิดา  พานิชกุล 

 

แนวปฏิบัติที่ดี :

           จากผลการดำเนินงานข้างต้น คณะบริหารฯ ได้รวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในตัวบุคคลของ
ผู้มีประสบการณ์ตรง และเครือข่ายวิชาการแหล่งเรียนรู้มาจัดเก็บองค์ความรู้จนเกิดเป็น Good Pratice ด้านการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารระดับนานาชาติ  และได้เข้าร่วมประกวด KM Award 2023 ระดับมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ โดยได้รับรางวัล The Best of The Best ด้านการตีพิมพ์เผยแพร่ในระดับนานาชาติ เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2566

6 การกำกับติดตามผลการดำเนินงานตามแผนการบริหารและแผนพัฒนาบุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุน

ผลการดำเนินงาน

        คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ จัดทำแผนบริหารและแผนพัฒนาบุคลากร คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี ดังหลักฐานที่ 5.2-6(1) เพื่อกำหนดเป้าหมายและทิศทาง
การพัฒนาบุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุนให้สอดคล้องกับการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยบรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ และเพื่อให้การดำเนินงานมีความสอดคล้องและบรรลุตามแผนยุทธศาสตร์
ของมหาวิทยาลัย ในด้านการบริหารและพัฒนาบุคลากรตามยุทธศาสตร์ที่ 6 การพัฒนาระบบการบริหารและการจัดการของมหาวิทยาลัย โดยยึดหลักธรรมาภิบาลและให้สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์
ของคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี ระยะ 5 ปี ดังหลักฐานที่ 5.2-6(2) ทางคณะฯ จึงได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำแผนบริหารและการพัฒนาบุคลากร ประจำปี พ.ศ.2566 ดังหลักฐานที่ 5.2-6(3)
ซึ่งทางคณะได้ดำเนินการจัดโครงการตามแผนพัฒนาบุคลากร ประจำปี พ.ศ. 2566 เพื่อพัฒนาบุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุน ดังนี้

       1.  โครงการจัดการการจัดการเรียนรู้ (KM) ดังหลักฐานที่ 5.2-6(4)

       2.  โครงการศึกษาดูงานของบุคลากรและการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาองค์กร

           ดังหลักฐานที่ 5.2-6(5)

        คณะบริหารธุรกิจและการบัญชีได้ส่งเสริมและสนับสนุนให้บุลากรสายวิชาการเข้าสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้น โดยปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 คณะบริหารธุรกิจและการบัญชีมีผู้ได้รับการอนุมัติให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ จำนวน 1 ราย คือ อาจารย์ปาริฉัตร  พงศ์คละ ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาวิชาสังคมวิทยา 6110 ดังหลักฐานที่ 5.2-6(6) และมีบุคลากรขอยื่นกำหนดตำแหน่งทางวิชาการเพื่อดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ จำนวน 4 ราย และเพื่อดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์ จำนวน 2 ราย
ดังหลักฐานที่ 5.2-6(7) ได้แก่

    1. ผู้ขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ ในตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์

    1. อาจารย์ ดร.นริสรา ลอยฟ้า   ตำแหน่ง อาจารย์ประจำสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจดิจิทัล
    2. อาจารย์ลัทธกาญจน์ กุยแก้ว  ตำแหน่ง อาจารย์ประจำสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจดิจิทัล
    3. อาจารย์เสาวลักษ์  คำถา      ตำแหน่ง  อาจารย์ประจำสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจดิจิทัล
    4. อาจารย์พิมพิลา  คงขาว       ตำแหน่ง  อาจารย์ประจำสาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม

    2. ผู้ขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ ในตำแหน่งรองศาสตราจารย์

              2.1 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สหัสา  พลนิล  ตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สังกัดสาขาวิชาบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ

          2.2  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรรถพล ศิริเวชพันธ์  ตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สังกัดสาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม

       คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี ได้ส่งเสริมให้คณาจารย์และบุคลากรจัดทำงานวิจัยของคณะฯ
โดยทางคณะฯ ได้จัดสรรงบประมาณในการจัดทำวิจัยให้บุคณาจารย์และบุคลากรที่สนใจ โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ได้มีบุคลากรที่สนใจได้เสนอเรื่องจะจัดทำวิจัยประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จำนวน 9 เรื่อง ดังหลักฐานที่
5.2-6(8) อีกทั้งส่งเสริมบุคลากรได้พัฒนาตนเอง ในเรื่องของการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น จำนวน 1 ราย คือ อาจารย์พรหมลิขิต อุรา อาจารย์ประจำสาขาวิชาการท่องเที่ยว
และการโรงแรม
ซึ่งกำลังศึกษาต่อในระดับปริญญาเอก สาขาวิชาการจัดการท่องเที่ยวและการโรงแรม
ณ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ดังหลักฐานที่
5.2-6(9)

         ด้านการพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุน คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี ส่งเสริมให้บุคลากร
สายสนับสนุนให้เข้าร่วมโครงการ
การอบรมเชิงปฏิบัติการ “การจัดทำรายงานผลการดำเนินงานในระบบสารสนเทศดำเนินงานด้านการบริการวิชาการ” ในวันที่ 26 กรกฎาคม 2566 ณ 7308 (สมาร์ทรูม)
ชั้น 3 อาคารพัชรกิติยาพา ซึ่งจัดโครงการโดยสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏ
ศรีสะเกษ ทั้งนี้ทางคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี ได้ส่งบุคลากรสายสนับสนุน จำนวน 1 ราย คือ
นายวีระยุทธ มั่งคั่ง (หัวหน้าฝ่ายนโยบายและแผน) ตำแหน่งเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป
ระดับปฏิบัติการ
เข้าร่วมโครงการ ดังหลักฐานที่
5.2-6(10)  และได้ส่งเสริมให้บุคคลากรสายสนับสนุนได้

พัฒนาตนเองในการเป็นวิทยากรถ่ายทอดองค์ความรู้ในโครงการต่างทั้งในและนอกองค์กร เพื่อให้บุคคลากรสายสนับสนุนได้มีความเชี่ยวชาญในทักษะของตนเอง ดังหลักฐานที่ 5.2-6(11)

       ทั้งนี้คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี ได้มีการดำเนินการติดตามผลการดำเนินงานตามแผนพัฒนาบุคลากรผ่านที่ประชุมคณะกรรมการบริหารคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี และนำผลที่ได้จากการประเมินนำไปพัฒนาปรับปรุงแผนการบริหารและพัฒนาบุคลากรให้มีความเหมาะสมต่อไป

7 ดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในตามระบบและกลไกที่เหมาะสมและสอดคล้องกับพันธกิจและพัฒนาการของคณะที่ได้ปรับให้การดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารงานคณะตามปกติที่ประกอบด้วย การควบคุมคุณภาพ การตรวจสอบคุณภาพ และการประเมินคุณภาพ

คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มีระบบกลไกการติดตามการดำเนินการประกันคุณภาพหลักสูตรของคณะ โดยดำเนินการตามมาตรฐานการประกันคุณภาพในทุกองค์ประกอบตามมาตรฐานการประกันคุณภาพของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และมหาวิทยาลัยกลุ่มราชภัฏ โดยเน้นระบบการประกันคุณภาพการศึกษาที่ก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ตามพันธกิจหลักของมหาวิทยาลัย ประกอบด้วย

          1. การแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับติดตามตัวบ่งชี้ ตามระบบการประกันคุณภาพของคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี ประจำปีการศึกษา 2565

          2. กำหนดกรอบการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษา โดยการจัดทำคู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาของคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี ประจำปีการศึกษา 2565 ที่ประกอบด้วยแนวทางการดำเนินงานการประกันคุณภาพระดับหลักสูตรและระดับคณะ พร้อมด้วยระบบกลไกต่างๆ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานการประกันคุณภาพให้สำเร็จลุล่วงและเกิดประสิทธิภาพทั้งในระดับหลักสูตรและระดับคณะ

           3. การจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี (Improvement Plan) โดยนำผลการประเมินคุณภาพจากวงรอบปีการศึกษา 2564 มาเป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนพัฒนางานในด้านต่างๆ ให้ครอบคลุมภาระงานด้านการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในระดับหลักสูตรและระดับคณะ และขับเคลื่อนงานให้เป็นไปตามปฏิทินการดำเนินงานที่วางไว้ ซึ่งแผนฯ ดังกล่าว ได้ผ่านการพิจารณาจากที่ประชุมคณะกรรมการบริหารคณะ ครั้งที่ 6/2565 วันที่ 19 ตุลาคม 2565

          4. คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี ได้มีการจัดโครงการเตรียมความพร้อมสำหรับการตรวจประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตรและคณะ ประจำปีการศึกษา 2565 ในวันที่ 25 พฤษภาคม 2565 และส่งเสริมให้อาจารย์เข้าร่วมเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในระยะต่างๆ อย่างต่อเนื่อง

          5. คณะกรรมการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษามีการประชุมคณะกรรมการงานประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อปรึกษาหารือ วางแผน ติดตามผลและสรุปผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง

          6. คณะกรรมการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาได้กำกับ ติดตามการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา ในที่ประชุมคณะกรรมการบริหารประจำคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี และรายงานต่อคณะกรรมการประจำคณะ ติดตามการดำเนินงาน รวมถึงการได้รับข้อเสนอแนะต่างๆ เพื่อนำมาบริหารจัดการให้เกิดประสิทธิภาพ

           7. คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี จัดให้มีการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร           ของวงรอบปีการศึกษา 2565 ในวันที่ 28, 30 มิถุนายน 2566 และ วันที่ 3, 4 กรกฎาคม 2566  นั้น โดยผลการประเมินจากคณะกรรมการดังนี้

สาขาวิชา

วันรับการประเมิน

คะแนนประเมิน

ผลการประเมิน

ผลการประเมินองค์ประกอบที่ 1

สาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม

28 มิถุนายน 2566

3.96

ดี

ผ่าน

สาขาวิชาบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ

28 มิถุนายน 2566

3.70

ดี

ผ่าน

สาขาวิชาการจัดการธุรกิจการค้าสมัยใหม่

30 มิถุนายน 2566

3.70

ดี

ผ่าน

สาขาวิชาการบัญชี

3 กรกฎาคม 2566

4.01

ดีมาก

ผ่าน

สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจดิจิทัล

3 กรกฎาคม 2566

3.92

ดี

ผ่าน

สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การเงินการคลัง

4 กรกฎาคม 2566

3.54

ดี

ผ่าน

สาขาวิชาการจัดการ

4 กรกฎาคม 2566

3.60

ดี

ผ่าน

สาขาวิชาการตลาด

4 กรกฎาคม 2566

3.74

ดี

ผ่าน

คะแนนเฉลี่ย

3.77

ดี

ผ่าน

ผลคะแนนการประเมินตนเอง
ทำได้ (ข้อ) ได้คะแนน
5 ข้อ 5 คะแนน